ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ

    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Sep 13, 2009 1:04 pm

    หน่วยที่ 1แนวคิดและทฤษฏีเกี่ยวกับการพัฒนา

    แนวคิด
    1.การเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือการปรับตัวหรือการเปลี่ยนแปลงในระบบโครงสร้างทางสังคมหรือสถาบันในช่วงเวลาหนึ่ง การสื่อสารมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งในส่วนการเป็นดัชนีชี้วัดการพัฒนาและเป็นกลไกสร้างการเปลี่ยนแปลงได้เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศไทยเกิดขึ้นในหลากหลายมิติ แม้ว่าโดยรวมจะทำให้วิถีการดำรงชีวิตผู้คนดูสะดวกสะบายมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็นำมาซึ่งความเสื่อมได้เช่นกัน
    2.ในขณะที่ความหมายของคำว่าพัฒนาถูกกำหนดขึ้นโดยนักวิชาการด้านต่างๆแตกต่างกันออกไป ทฤษฏีและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาต่างมีรากฐานพัฒนาการทางความคิดที่แตกต่างกันด้านความเชื่อ พื้นฐานของนักคิดแต่ละยุคสมัยและความเหมาะสมของสถานการณ์ภายใต้บริบทการพัฒนาที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มทฤษฎีทฤษฎีที่สำคัญได้แก่ ทฤษฎีความทันสมัย ทฤษฎีการพัฒนาแบบพึ่งพา และทฤษฎีทางเลือกแบบอื่นๆ ได้แก่ทฟษฎีการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ที่ควบคู่กับกระจายความเติบโตทฤษฎีการพัฒนาที่เน้นความต้องการพื้นฐานและแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาแบบยั่งยืน
    3.การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เริ่มเป็นทางการในปี 2504 จนถึง 2546 มีการใช้แผนพัฒนามาแล้ว 9 ฉบับ แต่ละฉบับมีแนวคิดหลักในการวางแผนและกลยุทธ์การพัฒนาตลอดจนเมื่อเสร็จสิ้นแผนได้เกิดผลกระทบต่อประเทศไทยในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกันออกไป การกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศในยุคต่อไปจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเงื่อนไขสำคัญๆในสังคมโลกที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางประชากร เกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ทั้งในระดับระหว่างประเทศและในประเทศ เกิดภาวะกำลังการผลิตส่วนเกินในสินค้าและบริการ และเกิดการพึ่งพาและร่วมมือระหว่างกันมากขึ้นในทุกระดับ ในช่วงเวลาต่อไปนี้ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดยุทธศาสตร์สำคัญๆประกอบด้วยมิติการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ/สังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน

    1.1 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
    - การเปลี่ยนแปลงทางสังคม คือการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงในระบบโครงสร้างทางสังคมหรือสถาบันในช่วงเวลาหนึ่ง มีความสำคัญทั้งในแง่การดำรงชีวิตของผู้คนในสังคม ทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและในระดับสังคม ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสองกลุ่มความคิดหลักคือ กลุ่มทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ และกลุ่มทฤษฎีความขัดแย้ง การสื่อสารมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งในส่วนการเป็นดัชนีย์ชี้วัดการพัฒนาและเป็นกลไกสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น
    - นักสังคมวิทยาได้ระบุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและเป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไว้ดังนี้คือ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงขององค์การต่างๆภายในสังคม การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และการเปลี่ยนด้านทัศนคติ ความคิด ความเชื่อต่างๆ
    - การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศไทยเกิดขึ้นในหลากหลายมิติ ทั้งในมิติคุณภาพคน ความมั้นคงทางสังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่และพฤติกรรมผู้คน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่างๆแม้ว่าโดยรวมจะทำให้วิถีการดำรงชีวิตของผู้คนสะดวกสบายขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมใช่ว่าจะนำไปสู่ความก้าวหน้าอย่างเดียวไม่ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมนำมาซึ่งความเสื่อมได้เช่นกัน

    1.2 แนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับการพัฒนา
    - ทฤษฎีความทันสมัย เป็นทฤษฎีซึ่งให้ข้อเสนอโดยแยกสังคมออกเป็นสองประเภทที่มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงคือ สังคมดั้งเดิมและสังคมทันสมัย โดยให้ความสำคุญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นดัชนีสำคัญที่จะพัฒนาผู้คนไปสู่สังคมทันสมัย นอกจากนั้นยังชี้นำให้เห็นว่าความคิดความเชื่อวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนา ดังนั้นประเทศที่ทันสมัยคือประเทศที่มีเศรษฐกิจที่เติมโตและทิ้งความคิดความเชื่อวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม
    **ด้านเศรษฐกิจ รอสโทว์มีอิทธิพลต่อแนวคิดนี้มีขั้นตอน 5 ขั้นตอนคือ ขั้นสังคมโบราณพึ่งพาธรรมชาติแรงงานครัวเรือน ขั้นที่ 2 เตรียมทะยานขึ้น ขั้นที่ 3 ทะยานขึ้น เศรษฐกิจเติบโตเต็มที่ และสุดท้ายการบริโภคขนานใหญ่หรือขั้นอุดมโภคา
    **ด้านสังคม เลินเนอร์ บอกว่าสิ่งที่เอื้อต่อการเปลี่ยนไปสู่ยุคความทันสมัยมีอยุ่ 3 ประการคือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การเคลื่อนไหว การมีส่วนร่วมอย่างสูง
    **ด้านการเมือง เน้นเกณฑ์สำคัญ 3 ประการคือ มีการแยกแยะโครงสร้างต่างๆทางสังคม การมีระบบย่อยที่มีอิสระและมีการรวมกลุ่มคนวัฒนธรรมต่างๆเข้าด้วยกัน
    - ทฤษฎีการพัฒนาแบบพึ่งพา เชื่อว่าแนวทางที่ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วไม่น่าจะมีความเหมาะสมและใช้ได้ดีกับประเทสด้อยพัฒนา ทั้งนี้เพราะผลของการพัฒนาที่เกิดจากแนวคิดของการพัฒนากระแสหลัก เช่น แนวคิดหลักขั้นตอนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของรอสโทว์ไม่เป้นไปตามเป้าหมาย ความเติบโตที่เกิดขึ้นกับประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่มีน้อยมากยิ่งกว่านั้นความเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้เกิดความร่ำรวยกับคนเพียงบางกลุ่ม เกิดปัญหาตามมาทั้งด้านปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาทำให้ประเทศด้อยพัฒนากลายเป้นส่วนหนึ่งของระบบทุนนิยมโลกอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง
    ** อังเดร กุนเดอร์แฟรงค์ บอกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วมักเป็นประเทศศูนย์กลางประเทศด้อยพัฒนาอยู่ในสถานภาพประเทศบริวาร
    - ทฤษฎีการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ควบคู่กับกระจายความเติบโต แนวคิดกลุ่มนี้จะใหความสำคัญกับการกระจายความเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเชื่อว่าหากมีการจัดการที่เหมาะสมในเรื่องของการลงทุน การให้การศึกษา และการจัดบริการทางสังคมอย่างทั่วถึง ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียม การที่รัฐมีนโยบายปฏิรูปที่ดิน มีการบริหารจัดการที่ตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของกลุ่มที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันอยางเหมาะสมจะช่วยให้กลุ่มคนทุกกลุ่มได้รับประโยชน์จากการพัฒนา เมื่อคนจนสามารถสร้างผลผลิตได้สูง ได้รับค่าจ้างแรงงานที่เหมาะสม ก็จะส่งผลให้เกิดความเสมอภาคและลดภาวความยากจนของประเทศลงได้
    - ทฤษฎีการพัฒนาที่เน้นความต้องการขั้นพื้นฐาน (ฮอลลิส เชนเนอรี)เชื่อว่าความเติบโตด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนได้ แนวทางการพัฒนาจึงจำเป็นต้องเน้นการพัฒนาที่ตัวคนโดยเฉพาะกลุ่มของคนยากจนเป็นหลัก โดยคำนึงถึงหลักการในเรื่องของการสนองตอบต่อความจำเป็นพื้นฐานในชีวิต ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ ความต้องการระดับครอบครัว และความต้องการระดับชุมชน
    - ทฤษฎีการพัฒนาแบบยั่งยืน เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาที่พยายามคงภาวะความสมดุลระหว่างมิติด้านเศรษฐกิจให้สัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมในระบบเปิด โดยพยายามให้คงระดับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจให้ให้สัมพันธ์กับความพยายามในการคงสภาพให้เกิดความเท่าเทียมกันทางสังคมโดยคงไว้ซึ่งนะบบนิเวศน์ที่เหมาะสม

    1.3 พัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย
    - การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เริ่มเป็นทางการในปี 2504 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 จนถึงปี 2546 มีการใช้แผนพัฒนามาแล้ว 9 ฉบับ แต่ละฉบับมีนโยบายแนวคิดหลักในการวางแผนและกลยุทธ์การพัฒนาตลอดจนเมื่อเสร็จสิ้นแผนได้เกิดผลกระทบต่อประเทศไทยในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกันออกไป
    - การกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทสในแต่ละยุคต่อไปจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเงื่อนไขสำคัญๆในสังคมโลกที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย นักวิชาการได้สรุปแนวดน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่ เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางประชากร เกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ทั้งในระดับระหว่างประเทศและในประเทศ เกิดภาวะกำลังการผลิตส่วนเกินในสินค้าและบริการและเกิดการพึ่งพาและร่วมมือระหว่างกันมากขึ้นในทุกระดับ
    - ในช่วงเวลาต่อไปนี้ประเทศไทยจำเป้นต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดยุทธศาสตร์สำคัญๆ ประกอบไปด้วยมิติด้านเศรษฐกิจ/สังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้คือยุทธศาสตร์พัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนทางสังคม ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน ยุทธศาสตร์การพัฒนาสิ่งแวดล้อม
    **สรุปแนวคิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับต่างๆ
    ฉบับที่ 1 -2 (2504-0514) เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อก้าวสู่ความทันสมัย
    ฉบับที่ 3 (1514-2519) เน้นการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการพัฒนาเน้นการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย
    ฉบับที่ 4 (2520-2524) ฟื้นฟูฐานะเศรษฐกิจของชาติ รักษาเสียรภาพทางเศรษฐกิจ ยังเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
    ฉบับที่ 5-6 (2525-2534) พัฒนาแนวรุกเน้นการเติบโตด้วยการกระจายความเจริญโดยยึดพื้นที่เป็นหลัก มีการกำหนดความจำเป็นขั้นพื้นฐานและดัชนีชี้วัดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
    ฉบับที่ 7 (2535-2539) สังคมโลกเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ เริ่มเห็นความจำเป็นในการนำแนงคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนมาใช้
    ฉบับที่ 8 (2540-2544) การพัฒนาแบบองค์รวม คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
    ฉบับที่ 9 (2545-2549) เน้นการพัฒนาสู่สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sat Sep 26, 2009 8:45 pm, ทั้งหมด 8 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 2

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:43 pm

    หน่วยที่ 2 แนวคิดการสื่อสารเพื่อการพัฒนา

    แนวคิด
    1.การสื่อสารเป็นพฤติกรรมสำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์มีลักษณะเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคู่สื่อสาร ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการคือ แหล่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร ผล และปฏิกริยาป้อนกลับ มนุษยืใช้การสื่อสารเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ 4 หน้าที่คือหน้าที่ด้านข่าวสาร หน้าที่ด้านความคิดเห็นหรือการชักจูง หน้าที่ด้านการศึกษา และหน้าที่ด้านบริการบันเทิง
    2.ทั้งการสื่อสารและการพัฒนาเป็นกระบวนการทางสังคมที่เกิดขึ้นและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงควบคู่กัน การพัฒนาเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีการวางแผนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ ขณะที่การสื่อสารเองก็เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเร่งเร้าให้การเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายเร็วขึ้น กระบวนการทั้งสองมีลักษณะคล้ายคลึงและมีวิวัฒนาการคู่ขนานกันมาตลอด

    2.1 การสื่อสาร
    - ความหมายการสื่อสารมีวิวัฒนาการในการให้นิยามสืบเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนาน การให้ความหมายโดยพิจารณาถึงองค์ประกอบของการสื่อสารนับเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายมากที่สุด
    - องค์ประกอบของการสื่อสารปนะกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 6 ประการคือ แหล่งสาร/ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร ผลของการสื่อสาร และปฎิกิริยาป้อนกลับ
    - การสื่อสารมีลักษณะเป็นกระบวนการที่มีการเปลี่ยนแปลงและต่อเนื่องตลอดเวลาไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุกสิ้นสุดในตัวเอง
    - หน้าที่หลักของการสื่อสารที่สำคัญมี 4 ประการคือ หน้าที่ด้านข่าวสาร หน้าที่ด้านความเห็น/การชักจูง หน้าที่ด้านสาระความรู้/การศึกษา และหน้าที่ด้านความบันเทิง
    **การสื่อสาร - กลไกสำคัญในการแบ่งปันข่าวสารระหว่างกัน และทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ดำรงอยู่และพัฒนาต่อไปได้

    2.2 การสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    - การสื่อสารเพื่อการพัฒนา เป็นที่รู้จักแพร่หลายในช่วงเวลาประมาณ 40 ปีที่ผ่านมา เริ่มต้นจากแนวคิดการใช้บทบาทของการสื่อการสื่อสารเพื่อให้เอื้อประโยช์ในด้านการพัฒนาประเทศของประเทศด้อยพัฒนาในช่วงปี ค.ศ.1960 เป็นต้นมา
    - การสื่อสารเพื่อการพัฒนาเป็นการประยุกต์การสื่อสารเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนา จำเป็นต้องมีทฤษฎีกลยุทธ์ และการวางแผนการสื่อสารที่เหมาะสมตามความต้องการของแต่ละสังคม ซึ่งอาจแตกต่างไปจากการสื่อสารทั่วไป
    - วิวัฒนาการของพัฒนาการสื่อสารแบ่งได้ 7 สายคือ สายโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(unpd)และซิลเดอร์ (ที่ฟิลิปปินส์) สายการส่งเสริม สายการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนา สายสารสนเทศการศึกษาแลกการสื่อสารเกี่ยวกับประชากร สานการตลาดเพื่อสังคม สายการพัฒนาขีดความสามารถของสถาบัน และสายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Sep 27, 2009 12:55 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 3

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:44 pm

    หน่วยที่ 3 ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนา

    แนวคิด
    1.ทฤษฎีคลาสสิกซึ่งนับว่ามีอิทธิพลและมีบทบาทต่อแนวคิดของนักวิชาการผู้สนใจเกี่ยวกับอิทธิพลของสื่อมวลชนต่อการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงระดับสังคมส่วนรวมอย่างสูง ได้แก่ ทฤษฏีของเลินเนอร์ และทฤษฏีของโรเจอร์ส
    2.ทฤฏีของเลินเนอร์เสนอขั้นตอนการพัฒนาของสังคมไปสูสังคมสมัยใหม่ว่า เริ่มจากปากเปล่าไปสู่ระบบสื่อกลางในสังคมสมัยใหม่ อีกทั้งยังทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาด้านการสื่อสารมวลชนกับการพัฒนาด้านอื่นๆ ว่ามีความสัมพัธ์ซึ่งกันและกัน
    3.ทฤษฏีของโรเจอร์สได้รับการยอมรับกันทั่วโลก คือทฤษฏีการเผยแพร่นวัตกรรม และกระบวนการทำให้คนทันสมัยว่าประกอบด้วยปัจจัยอะไรบ้าง
    4.ทฤษฏียุคความทันสมัย ประกอบด้วยทฤษฏีการพัฒนาแบบพึ่งพา ทฤษฏีการมีส่วนร่วมทางการสื่อสารเพื่อการพัฒนา ทฤษฏีใหม่ในยุค ICT:การหลอมรวมกันของการสื่อสาร และทฤษฏีการกำหนดสาร

    3.1 ทฤษฎีคลาสสิก
    - เลินเนอร์ จำแนกการพัฒนาเป็น 2 ระดับคือระดับสังคมเรียกว่าการพัฒนาประเทศ และระดับบุคคลเรียกว่าการทำให้คนทันสมัย โดยเสนอขั้นตอนการพัฒนาสังคมมนุษย์ว่าเริ่มจากสังคมโบราณ ผ่านสังคมที่กำลังเปลี่ยนรูป ไปสู่สังคมสมัยใหม่ โดยชี้ให้เห็นว่าระบบการสื่อสารใรระดับสังคมทั้งสองแบบมีความแตกต่างกัน และการพัฒนาระบบการสื่อสารก็มีลักษณะการพัฒนาเคียงคู่ไปกับการพัฒนาระบบสังคม
    - เอเวอร์เร็ต เอ็ม โรเจอร์ส เป็นผู้เสนอทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่นวัตกรรม กระบวนการรับนวัตกรรม และความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของการสื่อสารที่มีต่อกระบวนการดังกล่าว

