ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233

    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Mar 21, 2010 12:46 am

    หน่วยที่ 1 ระบบสังคมและโครงสร้างสังคม

    แนวคิด
    1.ระบบสังคมหมายถึง ระบบความสัมพันธ์ของคนจำนวน 2 คนขึ้นไป ในระบบสังคมหนึ่งๆอาจประกอบด้วยคนจำนวนน้อยจนถึงจำนวนมากเป็นสังคมใหญ่ ในทุกระบบสังคมจะมีลักษณะพื้นฐานที่เหมือนกัน คือ มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ หรือการจัดระเบียบสังคม หรือโครงสร้างทางสังคมนั่นเองโดยมีส่วนประกอบที่สำคัญยิ่งคือ บรรทัดฐานและสถานภาพ
    2.ในทางสังคมวิทยา มนุษย์เป็นสัตว์สังคม การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสังคมช่วยให้เราเข้าใจถึงบทบาท สถานภาพ และตำแหน่งหน้าที่ของตนเองที่สัมพันธ์กับผู้อื่น ในสังคมปัจจุบันความรู้สึกของความเป็นชุมชนเริ่มลดหายไป งานนิเทศศาสตร์จึงต้องทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลในสังคม ตลอดจนเป็นช่องทางให้ปัจเจกบุคคลได้เข้าร่วมกับชีวิตสาธารณะของสังคม

    1.1แนวคิดเกี่ยวกับระบบสังคมและโครงสร้างสังคม
    - ระบบสังคมหมายถึง ระบบความสัมพันธ์ของคนในสังคม ทุกระบบสังคมจะมีการจัดระเบียบสังคมหรือโครงสร้างสังคมซึ่งเป็นแบบแผนหรือกฎเกณฑ์ทั้งหลายในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับกลุ่ม องค์ประกอบสำคัญของโครงสร้างสังคมคือ บทบาทและสถานภาพ
    - ฐานะ เป็นเครื่องบ่งบอกที่สำคัญประการหนึ่งในการแบ่งความแตกต่างทางชนชั้นของกลุ่มคนโดยพิจารณาความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ขณะที่ อำนาจ คือความสามารถในการทำหรือผลจากการกระทำต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ส่วนเรื่องเพศมี 2 คำที่แตกต่างกันคือ เพศ ซึ่งเป็นความหมายทางสรีรวิทยาว่าเป็นชายหรือหญิง กับเพศสภาพ เป็นการแบ่งความแตกต่างของชายหญิงจากพฤติกรรมและอัตลักษณ์โดยสังคม
    - สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลในกลุ่ม สถานภาพทางสังคมแบ่งเป็น 2 ระดับคือ สถานภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และสถานภาพสัมฤทธิ์อันเป็นสภาพที่หามาได้ บุคคลสามารถควบคุมและเลือกสถานภาพชนิดได้ เช่น การเลือกอาชีพ เลือกคู่ครอง ส่วน บทบาท คือสิทธิและหน้าที่ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพ กล่าวคือ ในแต่ละสถานภาพย่อมมีบทบาทที่แตกต่างกัน สำหรับ ชนชั้น เป็นแนวคิดพื้นฐานที่ใช้อธบายความมีโอกาสของชีวิตที่แตกต่างกัน ในสังคมปัจจุบันการจัดลำดับชนชั้นขึ้นอยู่กับสิทธิทางกฎหมายและรายได้
    - การเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระดับชั้นทางสังคมของบุคคลหรือกลุ่ม โดยมากการวัดการเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคมมักจะวัดที่เกียรติภูมิของการประกอบอาชีพกับปัจจัยอื่นๆ เช่น การศึกษา รายได้
    - การสร้างความแตกต่างทางสังคมและเศรษฐกิจทำให้คนในสังคมมีการแบ่งระดับกัน เกิดความไม่เท่าเทียมกัน มีการจัดลำดับชนชั้น สำหรับสังคมไทยการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกันเป็นภาพของความเหลื่อมล้ำของสังคมที่ปรากฎชัดเจน
    **การสร้างความแตกต่างทางสังคมและเศรษฐกิจจะทำให้เกิด มีการแบ่งระดับของคน เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม โดยเฉพาะทางรายได้และทรัพย์สิน มีการจัดลำดับชนชั้น การกระจายรายได้ไม่เท่าเทียมกัน การครอบงำทางสังคม การกลายเป็นคนชายขอบ

    1.2 สังคมวิทยากับงานนิเทศศาสตร์
    - สถานภาพที่แตกต่างกันของบุคคลในสังคมส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการเข้าถึงความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่างๆรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากข่าวสาร โดยเฉพาะในเศรษฐกิจทุนนิยม ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีมักเป็นผู้ที่ได้ใช้ประโยชน์จากช่องทางการสื่อสารมากกว่าคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ
    - ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่เสมอภาคของการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ ได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ ความแตกต่างของลักษณะประชากร และนโยบายของรัฐบาล
    - นักนิเทศศาสตร์ในฐานะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดข่าวสารไปยังกลุ่มคนต่างๆ ในสังคมควรทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในยุคปัจจุบัน อันเป็นยุคที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้า ข่าวสารเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงความคิด ฉะนั้นยุคนี้จะใช้ความรู้และข้อมูลข่าวสารเป็นทรัพยากร สังคมยุคนี้จึงเป็นสังคมสารสนเทศ โดยที่สารสนเทศเป็นหัวใจสำคัญทางเศรษฐกิจด้วย
    - รูปแบบในการอธิบายปรากฏการณ์ของสังคมสารสนเทศมีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบทางเศรษฐกิจ รูปแบบทางเทคโนโลยี รูปแบบทางสังคมวิทยา และรูปแบบทางประวัติศาสตร์
    - ในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจหรือสถานภาพทางการเมืองและสังคมต่ำกว่ามักจะต้องพึ่งพาและอยู่ใต้อาณัติของผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคมที่สูงกว่า ตัวอย่าง ของความไม่เทียมกันในการเป็นผู้ใช้ประโยชน์จากข่าวสาร เช่น กรณีของผู้ที่อยู่ชายขอบซึ่งขาดสิทธิขาดเสียงในการใช้ประโยชน์จากข่าวสาร ในฐานะนักนิเทศศาสตร์ต้องนำเสนอข่าวสารที่สร้างความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทุกชนชั้น และรู้เท่าทันความต้องการใช้ประโยชน์จากข่าวสารของคนในสังคม โดยเฉพาะผู้ที่ขาดโอกาสหรือผู้ที่ไม่ได้รับความเสมอภาค


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Apr 04, 2010 9:21 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 2 แนวคิดและแนวทางการศึกษาวิเคราะห์สังคม

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Mar 21, 2010 12:47 am

    หน่วยที่ 2 แนวคิดและแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์สังคม

    แนวคิด
    1.การศึกษาและวิเคราะห์สังคมในยุคก่อนได้ใช้ทฤษฎีต่างๆเป็นกรอบแนวคิดโดยได้ศึกษาหลายทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ทฤษฎีความขัดแย้ง ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์ธัญลักษณ์ และทฤษฎีแนวความคิดเชิงระบบ
    2.แนวคิดและแนวทางการศึกษาและวิเคราะห์สังคมยุคหลังแตกต่างจากยุคก่อน โดยได้ใช้แนวคิดทฤษฎีหลากหลายในการศึกษาได้แก่ ทฤษฎีที่ถือเอาผู้ลงมือเป็นตัวตั้ง แนวคติดกระบวนการโลกาภิวัตน์ ทฤษฎีทางสังคมวิทยาว่าด้วยสังคมเสี่ยงภัย และแนวคิดมายาคติสังคม

    2.1 แนวคิดและแนวทางการศึกษาวิเคราะห์สังคมในยุคก่อน
    - ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ทุกระบบจะต้องประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบย่อยๆที่ต่างก็ทำหน้าที่ของตนเพื่อให้ส่วนรวมทั้งหมดอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ นักสังคมวิทยาคลาสสิค 3 คน ที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการพัฒนาทฤษฎีนี้ คือ ออกุส กอง เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์ และเอมิล เดอร์ไคม์
    - ทฤษฎีความขัดแย้งมีสมมติฐานเบื้องต้นว่า สังคมก่อตัวขึ้นมาบนความขัดแย้ง และพัฒนาไปบนความขัดแย้ง ทฤษฎีนี้เชื่อว่า ระบบสังคมประกอบด้วยระบบย่อยหลายระบบ ซุ่งแต่ละระบบย่อยต่างมีบทบาทหน้าที่ของตนเอง ระบบที่เหนือกว่าจะเอารัดเอาเปรียบและครอบงำระบบที่ด้อยกว่า จึงทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การต่อสู้และเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีขึ้น นักคิดคนสำคัญของทฤษฎีนี้คือ คาร์ล มาร์กซ์
    - ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์สัญลักษณ์มีหลักการพื้นฐานที่ว่า การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์เป็นช่องทางในการเรียนรู้ความหมายและสัญลักษณ์เพื่อทำให้สามารถนำไปใช้ในการคิด ขณะเดียวกันแบบแผนต่างๆของการตอบโต้ระหว่างการกระทำและปฏิสัมพันธ์ก่อให้เกิดกลุ่มและสังคมต่างๆ
    - ทฤษฎีแนวความคิดเชิงระบบ มีข้อสมมติฐานเบื้องต้นคือ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆอย่างเป็นองค์รวม มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ระบบทุกระบบประกอบไปด้วยระบบย่อยหรือส่วนประกอบ ซึ่งส่วนประกอบต่างๆจะมีความสัมพันธ์กัน

    2.2 แนวคิดและแนวทางการศึกษาวิเคราะห์สังคมในยุคหลัง
    - ทฤษฎีที่ถือเอาผู้ลงมือทำเป็นตัวตั้ง มีแนวคิดความว่า ชีวิตสังคมมีความแตกต่างหลากหลายทั้งในด้านรูปแบบสังคม รูปการทางวัฒนธรรม ดังนั้นเราควรจะศึกษาว่าความแตกต่างเหล่านี้ถูกสร้างขึ้น ถูกผลิตซ้ำ ถูกปรับเปลี่ยนหรือถูดผนึกรวมได้อย่างไร และแยกแยะให้เห็นถึงกระบวนการทางสังคมที่เกี่ยวข้อง โดยทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญที่ผู้กระทำซึ่งมีลักษณะอย่างน้อย 2 ประการ ได้แก่ การรู้ได้และความสามารถ
    - กระบวนการโลกาภิวัตน์ เป็นกระบวนการอันเป็นสากลซึ่งช่วยให้เกิดการเชื่อมโยงและเกี่ยวพันกันกระบวนการนี้จะไร้พรมแดนประกอบกันเป็นระบบโลกสมัยใหม่ เทคโนโลยีในกระบวนการนี้ช่วยทำให้โลกใบใหม่ขาดตัวลง มีการปฏิสัมพันธ์อย่างไร้ขีดจำกัด
    **การพิจารณาพลวัติของกระบวนการโลกาภิวัตน์ สามารถสรุปแนวโน้มหรือกระแสที่ขัดกันได้ 5 คู่ คือ กระบวนการเป็นสากลกับกระบวนการเฉพาะถิ่นและเฉพาะตัว การเป็นเนื้อหาเดียวกันกับการจำแนกความแตกต่าง การบูรณาการกับการแตกแยก การรวมศูนย์อำนาจกับการกระจายอำนาจ การโละมาเรียงกันกับการผสมผเสกัน
    - ทฤษฎีทางสังคมวิทยา ว่าด้วยสังคมเสี่ยงภัย มีนักคิดคนสำคัญคือ อุลริช เบค เห็นว่า สังคมมนุษย์ไม่ว่ายุคใดต้องเผชิญกับความเสี่ยง โดยเฉพาะสังคมที่มุ่งอุตสาหกรรมจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงใหม่ๆมากมาย ซึ่งความเสี่ยงในที่นี้หมายถึง โอกาสที่คนจะประสบความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์
    - มายาคติ เป็นคำที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับวิธีคิดของแต่ละสังคม จึงส่งผลให้มีความหมายและการตีความที่หลากหลาย ในทางมานุษยวิทยามายาคติเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับวงจรชีวิตมนุษย์ แต่ในแวดวงคนทั่วไป มายาคติสื่อความหมายแก่ผู้รับสารว่ามีนัยของการไม่สะท้อนความเป็นจริงที่ซ่อนอยู่ หรือเป็นภาพบิดเบือนที่ถูกตกแต่งให้สวยงาม ถูกส่งผ่านไปยังสมาชิกในสังคมผ่านทางกระบวนการและขั้นตอนอันสลับซับซ้อนเพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อร่วมกัน
    - ในปัจจุบัน สื่อมวลชนและสื่อต่างๆเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม ดังนั้น นักนิเทศศาสตร์ต้องสามารถมองความเป็นไปของสังคมได้อย่างรู้เท่าทัน และในขณะเดียวกันก็ต้องตระหนักถึงผลกระทบไม่ว่าด้านบวกและลบของการประกอบอาชีพของตนต่อสังคมด้วย ทั้งนี้การศึกษาทฤษฎีแนวคิดในการวิเคราะห์สังคมจะช่วยให้มีกรอบแนวคิดและแนวทางในทางในการรับรู้ปรากฏการณ์และภาพจริงของสังคมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Apr 04, 2010 9:22 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 3 ความรู้ด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Mar 21, 2010 12:48 am

    หน่วยที่ 3 ความรู้ทางสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    แนวคิด

