ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


4 posters

    กฎหมายแพ่ง 1

    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 12:35 pm

    Crying or Very sad Sad Very Happy กฎหมายแพ่ง 1

    ข้อ 3
    ต้อยเข้าไปในร้านอาหารและร้องสั่งอาหารดังๆว่า ขอเส้นใหญ่ราดหน้าจานหนึ่ง เจ้าของร้านมิได้ตอบอะไร แต่ได้ลุกขึ้นไปเดินผัดราดหน้า ขณะเจ้าของร้านกำลังผัดราดหน้าอยู่ ต้อยเปลี่ยนใจจึงบอกว่าขอเปลี่ยนเป็นเส้นหมี่ เจ้าของร้านบอกว่า ทำแล้วเปลี่ยนไม่ได้ แล้วก็ยกราดหน้ามาให้ต้อยต้อยไม่ยอมรับจึงเกิดโต้เถียงกัน เจ้าของร้านเรียกให้ต้อยชำระราคา ต้อยไม่ชำระอ้างว่าสัญญาซื้อขายไม่เกิดเพราะเจ้าของร้านมิได้ตอ บตกลงเมื่อตนบอกว่า ขอส้นใหญ่ราดหน้าและแม้จะเกิดก็เป็นสัญญาให้ เพราะตนบอกว่ามิใช่ซื้อ จึงไม่ต้องจ่ายเงิน ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของต้อยหรือไม่เพราะเหตุใด จงให้เหตุผลประกอบ

    เฉลย
    ในเรื่องนี้มีหลักกฎหมายเกี่ยวข้องดังนี้
    มาตรา 132 ในการความนั้นท่านให้ฟังถึงเจตนาจึงยิ่งยวดกว่าตัวกฎหมาย
    มาตรา 356 คำเสนอทำแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า โดยมิได้บ่งระยะเวลาให้ทำคำสนองนั้น เสนอ ณ ที่ใด เวลาใด ก็ย่อมจะสนองได้แต่ ณ ที่นั้น เวลานั้น..............
    มาตรา 361 วรรคสองถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดงหรือตามปกติประเพณีไม่จำเป ็นจะ
    มีคำบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อกาลอันใดอันหนึ่ง ขึ้นอันจะพึงสันนิฐานได้ว่าเป็นการเจตนาสนองรับ
    กรณีตามอุทาหรณ์ การที่ต้อยเข้าไปในร้านอาหารร้องสั่งดังๆว่า ขอเส้นใหญ่ราดหน้าจานหนึ่ง นั้นพฤติการณ์ที่แสดงออกมาเห็นได้ว่า ต้อยมีเจตนาซื้อราดหน้ามิใช่ขอ หากจะขอต้อยย่อมไม่ตะโกนสั่งดังๆเช่นนี้ ทั้งต้องไม่กล้าขอเปลี่ยนตามอำเภอใจ ดังนั้นแม้ถ้อยคำจะว่า ขอ ก็ ต้องหมายความว่า ซื้อเพราะการตีความแสดงเจตนาต้องเพ็งเล็งถึงเจตนาที่แท้จริงยิ่ งกว่าถ้อยคำตามตัวอักษรตามมาตรา 132
    การที่ต้อยแสดงเจตนาซื้อราดหน้ากับเจ้าของร้าน เป็นการทำความเสนอแก่บุคคลผู้อยู่เฉพาะหน้า แม้เจ้าของร้านจะมิได้ตอบตกลง แต่ก็ได้ลุกเดินไปผัดราดหน้าซึ่งเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ ณ ที่นั้นเวลานั้นแล้ว เพราะการแสดงเจตนานั้นไม่จำเป็นแสดงด้วยวาจาเสมอไป ด้วยกริยาท่าทางที่เข้าใจได้แล้ว ทั้งยังมีกฎหมายมาตรา 361 วรรคสองที่ว่า ตามปกติประเพณีไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองไซร้ ท่านว่าสัญญานั้นเกิดเป็นสัญญาขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ ่งขึ้นอันจะพึงสันนิฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ ซึ่งก็สามารถนำมาใช้เทียบเคียงในกรณีนี้คือปกติประเพณีในการขาย อาหาร ผู้ขายก็ไม่จำเป็นต้องมีคำบอกกล่าวสนองตอบ ดังนั้นเมื่อมีการลงมือผัดราดหน้า จึงถือว่าได้มีการอันใดอันหนึ่งอันพึงสันนิฐานได้ว่าเป็นการแสด งเจตนาสนองรับคำเสนอแล้ว สัญญาซื้อขายจึงเกิดขึ้น
    ดังนั้น ต้อยจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาข้ออ้างทั้งสองข้อฟังไม่ขึ้น
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 12:38 pm

    กฎหมายแพ่ง 1
    สอบซ่อมและภาคพิเศษ 2/2532

    โจทก์
    แสงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการเล่นดนตรี จึงได้ตั้งวงดนตรีคณะ เขียวทอง โดยบิดาของแสงได้ให้การสนับสนุนฝึกซ้อมให้ และบางครั้งก็รับติดต่องานแทนแสงด้วย
    วันหนึ่ง ปอเพื่อนสาวของแสงอายุ 17 ปี เป็นคนวิกลจริต ได้มาติดต่อขอให้แสงนำวงดนตรีไปเล่นในงานวันเกิดตนโดยแสงไม่ทรา บว่าปอวิกลจริต จึงตอบตกลงครั้นใกล้ถึงวันงานบิดาของปอทราบเรื่องการจ้างวงดนตร ี จึงรีบโทรศัพท์มาหาบิดาของแสง และขอบอกเลิกการจ้างดังกล่าวแต่ปรากฏว่าบิดาแสงไม่อยู่ แสงเป็นคนรับสายเอง แต่ไม่บอกเรื่องนี้แก่บิดาของตน ครั้นถึงวันงานแสดงก็นำวงดนตรีไปแสดงตามที่ตกลงไว้ และขอคิดค่าแสดงเพียงครึ่งเดียวจากที่ตกลงไว้เพราะเห็นแก่เพื่อ นดังนี้บิดาของปอจะปฎิเสธไม่ยอมจ่ายค่าแสดงได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