    3.2 ทฤษฎ๊หลังยุคความทันสมัย
    - ทฤษฎีการพัฒนาแบบพึ่งพา เป็นทฤษฎีการสื่อสารที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศโลกที่สามซึ่งไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการพัฒนาของประเทศตามแนวคิดที่ยึดหลักให้ประเทศตะวันตกเป็นต้นแบบ แล้วให้ประเทศด้อยพัฒนาอื่นต้องทำตามประเทศเหล่านั้น การพัฒนาควรยึดหลักความหลากหลายที่เหมาะสมของประเทศค่างๆ
    - เปาโล แฟร์ เสนอทฤษฎีการทีส่วนทางการสื่อสารเพื่อการพัฒนา โดยเน้นให้เห็นว่า ในทุกขั้นตอนของการพัฒนาควรเน้นให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนตั้งแต่การกำหนดนโยบาย และขั้นตอนการปฏิบัติ
    - ทฤษฎีใหม่ในยุค ICT:ทฤษฎีการหลอมรวมกันของการสื่อสาร เป็นทฤษฎีการสื่อสารที่โรเจอร์สและคินแคดเสนอโดยเน้นกระบวนการแบ่งปันข่าวสารซึ่งกันและกันเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมให้เกิดขึ้น
    - ทฤษฎีการกำหนดวาระ เน้นว่าสื่อมวลชนควรทำหน้าที่ในการเสนอข้อเท็จจริงและข่าวสารที่จำเป็นและมีประโยชน์ทางด้านการเมืองต่อประชาชน เพราะยิ่งสื่อเลือกเสนอประเด็นใดประเด็นนั้นก็จะได้รับความสนใจว่าเป็นประเด็นสำคัญ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Sep 27, 2009 1:20 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 4

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:45 pm

    หน่วยที่ 4 ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการพัฒนา

    แนวคิด
    1.ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการโน้มน้ามใจประกอบไปด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารที่เป็นกระบวนการการถ่ายทอดแนวคิด ข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยการใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ภาษาคำพูดและที่ไม่ใช่คำพูดต่างๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้และความเข้าใจระหว่างกันและกัน
    - แนวคิดเกี่ยวกับการโน้มน้ามใจ หมายถึง การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ คำพูด และภาพต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการกระทำหรือปฏิกิริยาในกลุ่มคนหรือกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ
    -การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ หมายถึง กระบวนการสื่อสารเพื่อมุ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆของกลุ่มเป้าหมายตามที่ผู้ส่งสารต้องการ ไม่ว่าจะเป็น ความเชื่อ ค่านิยม ทันคติ หรือแม้แต่พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกรณีนั้นๆหรือในประเด็นนั้นๆ
    2.ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการมีส่วนร่วมประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมที่หมายถึง กระบวนการในการร่วมกันกระทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องระหว่างกันในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับจิตใจ อารมณ์ สังคม เพื่อเอื้อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
    - ประโยชนืของการมีส่วนร่วมโดยภาพรวมคือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องล้วนต่างได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน เพราะกระบวนการของการมีส่วนร่วมก่อให้เกิดการประสานพลังสู่การสร้างสรรค์แนวทางและการประสานงานร่วมกัน
    - ระดับของการมีส่วนร่วมแบ่งออกเป็นระดับหลักๆ 4 ขั้นตอนคือ ระดับของการมีส่วนร่วมในการคิดดารตัดสินใจร่วมกัน ระดับของการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานร่วมกัน ระดับของการมีส่วนร่วมได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน และระดับของการประเมินผลร่วมกัน
    - แบบจำลองของการสื่อสารแบบมส่วนร่วม ได้แก่ แบบจำลองการสื่อสารเชิงพิธีกรรม ซึ่งเป็นกระบวนสื่อสาร 2 ทางที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสเท่าเทียมกันในการสื่อสารระหว่างกัน
    3.ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ทางการสื่อสารประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการรณรงค์ ที่หมายถึงการออกแบบกรบวนการในการสื่อสารเพื่อกลุ่มเป้าหมายใดกลุ่มเป้าหมายหนึ่งในระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เพื่อมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆตามที่ผู้รณรงค์ต้องการ
    - ประเภทของการรณรงค์มักจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ รณรงค์ทางการเมือง การรณรงค์ทางการค้า และการรณรงคืเพื่ออุดมการณ์หรือเพื่อกิจกรรมสาธารณะต่างๆ
    - องค์ประกอบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ เช่น ความน่าเชื่อถือ ความนิยมของประชาชน/กลุ่มเป้าหมาย ความเป็นหนึ่งเดียว ฯลฯ และในส่วนขั้นตอนหลักๆ ของการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ คือ ขั้นตอนของดารประกาศตัว ขั้นตอนของการสร้างความชอบธรรม ขั้นตอนของการมีส่วนร่วม ขั้นตอนการเข้าไปอยู่ในกลุ่มเป้าหมาย และขั้นตอนของความสำเร็จ
    - ผลของการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ สามารถสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมายได้ 3 ประการหลักๆ คือ 1.ความรู้และสำนึก 2.อารมณ์ความรู้สึก 3.พฤติกรรม/การกระทำ
    - วิธีการสื่อสารเพื่อการโน้น้าวใจสามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆคือ 1.การทำให้เด่นขึ้น 2.การทำให้ไม่มีความสำคัญ/การลดความสำคัญลง 3.วิธีการสร้างสารเพื่อให้เกิดการคล้อยตามหรือยินยอม

    4.1 ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ
    - ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจประกอบไปด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารที่เป็นกระบวนการถ่ายทอดแนวคิด ข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งโดยการใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ ภาษาคำพูด และที่ไม่ใช่คำพูดต่างๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้และความเข้าใจระหว่างกันและกัน
    - แนวคิดเกี่ยวกับการโน้มน้าวใจ หมายถึง การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ คำพูด และภาพต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดการกระทำ/ปฏิกิริยาในกลุ่มคนหรือกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ
    - การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ หมายถึง กระบวนการสื่อสารเพื่อมุ่งส่งผลประโยชนืต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของกลุ่มเป้าหมายตามที่ผุ้ส่งต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ หรือแม้แต่พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกรณีนั้นๆหรือในประเด็นนั้นๆ

    4.2 ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม
    -ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมที่หมายถึง กระบวนการในการร่วมกันกระทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องระหว่างกันและกันในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับจิตใจ อารมณ์ สังคม เพื่อเอื้อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน
    -- ประโยชน์ของการมีส่วนร่วมโดยภาพรวม คือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องล้วนต่างได้รับประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน เพราะกระบวนการของการมีส่วนร่วมก่อให้เกิดการประสานพลังสู่การสร้างสรรค์แนวทางและการประสานงานร่วมกัน
    -- ระดับของการมส่วนร่วมแบ่งออกได้เป็นระดับหลักๆ 4 ขั้นตอนคือ ระดับของการมีส่วนร่วมในการคิด การตัดสินใจร่วมกัน ระดับของการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการร่วมกัน ระดับของการมีส่วนร่วมได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน และระดับของการประเมินผลร่วมกัน
    -- แบบจำลองของการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม อันได้แก่ แบบจำลองการสื่อสารเชิงพิฑีกรรม ที่เป็นกระบวนการสื่องสารสองทางเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้มีโอกาสเท่าเทียมกันในการสื่อสารระหว่างกัน
    - หลักและเทคนิคการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม สามารถกล่าวรวมๆออกได้เป็น 2 เทคนิคคือ 1. เทคนิคการสื่อสารที่แบ่งตามระดับของการมีส่วนร่วม เช่นการมีส่วนร่วมในฐานะผุ้รับสาร ในฐานะผู้ส่งสาร และในฐานะผู้วางแผนและกำหนดนโยบาย 2.เทคนิคการสื่อสารที่แบ่งตามลักษณะของสื่อ หรือช่องทางของสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร เช่นช่องทางหรือสื่อตามแนวทางแบบเดิม (ตั้งวงคุย สภากาแฟ แบบตัวต่อตัว )และช่องทางหรือสื่อตามแนวทางเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ (ดาวเทียม ไซเบอร์ต่างๆ)

    14.3 ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ทางการสื่อสาร
    - ยุทธวิธีการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ทางการสื่อสาร ประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับการรณรงคื ที่หมายถึง การออกแบบกระบวนการในการสื่อสารเพื่อกลุ่มเป้าหมายใดกลุ่มเป้าหมายหนึ่งในระยะเวลาที่กำหนดไว้ชัดเจน เพื่อมุ่งหมายให้เกิดผลสัมฤทธิ์หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ตามที่ผุ้รณรงค์ต้องการ
    -- ประเภทของการรณรงค์มักจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ การรณรงค์ทางการเมือง การรณรงค์ทางการค้า และการรณรงค์เพื่ออุดมการณ์หรือเพื่อกิจกรรมสารธารณต่างๆ
    -- องค์ปรกอบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ เช่น ความน่าเชื่อถือ ความนิยมของประชาชนหรือกลุ่มเป้าหมาย ความเป็นหนึ่งเดียว ฯลฯ และใส่วนของขั้นตอนหลักๆของการสื่อสารเพื่อการรณรงค์ คือ ขั้นตอนของการประกาสตัว ขั้นตองของการสร้างความชอบธรรม ขั้นตอนของการมีส่วนร่วม ขั้นตอนการเข้าไปอยู่ในกลุ่มเป้าหมาย และขั้นตอนของการสำเร็จ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Sep 29, 2009 6:35 pm, ทั้งหมด 8 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 5

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:46 pm

    หน่วยที่ 5 เรื่องการออกแบบสารเพื่อการพัฒนา

    แนวคิด
    1.การวิเคราะหืข้อมูลเพื่อการออกแบบสารต้องทำการวิเคราะห์องค์กรสื่อสารเพื่อการพัฒนา วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเพื่อจะได้รู้จักองค์กร และคุณลักษณะของกลุ่มเป้าหมายซึ่งสามารถนำมาใช้ในการออกแบบสาร การเลือกใช้สื่อและการผลิตสื่อ
    2.การดำเนินการออกแบบสารเพื่อการพัฒนาเป็นการคิดสร้างสรรค์วัจนและอวัจนภาษาที่สื่อความหมาย แนวคิดของการพัฒนาจากผุ้ส่งสารไปยังผู้รับสารมีความรู้ มีความเข้าใจ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของผุ้ส่งสาร โดยผ่านกระบวนการออกแบบสารเพื่อการพัฒนาและเลือกใช้สื่อและการผลิตสื่อเพื่อการพัฒนา

    5.1 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการออกแบบสารเพื่อการพัฒนา
    - การวิเคราะห์องค์กรสื่อสารเพื่อการพัฒนาเป็นการศึกษาวิเคาะห์ปัจจัยภายในและภายนอกเพื่อให้ผู้ออกแบบสารมีความรู้ความเข้าใจองค์กรสื่อเพื่อการพัฒนา เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบสารเพื่อการพัฒนา
    - การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายเป็นวิธีการที่จะรู้จักกับลักษณะของกลุ่มเป้าหมายเพื่อการออกแบบสาร การผลิตและเลือกใช้สื่อได้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายมีทั้งการวิเคราะห์ตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ การวิเคราะห์ตามลักษณะทางจิตวิทยา(ความต้องการไม่ว่าจะเป็นความต้องการทางกาย ด้านความปลอดภัย ทางสังคม การยอมรับและยกย่อง รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง แรงจูงใจทั้งภายนอกและภายใน การรับรู้ เลือกรับ เลือกสน เลือกจำและการรับรู้สาร การเรียนรู้ จากการสังเกตและการกระทำ ทัศนคติ ความรู้ ความรู้สึก พฤติกรรม ความเชื่อ ค่านิยม และบุคลิกภาพ) และตามลักษณะผู้รับนวัตกรรม

    5.2 การดำเนินการออกแบบสารเพื่อการพัฒนา
    - การออกแบบสารเพื่อการพัฒนา หมายถึง การคิดสร้างสรรค์วัจนและอวัจนภาษาที่สื่อความหมายประเด็นของการพัฒนาจากผู้ส่งสารไปยังผุ้รับสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของผู้รับสาร
    - การออกแบบสารเพื่อการพัฒนามี 5 ขั้นตอนคือ 1.การระบุปัญหาหรือความต้องการ 2.กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบสาร 3.การกำหนดแนวคิดหลักเพื่อการพัฒนา 4. การกำหนดวิธีการนำเสนอเพื่อการพัฒนา การประเมินผลการออกแบบสารเพื่อการพัฒนา
    - การเลือกใช้สื่อเพื่อการพัฒนาต้องคำนึงถึงแนวคิดหลักเพื่อการพัฒนา วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเพื่อการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายเพื่อการพัฒนา คุณลักษณะของสื่อ การเข้าถึง ความถี่ ประสิทธิผลของการใช้สื่อ
    - การวางแผนการผลิตสื่อมี 7 ขั้นตอน คือ การรวบรวมข้อมูล การกำหนดเป้าหมาย การกำหนดกลุ่มประชากรเป้าหมาย การกำหนดสื่อที่จะผลิต กำหนดงบประมาณและกำลังคน การดำเนินการตามแผน และการประเมินผลการผลิต โดยองค์กรสื่อสารเพื่อการพัฒนาสามารถผลิตเองหรือจ้างบริษัทตัวแทนทำการผลิตสื่อก็ได้
    - การออกแบบสารเพื่อการพัฒนาของโครงการประเทสไทยใสสะอาดเป็นการออกแบบสารโดยมีประเด็นเรื่องการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รับชั่นในสังคม มีเป้าหมายเพื่อปลุกจิตสำนึกคนไทยทุกคนให้มีคุณธรรม จริยธรรมและถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Sep 29, 2009 11:37 am, ทั้งหมด 4 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 6

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:48 pm

    หน่วยที่ 6 การวางแผน การบริหารโครงการและการประเมินผลโครงการสื่อสารเพื่อการพัฒนา

    แนวคิด
    1.การทำความเข้าใจกับความหมายและความสำคัญของนโยบาย การวางแผน แผนงาน โครงการ การบริหารโครงการ และการประเมินผลโครงการจะทำให้มีความรู้ความเข้าใจอและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันในการดำเนินการโครงการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    2.การวางแผนการสื่อสารเพื่อการพัฒนามีเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของการวางแผนการสื่อสารหลายเกณฑ์ ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานขององค์กรสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    3.การบริหารโครงการสื่อสารเพื่อการพัฒนามีแนวคิดสำคัญเพื่อการจัดการ เพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยุ่อย่างเหมาะสมและสมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้การดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และมีกระบวนการบริหารโครงการประกอบด้วยขั้นตอนที่ต่อเนื่องกันอย่างมียุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    4.การประเมินผลโครงการสื่อสารเพื่อการพัฒนามีเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทการประเมินผลหลายประเภท โดยมีแนวคิดหลักเพื่อการติดตาม รวบรวมข้อมูลในการตัดสินคุณค่าของการดำเนินโครงการว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้สารสนเทศน์เกี่ยวกับคุณค่าของโครงการพัฒนา

    6.1 แนวคิดของนโยบาย การวางแผน แผนงาน โครงการ การบริหารโครงการและการประเมินผล
    - การทราบความหมาย ความสำคัญของนโยบาย การวางแผน แผนงาน การบริหารโครงการ และการประเมินผล จะทำให้สามารถเข้าใจกับกระบวนการทำนโยบาย การดำเนินโครงการจนกระทั่งการประเมินผลโครงการ
    นโยบาย - หลักการ/แนวทางการดำเนินงานขององค์กร กำหนกขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ/การตัดสินใจให้ผ๔ร่วมปฏิบัติงานในองค์กรถือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานไว้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญคือเป็นกรอบในการวางแผน เป็นเครื่องชี้นำการบรหารขององค์กรและเป็นเครื่องมือในการควบคุมกำกับแตดตามงานของผู้บริหาร
    การวางแผน - การตัดสินใจเกี่ยวกับข้อกำหนด/รายละเอียดต่างๆของการดำเนินงานในอนาคต เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ความสำคัญคือ มองเห็นภาพรวมของการปฏิบัติงาน บริหารองค์กรอย่างมีจุดหมายและทิศทางที่แน่นอน บุคคลากรปฏิบัติงานได้ถูกต้อง ลด/หลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานซ้ำซ้อน ผุ้บริหารตระหนักถึงความรับผิดชอบ ช่วยควบคุมการปฏิบัติงานและวัดผลสำเร็จตามแผน
    แผนงาน - กลุ่มของโครงการตั้งแต่ 2 โครงการขึ้นไปที่มุ่งวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างเดียวกัน/ใกล้เคียงกัน เกี่ยวเนื่อง เอื้ออำนวยซึ่งกันและกัน และตอบสนองนโยบายเดียวกัน
    โครงการ - กลุ่มของกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มุ่งตอบสนองเป้าหมายเดียวกัน ในแผนงานเดียวกัน โดยมีระยะเวลาเริ่มต้นแส้นสุดที่ชัดเจน และเป็นงานพิเศษ/แตกต่างไปจากงานประจำ ประกอบด้วยงานและกิจกรรม
    - การบริหารโครงการ - การจัดการ การใช้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่อย่างเหมาะสมและสมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งหมายถึง บุคคลากร รวมถึงความเชี่ยวชาญและความสารถที่มีอยู่ ความร่วมมือของทีมงาน และเครื่องมือ เครื่องใช้ ระบบงาน เทคนิคต่างๆ เงินทุน เวลา
    การประเมินผล - กิจกรรมในการรวบรวมข้อมูลที่มีระบบเพื่อวิเคราะห์หาข้อเท็จจริงตามกระบวนการทางทยาศาสตร์เกี่ยวกับการดำเนินโครงการซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายไว้อย่างชัดเจน เพื่อตัดสินคุณค่าการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวนั้น
    - ความสัมพันธ์ของนโยบาย การวางแผน แผนงาน โครงการ ตลอดจนการประเมินผลโครงการมีความสัมพันธ์กัน 2 ลักษณะคือ ความสัมพันธ์แนวตั้ง และความสัมพันธ์แนวนอน