    1.สังคมวิทยาเป็นแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์โดยสนใจวิเคราะห์ศึกษาสังคมมนุษย์ด้วยระเบียบวิธรการทางวิทยาสาสตร์ เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์และความสลับซับซ้อนของกลไกการทำงานของสังคม แสดงให้เห็นความเป็นเหตุเป็นผล รวมทั้งรากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนมานุษยวิทยาคือศาสตร์วิชาว่าด้วยการศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจมนุษย์เช่นเดียวกับสังคมวิทยา แต่ต่างกันในแง่ประเด็นและเนื้อหาที่ศึกษา โดยมานุษยวิทยามองความแตกต่างของมนุษย์ในสังคมจากสาเหตุหรือปัจจัยที่ต่างกันทำให้มนุษย์มีความหลากหลาย และมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน
    2.นักนิเทศศาสตร์มีความเข้าใจวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาจะเสนอประเด็นต่อสาธารณะและสร้างสื่ออย่างสร้างสรรค์ มีจิตสำนึก ศีลธรรม และสามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างรู้เท่าทัน
    3.นักนิเทศศาสตร์ต้องสำนึกในบทบาทของสื่อมวลชนว่าเป็นดาบสองคม ต้องรู้จักใช้ทฤษฎีหรือเครื่องมือในการวิจัยเพื่อแสวงหาความจริงของปรากฏการณ์ และต้องรู้จักใช้ทักษะค้นคว้าข้อมูลข่าวสารโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและทฤษฎีสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
    4.องค์ความรู้พื้นฐานทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสำหรับนักนิเทศศาสตร์ได้แก่ กรอบการมองในเชิงสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารอย่างครบถ้วนและรอบด้าน ให้สาธารณชนเข้าใจปรากฏการณ์ที่หลากหลายและซับซ้อนของสังคม กรอบการมองควรมีระดับจุลภาค ระดับมหภาค ระดับท้องถิ่นและระดับโลก รวมทั้งภาครัฐ ตลาด และภาคประชาชน
    5.นักนิเทศศาสตร์สามารถวิชาสังคมวิทยาเป็นเครื่องมือในการเช้าถึงข้อมูลในมิติต่างๆ และช่วยให้สามารถนำเสนอข่าวสารจากมุมมองที่แตกต่างให้เกิดการขบคิด วิเคราะห์สิ่งที่เห็น และควรใช้เครื่องมือการวิจัยเพื่อเข้าถึงความรู้และความเป็นจริงและเสนอข้อมูลได้รอบด้าน
    6.นักนิเทศศาสตร์ต้องรู้เท่าทันและทบทวนแหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน มีการวิจัยอย่างลึกซึ้ง เพื่อเปิดเผยเงื่อนงำและประเด็นที่อำพรางในข้อมูล ตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น

    3.1 ความหมาย ความสำคัญ และบทบาทของสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาในบริบทโลกาภิวัตน์
    - สังคมวิทยา หมายถึง การพูดคุยเกี่ยวกับสังคม สังคมวิทยาเป็นแขนงหนึ่งของสังคมศาสตร์โดยสนใจ วิเคราะห์ศึกษาสังคมมนุษย์ด้วยระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์และความสลับซับซ้อนของกลๆไกการทำงานของสังคม แสดงให้เห็นความเป็นเหตุเป็นผล รวมทั้งรากเหง้าของปัญหาที่เกิดขึ้น
    - มานุษยวิทยา หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาว่าด้วยการศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจมนุษย์ มานุษยวิทยามุ่งศึกษาและเข้าใจมนุษย์เช่นเดียวกับสังคมวิทยา แต่ต่างกันในแง่ของประเด็นและเนื้อหาที่ศึกษา โดยมานุษยวิทยามองความแตกต่างของมนุษย์ในสังคมจากสาเหตุหรือปัจจัยที่ต่างกัน มนุษย์จึงมีความหลากหลายและมีการปรับตัวให้เข้ากัยสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน
    - นักนิเทศศาสตร์ที่มีความเข้าใจวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาจะสามารถเสนอประเด็นต่อสาธารณะสร้างสื่อโดยสร้างสรรค์ มีจิตสำนึก ศีลธรรม และสามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างรู้เท่าทัน
    - นักนิเทศศาสตร์ต้องมีสำนึกว่าบทบาทของสื่อมวลชนเป็นดาบสองคม ต้องรู้จักใช้ทฤษฎีหรือเครื่องมือในการวิจัยเพื่อแสวงหาความจริงของปรากฏการณ์ และต้องรู้จักใช้ทักษะค้นคว้าข้อมูลข่าวสารโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและทฤษฎีของวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

    3.2 องค์ความรู้พื้นฐานทางสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาสำหรับนักนิเทศศาสตร์
    - กรอบการมองในเชิงสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาเป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร ช่วยให้นักนิเทศสาสตร์สามารถเสนอข่าวสารได้อย่างครบถ้วนและรอบด้าน ให้สาถารณชนเข้าใจปรากฏการณ์ที่หลากหลายและซับซ้อนของสังคม กรอบการมองมีทั้งระดับจุลภาค ระดับมหภาค ระดับท้องถิ่นและระดับโลก รวมทั้งภาครัฐ ภาคตลาดและภาคประชาชน
    - นักนิเทศสาสตร์สามารถใช้วิชาสังคมวิทยาแลมานุษยวิทยาเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลในมิติต่างๆ และช่วยให้สามารถนำเสนอข่าวสารจากมุมมองต่างๆให้เกิดการขบคิด วิเคราะห์ต่อสิ่งที่เห็น โดยศึกษาจากแนวโครงสร้างหน้าที่ แนวเศรษฐศาสตร์การเมืองวิพากษ์ และการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม
    - นักนิเทศสาสตร์สามารถใช้เครื่องมือการสืบค้นในการเข้าถึงความรู้และความเป็นจริงเพื่อจะเสนอข้อมูลได้รอบด้าน
    - มายาคติ หมายถึง การสื่อสารด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรม ทำให้คนรับรู้เสมือนว่าเป็นธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งประกอบทางวัฒนธรรม คิดว่าเป็นธรรมชาติหรือเป็นไปตามสามัญสำนึก นักนิเทศศาสตร์ต้องรู้เท่าทันและทบทวนแหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน มีการวิจัยอย่างลึกซึ้ง เพื่อเปิดเผยเงื่อนงำประเด็นที่อำพรางในข้อมูล การตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากการณ์ที่เกิดขึ้นจะช่วยให้หลุดพ้นจากมายาคติที่แฝงในตัวนักนิเทศศาสตร์และในข้อมูล


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Apr 08, 2010 5:22 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 4 ความรู้ด้าการเมืองการปกครองสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Mar 21, 2010 12:49 am

    หน่วยที่ 4 ความรู้ด้านการเมืองการปกครองสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    แนวคิด
    1.นักรัฐศาสตร์แต่ละยุคแต่ละสมัยมองการเมืองในแง่มุมต่างๆกัน แต่อย่างไรก็ตามความหมายของการเมืองที่เป็นที่ยอมรับกันในระยะหนึ่งก็คือ การเมือง หมายถึง การจัดสรรแบ่งปันสิ่งที่มีคุณค่าเพื่อสังคมแต่ในปัจจุบันได้มีการเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ การเมืองแนวใหม่ ที่เป็นการเมืองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจทางการเมืองเป็นอย่างมากแทนที่จะเกิดอยู่แต่ในรัฐสภา
    2.ระบบการเมืองแบบต่างๆ ได้แก่ ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย ระบบการเมืองแบบเผด็จการอำนาจนิยม และระบบการเมืองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม การเมือง 2 ระบบหลังได้เสื่อมสลายลง หรือพบกับจุดจบโดยเฉพาะระบบการเมืองเผด็จการเป็ดเสร็จนิยมคอมมิวนิสต์ สำหรับการเมืองประชาธิปไตยโดยเฉพาะประชาธิปไตยแบบตัวแทนกำลังถูกแทนที่ด้วย ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
    3. การเมืองการปกครองไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจากระบอบพ่อปกครองลูกมาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และต่อจากนั้นได้เปลี่ยนมาเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทนเมื่อ พ.ศ.2475 มาในปัจจุบันรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ได้พยายามทำให้ระบบการเมืองไทยเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมโดยต้องการคืนอำนาจการบริหารปกครองให้แก่ประชาชน และให้ปัจเจกชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างถูกต้องชอบธรรม
    4.การเมืองการปกครองท้องถิ่นของไทยตามรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ.2540 มาตรา 282 ได้บัญญัติถึงหลักสำคัญในการปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ว่า รัฐต้องให้ความเป็นอิสระแก่ท้องถิ่นตามหลักการปกครองตนเองซึ่งจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะเห็นได้ว่าสอดคล้องกับแนวคิดการปกครองในระดับชาติ คือ ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

    4.1แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง
    - ในทรรศนะของอริสโตเติล การเมือง หรือ ความสัมพันธ์ทางการเมือง เป็นเรื่องของการบังคับ หรือเรื่องของอำนาจเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งทรรศนะของอริสโตเติล แ ตกต่างไปจากบุคคลอื่น การที่มีทรรศนะเกี่ยวกับการเมืองแตกต่างกัน ส่วนใหญ่นักรัฐศาสตร์แต่ละสมัยมองหรือพิจารณาการเมืองในแง่มุมที่ต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามความหมายของการเมืองที่เป็นที่ยอมรับกันระดับหนึ่งหรือระยะหนึ่งคือ การเมืองที่หมายถึง การจัดสรรหรือแบ่งปันสิ่งที่มีคุณค่าเพื่อสังคม
    - การปกครอง โยทั่วไปหมายถึง การใช้อำนาจที่มีผลบังคับใช้ทางการเมืองหรือเหนือการกระทำหรือกิจกรรมของหน่วยงานทางการเมืองและพลเมือง เป็นต้น กล่าวคือเป็นการกระทำในการปกครองหรือเป็นการปกครอง การบริหารการปกครอง จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นโดยกิจกรรมเหล่านี้จะได้รับการหนุนหลังโดยมีเป้าหมายร่วมกันซึ่งอาจจะไม่ได้มาจากอำนาจที่เป็นทางการ (เหมือนในการปกครอง)และไม่จำเป็นต้องพึ่งอำนาจที่ทำให้เกิดการจัดระเบียบที่จะไปคุกคามผู้ที่คัดค้านและบังคับให้เกิดการยินยอม
    - ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การผนวกเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกและการยุติสงครามเย็นได้พยายามหาทางเลือกใหม่ให้กับสังคมโลก และได้ทำให้มีการเสนอ การเมืองแนวใหม่ ที่ให้ความสนใจประชาชนในฐานะตัวแสดงหลักไม่ใช่ การเมืองแนวเดิม ที่มุ่งเน้นเรื่องของการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าหรืออำนาจในแง่ของการแย่งชิงและแข่งขันกันอีกต่อไป
    - การเมืองนอกจากมีความสัมพันธ์การสังคมแล้วยังมีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจในแง่ที่ต่างฝ่ายต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน กล่าวคือ แต่ละฝ่ายอาจจะเป็นได้ทั้งสาเหตุและผลของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องแล้วแต่กรณี

    4.2 ระบบการเมืองแบบต่างๆ
    - ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยยึดหลักการการเลือกตั้งโดยเสรี หลักการใช้เหตุผล หลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาคหรือความเท่าเทียม หลักตัดสินปัญหา และหลักการมีรัฐธรรมนูญเป็นแม่บท
    - ระบบการเมืองแบบเผด็จการอำนาจนิยม มีลักษณะที่สำคัญคือ ยึดมั่นในอุดมการณ์ชาตินิยม เชิดชูผู้นำ ให้ความสำคัญกับเจ้าของหรือแหล่งอำนาจทางการเมือง อันได้แก่ตัวผู้นำ นิยมการสร้างความเข้มแข็งทางการทหารและชอบยึดหรือสร้างประชาธิปไตยแบบจำแลง
    - ระบบการเมืองแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม โดยเฉพาะพวกคอมมิวนิสต์ ยึดหลักการดังต่อไปนี้คือ เน้นอุดมการณ์มาร์กเลนิน เชิดชูชนชั้นกรรมาชีพ ให้ความสำคัญกับองค์กรปฏิวัติ จัดตั้งรัฐบาลเผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ เน้นประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์
    - ระบบการเมืองต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบการเมืองเผด็จการอำนาจนิยม ระบบการเมืองเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยม ไม่ว่าจะเป็นพวกฟาสซิสต์ หรือพวกคอมมิวนิสต์ ต่างประสบปัญหาความเสื่อมถอย เช่นเดียวกับระบบการเมืองประชาธิปไตยที่เผชิญปัญหาจนทำให้เป็นที่มาของ ประชาธิปไตยแนวทางใหม่ หรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

    4.3 การเมืองการปกครองไทยสมัยต่างๆ
    - การเมืองการปกครองไทยสมัยสุโขทัย อำนาจทางการเมืองจะอยู่ในมือของบุคคลคนเดียวคือพ่อขุน ที่วางตัวเป็นพ่อบ้านดูแลลูกบ้าน ในขณะที่การเมืองการปกครองในสมัยสังคมอยุธยาจะเป็นระบอบสมบูณญาสิทธิราชย์ กษัตริย์ถือเป็นเทพเจ้า เมื่อใดก็ตามถ้าไม่ทรงเข้มแข็งอำนาจจะตกไปอยู่ในมือไม่เจ้านายก็ขุนนาง
    - การเมืองการปกครองไทยสมัยธนบุรี เนื่องจากสมัยนี้เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ สภาพสังคมจึงเต็มไปด้วยความปั่นป่วน ผู้นำทางการเมืองตั้งตัวเป็นอิสระ ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าตากสินที่ทรงรวบรวมอาณาจักรขึ้นมาใหม่โดยนำรูปแบบการปกครอง การบริหารแบบอยุธยามาใช้ ในขณะที่การเมืองการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ อำนาจการปกครองยังอยู่ในมือบุคคลคนเดียวที่มีอำนาจเด็ดขาดในการสั่งการคือกษัตริย์ แต่ถ้าเมื่อใดกษัตริย์อ่อนแอ อำนาจการปกครองจะตกไปอยู๔ที่ขุนนาง
    - การเมองการปกครองไทยสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 เป็นการเปลี่ยนแปลงที่อำนาจทางการเมืองไม่ได้ตกอยุ่กับประชาชน หากแต่เปลี่ยนมือจากที่เคยอยู่กับองค์พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์มาอยู่ที่กลุ่มข้าราชการ ผลทำให้การเมืองการปกครองไทยในช่วงนี้เป็นระบอบอำมาตยาธิปไตย ในขณะที่การเมืองการปกครองในสังคมในปัจจุบันเป็นการเมืองการปกครองในระบอบธนาธิปไตย ที่อำนาจทางการเมืองได้ถ่ายเทจากกลุ่มข้าราชการมาสู่กลุ่มธุรกิจ ผลทำให้เงินเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทย มีการใช้เงินในแทบทุกขั้นตอนของกระบวนการทางการเมือง นับตั้งแต่หลัง 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 เป็นต้นมา จนทำให้เป็นที่มาของการปฏิรูปการเมืองและการมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พ.ศ.2540 ที่เห็นและให้ความสำคัญกับ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ในแง่การพยายามให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง

