ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


5 posters

    กฎหมายแพ่ง 2

    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 2 Empty กฎหมายแพ่ง 2

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Dec 31, 2009 7:54 pm

    กฎหมายแพ่ง 2 ที่ผมนำมานี้เป็นข้อสอบของ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2552 ที่ผ่านมา
    คำถามอาจจะผิดเพี้ยนไปบ้างก็ขออภัย ณ ที่นี้ด้วย
    และถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วย
    ผมเอามาลงเพื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆนะครับ
    ถ้าเพื่อนๆ คนใดมีความคิดเห็นหรือมีรายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง 2 ก็โปรดช่วยกันนำมาลงด้วยนะครับ

    กฎหมายแพ่ง 2
    ข้อสอบวิชากฎหมายแพ่ง 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
    1. ดาวยืมรถเดือนไปเที่ยวงานวันลอยกระทง แต่หลังเสร็จงานลอยกระทง ดาวยังไม่ส่งคืนกลับนำไปใช้ส่วนตัวต่ออีก 1 สัปดาห์ ระหว่างนั้นฝนตกหนักฟ้าผ่ารถของเดือนพังทั้งคัน ดาวปฏิเสธว่าไม่ใช่ความผิดของตน เป็นเหตุสุดวิสัย เดือนมาปรึกษาท่าน ๆ จะให้คำแนะนำเดือนว่าอย่างไร
    ตามหลักกฎหมายกล่าวว่า (มาตรา 203 วรรค 2)ในหนี้มีกำหนดชำระ ถ้าหากกรณีเป็นที่สงสัย
    ท่านให้สันนิฐานไว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนีก่อนถึงเวลานั้นหาไห้ไม่ แต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระก่อน
    กำหนดก็ได้ (มาตรา 204 วรรค 2)ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฎิทินและลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ ตามกำหนดไซร์ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ท่านให้ใช้บังคับแก่กรณี ที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ซึ่งได้กำหนดเวลาลงไว้อาจคำนวณนับได้โดยปฎิทินนับแต่เวลาที่ได้บอกกล่าว (มาตรา 217)ลูกหนี้จะต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างที่ผิดนัดด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั้นเอง
    ตามเหตุการณ์พอจะอนุมานจากพฤติการณ์ได้ว่าเป็นหนี้มีกำหนดชำระคือหลังจากเสร็จงาน
    ลอยกระทงดาวจะต้องส่งรถคืนในทันทีโดยที่ไม่ต้องเตือนเลย การที่ดาวยังไม่ส่งคืนกลับนำไปใช้ส่วนตัวต่ออีก 1 สัปดาห์ถือว่าดาวผิดนัด ดังนั้นเมื่อมีเหตุการณ์ฟ้าผ่ารถของเดือนพังทั้งคัน แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย ดาวก็ต้องรับผิดชอบในความเสียหายบรรดาที่เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย
    ไม่เห็นด้วยกับดาวที่อ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ดาวจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้น
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 2 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 2