    เฉลย
    หลักกฎหมาย
    มาตรา 21 บัญญัติว่า อันผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอ บธรรมก่อนบรรดาการใดๆอันผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากการยินยอมเช่นว่ านั้นท่านว่าเป็นโมฆียะ
    มาตรา 28 วรรคแรกบัญญัติว่า ผู้เยาว์ได้รับอนุญาตให้ทำกิจการค้าขายรายหนึ่งหรือหลายรายแล้ว ในความเกี่ยวพันกับกิจการค้าขายอันนั้น ท่านว่าผู้เยาว์ย่อมมีฐานะเสมือนดั่งบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ วฉะนั้น
    มาตรา 137 บัญญัติว่า “โมฆียะ” กรรมนั้น ท่านว่าบุคคลดังกล่าวต่อไปนี้คือผู้ไร้ความสามารถก็ดีหรือผู้ได ้ทำการแสดงเจตนาโดยวิธีวิปริต หรือผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือทายาทของบุคคลเช่นว่านั ้นก็ดีจะบอกล้างเสียก็ได้
    ปอ อายุ 17 ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ไม่ไม่สามารถทำนิติกรรมใด ๆ ได้ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมการที่ปอไ ปติดต่อจ้างแสงให้นำวงดนตรีไปแสดงในวันเกิดของตนนั้นเป็นนิติกร รมซึ่งทำโดยบิดามิได้ยินยอม ดังนั้นนิติกรรมนี้จึงตกเป็นโมฆียะ บิดาของปอซึ่งเป็นผู้ที่สามารถบอกล้างนิติกรรมการจ้างนี้ได้ (ม.21 ม.137)
    ส่วนกรณีที่ปอเป็นคนวิกลจริตนั้นไม่มีประเด็นที่จะต้องกล่าวถึง แต่อย่างใดเพราะปอเป็นผู้เยาว์นิติกรรมใดๆ ที่ทำลงโดยมิได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมตกเป็นโมฆ ียะ
    แสงนั้นแม้ว่าจะอายุ 18 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็ตาม แต่การที่ตั้งวงดนตรีรับงานแสดงนี้เป็นเรื่องข้อยกเว้น ซึ่งผู้เยาว์สามารถกระทำได้ คือทำกิจการค้าและในการนี้เมื่อบิดาของแสงได้ให้การสนับสนุนฝึก ซ้อมให้และติดต่อรับงานแทนด้วย ก็เป็นการแสดงว่าบิดาได้อนุญาตให้แสงกระทำกิจการค้าได้โดยปริยา ยแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ในความเกี่ยวพันกับกิจการดนตรีของคณะเขียวทอง แสงมีฐานะเสมือนดังผู้บรรลุนิติภาวะ เมื่อบิดาของปอขอบอกล้างนิติกรรมการจ้างกับแสงนั้นถือว่าการบอก ล้างสมบูรณ์แล้ว นิติกรรมการจ้างเป็นโมฆียะมาแต่เริ่มแรก แม้บิดาของแสงจะไม่ทราบก็ตาม ดังนั้น บิดาของปอปฏิบัติไม่ยอมจ่ายค่าแสดงได้
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 12:41 pm

    กฎหมายแพ่ง ๑ Shocked

    ๑. กาบอายุ ๗๕ ปี เป็น อัมพาตเดินไม่ได้ต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลก้อนอายุ ๑๔ ปีเป็นหลานมาเยี่ยมกาบจึงแอบยกเงินจำนวนหนึ่งให้ก้อนโดยมิได้บอ กให้แสงซึ่งเป็นมาราดารู้ ต่อมาอีก ๑ ปี ก้อนถูกรถยนต์ชนจนเป็นคนวิกลจริต และ อีก ๒ ปีต่อมาได้แอบให้แหวนของตนแก่สร้อยโดยสร้อยไม่รู้ว่าก้อนวิกลจร ิต อีก ๑ ปีต่อมาก้อนหัวใจวายแสงจึงรู้ถึงนิติกรรมต่าง ๆ ที่ก้อนได้ทำขึ้น จึงได้บอกล้างนิติกรรมนั้น
    ๑.๑ การยกให้สองครั้ง มีผลอย่างไร หรือไม่เพราะเหตุใด
    ๑.๒ มารดาสามารถบอกล้างนิติกรรมทั้งสองหรือไม่เหตุใด Laughing

    ตอบ
    มาตรา ๑๙ บุคคลย่อมพ้นจากสภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่ออายุ 20 ปีบริบูรณ์
    มาตรา ๒๒ ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิน หากเป็นเพียงเพื่อมีสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใด
    มาตรา ๒๑ ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมถือว่าเป็นโมฆะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้อย่างอื่น มาตรา ๑๗๕ โมฆียกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
    ผู้แทนโดยชอบธรรม ขณะที่กาบผู้เป็นยายยกเงินให้ก้อนนั้น ก้อนยังถือว่าเป็นหลักแจ้งผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้นนิติกรรมตกเป็นโมฆียะ แต่กรณีนี้ถือเป็นยกเว้น
    เนื่องจากเป็นการที่ผู้เยาว์ได้รับเงิน นิติกรรมรับการให้จากเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธ รรมก่อนการให้นี้จึงสมบูรณ์เพราะเป็นการได้ไปซึ่งสิทธิเพียงอย่ างเดียวต่อมาอีก ๑ ปี ซึ่งก้อนมีอายุ ๑๔ ปี ก้อนได้ถูกรถยนต์ชนชนจนเป็นคนวิกลจริต และอีก ๒ ปีต่อมา คือก้อนอายุได้ ๑๗ ปี ได้ให้แหวนนิติกรรมการให้ย่อมตกเป็นโมฆียะโดยไม่ต้องคำนึงว่าสร ้อยจะรู้ว่าก้อนเป็นคนวิกลจริต เพราะก้อนก็เป็นผู้เยาว์ นิติกรรมใด ๆ ที่ผู้เยาว์ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมตกเป็นโมฆี ยะการให้สร้อยนี้ย่อมตกเป็นโมฆียะเพราะมารดามิได้ให้ความอย่างไ ร
    สิทธิบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ คือผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งเป็นของก้อนนั้นเองแต่การบอกล้างนิติกร รมยายไม่ได้เพราะการให้ผลนั้นมีผลสมบูรณ์นั้นแล้ว Crying or Very sad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 12:44 pm

    กฎหมายแพ่ง 1 Surprised Surprised

    โจทก์
    ก ประกาศขายรถยนต์ของตนทางหนังสือพิมพ์ ปรากฏว่า นาย ข และ ค ได้สนใจมาดูรถ ค ได้วางเงินไว้ 5,000 บาท โดยยังไม่ได้ทำสัญญากันเป็นลายลักษณ์อักษร วันรุ่งขึ้น ข ได้มาหา ก และขอซื้อรถคันดังกล่าวในราคาที่แพงกว่า ก ได้ประกาศขายไว้ ก ก็ตกลงจะขายให้ ข โดยให้ ข มาทำสัญญาและโอนทางทะเบียนกันในอีก 1 อาทิตย์ข้างหน้า โดยที่ ก คิดว่าจะตกลงกับ ค อีกครั้ง อีก 3 วันต่อมา ค มาพบ ก เพื่อขอเงินที่วางไว้คืนเพราะตนตัดสินใจซื้อรถของ จ ไปแล้ว และ ค ก็ทราบว่า ข ได้ตกลงจะซื้อรถยนต์จาก ก แล้ว แต่ ก ปฏิเสธที่จะคืนเงินจำนวนดังกล่าว ค จะมีสิทธิเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนได้อย่างไร หรือไม่ เพราะเหตุใด Mad