    6.2 การวางแผนการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    - การแบ่งประเภทการวางแผนทั่วไปมีเกณฑ์การแบ่งหลายปรพเภทดังนี้ 1.การจัดการองค์กร 2.แนวทางการวางแผน 3.ระยะเวลา 4.ลักษณะงาน 5.วิธีการ สำหรับการวางแผนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาในที่นี้ใช้เกณฑ์การจัดการองค์กร
    - กระบวนการวางแผนการสื่อสารเพื่อการพัฒนามี 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1.การวิเคราะห์นโยบาย 2.การวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการสื่อสาร 3.การกำหนดเป้าหมายการสื่อสาร 4.การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย 5.การกำหนดกลยุทธ์และวิธีการสื่อสาร 6.การจัดทำแผนปฏิบัติการ 7.การวางแผนการประเมินผล 8.การปรับปรุงแผน
    - การจัดทำโครงการมี 3 ขั้นตอนดังนี้ 1.กำหนดนโยบาย 2.การจัดเตรียมโครงการ 3.การประเมินและสิ้นสุดโครงการ นอกจากนี้การเขียนโครงการมีองค์ประกอบดังนี้ 1.ชื่อโครงการ 2.หลักการและเหตุผล 3.วัตถุประสงค์ 4.เป้าหมาย 5.วิธีการดำเนินงาน 6.ระยะเวลาการดำเนินงาน 7.งบประมาณ 8.การติดตามควบคุม กำกับและประเมินผล/การบริหารโครงการ 9.ผลที่คาดว่าจะได้รับ 10.ผู้รับผิดชอบโครงการหรือผุ้เสนอโครงการ

    6.3 การบริหารโครงการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    - กระบวนการบริหารโครงการประกอบด้วยขั้นตอนที่ต่อเนื่องกัน ดังนี้ 1.การริเริ่มโครงการ 2.การวางแผนโครงการ 3.การวิเคราะห์โครงการ 4.การปฏิบัติตามดครงการ 5.การควบคุมโครงการ 6.การสิ้นสุดโครงการ
    -ยุทธศาสตร์การดำเนินโครงการสื่อสารเพื่อการพัฒนามี5 ประการด้วยกัน ดังนี้ 1.ทีมงาน 2.องค์กรประชาชน 3.การมีส่วนร่วม
    4.การมีหุ้นส่วน 5.ยุทธวิธีการสื่อสาร

    6.4 การประเมินผลโครงการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    - การประเมินผลดครงการสื่อสารเพื่อการพัฒนา หมายถึง กระบวนการติดตามเพื่อรวบรวมข้อมูลในการตัดสินคุณค่าของการดำเนินโครงการว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับคุณค่าของโครงการพัฒนา
    - การประเมินผลโครงการมีเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทการประเมินผลหลายประเภท เช่น 1.จุดมุ่งหมาย 2.ลำดับเวลา 3.สิ่งที่ถูกประเมิน และกระบวนการประเมินผลโครงการ 4 ขั้นตอนคือ 1.การกำหนดขอบเขตการประเมิน 2.การออกแบบการประเมิน 3.การดำเนินการประเมินผล 4.การรายงานผลการประเมิน


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Sep 29, 2009 4:07 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 7

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:49 pm

    หน่วยที่ 7 การสื่อสารกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

    แนวคิด
    1.การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยการวางแผน เพื่อเป้าหมายการเพิ่มรายได้ที่แท้จริงของประชากรอย่างต่อเนื่อง มีการกระจายรายได้และความเจริญอย่างเหมาะสม ประชาชนมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกตั้งแต่ พ.ศ.2504 การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมาส่งผลให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม สำหรับใน พ.ศ. 2547
    นี้อยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ซึ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาโดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนา
    2.การสื่อสารเป็นกรับวนการและเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม เนื่องจากข้อมูลข่างสาร สถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจในการดำเนินงานพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับต่างๆ ทั้งระดับครัวเรือน อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนอุตสาหกรรมส่งออก
    3.การสื่อสารมีบทบาทในการพัฒนาการบริการทั้งในระดับชุมชน ระดับชาติ และระดับนานาชาติ กล่าวคือ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันระดับประเทศและการสื่อสารยังเป็นกลไกสำคัญทำหน้าที่ในการโน้มน้าวใจให้ผุ้บริโภคจากต่างประเทศเข้ามาใช้บริการของประเทศไทยมากขึ้น

    7.1 สภาพการพัฒนาเศรษฐกิจ
    - การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นกระบวนการที่มุ่งให้รายได้ที่แท้จริงของบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอันยาวนาน มีการกระจายรายได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางศรษฐกิจ สังคม การเมืองและอื่นๆ ช่วยให้รายได้ประชาชาติสูงขึ้น การจ้างงานเพิ่มสูงขึ้น ประชาชนมีมาตรฐานการครองชีพ/คุณภาพชีวิตที่ขึ้น มีการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค มีเงินตราเข้าประเทศ มีการสะสมทุน และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
    - การพัฒนาประเทศของประเทศที่ด้อยพัฒนา จำเป็นจำต้องมีการวางแผนเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่ได้กำหนดไว้ในแผนพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้มีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ.2504 เป็นต้นมา
    - การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมา ส่งผลให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป จากภาคการเกษตรเป็นภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ไทยต้องปรับตัวในด้านต่างๆเพื่อรับกับสถานการณ์และความผันผวนที่จะเกิดขึ้น จึงได้จัดทำแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการขึ้น รวมทั้งได้มีการวาดฝันตำแหน่งที่เหมาะสมของประเทศ อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
    **แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-9(2504-2549)
    ฉบับที่ 1 เน้นพัฒนาปัจจัยขั้นพื้นฐานหรือโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ผลที่เกิดจากแผนพัฒนาฉบับที่ 1 ประสบความสำเร็จในทุกๆด้าน เศรษฐกิจเติบโต
    ฉบับที่ 2 ยึดแนวทางเดิมเพิ่มสารำคัญให้สมบูรณ์ขึ้น เช่นนโยบายพัฒนาชนบท พัฒนากำลังคนฯลฯ ผลที่ได้รับ ประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ การเกษตรและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น มีการลงทุนจากต่างประเทศ ต้องพึ่งพาต่างประเทศช่องว่างของรายได้ของประชากรและระหว่างพื้นที่ภาคต่างๆของประเทศเพิ่มขึ้น
    ฉบับที่3จากปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นแผนพัฒนาฯฉบับที่3จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมมากขึ้นเน้นลดอัตรการเพิ่มของ
    ประชากรสร้างโอกาสและขีดความสามารถของประชาชนให้ได้ประโยชน์จากบริการพื้นฐานทาง ศก.และสังคม ประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลก ค่าเงิลดอลล่าร์ต่ำลง การเพิ่มระดับราคาสิน้าในตลาดโลก ค่าน้ำมัน เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ศก.ฝืดเคือง รายได้ ปชก ลดลง ว่างงานเพิ่มขึ้น ลงทุนซบเซา ฯลฯ
    ฉบับที่ 4 ความผันผวนทางการเมืองละวิกฤติการณ์น้ำมัน ก่อให้เกิดการขาดดุลการค้าและบัญชีเดินสะพัดอย่างรุนแรง ศก.ไทยเริ่มก้าวเข้าสู่ยุคไร้เสถียรภาพในด้านภาระหนี้สิน ทรัพยากรเสื่อมโทรมลงไปมาก
    ฉบับที่ 5 -6 เน้นรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ปรับโครงสร้างให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความยากจน ฉบับที่ 5 การกีดกันทางการค้า ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รํฐบาลต้องดำเนินการรัดเข็มขัดทั้งด้านการเงินและการคลัง เช่นการลดค่าเงินบาท การเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินเป็นแบบลอยตัว ส่งผลให้การขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดลดความรุนแรงลง อัตราเงินเฟ้อลดลงในระดับที่น่าพอใจ ปัญหาความยากจนผ่อนคลายลง ฉบับที่ 6 เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การเงิน การคลังมั่นคงและมีเสถียรภาพมากขึ้น ปี 31 เริ่มเกินดุล การว่างงานลดลง เงินเฟ้อสูงขึ้น เกิดความไม่สมดุลในการพัฒนา เกิดความเหลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างเมืองกับชนบท
    ฉบับที่ 7 เริ่มปรับแนวคิดไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งรักษาระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสม กระจายรายได้ที่เป็นธรรม พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วแต่อยู่บนพื้นฐานความไม่สมดุลของการพัฒนา สังคมมีปัญหาและการพัฒนาไม่ยั่งยืน
    ฉบับที่ 8 เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง ให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาเป็นแบบองค์รวม ศฏ.ขยายตัวแต่ยังมีปัญหาด้านการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ยังพึ่งทุน เทคโนโลยีจากต่างประเทศ เกิดปัญหาคุณภาพชีวิต คนจนเพิ่มขึ้น ว่างงานสูง ความเสื่อมโรมของทรัพยากรอย่างรุนแรง เกิดความขัดแย้งในสังคม
    ฉบับที่ 9 เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนา ยึดหลักทางสายกลาง นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มีคุณภาพและยั่งยืน

    7.2 การสื่อสารกับการพัฒนาอุตสาหกรรม
    - การสื่อสารเป็นกระบวนการและเครื่องมืออันสำคัญในการดำเนินงานพัฒนาประเทศในทุกด้าน ในขณะที่ประเทศกำลังอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการพัฒนานั้น การสื่อสารจะถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมและขยายการพัฒนา ตลอดจนทำให้งานพัฒนาดำเนินไปได้โดยสะดวก การสื่อสารจึงเป็นกลไกที่สำคัญที่ผลักดันให้ประเทศพัฒนาไปตามเป้าหมายที่วางไว้ นโยบายด้านอุตสาหกรรม ค่อยๆมีความละเอียดและความสำคัญมากขึ้นตามลำดับ และการที่การสื่อสารเข้าไปมีบทบาทต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม เนื่องจากต้องใช้ข้อมูล ข่าวสารสถานการณ์ต่างๆทั้งในและต่างประเทศประกอบการตัดสินใจในการดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรม
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารมีระบบการหลั่งไหลที่มีความรวดเร็วฉับไว การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับต่างๆ
    - อุตสาหกรรมระดับครัวเรือน เป็นกิจกรรมที่สนองตอบต่อการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง จากประเทศเกษตรกรรมไปสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรม และครัวเรือนที่ประกอบอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป้นครัวเรือนเกษตรกรในชนบท ดังนั้น การใช้สื่อสารเพื่อการพัฒนาในระดับครัวเรือน จึงต้องเน้นใช้สื่อเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมครัวเรือน พร้อมทั้งกระตุ้น ส่งเสริม และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ และการเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ
    - อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นรากฐานในการพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ สามารถจัดตั้งได้ในท้องถิ่นทั่วประเทศ จึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค และเนื่องจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่บริหารแบบธุรกิจครอบครัว จึงมีปัญหาด้านการจัดการ ขาดความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการผลิต จึงควรจัดให้มีการอบรมและพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ ควบคู่กับการสนับสนุนด้านอื่นๆ เพื่อให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    -อุตสาหกรรมส่งออกทวีความสำคัญต่อภาคเศรษฐกิจไทยมากขึ้น จนมูลค่าสินค้าส่งออกภาคอุตสาหกรรมสูงกว่าภาคเกษตรกรรม และเป็นแหล่งรายได้เงินตราต่างประเทศที่สูงสุดแหล่งหนึ่ง แต่เนื่องจากการแข่งขันอย่างรุนแรงในตลาดโลก และอุตสาหกรรมส่งออกของไทยต้องอาศัยการนำเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และเทคโนโลยีจากต่างประเทศมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ประเทศไทยจึงต้องเร่งสร้างฐานเทคโนโลยีให้เข้มแข็งด้วยการเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสาร ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ ด้านข้อมูลสารสนเทศ ทรัพยากรบุคคล และระบบบริหาจัดการที่ดี รวมถึงการใช้การเจรจาทางการค้า การสร้างเครือข่ายเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างพันธมิตรและความร่วมมือทางการค้า ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกมากขึ้น

    7.3 การสื่อสารกับการพัฒนางานบริการ

    - งานพัฒนาระดับชุมชนส่วนใหญ่เป็นบริการของภาครัฐที่ให้กับประชาชน การสื่อสารจะเข้าไปมีบทบาทหลายประการในกรพัฒนางานบริการระดับชุมชน โดยหัวใจของความสำเร็จในการสื่อสารจะต้องให้คนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม และสื่อที่ทรงอาณุภาพที่สุดในการสื่อสารในชุมชนคือสื่อบุคคล
    - การสื่อสารยังเข้าไปมีบทบาทอย่างยิ่งในการพัฒนางานบริการระดับชาติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งการสื่อสารจะช่วยสร้างจิตสำนึกและความตระหนักให้แก่ประชาชนเพื่อให้ภาคส่วนต่างๆร่วมกันพัฒนางานบริการของประเทศ
    - สำหรับงานบริการระดับนานาชาตินั้น การสื่อสารได้ทำหน้าที่สำคัญในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และช่วยให้ระบบเศรษฐกิจเสรีมีกลไกที่ควบคุมได้ ที่สำคัญ การสื่อสารช่วยโน้มน้าวใจให้ผู้บริโภคจากประเทศต่างๆ เข้ามาใช้บริการของประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของงานบริการให้ดียิ่งๆขึ้น
    - หน่วยงานระดับต่างๆได้นำการสื่อสารมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนางานบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


    จบซักทีหน่วยนี้นานสุดๆร่วมสัปดาห์ ยากสุดเลยมั้งนี่ Crying or Very sad Crying or Very sad


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Oct 02, 2009 8:55 pm, ทั้งหมด 6 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 8

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:50 pm

    หน่วยที่ 8 การสื่อสารกับการพัฒนาการศึกษา

    แนวคิด
    1.พัฒนาการของการศึกษาไทยพิจารณาตามการปฎิรูปการศึกษาครั้งสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สามารถแงออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ การปฎิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดารจัดการศึกษา พ.ศ. 2475-2542 และการปฎิรูปการศึกษาตามพระนาชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
    2.กระแสความคิดของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กระแสหลักคือ ในฐานะเป็นแรงขับเคลื่อนแห่งการเปลี่ยนแปลง และในฐานะเป็นยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการศึกษา
    3.กรณีศึกษาของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการศึกษาครอบคลุมการจัดการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบที่ผสมผสานกันระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัฐยาศัย ใน2 โครงการ ประกอบไปด้วยโครงการปีแห่งการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในมงคลวโรกาสทรงเจริญมายุ 48 พรรษา และโครงการจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียมและระบบสารสนเทศ

    8.1 พัฒนาการของการศึกษาไทย
    - การปฎิรูปการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดจากแรงผลักดัน 3 ประเด็น ได้แก่ พระองค์ทรงให้ความสำคัญต่อการศึกษา ความอยู่รอดและการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย และงพลังผลักดันของนักปฏิรูปการศึกษาร่วมสมัย ทำให้เกิดแนวคิดหลักคือ "วัด โรงเรียน สู่มหาวิทยาลัย"
    - การจัดการศึกษาระหว่าง พ.ศ.2475-2542 เป็นการจัดการศึกษาหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ทำให้เกิดแนวคิดหลัก "การศึกษาสร้างกำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศ" และการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.2517 หลังจากนั้นมีแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2520(ระบบการศึกษา 6-3-3 คือป.6 ปี ม.ต้น3 ปี และม.ปลาย 3 ปี)
    - การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชยัญญํติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีแรงขับเคลื่อนจากหลายแหล่งไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มความคิด โครงการการศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์ การประกาสใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 และต้นเหตุที่นำมาสู่การปฏิรูปการศึกษาแก่นสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแนวคิดหลัก
    "การปฏิรูปทั้งระบบและครบกระบวนการ"