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Dec 31, 2009 7:55 pm

    2. แดง ขาว น้ำเงิน ร่วมกันยืมเงินดำ 60,000 บาท ต่อมาดำยกหนี้ให้น้ำเงิน 20,000 บาท และเมื่อถึงกำหนดชำระไม่มีใครชำระ ดำจึงไปเรียกเอากับน้ำเงิน น้ำเงินอ้างว่าดำได้ยกหนี้ให้ตนแล้ว ให้ดำไปเรียกเอาจากแดง และ ขาว ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างของน้ำเงินหรือไม่
    ตามหลักกฎหมาย(มาตรา291)ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคน
    จำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงไซร้ ถึงแม้ว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้ชำระหนี้สิ้นเชิงได้เพียงครั้งเดียว(กล่าวคือลูกหนี้ร่วมกัน)ก็ดี เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้ แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ ตามแต่จะเลือกแต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง (มาตรา293)การปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมกันคนใดคนหนึ่งนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นๆ เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้ปลดให้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น (มาตรา296)ในระหว่างลูกหนี้
    ร่วมกันทั้งหลายนั้น ท่านว่าต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ถ้าส่วนที่ลูกหนี้ร่วมกันคนใดคนหนึ่งจะพึงชำระนั้นเป็นอันจะเรียกเอาจากคนนั้นไม่ได้ไซร์ ยังขาดจำนวน
    อยู่เท่าไรลูกหนี้คนอื่นๆ ซึ่งจำต้องออกส่วนด้วยนั้นก็ต้องรับใช้ แต่ถ้าลูกหนี้ร่วมกันคนใดเจ้าหนี้ได้ปลด ให้หลุดพ้นจากหนี้อันร่วมกันแล้วส่วนที่ลูกหนี้คนนั้นจะพึงต้องชำระหนี้ก็ตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ไป
    ตามเหตุการณ์การที่แดง ขาว น้ำเงิน ร่วมกันยืมเงินดำ 60,000 บาท ถือได้ว่าเป็นลูกหนี้ร่วม ต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กันคือคนละ 20,000 บาท และการที่ดำยกหนี้ให้น้ำเงิน 20,000 บาทย่อมเป็น ประโยชน์แก่ลูกหนี้คนอื่นๆ เพียงเท่าส่วนของน้ำเงินคือ 20,000 บาทซึ่งตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ไป ดังนั้นยังเหลือหนี้ที่ค้างชำระ 40,000 บาท ที่แดงและขาวจะต้องชำระให้แก่ดำคนละ 20,000 บาท ซึ่งดำจะมาเรียกกับน้ำเงินอีกไม่ได้เพราะได้ปลดหนี้ให้แล้วและไม่ได้ตกลงกันเป็นอย่างอื่น
    เห็นด้วยกับข้ออ้างของน้ำเงิน ซึ่งดำจะมาเรียกกับน้ำเงินอีกไม่ได้ ดำจะต้องไปเรียกเอาส่วนที่ค้างชำระ 40,000 บาท จากแดงและขาวคนละ20,000 บาท
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 2 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 2

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Dec 31, 2009 7:57 pm

    3. แดงและเหลือง เป็นเพื่อนกัน แดงฝากสุนัขไว้ให้เหลืองดูแล น้ำเงินเดินผ่านมา เหลืองแหย่สุนัขให้กัดน้ำเงิน แต่สุนัขตัวเล็กเลยกัดไม่เข้า น้ำเงินโกรธจึงจะฟ้อง แดงมาปรึกษาท่าน ๆ จะแนะนำอย่างไร
    ตามหลักกฎหมายกล่าวว่า (มาตรา420)ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดย
    ผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
    ตามเหตุการณ์การที่เหลืองแหย่สุนัขให้กัดน้ำเงินเป็นการที่ดำทำละเมิดต่อน้ำเงินโดยใช้สัตว์เป็นเครื่องมือถึงแม้ว่าสุนัขจะกัดน้ำเงินไม่เข้าก็ตาม ดำจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับน้ำเงินเพราะ
    เป็นผู้ทำละเมิด ซึ่งไม่เกี่ยวข้องว่าเจ้าของสัตว์หรือบุคคลผู้รับฝากจะเป็นใคร
    แดงไม่เกี่ยวข้องถึงแม้ว่าจะเป็นเจ้าของสัตว์ ดำจะต้องช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับน้ำเงิน
    เพราะเป็นผู้ทำละเมิด
    avatar
    sawai