    4.4 การเมืองการปกครองท้องถิ่นไทย
    - การเมืองท้องถิ่น หมายถึง ปฏิสัมพันธ์หรือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรหรือแบ่งปันสิ่งที่มีคุณค่าในระดับท้องถิ่นที่อาจจะมีผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีลักษณะที่สำคัญคือ เน้นอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นวิถีชีวิตของตน สำหรับการปกครองท้องถิ่นหมายถึงการที่ประชาชนได้ปกครองตนเองได้อย่างอิสระในขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลกลาง มีลักษณะที่สำคัญคือเป็นนิติบุคคลประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง โดนทั่วไปมีความสัมพันระหว่างการเมืองการปกครองท้องถิ่นกับการเมืองการปกครองระดับชาติ
    - หลักทั่วไปในการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่น จะมีลักษณะสำคัญคือ เป็นการกะรจายอำนาจการปกครอง อาทิ มีการแยกหน่วยงานออกไปเป็นองค์กรนิติบุคคลอิสระจากส่วนกลาง มีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นมีความเป็นอิสระในการปกครองตนเอง มีเจ้าหน้าที่ของตนเอง และมีงบประมาณและรายได้ของตนเอง โดยทั่วไปการกระจายอำนาจปกครองสามารถจำแนกได้ 2 แบบ คือ การกระจายอำนาจทางพื้นที่และการกระจายอำนาจทางกิจการ
    - รัฐธรรมนูญ พ.ศ 2540 ได้บัญญัติเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ในมาตร282-290 โดยมีสาระสำคัญเรื่องหลักสำคัญในการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เน้นความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหารงานบุคคล การเงิน และการคลัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้กำหนดโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    - รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นที่สำคัญๆ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วยตำบล กรุงเทพมหานคร และพัทยา ซึ่งองค์การรูปแบบการปกครองท้องถิ่น 2 รูปแบบหลังเป็นองค์กรค์ส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Apr 11, 2010 12:03 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 5 ความรู้ด้านกฏหมายสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Mar 21, 2010 12:49 am

    หน่วยที่ 5 ความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์
    แนวคิด
    1.กฏหมายเป็นข้อตกลงร่วมกันของสมาชิกในสังคม เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข การสื่อสารหรืองานด้านนิเทศศาสตร์นั้น ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะเป็นกลไกที่ทำให้ระบบต่างๆในสังคมเคลื่อนไหวและทำงานสอดประสานกัน ดังนั้นทั้งกฎหมายและการสื่อสารหรืองานด้านนิเทศศาสตร์ต่างมีบทบาทต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม การใช้กฏหมายของผู้ที่ทำงานด้านนิเทศศาสตร์จึงต้องมีข้อควรคำนึงหลายประการเนื่องด้วยบทบาทและความสำคัญดังกล่าว
    2. กฎหมายทั่วไปที่สำคัญสำหรับนักนิเทศสาสตร์ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายที่มีลำดับสูงสุด กฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของประชาชนซึ่งให้ความคุ้มครองเรื่องความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินและสิทธิอื่นๆ
    3.กฏหมายสื่อมวลชนและกฎหมายอื่นๆเป็นกฎหมายที่มีความสำคัญต่อวิชาชีพของนักนิเทศศาสตร์ โดยที่กฏหมายสื่อมวลชนจะเกี่ยวข้องกับสื่อต่างๆโดยตรง และกฎหมายอื่นๆเป็นกฎหมายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสื่อ แต่อาจมีประโยชน์หรือกำกับการทำงานของนักนิเทศศาสตร์ ไม่ให้ไปล่วงละเมิดสิทธิ์ของประชาชน

    5.1 ความสำคัญของกฏหมายในงานด้านนิเทศศาสตร์
    - กฎหมายมีความสำคัญเพราะเป็นข้อตกลง กติกา และข้อกำหนดร่วมกันของคนในสังคม เพื่อให้สังคมสงบสุข ลักษณะสำคัญของกฎหมายคือ กฎหมายเกิดขึ้นเพื่อความจำเป็นในการอยีรว่มกันของสังคม มีการจำกัดของเขตของการกระทำ เป็นข้อตกลงร่วมกันที่ทุกคนต้องรับรู้และปฏิบัติตามและมีบทลงโทษที่ชัดเจนและมีสภาพบังคับ
    - ระบบกฎหมายแบ่งเป็น ระบบคอมมอนลอว์ และระบบซิวิลล์ ลอร์ ซึ่งแต่ละประเทศใช้กฎหมายในระบบที่แตกต่างกันออกไป การเข้าใจระบบกฎหมายจึงทำให้การศึกษากฎหมายง่ายขึ้น การแบ่งประเภทของกฎหมาย สามารถใช้เกณฑ์การแบ่งได้หลายลักษณะ ได้แก่ ระบบของกฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน หลักทางวิชาการหรือทฤษฎีหรือตามเนื้อหาและการนำไปใช้ หลักสูตรการศึกษานิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัย และข้อความของกฎหมายเป็นเกณฑ์
    - บทบาทของกฎหมายต่องานด้านนิเทศสาสตร์ ได้แก่ การที่กฏหมมายเป็นเสมือนหนึ่งกลไกในการควบคุมและจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชน และการบรรจุวิชากฏหมายสื่อมวลชนในหลักสูตรของคณะนเทศศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารมวลชน เนื่องจากความจำเป็นของการใช้กฏหมายในงานด้านนี้
    - สื่อมวลชนที่มีบทบาทต่อกฏหมายทั้งทางตรงและทางอ้อม ไ้ด้แก่การนำเสนอการบังคับใช้ของกฏหมาย การทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐที่มีกฏหมายเป็นเครื่องมือในการปกครอง การเป็นผู้นำทางความคิดของมวลชนสู่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางกฏหมาย สาวนบทบาททางอ้อมได้แก่ การสร้างความชอบธรรมหรือความเป็นจริงในสังคม และการเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่นำไปสู่การแก้ไขกฏหมาย ซึ่งเป็นบทบาทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ แต่ก็มีบทบาทที่ก่อให้เกิดโทษก็คือ การสร้างภาพความล้มเหลวในการบังคับใช้กฏหมายในชีวิตจริง หรือการใช้สื่อมวลชนเป็นเครื่องมือในการร่างหรือแก้ไขกฏหมายที่เอื้อต่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง
    - ข้อควรคำนึงในการใช้กฏหมายในงานด้านนิเทศศาสตร์ประกอบด้วย การไม่นำกฏหมายไปใช้ในทางที่ผิด เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง การไม่มองข้ามหลักสำคัญของกฏหมาย การไม่นำช่องว่างของกฏหมายไปเป็นประเด็นชี้นำการกระทำความผิดในสังคม ต้องตรวจสอบและศึกษารายละเอียดของหลักกฏหมายก่อนนำเสนอให้รอบคอบ และข้อยกเว้นการให้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญต้องระมัดระวังในการนำเสนอเป็นกรณีพิเศษ

    5.2 กฎหมายทั่วไปที่สำคัญสำหรับนักนิเทศศาสตร์
    - กฎหมายเป็นสิ่งที่ประชาชนควรรู้และปฎิบัติตามในการทำงานด้านนิเทศศาสตร์ นักนิเทศศาสตร์จึงควรทำความเข้าใจกับกฎหมายต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ให้ดีที่สุด กฎหมายทั่วไปที่นักนิเทศศาสตร์ควรรู้เพราะเป็นกฏหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตและการทำงานของประชาชน ได้แก่ กฎหมายระฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    - รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายที่ว่าด้วยระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดของรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนั้นๆต่อกัน กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดผู้ บทบัญญํติแห่งกฎหมายใดๆที่มีข้อความแย้ง หรือขัดต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นเสมือนแม่บทของกฎหมายทั่วไป และเป็นกฎหมายสูงสุด ผู้ที่ทำงานทางด้านนิเทศศาสตร์จำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงโครงสร้างในภาพรวมของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญ
    - กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงความผิดและโทษที่ลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นๆ ส่วนกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นกฏหมายเอกชนที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนในฐานะที่เท่าเทียมกัน
    **สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญ
    1.อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย
    2.พระมหากษํตริย์ทรงเป็นประมุขผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทยเท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ทรงใช้เท่านั้น
    3.ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว เป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้
    4.รัฐธรรมนูญให้สิทธิ์และเสรีภาพแก่ประชาชนภายใต้ข้อบัญญัติทางกฎหมาย
    5.รัฐธรรมนูญกำหนดหน้าที่ของประชาชนไว้บางประการ
    6.รัฐธรรมนูญกำหนดแนวทางนโยบายแห่งรัฐไว้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฏหมายและการบริหารราชการแผ่นดิน
    7.รัฐสภาประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นทั้ง 2 สภาจึงเป็นตัวแทนของประชาชน แต่ทำหน้าที่ต่างกัน
    8.คณะรัฐมนตรีมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินด้วยความไว้วางใจของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นๆ
    9.อำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ ดำเนินการตามกฏหมายภายใต้พระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
    10.ผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามหลักของกฏหมายและเป็นอิสระจากอำนาจการบริหารเพื่อความยุติธรรม
    11.ศาลรัฐธรรมนูญจัดตั้งขึ้นเพื่อวินิจฉัยว่า บทบัญญัติของกฎหมายมีข้อความหรือขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยมีการฟ้องซึ่งไม่ใช่ตัวศาลเองเป็นผู้ริเริ่ม คำวินิจฉัยถือเป็นเด็ดขาด หากบทบัญญัติใดที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ก็เป็นอันบังคับไม่ได้ แต่คำวินิจฉัยไม่มีผลย้อนหลัง
    12.การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แม้ไม่อาจทำได้โดยง่ายเช่นกฎหมายอื่นๆแต่มีข้อกำหนดในการแก้ไขระบุไว้
    **มาตราที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540
    มาตรา39 เสรีภาพสื่อมวลชน
    วรรคแรก บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห๋นโดยพูด เขียน พิมพ์ โฆษณา หรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่น
    วรรคสอง การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำไม่ได้ ยกเว้น 1.ใช้กฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ 2.เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ชื่อเสียงของบุคคลอื่น 3.เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
    วรรคสาม การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ อันเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพตามมาตรนี้กระทำมิได้
    วรรคสี่ ไม่ให้มีการตรวจข่าวหรือบทความในหนังสือพิมพ์ วิทยุ/โทรทัศน์ ก่อนโฆษณา ยกเว้นหากประเทศอย่ในภาวะสงครามหรือภาวะฉุกเฉินสามารถทำได้
    วรรคห้า เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องมีสัญชาติไทย
    วรรคหก รัฐไม่สามารถให้เงิน ทรัพย์สินอุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนของเอกชน
    มาตรา40 การจัดสรรคลื่นความถี่
    วรรคหนึ่งคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ
    วรรคสอง ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคมทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
    วรรคสาม การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่นในด้านการศึกษา วัฒนธรรมและความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่นและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
    มาตรา41 การเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน
    วรรคแรก พนักงาน/ลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็น โดยไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อาณัติของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น
    วรรคสอง ข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจในกิจการวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลในวรรคหนึ่ง
    มาตรา 42 เสรีภาพทางวิชาการ บุคคลย่อมมีเสรีภาพทางวิชาการ การศึกษา การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับความคุ้มครอง
    **หลักสำคัญของประมวลกฎหมายอาญา
    1.ไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมาย 2.ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย 3.การตีความกฎหมายต้องตีความโดยเคร่งครัด 4.การอุดช่องว่างแห่งกฎหมาย
    **กฎหมายแพ่งและอาญาไม่แตกต่างกันมากนักตาเรื่ององค์ประกอบกฎหมายแพ่งอาจไม่เคร่งครัดเหมือนกฎหมายอาญา ข่อแตกต่างของกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
    1.วัตถุประสงค์ต่างกัน กฎหมายอาญามีไว้คุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน กฏหมายแพ่งและพาณิชย์มีไว้คุ้มครองสิทธิ์ของเอกชน
    2.ผลแห่งการกระทำที่ต่างกัน อาญานอกจากจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อบุคคลเป็นการส่วนตัวแล้วยังผลต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมด้วย ส่วนแพ่งเป็นเรื่องระหว่างบุคคล
    3.วัตถุประสงค์ในการลงโทษบุคคลที่กระทำความผิดต่างกัน
    4.การตีความเคร่งครัดต่างกัน
    5.การยอมความความผิดทางอาญาส่วนใหญ่ยอมความไม่ได้
    6.โทษที่ลงต่างกัน โทษทางอาญา ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนแพ่งมีเพียงจ่ายสินไหมทดแทน
    7.ขนาดของโทษที่ต่างกัน
    8.วัตถุประสงค์ในการลงโทษต่างกัน

    5.3 กฎหมายสื่อมวลชนและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
    - กฎหมายเป็นสิ่งที่ประชาชนทุกคนต้องรู้และปฏิบัติตามในการทำงานด้านนิเทศศาสตร์จึงควรทำความเข้าใจกับกฏหมายต่างๆเพื่อทำหน้าที่ให้ดีที่สุด กฎหมายที่นักนิเทศศาสตร์ควรรู้แบ่งเป็น กฎหมายสื่อมวลชน และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
    - กฎหมายสื่อมวลชนประกอบด้วย พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 พระราชบัญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา และพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ.2473และ2479
    - กฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญํติลิขสิทธ์ พ.ศ.2537 และกฎหมายเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Mon Apr 12, 2010 4:11 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 6 ความรู้ด้านการศึกษาสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Mar 21, 2010 12:50 am

    หน่วยที่ 6 ความรู้ด้านการศึกษาสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    แนวคิด
    1.การศึกษาเป็นกระบวนการที่ทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมเพื่อช่วยพัฒนาตนในด้านต่างๆการศึกษาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย กฏหมายหลักที่เป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาของประเทศคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542
    2.การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นองค์ประกอบของการศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาในระบบค่อนข้างจะมีกฏเกณฑ์ในด้านต่างๆตายตัว ในขณะที่การศึกษานอกระบบมีความยืดหยุ่นในด้านต่างๆมากกว่า ส่วนการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นการศึกษาที่กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง จากการดำเนินชีวิต การประกอบอาชีพ สังคม จากสื่อต่างๆ กลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดแหล่ง กำหนดเวลาในการเรียนรู้ของตนเองได้ การศึกษาทั้ง 3 ประเภทผสมผสานกันจะช่วยให้บุคคลได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
    3.บทบาทของนักนิเทศศาสตร์ต่อการศึกษาในระบบ คือการร่วมจัดการศึกษาในระบบและการส่งเสริมการจัดการศึกษาในระบบ ส่วนบทบาทต่อการศึกษานอกระบบและต่อการศึกษาตามอัธยาศัยนั้นคล้ายกันคือคลอบคลุมทั้งการเป็นผู้จัดด้วยตนเอง ร่วมกับองค์กรหรือหน่วยงานจัดและส่งเสริมสนับสนุนการจัด