    เฉลย
    ประเด็นเป็นเรื่องสัญญาและมัดจำ
    หลักกฎหมาย
    มาตรา 377 บัญญัติว่า เมื่อนำเข้าทำสัญญา ถ้าได้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่า สัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้วอนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นหลักประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย มาตรา 378 บัญญัติว่า มัดจำนั้นถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้เป็นไปดังกล่าวต่อไปนี้
    (1)................................... Evil or Very Mad Rolling Eyes
    (2) ให้รับถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้หรือกราชำระหนี้ตกเป็ นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอ บ หรือถ้ามีการบอกเลิกสัญญาเพราะความผิดฝ่ายนั้น
    มัดจำนั้นเป็นสิ่งของที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมอบให้แก่คู่สัญญาอีก ฝ่ายหนึ่งในขณะทำสัญญา ซึ่งการวางมัดจำนี้ก็เท่ากับว่าเป็นพยานหลักฐานว่าได้เกิดมีสัญ ญาขึ้นในระหว่างคู่กรณีแล้วและมัดจำนี้ย่อมเป็นหลักประกันด้วยว ่าจะต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไว้นั้น (ม. 377)
    ตามข้อเท็จจริงการที่ ก ประกาศ ขายรถยนต์และ ค ได้มาสนใจดูรถและได้วางเงินไว้ให้ ก.5,000 บาท ก็แสดงว่า ก และ ค ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายรถยนต์แล้วแม้ว่าจะมิได้ทำสัญญากันเป็นลา ยลักษณ์อักษรก็ตาม เพราะเงิน 5,000 บาท นี้ถือว่าเป็นเงินมัดจำซึ่งเป็นหลักฐานว่าทั้ง 2 จะได้ปฏิบัติก็ตามสัญญาซื้อขายคือฝ่าย ก จะเป็นฝ่ายส่งมอบรถ และ ค ต้องชำระราคาให้ครบถ้วน
    การที่ ค มาพบ ก โดยขอเงินมัดจำคืน โดยอ้างว่าการได้ซื้อรถยนต์ของ จ ไปแล้วนั้น แสดงว่า ค นั้นเป็นผู้ผิดสัญญาเพราะมิได้ชำระราคาตามสัญญาซื้อขายซึ่ง ก เองซึ่งเป็นฝ่ายผู้รับมอบมัดจำนั้นมิได้ผิดสัญญา ดังนี้ ก จึงมีสิทธิที่จะรับมัดจำนั้นเสียได้เพราะ ค ละเลยไม่ชำระหนี้ของตน ( ม.378) แม้ ค จะทราบว่า ข ได้มาตกลงจะซื้อรถยนต์จาก ก แล้วก็ตามดังนั้น ค จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืน ก สามารถรับมัดจำนั้นเสียได้เพราะ ค ฝ่ายผู้ว่างมัดจำเป็นผู้วางมัดจำผู้ผิดสัญญาเสียเอง Crying or Very sad Razz Cool
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 12:48 pm

    กฎหมายแพ่ง 1 Surprised

    โจทย์
    เอกอายุ 17 ปี ทำพินัยกรรมยกแหวนของตนเองให้โทพีสาวอายุ 17 ปี ต่อมาอีก 4 ปี เอกถูกรถชนสมองฟันเฟืองเป็นคนวิกลจริต เอกได้ขายนาฬิกาของตนให้กับหนึ่งโดยหนึ่งไม่ทราบว่าเอกจริตวิกล ต่อมาอีก 1 ปี ศาลสั่งให้เอกเป็นคนไร้ความสามารถ หนึ่งทราบว่าเอกถูกศาลสั่งดังกล่าว แต่เมื่อผู้อนุบาลของเอกมาบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกา ซึ่งหนึ่งได้ทำไว้กับเอกหนึ่งก็ไม่ยอมคืนนาฬิกาให้เพราะซื้อไว้ ในราคาถูกมากดังนี้
    1. พินัยกรรมที่เอกทำมีผลอย่างไรหรือไม่เพราะเหตุใด
    2. ผู้อนุบาลจะบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด Evil or Very Mad Rolling Eyes

    เฉลย
    หลักกฎหมาย
    ปพพ. มาตรา 25 บัญญัติว่า “ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์”
    affraid ปพพ.มาตรา 32 บัญญัติว่า “การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตได้ทำลง แต่หากบุคคลนั้นศาล
    ยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถไซร้ ท่านว่าการนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าได้ทำลงในเวลา ซึ่งบุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้ทำเป็นคนวิกลจริต”
    เรื่องพินัยกรรมนั้นผู้เยาว์สามารถทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อเอกมีอายุ 17
    ปีบริบูรณ์แล้วทำพินัยกรรม ผลก็คือพินัยกรรมมีผลสมบูรณ์
    จากข้อเท็จจริงเห็นได้ว่า เอกได้ขายนาฬิกาให้หนึ่งในขณะวิกลจริตก่อนที่ศาลจะสั่งให้เอก
    เป็นคนไร้ความสามรถ และในขณะซื้อขายนาฬิกานั้นหนึ่งก็ไม่ทราบว่าเอกวิกลจริต ดังนั้นผลก็คือนิติกรรมการซื้อขายระหว่างหนึ่งกับเอกนั้นสมบูรณ ์ไม่เป็นโมฆียะ เพราะหนึ่งไม่รู้ว่าเอกวิกลจริตแต่อย่างใด แม้ต่อมาศาลจะสั่งให้เอกเป็นคนไร้ความสามรถ และหนึ่งก็ทราบถึงคำสั่งนี้ก็ตาม การซื้อขายก็สมบูรณ์ไปแล้ว ผู้อนุบาลของเอกจะบอกล้างสัญญาซื้อขายดังกล่าวไม่ได้

    สรุป
    1. เอกสามารถทำพินัยกรรมได้มีผลสมบูรณ์เพราะอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์แล้ว
    2. ผู้อนุบาลบอกล้างสัญญาซื้อขายนาฬิกาไม่ได้ เพราะการซื้อขายสมบูรณ์แล้ว Sad Crying or Very sad Crying or Very sad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 12:50 pm

    กฎหมายแพ่ง

    2. บริษัทจอเปิดร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดทั้งได้โฆษณาด้วยว่ าสินค้าทุกชนิดมีอะไหล่พร้อมและเป็นของนอกลองได้ซื้อเครื่องซัก ผ้ามาจากบริษัทจอ เพราะได้ทดสอบการใช้งานแล้วเห็นว่าดีตามที่เพื่อนเคยบอกตนมาเมื ่อซื้อไปแล้วต่อมาเครื่องซักผ้าเสีย บริษัทบอกว่าซ่อมได้แต่อะไหล่นอกไม่มีขาดตลาดมานานแล้วลองมาปรึ กษาท่าน ต้องการคืนเครื่องซักผ้าโดยอ้างว่าถูกบริษัทหลอกและ ให้บริษัทคืนเงินมาให้บางส่วนก็ได้ ท่านจะให้คำปรึกษาแก่ลองอย่างไร
    Evil or Very Mad Rolling Eyes
    หลักกฎหมาย
    ม.159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
    การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคที่หนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั ้นคงมิได้กระทำขึ้น
    การถูกกลฉ้อฉลนั้นต้องเป็นการหลอกลวงจนถึงขนาดคือต้องหลอกให้หล งดชื่อจนเข้าทำนิติกรรมนั้น หากไม่มีการหลอกลวงเช่นนั้นแล้วนิติกรรมนั้นก็จะมิได้เกิดขึ้นเ ลย
    การที่ลองได้ซื้อเครื่องซักผ้าจากบริษัทจอ โดยทดสอบการใช้งานแล้วเห็นว่าดี จึงได้ตัดสินใจซื้อเครื่องซักผ้าดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการที่ลองได้ตกลงใจซื้อเครื่องซักผ้านั้นไม่ได้เกิ ดจากการถูกกลฉ้อฉลแต่อย่างใด ดังนั้น การซื้อขายนี้มีผลสมบูรณ์ เมื่อการซื้อขายสมบูรณ์แล้วจะอ้างว่าถูกบริษัทหลอกแล้วขอเงินคื นมิได้ Embarassed