    จำนวนข้อความ : 7
    Join date : 26/11/2009

    กฎหมายแพ่ง 2 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 2

    ตั้งหัวข้อ  sawai Tue Jan 12, 2010 10:50 pm

    หวัดดีครับ ท่านยิ่ง ผมเห็นด้วยครับ แต่มีข้อแย้ง ข้อ1
    จากคำถามที่1. ดาวยืมรถเดือนไปเที่ยวงานวันลอยกระทง แต่หลังเสร็จงานลอยกระทง ดาวยังไม่ส่งคืนกลับนำไปใช้ส่วนตัวต่ออีก 1 สัปดาห์ ระหว่างนั้นฝนตกหนักฟ้าผ่ารถของเดือนพังทั้งคัน ดาวปฏิเสธว่าไม่ใช่ความผิดของตน เป็นเหตุสุดวิสัย เดือนมาปรึกษาท่าน ๆ จะให้คำแนะนำเดือนว่าอย่างไร
    ลองตอบด้วยความเคารพ
    ปพพ. มาตรา 203
    ถ้า เวลา อันจะพึงชำระหนี้นั้น มิได้กำหนดลงไว้ หรือ จะอนุมาน จากพฤติการณ์ทั้งปวง ก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่า เจ้าหนี้ ย่อมจะเรียกให้ ชำระหนี้ได้ โดยพลัน และ ฝ่ายลูกหนี้ ก็ย่อมจะ ชำระหนี้ของตนได้ โดยพลัน ดุจกัน
    ถ้า ได้กำหนดเวลาไว้ แต่หาก กรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ จะเรียกให้ชำระหนี้ ก่อนถึงเวลานั้น หาได้ไม่ แต่ ฝ่ายลูกหนี้ จะชำระหนี้ ก่อนกำหนดนั้น ก็ได้
    เมื่อเรามาปรับตัวบทใหม่ ตามมาตรา 203 จะได้ความ หากไม่สามารถคาดเดาได้ว่าหนี้นั้นเขาจะยืมไปถึงตอนไหน เจ้าหนี้และลูกหนี้ จะเรียกคืนหรือใช้คืนแก่กันเมื่อใดก็ได้ แต่หากคาดเดาได้ว่าหนี้นั้นมีการยืมเพื่อจุดประสงค์เช่นใดแล้ว ห้ามมิให้เจ้าหนี้เรียกชำระก่อนเวลาอันคาดเดา(อนุมาน)ในการยืมเช่นว่านั้น
    กรณีการอนุมานได้ ถือว่ามีกำหนดเวลาชำระที่คาดเดาได้ตามการอนุมาน เช่น กรณีตามโจทย์ ดาวยืมรถเดือนไปเที่ยวงานวันลอยกระทง ย่อมอนุมานได้ว่าถึงกำหนดชำระเมื่อ ลอยกระทงเสร็จ แต่มิได้หมายความว่าหนี้ที่ถึงกำหนดเวลาชำระแล้วนั้นทำลูกหนี้ผิดนัดทันที เพราะ มาตรา 204 กำหนดว่า
    ปพพ. มาตรา 204
    ถ้า หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และ ภายหลังแต่นั้น เจ้าหนี้ ได้ให้คำเตือน ลูกหนี้ แล้ว ลูกหนี้ ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ ได้ชื่อว่า ผิดนัด เพราะเขาเตือนแล้ว
    ถ้า ได้กำหนด เวลาชำระหนี้ ไว้ตาม วันแห่งปฏิทิน และ ลูกหนี้ มิได้ชำระหนี้ ตามกำหนดไซร้ ท่านว่า ลูกหนี้ ตกเป็นผู้ผิดนัด โดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้บังคับ แก่กรณีที่ ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า ก่อนการชำระหนี้ ซึ่ง ได้กำหนดเวลาลงไว้ อาจคำนวณนับได้ โดยปฏิทิน นับแต่ วันที่ได้บอกกล่าว
    เห็นกรณีคำว่า ถ้า หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และ ภายหลังแต่นั้น เจ้าหนี้ ได้ให้คำเตือน หมายถึง หากหนี้ที่อนุมานได้ตามมาตรา 203 ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ต้องเตือนก่อน
    และ เมื่อเตือนให้ชำระหนี้ แล้ว ลูกหนี้ ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ ได้ชื่อว่า ผิดนัด เพราะเขาเตือนแล้ว หมายถึงลูกหนี้ จะผิดนัดได้ก็แต่เฉพาะเมื่อหนี้ถึงกำหนดเวลาชำระแล้วเจ้าหนี้ได้เตือนแล้วว่าให้ใช้ตามเวลาใด
    ข้อยกเว้น วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้บังคับ แก่กรณีที่ ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า ก่อนการชำระหนี้ ซึ่ง ได้กำหนดเวลาลงไว้ อาจคำนวณนับได้ โดยปฏิทิน นับแต่ วันที่ได้บอกกล่าว