    8.2 กระแสความคิดของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการศึกษา
    - การสื่อสารเพื่อพัฒนาการศึกษาเป็นแรงขับเคลื่อนแห่งการเปลี่ยนแปลง พิจารณาจากบทบาทและหน้าที่ในฐานเป็นต้นคิด ต้นเสียง และต้นแบบ พร้อมทั้งเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
    - ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการศึกษาสามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ยุทธศาสตร์ รัฐเป็นผุ้กระทำ และยุทธศาสตร์ ประชาชนเป็นฐาน

    8.3 กรณีศึกษาของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการศึกษา
    - ปีแห่งการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีในมงคลวโรกาสทรงพระชนมายุ 48 พรรษา เป็นกรณีศึกษาหนึ่งที่ช่วยสะท้องให้เห็นการสื่อสารได้รับการออกแบบและเข้ามาช่วยในการพัฒนาการศึกษาใน 3 รูปแบบพร้อมๆกัน ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธนาศัย โดยมีกระทรวงศึกษาธิการและภาคประชาชนเข้าร่วมเป็นการใช้ยุทธศาสตร์ทั้ง รัฐเป็นผู้กระทำ และ ประชาชนเป็นฐาน รวมทั้งเป็นต้นคิด ต้นเสียงและต้นแบบได้อย่างสอดรับกันอย่างได้จังหวะ
    - การจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียมและระบบสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่มุ่งสะท้องให้เห็นการใช้สื่อเข้ามาช่วยในการพัฒนาการศึกษาด้วยยุทธศาสตร์ รัฐเป็นผู้กระทำ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Sep 29, 2009 8:12 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 9

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:51 pm


    น่วย หน่วยที่9 การสื่อสารกับการพัฒนาการเมือง


    แนวคิด
    1.การพัฒนาการเมืองเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับโครงสร้างและกระบวนการทางการเมืองกับระดับบุคคล เพื่อให้ระบบการเมืองสามารถตอบส สนองความต้องการของสังคมได้ดีขึ้น
    2.ระบบการเมืองคือ ระบบการสื่อสารซึ่งเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร และสถาบันต่างๆ การพัฒนาการเมืองจึง แยกไม่ได้จากการพัฒนาการสื่อสาร
    3.ในประเทศไทยได้มีการใช้รูปแบบและวิธีการต่างๆเพื่อพัมนาความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและความเชื่อบุคคลเกี่ยวกับเนื้อหาสาระทางการเมืองแต่ปัญหา หลายประการที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางการเมืองอย่างเป็นระบบการสื่อสารจึงเน้นการ


    9.1แนวคิดว่าด้วยารพัฒนาการเมือง
    - การพัฒนาการเมืองเป็นความพยายามปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกระบวนการทางการเมืองให้สามารถแจกแจงแบ่งสรรทรัพยากรในสังคมได้อย่างทั่วถึงในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและความเชื่อทางการเมืองของบุคคลให้สอดคล้องต้องกันกับการเปล่ยนแปลงโครงสร้างและกระบวนการด้วย
    - ในแง่ระบบการพัฒนาการเมืองเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงรูปแบบทางการเมือง การปกครองสถาบัน กลไกการบนิหารและการปกครองความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและกลไกทางการเมืองการปกครอง ตลอดจนกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญ
    - บุคคลเรียนรู้ทางการเมืองจากแหล่งต่างๆการเรียนรู้ทางการเมืองนี้มีผลต่อพฤติกรรมเชิงสนับสนุนหรือต่อต้านระบบการเมือง
    การพัฒนาทางการเมืองจึงต้องเน้นการดำเนินการเพื่อให้บุคคลสนับสนุนระบบการเมือง
    -การปฏิรูปการเมืองไทยเป็นรูปแบบการพัฒาแบบหนึ่งซึ่งประเทศไทยได้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยได้กำหนดแนวทางในการปฏิรูปการเมืองไทยไว้มากมายหลายประการการปฏิรูปการเมืองครั้งนี้ถือเป็นการปฏิรูปครั้งแรกและครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยซึ่งรัฐธรรมนุญที่จัดทำขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการปฏิรูปการเมืองนี้คงจะเป็นรูปแบบรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะและรายละเอียดเพื่อความเหมาะสมกับระบบแบบแผนและปัญหาการเมืองการปกครองของไทยโดยเฉพาะ

    9.2บทบาทของการสื่อสารในการพัฒนาการเมือง
    -กิจกรรมการเมืองที่สำคัญได้แก่การตัดสินใจ การนำนโยบายไปปฏิบัติการเรียกร้องของประชาชน และการเรียนรู้ทางการเมืองซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับการสื่อสารทั้งสิ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับการพัมนาทางการเมืองขึ้นกับความสามารถของช่องทางการสื่อสาร
    บทบาทของหน่วยชำนาญการสื่อสาร และลักษณะของกรอบความเข้าใจร่วมกัน
    -ในการพัฒนาทางการเมืองรัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อสารทางการเมืองและแนวทางต่างๆที่ใช้ในการสื่อสาร
    -ความสามารถในการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเมืองในแต่ละประเทศอาจพิจารณาได้จากพัฒนาการของช่องทางการสื่อสารในแต่ละประเทศระดับการควบคุมช่องทางการสื่อสารตลอดจนความสามารถในการใช้ช่องทางการสื่อสาร

    9.3 การสื่อสารกับการพัฒนาการเมืองในประเทศไทย
    -องค์กรการสื่อสารทางการเมืองที่สำคัญจำแนกออกเป็น 6 ประเภท คือรัฐบาล องค์กรอิสระพรรคการเมือง กลุ่มกดดัน ระบบราชการ และองค์กรสื่อ
    -สารเพื่อการพัฒนาการเมืองในประเทศไทยมิได้รับการจัดเตรียมอย่างเป็นระบบโดยมีเป้าหมายแน่ชัดและเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง
    นโยบายของรัฐบาลแต่ละยุคแต่ละสมัยมิได้เน้นการใช้สารเพื่อพัฒนาการเมืองให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยอย่างจริงจัง
    -บทบาทของรัฐบาลในการสื่อสารเพื่อพัฒนาประชาธิปไตยมีอยู่จำกัดถึงแม้จะใช้สื่อต่างๆแต่ก็มิได้กระทำอย่างต่อเนื่องมักมุ่งกระทำบางช่วงโอกาสไม่หวังผลในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและวัฒนธรรมทางการเมืองให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Oct 11, 2009 5:16 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 10

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:52 pm

    หน่วยที่ 10 การสื่อสารกับการพัฒนาสาธารณสุข

    แนวคิด
    1.การพัฒนาการสาธารณสุขมีเป้าหมายเพื่อยกระดับและปรับปรุงสภาวะสุขภาพของปะชาชน ดังนั้นการศึกษาปัญหาการสาธารณสุขทุกระดับ
    และแนวทางการพัฒนาการสาธารณสุขทั้งในอดีตและปัจจุบันจึงมีความสำคัยต่อการดำเนินงานสื่อสารเพื่อการพัฒนาการสาธารณสุขให้มี
    ประสิทธิภาพ
    2. การสื่อสารมีบทบาทอย่างสำคัญในกระบวนการพัฒนาการสาธารณสุข เนื่องจากการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสร้างละเปลี่ยนแปลงความรู้
    ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านสุขภาพของบุคคลครอบครัวและสังคม ซึ่งจะส่งผลหรือเป็นกลไกสำคัญที่ผลักดันให้การพัฒนาการสาธารณสุข
    บรรลุเป้าหมาย
    3.แนวคิดและกลยุทธิ์ในการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการสาธารณสุขมีหลากหลาย ดังนั้น จึงควรกำหนดให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาหรือปัจจัย
    อื่นที่เกี่ยวข้องโดยผ่านการวิเคราะห์และกำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกกลยุทธ์อย่างรอบคอบ

    10.1 สภาพการพัฒนาการสาธารณสุข
    - การพัฒนาการสาธารณสุขเป็นกระบวนการที่มีวิวัฒนาการในการนำเอาวิทยาการทางศิลปะและวิทยาศาสตร์มาผสมผสานกัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบกระบวนการหรือวิธีการ เพื่อยกระดับและปรับปรุงสุขภาพของบุคคล
    ครอบครัวและสังคมให้ดีขึ้น
    - แผนพัฒนาการสาธารณสุขแห่งชาติได้บรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่ฉบับที่ 1 ถึงฉบับที่ 9
    โดยในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ได้กำหนดเป้าหมายสูงสุดให้ประชาชนมีสุขภาพที่พอเพียงและยั่งยืนโดยถ้วนหน้า โดยถือว่าสุขภาพเป็นส่วนหนึ่ง
    ของระบบสังคมที่แยกจากกันไม่ได้ ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยต้องมีความพอดีภายใต้สังคมที่เข้มแข็ง มีดุลยภาพและคุณภาพ
    - ปัญหาการพัฒนาสาธารณสุขเกิดขึ้นทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาเกิดจากปัจจัยหลายๆด้าน
    ได้แก่ การเข้าถึงบริการสุขภาพที่ไม่เท่าเทียมกัน การให้ความสำคัญ ในการรักษาพยาบาลมากกว่าการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การขาดแคลนบุคลากร การขาดข้อมูลข่าวสาร ความรู้ที่แม่นยำและต่อเนื่อง

    10.2 แนวคิดการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการสาธารณสุข
    - การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการดำเนินงานพัฒนาการสาธารณสุขทุกๆด้าน เนื่องจากการสื่อสารเป็นเครื่องมือที่สำคัญ
    ที่จะทำให้งานพัฒนาการสาธารณสุขบรรลุผลสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ โดยการสื่อสารจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มพูนความรู้สร้างทัศนคติที่ดี
    เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เอื้อต่อการพัฒนาสาธารณสุขของประชาชนในทุกพื้นที่
    - กระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการสาธารณสุข จำเป็นจะต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบการสื่อสาร คือ ผู้ส่งสาร ช่องสาร ผู้รับสาร และผลของการสื่อสารโดยศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ของแต่ละองค์ประกอบซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิผลการสื่อสารเพื่อพัฒนาการสาธารณสุขได้
    - ประเภทของการสื่อสารเพื่อพัฒนาการสื่อสารสาธารณสุขสามารถจำแนกออกไก้ 3 ประเภทโดยพิจารณาจากการปฏิบัติงานด้านการสาธารณสุขในพื้นที่ ได้แก่ การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารกลุ่ม และการสื่อสารมวลชน
    - ระบบการสื่อสารสุขภาพซึ่งในทางปฏิบัติเรียกว่าระบบเทคโนโลยีและการสื่อสารสุขภาพ ในระบบบริการสาธารณสุข ประกอบด้วย 4 ระบบย่อยคือ ระบบการวางแผนเทคโนโลยีและการสื่อสารสุขภาพ ระบบการจัดหาและผลิตสื่อสุขภาพ ระบบการสื่อสารความรู้ด้านสุขภาพ และระบบการติดตามประเมินผล ทั้งนี้ ระบบการสื่อสารสุขภาพจะมีลักษณะของการดำเนินงานที่ทุกคนต้องคิดต้องทำและดำเนินการอย่างเป็นระบบเป็นไปในทิศทางเดียวกันและใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างคุ้มค่า และประการสำคัญระบบดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของการสื่อสารในการพัฒนาการสาธารณสุขอย่างชัดเจน

    10.3 แนวคิดและกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการสาธารณสุข
    - การสื่อสารด้านสุขภาพมีส่วนร่วมในการเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสารในฐานะผู้รับสารเพื่อยกระดับสุขภาพของบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคม
    - การสื่อสารการตลาดเพื่อรองรับสภาวะสุขภาพดีเป็นความพยายามที่จะถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูลความรู้ และแนวทางปฏิบัติด้านสุขภาพตลอดจนจูงใจกลุ่มเป้าหมายให้เปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมด้านสุขภาพด้วยการใช้รูปแบบการสื่อสารที่หลากหลาย
    โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก
    - การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพคือความสามารถใน 4 ด้านคือ ความสามารถในการเข้าถึงความหมายสาร ความสารมารถในการวิเคราะห์สาร ความสามารถในการประเมินสาร ความสามารถในการสื่อสารด้านสุขภาพผ่านสื่อประเภทต่างๆ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Oct 11, 2009 9:33 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 11

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:53 pm

    หน่วยที่ 11 การสื่อสารกับการพัฒนาสังคม

    แนวคิด
    1.การพัฒนาสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงสังคมทั้งดครงสร้างของสังคมบทบาทและหน้าที่ของสมาชิกในสังคมในอันที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไปในทางที่ดีขึ้นการพัฒนาสังคมในแต่ละสังคมย่อมมีความแตกต่างกันเนื่องจากแต่ละสังคมประสบปัญหาที่แตกต่างกัน และความสลับซับซ้อนของปัญหา
    ก็แตกต่างกันด้วย
    2.แต่ละสังคมประกอบด้วยกลุ่มบุคคลต่างๆ ซึ่งมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ อันได้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ด้อย
    โอกาส เป็นต้น สิ่งสำคัญประการหนึ่งซึ่งเปรียบเหมือนสายใยเชื่อมโยงในการสร้างความเข้าใจร่วมกันคือ การสื่อสาร การพิจารณาว่าสังคมมี
    คุณภาพเพียงใดขึ้นอยุ่กับคุณภาพของกลุ่มคนในสังคม การสื่อสารเป็นเครื่องที่สำคัญในการพัฒนากลุ่มคนในสังคม เนื่องจากทำให้เกิดการแลก
    เปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างสมาชิกในสังคม ตลอดจนการเผยแพร่นโยบายของรัฐบาลไปยังประชาชนทั้งในด้านการศึกษา การสาธารณสุข การเมือง
    การปกครอง รวมถึงข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน
    3.ปัญหาสังคมเป็นผลจากการแลกเปลี่ยนทางสังคมซึ่งสืบเนื่องมาจากการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว และปัญหาการใช้ความรุนแรง การแก้ไขปัญหาสังคมจำเป็นต้องใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความเข้าใจร่วม
    กันระหว่างสมาชิกในสังคม ทั้งในระดับครอบครัว สังคม และประเทศ

    11.1 สภาพการพัฒนาสังคม

    - การพัฒนา หมายถึง การกระทำใดๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมซึ่งส่งผลต่อสถาบันทางสังคม โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
    ให้สมาชิกที่อยู่ร่วมกันในสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นทั้งทางด้านวัตถุและทางด้านจิตใจ การพัฒนาสังคมมีความสำคัญด้วย
    กันหลายประการ กล่าวคือ ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมลดน้อยลงไป เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้า
    ทำให้ประชาชนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และทำให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น
    - การพัฒนาสังคมไทยเริ่มมาจากการเดินตามรอยการพัฒนาของประเทศที่เจริญแล้ว เป็นแม่แบบและดำเนินนโยบายสอดคล้องกับทศวรรษ
    แห่งการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติโดยมีการกำหนดแผนพัศนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับแรกที่เน้นการพัฒนาทางด้านวัตถุ กระทั่งแผนพัฒนา
    เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สองที่มห้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมสังคมเรื่อยมา จนกระทั่งมาถึงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่เป็นจุดเปลี่ยนที่
    สำคัญในการเน้นที่การพัฒนาคน จนถึงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 ที่ใช้อยุ่ในปัจจุบันยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

    11.2 การสื่อสารกับการพัฒนากลุ่มคนในสังคม

    - เด็กและเยาวชนเป็นกำลังสำคัญในหารพัฒนาสังคมเนื่องจากจะต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตและมีบทบาทที่สำคัญในการบริหารประเทศ ในการพัฒนาเด็กและเยาวชน การสื่อสารเข้ามามีบทบาทสำคัญด้วยกันหลายด้าน คือการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของเยาวชน
    - สตรีมีประมาณครึ่งหนุ่งของประชากรทั่วประเทศ มีฐานะเป็นภรรยา เป็นมารดา เป็นแรงงานทั้งในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม การใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยแบ่งการพัฒนาสตรีออกเป็น 5 ด้าน คือการพัฒนาศักยภาพสตรี การเปิดโอกาสให้สตรีมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจในทุกระดับ การส่งเสริมให้มีความเสมอภาคและการคุ้มครองทางสังคมแก่สตรี ให้มีการพัฒนาสื่อเพื่อการดำเนินงานด้านสตรี ตลอดจนให้มีการพัฒนาองค์กรและการบริการจัดการเพื่อการดำเนินการด้านสตรี
    - ผู้สูงอายุ เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า กอร์ปไปด้วยความรู้และประสบการณ์ ด้วยเทคโนโลยีและความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้อายุขัยของผู้สูงอายุยืนยาวขึ้น เพื่อเป็นการลดภาระของสังคมที่จะต้องเข้ามารับภาระการดูแลผู้สูงอายุ การสื่อสารจึงมีส่วนช่วยในการพัฒนาผู้สูงอายุให้สามารถช่วยเหลือตัวเองและมีบทบาทในการพัฒนาตนสังคมในหลายประการด้วยกัน คือ ด้านการเตรียมความพร้อมของประชากรเพื่อวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุ ด้านระบบคุ้มครองทางสังคมสำหรับผุ้สูงอายุ ด้านการยริหารจัดการเพื่อการพัฒนางานด้านผู้สูงอายุระดับชาติและการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุและด้านการประมวลและพัฒนาองค์ความรู้ด้านผู้สูงอายุและการติดตามประเมินผลการดำเนินการตามแผนผุ้สูงอายุ
    - ผุ้ด้อยโอกาส เป็นผู้ที่ต้องได้รับการเอาใจใส่จากสังคม ในการเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสารการสงเคราะห์และสวัสดิการ การบำบัดฟื้นฟู การคุ้มครองทางกฏหมาย การพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ รวมถึงการพัฒนาอาชีพเพื่อให้สามารถช่วยตัวเองได้ ตลอดจนมีโอกาสมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การสื่อสารได้เข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาผู้ด้อยโอกาส ทั้งในด้านการช่วยเหลือดูแล การให้บริการพื้นฐานทางสังคมและการสงเตราะห์ฟื้นฟูให้สามารถดูแลตัวเองได้
    - โครงการห้องเรียนสีเขียวจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนมีนิสัยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าและรักษาสิ่งแวดล้อม