    วิเคราะห์
    จากข้อเท็จจริง นั้นเป็นเรื่องนิติกรรมซึ่งสมบูรณ์ ชอบด้วยกฎหมายมีประเด็นพิจารณาเพียงว่า เป็นกลฉ้อฉลถึงขนาดหรือไม่ แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏแล้วว่าลองซื้อเครื่องซักผ้าจากบริษัทจอ เพราะได้ทดสอบการใช้งานเครื่องซักผ้าแล้วนั้นเห็นว่าดี จึงซื้อมิใช่ซื้อเพราะคำโฆษณาของบริษัทเรื่องอะไหล่นอกแต่อย่าง ไรจึงไม่เป็นกลฉ้อฉลถึงขนาดนิติกรรมไม่เป็นโมฆียะ
    นักศึกษาส่วนมากตอบว่าเป็นกลฉ้อฉลนิติกรรมเป็นโมฆียะเพราะยังไม ่เข้าใจกลฉ้อฉลถึงขนาดและนักศึกษาบางกลุ่มก็ตอบว่าเป็นกลฉ้อฉลเ พื่อเหตุซึ่งก็ไม่ถูกต้องเช่นกัน

    Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 12:53 pm

    กฎหมายแพ่ง

    2. บริษัทจอเปิดร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดทั้งได้โฆษณาด้วยว่ าสินค้าทุกชนิดมีอะไหล่พร้อมและเป็นของนอกลองได้ซื้อเครื่องซัก ผ้ามาจากบริษัทจอ เพราะได้ทดสอบการใช้งานแล้วเห็นว่าดีตามที่เพื่อนเคยบอกตนมาเมื ่อซื้อไปแล้วต่อมาเครื่องซักผ้าเสีย บริษัทบอกว่าซ่อมได้แต่อะไหล่นอกไม่มีขาดตลาดมานานแล้วลองมาปรึ กษาท่าน ต้องการคืนเครื่องซักผ้าโดยอ้างว่าถูกบริษัทหลอกและ ให้บริษัทคืนเงินมาให้บางส่วนก็ได้ ท่านจะให้คำปรึกษาแก่ลองอย่างไร Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes

    หลักกฎหมาย
    ม.159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
    การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคที่หนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดังกล่าวการอันเป็นโมฆียะนั ้นคงมิได้กระทำขึ้น
    การถูกกลฉ้อฉลนั้นต้องเป็นการหลอกลวงจนถึงขนาดคือต้องหลอกให้หล งดชื่อจนเข้าทำนิติกรรมนั้น หากไม่มีการหลอกลวงเช่นนั้นแล้วนิติกรรมนั้นก็จะมิได้เกิดขึ้นเ ลย
    การที่ลองได้ซื้อเครื่องซักผ้าจากบริษัทจอ โดยทดสอบการใช้งานแล้วเห็นว่าดี จึงได้ตัดสินใจซื้อเครื่องซักผ้าดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการที่ลองได้ตกลงใจซื้อเครื่องซักผ้านั้นไม่ได้เกิ ดจากการถูกกลฉ้อฉลแต่อย่างใด ดังนั้น การซื้อขายนี้มีผลสมบูรณ์ เมื่อการซื้อขายสมบูรณ์แล้วจะอ้างว่าถูกบริษัทหลอกแล้วขอเงินคื นมิได้
    Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing Laughing
    วิเคราะห์
    จากข้อเท็จจริง นั้นเป็นเรื่องนิติกรรมซึ่งสมบูรณ์ ชอบด้วยกฎหมายมีประเด็นพิจารณาเพียงว่า เป็นกลฉ้อฉลถึงขนาดหรือไม่ แต่ตามข้อเท็จจริงปรากฏแล้วว่าลองซื้อเครื่องซักผ้าจากบริษัทจอ เพราะไดทดสอบการใช้งานเครื่องซักผ้าแล้วนั้นเห็นว่าดี จึงซื้อมิใช่ซื้อเพราะคำโฆษณาของบริษัทเรื่องอะไหล่นอกแต่อย่าง ไรจึงไม่เป็นกลฉ้อฉลถึงขนาดนิติกรรมไม่เป็นโมฆียะ Razz Razz
    นักศึกษาส่วนมากตอบว่าเป็นกลฉ้อฉลนิติกรรมเป็นโมฆียะเพราะยังไม ่เข้าใจกลฉ้อฉลถึงขนาดและนักศึกษาบางกลุ่มก็ตอบว่าเป็นกลฉ้อฉลเ พื่อเหตุซึ่งก็ไม่ถูกต้องเช่นกัน Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 12:54 pm

    กฎหมายแพ่ง 1
    ข้อ 1
    เจอายุ 14 ปีได้ยกแหวนเพชรวงหนึ่งของตนให้หมิว อายุ 14 ปี แฟนสาว และต่อมาอีก 3 เดือน เจก็ตกลงใจทำพินัยกรรมยกรถยนต์ปอร์เช่ของตนให้หมิวอีก แล้วเจทำพินัยกรรมฉบับนั้นมาให้นายโจบิดาของตนดู แต่นายโจก็ไม่ได้ว่าอะไร อีก 6 เดือน ต่อมา เจถูกรถยนต์ชนเสียชีวิตหมิวจึงมาเรียกร้องรถยนต์ปอร์เช่จากนายโ จตามพินัยกรรม นายโจอ้างว่าตนมิได้ให้ความยินยอมการทำพินัยกรรมและการให้แหวน ดังนั้นเมือตนบอกล้างนิติกรรมทั้งสองจึงตกเป็นโมฆะ หมิวจึงต้องคืนแหวนเพชรให้กับตน ส่วนหมิวก็ต่อสู้ว่านิติกรรมทั้งสองสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นนิติกรรมที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตน ดังนั้นตนไม่ต้องคืนแหวน และนายโจต้องส่งมอบรถยนต์ให้ตนท่านเห็นด้วยกับข้อโต้แย้งของนาย โจหรือหมิว หรือไม่เห็นด้วยกับทั้งสองคน เพราะเหตุใด

    เฉลย
    หลักกฎหมาย
    ม.21 อันผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอ บธรรมก่อน บรรดาการใดๆอันผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้น ท่านว่าเป็นโมฆียะ เว้นแต่ที่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
    ม.25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์
    ม.175 โมฆียกรรมนั้นบุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
    (1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่ผู้เยาว์ จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แท นโดยชอบธรรม
    ม.1703 พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ทำขึ้นนั ้นเป็นโมฆะ

    วินิจฉัย
    ตามอุทาหรณ์ เจอายุ 14 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะได้ทำนิติกรรมให้แหวนแก่หมิว และนิติกรรมให้นี้ยังไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมคื อนายโจ ดังนั้น นิติกรรมให้จึงตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 21
    ต่อมาอีก 3 เดือน เจมีอายุได้ 14 ปี 3 เดือน ได้ทำพินัยกรรมยกรถยนต์ปอร์เช่ให้กับหมิวอีก ตามมาตรา 25 บุคคลจะทำพินัยกรรมได้เมือมีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์ หากบุคคลที่มีอายุไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ทำพินัยกรรม พินัยกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1703 ดังนั้น พินัยกรรมที่เจได้ทำขึ้นย่อมตกเป็นโมฆะ พินัยกรรมนี้บังคับไม่ได้ และผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้สัตยาบันก็ไม่ได้เช่นกัน
    ต่อมาอีก 6 เดือน เจเสียชีวิต หมิวจึงมาเรียกร้องรถยนต์ตามพินัยกรรมย่อมไม่ได้ เนื่องจากพินัยกรรมตกเป็นโมฆะตั้งแต่ต้นและเมื่อนายโจซึ่งเป็นผ ู้แทนโดยชอบธรรมใช้สิทธิบอกล้างนิติกรรมซึ่งเป็นโมฆียะ นิติกรรมให้ย่อมตกเป็นโมฆะ คู่กรณีจึงต้องกลับสู่ฐานะเดิม หมิวจึงต้องคืนแหวนให้กับนายโจ
    ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับทั้งหมิวและโจ
    Smile Smile Smile Smile Smile Smile Smile Smile Smile Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 12:55 pm

    Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 12:57 pm

    41211 กฎหมายแพ่ง 1

    โจทก์
    ก ออกประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เขียว-ทอง ว่า หากผู้ใดสามารถคิดยารักษาโรคเอดส์สำเร็จจะให้รางวัลหนึ่งล้านบา ท ก และ ข ได้อ่านพบข้อความในหนังสือพิมพ์ ข จึงไปพบ ก แสดงความจำนงว่าตนกำลังค้นคว้าอยู่เกือบสำเร็จแล้วตอนนี้อยู่ใน ขั้นตอนทดสอบผล แต่ ค นั้นได้ทำการทดลองอยู่นานแล้ว ปรากฏว่าเมื่อ ก ขาดทุน จึงได้ลงประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์ มสธ. ถอนประกาศโฆษณาดังกล่าว เพราหนังสือพิมพ์ เขียว-ทอง ปิดกิจการ อีก 2 เดือนต่อมาหลังจาก ก ประกาศถอนโฆษณาแล้ว ค ได้มาพบ ก ขอรับรางวัลตามประกาศ ก อ้างว่าตนได้ถอนการให้รางวัลแล้ว แต่ปรากฏว่า ค ไม่ทราบถึงการถอนนั้นเพราะไม่เคยอ่านหนังสือพิมพ์ มสธ. และ ก ยังอ้างอีกด้วยว่า ถึงอย่างไรก็ตาม ค ก็ไม่มีสิทธิได้รางวัลอยู่ดีเพราะ ข เป็นคนมาติดต่อแจ้งให้ ก ทราบถึงการค้าคว้าก่อน ดังนี้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก หรือไม่ เพราะเหตุใด

    เฉลย
    ในเรื่องนี้เป็นประเด็นที่จะต้องพิจารณาเรื่องคำมั่นจะให้รางวั ลในกรณีที่มีผู้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดสำเร็จและการถอนคำมั่ นนั้นว่าจะมีผลอย่างไร
    หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ ปพพ. ม.36 บัญญัติว่า “บุคคลใดออโฆษณาให้คำม่นว่าจะให้รางวัลแก่ผู้ซึ่งกระทำการอันใด ทานว่า จะให้รางวัลแก่บุคคลใดๆผู้ได้กระทำการอันนั้นแม้ถึงมิใช่ผู้นั้ นจะได้กระทำเพราะเห็นแก่รางวัล”
    ปพพ.ม. 363 บัญญัติว่า “ เมื่อยังไม่มีใครทำการสำเร็จดังที่บ่งไว้นั้นอยู่ตราบใดผู้ให้ค ำมั่นจะถอนคำสั่งของตนเสียโดยวิธีเดียวกับที่โฆษณานั้นก็ได้ เว้นแต่จะได้แสดงในโฆษณานั้นว่าจะไม่ถอน
    ถ้าคำมั่นนั้นไม่อาจจะถอนโดยวิธีดังกล่าวมาก่อนจะถอนโดยวิธีอื่ นก็ได้แต่ถ้าการถอนเช่นนั้นจะเป็นอันสมบูรณ์ใช้ได้เพียงเฉพาะต่ อบุคคลทีรู้”
    คำมั่นในกรณีนี้เป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวเป็นการแสดงเจตนาของผู้ให ้คำมั่นที่จะผูกพันตนเองในการที่จะให้รางวัลตามประกาศโฆษณาซึ่ง ได้กระทำแก่บุคคลทั่วไปโดยผู้ให้คำมั่นนั้นมุ่งประสงค์ต้องการใ ห้เกิดผลสำเร็จของการกระทำอันใดอันหนึ่งตามประกาศโฆษณาจึงไม่จำ เป็นจะต้องมีการแสดงเจตนาสนองตอบดังเช่นในกรณีเรื่องสัญญา แต่ผลผูกพันนี้ไปตามกฎหมายซึ่งผู้ให้คำมั่นต้องให้รางวัลแม้ถือ ว่าผู้กระทำจะได้ทำโดยไม่เห็นแก่รางวัลก็ตาม
    จากข้อเท็จจริงจึงเห็นได้ว่า ก ได้ให้คำมั่นโดยประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ เขียว-ทอง จะให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถคิดยารักษาโรคเอดส์ได้ ดังนั้นจึงเท่ากับว่า ก ผูกพันตัวต่อบุคคลทั่วไปที่จะต้องให้รางวัลแก่บุคคลใดก็ได้ซึ่ง กระทำการนี้สำเร็จ แม้ว่า ข จะมาแจ้งให้ ก ทราบว่าตนกำลังค้นคว้าอยู่ก็ตามแต่เมื่อยังไม่มีผลสำเร็จของงาน ตามประกาศก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับรางวัลแต่อย่างได (มาตรา 362)
    ในขณะซึ่งงานยังไม่เสร็จแม้ว่าผู้ให้คำมันคือ ก สามารถจะถอนคำมั่นนั้นเสียได้ก็ตาม แต่การถอนคำมั่นนั้นต้องกระทำโดยวิธีเดียวกันวิธีที่โฆษณานั้นต ้องกระทำโดยวิธีเดียวกันวิธีที่โฆษณานั้นต้องหมายถึงถอนโดยวิธี เดียวอย่างแท้จริง หากถอนด้วยวิธีเดิมไม่ได้ จะมีผลสมบูรณ์ใช้ได้แต่เฉพาะผู้ที่ได้รู้ถึงประกาศถอนเท่านั้นเ มื่อ ก ถอนโฆษณาในหนังสือพิมพ์ มสธ. ซึ่งมิใช่หนังสือพิมพ์ เขียว-ทอง ซึ่งได้เคยลงประกาศไว้เดิมโดย ค ไม่ทราบถึงการถอนนั้น ดังนี้ ก ยังต้องผูกพันที่ต้องจ่ายรางวัลตามประกาศ
    ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างของ ก เพราะ ค ไม่ทราบการถอนประกาศ แม้ ข จะมาติดต่อ ก ให้ทราบถึงการค้นคว้าของตนก่อนก็ได้ไม่มีผลอย่างใดในกฎหมาย Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 12:59 pm

    กฎหมายแพ่ง 1

    คำถาม
    ประหยัดดั๊น้ยืมเงินจากอารีไป 20,000 บาท กำหนดใช้คืนภายใน 2 ปี เวลาผ่านไป 2 ปี 6 เดือน ประหยัดก็ไม่ชำระ อารีไปพบประหยัดที่บ้านพักทวงเงินคืน ประหยัดก็ตอบว่ายังไม่มีเงิน อารีเห็นประหยัดสวมสร้อยคอทองคำหนัก 2 บาท จึงบอกให้ประหยัดถอดสร้อยมาให้ตนยึดถือไว้เป็นจำนำก่อน มิฉะนั้นจะให้ทนายฟ้องทันที่ ประหยัดกลัวถูกฟ้องจึงจำใจถอนสร้อยให้อารียึดไว้เป็นประกัน
    สงเคราะห์หลานของประหยัดเมื่อรู้เรื่องดังกล่าวได้ไปพบอารีที่บ ้านพักแล้วขอสร้อยคืน อารีไม่ยอมคืน สงเคราะห์จึงชักปืนมาจี้อารีให้เขียนหนังสือปลดหนี้ให้ประหยัด จำนวน 20,000 บาท และให้อารีรับสร้อยคอเส้นนั้นไว้เป็นอันหมดหนี้กัน อารีกลัวจึงยอมเขียนหนังสือปลดหนี้ให้ ต่อมาอารีได้มีจดหมายถึงประหยัดว่าขอให้นำเงินจำนวน 20,000 บาท มาใช้คืนและรับสร้อยคอไป ดังนี้ ประหยัดต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้อารีหรือไม่ เพราะเหตุใด