    หมายความว่า ยกเว้นหากกำหนดเวลาไว้ตามปฏิทิน ไม่ต้องเตือนก็ผิดนัดได้ เช่น กำหนดว่า ยืมไป จะคืนวันที่ 17 ม.ค.53 เช่นนี้หากเลยกำหนดลูกหนี้ผิดนัดทันที่โดยมิพักต้องเตือน
    - วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้บังคับ แก่กรณีที่ ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า ก่อนการชำระหนี้ ซึ่ง ได้กำหนดเวลาลงไว้ อาจคำนวณนับได้ โดยปฏิทิน นับแต่ วันที่ได้บอกกล่าว
    หมายถึง หากกำหนดระยะเวลาชำระ ซึ่งอาจคำนวณนับได้ก็มิพักต้องเตือน เช่น นาย ก บอกว่าอีก3 วันให้นำเงินมาชำระด้วย ถือว่าอาจคำนวณนับได้ตามปฏิทินโดยมิพักต้องเตือนก็ตกเป็นผิดนัด และกรณีเช่นนี้ ให้ร่วมถึง เจ้าหนี้บอกกล่าวการทวงด้วย
    ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า มาตรา 203 กำหนดมาเพื่อห้ามเจ้าหนี้ทวงหนี้ก่อนหากอนุมานจากพฤติกรรมได้ และมาตรา 204 คือบทกำหนดการปฏิบัติของการชำระหนี้
    คราวนี้มาดู ตามโจทย์ ดาวยืมรถเดือนไปเที่ยวงานวันลอยกระทง แต่หลังเสร็จงานลอยกระทง ดาวยังไม่ส่งคืนกลับนำไปใช้ส่วนตัวต่ออีก 1 สัปดาห์ ระหว่างนั้นฝนตกหนักฟ้าผ่ารถของเดือนพังทั้งคัน ดาวปฏิเสธว่าไม่ใช่ความผิดของตน เป็นเหตุสุดวิสัย เดือนมาปรึกษาท่าน ๆ จะให้คำแนะนำเดือนว่าอย่างไร
    ตามโจทย์อ้างมาตราดังนี้
    ปพพ. มาตรา 203
    ถ้า เวลา อันจะพึงชำระหนี้นั้น มิได้กำหนดลงไว้ หรือ จะอนุมาน จากพฤติการณ์ทั้งปวง ก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่า เจ้าหนี้ ย่อมจะเรียกให้ ชำระหนี้ได้ โดยพลัน และ ฝ่ายลูกหนี้ ก็ย่อมจะ ชำระหนี้ของตนได้ โดยพลัน ดุจกัน
    ถ้า ได้กำหนดเวลาไว้ แต่หาก กรณีเป็นที่สงสัย ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าหนี้ จะเรียกให้ชำระหนี้ ก่อนถึงเวลานั้น หาได้ไม่ แต่ ฝ่ายลูกหนี้ จะชำระหนี้ ก่อนกำหนดนั้น ก็ได้
    ปพพ. มาตรา 204
    ถ้า หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และ ภายหลังแต่นั้น เจ้าหนี้ ได้ให้คำเตือน ลูกหนี้ แล้ว ลูกหนี้ ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ ได้ชื่อว่า ผิดนัด เพราะเขาเตือนแล้ว
    ถ้า ได้กำหนด เวลาชำระหนี้ ไว้ตาม วันแห่งปฏิทิน และ ลูกหนี้ มิได้ชำระหนี้ ตามกำหนดไซร้ ท่านว่า ลูกหนี้ ตกเป็นผู้ผิดนัด โดยมิพักต้องเตือนเลย วิธีเดียวกันนี้ ท่านให้ใช้บังคับ แก่กรณีที่ ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า ก่อนการชำระหนี้ ซึ่ง ได้กำหนดเวลาลงไว้ อาจคำนวณนับได้ โดยปฏิทิน นับแต่ วันที่ได้บอกกล่าว
    ปพพ. มาตรา 217