    11.3 การสื่อสารกับการแก้ไขปัญหาสังคม

    - ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในหมู่เยาวชนในสถาบันการศึกษาซึ่งจะต้องเติบโตเป็นอนาคตของชาติ ผู้ที่มีบทบาทเกกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ได้แก่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครุ-อาจารย์ ญาติพี่น้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีบทบาทในการป้องกัน เฝ้าระวัง ตลอดจนบำบัดรักษา และเครื่องมือสำคัญในการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายในการแก้ปัญหาก็คือ การใช้การสื่อสาร
    - ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานของสังคม มีบทบาทหน้าที่ในหลายประการทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษาการอบรมปลูกฝังสมาชิกในครอบครัวให้อยู่ได้อย่างมีความสุขนั้นหมายความว่าการปรับบทบาทหน้าที่เป็นไปอย่างรวดเน็วและตลอดเวลาแต่ในบางครอบครัวไม่สามารถปรับตัวได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้ ก็จะประสบกับปัญหาครอบครัวและจำเป็นต้องใช้การสื่อสารช่วยในการแก้ปัญหา
    - การใช้ความรุนแรงเป็นปัญหาสังคมอย่างหนึ่งที่ปรากฏให้เห็นทั่วไปในหลากหลายรูปแบบ ทั้งความรุนแรงที่เสนอโดยผ่านทางสื่อ ความรุนแรงทางการเมือง ซึ่งความรุนแรงดังกล่าวล้วนมีพื้นฐานมาจากความรุนแรงในครอบครัว และผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงก็คือสมาชิกในครอบครัว การสื่อสารเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา
    - การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาสังคม ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทในฐาเป็นสื่อกลางในการทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหา


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Oct 11, 2009 9:34 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 12

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:54 pm

    หน่วยที่ 12 การสื่อสารกับการพัฒนาการเกษตร

    แนวคิด

    1.ความเข้าใจเกี่ยวกับแนงคิด และแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศไทยในปัจจุบันที่นับว่ายังไม่สามารถที่จะเอื้อให้เกิดกระบวนการที่นำไปสู่ระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่นัก เนื่องด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น การขาดข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ การขาดสารการเชื่อมต่อและบูรณาการองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาดั้งเดิมด้านการเกษตรเข้ากับแนวคิด วิธีปฏิบัติ และเทคโนโลยี การเกษตรสมัยต่างๆ
    2.แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการเกษตร ที่มุ่งสู่กระบวนการในการนำข้อมูลข่าวสารไปใช้ในการพัฒนาระบบการผลิตทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    3.กรณีศึกศาเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยที่เป็นตัวอย่างของระบบการผลิตทางการเกษตรหลักๆ เช่น ระบบการผลิตทางการเกษตรตามแนว ''ทฤษฎีใหม่'' ที่เป็นตัวแทนของระบบการทำการเกษตรแนวเกษตรยั่งยืนและเกษตรกรรายย่อย จากนั้นอีก 2 กรณีศึกษาก็จะเป็นตัวอย่างที่เป็นตัวแทนระบบการผลิตตามแนวเกษตรกระแสหลัก หรือทีเรียกว่าการเกษตรเชิงพาณิชย์หรือการเกษตรเชิงอุตสาหกรรมเป็นต้น

    12.1 สภาพการณ์การพัฒนาด้านการเกษตร
    - แนวคิดเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ วิวัฒนาการของการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยที่มีความต่อเนื่องในการพัฒนาการมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรธรรมชาติ เพราะเป็นทั้งแหล่งงานและแหล่งรายได้ที่มีความสำคัญมากของประเทศ
    - ระบบการผลิตทางการเกษตรของประเทศแบ่งออกเป็นระบบการผลิตหลักๆ 3 ระบบคือ 1 ระบบการเกษตรแบบดั้งเดิม หรือการเกษตรเพื่อการยังชีพ 2 ระบบการเกษตรวมัยใหม่ 3. ระบบการเกษตรแบบยั่งยืน ซึ่งแต่ละระบบการผลิตก็จะมีกระบวนการวิธีการ เทคนิคและทรัพยากรพื้นฐานที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันไป
    - แนวทางการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยสามารถที่จะแบ่งออกเป็น 2 วีธีการหลักคือ 1.การพัฒนาการเกษตรโดยใช้กลไกสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 2. การพัฒนาการเกษตรโดยใช้กลไกด้านเครือข่ายในลักษณะต่างๆ

    12.2 แนวคิดการสื่อสารกับพัฒนาการเกษตร
    - ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ วัตถุประสงค์ และบทบาทของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทย นับว่าจำเป็นที่จะต้องทีการปรับปรุงพัฒนาจากเดิมที่มักเป็นการใช้ความรุ้ประสบการณ์ที่บรรพบุรุษได้ทดลองเรียนรู้และสั่งสม สู่กระแสการปฏิวัติกระบวนการการผลิตด้านการเกษตรของกระแสโลกปัจจุบัน ที่ต้องเท่าทันนวัตกรรมตลอดจนเทคโนโลยีการเกษตรต่างๆดังนั้น การสื่อสารเพื่อการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยจึงนับว่ามีความจำเป็นและเร่งด่วนเป็นอย่างยิ่ง
    - แนวคิดและทฤษฏีการใช้สื่อสารเพื่อการพัฒนาการเกษตร แบ่งออกได้ประมาณ 4 ทฤษฎีหลักคือ 1. ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการเผยแพร่นวัตกรรม 2.ทฤษฎีการสื่อสารแบบ 2 ขั้นตอน 3.แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายการสื่อสาร 4.ทฤษฎีการแสวงหาข้อมูลข่าวสาร
    - สื่อประเภทต่างๆที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการเกษตรในระบบต่างๆ คือ ระบบเกษตรดั้งเดิม ระบบเกษตรสมัยใหม่ และระบบการเกษตรยั่งยืน ซึ่งโดยภาพรวมและวจะเป็นสื่อที่คล้ายคลึงกัน เช่น สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อกิจกรรม และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน แต่จะใช้แตกต่างกันไปตามระบบการผลิตในแต่ละระบบดังที่กล่าวข้างต้นแล้ว

    12.3 กรณีศึกษาเรื่องการสื่อสารกับการพัฒนาการเกษตร
    กรณีศึกษาทั้ง 3 กรณ๊ศึกษาที่ได้นำมาเป็นตัวอย่างที่มุ่งหวังที่จะให้ผู้อ่านสามารถใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ และพิจารณากรณีศึกษาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อการพัฒนาการเกษตรที่มีอยุ่มากมายในสังคมไทย ทั้งนี้กรณีศึกษาที่ 1 ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตรตามแนวพระราชดำริ "เกษตรทฤษฎีใหม่" เป็นกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นระบบการสื่อสารที่ทำหน้าที่เป็นกระบวนการในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีทางการเกษตรต่างๆสู่เกษตรกร ส่วนอีก 2 กรณีศึกษาคือ "ตัวตนและสังคมในธุกิจกุ้งกุลาดำ" และ "การทำการเกษตรแบบมีพัธะสัญญาของเกษตรกรรายย่อย" เป็นตัวอย่างของความล้มเหลวเกี่ยวกับระบบการเกษตรแบบสมัยใหม่ ที่หนึ่งในสาเหตุของความล้มเหลวคือ การขาดข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอทันการณ์ และที่ถูกต้องชัดเจน และที่สำคัญคือข้อมูลข่าวสารนั้นไม่มีประสิทธิภาพตามที่เกษตรกรต้องการ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Oct 11, 2009 9:35 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 13

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:55 pm

    หน่วยที่ 13 การสื่อสารกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

    แนวคิด
    1.แนวทางการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก และอยู่บนพื้นฐานของการใช้ประโยชน์
    จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นปัจจัยของการพัฒนาประเทศ ได้นำไปสู่ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ
    และสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษ และความขัดแย้งในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
    2.การสื่อสารถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทุกประเภทที่จะทำให้เกิดการพัฒนาของประเทศในด้านต่างๆ
    และรวมถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติ มีความตระหนักถึงปัญหา
    สิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ
    3.การศึกษากรณีตัวอย่างของโครงการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม จะทำให้สามารถเข้าใจการดำเนินงานที่จะส่งผลให้เกิดความเข้าใจ
    ถึงกระบวนการการใช้สื่อเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี และมีประสิทธิภาพ

    13.1 การพัฒนาสิ่งแวดล้อมของไทย
    - สิ่งแวดล้อมคือ สิ่งต่างๆที่อยุ่รอบตัวเรา ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งนี้อาจแบ่งประเภทของสิ่งแวดล้อมได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
    และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น นอกจากนี้แล้วยังต้องให้ความหมายของสิ่งแวดล้อมในลักษณะของความสัมพันธ์กับมนุษย์ในสังคม
    รวมถึงสิ่งต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมมนุษย์
    - ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาประเทศ และภายใต้กระแสหลักของการพัฒนาประเทศไทยเป็นเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆทั่วโลก
    คือการให้ความสำคัญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ ซึ่งเป็นพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหากไม่มีมาตราการ
    ที่เหมาะสมต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมแล้ว จะนำไปสู่ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    - พัฒนาการของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทสไทยมีมาอย่างต่อเนื่อง เช่น รัฐบาลมีนโยบายและแผนงานในระดับประเทศ และในระดับหน่วยงานที่รับผิดชอบ
    แต่ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ยังคงมีอยุ่และรุนแรงเพิ่มขึ้นและได้นำไปสู่การทบทวนแนวทางการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยแสวงหาความร่วมมือจากภาคประชาชน องค์กรธุรกิจเอกชน เป็นต้น
    - การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมทีความเคลื่อนไหวของขบวนการสิ่งแวดล้อมโดยภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ
    โดยเริ่มจากปลุกจิตสำนึกให้คนรุ่นใหม่หันมาห่วงใยธรรมชาติมากขึ้น เรียกร้องให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชน
    มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และให้มีการทบทวนการพัฒนาประเทศและนโยบายจัดการ
    ทรัพยากรที่เป็นแบบรวมศูนย์

    13.2 แนวคิดการสื่อสารกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

    - การสื่อสารเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม เพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
    การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ อาทิ นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมของรัฐ กฏหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
    - การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ควรมีลักษณะของการยกระดับความรุ้ความเข้าใจ และทักษะในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
    สิ่งแวดล้อม
    - สื่อที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม คือ สื่อมวลชน การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อม การจัดทำสปอตโฆษณา
    รณรงค์ผ่านสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ และสื่ออินเทอร์เนต
    - การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อกสนก่อรูปมติมหาชนและสนับสนุนนโยบายในด้านต่างๆแต่สำหรับในประเทศไทย บทบาทของการสื่อสารต่อการปรับเปลี่ยนนโยบาย
    ด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่อาจจะไม่เกิดผลในทางปฏิบัติที่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากแนวคิดในการพัฒนาประเทศยังคงให้ความสำคัญ
    ต่อการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมากกว่าจะให้ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อม การรวมศูนย์อำนาจในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและด้วยข้อจำกัดของสื่อ
    และรูปแบบการทำงานของสื่อ

    13.3 กรณีศึกษาเรื่องการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
    - การศึกษากรณีตัวอย่างของโครงการอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร เป็นการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
    ในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเกิดผลสำเร็จอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนนั้น มีการใช้การสื่อสารประเภทต่างๆที่มีความหลากหลาย เช่น
    สื่อบุคคล อาสาสมัคร การเผยแพร่กิจกรรมผ่านสื่อมวลชน การจัดตั้งเครื่อข่ายของการสื่อสารในชุมชนและระหว่างชุมชน เป็นต้น
    - การศึกษากรณีตัวอย่างการสื่อสารเพื่อสร้างความปลอดภัยด้านสารเคมี แสดงให้เห็นว่าการสื่อสารเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการดำเนินการเพื่อการป้องกันดูแลสุขภาพ
    อนามัยของผุ้ที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีทุกระดับ และทุกขั้นตอน และบทบาทของการสื่อสารดังกล่าวนี้จะเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในการสื่อความหมายได้
    จำเป็นจะต้องกำหนดรูปแบบของการสื่อสาร กลุ่มเป้าหมาย สาร ให้มีความชัดเจนและตรงกับความต้องการของกลุ่มต่างๆ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Oct 11, 2009 9:41 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 14

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:57 pm

    หน่วยที่ 14 การสื่อสารกับการพัฒนาศาสนาและวัฒนธรรม

    แนวคิด

    1.ก่อนหน้าที่จะมีการพัฒนาสังคมไทยอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกนั้น สังคมไทยเป็นสังคมที่มีศาสนาและระบบวัฒนธรรมอยู่รูปแบบหนึ่ง ในด้านศาสนา พุทธศาสนาถือเป็นแกนกลางของสังคมแต่เมื่อมีการพัฒนา ศาสนาก้หมดบทบาทหน้าที่ โดยมีสถาบันเศรษฐกิจเข้ามาเป็นแกนกลางผลักดันทิศทางการพัฒนาของสังคม
    2.ในส่วนของวัฒนธรรมนั้น การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยจากวัฒนธรรมแบบพุทธเกษตรของสังคมชาวนามาเป็นวัฒนธรรมแบบวิทยาศาสตร์ของตะวันตกเริ่มต้นตั้งแต่ยุคสมัย จอมพล ป. พิบูลย์สงครามจนกระทั่งถึงยุคเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ใช้กลยุทธ์การนำวัฒนธรรมใหม่เข้ามาแทนที่วัฒนธรรมเดิมเป็นกลยุทธ์หลัก
    3.เราอาจพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการสื่อสารได้หลายแง่มุม เช่น พิจารณาว่าศาสนาคือระบบการสื่อสารแบบหนึ่ง หรืออาจพิจารณาว่าการสื่อสารและศาสนาต่างเป็นเครื่องมือของกันและกันสำหรับบทบาทของการสื่อสารที่มีต่อศาสนานั้นมีในทุกระดับและหลากหลาย นับตั้งแต่การเป็นเครื่องมือช่วยกลุ่มผู้ศรัทธาในศาสนา ไปจนกระทั่งถึงการรักษาและตรวจสอบองค์กรศาสนา รวมทั้งบทบาทในการช่วยพัฒนาศาสนา ที่ต้องปรับปรนตนเองไปท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคม ดังเห็นได้จากกรณีศึกษาที่แสดงให้เห็นบทบาทการสื่อสารของบุคคลากรทางศาสนา เช่น พระภิกษุหลายรูป
    4.สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการสื่อสาร พิจารณาได้หลายแง่มุมเช่นกัน โดยขึ้นอยุ่กับความเข้าใจในนิยามของวัฒนธรรม เช่น พิจารณาว่าการสื่อสารเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรม หรือ พิจารณาว่า ในยุคสังคมสารสนเทศนั้น การสื่อสารไม่ได้มีฐานะเป็นเพียงแค่เครื่องมือของวัฒนธรรมเท่านั้น หากแต่ได้ก้าวเข้ามาเป็นผู้สร้างสรรค์หรือผู้กลั่นวัฒนธรรมซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลายในแต่ละสังคม ขอพิจารณาดังกล่าวจะมีผลมาถึงการกำหนดบทบาทหน้าที่ของการสื่อสารที่มีต่อการพัฒนาวัฒนธรรม เช่น จากทัศนะแรกจะมองเห็นบทบาทของการสื่อสารในการอนุรักษ์หรือสืบทอดวัฒนธรรมที่เป็นหลักของสังคม แต่ทัศนะหลังจะเน้นหนักบทบาทของการสื่อสารในการปรับปรนแลสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา

    14.1 ภาพรวมของการพัฒนาศาสนาและวัฒนธรรม
    - ทัศนะที่ใช้ศึกษาเรื่องการสื่อสารกับการพัฒนาศาสนานั้นมีหลายแง่มุม เช่น มุมมองที่พิจารณาว่าการสื่อสารเป็นเครื่องมือของศาสนา ทัศนะที่มองว่าศาสนาก็คือระบบการสื่อสารแบบหนึ่ง ทัศนะดังกล่าวจะมีผลมาถึงบทบาทการสื่อสารในการพัฒนาสาสนา
    - สังคมไทยในอดีต ศาสนาเคยมีบทบาทมากมายและเป็นศาสนาที่เป็นแกนกลางของสังคม แต่เมื่อมีแผนพัฒนาประเทศ บทบาทของศาสนาก็ลดน้อยลง สถาบันเศรษฐกิจได้ก้าวเข้ามาแทนที่ ปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีกระแสการพัฒนาตามแนวทางศาสนาที่ก่อตัวขึ้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
    - สำหรับมิติวัฒนธรรมนั้น นับตั้งแต่ยุคจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม มาจนถึงยุคที่มีแผนพัฒนาประเทศ วัฒนธรรมไทยเดิมเป็นวัฒนธรรมแบบพุทธเกษตรที่เน้นความเจริญด้านจิตใจได้ถูกวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ที่เน้นความเจริญทางวัตถุของตะวันตกเข้ามาแทนที่ โดยที่สื่อมวลชนได้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

    14.2 การสื่อสารกับการพัฒนาศาสนา
    - ทัศนะที่มองว่าศาสนาคือการสื่อสารแบบหนึ่งเสนอว่า ระบบทั้งสองมีทั้งจุดร่วมและจุดต่างกันในแง่จุดรวมก็เช่น ทั้งสองระบบจะมีทั้งผุ้ส่งสาร สาร ช่องทาง/สื่อ ผู้รับสาร ในแง่ความแตกต่างจะเป็นเกณฑ์วินิจฉัยคุณค่าของสองระบบที่แตกต่างกัน เช่น พุทธศานาสนใจเจตนาของผู้ส่ง แต่การสื่อสารจะสนใจปรสิทธิภาพหรือกลยุทธ์การสื่อสาร
    - กลุ่มแนวคิดที่สนใจความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ต่างวิพากษ์วิจารณ์กันและกัน กลุ่มที่ต่างมองเห็นอีกฝ่ายหนึ่งเป็นเครื่องมือ และกลุ่มที่สนใจในรุปแบบและเนื้อหาที่หลากหลายในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง 2 สถาบัน
    - บทบาทของการสื่อสารกับการพัฒนาศาสนามีหลากหลายและแตกต่างกันตามทัศนะที่กล่าวข้างต้น และตามระดับของการสื่อสาร เช่น บทบาทในการช่วยเผยแพร่ศาสนา ช่วยธำรงรักษาหรือขยายกลุ่มผู้ศรัทธาในศาสนาช่วยพัฒนาหรือตรวจสอบบุคลลากรหรือองค์กรศาสนา ระดมทรัพยากรให้แก่องค์กรศาสนา ช่วยการปรับปรนตัวของศาสนาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
    - จากกรณีศึกษาทั้ง 3 กรณี จะเห็นว่าความหลากหลายในการปรับตัวของศาสนาที่เริ่มจากหลวงพ่อชาที่ปรับปรุงการเทศน์ ซึ่งเป็นการสื่อสารทางศาสนา หลวงพ่อนานที่เริ่มเชื่อมต่อระหว่างหลักธรรมกับการจัดการทางเศรษฐกิจ จนกระทั่งถึงพระพยอมที่ประสารรูปแบบการสื่อสารแบบเดิมของศาสนาเข้ากับรูปแบบการสื่อสารแบบใหม่ๆอย่างมีประสิทธิภาพ

    14.3 การสื่อสารกับการพัมนาวัฒนธรรม
    - มีแนวคิด 2 ทัศนะใหญ่ๆที่พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการสื่อสาร แนวคิดแรก พิจารณาว่าการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมหลักของสังคม ซึ่งเป็นทัศนะของสำนักวัฒนธรรมศึกษาอเมริกัน แนวคิดที่สอง ถือว่าการสื่อสารเป็นตัวกลั่นหรือสร้างสรรค์วัฒนธรรมภายในสังคมที่มีอย่างหลากหลาย แนวคิดนี้เป็นของสำนักวัฒนธรรมศึกษาแบบยุโรป/อังกฤษ ซึ่งให้ความสนใจกับกระบวนการผลิตเพื่อสืบทอดวัฒนธรรมของคนกลุ่มต่างๆ
    - คำนิยามของวัฒนธรรมเองก็มีหลายระดับ ในแวดวงการสื่อสารจะสนใจความหมายแบบโครงสร้างที่ระบุว่า วัฒนธรรมคือสัญลักษณ์ต่างๆที่ถูกประกอบสร้างความหมายขึ้นมาจากการทำงานของสถาบันต่างๆในกลุ่มคนหรือระบบสังคมแต่ละสังคม
    - บทบาทของการสื่อสารต่อการพัฒนาวัฒนธรรมมีหลากหลายตามทัศนะที่กล่าวมาข้างต้นนับตั้งแต่บทบาทในการอนุรักษ์วัฒนธรรมหลัก บทบาทในการแพร่ขยายวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง การแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรม ไปจนกระทั่งถึงการปรับปรนสร้างเสริมใหม่ทางวัฒนธรรม
    - สำหรับกรณีศึกษาที่ยกมาทั้ง 3 กรณี จะเน้นหนักแนวคิดวัฒนธรรมศึกษาแบบอังกฤษที่เน้นการปรับปรนทางวัฒนธรรม การรื้อฟื้นเพื่อสร้างใหม่และการต่อสู้ระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Mon Oct 12, 2009 8:24 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty หน่วยที่ 15

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:58 pm

    หน่วยที่ 15 ปัญหาและแนวโน้มการสื่อสารเพื่อการพัฒนา

    แนวคิด
    1.ผลที่เกิขึ้นจากการสื่อสารเพื่อการพัฒนาคือการสร้างความทันสมัยให้เกิดขึ้นทั้งในระดับบุคคล สถาบัน และสังคม ซึ่งสามารถทำได้มนระดับหนึ่ง เช่น การมีเทคโนโลยีการสื่อสารใช้มากขึ้น การที่คนไทยมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นนี้มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา รวมทั้งยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น มีความทันสมัยแต่ไม่พัฒนา ทั้งนี้ เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ประเภทของสื่อที่นำมาใช้พัฒนา เป้าหมาย/นโยบายในเรื่องการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    2.ปัญหาของการสื่อสารเพื่อการพัฒนามี 3 ระดับ ระดับแรก คือ ปัญหาในระดับแนวคิด ได้แก่ ข้อจำกัดของทฤษฎีความทันสมัยซึ่งเป็นทฤษฎีกระแสหลักที่เน้นการพัฒนาที่เน้นการพัฒนาเพียงด้านเดียวคือเศรษฐกิจ ระดับที่ 2 คือระดับกลยุทธ์ เช่น กลยุทธ์การเข้าแทนที่หรือการเลือกใช้แต่สื่อมวลชน และระดับที่ 3 ปัญหาระดับการดำเนินงาน เช่นการใช้สูตรการพัฒนาสูตรเดียวทั่วประเทศโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในแต่ละท้องถิ่นหรือการเลือกผู้นำการเปลี่ยนแปลงไม่เหมาะสม
    3.แนวโน้มของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายระดับ เช่น การเปลี่ยนแปลงในระดับแนวคิดเรื่องการพัฒนาและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงระดับกลยุทธ์จากกลยุทธ์การเข้าแทนที่เป็นกลยุทธ์การปรับปรนและการเน้นการมีส่วนร่วม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงในเรื่องประเด็นความสนใจ เช่น ประเด็นใหม่ๆ เรื่องสิทธิในการสื่อสาร การรู้เท่าทันสื่อ การจัดการสื่อสาร และการให้ความสนใจกับสื่ออื่นๆนอกเหนือจากสื่อมวลชน เช่น เครือข่ายการสื่อสาร

    15.1 ผลของการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    - จากการวางป้าหมายของการสื่อสารเพื่อการพัฒนา ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลระดับบุคคล คือการพัฒนาบุคคลให้เป็น คนที่ทันสมัย ผลการศึกษาพบว่า เป้าหมายดังกล่าวด้ผลดังที่วางไว้ในระดับหนึ่ง ส่วนผลในระดับครวบครัวนั้นมีทั้งด้านบวกและด้านลบ
    ด้านลบการหย่าร้างสูงขึ้น ผู้หญิงนิยมไม่มีคู่เพราะการตีแผ่ด้านลบของการมีครอบครัวจากละครและอืนๆ ส่วนด้านบวกคือการนั่งรวมตัวกันดูโทรทัศน์พูดคุยกันเป็นการสานสัมพันธ์ในครอบครัว เป้นต้น
    - ผลที่เกิดในระดับชุมชนและสังคมนั้น ที่เห็นชัดเจนคือ สังคมไทยมีเทคโนโลยีการสื่อสารใช้มากขึ้น และการสื่อสารได้แพร่กระจายเข้าไปมีบทบาทในสถาบันต่างๆในสังคม อย่างไรก็ตาม มีข้อพิจารณาว่าผลจากการใช้การสื่อสารเพื่อการพัฒนานั้น อาจจะสามารถสร้าง ความทันสมัยได้ แยงไม่อาจจสร้าง การพัฒนา ได้อย่างแท้จริง

    15.2 ปัญหาการสื่อสารเพื่อการพัฒนาจากอดีตถึงปัจจุบัน
    - ปัญหาของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาในระดับแนวคิดก็คิด ลักษณะที่จำกัดของตัวทฤษฎีด้านการพัฒนา คือทฤษฎีความทันสมัยซึ่งเน้นการพัฒนาเพียงมิติเดียวคือด้านเศรษฐกิจ และแบ่งแยกสังคมประเพณีกับสังคมสมัยใหม่ออกเป็นสองขั้วที่แตกต่างกัยโดยสิ้นเชิง ซึ่งมีผลต่อเนื่องมาถึงทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่มองประชาชนว่าเป็นผุ้รับสารแบบตั้งรับ และเน้นแต่การใช่สื่อสมัยใหม่คือสื่อมวลชนเพื่อการโน้มน้าวประชาชน โดยปราศจากการรับรู้สภาพของผู้รับสารอย่างแท้จริง
    - สำหรับปัญหาระดับกลยุทธ์อันต่อเนื่องมาจากปัญหาระดับแนวคิด เป็นการใช้กลยุทธ์การเข้าแทนที่ การใช้กลยุทธ์ที่เน้นสื่อประเภทเดียว การวางกลยุทธ์ที่ไม่ครบวงจร และไม่สอดครับกับสภาพความเป้นจริง
    - ส่วนปัญหาขั้นตอนสุดท้ายคือขั้นดำเนินการนั้นคือ การใช้รูปแบบการดำเนินการแบบเดียวกันทุกแห่ง โดยลืมความแตกต่างระหว่างแต่ละท้องถิ่น การคัดเลือกผุ้เปลี่ยนแปลงที่มาจากภาครัฐหรือเอกชนที่ทันสมัยเท่านั้น รวมทั้งการดำเนินงานที่ไม่ครบวงจร
    แชร์แวส บอกว่า เมื่อเกิดการพัฒนาขึ้นมาแล้ว ก็มีแต่จะรุกก้าวไปข้างหน้า ไม่มีกระบวนการย้อนกลับ
    ข้อเสนอสำคัญๆของกระบวนทัศน์การพัฒนาคือการพึ่งพา จึงกล่าวว่า
    **แยกความสัมพันธ์เรียกประเทศทีพัฒนาแล้วว่าประเทศศูนย์กลาง ประเทศด้อยพัฒนาว่าประเทศรอบนอก
    **อุปสรรคของการพัฒนาของประเทศด้อยพัฒนไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายในสังคมของประเทศที่ด้อยพัฒนาแต่เกิดจากปัจจัยภายนอก คือความสัมพันธ์แบบพึ่งพาและเอาเปรียบของประเทศศูนย์กลาง
    **ความเจริญก้าวหน้าของประเทศพัฒนาแล้วเกิดจากความด้อยพัฒนาของประเทศรอบนอก
    **ถ้าประเทศรอบนอกอยากจะพัฒนาตนเองก็ต้องตัดขาดตัวเองจากประเทศศูนย์กลาง ออกจากระบบตลาดโลกและพึ่งตนเองแทนการพึ่งพา

    15.3 แนวโน้มของการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    - แนวโน้มของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาแนวโน้มแรกคือ การเกิดแนวคิดใหม่ทั้งด้านการพัฒนาและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา ให้ด้านการพัฒนามีกระบวนการทัศน์การเลือกที่ปฏิเสธเรื่องความทันสมัย ส่วนแนวคิดด้านการสื่อสารเพื่อการพัฒนามีการปรับเปลี่ยนทั้งแบบจำลองการสื่อสาร ทิศทางการสื่อสารและทัศนะต่อผุ้รับสารรวมทั้งการให้นิยามการสื่อสารเสียใหม่ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง
    - แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงด้านกลยุทธ์มีมากมายตั้งแต่การเปลียนกลยุทธ์การใช้สื่อเพื่อการโน้มน้าวมาสู่การใช้สื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน กลยุทธ์การแทนที่มาสู่กลยุทธ์การปรับปรน จากเน้นที่หน่วยปัจเจกบุคคลมาเป็นการพัฒนาระดับชุมชน และจากการวางแผนของส่วนกลางมาเป็นการเน้นการมีส่วนร่วมของประชากร/ผุ้รับสาร
    - แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงประเด็นความสนใจเรื่องการสื่อสารเพื่อการพัฒนา จะมีประเด็นใหม่ๆเกิดขึ้น เช่น สิทธิการสื่อสาร การรู้เท่าทันสื่อ การจัดการแสวงหาบทบาทใหม่ของการสื่อสารที่สอดรับไปกับกระบวนทัศนืใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจ การเมือง สังคมวัฒนธรรม

    Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sat Sep 26, 2009 6:10 pm, ทั้งหมด 6 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาการสื่อสารกับการพัฒนา 15337 ค่ะ Empty คำถามก่อนเรียน - หลังเรียน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Sep 24, 2009 4:59 pm