    6.1 การศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    - การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้บุคคลได้รับความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆหรืออีกนัยหนึ่งคือกระบวนการที่ช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม อันจะส่งผลต่อการพัฒนาบุคคลในด้านต่างๆเพื่อให้สามารถเผชิญกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
    - นักการศึกษาได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ประเภทคือการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยการศึกษาทุกอระเภทเป็นองค์ประกอบของการศึกษาตลอดชีวิต
    - บุคคลจำเป็นต้องได้รับการศึกษาหรือเรียนรู้อยู่เสมอไม่ว่าจะอยู่ในวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือวัยสูงอายุ การศึกษามีความจำเป็นตลอดชีวิตของบุคคลเพราะการศึกษาจะช่วยให้บุคคลสามารถพัฒนาตนเอง สามารถใช้ความรู้และประสบการณ์เผชิญและปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้อย่างเหมาะสม
    - กฎหมายหลักที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่นำเสนอคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2540 และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542

    6.2 องค์ปรกอบของการศึกษาตลอดชีวิต
    - การศึกษาตลอดชีวิตเป็นภาพรวมของการศึกษาทั้งหมด คลอบคลุมการศึกษาในระบบโรงเรียนการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาสำหรับบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย โดยช่วงชีวิตหนึ่งอาจได้รับการศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายรูปแบบผสมผสานกัน
    - การศึกษาในระบบโรงเรียน เป็นการศึกษาที่มีการกำหนดหลักสูตรวิธีการเรียนการสอน พื้นฐานความรู้ของผู้เรียน ระยะเวลาเรียน การประเมินผล ค่อนข้างตานตัว เป็นการศึกษาที่จัดแก่ผู้ที่อยู่ในวัยเรียนโดยจัดตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาไปจนถึงระดับอุดมศึกษา
    - การศึกษานอกระบบ เป็นกิจกรรมทางการศึกษาที่มุ่งบริการบุคคลทกเพศทุกวัย ที่อยู่นอกระบบโรงเรียนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบุคคลเหล่านี้พลาดโอกาสทางการศึกษาเมื่ออยู่ในวัยเรียนหรือเป็นผู้ต้องการเพิ่มพูนความรู้ กิจกรรมการศึกษานอกระบบครอบคลุม การศึกษาพื้นฐาน การศึกษาอบรมวิชาชีพไปจนถึงการให้ความรู้ทั่วไป
    - การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการที่บุคคลได้รับความรู้ทักษะประสบการณ์ จากครอบครัว สังคม สิ่งแวดล้อม จากการทำงาน จากการดำเนินชีวิตประจำวันจากสื่อต่างๆกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยมีหลายลักษณะทั้งในรูปสื่อต่างๆ กิจกรรมบันเทิงสันทนาการ การประกอบอาชีพ กิจกรรมทางวัฒนธรรมประเพณี และกิจกรรมของแหล่งการเรียนรู้ชุมชนประเภทต่างๆ ประชาชนทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถรับการศึกษาตามอัธยาศัยได้ตลอดชีวิต

    6.3 บทบาทของนักนิเทศศาสตร์ต่อการศึกษา
    - นักนิเทศสาสตร์สามารถมีบทบาทต่อการศึกษาในระบบโรงเรียน ทั้งการร่วมจัดและส่งเสริมการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน การร่วมจัด ได้แก่ การเป็นกรรมการสถานศึกษา เป็นกรรมการการศึกษาชุมชน ส่วนการส่งเสริมการจัดนั้นกระทำได้หลายลักษณะ ได้แก่ ช่วยให้ข้อมูลในการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ช่วยเป็นวิทยากร ช่วยเป็นแหล่งความรู้
    - นักนิเทศศาสตร์สามารถมีบทบาทต่อการศึกษานอกระบบทั้งการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบด้วยตนเอง ร่วมกับองค์กรหรือหน่วยงานจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและส่งเสริมการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบในหลายลักษณะ
    - นักนิเทศศาสตร์มีบทบาทต่อการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางทั้งเป็นผู้จัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยด้วยตนเอง ร่วมกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆจัดกิจกรรมการศึกษาตามอัธยาศัยและช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยในรูปแบบต่างๆ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Mon Apr 12, 2010 9:10 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 7 ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์สำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Mar 21, 2010 12:51 am

    หน่วยที่ 7 ความรู้ด้านเศรษฐศาสตร์สำหรับนักนิเทศศาสตร์
    แนวคิด
    1.วิชาเศรษฐศาสตร์กับวิชานิเทศศาสตร์ต่างก็เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่อธิบายพฤติกรรมของมนุษย์ โดยทั้งสองวิชามีความสัมพันซึ่งกันและกัน กล่าวคือ นักนิเทศศาสตร์สามารถนำหลักการทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ในการวางแผนงาน การผลิต การตลาดและอื่นๆได้ รวมทั้งสามารถใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน
    2.การดำเนินงานทางด้านนิเทศสาสตร์มีเป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่งคือ ความต้องการประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน อย่างไรก็ตามนักนิเทศสาสตร์สามารถใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจได้หลายประการ ได้แก่ ระยะเวลาคืนทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน การหามูลค่าปัจเจกสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย และอัตราผลตอบแทนโครงการ
    3.การดำเนินงานทางนิเทศศาสตร์ เป็นเรื่องของกระบวนการสื่อสาร ซึ่งผู้ส่งสารจะต้องสร้างและนำเสนอสารผ่านสื่อรูปแบบต่างๆไปยังประชาชนเป้าหมาย หลักเศรษฐศาสตร์สามารถเป็นฐานความรู้ในการสร้างและนำเสนอสารที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจผ่านสื่อต่างๆโดยเฉพาะสื่อมวลชน นอกจากนั้นยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานประชาสัมพันธ์การโฆษณาและงานด้านนิเทศศาสตร์อื่นๆได้อีกด้วย
    4.นโยบายเป็นการวางแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในทางใดทางหนึ่งหรือหลายทาง ได้แก่ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจ การทำให้เกิดความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ การมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และอธิปไตยทางเศรษฐกิจ นโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญมีหลายประการ ได้แก่ นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง และนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

    7.1 ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์กับงานด้านนิเทศศาสตร์
    - เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อผลิตสินค้าและบริการสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีอยู่อย่างไม่จำกัด โดยวิชาเศรษฐศาสตร์จะมีความสำคัญต่อนักนิเทศศาสตร์ทั้งส่วนบุคคล การเป็นพลเมืองของประเทศและผู้บริหารขององค์กร โดยวิชาเศรษฐศาสตร์จะช่วยสร้างประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสร้างความมั่นคงในการประกอบอาชีพของนักนิเทศสาสตร์
    - หลักการทางเศรษฐศาสตร์ สามารถนำมาใช้ในงานนิเทศสาสตร์ได้หลายประการ ได้แก่ นำมาใช้ในการวางแผนงาน การผลิต การตลาด และการปรับตัวขององค์กรทางด้านนิเทศศาสตร์รวมทั้งนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างและนำเสนอสารในงานนิเทศศาสตร์
    - เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลักวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ที่จะช่วยให้รู้จักเลือกวิธีทำให้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เกิดประโยชน์หรือสวัสดิการสูงสุด เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์มีหลายชนิดและมีลักษณะเป็นเครื่องมือสากลในการประกอบอาชีพทุกอาชีพรวมทั้งอาชีพนิเทศศาสตร์

    7.2 การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์สำหรับนักนิเทศศาสตร์
    - ต้นทุน คือ ค่าใช้จ่ายที่เสียไปจากการผลิตสินค้าหรือบริการ หรือหมายถึงค่าตอบแทนหรือค่าชดเชยต่างๆแก่เจ้าของปัจจัยการผลิตในการใช้ปัจจัยเพื่อการผลิตเป็นสินค้าและบริการ ส่วนรายรับ คือรายรับที่ผู้ผลิตได้รับจากการขายผลผลิตตามราคาที่กำหนด เมื่อนำรายรับหักด้วยต้นทุนส่วนที่เหลือเรียกว่ากำไร
    - จุดคุ้มทุน คือระดับการผลิตที่จำนวนหน่วยหรือรายรับที่ขายได้เท่ากับต้นทุนที่เกิดขึ้นพอดี การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนจะมีประโยชน์ในการวางแผนการผลิต การแข่งขัน การขยายโรงงาน การซื้อปัจจัยการผลิต การวางแผนการจำหน่าย และการวางแผนกำไร
    - หลักการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจลงทุนโดยไม่มีเวลามาเกี่ยวข้องประกอบด้วยการหาระยะคืนทุน และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งเป็นการวิเคราะห์อย่างง่ายๆ
    - หลักการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจการลงทุนโดยมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องประกอบด้วย การหามูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อค่าใช้จ่าย และอัตราผลตอบแทนโครงการซึ่งเนการวิเคราะห์ที่คำนึงถึงเวลาและค่าของเงินที่ลดลงเรื่อยๆ

    7.3นโยบายทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจด้านนิเทศศาสตร์
    - นโยบาย หมายถึง การวางแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การวางนโยบายก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และเพื่อให้มีอธิปไตยทางเศรษฐกิจ
    - นโยบายการเงินหมายถึง แนวทางการดำเนินงานทางด้านการควบคุมปริมาณเงินและเครดิตของทางธนาคารกลาง เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ การใช้นโยบายการเงินประกอบด้วย 3 ลักษณะใหญ่คือ การควบคุมทางด้านปริมาณ การควบคุมทางด้านคุณภาพ และการควบคุมโดยตรง การดำเนินนโยบายการเงินจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของธุรกิจ
    - นโยบายการคลัง หมายถึง แนวทางการดำเนินงานด้านการจัดเก็บภาษีอากร การใช้จ่ายของรัฐบาลและการกู้ยืม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ การดำเนินนโยบายการคลังจะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของธุรกิจ
    - นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศหมายถึง แนวทางดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจกับต่างประเทศ ได้แก่ การค้าและการเงินกับต่างประเทศเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของธุรกิจ
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 8 ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาธารณะสุขสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Apr 12, 2010 5:35 pm

    หน่วยที่ 8 ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและสาธารณะสุขสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    แนวคิด
    1.ความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการสาธารณะสุขเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักนิเทศสาสตร์เพื่อที่จะนำไปประยุกต์กับการดำเนินงานในฐานะของสื่อมวลชนในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
    2.ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่เหมาะสมทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติชนิดนั้นๆและอาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบตามมา การดำเนินการในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการจัดการมลพิษทางสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มีทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้ได้ยาวนานและรักษาสภาพแวดล้มที่ดีเอาไว้
    3.การบริการสาธารณะสุขประกอบด้วยการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคคลและชุมชนในการดูแลและพัฒนาสุขภาพของตนเอง การป้องกันโรคเพื่อสกัดกั้นโรคไม่ให้เกิดขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การควบคุมโรคเพื่อยับยั้งการขยายวงกว้างของการแพร่ระบาดของโรค การรักษาพยาบาลเพื่อให้หายเจ็บป่วย และการฟื้นฟูสภาพเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ด้อยสมรรถภาพให้กลับคืนสู่สภาพปกติให้มากที่สุด

    8.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการสาธารณสุข
    - สิ่งแวดล้อมคือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวมนุษย์ แบ่งออกเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติและมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เมื่อมนุษย์นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างไม่เหมาะสมก็อาจก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆขึ้นได้
    - การสาธารณสุขเป็นวิทยาการและศิลปะในการป้องกันและควบคุมโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ การสาธารณสุขได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน ปัญหาสาธารณสุขเกิดจากโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันระหว่างประเทศพัฒนาและประเทศกำลังพัฒนา มาตรการใจการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข ได้แก่ การป้องกันและควบคุมโรค การปรับปรุงสภาวะสุขภาพ และการพัฒนาระบบสาธารณสุข
    - นักนิเทศศาสตร์ในถานะสื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการสาธารณสุขเพื่อทำให้เกิดร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นักนิเทศศาสตร์อาจให้ความรู้แก่ประชาชนได้ทั้งในระบบการเรียนการสอนและนอกระบบ การเรียนการสอนปกติ อาจดำเนินการในลักษณะของการให้ข่าวสาร การจัดกิจกรรมพิเศษเฉพาะกิจ และโครงการรณรงค์ เป็นต้น

