ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


3 posters

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ

    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Wed Aug 26, 2009 6:36 pm

    ได้ฤกษ์แล้วค่ะ อ่านหนังสือซักที อ่านไปพิมพ์ไปจะได้จำ เป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วย อาจจะช่วยได้ไม่มากก็น้อยนะคะ หลักๆก็อยากจำนั่นแหละ อิอิ

    หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการพัฒนา

    แนวคิด
    1.ผลึกความคิดทางภาษาและการสื่อสารหมายถึงความเข้าใจโดยรวบยอดในแง่มุมต่างๆที่เป็นสาระสำคัญของภาษาและการสื่อสารซึ่งสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน คสามเข้าใจนี้จะขยายต่อไปโดยลำดับดุจผลึกที่ค่อยๆทวีขนาดตามธรรมชาติ
    2.ความสามารถในการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีสัมพันธภาพต่อกัน
    3.การสื่อสารของมนุษย์มีเป้าหมายขั้นสุดท้ายเพื่อให้มนุษย์ได้กำหนดรู้ร่วมกัน
    4.การจะเข้าใจธรรมชาติการสื่อสารของมนุษย์ได้อย่างแท้จริง ต้องอาศัยความเข้าใจในลักษณะของสื่อสาร และบริบทของการสื่อสารได้ชัดเจนเสียก่อน
    5.ผู้ส่งสารและผุ้รับสารจำเป็นต้องพัฒนาคุณสมบัติของตนให้ได้ระดับสูงพอ เพื่อจะได้มีบทบาทร่วมกันในการทำให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริง
    6.ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารมีลักษณะลดหลั่นกันหลายระดับ
    7.ระดับภาษาเพื่อการสื่อสารที่ควรพิจารณาเป็นพิเศษคือระดับความเป็นนามธรรม ระดับลีลาการใช้ในโอกาสและสถานการณ์ต่างๆและระดับความยากง่าย

    1.1 ผลึกความคิดทางภาษาและการสื่อสาร

    หน้าที่สำคัญของภาษาและการสื่อสารเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การดำรงอยู่และการพัฒนาของมนุษย์
    สรุปหน้าที่สำคัญของภาษาได้4ประการคือ
    -ภาษาพาสาร พาให้ไปถึงกันระหว่างคนกับคน
    -ภาษารวบกาลเวลา พาให้คนเข้าถึงอดีตและอนาคตในขณะที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน
    -ภาษาพัฒนาชีวิตให้คนต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่นๆ
    -ภาษาพาให้สมานฉันท์ ระหว่างคนที่ต่างเผ่าพันธ์ต่างวัฒนธรรม

    1.2 มนุษย์กับการสื่อสาร

    - สื่อเป็นเครื่องนำสารไปสู่กลุ่มผุ้รับสารเป้าหมาย อาจแยกเป็นประเภทสำคัญคือ สื่อสามัญ สื่อมนุษย์ สื่อเฉพาะกิจ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    - สารต้องอาศััยสื่อจึงจะทำให้มนุษย์รับรู้เรื่องราวอันมีความหมายได้
    - สารอันเป็นข้อเท็จจริง ทรรสนะหรือความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือผสมผสานกันก็ได้
    - ภาษาในฐานะที่เป็นอาณัติสัญญาณชนิดหนึ่ง เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการพาสานผ่านสื่อต่างชนิดไปสู่ผุ้รับสาร
    - ผุ้ส่งสารและผุ้รับสารเป็นองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของการสื่อสาร
    - เจตนาที่แน่ชัด ความรู้ความเข้าใจเพียงพอ ความเข้าใจในสมรรถภาพของผุ้รับสารและการรู้จัใช้กลวิธีนำเสนอประกอบกัน เป็นคุณสมบัติที่ดีของผุ้ส่งสาร
    - การเปิดรับสารอยูาเสมอ ความไหวรู้สึก ความสามารถในการบังคับความสนใจของตนประกอบกันเป็นคุณสมบัติที่ดีของผู้รับสาร