    1.การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศไทย ได้แก่ โครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น มีจำนวนของเด็กน้อยลงเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรมเปลี่ยนจากสังคมชนบทเป็นสังคม
    เมือง เปลี่ยนจากการอยู่อาศัยแบบครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวเพิ่มขึ้น
    2.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรการเปลี่ยนแปลงด้าน
    เทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงขององค์กรต่างๆภาย
    ในสังคม และการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
    3.การเปลี่ยนแปลงทางสังคมต้องได้รับการยินยอมพร้อมใจจากสมาชิกในสังคมเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นแนวคิดทฤษฎีวิวัฒนาการ
    4.ทฤษฎีความทันสมัย ให้ความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นดัชนีสำคัญที่จะพัฒนาผู้คน
    5.ทฤษฎีเน้นความต้องการพื้นฐาน เป็นการพัฒนาที่ให้ความสนใจกับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน
    6.ทฤษฏีการพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันโดยไม่ทำให้ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปต้องเสียไป
    7.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5-6 เป็นแผนพัฒนาเน้นแนวรุกเน้นการเจริญเติบโตด้วย
    การกระจายความเจริญโดยยึดพื้นที่เป็นหลักมีการกำหนดความจำเป็นพื้นฐานและดัชนีชี้วัดเพื่อยกระดับ
    คุณภาพชีวิตประชาชน
    8.แนวโน้มสังคมโลกที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศได้แก่ เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะ
    ประชากร เกิดความเหลื่อมล้ำทางความรู้ทั้งในระดับระหว่างประเทศและในประเทศ เกิดภาวะกำลังการผลิต
    ส่วนเกินในสินค้าและบริการ เกิดการพึ่งพาและร่วมมือระหว่างกันมากขึ้นในทุกระดับ
    9.การเสริมสร้างความแข็งแรงของชุมชน จัดเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศการแก้ปัญหาความยากจน
    10. ยุทธศาสตร์การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้กำหนดการเข้าสู่ความเป็นสากลของสินค้าและบริการ โดยสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบ
    ทางการแข่งขันในเบื้องต้นกำหนดไว้ 9 ประเภท เช่น การเป็นครัวของโลก เป็นศูนย์กลางการให้บริการทางด้าน
    สุขภาพของโลก ศูนย์กลางการท่องเที่ยวของเอเชีย ศูนย์กลางแฟชั่นของเอเชีย เป็นฐานการผลิตยายยนของเอเชีย เป็นศูนย์กลางการออกแบบกราฟิกของโลก
    11.อัตราการเกิด ตาย หรือย้ายถิ่นของประชากร เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้าน
    โครงสร้างประชากร
    12.การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นผลจากการแข่งขันและความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ขัดกัน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นผลจากการต่อสู้แข่งขันกันในบรรดากลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในสังคมเพื่อผล
    ประโยชน์ของกลุ่มตนเป็นแนวคิดทฤษฎีความขัดแย้ง
    13.ทฤษฎีความทันสมัย ให้ความสำคัญต่อการยกระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศและผลักดันให้
    เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเชื่อว่าจะส่งผลดีให้ประเทศสามารถยกระดับการพัฒนาประเทศไปสู่ภาวะ
    ประเทศที่มั่งคั่งได้ต่อไป
    14.ทฤษฎีการพัฒนาแบบยั่งยืน ให้ความสำคัญต่อความพยายามคงภาวะความสมดุลระหว่างมิติด้านเศรษฐกิจ
    กับสังคมและสิ่งแวดล้อมในระบบเปิด คงระดับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจให้สัมพันธ์และให้เกิด
    ความเท่าเทียมกันทางสังคม โดยคงไว้ซึ่งระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม
    15.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ใช้แนวคิดการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    16.แนวโน้มสังคมโลกที่สำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ทำให้เกิดภาวะขาดประชากรวัยแรงงานที่
    เหมาะสมคือเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากร
    17.การพัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคมและผู้ด้อยโอกาสเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจน
    1.คล็อดแชนนั้นและวอร์เรนวีเวอร์กล่าวว่าการสื่อสารมีความหมายคลอบคลุมถึงวิธีการทั้งหมดที่ทำให้จิตใจของบุคคลหนึ่งกระทบถึงจิตใจของอีกคนหนึ่ง
    2.การสื่อสารระหว่างมนุษย์ เช่น พฤติกรรม กิจกรรม จิตใจ ความสัมพันธ์
    3.บุคคล การแบ่งปัน การแลกเปลี่ยน ข่าวสารทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร
    4.ผู้ชมฟุตบอลคือผู้รับสาร
    5.กริยาท่าทางที่ผู้รับสารแสดงออกมาให้ผู้สื่อสารรับทราบคือปฏิกริยาป้อนกลับ
    6.การที่เรากล่าวว่าการสื่อสารเป็นกระบวนการเพราะมีการเปลี่ยนแปลงและมีสภาพต่อเนื่อง
    7.เบอร์ดล บอกว่าองค์ประกอบของการสื่อสารต้องมีผู้เข้ารหัสสารและผู้ถอดรหัสสาร
    8.การเสนอบทบรรณาธิการ เป็นหน้าที่ด้านความคิดเห็นหรือการชักจูงของการสื่อสาร
    9.วิวัฒนาการของการสื่อสารพัฒนาการสายพัฒนาขีดความสามารถของสถาบันที่เน้นการพัฒนาองค์กรและ
    บุคลากรในภาคการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    10.การรณรงค์เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสายการตลาด
    เพื่อสังคม
    11.ชาร์ลส์ คูลลีย์ กล่าวว่า การสื่อสาร หมายถึง กลไกที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ดำรงอยู่ได้
    และพัฒนาก้าวหน้าต่อไป
    12.ข่าวสาร คือ เป็นข่าว เป็นสัญญลักษณ์ เป็นสัญญาณ เป็นลักษณะเนื้อหา
    13.แหล่งสารได้แก่ สถานีวิทยุ กลุ่มนักข่าวโทรทัศน์ โรงถ่ายภาพยนต์ สำนักงานหนังสื่อพิมพ์
    14.สาร คือ สาระที่ส่งออกไปจากผู้ส่งสารถึงผู้รับสาร
    15.กระบวนการสื่อสารคือ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร กระทำระหว่างบุคคลสองบุคคล อาศัยสัญญาณหรือสัญลักษณ์
    สารมารถเข้าใจความหมายกันได้
    16.ผลการสื่อสารองค์ประกอบลาสเวลล์เพิ่มเข้ามาในกระบวนการสื่อสาร
    17.เนื้อหาที่มุ่งเน้นให้ผู้รับสารเกิดตวามสงสัย หรือวาดมโนภาพไปต่างๆนานาเป็นหน้าที่ด้านบันเทิง
    18.การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เกี่ยวกับการเกษตรในประเทศที่กำลังพัฒนาเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของ
    การสื่อสารสายการส่งเสริม
    19.การจัดตั้งศูยน์โทรคมนาคมในระดับชุมชนของประเทศกำลังพัฒนาเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของการสื่อสาร
    เพื่อการพัฒนาสายสารสนเทศน์การศึกษาและการสื่อสารเกี่ยวกับประชากรและการสื่อสารสุขภาพ
    20.ประเทศฟิลิปปินส์เป็นผู้บุกเบิกการเรียนการสอนด้านนิเทศน์ศาสตร์พัฒนาการ
    1.ระบบการสื่อสารในสังคมโบราณอาศัยการติดติ่โดยอาศัยปากเปล่า
    2.ตัวแปรที่แสดงถึงการพัฒนาด้านวัฒนธรรมคืออัตราส่วนของประชาชนที่สามารถอ่านได้อย่างน้อย 1 ภาษา
    3.ขั้นตอนของการยอมรับนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมคือการยอมรับ
    4.กลุ่มรับสิ่งใหม่เร็ว จัดให้เป็นกลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลง
    5.ทฤษฎีการมีส่วนร่วมทางการสื่อสารเพื่อการพัฒนาเป็นแนวคิดที่ประชาชนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้และ
    พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง
    6.แนวคิดของโรเจอร์สและคินเคน สะท้อนกระบวนการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างบุคคลในรูปวงรี
    7.ทฤษฎีการกำหนดวาระถูกนำมาใช้เมื่อกล่าวถึงสื่อสารมวลชนกับการพัฒนาด้านการเมือง
    8.เปาโล แฟร์ เป็นผู้นำทางความคิดของทฤษฎีส่วนร่วมทางการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    9.กลุ่มล้าหลัง แทบจะไม่มีลักษณะของผู้นำความคิดการตัดสินใจมักขึ้นอยู่กับสิ่งที่คนรุ่นก่อนๆเคยทำ
    10. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนพัฒนามาจากสิทธิการสื่อสารและสิทธิในการรับรู้ของประชาชน
    11.ระบบการสื่อสารในสังคมสมัยใหม่ คือการแลกเปลี่ยนข่าวสารคลอบคลุมกลุ่มชนต่างๆที่กระจายกันอยู่
    12.อัตราส่วนของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองเป็นตัวแปรที่แสดงถึงการขยายตัวของสังคมมหานคร
    13.ขั้นการประเมินเป็นขั้นการทดลองในระดับความคิด
    14.กลุ่มผู้รับสิ่งใหม่เร็วเป็นผู้ยอมรับนวัตกรรมเป็นกลุ่มแรก
    15.กรณีวิทยุชุมชนเกี่ยวข้องกับทฤษฎีการหลอมรวมกันของการสื่อสาร
    16.ทฤษฎีการกำหนดวาระเน้นความสำคัญของหน้าที่การสื่อสารในการเสนอข่าว
    17.ชอง ดาร์คี เป็นบุคคลแรกที่เสนอแนวคิดเรื่องสิทธิการสื่อสาร
    18.ทฤษฎีการพัฒนาแบบพึ่งพามีบทบาทสำคัญให้มีการจัดระเบียบสารสนเทศและการสื่อสารของโลกใหม่
    19.ฌอน แมคไบรด์ กล่าวว่า การมีส่วนร่วมเป็นส่วนประกอบสำคัญของการสื่อสาร ก่อให้เกิดกระบวนการสื่อสารสองทาง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในทุกสังคม
    1.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแบบจำลองการสื่อสารของโอดอนแนลล์และเคเบิ้ลที่นับว่าเป็นแบบจำลองการสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับการโน้มน้าวใจได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร ผู้รับสาร สื่อและช่องทาง
    2.บริบทของการสื่อสารหมายถึง สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ช่องทางการสื่อสาร ภาษาและวัฒนธรรมประเพณี
    3.การรณรงค์ หมายถึง การออกแบบกระบวนการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงเฉพาะกลุ่มที่ต้องการและภายในระยะเวลาที่กำหนด
    4.แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจในช่วงแรกๆจะเน้นความสำคัญที่ผู้ส่งสาร
    5.สิ่งที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการให้เกิดคือการเปลี่ยนแปลงตามที่ต้องการ
    6.ผลของการโน้มน้าวใจที่โฮฟแลนด์และเจนิส กล่าวว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้และสำนึก ความรู้สึกและกพฤติกรรม
    7.วิธีการในการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ – วิธีการทำให้เด่นขึ้น ลดความสำคัญลง ไม่ให้ความสำคัญ และวิธีการรณรงค์
    8.การมีส่วนร่วม คือ การร่วมกันกระทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งตามที่ทุกฝ่ายสนใจร่วมกันและเอื้อประโยชน์ร่วมกัน
    9.การรณรงค์มี 3 ประเภทคือ รณรงค์ทางการเมือง รณรงค์ทางการค้า และการรณรงค์เพื่ออุดมการณ์และกิจกรรมสาธารณะต่างๆ
    10.ระดับการมีส่วนร่วมในกระบวนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ในฐานะผู้รับสาร ผู้ส่งสาร ผู้วางแผน ผู้กำหนดนโยบาย
    1.การศึกษาบทบาทและหน้าที่ขององค์กรเพื่อให้ทราบแนวคิดหลักของการพัฒนาที่จะต้องทำ
    2.การวิเคราะห์เรื่องของคน จัดอยุ่ในการวิเคราะห์ความพร้อมขององค์การ
    3.ความสามารถในการแก้ปัญหาจัดเป็นการวิเคราะห์ความพร้อมขององค์การ
    4.ความสามารถในการคาดหวังประสิทธิภาพของการสื่อสารเป็นความสำคัญของการวิเคราะห์ผู้รับสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร
    5.ขนาดครอบครัว เป็นการวิเคราะห์ผู้รับสารด้านประชากรศาสตร์
    6.การรับรู้ เป็นการวิเคราะห์ผู้รับสารตามคุณลักษณะจิตวิทยา
    7.วัจนภาษาและอวัจนภาษา เป็นการออกแบบภาพ ข้อความ สัญลักษณ์
    8.การรับรู้ปัญหาหรือความต้องการ หมายถึง การพิจารณาความน่าสนใจของการออกแบบสาร
    9.การออกแบบสารเพื่อให้เกิดความชอบพอเป็นการออกแบบสารเพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติ
    10.จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่กลุ่มเป้าหมายได้เห็นสื่อคือความถี่
    11.การวิเคราะห์กลุ่มกิจกรรมเป็นการวิเคราะห์องค์กีตามนโยบาย แผนงาน โครงการและกิจกรรม
    12.การวิเคราะห์วัสดุอุปกรณ์เป็นการวิเคราะห์ความพร้อมจององค์กร
    13.การเข้าใจลักษณะผู้รับสารเป็นความสำคัญของการเข้าใจพฤติกรรมผู้รับสาร
    14.ความต้องการเป็นการวิเคราะห์ผู้รับสารตามคุณลักษณะจิตวิทยา
    15.ประเด็นการพัฒนาเป็นแนวคิดในการสื่อความหมายของการพัฒนาเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
    16.การประเมินการออกแบบสารเพื่อการพัฒนา คือ การพิจารณาความประทับใจของการออกแบบสาร
    17.การออกแบบสารเพื่อให้เกิดการรับทราบข้อมูลใหม่เป็นการออกแบบสารเพื่อให้ทราบ
    18.หน่วยงานการผลิตสื่อที่มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญเฉพาะทางหมายถึงการผลิตโดยใช้บริษัทตัวแทนการสื่อสาร
    1.โครงการ – แนวทางการดำเนินงานขององค์กร
    2.การนำเสนอนโยบายไปสุ่การปฏิบัติโดยผ่านกระบวนการวางแผนเพื่อการกำหนดแผนงานและโครงการโดยมีการบริหารโครงการและการประเมินผลหมายถึงความสัมพันธ์ที่ขัดแย้งกัน
    3.การปฏิบัติงานสามารถตอบสนองการปฏิบัติงานระดับต่างๆคือการทราบความสัมพันธ์ของนโยบายจนถึงโครงการการบริหารโครงการและการประเมินผล
    4. แผนกลยุทธ์และแผนกลวิธีเป็นการแบ่งประเภทของแผนโดยใช้เกณฑ์การจัดองค์กร
    5.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คือการวางแผนการสื่อสารระดับชาติ
    6.ขั้นตอนแรกของการวางแผนการสื่อสารเพื่อการพัฒนาคือวิเคราะห์นโยบาย
    7.การกำหนดร่างหรือข้อเสนอโครงการคือวงจรการวางแผนการจัดเตรียมโครงการ
    8.การดำเนินการตามแผนโครงการจัดอยุ่ในกระบวนการปฏิบัติตามโครงการ
    9.การประเมินผลก่อนดำเนินโครงการระหว่างดำเนินโครงการและหลังดำเนินโครงการเป็นเกณฑ์การจำแนกตาม
    เวลา
    10.การกำหนดขอบเขตการประเมินผลคือ การระบุข้อเท็จจริงของการประเมินผล
    11.นโยบาย – กลุ่มของกิจกรรมที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน มุ่งตอบสนองเป้าหมายของแผนงานเดียวกัน
    12.การปฏิบัติงานสามารถตอบสนองการปฏิบัติงานระดับต่างๆคือความจำเป็นของนักสื่อสารเพื่อการพัฒนาที่ต้องทราบความสัมพันธ์ของนโยบาย การวางแผน แผนงาน การบริหารโครงการ
    13.การแบ่งประเภทการวางแผนโดยใช้วิธีการเป็นเกณฑ์ประกอบด้วย แผนระดับประเทศและแผนระดับสถาบัน
    14.แผนการปฏิบัติการตรงกับระดับการวางแผนระดับโครงการ
    15.การกำหนดการใช้สารและวิธีการเข้าถึงสื่อคือขั้นตอนการกำหนดดลยุทธ์และกลวิธีการสื่อสารของการวาง
    แผนการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
    16.การยุติโครงการ คือการดำเนินโครงการสิ้นสุดลง
    17.การติดตามและประเมินโครงการอยู่ในขั้นตอนการควบคุมโครงการ
    18.การประเมินผลความก้าวหน้าและการประเมินผล สรุป ใช้เกณฑ์แบ่งประเภทจำแนกตามจุดมุ่งหมาย
    1.การพัฒนาเศรษฐกิจมีความสำคัญในเรื่องการช่วยให้รายได้ประชาชาติและรายได้ต่อบุคคลสูงขึ้น
    2.แผนพัฒนา ศก.และสังคมฉบับที่ 1มีวัตถุประสงค์หลักในการสร้างความเจริญเติบโตทางศก.ของประเทศ ขณะที่แผนฉบับปัจจุบันเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก
    3.ฝันของประเทศไทย 7 ประการ การมีรากฐานพัฒนาเศรษฐกินที่มั่นคง สามารถผลิตนวัตกรรมโดยมีพื้นฐาน
    จากการเรียนรู้และภูมิปัญญา การเป็นสังคมที่มีสภาพแวดล้อมที่ดีชวนให้อยู่อาศัย การเป็นครัวโลก ศูนย์กลางแฟชั่นของเอเชีย อุตสาหกรรมด้านการออกแบบแอนนิเมชั่น ศุนย์บริการสุขภาพของภูมิภาค
    4.ปัจจุบันการผลิตสาขาบริการมีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมากที่สุด
    5.การสื่อสารเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม – ใช้การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาดมาใช้ระบายสินค้า เป็นเครื่องมือลดปัญหาความขัดแย้งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เป็นเครื่องมอจูงใจให้ประชาชนซื้อสินค้าของตน
    เพื่อการตลาดเป็นกลยุทธ์การใช้การสื่อสารสมัยใหม่ที่ปรับเปลี่ยนให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา
    อุตสาหกรรม
    6.บทบาทของการสื่อสารเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นกระบวนการและเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนา
    ประเทศในทุกด้าน เป็นกลไกสังคมช่วยผลักดันให้สังคมและประเทศพัฒนาไปตามเป้าหมาย พัฒนาอุตสาหกรรม
    ในทุกระดับแตกต่างกันไปตามลักษณะประเภทและปัญหา ช่วยสร้างธุรกิจใหม่ๆตลอดจนก่อให้เกิดการรับ
    ช่วงการผลิต