    ลูกหนี้ จะต้องรับผิดชอบ ในความเสียหาย บรรดาที่เกิดแต่ ความประมาทเลินเล่อ ในระหว่างเวลา ที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบ ในการที่ การชำระหนี้ กลายเป็น พ้นวิสัย เพราะอุบัติเหตุ อันเกิดขึ้น ในระหว่างเวลา ที่ผิดนัดนั้นด้วย เว้นแต่ ความเสียหายนั้น ถึงแม้ว่า ตนจะได้ชำระหนี้ ทันเวลากำหนด ก็คงจะต้อง เกิดมีอยู่นั่นเอง
    วินิจฉัยตามคำถาม ดาวยืมรถเดือนไปเที่ยวงานวันลอยกระทง ถือว่าเป็นหนี้ที่ จะอนุมาน จากพฤติการณ์ได้ กล่าวคือหนี้ถึงกำหนดชำระเมื่องานลอยกระทงเสร็จ ตามมาตรา 203 วรรคแรก แต่หาได้หมายความว่าการที่ หลังเสร็จงานลอยกระทง ดาวยังไม่ส่งคืนกลับนำไปใช้ส่วนตัวต่ออีก 1 สัปดาห์ เป็นการผิดนัด เพราะตามมาตรา 204 กำหนดว่า ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และ ภายหลังแต่นั้น เจ้าหนี้ ได้ให้คำเตือน ลูกหนี้ แล้ว ลูกหนี้ ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ ลูกหนี้ ได้ชื่อว่า ผิดนัด เพราะเขาเตือนแล้ว การที่เดือนมิได้ทวงถามให้ชำระตามวันเวลาที่สมควรแม้หนี้ถึงกำหนดชำระแล้วก็ตามแต่ยังมิอาจถือว่าเดือนผิดนัด เพราะมาตรา 203 เป็นบทกำหนดห้ามทวงหนี้ก่อนการอนุมานได้เท่านั้นหาได้หมายถึงการผิดนัดของลูกหนี้แต่อย่างใด การที่นางเดือนไม่ทวงถามให้ชำระจึงยังไม่ถือว่าหนี้ถึงกำหนดชำระ แม้ข้อเท็จจริงตามโจทย์จะกล่าวว่า ระหว่างนั้นฝนตกหนักฟ้าผ่ารถของเดือนพังทั้งคัน ก็ไม่ต้องด้วยมาตรา ปพพ. มาตรา 217 ดังที่กล่าวว่า ลูกหนี้ จะต้องรับผิดชอบ ในความเสียหาย บรรดาที่เกิดแต่ ความประมาทเลินเล่อ ในระหว่างเวลา ที่ตนผิดนัดในการที่ การชำระหนี้ กลายเป็น พ้นวิสัย เพราะอุบัติเหตุ อันเกิดขึ้น ในระหว่างเวลา ที่ผิดนัดนั้นด้วย เพราะเมื่อเจ้าหนี้ไม่ได้ทวงถามลูกหนี้ให้ชำระหนี้ นางดาวย่อมลูกหนี้ย่อมยังมิตกเป็นผู้ผิดนัด ย่อมไม่ต้องรับผิดต่อเหตุทั้งปวงตามมาตรา 217 เนื่องจาก มาตรา 217 กำหนดมาโดยเจตนารมณ์ของกรณีลูกหนี้ผิดนัด
    ธงคำตอบ ดาวไม่ต้องรับผิดเนื่องจากแม้หนี้ถึงกำหนดชำระแต่ ดาวยังมิตกเป็นผู้ผิดนัด เพราะเดือนมิได้เตือนให้ดาวชำระหนี้แม้รถของเดือนจะเสียหายทั้งคันจากการที่ดาวยืมแต่เป็นเหตุสุดวิสัย ดังนั้นดาวมิต้องรับผิดในความเสียหายของรถเดือน
    คำถามที่ว่า เดือนมาปรึกษาท่าน ๆ จะให้คำแนะนำเดือนว่าอย่างไร ดังนั้นคำถามดังกล่าวจึงต้องอิงตัวบทเป็นหลักในการตีความ หากเป็นผมตอบคำถามในกรณีนี้ คงตอบว่าแนะนำว่า เดือนคงฟ้องร้องมิได้ตามการวินิจฉัยที่กล่าวมาข้างต้น
    Sad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายแพ่ง 2 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 2