    เฉลย
    หลักกฎหมาย
    มาตรา 121 การแสดงเจตนาอันได้มาเพราะคนฉ้อฉลก็ดี เพราะข่มขู่ก็ดี ท่านว่าเป็นโมฆียะ การที่จะเห็นการข่มขู่นั้นกลัวว่าจะเกิดความเสียหายแก่ตนเอง แก่สกุลหรือแก่ทรัพย์สินของตน โดยทำให้ผู้ถูกข่มขู่กลัวภัยถึงขนาด จึงต้องทำนิติกรรมนั้นขึ้น
    มาตรา 127 การขู่ว่าจะใช้สิทธิอันใดอันหนึ่งตามปกตินิยมก็ดีเพียงแต่ความก ลัวเพราะนับถือยำเกรงก็ดี ท่านหาจัดว่าเป็นการข่มขู่ไม่
    การที่นายอารีขู่นายประหยัดให้ถอดสร้อยมาเป็นจำนำ ถ้าไม่ให้จะฟ้องร้องนั้นมิใช่เป็นเรื่องการข่มขู่แต่ประการใดเพ ราะเรื่องนี้เป็นกรณีที่นายอารีมีสิทธิของการเป็นเจ้าหนี้ที่จะ ฟ้องลูกหนี้อยู่แล้ว การที่นายประหยัดยอมจำนำสร้อยให้นายอารีจึงสมบูรณ์ไม่ถือว่าเป็ นการข่มขู่

    หลักกฎหมาย
    มาตรา 128 การข่มขู่ย่อมทำให้นิติกรรมเสื่อมเสีย แม้ถึงบุคคลภายนอกจะเป็นผู้ข่มขู่
    การที่นายสงเคราะห์ไปขู่นายอารีให้ทำหนังสือปลดหนี้ให้นายประหย ัดนั้น ถือได้ว่าเป็นการที่บุคคลภายนอกข่มขู่ให้นายอารีทำนิติกรรมคือก ารปลดหนี้ให้นายประหยัด ดังนั้นการปลดหนี้นี้จึงเป็นโมฆียะเพราะเกิดจากการข่มขู่ของบุค คลภายนอก นายอารีก็สามารถบอกล้างการปลดหนี้ให้เป็นโมฆะได้ ดังนั้นนายประหยัดยังต้องใช้เงินให้นายอารี
    Laughing Laughing
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 1:01 pm

    คำถาม
    ทองเป็นสามีพลอยได้เปิดร้านค้าเครื่องเพชร วันหนึ่งทองถูกรถยนต์ชน สมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างมาก ผ่าตัดแล้วอาการก็ไม่ดีขึ้น มีสติฟั่นเฟือน เมื่อกลับมาอยู่ที่ร้านทองได้โทรศัพท์สั่งซื้อเครื่องเพชรจากห้ างหุ้นส่านจำกัดอัญมณี มาเป็นจำนวนเงิน 1 ล้านบาท ทางห้างฯ ดังกล่าวได้ส่งเครื่องเพชรจำนวนดังกล่าวให้ทองตามสั่ง ต่อมาอีก 2 เดือน พลอยได้ยื่นคำร้องขอให้ทองเป็นคนไร้ความสามารถต่อมาทองได้สั่งซ ื้อบุษราคัมจากห้างฯ ดังกล่าวอีก เป็นจำนวนเงินอีก 1 ล้านบาท ทางห้างฯ ก็ได้สั่งของให้ตามสั่ง เพราะทองเป็นลูกค้าประจำ โดยทางห้างฯ มิได้รู้ถึงอาการฟั่นเฟือนหรือความเป็นคนไร้ความสามารถของทองแต ่อย่างใด
    ห้างฯ ได้มีหนังสือไปถึงทองทวงถามเงินค่าเครื่องเพชรและบุษราคัมรวมเป ็นเงินทั้งสิ้น 2 ล้านบาท พลอยเมื่อทราบถึงหนังสือทวงเงิน จะอ้างว่าสัญญาซื้อขายทั้ง 2 ครั้ง ไม่สมบูรณ์ เพราะตนไม่รู้ถึงการซื้อขายนั้นได้หรือไม่ เพราะเหตุใด Evil or Very Mad Evil or Very Mad Evil or Very Mad Evil or Very Mad Rolling Eyes Rolling Eyes Evil or Very Mad Evil or Very Mad Rolling Eyes Rolling Eyes Evil or Very Mad Rolling Eyes Evil or Very Mad

    เฉลย
    หลักกฎหมาย
    มาตรา 31 การใดๆ อันบุคคลผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้ทำลง การนั้นท่านว่าเป็นโมฆียะ
    มาตรา 32 การใดๆ อันบุคคลวิกลจริตได้ทำลง แต่หากบุคคลนั้นศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถไซร้ ท่านว่าการนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าได้ทำลงในเวลา ซึ่งบุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้ทำเป็นคนวิกลจริต
    คนวิกลจริตนั้น หมายถึง บุคคลทีมีจิตไม่ปกติหรือสมองพิการหรือเป็นคนบ้า มีอาการควบคุมตัวเองไม่ได้ ไม่รู้สึกผิดชอบเยี่ยงบุคคลธรรมดา และยังหมายความรวมถึง บุคคลที่มีอาหารผิดปกติธรรมดาเนื่องจากเจ็บป่วยถึงขนาดไม่รู้สึ กผิดชอบและไม่สามารถประกอบกิจการงานโด ๆ ได้ด้วย
    จากข้อเท็จจริงเห็นได้ว่า นายทองนั้นเป็นบุคคลวิกลจริตและในช่วงแรกซึ่งออกจากโรงพยาบาลแล ้ว ได้ทำนิติกรรมการซื้อขายไปก่อนที่ศาลจะสั่งให้เป็นคนไร้ความสาม ารถ ทั้งคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ได้รู้ว่านายทองนั้นเป็นคนวิกลจริ ตแต่อย่างใด ดังนั้นการซื้อขายในครั้งแรกนั้นจึงมีผลสมบูรณ์ นางพลอยจะอ้างว่านายทองเป็นคนวิกลจริต การซื้อขายครั้งแรกไม่สมบูรณ์ไม่ได้ นางพลอยต้องชำระราคาค่าเพชรซึ่งนางทองได้สั่งซื้อไป
    เมื่อศาลได้สั่งให้นายทองเป็นคนไร้ความสามารถแล้วผลก็คือนิติกร รมที่นายทองทำไปตกเป็นโมฆียะทั้งสิ้น ถึงแม้ว่าคู่กรณีจะไม่รู้ว่านายทองเป็นคนไร้ความสามารถก็ตาม ดังนี้ในกรณีนี้รางพลอยสามรถบอกล้างสัญญาซื้อขายบุษราคัมระหว่า งนายทองและคู่กรณีได้
    Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 1:08 pm

    Laughing Laughing Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 1:09 pm

    ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1 ภาคการศึกษาพิเศษ /2548

    1. นาคเคน บุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ อายุ 19 ได้ให้แหวนเพชรแก่ นางสาวแอน อายุ 17 ผู้ที่ตนเองรัก ไม่รู้ว่าขณะที่นายเคนให้แหวนนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ นางนกเป็นมารดา และเป็นผู้อนุบาลรู้ภายหลัง จึงขอแหวนเพชร คืนจากนางสาวแอน นางสาวไม่ให้ นางนกจะทำอย่างไร?(จำได้เท่านี้ครับ)