    7.งานบริการ เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นทันที โดยที่ผู้รับบริการต้องสัมผัสและใช้บริการนั้นๆในเวลาเดียวกัน อาจกล่าวได้ว่าในบริการมีสินค้าและในสินค้ามักมีบริการเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
    งานบริการในภาคธุรกิจเอกชน อาจมีลักษณะคล้ายกันและแตกต่างกันตามประเภทของงานบริการ
    การสื่อสารมีบทบาทในการพัฒนางานบริการระดับชุมชนเช่น ช่วยให้มีการพัฒนางานบริการ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ชักจูงให้เกิดการมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลข่าวสาร
    8.การสื่อสารช่วยให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลกโดย ช่วยสร้สงบรรยากาศทางการค้าทำให้เกิด
    การลงทุน ช่วยให้มีการจัดระเยียบเศรษฐกิจซึ่งเป็นข้อผูกพันในการให้สิทธิประโยชน์ระหว่างประเทศที่เป็น
    สมาชิกองค์การการค้าระหว่างประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวขึ้น
    9.หากประเทศไทยไม่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ การออมและการลงทุนจะไม่เพิ่มขึ้น
    10.เรียงลำดับจีดีพีของประเทศมากหาน้อย การบริการ อุตสาหกรรม การเกษตร และอื่นๆ
    11.งานบริการ กับ สินค้าต่างกันตรงที่ งานบริการเป็นการกรัทำที่เกิดขึ้นทันที โดยที่ผู้รับบริการต้องสัมผัส
    และใช้บริการนั้นๆในเวลาเดียวกัน ในบริการมีสินค้า และในสินค้ามักมีบริการเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
    12.การสื่อสารได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดงานบริการจากหน่วยงานบริการสู่ชุมชนการสื่อสารทำหน้าที่ถ่ายทอดความ
    รู้สึกนึกคิดและความเห็นของประชาชนที่ได้รับบริการมาสู่หน่วยให้บริการการสื่อสารช่วยให้ทราบว่าบริการที่เข้าไปให้บริการนั้นมีข้อบกพร่องหรือมีอุสรรคอย่างไร
    1.แนวคิดหลักของการปฏิรูปการศึกษาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวคือ วัด โรงเรียน สู่มหาวิทยาลัย
    2.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นนักปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชการที่ 5.
    3.แผนการศึกษาชาติที่ใช้เป้นแนวทางในการจัดการศึกษาของรัฐคือแผนการศึกษา 2479
    4.แนวคิดหลักของการจัดการศึกษาระหว่าง พ.ศ.2475-2542 คือการศึกษาสร้างกำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศ
    5.แนวคิดสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา 2542 เป็นการปฏิรูปทั้งระบบ
    และครบกระบวนการ
    6.การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปีตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542
    7.ต้นคิด ต้นเสียง ต้นแบบ เป็นบทบาทและหน้าที่ของแรงขับเคลื่อนแห่งการเปลี่ยนแปลงในการสื่อสารกับ
    การพัฒนาการศึกษา
    8.ยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการสื่อสารกับการพัฒนาการศึกษามี 2 ยุทธศาสตร์คือรัฐเป็นผู้กระทำและประชาชนเป็นฐาน
    9.โครงการปีแห่งการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทฑรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีในมงคลวโรกาสทรงเจริญพระชนม์มายุ 48 พรรษาช่วยพัฒนาการศึกษาในโรงเรียน นอกรงเรียน และตามอัธยาศัย
    10.การจัดการศึกษาด้วยระบบทางไกลผ่านดาวเทียมและระบบสารสนเทศเป็นตัวอย่างในด้านการใช้สื่อมุ่งสู่
    กลุ่มมัธยมศึกษาเป็นหลัก
    11.ให้พระสงฆ์ที่มีความรู้สอนหนังสือไทยและวชาเลขแก่กุลบุตร เป็นพระราชดำริของพระปิยมหาราช
    12.เจ้าพระยาเสด็จสุเรนทราบดี (ม.ร.ว.เปีย มาลากุล) เป็นนักปฏิรูปการศึกษานรัชกาลที่ 5
    13.รัฐมีความมุ่งหมายให้พลเมืองได้รับการศึกษาพอเหมาะแก่อัตรภาค คือสาระของแผนการศึกษาชาติ พ.ศ.2494
    14.การปฏิรูปการศึกษา พ.ศ.2517 มุ่งการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และลักษณะอื่นๆให้
    เหมาะสมกับกาลสมัย
    15.ผู้เริ่มต้นใช้สื่อทางเลือกคือประชาชน
    16.โครงการ วางทุกงาน อ่านทุกคน รัฐเป็นผู้กระทำแบบเบ็จเสร็จโดยทำเป็นโครงการรณรงค์
    1.การพัฒนาการเมือง การให้ความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชนเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองของ
    ประเทศ สร้างทัศนคติและความเชื่อทางการเมืองระดับบุคคล พัฒนาสถาบันการเมืองหลัก
    2.พัฒนารูปแบบการปกครองของประเทศ เป็นลักษณะการพัฒนาโครงสร้างและกระบวนการทางการเมือง
    3.การพัฒนาสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน เป้นการพัฒนาเชิงกระบวนการทางการเมือง
    4.กิจกรรมทางการเมืองที่ต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือ ได้แก่ การตัดสินใจทางการเมือง การนำนโยบายไปปฏิบัติ การเรียกร้องของประชาชน และการเรียนรู้ทางการเมือง
    5.กิจกรรมที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยโดยใช้สิทธิของตนที่จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบก่อนการออกกฏ คำสั่ง หรือการตัดสินใจของฝ่ายบริหารในปัญหาสำคัญๆที่มีผลกระทบสิทธิของบุคคลต่างๆ
    6.รัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบโครงการสื่อสารทางการเมืองของฝ่ายบริหารงานเชิงนโยบาย
    7.ผลงานของรัฐบาลเป็นเนื้อหาสารที่มักสื่อสารจากฝ่ายรัฐบาลไปยังประชาชนเสมอๆทุกยุคทุกสมัย
    8.ช่วงก่อนการเลือกตั้งมีการรณรงค์เรื่องการให้มาใช้สิทธิการเลือกตั้ง
    9.ทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเมื่อ พ.ศ.2475 รัฐบาลพยายามสื่อสารโดยผ่านสื่อมวลชน
    ต่างๆเน้นเรื่องเสรีภาพและภราดรภาพ
    10.การพัฒนาทางการเมือง – การพัฒนาการเมืองโดยพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกระบวนการ
    ทางการเมือง
    11.กิจกรรมการพัฒนาโครงสร้างทางการเมือง – การพัฒนารูปแบบการปกครอง การพัฒนาสถาบัน การพัฒนากลไกทางการบริหารแลการปกครอง การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันและกลไก
    ทางการเมือง
    12.กระบวนการทางการเมือง – กิจกรรมที่เน้นการพัฒนาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน
    ทางการเมือง
    13.การเรียกร้องสิทธิต่างๆตามรัฐธรรมนูญของประชาชนทางการเมืองเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับการสื่อสาร
    14.ประชาพิจารณ์ – ประชาชนมีส่วนร่วมก่อนการออดกฏคำสั่งหรือการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
    15.เนื้อหาสาร – แนวทางการพัฒนาการเมืองไทยในอนาคต
    16.ระบบราชการเป็นองค์การสื่อสารทางการเมืองที่รับผิดชอบการบริหารงานในเชิงปฏิบัติการ
    17.นโยบายในการบรหารประเทศ เป็นเนื้อหาสารจากพรรคการเมืองในช่วงรณรงค์การเลือกตั้งของไทย
    1.การพัฒนาการสาธารณสุข – กระบวนการที่มีวิวัฒนาการในการนำเอาวิทยาการด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์
    มาผสมผสานกันเพื่อก่อให้เกิดผลในการปรับปรุงสุขภาพของมนุษย์
    2.องค์ประกอบของการบริหารสาธารณสุข – การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันและควบคุมโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ
    3.ปัญหาด้านสาธารณสุขในประเทศที่กำลังพัฒนาเกิดจากปัจจัยด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพ บริการสุขภาพทุกประเภทมีคุณภาพและทั่วถึงเฉพาะในเขตเมือง ส่วนในชนบทยังขาดการบริการที่ดี
    4.การสื่อสารมีบทบาทในฐานะเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินโคงการด้านสาธารณสุขด้วยวิธีการต่างๆดังนี้
    เผยแพร่ข่าวสาร ให้ความรู้แก่ประชาชน การจูงใจให้เกิดทัศนคติหรือพฤติกรรมในเรื่องต่างๆ การกระตุ้นเตือน
    5.การสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ในงานสาธารณสุขมีลักษระแตกต่างจากการสื่อสารทั่วไปคือ เป็นการติดต่อสองทาง เป็นงานสร้างสรรค์ โน้มน้าวใจโดยผ่านหลักความเป็นจริง ดำเนินการสม่ำเสมอต่อเนื่อง
    หวังผลระยะยาว
    6.หลักการสำคัญของการสื่อสารด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมคือเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือชุมชนเข้ามามี
    ส่วนร่วมในการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพทุกขั้นตอน
    7.ลักษณะของการสื่อสารการตลาดเพื่อสุขภาพ – ทำการสื่อสารได้หลายวิธีมีหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องหรือมีส่วน
    ได้ส่วนเสีย มุ่งการสื่อสารทุกจุดติดต่อกับกลุ่มเป้ากมายมีจุดมุ่งหมายเพื่อการจูงใจและการให้ข้อมูลข่าวสาร
    ด้านสุขภาพ
    8.สื่อ โดยเฉพาะสื่อมวลชนเป็นต้นแบบที่มีผลอย่างมากต่อค่านิยมและพฤติกรรมด้านสุขภาพดังนั้นการรู้
    เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพจึงมีความจำเป็นกับคนทุกคน
    9.ความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ – ความสามารถในการประเมินสาร วิเคราะห์สาร สร้างสรรค์เนื้อหาสารและเข้าถึงความหมายสาร
    10.การพัฒนาการสาธารณสุข –การเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบกระบวนการหรือวิธีการในอันที่จะ
    ทำให้สุขภาพของบุคคล ครอบครัว และสังคมให้ดีขึ้น
    11.องค์ประกอบของการบริการสาธารณสุขด้านการส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การพัฒนาฟฤติกรรมสุขภาพ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม การใช้มาตราการตามกฏหมาย การจัดบริการพื้นฐานที่จำเป็นแก่ชุมชน
    12.แนวทางการพัฒนาสาธารณสุขของไทยในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่8 เน้นการพัฒนาศักยภาพ
    ของคนในการดูแลสุขภาพตนเอง
    13.การสื่อสารมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและพฤติกรรมด้ายสุขภาพมากที่สุด
    14.การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์เป็นลักษณะของการสื่อสารเพื่อประชาสัมพันธ์องค์กรสาธารณสุข
    15.เป้าหมายของการสื่อสารด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วม – กระตุ้นให้ประชาชนมองเห็นคุณค่าของตนเอง
    ด้านสุขภาพสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนที่เข้ามามีส่วนร่วมและให้เห็นคุณค่าของความคิดความเชื่อด้าน
    สุขภาพพิสูจน์ความเชื่อของชุมขนที่มักจะคิดว่าตนเองไม่สามารถใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ซับซ้อนด้านสุขภาพได้ สร้างทักษะในการสร้างสื่อด้านสุขภาพให้ชุมชน
    16.การพัฒนาตนเองเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ การพัฒนาความตระหนักรู้ในการเปิดการสร้างนิสัยการตระหนักรู้
    ในการำด้รับสื่อ รู้จักแสวงหาข่าวสารด้านสุขภาพที่เป็นประโยชน์รู้จักบริโภคสื่อและสารด้านสุขภาพด้วย
    ความตั้งใจ
    17.ความสามารถในการประเมินสารด้านสุขภาพหมายถึงความสามารถในเรื่องการประเมินคุณค่าของสารด้าน
    สุขภาพที่นำเสนอ
    1.ความสำคัญของการพัฒนาสังคม – ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมลดน้อยลงไป ป้องกันปญหาที่เคยเกิด
    ขึ้นมาแล้ว ทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้า ทำให้ประชาชนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
    2.การพัฒนาต้องมีจุดร่วมมีการประสานความร่วมมือที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันระหว่างระบบทางสังคมเศรษฐกิจ
    และการเมืองเป็นแนวทางการศึกษาการพัฒนาสังคมในลักษณะของสหสาขาวิชา
    3.ลักษณะของคนในสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกันคือคน้กื้อกูลซึ่งกันและกันรู้รักสามัคคี
    4.การพัฒนาเยาวชนด้านการเมืองการปกครองเพื่อให้เยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ เสรีภาพ และความเสมอภาค
    5.การพัฒนาเยาวชนก้านเศรษฐกิจเพื่อให้เยาวชนพัฒนาตนเองให้เป็นนักบริหารจัดการที่ดี
    6.ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาสตรีครอบคลุมการพัฒนาด้านศักยภาพสตรี การให้สตรีมีส่วนร่วม
    ในกระบวนการตัดสินใจทุกระดับ ส่งเสริมความเสมอภาคและการคุ้มครองทางสังคม การพัฒนาสื่อ
    เพื่อการดำเนินงานด้านสตรี
    7.การบูรณาการแนวความคิดด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี และสิทธิเด็กในหลักสูตรการศึกษา
    เป็นการพัฒนาสตรีด้านความเสมอภาคในระดับครอบครัวและสังคม
    8.ช่วงที่ผู้สูงอายุเริ่มที่จะเบื่อหน่ายกับเวลาว่าง เริ่มจะมองว่าชีวิตจะไปทางไหนเรียกว่าช่วงขมขื่นใจ
    9.พ่อแม่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการป้องกันปัญหายาเสพติดของเยาวชน
    10.เกี่ยวกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว การยึดครองทรัพย์สินเป็นการใช้ความรุนแรงด้านเศรษฐกิจ
    11.การที่สมาชิกในสังคมรู้คุณค่าของวัฒนธรรม มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นความสำคัญของการพัฒนาสังคมทำให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่น
    12.ลักษณะของคนในสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ เป็นคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
    13.การขาดสิทธิในการถือครองที่ดิน เป็นสภาพปัญหาของผู้ด้อยโอกาส
    14.การสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีระบบเป็นการส่งเสริมความรู้
    ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศของเยาวชน
    15.การให้สตรีมีทักษะชีวิตและสังคมเพียงพอที่จะดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีและเหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย
    เป็นการพัฒนาศักยภาพสตรีด้านการปรับเปลี่ยนเจตคติของสังคม
    16.การได้มีส่วนร่วมในสังคมเป็นความต้องการด้านสังคมของผู้สูงอายุ
    17.สาเหตุของการติดยาเสพติดคือ การถูกชักชวน อยากลอง ติดง่าย และภาวะทางจิตใจ
    18.การที่หัวหน้าครอบครัวต้องตกงายทำให้ครอบครัวขาดรายได้ที่จะเลี้ยงดูครอบครัวเป็นปัญหาความยากจน
    19.การทะเลาะของสามีภรรยาในครอบครัวเป็นเรื่องธรรมดา คนภายนอกไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว คือสังคมและสิ่งแวดล้อมเอื้อให้เกิดความรุนแรง
    20.การป้องกันก่อนที่เกิดปัญหาความรุนแรง – สร้างเสริมความรู้และทักษะการสื่อสารในครอบครัว รณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจเพื่อสร้างเจตคติที่ถูกต้องแก่ประชาชนทั่วไป ให้สื่อทุกประเภทนำเสนอเรื่องที่
    ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัว ให้ความช่วยเหลือต่อครอบครัวที่มีความเสี่ยงต่อปัญหา
    ความรุนแรง
    1.การพัฒนาการเกษตร – การขยายกำลังการผลิตทางการเกษตรเพื่อนนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกร
    2.ความสำคัญของการพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยที่สำคัญที่สุดเพราะการเกษรตรเป็นวิถีชีวิตของคนไทย
    และเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ
    3.แผนพัฒนาการเกษตร ฉบับที่ 9 นโยบายส่งเสริมการเกษตรโดยภาพรวมที่ชัดเจนที่สุดคือการเกษตรยั่งยืน
    4.การสื่อสารการเกษตร – กระบวนการในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาการเกษตรสู่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย
    เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
    5.การใช้กระบวนการในการสื่อสารทางเดียวหรือในลักษระสั่งการมาก เป็นปัญหาหลักๆของการสื่อสารกับการ
    พัฒนาการเกษตรที่ผ่านมา
    6.แนวคิดทฤษฎีหลักๆที่เป็นที่รู้จักและใช้กันทั่วไปในการพัฒนาการเกษตรคือ ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อการเผยแพร่
    นวัตกรรม
    7.สื่อที่มักใช้กันมากในระบบการเกษตรแบบดั้งเดิมหรือการเกษตรเพื่อการยังชีพคือสื่อบุคคล
    8.สื่อที่มักใช้ในระบบการเกษตรแบบยั่งยืนคือสื่อบูรณาการ
    9.สื่อบูรณาการ หมายถึง สื่อทุกประเภทที่เกษตรกรใช้ผสมผสานกันอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนาการเกษตร
    10.สื่อที่มักใช้กันมากในระบบการเกษตรสมัยใหม่หรือการเกษตรเชิงอุตสาหกรรม คือ สื่อสมัยใหม่
    1.สิ่งแวดล้อมคือสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
    2.สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย – ประชาชนขาดจิตสำนึกและความตระหนักในคุณค่า
    ของสิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ขาดการใช้กลไกทางกฏหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาประเทศที่เน้นทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
    3.แนวทางการสื่

      เวลาขณะนี้ Fri Apr 19, 2024 6:31 pm