    8.2 ทรัพยากรธรรมชาติและมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
    - ทรัพยากรธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มีหลายชนิด การเพิ่มจำนวนของประชากรทำให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้มากขึ้น การใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยการขาดการจัดการที่เหมาะสม ทำให้เกิดการความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติชนิดนั้นๆ และยังส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติชนิดอื่นๆได้อีกด้วย
    - การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติชนิดนั้นๆ โดยการใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การสงวนรักษาและการปรับปรุงทรัพยากรที่เสื่อมโทรมแล้วให้มีคุณภาพดีขึ้น
    - มลพิษทางสิ่งแวดล้อมเกิดจากการปล่อยของเสียที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสู่สิ่งแวดล้อมในปริมาณมากเกินกว่าความสามารถของธรรมชาติที่จะบำบัดด้วยตนเองได้ และเกิดการสะสมจนกลายเป็นภาวะมลพิษแล้วส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ
    - การจัดการมลพิษทางสิ่งแวดล้อมเป็นการดำเนินการในการลดปริมาณของเสีย การบำบัดและการกำจัดของเสีย รวมทั้งนำของเสียไปใช้ประโยชน์ใหม่อย่างเป็นระบบโดยอาจดำเนินการโดยใช้มาตราการด้านกฏหมาย การพัฒนาเทคโนโลยี การสร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชน และการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานในด้านต่างๆ
    **ทรัพยากรดิน เป็นปัจจัยสำคัญในภาคเกษตรกรรม การทำลายส่วนหนึ่งมาจากการนำไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ เช่นสนามกอล์ฟ เลี้ยงกุ้งกุลาดำ
    **ทรัพยากรป่าไม้ สำคัญต่อความสมดุลของธรรมชาติและการดำรงชีพของมนุษย์ ป่าลดลงมากเนื่องจาก การบุกรุกตัดไม้ ไฟป่า ซึ่งเกิดจากภาวะเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ไฟป่าเกิดจากการหาของป่า รองลงมาคือการเลี้ยงสัตว์ การล่าสัตว์ และการเผาไร่ ช่วงเวลาที่เกิดมากที่สุดคือ 14.00-16.00 น.
    **ทรัพยากรน้ำ สามารถหมุนเวียนได้ ปริมาณการใช้น้ำในแต่ละกิจกรรม ใช้ในด้านการชลประทานและการผลิตกระแสไฟฟ้ามากที่สุด รองลงมาคือ การรักษาสภาพนิเวศน์ท้ายน้ำ การอุปโภค-บริโภค และอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวน้ำบาดาลมีการใช้มากจนเกิดวิกฤติการณ์น้ำบาดาล และส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องทำให้แผ่นดินทรุด น้ำเค็มไหลแทรกซึม จังหวัดที่มีการใช้น้ำบาดาลมากที่สุดคือ ปทุมธานี รองคือสมุทรปราการ เพราะเป็นแหล่งที่ตั้งของอุตสาหกรรมจำนวนมาก
    **ทรัพยากรแร่ธาตุ แร่ที่มีมูลค่าการผลิตมากที่สุดคือกลุ่มแร่เชื้อเพลิงและพลังงาน คือลิกไนต์ รองลงมาคือ กลุ่มแร่ใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ และกลุ่มหินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้าง พวกแร่โลหะพื้นฐาน สังกะสี การนำแร่ทรัพยากรในประเทศไทยไปใช้ก่อให้เกิดการปนเปื้อนและการแพร่กระจายของสารพิษและโลหะหนักในแหล่งน้ำในดินและในอากาศ เนื่องจากการทำเหมืองแร่ การแต่งแร่และการกองขี้แร่ ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
    **ทรัพยากรพลังงาน เกิดผลด้านสิ่งแวดล้อมคือ มลพิษทางอากาศ และก๊าซเรือนกระจก
    **ทรัพยากรชายฝั่ง ชายฝั่งของไทยยาวประมาณ 2614 กม.
    **ทรัพยากรทางชีวภาพ จัดว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เนื่องจากอยู่ในเขตร้อน มีระบบนิเวศน์สูง มีการลดลง การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดการสูญเสียระบบนิเวศน์ป่าอย่างต่อเนื่อง ประชากรสัตว์ป่าและพืชป่าหลายชนิดตกอยู่ในภาวะใกล้จะสุญพันธ์ เช่นช้างป่า ควายป่า เสือโคร่ง ส่วนกรูปี ละมั่ง แรดชะวา ไม่มีผู้พบเห็นในป่าธรรมชาติไทยนานแล้ว พืชป่าหลายชนิดสูญหายไปแล้ว เช่น พรรณไม้เฉพาะถิ่นในป่าพรุโต๊ะแดง
    การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินไปเป็นพื้นที่เมืองทำลายสัตว์และพืชมากมาย ทำให้สมันสูญพันธ์ไปจากไทยและโลกเมื่อ 67 ปีมาแล้ว พื้นที่ชุ่มน้ำของไทยสูญหายกว่าครึ่งหนึ่งจากที่เคยมีเมื่อ 50 กว่าปีมาแล้ว ปลาน้ำจืดสูญพันธ์ไปหลายชนิด เช่น ปลาหางไหม้ ปลาหวีเกศ

    8.3 การบริการสาธารณสุข
    - การส่งเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถของบุคคลและชุมชนในการดูแลและพัฒนาสุขภาพของตนเองได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วยมาตรการด้านการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม การใช้มาตรการทางกฎหมาย และการจัดบริการพื้นฐานที่จำเป็นแก่ชุมชน
    - โรค หมายถึง ภาวะผิดปกติของสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิต การเกิดโรคขึ้นกับองค์ประกอบ 3 อย่าง ได้แก่ ตัวคน ตัวก่อโรค และสิ่งแวดล้อม การป้องกันโรคเป็นการดำเนินการเพื่อสกัดกั้นไม่ให้โรคเกิดขึ้นกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง รวมทั้งการแพร่ติดต่อหรือการระบาดของโรค ส่วนการควบคุมโรคเป็นการดำเนินการเพื่อยับยั้งไม่ให้โรคที่เกิดขึ้นและขายวงกว้างไปสู่ประชากรอื่นๆที่ยังไม่เป็นโรค
    - การให้การรักษาพยาบาลของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ การบริการสาธารณสุขมูลฐาน การรักษาพยาบาลระดับทุติยภูมิ และการรักษาพยาบาลระดับตติยภูมิ ในการให้บริการรักษาพยาบาลมีระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานบริการในระดับต่างๆและภายในสถานบริการเองเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้ครบวงจรและเกิดประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
    - การฟื้นฟูสภาพเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับการรักษาให้หายป่วยแล้วที่ด้อยสมรรถภาพทั้งร่างกายและจิตใจให้กลับคืนสู่สภาพเดิมหรือให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข การฟื้นฟูสภาพแบ่งออกเป็น 4 ด้านคือ การฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์ ทางการศึกษา ทางอาชีพ และทางสังคม ในประเทศไทยมีการดำเนินงาน 2 ลักษณะคือ การฟื้นฟูสภาพโดยสถานบริการและการฟื้นฟูสภาพโดยชุมชน


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Apr 18, 2010 11:54 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 9 ความรู้ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Apr 12, 2010 5:36 pm

    หน่วยที่ 9 ความรู้ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    แนวคิด
    1.เทคโนโลยีการสื่อสารช่วยให้มนุษย์สื่อสารกันได้ไกลขึ้นและรวดเร็วขึ้น เทคโลโนยีการสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ เทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย โดยมีโครงสร้างของระบบการสื่อสารที่อิงมาจากกระบวนการสื่อสาร เทคโนโลยีการสื่อสารมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อนักนิเทศศาสตร์ทั้งทางด้านการทำงาน และการเพิ่มความน่าสนใจให้กับข้อมูลข่าวสาร
    2.เทคโนโลยีการสื่อสารที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลต่างๆ ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีด้านสื่อสัญญาณ ด้านระบบเครือข่าย ด้านเสียง และด้านภาพ
    3.เทคโนโลยีการสื่อสารสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานนิเทศศาสตร์ ได้ทั้งงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ งานวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และงานภาพยนตร์ โดยการนำมาประยุกต์ใช้จะช่วยให้นักนิเทศศาสตร์สามารถทำงานได้อย่างมีอิสระ สร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    9.1 แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารสำหรับนักนิเทศศาสตร์
    - พัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารเริ่มจากความต้องการของมนุษย์ที่ต้องการจะสื่อสารกันในระยะที่ไกลมากขึ้น และรวดเร็วขึ้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ พัฒนาการของการสื่อสารประเภทใช้สายนำสัญญาณ และพัฒนาการของการสื่อสารประเภทไร้สาย
    - โครงสร้างของระบบการสื่อสารประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบคือ อุปกรณ์ส่งสัญญาณ การเข้ารหัส ช่องทางการสื่อสาร การถอดรหัส และอุปกรณ์รับสัญญาณ
    - เทคโนโลยีการสื่อสารมีบทบาทอย่างยิ่งต่อนักนิเทศศาสตร์ เนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มทางเลือกในการทำงาน เพิ่มความน่าสนใจให้กับสาร และยังช่วยให้สามารถทำการสื่อสารแบบเข้าถึงตัวได้มากขึ้น
    **ซามูเอล มอส ส่งโทรเลขจากกรุงวอชิงตันดีซีไปในเมืองบัลติมอร์เป็นการส่งสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก ส่งข้อมูลข่าวสารผ่านระบบโทรเลขโดยอาศัยรหัสสั้น-ยาวแทนตัวอักษรเรียกว่ารหัสมอส ต่อมาครูชาวเยอรมัน ฟิลิป รายส์ประดิษฐ์อุปกรณืที่เรียกว่าเทเลโฟนสามารถส่งเสียงดนตรีไปตามสาย ต่อมาอเล็กซานเดอร์ แกร เฮม เบลล์ ได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ที่สามารถส่งสียงพูดไปตามสายได้สำเร็จ เขาเรียกว่า ฮาร์โมนิกส์เทเลกราฟ

    9.2 เทคโนโลยีของระบบการสื่อสาร
    - สื่อสัญญาณเป็นตัวนำสัญญาณจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ในระบบการสื่อสารเราแบ่งสื่อสัญญาณออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ สื่อสัญญาณประเภทสายและสื่อสัญญาณประเภทไร้สาย
    - ระบบเครือข่าย คือระบบต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆเข้าด้วยกันด้วยสื่อนำสัญญาณประเภทต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสานระหว่างกันได้ โดยระบบเครือข่ายแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ เครือข่ายท้องถิ่น (LAN) เครือข่ายระยะไกล (WAN) และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
    - การสื่อสารด้วยเสียงมีรูปแบบของการสื่อสารอยู่ 3 รูปแบบคือ การสื่อสารทางเดียว(วิทยุฟังอย่างเดียว) การสื่อสาร 2 ทางแบบHalf duplex(โต้ตอบกันได้แต่ทำพร้อมๆกันไม่ได้ทั้งสองฝ่ายคืออีกฝ่ายพูดอีกฝ่ายต้องฟังรอจนพูดจบถึงจะพูดได้) และการสื่อสาร2ทางแบบ Full duplex(สนทนาได้พร้อมๆกันเช่นโทรศัพท์) สำหรับเทคโนโลยีการสื่อสารทางเสียงที่สำคัญคือวิทยุกระจายเสียง โทรศัพท์ และวิทยุสื่อสาร
    - รูปแบบของเทคโนโลยีการสื่อสารทางภาพที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งมีเทคโนโลยีที่ใช้ในการแพร่ภาพอยู่หลายวิธี ได้แก่ การแพร่ภาพด้วยสัญญาณวิทยุ การแพร่ภาพผ่านสาย การแพร่ภาพด้วยคลื่นไมโครเวฟ การแพร่ภาพผ่านดาวเทียม และการแพร่ภาพทางอินเทอร์เน็ต
    **สื่อสัญญาณประเภทสาย นิยมใช้สายทองแดง(เก่าแก่นิยม แข็งแรงทนทานไม่แพงซ่อมง่าย)และเส้นใยนำแสงปัจจุบันทำมาจากเส้นใยแก้วหรือพลาสติก
    **รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย มี 3แบบ แบบบัส เอาคอมฯมาต่อเข้ากับสายหลัก ต้องมีตัวเทอมิเนเตอร์ไว้ลดการสะท้อนกลับของสัญญาณเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก ขยายออกได้ไม่มาก แบบวงแหวน สายสัญญาณหลักจะติดตั้งในลักษณะที่เป็นวงแหวนส่วนอุปกรณ์ต่างๆก็จะถูกต่อเชื่อมเข้ากับวงแหวนนี้ข้อมูลจะเดินทางจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์ถัดไปถ้ามีอุปกรณ์ใดชำรุดตัวอื่นๆถัดไปก็ทำงานไม่ได้ ต่อได้ไกลกว่าบัส และแบบดาว จะมีจุดศูนย์กลางที่ฮับ

    9.3 การประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในงานนิเทศศาสตร์
    - เทคโนโลยีการสื่อสารสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ได้ทั้งในขั้นตอนการเตรียมการผลิตและการเผยแพร่ โดยจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานตามขั้นตอนต่างๆทั้ง 3 ขั้นตอน
    - ในสื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และภาพยนตร์เราสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ได้ในทั้ง 3 ขั้นตอน แต่จะมีบทบาทมากในขั้นตอนการเผยแพร่ เนื่องจากเทคโนโลยีจะช่วยให้มีวิธีการเผยแพร่ที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม
    - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในงานนิเทศศาสตร์ จะสอดคล้องกับแนวโน้มของเทคโนโลยีการสื่อสารที่ในอนาคตจะเป็นการสื่อสารแบบไร้สายมากขึ้น มีความสามารถในการรับ – ส่ง ข้อมูลข่าวสารได้มากขึ้นและเร็วขึ้น และจะเป็นการสื่อสารเฉพาะตัวหรือส่วนตัวมากขึ้น


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Mon Apr 12, 2010 11:12 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 10 ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Apr 12, 2010 5:36 pm

    หน่วยที่ 10 ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    แนวคิด
    1.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีพัฒนาการที่ก้าวหน้ารวดเร็ว มีบทบาทและความสำคัญต่อการทำงานทุกระดับในองค์การ จัดเป็นเทคโนโลยีที่เริ่มพัฒนาขึ้นใช้เมื่อไม่นาน แต่สร้างบทบาทการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้มาก
    2.เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อนักนิเทศศาสตร์ ในฐานะที่เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารและดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารได้เร็วขึ้น ไร้ขีดจำกัดในเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่
    3.เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเศรษฐกิจอย่างชัดเจน รูปแบบสังคมได้เปลี่ยนเป็นสังคมแบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ระบบเศรษฐกิจก็พึ่งพาข้อมูลข่าวสาร และใช้เทคโนโลยีมากขึ้นจนเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการดำเนินการต่างๆให้เข้าสู่รูปแบบการใช้ข้อมูลดิจิทัล เราจึงเรียกว่าระบบเศรษฐกิจดิจิทัล
    4.เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพการดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เข้าถึงกันได้ทุกหนทุกแห่งไม่มีอาณาเขตและพรมแดน เรียกว่าโลกาภิวัตน์ ผลของโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกหลายอย่างทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ฯลฯ
    5.ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ทั้งทางบวกและลบ ด้านบวกก่อประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้งาน ด้านลบมีผลกระทบในเชิงสร้างปัญหาต่างๆหลายอย่าง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจึงต้องคำนึงถึงจริยธรรมและคุณธรรม

    10.1 แนวคิด พัฒนาการ บทบาทและความสำคัญ
    - พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆของสังคมมนุษย์รวดเร็วขึ้น
    - พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศผลักดันให้เกิดการทำงานที่ใช้ข้อมูลข่าวสารมากขึ้นและเป็นการทำงานแบบดิจิทัล
    - การทำงานร่วมกันบนเครือข่าย ขยายขอบเขตการทำงานได้กว้างไกล ทั่วถึง ทุกเวลา ไร้ขอบเขต ก่อให้เกิดสภาพที่เรียกว่าโลกาภิวัตน์
    - สภาพการทำงานในปัจจุบันเกี่ยวโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เนตมากขึ้น
    - เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญต่อการทำงานของนักนิเทศศาสตร์ ซึ่งนักนิเทศสาสตร์ต้องปรับตัวให้ใช้งานพื้นฐานได้