    2. นายสมชายเอาพระปลอมมาแลกพระจริงของนายสมศักดิ์ แต่พระของนายสมศักดิ์ชำรุด หักเสียหาย นายสมศักดิ์ได้ซ่อมแล้วบอกว่าไม่เคยหักไม่เคยซ่อม หลังจากนั้นนายสมศักดิ์เอาพระไปขายแล้ว ปรากฏว่าพระของนายสมชายที่แลกมา นั้นเป็นพระปลอม จึงไปขอเอาพระที่แลกคืน แต่นายสมชายบอกว่าไม่ให้ แล้วบอกว่า พระของนายสมศักดิ์ก็ชำระเหมือนกัน เช่นนี้ นายสมศักดิ์ควรทำเช่นไร

    3. ต้องกับแดงเป็นเพื่อนกัน ต้องถามนายแดงว่าจะขายรถที่ใช้อยู่ให้แดง ในราคา สามแสนบาท แดงตกลงจะซื้อในราคานั้น และตกลงจะไปทำสัญญาที่สำนักงานทนายความของเพื่อน แต่สำนักงานปิดจึงไม่ได้ทำสัญญาดังกล่าว หลังจากนั้น สามวันต้องเจอแดงจึงถามให้ แดงชำระหนี้ค่าซื้อรถ แก่ต้อย เพราะต้อยถือว่าสัญญาได้เกิขึ้นแล้ว แต่แดงปฏิเสธบอกว่าสัญญยังไม่เกิดและยังไม่ได้ทำสัญญา จึงไม่ยอมชำระหนี้ดังกล่าวแก่ ต้อย ท่านเห็นด้วยกับต้อย หรือ แดง อธิบาย

    ข้อสอบกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน

    1. ดำไล่แดงออกจากที่ดินมีโฉนด โดยฟ้องต่อศาล ขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณานั้น ดำและแดงได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยแดงต้องชำระเงินค่าที่ให้ดำ และดำตกลงให้ที่ดินเป็นของแดง ศาลพิพากษาตามยอม แดงทำตามสัญญาโดยชำระเงินให้ดำจนครบถ้วน ต่อมาแดงเข้ายึดถือครอบครองในที่ดิน แต่ดำคัดค้าน อ้างว่าแดงไม่ได้กรรมสิทธิ์ เพราะไม่ได้จดทะเบียน นิติกรรมเป็นโมฆะ ข้ออ้างของดำฟังขึ้นหรือไม่ เพราะเหตุใด

    2. ฉิ่งและฉาบ ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงหนึ่งร่วมกัน ฉิ่งเข้าทำกินในที่ดินแปลงดังกล่าว โดยฉาบไม่ได้ว่าอะไร ผ่านไป 10 ปี ฉาบให้ฉิ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ฉิ่งอ้างครอบครองปรปักษ์ ฉาบจะมีข้อต่อสู้อย่างไรบ้าง

    3. ไกรทำสัญญาให้แก้วใช้ทางเดินสู่สาธารณะโดยไม่ได้จดทะเบียนเป็นภาระจำยอม ต่อมาแก้วโดยกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้หวาน ไกรจึงปิดทางภาระจำยอมนั้น ทำให้หวานผ่านทางนั้นไม่ได้ หวานจึงฟ้องให้ไกรทำตามสัญญาที่ไห้ไว้กับแก้วได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Fri Nov 20, 2009 1:17 pm

    หวังว่าข้อสอบเก่านี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจนะครับ
    Sad Sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad สู้ สู้ สู้
    avatar
    Admin
    Admin
    Admin


    จำนวนข้อความ : 858
    Join date : 30/07/2009
    : 57

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  Admin Fri Nov 20, 2009 3:08 pm

    เยี่ยมมากจ้า..น้องยิ่ง คนมีเวลาและเก่งๆอย่าง ยังไงก็ช่วยน้องๆพี่ๆหน่อยนะค่ะ

    ชมจากใจน้องยิ่ง ได้สาระมากครับผม Cool Cool
    avatar
    sawai


    จำนวนข้อความ : 7
    Join date : 26/11/2009

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  sawai Sat Nov 28, 2009 5:13 am

    ท่านพี่สุดยอดจริงๆ ขอบคุณครับ
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Wed Jun 02, 2010 2:12 pm

    ข้อสอบกฎหมายแพ่ง 1 ภาคที่ 2 ปี 2552 ผิดหรือถูกช่วยกันวิเคราะห์หน่อยครับ ไม่แน่ใจว่าโจทย์ถูกหรือปล่าว
    แนวตอบของกระผม Shocked
    ข้อ1 เด็ก ชายสมชายซื้อสร้อยทองคำน้ำหนัก 15 กรัม ในราคา 12,000 บาท โดยผู้แทนโดยชอบธรรมไม่รู้ พอวันรุ่ง¢ึ้นผู้แทนโดยชอบธรรมถึงได้รู้ พอดีราคาทองคำที่น้ำหนัก 15 กรัม ¢ึ้นเป็น 15,000 บาท ผู้แทนโดยชอบธรรมเลยชมเด็กชายสมชายว่าเก่ง รู้จักซื้อทองแล้วได้กำไร ต่อมาอีกหนึ่งเดือนราคาทองคำลดลงเหลือที่ ราคาต่อน้ำหนัก 15 กรัม ..คือ 10,000 บาทดังนั้นผู้แทนโดยชอบธรรมมีสิทธิ์บอกล้างสัญญาซื้อขายทองคำของ เด็กชายสมชายได้หรือไม่ อย่างไร

    มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
    มาตรา 175 (1)โมฆียกรรมนั้นบุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้ คือ ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
    มาตรา 178 การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียกรรม ย่อมกระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน

    ตามปัญหา เด็กชายสมชายซึ่งได้ซื้อสร้อยทองคำน้ำหนัก 15 กรัม ในราคา 12,000 บาท โดยผู้แทนโดยชอบธรรมไม่รู้ย่อมเป็นโฆฆียะ เพราะไม่ได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม ความยินยอมนั้นต้องให้ความยินยอมก่อนหรือขณะทำการใดๆนั้น การรับรู้และชมเชยของผู้แทนโดยชอบธรรมตามข้อเท็จจริงที่ให้มานั้น าไม่ใช่การให้สัตยาบัน เพราะการบอกล้างหรือให้สัสัตยาบันแก่โมฆียกรรม ย่อมกระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน ในที่นี้ต้องเป็นคู่กรณีคือผู้ที่ขายทองคำให้เด็กชายสมชาย และผู้ที่สามารถบอกล้างโมฆียกรรมคือ ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม ดั้งนั้นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายสมชายสามารถบอกล้างสัญญาซื้อขายทองคำของ เด็กชายสมชาย Crying or Very sad

    ดังนั้นเห็นด้วย ที่ผู้แทนโดยชอบธรรมมีสิทธิ์บอกล้างสัญญาซื้อขายทองคำของเด็กชายสมชาย ดังเหตุผลข้างต้น Rolling Eyes
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Tue Jun 22, 2010 2:41 pm

    แนวตอบของกระผม
    กฎหมายแพ่ง 1 ภาค 2 ปี 2552
    ไม่แน่ใจว่าโจทย์ถูกหรือปล่าวนะครับ ถ้าโจทย์ผิดแปลกจากตรงนี้แนวทางตอบจะเปลี่ยนไปนะครับ
    ผิดหรือถูก วิเคราะห์เอาเองนะครับ