    ประเภทของการสื่อสาร แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
    -สารข้อเท็จจริง มีรายงานให้ทราบความจริงที่มีอยู่ในโลกทางกายภาพ
    -สารข้อคิดเห็น เช่น ข้อคิดเห็นเชิงประเมินค่า เชิงแนะนำ ข้อสังเกต
    -สารความรู้สึก เสียใจ ดีใจ ฯลฯ

    การสื่อสาร หมายถึง การนำเรื่องราวต่างๆที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น หรือความรู้โดยอาศัยเครื่องนำไปโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ไปให้ถึงจุดหมายปลายทางจนทำให้เกิดการกำหนดรู้ ความหมายแห่งเรื่องราวนั้นร่วมกัน

    อาณัติสัญญาณ เป็นคำรวม ครอบคลุมถึงกิริยา อาการ เครื่องหมายสัญลักษณ์ แสงสี กลิ่น และสิ่งอื่นๆอีกนานาชนิด

    บริบทของการสื่อสาร
    บริบท = สิ่งที่อยุ่แวดล้อม หรือ กำกับอยู่โดยรอบ และเป็นเครื่องช่วยให้เรากำหนดรู้ความหมายหรือเกิดความเข้าใจในสิ่งที่ถูกแวดล้อมอยู่นั้น มี 3 ประการคือ
    - ความเป็นมา
    - ภาวะแสดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม
    - ภาวะแวดล้อมทางกายภาพ พวกป้ายโฆษณา

    1.3 ระดับภาษา

    - ความเข้าใจในเรื่องระดับภาษา จะช่วยให้การสื่อสารดำเนินไปราบรื่นและลดอุปสรรคการสื่อสารรให้น้อยลง
    - ระดับความเป็นนามธรรมของภาษาพิจารณาได้หลายระดัับจากต่ำไปสูง
    - นามธรรมระดับต่ำสุดจะใกล้ความเป็นรูปธรรม นามธรรมที่ยิ่งสูงมากยิ่งห่างไกลจากความเป็นรูปธรรมมากขึ้น
    - ลีลาการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร อาจจะแบ่งออกไ้ด้เป็นระดับต่างๆได้หลายทางด้วยกัน ขึ้นอยุ่กับวิธีพิจารณาในแง่ต่างๆกัน
    - การใช้ภาษาผิดระดับลีลา จะเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารเป็นอย่างมาก
    - สารอย่างเดียวกันอาจสื่อออกไปโดยใช้ภาษาต่างลีลากันได้
    - ระดับความยากง่ายของภาษาาขึ้นอยุ่กับการประเมินค่าของผุ้รับสารเป็นสำคัญ
    - สารอย่างเดียวกันอาจใช้ภาษาให้ต่างระดับความยากง่ายได้

    ระดับลีลาการใช้ภาษา
    นักวิชาการซิเซโร บอกว่า มี 3 ระดับคือ ลีลาเรียบง่าย ลีลาปานกลาง และลีลาสูงส่ง พวกคำสดุดี ปณิธาน

    ปัจจุบันนักภษษาศาสตร์มักแบ่งระดับลีลาการใช้ภาษา ออกเป็น5ระดับคือ
    - ลีลาวรรณศิลป์ พวกร้อยกรอง (คงแก่เรียน)
    -ลีลาเชิงวรรณศฺลป์ พวกร้อยแก้ว (ขัดเกลาแล้ว)
    -ลีลามาตรฐานพูด
    -ลีลาภาษาระดับต่ำลง
    -ลีลาปากตลาด

    มาติน จูส บอกว่ามี 5 ระดับคือ ระดับเยื่อกเย็น ลีลาทางการ ลีลาปรึกษาหารือ ลีลาลำลอง ลีลาคุ้นเคย