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Jun 24, 2010 12:33 pm

    พี่ไสวครับในการวินิจ พี่ต้องไล่ลำดับเหตุการณ์ด้วยสิครับพี่ว่าควรใช้มาตราใดก่อนหลังนะครับ ถ้ามาตราที่ใช้ในเหตุการณ์ก่อนแล้วสามารถวินิจฉัยเหตุการณ์ก่อนได้ จึงค่อยมาจะใช้มาตราอีกมาตราหนึ่ง อย่าดูแต่มาตราครับต้องดูลำดับเหตุการณ์แล้วใช้มาตราวินิจฉัยไล่ลำดับกันไปนะครับ อย่าสับสน
    avatar
    Admin
    Admin
    Admin


    จำนวนข้อความ : 858
    Join date : 30/07/2009
    : 57

    กฎหมายแพ่ง 2 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 2

    ตั้งหัวข้อ  Admin Thu Jun 24, 2010 1:08 pm

    เยี่ยมมากน้อง Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad
    avatar
    นิติมสธ


    จำนวนข้อความ : 2
    Join date : 02/08/2011
    : 58

    กฎหมายแพ่ง 2 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 2

    ตั้งหัวข้อ  นิติมสธ Wed Aug 31, 2011 10:26 pm

    ถ้าอย่างนั้นก้คงไม่มีเรื่องต่อสู้กันในศาลหรอกครับก้เพราะวิเคราะห์ข้อกฎหมายต่างกันถึงได้ฟ้องร้องกันจริงมั๊ย
    avatar
    newy


    จำนวนข้อความ : 2
    Join date : 23/03/2012

    กฎหมายแพ่ง 2 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 2

    ตั้งหัวข้อ  newy Fri Mar 23, 2012 2:59 pm

    ด้วยความเคารพครับ

    ข้อที่ 1 อ้างอิงตามหนังสือเอกสารการสอนชุดวิชา กฎหมายแพ่ง 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เล่มที่ 1

    หน้า 40 เรื่อง 2.1.2 หนี้มีกำหนดเวลาชำระหนี้และหนี้มีกำหนดชำระตามพฤติการณฺ์

    "หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระ หมายความรวมถึงหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระ แต่อนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงได้ว่าหนี้มีกำหนดเวลาชำระเมื่อใด ถ้าจะพึงอนุมานกำหนดเวลาชำระหนี้จากพฤติการณ์ได้แล้ว เจ้าหนี้ก็ไม่มีสิทธฺจะเรียกให้ชำระหนี้ได้โดนพลัน เพราะหนี้ที่พึงอนุมานกำหนดเวลาชำระหนี้ได้ถือว่าเป็นหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระแน่นอน"


    มาตรา 204 วรรคแรก

    "ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว"


    อ้างอิงตามหน้า 46 หนังสือเล่มเดียวกัน เรื่องกรณีที่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด

    "หนี้ถึงกำหนดชำระตามมาตรา 204 วรรคแรก หมายความถึงหนี้ที่ไม่ได้กำหนดชำระไว้ตามเวลาแห่งปฏิทินและไม่ใช่หนี้ละเมิด เป็นหนี้ที่พอจะกำหนดเวลากันได้ แต่มิได้กำหนดไว้ รวมทั้งหนี้ที่พออนุมานกำหนดเวลาชำระหนี้เอาได้จากตามพฤติการณ์ตามมาตรา 203 วรรคแรกด้วย"

    มาตรา 204 วรรค 2

    "ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฎิทินและลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ ตามกำหนดไซร์ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย......"

    จากคำถามดังกล่าว

    "ดาวยืมรถเดือนไปเที่ยวงานวันลอยกระทง แต่หลังเสร็จงานลอยกระทง ดาวยังไม่ส่งคืน............."

    น่าจะเป็น "หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระ แต่อนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงได้ว่าหนี้มีกำหนดเวลาชำระเมื่อใด"

    จึงต้องตาม มาตรา 204 วรรคแรก ที่ว่า

    "ถ้าหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว"

    มิใช่ มาตรา 204 วรรค 2 ที่ว่า

    "ถ้าได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฎิทินและลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ ตามกำหนดไซร์ ท่านว่าลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย........"

    เพราะมิได้มีการกำหนดวันชำระหนี้ไว้ตามเวลาแห่งปฎิทิน แต่สามารถกำหนดได้โดยการอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวง

    ดังนั้นจึงต้องตาม มาตรา 204 วรรคแรก ที่บัญญัติไว้ว่า "......และภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซร้ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว"

    สรุป ต้องเตือนก่อนจึงจะถือว่าผิดนัดชำระหนี้ครับ
    avatar
    newy


    จำนวนข้อความ : 2
    Join date : 23/03/2012

    กฎหมายแพ่ง 2 Empty Re: กฎหมายแพ่ง 2

    ตั้งหัวข้อ  newy Sun Mar 25, 2012 2:06 pm

    เฉลยโดยอาจารย์ครับ

    httพี://stou45.thaiparagliding.com/download/khunnoom/47_1_pang2.pdf

      เวลาขณะนี้ Fri Mar 29, 2024 3:17 pm