    10.2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับเศรษฐกิจดิจิทัล
    - ในชีวิตประจำวันทุกคนเริ่มเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ตั้งแต่ตื่นนอนเราฟังเพลง ชมโทรทัศน์ ใช้โทรศัพท์ ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึงการทำงานที่นับวันเกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น
    - อินเทอร์เน็ตทำให้เชื่อมการบริการเป็นแบบ e-Service และสามารถทำงานได้ในรูปแบบ 24*7 อีกทั้งสามารถสร้างองค์กรแบบเสมือนจริงได้
    - กระแสเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้รูปแบบการดำเนินการต้องใช้อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เช่น e-Business มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ EDI
    - สภาพการดำเนินงานในองค์การเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก โดยองค์การมีลักษณะโครงสร้างกระจาย และทำงายร่วมกันมากขึ้น

    10.3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับสังคมใหม่
    - การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก การทำงานต่างๆสามารถออนไลน์ขอใช้บริการจากที่ห่างไกลได้ ทำให้การติดต่อสื่อสารถึงกันได้สะดวก จนระยะทางไม่มีความหมาย สภาพสังคมจึงมีการเชื่อมโยงแบบออนไลน์ถึงกันมาก
    - อินเทอร์เน็จตเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้เกิดองค์การเสมือนจริงเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการทำงานมากขึ้น
    - เมื่อการเชื่อมโยงเข้าถึงด้วยระบบเทคโนโลยีทำได้ง่าย ก่อให้เกิดการรวมเศรษฐกิจเป็นเศรษฐกิจโลก การรวมโลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวเรียกว่าโลกาภิวัตน์
    - ผลกระทบจากโลกาภิวัตน์มีทั้งด้านบวกและลบ และจะมีผลกระทบรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    - เมื่อบทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีเพิ่มขึ้น จึงมีปัญหาทางด้านสังคม โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด ดังนั้นสังคมจึงต้องปรับปรุงวิธีการโดยการสร้างกฏระเบียบคุณธรรม จริยธรรม และกฎหมายมาใช้ในสังคมดิจิทัล


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Apr 13, 2010 7:24 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 11 เทคโนโลยีการบริหารและพัฒนาสังคมสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Apr 12, 2010 5:37 pm

    หน่วยที่ 11 เทคโนโลยีการบริหารและพัฒนาสังคมสำหรับนักนิเทศศาสตร์
    แนวคิด
    1.เทคนิคการบริหารมุ่งเน้นผลลัพธ์เป็นเทคนิคที่ให้ความสำคัญต่อการวัดประเมินผลที่ผลลัพธ์ของการบริหารองค์การ ประกอบด้วย เทคนิคการบริหารโดยวัตถุประสงค์ เทคนิคการประเมินกลยุทธ์แบบสมดุล และเทคนิคการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
    2.เทคนิคการบริหารมุ่งเน้นกระบวนการเป็นเทคนิคที่ให้ความสำคัญต่อการวัดประเมินผลที่กระบวนการของการบริหารองค์การ ประกอบด้วยเทคนิคการรื้อปรับระบบ เทคนิคกาบริหารคุณภาพทั่งทั่วองค์การ และเทคนิครวมพลังสร้างสรรค์องค์การ
    3.แนวคิดการพัฒนาสังคมไทยเป็นแนวคิดที่พัฒนาตามยุคสมัยซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือการพัฒนาสังคมไทยก่อนมีแผนพัฒนา และการพัฒนาสังคมไทยตามแผนพัฒนา โดยนักนิเทศศาสตร์มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสังคมไทยในฐานะเป็นผู้และเป็นผู้ร่วมพัฒนา
    4.แผนการพัฒนาสังคมไทยประกอบด้วยปรัชญาและวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศไทย วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาประเทศไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยและการประยุกต์ความรู้การพัฒนาประเทศสู่การปฏิบัติของนักนิเทศศาสตร์

    11.1 เทคนิคการบริหารมุ่งเน้นผลลัพธ์
    - การบริหารโดยวัตถุประสงค์เป็นเทคนิคการบริหารที่มุ่งเน้นการมอบหมายกระจายความรับผิดชอบสู่พนักงาน มีวิธีการทำงานเป็นทีม มีการประสานเป้าหมายทุกระดับ และมุ่งเน้นให้พนักงานมีวินัยควบคุมตนเอง
    - การประเมินกลยุทธ์แบบสมดุลเป็นเทคนิคการบริหารที่มุ่งเน้นการประเมินผลสำเร็จขององค์การโดยใช้ตัวชี้วัดใน 4 ด้าน คือ ด้านการงาน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และพัฒนา
    - การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นเทคนิคการบริหารที่มุ่งเน้นการรักษาลูกค้าให้คงอยู่และเป็นลูกค้าขององค์การตลอดไปโดยการใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูล การสร้างความพึงพอใจ ความภักดีและมูลค่าระยะยาวของผู้บริโภค และการสร้างความแตกต่างหรือนวัตกรรม

    11.2 เทคนิคการบริหารมุ่งเน้นกระบวนการ
    - การรื้อปรับระบบ เป็นเทคนิคการบริหารที่มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลง กระบวนการดำเนินงานภายในองค์การ เพื่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย การเพิ่มคุณภาพ ความเร็วและความพึงพอใจในการบริหาร การเปลี่ยนแปลงแบบ ยกเครื่อง หรือการปรับกระบวนการดำเนินงานภายในส่วนใหญ่
    - การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การเป็นการเทคนิคการบริหารที่มุ่งเน้นให้ทุกคน ทุกฝ่าย ทุกแผนกและทั้งองค์การ ให้ความสำคัญต่อคุณภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพและบริการให้แก่ลูกค้า
    - การรวมพลังสร้างสรรค์องค์การเป็นเทคนิคการบริหารที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานในการบริหารองค์การ โดยเริ่มจากการสร้างฝัน สานฝัน แล้วแปลงความฝันสู่ความเป็นจริง โดยปราศจากการครอบงำทางความคิด ใช้พลังเมตตา พลังปัญญา และพลังงานสู่ความสำเร็จขององค์การร่วมกัน

    11.3 แนวคิดการพัฒนาสังคมไทย
    - นักนิเทศศาสตร์มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาสังคม 2 ระดับ คือ นักนิเทศศาสตร์เป็นผู้ได้รับการพัฒนา และนักนิเทศศาสตร์เป็นผู้มีส่วนร่วมโดยการใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคม
    - การพัฒนาสังคมไทยก่อนมีแผนพัฒนาสังคมประเทศไทย ในช่วงก่อนมีแผนการพัฒนาเป็นการพัฒนาโครงสร้างหน่วยงานที่รับผิดชอบในช่วงแรก และได้พัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจังมากขึ้นโดยได้จัดสรรงบประมาณของรัฐเพื่อการปรับปรุงการคมนาคมขนส่ง การชลประทาน การพัฒนาท้องถิ่น การศึกษา การบริการสังคมสงเคราะห์ การเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานและอุตสาหกรรม
    - การพัฒนาสังคมไทยตามแผนพัฒนาต่างๆซึ่งมีจุดเน้นที่แตกต่างกันไปทั้งนี้เพราะการพัฒนาตามแผนนั้นมีเงื่อนไขและสถานการณ์ที่แตกต่าง โดยเฉพาะผลที่ไม่เป็นไปตามแผนพัฒนาจึงได้มีการปรับแผนกันอย่างต่อเนื่อง
    **แผนพัฒนาฯฉบับต่างๆ
    ฉบับที่ 1 พ.ศ.2504-2509 เน้นเพิ่มผลผลิตโดยอาศัยเงินทุนต่างประเทศ จูงใจให้ต่างประเทศมาลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า เพิ่มการส่งออก สร้างสิ่งสาธารณสุขมูลฐาน
    ฉบับที่ 2 พ.ศ.2510-2514 การพัฒนาเพื่อการเติบโตไม่สมดุล เน้นภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคเกษตรกรรม ทั้งๆที่เศรษฐกิจในขณะนั้นขึ้นกับภาคเกษตร
    ฉบับที 3พ.ศ.2515-2519 เน้นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เพิ่มมาตราการกระจายรายได้และพัฒนาบริการทางสังคม ลดอัตราการเพิ่มของประชากร
    ฉบับที 4 พ.ศ.2520-2524 มุ่งขยายภาคเกษตรควบคู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรม ให้ขยายเพื่อผลิตสินค้าส่งออกมากขึ้น เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้และความเจริญสู่ชนบท
    ฉบับที่ 5 พ.ศ.2525-2529 มุ่งการเจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพควบคู่กับการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
    ฉบับที่ 6 พ.ศ.2530-2534 เน้นเป้าหมายเดียวกับฉบับที่5 เน้นด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาคุณภาพคน สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งปรับปรุงการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
    ฉบับที่ 7 2535-2539 พัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เน้นการกระจายรายได้สู่ภูมิภาคและมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์การทางเศรษฐกิจ และการเงินในภูมิภาค
    ฉบับที่ 8 2540-2544 มีความสอดคล้องกับนโยบายและแนวคิดของหน่วยราชการและเอกชน เน้นการพัฒนาคน ซึ่งเป็นศูนย์กลางการพัฒนา การปฏิรูปการฝึกหัดครู การพัฒนาครูเพื่อการศึกษา กระจายอำนาจการศึกษา พัฒนาครอบครัว พัฒนาชุมชน เพิ่มศักยภาพและโอกาสของสตรี เพิ่มคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

    11.4 แผนการพัฒนาสังคมไทย
    - ปรัชญาและวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ สำหรับการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 20 ปี มีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสร้างค่านิยมร่วม ให้คนไทยตระหนักถึงความจำเป็นและปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด ทัศนคติ และกระบวนการทำงาน โดยยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    - วัตถุประสงค์ของการพัฒนาประเทศไทย คือ ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งยั่งยืน การบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ แก้ปัญหาความยากจนและเพิ่มศักยภาพและโอกาสของคนไทยในการพึ่งพาตนเอง โดยมีเป้าหมายคือสร้างดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ยกระดับคุณภาพชีวิต การบริหารจัดการที่ดีและการลดความยากจน
    - ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยมี 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่1 การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม กลุ่มที่สอง การเสริมสร้างรากฐานของสังคมให้เข้มแข็ง และกลุ่มที่สาม การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน
    - ลำดับความสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยมีลำดับคือ การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจรากฐาน การบรรเทาปัญหาสังคม การแก้ปัญหาความยากจน
    - การแปลงแผนพัฒนาประเทศไทยสู่การปฏิบัติมี 3 ขั้นตอนคือ เริ่มจากการกระบวนการสร้างความเข้าใจแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 2ต้องมีการบริหารยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 พร้อมกับจัดทำแผนการจัดสรรทรัพยากรภาครัฐ และเร่งปรับปรุงกลไกและบทบาทของหน่วยงานกลางและ 3 ภาครัฐต้องสร้างการมีส่วนร่วมของผุ้ที่เกี่ยวข้องในโครงการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ
    - นักนิเทศศาสตร์กับการประยุกต์ความรู้การพัฒนาประเทศไทยสู่การปฏิบัติโดนนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและเผยแพร่ผ่านกระบวนการสื่อสารเพื่อการพัฒนา


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Apr 18, 2010 1:29 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 12 ความรู้ด้านจิตวิทยาสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Apr 12, 2010 5:38 pm

    หน่วยที่ 12 ความรู้ด้านจิตวิทยาสำหรับนักนิเทศศาสตร์
    แนวคิด

    1.จิตวิทยาเกี่ยวกับการรับรู้เป็นความรู้ที่เกี่ยวกับกระบวนการที่ร่างกายของคน มนุษย์ ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าแล้วแปลความหมายการสัมผัสที่ได้รับนั้น โดยใช้ความรู้เดิมที่มีอยู่ เป็นเครื่องมือช่วยในการแปลความหมายของสิ่งนั้น ออกมาเป็นความรู้ ความเข้าใจ สำหรับนักจิตวิทยาเกี่ยวกับการจำ คือ วิชาการที่ว่าด้วยการที่บุคคลสามารถนำสิ่งเร้าที่ได้รับรู้และได้ตอบสนองที่เกิดจากการเรียนรู้มาแล้วออกมาแสดงออกได้ในปัจจุบัน ส่วนจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการคิด คือ วิชาการที่ว่าด้วยการทำงานของมองมนุษย์ที่นำภาพของสิ่งของหรือสถานการณ์ หรือสัญลักษณ์ของสิ่งของแต่ละสถานการณ์ได้เข้ามาปรากฏในใจหรือในสมอง
    2. จิตวิทยาเกี่ยวกับการจูงใจเป็นความรู้เกี่ยวกับการอธิบายองค์ประกอบหรือชุดขององค์ประกอบสำคัญที่กระตุ้นทำให้เกิดพฤติกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย ส่วนจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้เป็นวิชาการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนพฤติกรรมค่อนข้างถาวร และสาเหตุในการเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆเนื่องมาจากประสบการณ์ และจิตวิทยาเกี่ยวกับทัศนคติเป็นวิชาการที่เกี่ยวกับความคิดความเข้าใจ ความเห็น ความรู้สึก และความเชื่อของบุคคลที่มีต่อสิ่งของ บุคคล หรือสถานการณ์เป็นอย่างๆไป อันมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของบุคคลที่มีต่อสิ่งนั้นๆ บุคคลนั้นๆ หรือเหตุการณ์นั้นๆ
    3.จิตวิทยาเกี่ยวกับบุคลิกภาพเป็นความรู้ที่ว่าด้วยบุคคลโดยส่วนรวม อันทำให้บุคคลนั้นแตกต่างไปจากคนอื่นๆที่ว่าเป็นตัวบุคคลโดยส่วนรวม เพราะรวมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสภาพทางกายหรือจิต ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่ายหรือสังเกตได้ยาก ส่วนจิตวิทยาเกี่ยวกับอารมณ์เป็นวิชาการที่ว่าด้วยสภาวะของอินทรีย์ที่เกิดเนื่องมาจากบุคคลได้รับประสบการณ์นั้นๆอาจเบาบางหรือรุนแรงก็ได้
    4.ประชามติเป็นพฤติกรรมทางสังคม ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมแต่ละคน หรือเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในเชิงจิตวิทยาสังคม ที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคล การบริหารงานขององค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานทางนิเทศศาสตร์ทุกด้าน