    ระดับความยากง่ายของภาษา ขึ้นอยู่กับ
    - ศัพท์และสำนวนที่ใช้ คุ้นเคยรึป่าว
    -การเรียงคำในประโยค ยอกย้อนเกินไปไหม
    -ภาษาที่ใช้เชื่อโยง ความตอเนื่องของเนื้อความ
    -ภาษาที่ใช้เห็นภาพชัดหรือไม่
    -ถ้ามุ่งเหตุผล บ่งชี้เหตุ และผลชัดเจนหรือไม่
    -ช่วยทิ้งระยะพักสมองบ้าง
    -มีวัจนภาษา เสริม ซ้ำ ย้ำ เน้น

    ผลที่กำหนดระดับความยากง่าย
    90-100 = ง่ายมาก พวกนิทานตลก
    80-90 = ง่าย พวกเรื่องอ่านเบาสมอง
    70-80 = ค่อนข้างง่าย นวนิยาย
    60-70 = มาตรฐาน สารคดี
    50-60 = ค่อนข้างยาก วารสาร
    30-50 = ยาก เชิงวิชาการ
    0-30 = ยากมาก วารสารวิทยาศาสตร์และวิชาชีพ

    จบละ อ่านถ้าขยันพรุ่งนี้จะอ่านต่อ อิอิอิ ห๊าวววววง่วงๆๆๆ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Oct 16, 2009 9:19 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่2 จิตวิทยากับการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Aug 30, 2009 2:35 pm

    มาแล้วว หายไปหลายวันค่ะเป็นหวัดด ฮัดชิ้วววว อิอิ จะรอดมั้ยนะเทอมนี้ป่านนี้เพิ่งอ่านได้แค่นี้เอง

    หน่วยที่2 จิตวิทยากับการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

    แนวคิด
    1.การรับรู้และและมโนมติทางภาษาเป็นกระบวนการพื้นฐานของการสื่อสารด้วยภาษา
    2.บุคคลในวัยเด็ก วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารแตกต่างกันในลักษณะต่างๆทั้งด้านวัจนภาษา และอวัจนะภาษา
    3.ปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารที่สำคัญ ได้แก่ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ลักษณะเฉพาะ และความต้องการของบุคคล
    4.กลไกในการใช้ภาษาเพื่อสัมฤทธิผลในการสื่อสารประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 7 ประการซึ่งเป็นแนวทางในการเลือกใช้ภาษาเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร
    เพื่อโน้มน้าวใจได้อย่างถูกต้องเหมาะตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    5.ภาษาจรรโลงใจเป็นภาษาทีมีคุณลักษณะพิเศษที่เน้นผลลัพธ์ของการสื่อสารทางบวก

    2.1การรับรู้และมโนมิติเกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
    -การรับรู้หมายถึงการสัมผัสที่มีความหมาย การรับรู้ของบุคคลมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการได้แก่ สิ่งเร้าที่ส่งผลต่อการรับรู้ ความรู้สึกสัมผัสและอวัยวะสัมผัส การตีความและการรับรู้ และกระบวนการทางจิตวิทยาในการเลือกรับข้อมูลข่าวสาร
    -สิ่งเร้าที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งสารประกอบด้วย ผู้ส่งสารหรือผุ้ใช้ภาษา สื่อ และบริบททางสังคม
    -ช่องทางการรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับการรับสาร ได้แก่ การมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส การรับรู้ สัมผัสพิเศษ และพลังจิต รวมทั้งสภาพของบุคคลเกี่ยวกับการรับสาร
    -การรับรุ้ตามแนวคิดทางพุทธศาสนา มีลักษณะเฉพาะที่ให้ความสำคัญต่อกระบวนการทางจิต และสิ่งที่เป็นนามธรรมในการรับรู้และตีความสิ่งเร้าที่อยู่รอบข้าง
    -มโนมติทางภาษาของบุคคลขึ้นอยุ่กับการรับรู้ภาษา ซึ่งต้องอาศัยความสามารถในการเปรียบเทียบสิ่งที่รับรู้ ภูมิหลัง และประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องกับภาษานั้น และนับเป็นกระบวนการพื้นฐานของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