    2. นาย เอกตั้งใจซื้อรถยนต์จากนายโทราคา 1,200,000 บาท เลยเขียนจดหมายไปบอกนายโท แต่เกิดความผิดพลาดเขียนตัวเลขผิด เป็น 1,500,000 บาท เมื่อนายโทได้รับจดหมายเลยตอบตกลงที่ราคา 1,500,000 บาท ซึ่งนายโทเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว นายเอกอ้างว่าตนไม่มีเจตนาจะซื้อในราคา 1,500,000 บาท แต่ตั้งใจจะซื้อที่ราคา 1,200,000 บาท ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเขียนผิด ตนไม่ผูกพันในจดหมายดังกล่าว เพราะไม่มีเจตนาจะซื้อในราคาดังกล่าว ท่านเห็นด้วยกับนายเอกหรือไม่ อย่างไร
    มาตรา 171 ในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร
    มาตรา 156 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ ความสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมและความสำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น
    ตามปัญหา การที่นายเอกตั้งใจที่จะซื้อรถยนต์จากนายโทในราคา 1,200,000 บาท แต่ผิดพลาดพลาดเขียนผิดเป็น 1,500,000 บาท จะเห็นว่าเจตนาที่แท้จริงคือราคา 1,200,000 บาท ไม่ใช่ 1,500,000 บาท จึงถือว่าเป็นความสำคัญผิดในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ผลจึงเป็นโมฆะ มาตั้งแต่เริ่มแรกถึงแม้ว่าเมื่อนายโทได้รับจดหมายเลยตอบตกลงที่ราคา 1,500,000 บาท ซึ่งนายโทเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสมแล้วก็ตาม เพราะในการตีความการแสดงเจตนานั้น ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรเจตนาเสนอของนายเอกคือ ราคา 1,200,000 บาท ไม่ใช่ 1,500,000 บาท เมื่อคำเสนอและคำสนองไม่ตรงกันสัญญาย่อมไม่เกิดขึ้น
    ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับคำอ้างของนายเอกดังเหตุผลข้างต้น
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Tue Jun 22, 2010 2:42 pm

    แนวตอบของกระผม
    กฎหมายแพ่ง 1 ภาค 2 ปี 2552
    ไม่แน่ใจว่าโจทย์ถูกหรือปล่าวนะครับ ถ้าโจทย์ผิดแปลกจากตรงนี้แนวทางตอบจะเปลี่ยนไปนะครับ
    ผิดหรือถูก วิเคราะห์เอาเองนะครับ

    3. นาย ดำทำหนังสือปลดหนี้ให้นายสมชาย ในวันที่ 13 เมษายน 2553 โดยมีข้อแม้ว่านายสมชายต้องส่งมอบรถให้นองชาย ของตนคือนายอ่าง พอรุ่งขึ้นนายอ่างทราบเรื่องก็ส่งจดหมายไปบอกนายสมชายให้ส่งมอบรถให้ตน พอดีช่วงนั้นนายสมชายไม่อยู่บ้านไปธุระที่ต่างจังหวัด จะกลับมาในวันที่ 20 เมษายน 2553 ในช่วงระหว่างนี้เองนายดำเกิดการทะเละกับนายอ่างอย่างรุนแรง นายดำเลยไปพบนายสมชายเพื่อแก้ไขข้อตกลงในสัญญาปลดหนี้ใหม่ ซึ่งตรงกับเวลาที่นายสมชายกลับมาบ้านพอดี และยังไม่ได้เปิดอ่านจดหมายของนายอ่าง นายดำแก้ไขสัญญาว่าให้ส่งมอบรถให้นายเหลืองน้องชายอีกคนของนายดำแทนนายอ่าง เมื่อนายอ่างไปขอรับรถตาม สัญญาฉบับเดิม นายสมชายปฏิเสธไม่ยอมส่งรถให้นายอ่าง
    มาตรา 374 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกไซร์ ท่านว่าบุคคลภายนอกมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงก็ได้ ในกรณีดังกล่าวสิทธิของบุคคลภายนอกย่อมเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น
    มาตรา 375 เมื่อสิทธิของบุคคลภายนอกได้เกิดมีขึ้นตามมาตรา 374 คู่สัญญาหาอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่
    มาตรา 169 วรรคแรก การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลตั้งแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา แต่ถ้าบอกปัดถอนไปถึงผู้ผู้รับการแสดงเจตนานั้นก่อนหรือหรือพร้อมกันกับที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา การแสดงเจตนานั้นไร้ผล
    ตามปัญหาการที่นายดำทำหนังสือปลดหนี้ให้นายสมชาย ในวันที่ 13 เมษายน 2553 โดยมีข้อแม้ว่านายสมชายต้องส่งมอบรถให้นองชาย ของตนคือนายอ่าง เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ในที่นี้คือนายอ่าง นายอ่างจะมีสิทธิจะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้โดยตรงก็ได้คือนายสมชายเพื่อเอารถนั้นสิทธิของนายอ่างจะเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ในที่นี้คือนายสมชายว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น แต่ตามเหตุการณ์ สัญญาที่นายดำทำหนังสือปลดหนี้ให้นายสมชาย โดยมีข้อแม้ว่านายสมชายต้องส่งมอบรถให้นองชายของตนคือนายอ่างนั้นยังไม่เกิดขึ้น เพราะเป็นการแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลตั้งแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา แต่นายสมชายไม่อยู่บ้านไปธุระที่ต่างจังหวัด จะกลับมาในวันที่ 20 เมษายน 2553 จึงถือว่ายังไปไม่ถึงผู้รับการแสดงเจตนา นายดำเลยไปพบนายสมชายเพื่อแก้ไขข้อตกลงในสัญญาปลดหนี้ใหม่ ซึ่งตรงกับเวลาที่นายสมชายกลับมาบ้านพอดี และยังไม่ได้เปิดอ่านจดหมายของนายอ่าง ถือว่านายดำบอกปัดถอนไปถึงผู้ผู้รับการแสดงเจตนานั้นก่อนหรือหรือพร้อมกันกับที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา การแสดงเจตนาที่จะให้นายดำส่งมอบรถให้นองชาย ของตนคือนายอ่าง นั้นไร้ผล นายอ่างจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกรถจากนายสมชายตามสัญญาเดิมดังกล่าวนั้น การที่นายดำนายดำแก้ไขสัญญาว่าให้ส่งมอบรถให้นายเหลืองน้องชายอีกคนของนายดำแทนนายอ่างถือว่าเป็นการแสดงเจตนาขึ้นมาใหม่
    นายอ่างไม่มีสิทธิจะเรียกเอารถจากนายสมชาย เพราะสิทธิของนายอ่างไม่ได้เกิดมีขึ้นเพราะสัญญาเดิมนั้นไร้ผลใช้บังคับไม่ได้
    runrunzaa
    runrunzaa


    จำนวนข้อความ : 1
    Join date : 02/03/2011

    กฎหมายแพ่ง 1 Empty ขอบคุณเช่นกันค่ะ

    ตั้งหัวข้อ  runrunzaa Sun Jul 10, 2011 5:34 pm

    ถึงแม้จะอ่านแล้วงงๆ ก็จะค่อยๆ อ่านต่อไปค่ะ^_________^

      เวลาขณะนี้ Thu Mar 28, 2024 8:54 pm