    12.1 จิตวิทยาเกี่ยวกับการรู้ การจำ และการคิด
    - จิตวิทยาเกี่ยวกับการรับรู้เป็นกระบวนการรับสัมผัสจากสิ่งเร้าแล้วแปลความหมายการรับสัมผัส สิ่งเร้านั้นออกมาเป็นความรู้ ความเข้าใจ โดยใช้ประสบการณ์เดิมเป็นเครื่องช่วยในการแปลความหมายในสิ่งเร้า มนุษย์จะรับรู้สิ่งเร้าทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมกันไม่ได้ ต้องรับรู้สิงเร้าโดยเลือกรับรู้ นอกจากนี้การรับรู้ได้ดีจะขึ้นอยู่กับตัวของผุ้รับรู้และขึ้นกับสิ่งเร้าที่จะรับรู้
    - จิตวิทยาเกี่ยวกับการจำเป็นสิ่งที่สามารถนำสิงเร้าที่รับรู้และได้ตอบสนองที่เกิดจากการเรียนรู้มาแล้วออกมาแสดงออกได้ในปัจจุบัน ซึ่งการจำแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ การระลึกได้เองโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมาเตือนความจำ การจำได้ต่อเมื่อได้สัมผัสอีก การจำได้เมื่อเรียนรู้ซ้ำอีก และการจำได้จากการปะติดปะต่อเชื่อมโยงเหตุการณ์ นอกจากนี้ ความจำมี 2 ประเภทคือ ความจำระยะสั้นหรือความจำชั่วคราว ความจำระยะยาวซึ่งเป็นความจำถาวรหรือระยะยาว
    - จิตวิทยาเกี่ยวกับการคิดเป็นการทำงานของสมองมนุษย์ที่นำภาพของสิ่งของหรือสถานการณ์ หรือ สัญลักษณ์ของสิ่งของหรือสถานการณ์ ได้เข้ามาปรากฏในใจหรือในสมองการคิดมี 2 ชนิด ได้แก่ การคิดที่ไม่มีจุดหมาย ซึ่งประกอบไปด้วยการคิดแบบเสรี คิดแบบควบคุม การคิดแบบฝันกลางวัน และการคิดโดยมีจุดมุ่งหมาย ซึ่งประกอบด้วยการคิดแบบวิเคราะห์และการคิดริเริ่มสร้างสรรค์

    12.2 จิตวิทยาเกี่ยวกับการจูงใจ การเรียนรู้ และทัศนคติ
    - จิตวิทยาเกี่ยวกับการจูงใจเป็นความรู้เกี่ยวกับการอธิบายองค์ประกอบหรือชุดขององค์ประกอบสำคัญที่กระตุ้นทำให้เกิดพฤติกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย
    - จิตวิทยาเกี่ยวกับการเรียนรู้ เป็นความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร และสาเหตุในการเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นๆเนื่องมาจากประสบการณ์
    - จิตวิทยาเกี่ยวกับทัศนคติเป็นความรู้ที่เกี่ยวกับความคิดความเข้าใจ ความเห็น ความรู้สึก และความเชื่อของบุคคลที่มีต่อสิ่งของ บุคคล หรือสถานการณ์เป็นอย่างๆไป อันมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของบุคคลที่มีต่อสิ่งนั้นๆ บุคคลนั้นๆ หรือเหตุการณ์นั้นๆ
    12.3 จิตวิทยาเกี่ยวกับบุคลิกภาพ และอารมณ์
    - จิตวิทยาเกี่ยวกับบุคลิกภาพเป็นวิชาการที่ว่าด้วยตัวบุคคลโดยส่วนรวมอันทำให้บุคคลนั้นแตกต่างไปจากบุคคลอื่นๆ ที่ว่าเป็นตัวบุคคลโดยส่วนรวม เพราะรวมทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสภาพทางกายหรือจิต ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่สังเกตได้ง่ายหรือสังเกตได้ยาก
    - จิตวิทยาเกี่ยวกับอารมณ์เป็นวิชาการที่ว่าด้วยสภาวะของอินทรีย์ที่เกิดเนื่องมาจากบุคคลได้รับประสบการณ์บางอย่าง ทำให้บุคคลนั้นๆได้รับผลกระทบกระเทือน ซึ่งผลกระทบกระเทือนนั้นๆอาจเบาบางหรือรุนแรงก็ได้

    12.4 จิตวิทยาเกี่ยวกับประชามติ
    - ประชามติเป็นพฤติกรรมทางสังคม ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมแต่ละคน หรือเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในเชิงจิตวิทยาสังคม ที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคล การบริหารงานขององค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินงานทางนิเทศศาสตร์ทุกด้าน
    - ความคิดเห็นเป็นปัจจัยทางจิตวิทยาที่สำคัญในเรื่องประชามติเนื่องจากเป็นการแสดงออกที่เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะที่กำลังถกเถียงหรือแสดงทัศนะกันอยู่ ความคิดเห็นของบุคคลนั้นมีการพัฒนาภายใต้ปัจจัยแวดล้อมทางสังคมมากมายหลายลักษณะ ดังนั้นนักนิเทศศาสตร์จึงควรศึกษาที่มาหรือการก่อตัวของความคิดเห็นในสังคม
    - พฤติกรรมร่วมเป็นปัจจัยทางจิตวิทยารูปแบบหนึ่งของประชามติในสังคมและเป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยตรงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รูปแบบของพฤติกรรมร่วมที่พบเห็นกันโดยทั่วไปเช่น การตื่นตระหนก การจลาจล การเดินขบวน เป็นต้น นอกจากนั้นประชาชนผู้เข้าร่วมในพฤติกรรมร่วมยังมีผลต่อกันและกันทั้งด้านอารมณ์และการกระทำ
    - การวัดประชามติเป็นเรื่องสำคัญในงานนิเทศศาสตร์เป็นกระบวนการที่ไม่รู้จบเป็นการศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาระดับมวลชนหรือสังคมในทุกสถานการณ์ การวัดประชามติมีทั้งวิธีการที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ส่วนใหญ่เป็นการวัดความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นสาธารณะต่างๆทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เช่น การหยั่งเสียงในการเลือกตั้ง การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกกฎหมาย เป็นต้น


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Apr 18, 2010 2:26 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 13 ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Apr 12, 2010 5:42 pm

    หน่วยที่ 13 ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจสำหรับนักนิเทศศาสตร์
    แนวคิด

    1.การประกอบธุรกิจเป็นเครื่องมือการบริหารประเทศ ความได้เปรียบในการแข่งขันแบบยั่งยืน
    2.การบริหารหน่วยงานธุรกิจมี 3 รูปแบบ ที่สำคัญคือ รูปแบบเจ้าของคนเดียวและห้างหุ้นส่วน รูปแบบบริษัทจำกัด และรูปแบบอื่น
    3.การบริหารจัดการธุรกิจต้องคำนึงถึงหลักการบริหารจัดการที่ดี และเครื่องมือการจัดการธุรกิจสมัยใหม่
    4.การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจต้องเข้าถึงโดยการฉายภาพอนาคต การกำหนดกรอบแนวคิด และพาราไดม์การบริหารการเปรียบเทียบธุรกิจ และองค์การธุรกิจในอนาคต

    13.1 แนวคิดในการประกอบธุรกิจ
    - การดำเนินธุรกิจ คือ การบริหารจัดการหน่วยธุรกิจ เพื่อทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการของคนในสังคม มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ การแสวงหากำไร ความรับผิดชอบต่อกำไร การบริหารจัดการธุรกิจมีความสำคัญในฐานะที่เป็นกลไกในการกำหนดกลยุทธ์สู่ความได้เปรียบในการแข่งขัน
    - ระบบเศรษฐกิจในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมุ่งสู่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีการแข่งขันอย่างเสรี
    - การบริหารจัดการธุรกิจยึดหลักธรรมาภิบาล 2 ระดับ คือ ระดับการจัดการภาครัฐและระดับการจัดการภาคธุรกิจ

    13.2 รูปแบบการบริหารหน่วยธุรกิจ
    - การประกอบเจ้าของคนเดียว รูปแบบการประกอบธุรกิจที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของและผู้จัดการ เจ้าของกับผู้จัดการมีสถานภาพทางกฏหมายเป็นบุคคลเดียวกัน คือไม่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล การประกอบการลักษณะห้างหุ้นส่วนมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเป็นเจ้าของในห้างหุ้นส่วนสามัญจะมีหุ้นส่วนจำพวกเดียวร่วมรับผิดชอบในหนี้สินทั้งปวงของห้างโดยไม่จำกัดจำนวน และศักยภาพทางกฎหมายของผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นบุคคลเดียวกันกับกิจการในห้างหุ้นส่วนจำกัด จะมีหุ้นส่วน 2 จำพวก จำพวกหนึ่งรับผิดชอบในหนี้โดยไม่จำกัด และอีกจำพวกหนึ่งรับผิดชอบในหนี้อย่างจำกัด และสถานภาพกฏหมายของผู้ถือหุ้นจะแยกจากกันกับกิจการ
    - การประกอบกิจการบริษัทจำกัด มีการแบ่งหุ้นเป็นหุ้นๆละเท่ากัน ผู้ถือหุ้นจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คน และไม่เกิน 99 คน รับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินส่วนยังส่งไปใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือและกิจการมีสถานภาพทางกฏหมายแตกต่างจากผู้ถือหุ้น
    - การประกอบการธุรกิจแบบอื่น หมายถึง การประกอบการลักษณะรัฐวิสาหกิจมีรัฐบาลเป็นเจ้าของโดยเป็นผู้ลงทุนแต่เพียงผู้เดียว หรือลงทุนมากกว่าร้อยละ 50 การบริหารรัฐวิสาหกิจรูปแบบใหม่ตามพระราชบัญญัติทุนวิสาหกิจ พ.ศ.2542

    13.3 หลักการและเครื่องมือการบริหารจัดการธุรกิจ
    - การบริหารจัดการธุรกิจ ควรคำนึงถึงหลักการและแนวคิดในการบริหาร 5 ประการ คือ แนวคิดแบบดั้งเดิม แนวคิดแบบพฤติกรรม การบริหารงานทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ระบบงานและการบริหารโดยพิจารณาจากผลลัพธ์
    - เครื่องมือการจัดการทั่วไปมี 5 ประการ คือ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การสั่งการ และการควบคุม
    - เครื่องมือการจัดการการตลาด มุ่งเน้นการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การพัฒนาตลาดเป้าหมาย การกำหนดวัตถุประสงค์ทางการตลาด การกำหนดนโยบายการตลาด การวางแผนและควบคุมการตลาด
    - เครื่องมือการจัดการบัญชีและการเงิน มุ่งเน้นการบันทึกและรายงานข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ โดยรวมถึงการบันทึกการจัดประเภท การแปลความ และการรายงานข้อมูลทางการเงิน
    - เครื่องมือการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มุ่งเน้นการจัดหาทรัพยากรมนุษย์ การให้รางวัลทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการป้องกันทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสม โดยใช้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ระบบคุณธรรม

    13.4 การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
    - การเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจมุ่งสู่แนวคิดการบริหารองค์การสมัยใหม่
    - องค์การไร้รูปแบบ คือการบริหารองค์การสมัยใหม่ชนิดหนึ่งที่เป็นเครื่องมือในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
    - การอธิบายความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจควรคำนึงถึงแบบจำลองใน 3 เรื่องคือ ภาพอนาคต การบริหารการจัดการธุรกิจ กรอบแนวคิดและพาราไดม์การบริหารการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และองค์การธุรกิจในอนาคต


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Apr 18, 2010 3:11 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 14 ความรู้ด้านสุนทรียศาสตร์สำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Apr 12, 2010 5:42 pm

    หน่วยที่ 14 ความรู้ด้านสุนทรียศาสตร์และปัญหาการเรียนรู้สุนทรียศาสตร์สำหรับนักนิเทศศาสตร์
    แนวคิด

    1.สุนทรียศาสตร์เป้นความรู้และระบบของความรู้ในเรื่องความสวย ความงาม ความไพเราะ และความเพลิดเพลิน ซึ่งมนุษย์สามารถรับรู้ รู้สึกและสัมผัสได้ สุนทรียศาสตร์ต้องอาศัยองค์ประกอบในเรื่องของ ความดี ความจริง และความถูกต้อง โดยที่ความดีและความถูกต้องเป็นเรื่องที่สังคมกำหนดมาตรฐานและคุณลักษณะเอาไว้ ส่วนความจริงมีหลายระดับ ได้แก่ ความจริงที่ประจักษ์ด้วยตา ความจริงที่ต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐานและความจริงจากการพิสูจน์ด้วยตนเอง นอกจากนั้นสุนทรียศาสตร์ยังเป็นเรื่องของสุนทรียะ ซึ่งหมายถึง ความนิยมในความสวย ความงาม ความไพเราะ และความเพลิดเพลินอันจะทำให้มนุษย์มีรสนิยม เพิ่มคุณค่าและ มูลค่า ของชีวิต มีปรัชญาชีวิต ทำให้มนุษย์เรียนรู้ที่จะพัฒนาให้ชีวิตเจริญและดีขึ้นได้
    2.สุนทรียศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสวย ความงาม ความไพเราะ และความเพลิดเพลินเกี่ยวข้องโดยตรงกับวิชาดนตรี ศิลปะและกีฬา ดังนั้น นักนิเทศศาสตร์ควรมีความรู้ ความเข้าใจ และมีประสบการณ์ตรง ตลอดจนควรสัมผัสคุณค่าของสุนทรียะด้วยตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักนิเทศศาสตร์จำเป็นจะต้องเรียนรู้ความเป็นมาของดนตรี ศิลปะ และกีฬาในสังคมไทย ปรัชญาการศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับวิชาดังกล่าวตลอดจนองค์ความรุ้ด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา ควรใช้เพื่อเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานด้านนิเทศศาสตร์ ซึ่งจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
    3.นักนิเทศศาสตร์จำเป็นจะต้องเรียนรู้สุนทรียศาสตร์ เพื่อให้สามารถเข้าถึงหรือสัมผัสวิญญาณของสุนทรียะ สามารถสร้างพลังภายในและความมีรสนิยมในชีวิตได้ การเรียนรู้ด้านนี้จะส่งผลให้งานของนักนิเทศศาสตร์ น่าสนใจ มีวิญญาณ มีความงาม สามารถสื่อความหมายได้ดี ดังนั้น นักนิเทศศาสตร์จึงควรมีความรู้ที่ถูกต้อง และมีทักษะในเรื่องดนตรี ศิลปะ และกีฬาเป็นพื้นฐาน