    การรับรู้ (perception) หมายถึง การสัมผัสที่มีความหมาย โดยการรับรู้เป็นกระบวนการตีความแห่งการสัมผัสที่ได้รับเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีความหมาย และสามารถสื่อสารกันตั้งแต่ระดับการสื่อสารภายในตัวมนุษย์ไปยังบุคคลอื่นๆซึ่งต้องอาศัยความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่มีมาก่อน

    องค์ประกอบของการรับรู้
    -สิ่งเร้าที่ส่งผลต่อการรับรู้ของบุคคล สิ่งเร้าจากภายบนอก วัตถุสิ่งของ สิ่งเร้าจากภายใน อวัยวะต่างๆภายในร่างกาย ลักษณะของสิ่งเร้าที่มีผลต่อการรับรู้ ขนาดความเข้มของสิ่งเร้า ความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลง ความแปลกใหม่ การทำซ้ำ สี ลักษณะทางสังคม
    -ความรู้สึกสัมผัสและอวัยวะสัมผัสของบุคคล มนุษย์สามารถรับรู้สิ่งเร้าผ่านทางตามากที่สุด รองคือหู
    -การตีความหมายและการรับรู้ของบุคคล การตีตวาม ขึ้นอยุ่กับ ลักษณะเฉพาะของสิ่งเร้า สภาพจิตใจของบุคคล สถาพร่างกาย ปัจจัยทางสังคม
    การเลือกสิ่งที่จะรับรู้ สิ่งที่ตนเองสนใจหรือต้องการในขณะนั้น สิ่งที่แปลกตาและสะดุดตา การจัดหมวดหมู่ของสิ่งที่จะรับรู้ออกมาเป็นมโนภาพ แบ่งเป็นความใกล้ชิด ความคล้ายคลึงกันหรือเหมือนกัน ความต่อเนื่อง ความสมบูรณ์แบบ
    -กระบวนการจิตวิทยาในการเลือกรับข้อมูลข่าวสาร เช่นการเลือกเปิดรับข่าวสาร การเลือกสนใจข่าวสาร การเลือกรับและตีความข่าวสาร และการเลือกจดจำข่าวสาร

    สิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร

    1.ผุ้ส่งสาร ต้องมีทักษะในการสือสาร มีความรู้ในเรื่องที่จะสื่อสารและกระบวนการสื่อสาร มีทัศนะคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะสื่อและต่อผุ้รับสาร
    2.สาร หรือตัวภาษา ภาษาที่เป็นเครื่องสื่อความเข้าใจทางตา เรียกว่า จักษุภาษา ทางหู เรียกว่า โสตภาษา ทางสัมผัส เรียกว่า สัมผัสภาษา(อักษรเรลล์)
    ภาษา คือเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกันโดยการพูด การเขียน และท่าทาง ภาษาาพูดเป็นภาษาที่แท้จริและสำคัญที่สุด
    ประเภทของภาษา มี 2 ประเภท คือ
    -ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ หรือ อวัจนภาษา ได้แก สัมผัสภาษา เนตรภาษา กายภาษา กาลภาษา อาการภาษา วัตถุภาษา ปริภาษา(ใช้น้ำเสียงแทนถ้อยคำ)
    -ภาษาถ้อยคำ หมายถึงภาษาาพูดและภาษาเขียน
    3.สื่อ ประกอบด้วย สื่อเสียง อักษร ท่าทาง
    4.บริบททางสังคม แบ่งเป็นระดับจุลภาคใกล้ตัว และระดับมหภาค ไกลตัวออกไป

    การรับรู้ของบุคคล
    1.ทางในการรับสาร การมองเห็นทางตา การได้ยินทางหู การสัมผัสทางผิวกาย การรับรู้ด้วยสัมผัสพิเศษ(โทรจิต)และพลังจิต
    2.การรับรู้และสภาพของบุคคลเกี่ยวกับการรับสาร ความสามารถในการรับสัมผัสสิ่งเร้า ความสามารถในการแปลความหมายสิ่งเร้าและความสามารรถในการเลือกรับรู้สิ่งเร้าต่างๆ