    14.1 แนวคิดเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์
    - สุนทรียศาสตร์ เป็นความรุ้และระบบของความรู้เรื่อง ความสวย ความงาม ความไพเราะ และความเพลิดเพลิน โดยคำแปลสุนทรียศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยความนิยมในความงาม และความงามอันแท้จริงนั้นย่อมจะต้องเป็นความงามที่มีเอกภาพระหว่างความงามภายนอกและความงามภายใน และประการสำคัญ ความสวย ความงาม ความไพเราะและความเพลิดเพลิน สามารถรับรู้ รู้สึก และสัมผัสได้ นอกจากนั้น สุนทรียศาสตร์จะเป็นเรื่องของความนิยมในความสวย ความงาม ความไพเราะ และความเพลิดเพลิน ซึ่งเรียกว่าสุนทรียะ อันเป็นความปรารถนาของมนุษย์ทุกคน ซึ่งต้องอาศัยการรับรู้และการเรียนรู้ จากการเรียนแบบและการทำซ้ำๆ หรือการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น หรือวิธีอื่นๆการเรียนรู้จะทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาให้ชีวิตเจริญและดีขึ้นได้
    - ข้อแตกต่างระหว่างความสวยงามของไทยกับตะวันตกก็คือ ความสวยงามของไทยที่ผุ้สร้างงานได้สร้างขึ้น จะให้ความสำคัญด้านจิตใจเป็นหลัก ผุ้สร้างจะมอบผลงานให้กับแผ่นดิน ให้กับเทวดาและจักรวาล ส่วนใหญ่ไม่มีการบันทึกหรือจารึกผู้สร้างผลงาน และมักจะทำลายหรือไม่เก็บรักษาเครื่องมือในการสร้าง ส่วนความสวยความงามของตะวันตก สร้างงานด้วยความอยากทำ อยากสร้าง เมื่อสร้างได้แล้วจะจารึกชื่อของตนไว้ที่ผลงาน มีผุ้บันทึก ศึกษา และเก็บรักษาไว้อย่างดีให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมและนำเอาความรุ้มาพัฒนาต่อ
    - สุนทรียศาสตร์เป็นองค์ความรู้ของมนุษย์ โดยมนุษย์เพื่อมนุษย์ เป็นเรื่องของความสวย ความงาม ความไพเราะ และความเพลิดเพลิน ซึ่งจะต้องอาศัยองค์ประกอบในเรื่องของความดี ความจริง และความถูกต้อง โดยความดี เป็นเรื่องของสังคมนั้นๆ กำหนดมาตรฐานและคุณลักษณะเอาไว้ ส่วนความจริง มีอยู่หลายระดับ ได้แก่ ความจริงที่ประจักษ์ด้วยตา ซึ่งอาจจะไม่ใช่ความดีและอาจไม่ใช่ความงาม ส่วนความจริงอีกระดับหนึ่งจะต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐาน รวมทั้งจะมีความจริงจากการพิสูจน์ด้วยตนเอง อันเป็นความจริงที่ต้องค้นหา สำหรับความถูกต้องมนุษย์หรือสังคมจะใช้ความรู้สึกนึกคิดเป็นตัวกำหนดกฏเกณฑ์หรือมาตรฐานของความถูกต้อง นอกจากนั้นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องอาจจะอยู่เหนือกฏเกณฑ์ที่สังคมวางไว้คือ มนุษยธรรม

    14.2 ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุนทรียศาสตร์
    - ในสังคมไทย แต่เดิมวิถีชีวิตชาวสยามในยามรวมพลเรือนก็เรียนรู้วิชาเพื่อทำมาหากินเลี้ยงชีพ เรียนวิชาเพาะปลูก ทำกสิกรรม หากจะเรียนวิชาศิลปะก็เพื่อเอาไว้ใช้ในชีวิตประจำวัน ทำงานสร้างศาสนสถาน เช่น วัด โบสถ์ วิหาร เจดีย์ เรียนวิชาดนตรีเพื่อประโคมในงานพิฑีต่างๆ เช่นงานศพ งานบวชนาค งานแต่งงาน งานทำบุญ และเมื่อสยามเปิดประเทศรับชาวต่างชาติเข้ามา วิชาดนตรี ศิลปะ และกีฬากลายเป็นวิชาที่มีคุณค่ามากขึ้น นอกจากนั้นวรรณกรรมของกวีเอกสุนทรภู่ มีอิทธิพลต่อการศึกษาวิชาสุนทรียศาสตร์และปรัชญาการศึกษามากขึ้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ดรตรีและการละครเจริญรุ่งเรืองที่สุด และพัฒนาก้าวหน้าต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
    - การศึกษาไทยหลังพุทธศักราช 2500 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการเรียนการสอนวิชา ดนตรี ศิลปะ และกีฬา อย่างกว้างขวางกว่าเดิม ดนตรี ศิลปะ และกีฬา โดยปรัชญาแล้วเป็นวิชาที่เป็นรากฐานของชีวิตทุกชีวิต ทำให้มีความรู้ที่เป็นรสนิยม มีความรู้ด้านคุณค่า เพื่อจะทำให้มีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสมบูรณ์
    - ความรู้ด้านตนตรี เป็นความรู้เกี่ยวกับเสียง สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องเรียนรู้ความไพเราะของเสียงมาตรฐานเสียงไพเราะ องค์ประกอบของเสียงไพเราะและวิธีการที่ทำให้เสียงไพเราะ
    - ความรู้ด้านศิลปะเป็นความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่มีความงาม ซึ่งมนุษย์สร้างขึ้น ศิลปะเกิดจากการหล่อหลอมประสบการณ์ที่มนุษย์ได้รับจากสังคมและสิ่งแวดล้อมผนวกกับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ แล้วถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆตามวัตถุประสงค์และเงื่อนไขในการสร้างศิลปะนั้นๆ

    14.3 วัตถุประสงค์และปัญหาการเรียนรู้สุนทรียศาสตร์สำหรับนักนิเทศศาสตร์
    - โดยอาชีพของนักนิเทศศาสตร์จำเป็นจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ เพราะในวิชาชีพต้องทำงาน ร่วมงานกับสาขาอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องในสังคม ย่อมจะต้องเกี่ยวข้องกับดนตรี ศิลปะและกีฬาอย่างแน่นอน เพราะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่เชื่อมโยงให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และเป็นสื่อนำความสามัคคีสู่ปวงชน
    - วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้สุนทรียศาสตร์สำหรับนักนิเทศศาสตร์ ก็เพื่อให้มีความรู้ทักษะและได้มีโอกาสสัมผัสดนตรี งานศิลปะ และกีฬา อันจะส่งผลให้เกิดความซาบซึ้ง ความเข้าใจ ความเพลิดเพลิน และในที่สุด เป็นผุ้สามารถถ่ายทอดเรื่องราวด้านดนตรี ศิลปะ และกีฬา ผ่านสื่อต่างๆได้อย่างเข้าถึงกลุ่มประชาชนเป้าหมายยิ่งขึ้น
    - ปัญหาของนักนิเทศศาสตร์ไทยในปัจจุบัน คือ ขาดการเอาใจใส่ และมีความรู้ด้านสุนทรียศาสตร์น้อยเกินไป ไม่สามารถเข้าถึงหรือสัมผัสวิญญาณของสุนทรียะทางดนตรี ศิลปะ และกีฬาได้ ไม่สามารถสร้างพลังภายในและความมีรสนิยมขึ้นได้ ส่งผลให้งานของนักนิเทศศาสตร์ที่สื่อสารไปยังมวลชนจำนวนไม่น้อย ไม่น่าสนใจ ขาดวิญญาณ ทั้งๆที่นักนิเทศศาสตร์ควรจะเป็น ผู้รู้ และเป็นผู้ชี้นำ ที่ดีต่อสังคม


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Apr 18, 2010 4:21 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty หน่วยที่ 15 การบูรณาการความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Apr 12, 2010 5:44 pm

    หน่วยที่ 15 การบูรณาการความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์
    แนวคิด
    1.องค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ เป็นการอธิบายหลักและความเป็นไปของโครงสร้าง ระบบ และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่เกียวข้องกับทุกคน ทั้งด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต ซึ่งนักนิเทศศาสตร์ต้องเข้าใจและคำนึงถึงมิติการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางสงัคมศาสตร์ด้านต่างๆ เพื่อให้การวางแผนและการดำเนินงานด้านนิเทศศาสตร์สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง
    2.การบูรณาการองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์เป็นสิ่งจำเป็นเพราะโลกยุคโลกาภิวัตน์ เป็นสภาวะไร้พรมแดนที่เชื่อมโยงด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ ทำให้ผุ้คนเกิดการรับรู้ เรียนรู้และเลียนแบบ จึงส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อสังคมระดับต่างๆ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นมากมายนับเป็นสิ่งที่นักนิเทศศาสตร์ต้องศึกษา ติดตาม เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และใช้ประโยชน์ในการวางแผนได้อย่างเหมาะสมกับปัจจัยแปรผันที่เกิดขึ้น และตกผลึกเป็นแนวปฏิบัติที่ทันสมัยต่อไป
    3.นักนิเทศศาสตร์ต้องรู้จักเลือกเทคโนโลยีและประยุกต์ใช้ให้เกิดคุณประโยชน์ต่องานในวิชาชีพอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ

    15.1 ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์กับนักนิเทศศาสตร์
    - เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูฐฉบับ พ.ศ.2540 มุ่งที่จะผลักดันการปฏิรูปทางการเมือง เพือให้มีระบบการบริหารที่เข้มแข็งมีความสุจริตและความเป็นธรรมในการบริหารบ้านเมืองอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีการจัดตั้งองค์กรอิสระหลายประเภทเพื่อเป็นกลไกการตรวจสอบและวินิจฉัยกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐเพื่อให้เกิดผลดีต่อประเทศชาติ ส่วนการปกครองงและกระบวนการยุติธรรม ก็ถูกสังคมยุคใหม่คาดหวังให้ดำเนินงานโดยยึดหลัก ธรรมาภิบาล หรือการบริหารจัดการที่ดี คือมีความซื่อสัตย์เป็นธรรม มีความรับผิดชอบโปร่งใสและตรวจสอบได้ ดังนั้นนักนิเทศศาสตร์จึงต้องเข้าใจกระแสการปฏิรูประบบการบริหารจัดการซึ่งคำนึงถึงการการส่งเสริมสิทธิการรับรู้และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
    - เศรษฐกิจและธุรกิจในสภาวะโลกาภิวัตน์ที่ระบบข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารการตลาดเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันทั้งระดับภายในประเทศและระดับนานาชาติ โดยมีกติกาการเปิดเสรีทางการค้า การบริการและการลงทุน เริ่มมีผลในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น แต่การกีดกันทางการค้าด้วยลักษณะแอบแฝงมากับข้ออ้างเชิงอุดมคติก็ตามมา ดังนั้น หลักคิดของผู้ซื้อและผู้บริโภคในวงการธุรกิจการค้า จึงมิใช่ใส่ใจเฉพาะคุณภาพและราคาของสินค้าหรือบริการเพื่อความคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือของการเป็นกิจการที่มีคุณภาพและคุณธรรมอีกด้วย ปรากฏการณ์เช่นนี้จึงเป็นมิติใหม่ที่นักนิเทศศาสตร์ต้องใฝ่ศึกษาและคำนึงถึง
    - แนวคิดและพฤติกรรมของคนในสังคมปัจจุบันใส่ใจเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น ขณะที่การศึกษาและการเรียนรู้จากข่าวสารและกรณีตัวอย่างจากสื่อต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยนไป

    15.2กรณีศึกษาบูรณาการองค์ความรู้ด้านสังคมศาสตร์สำหรับนักนิเทศศาสตร์
    - การเมืองไทยยุคปัจจุบันได้เปลี่ยนมิติไปจากอดีตมากมายพอสมควร วิธีการสื่อสารการตลาดมีบทบาทที่ทุกพรรคการเมืองใช้ในการสื่อสร้างความสนใจและดึงดูดความนิยม โดยชูนโยบายที่จะทำเพื่อเอาใจประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลยุทธ์ในลักษณะเหมือนนักการตลาดมากขึ้น
    - ความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเอื้ออำนวยให้สื่อสารมวลชนต่างๆพัฒนารูปแบบและลักษณะเนื้อหาในการเผยแพร่ที่น่าสนใจ มีความรวดเร็ว และหลากหลาย ซึ่งส่งผลกระทบให้สื่อสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงในเชิงการแข่งขัน

    15.3 นักนิเทศศาสตร์กับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
    - ความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศยุคปัจจุบันช่วยให้กระบวนการด้านการสื่อสารมวลชนสะดวกรวดเร็ว โดยเฉพาะการแสวงหาและเปิดรับข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งการเสริมสร้างฐานข้อมูลเพื่อการค้นคว้าอ้างอิงและพัฒนาองค์ความรู้ เชิงวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันบทบาทในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความรู้และความเห็นก็เป็นไปอย่างรวดเร็วและหลากหลาย รูปแบบ ไม่จำกัดเนื้อที่และไร้พรมแดน โดยผู้รับข่าวสารมีโอกาสแสดงความคิดเห็นอย่างคล่องตัว
    - การสื่อสารการตลาดยุคใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอำนวยประโยชน์ ทั้งในแง่เป็นช่องทางแสวงหาข้อมูลและการพัฒนาวิธีการเผยแพร่ข่าวสาร ผ่านสื่อสารมวลชนและสื่อขององค์กรได้หลายรูปแบบ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Mon Apr 12, 2010 6:56 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน หน่วยที่ 1-7

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Apr 12, 2010 5:45 pm

    Very Happy
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้ทางสังคมศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับนักนิเทศศาสตร์ 15233 Empty แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน หน่วยที่ 8-15

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Apr 12, 2010 5:45 pm

    Very Happy

      เวลาขณะนี้ Fri Apr 26, 2024 3:53 pm