    [b]
    การรับรู้ตามแนวคิดทางพุทธศาสนามนุษย์มีตัวประกอบสำคัญ 5ประการเรียกว่า ขันธ์ 5 หรือปัญจขันธ์
    แบ่งเป็นรูปขันธ์ หมายถึง ส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตที่เป็นสสาร พลังงานและความร้อน มีธาตุสำคัญคือธาตุดิน –แข็ง น้ำ – เหลว
    ลม-เบา ไฟ – ร้อน
    นามขันธ์ หมายถึง กองแห่งนามที่เป็นจิตใจ ประกอบด้วย
    วิญญาณ –ความรู้อารมณ์ที่เข้ามากระทบประสาทสัมผัส
    สัญญา – เป็นความจำได้จากข้อมูลเดิมที่มีอยู่
    เวทนา – เป็นความรู้สึก
    สังขาร – เป็นการปรุงแต่งความคิด
    การรับรู้ทางอารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจทางพุทธธรรมเรียกว่าอาตนะทั้ง6 ส่วนพลังงานทางจิตเรียกว่าวิญญาณ หรือจิต หรือ อาตมัน

    มโนมติทางภาษาในการสื่อสาร
    มโนมติ หมายถึง
    1.สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ โดยไม่ใช่แรงขับทางกาย หรือเป็นเรื่องของสัญชาตญาณ
    2.สิ่งที่มีความคงทนถาวร แม้ว่าโนมติที่เกิดขึ้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องเกิดจากการสัมผัส รับรู้ เรียนรู้ และประเมินคุณค่าใหม่
    3.เป็นความรู้สึกที่แสดงออกต่อเมื่อมีสิ่งเร้าเป็นอย่างๆหรือเป็นเรื่องๆ
    4.สามารถเกิดกับทุกสิ่งได้
    5.เป็นพื้นฐานหรืออย่างน้อยก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดนิสัยขึ้นมามีการถ่ายทอดนิสัยเหล่านี้ไปบังคับคนอื่นๆในรูปแบบของภาษา ทั้งวัจนและอวัจนภาษา
    ขั้นตอนการสร้างมโนมติ
    - การจัดระเบียบข้อมูลจากประสาทสัมผัส
    - การเกิดกระบวนการแยกแยะข้อมูลข่าวสารที่ได้มาจากการเปิดรับและการรับรู้มาเป็นความสนใจและความจดจำ โดยมโนมติแต่ละอย่างจะบ่งถึงความสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆกันออกไปเช่นความแตกต่าง ความใกล้ชิด ความเหมือนกันในบางส่วน ความหมายรวมที่ครอบคลุมมโนมติอื่นเอาไว้ ความสันพันธ์กัน
    สรุปว่าภาษา เป็นสื่อกลางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับมนุษย์ในการสร้างมโนภาพ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Oct 16, 2009 9:20 pm, ทั้งหมด 8 ครั้ง
    avatar
    Admin
    Admin
    Admin


    จำนวนข้อความ : 858
    Join date : 30/07/2009
    : 57

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty *0*

    ตั้งหัวข้อ  Admin Sun Aug 30, 2009 6:45 pm

    มันเหมือนกับ ภาษาไทยเพื่อการสือสาร 10161 มั๊ยอ่ะครับ โชดา
    ถ้าไม่เหมือนฝากหาเอามาฝากมั่งนะครับ ไม่รู้เรื่องเท่าไรเลย ขอบคุณครับ
    แล้วหายป่วยหรือยังจ๊ะ ถ้ายังก็หายไวๆ น๊า
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty 0.0

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Aug 30, 2009 6:48 pm

    ไม่เหมือนค่ะต้น ถ้าว่างจะเอามาลงให้นะแดะลง3 วิชาของนิเทศน์ก่อน งงไรอ่ะ แดะจะลองเอาแนวข้อสอบมาลงให้นะ

    โอยยหน่วยที่สอง เยอะจัง คืนนี้ต้องปั่นให้เสร็จ เหอๆๆ ต้องเร่งละเดี๋ยวไม่ทันสอบใกล้สอบแล้วสู้ๆๆ
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty ต่อหน่วยที่ 2 อีกนิดค่ะ

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Aug 31, 2009 5:57 pm

    ว้าต้นคะมันจำกัดยาวมากกว่านี้ได้มั้ยอ่ะ ข้อมูลไม่ต่อเนื่องเลย


    2.2 การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของบุคคลตามระดับวัย

    -ในระยะต้นๆของการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เด็กใช้อวัจนภาษามากกว่าวัจนภาษา และเมื่อโตพอที่จะใช้วัจนภาษาได้แล้ว วัจนภาษาที่ใช้ในการสื่อสารก็มักเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม
    - วัยรุ่นใช้ภาษาในเชิงนามธรรมได้มากกว่าวัยเด็กและการใช้ภาษาสื่อสารของเด็กวัยรุ้นมักเกี่ยวข้อง
    สัมพันธ์กับลักษณะเฉพาะวัย
    - ผู้ใหญ่ใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาในการสื่อสารทั้งในลักษณะที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม นอกจากนี้การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของผู้ใหญ่ยังอาจซับซ้อนในแง่ของการมีความหมายแอบแฝงเป็นนัย ในแง่ของการเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย หรืออาจสร้างภาษาในรูปแบบใหม่ๆมาใช้ในการสื่อสารได้ด้วย

    2.3 ปัจจัยทางจิตวิทยาในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
    - ปัจจัยทางสังคม การอบรมเลี้ยงดู บุคลิกภาพ ประสบการณ์ที่ได้รับ รวมถึงสิ่งแวดล้อมในชีวิต ส่งผลให้การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของแต่ละบุคคลมีความแตกต่าง
    - ลักษณะเฉพาะของบุคคล อันเนื่องมาจากความแตกต่างจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ ความตั้งใจ ความสนใจ สติปัญญา ความต้องการ สภาวะอารมณ์ ความคาดหวัง การคล้อยตามผู้อื่น และการให้คุณค่าเป็นสาเหตุให้การรับรู้และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน
    - ความต้องการเป็นแรงจูงใจที่สำคัญและสามารถผลักดันกระตุ้นให้บุคคลกระทำกิจกรรมต่างๆ
    ในการดำรงชีวิต รวมถึงการเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารในชีวิตประจำวันด้วย
    ทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์
    1.ความต้องการด้านสรีระวัตถุสิ่งของ อาหาร การสื่อสาร ฯลฯ
    2.ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย
    3.ความต้องการด้านความรักและการเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ
    4.ความต้องการที่จะได้รับการนับถือและเป็นที่ยกย่องในวงสังคม
    5.ความต้องการสัมฤทธิผลในอุดมคติที่ตนเองตั้งไว้

    2.4 จิตวิทยากับกลวิธีการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
    -การใช้ภาษาเพื่อสัมฤทธิผลทางการสื่อสารประกอบด้วย 7 ประการ ได้แก่ ความสมบูรณ์ครบถ้วน ความกะทัดรัด การพิจารณาไตร่ตรอง ความเป็นรูปธรรม ความชัดแจ้ง ความสุภาพอ่อนน้อมและความถูกต้อง
    -การใช้ภาษาเพื่อให้ข่าวสาร จะเน้นด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความกะทัดรัดของข้อมูลข่าวสารเป็นสำคัญ
    -การใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจ ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการสร้างสารเพื่อการโน้มน้าวใจ การสร้างจุดสนใจในเนื้อหาสาร และเทคนิคการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ

    การใช้ภาษาเพื่อให้ข่าวสาร
    ความสำคัญ
    -ทำให้สามารถติดตามและทำความเข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดรอบตัวได้
    -ก่อให้เกิดความเข้าใจในความหมายของคำตามบริบทของสังคมที่ตรงกัน
    -ทำให้สามารถคาดคะเนความคิดของกันและกันระหว่างผู้สื่อสารได้
    -ทำให้เกิดสภาพการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
    ลักษณะภาษาเพื่อให้ข่าวสาร
    -ต้องมีความรู้ถ่องแท้ด้านความหมายของคำ รูปประโยคและเงื่อนไขตามหลักภาษาและสังคมวัฒนธรรมในแต่ละช่วงเวลา
    -ละเอียดอ่อนในการเลือกใช้คำและสำนวนที่พุดให้มีความสัมพันธ์กับความคิด
    -ต้องระลึกเสมอว่าภาษาในการสื่อสารมีผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้พูดและผู้ฟัง
    การใช้ภาษาเพื่อให้ข่าวสาร
    -ความถูกต้องชัดเจน
    -ความเหมาะสม
    -กะทัดรัด
    -ใช้ภาษาที่สร้างความประทับใจ
    -มีความสมจริง

    การใช้ภาษาเพื่อโน้มน้าวใจ
    -ควรบอกว่าจะชักชวนให้ทำอะไร
    -ควรอธิบายให้เข้าใจว่าสิ่งที่ชักชวนคืออะไร หรือเป็นอย่างไร
    -ชี้ให้เห็นผลเสียที่จะเกิดขึ้น ถ้าไม่ทำตามที่ชักชวน
    -ควรให้รายละเอียดต่างๆ มากพอที่จะทำให้ผุ้รับการชักชวนกระทำตามได้ ถ้าเห็นด้วยกับความคิดที่นำเสนอ
    -ไม่ควรบังคับให้ทำตาม ควรเปิดโอกาสให้ผุ้รับการชักชวนคิดตกลงด้วยตนเอง ว่าควรทำตามหรือไม่
    การโน้มน้าวใจด้วยการสร้างจุดจูงใจในสาร
    -จุดจูงใจโดยใช้ความกลัว
    -ใช้อารมณ์
    -ใช้ความโกระ
    -ใช้อารมณ์ขัน
    -ใช้รางวัล
    -ใช้แรงจูงใจ
    การโน้มน้าวใจด้วยการใช้เทคนิค
    -การให้เหตุผล
    -การเร้าอารมณ์
    -การใช้บุคลิกหรื่อชื่อเสียงส่วนตัวเป็นเครื่องโน้มน้าวชักจูงใจ
    -การเสนอแนะ

    2.5 ภาษาจรรโลงใจ
    -ภาษาจรรโลงใจที่มีคุณลักษณะพิเศษและเน้นผลลัพธ์ของการสื่อสารในทางบวก คือ ความสบายใจของผู้ส่งสารและผู้รับสาร
    -ภาษาจรรโลงใจแทรกอยู่ในวัจนภาษาและอวััจนภาษา ในยามปรกติและในยามวิกฤติ
    การใช้ภาษาจรรโลงใจ
    1.วัจนภาษาจรรโลงใจ
    -การใช้วัจนภาษาจรรโลงใจในภาวะปกติ เช่นใช้กับญาติพี่น้อง(อีแก่ที่บ้าน) ใช้กับเพื่อนบ้านและคนรู้จัก ใช้กับเพื่อนร่วมงาน
    -การใช้วัจนภาษาจรรโลงใจในภาวะวิกฤษ
    หมายถึง ภาวะการณ์ต่างๆที่ทำให้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนเราผิดไปจากปกติธรรมดา ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่นไม่สบายใจ เจ็บไข้ได้ป่วย
    2.อวัจนภาษาเพื่อความสบายใจ คือภาษาที่ไม่ออกเสียงเป็นถ้อยคำ แต่สามารถสื่อความหมายระหว่างกันและกันได้ เช่นร้องไห้เมื่อเสียใจ

    จบแล้วววว นึกว่าวันนี้จะไม่จบหน่วยที่ 2 ซะแล้ว


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Oct 16, 2009 9:20 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 3 อวัจนภาษา

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Aug 31, 2009 6:34 pm

    ต่อเลยละกันกะลังมีสติ อิอิอิ เพื่อนคนอื่นเค้าอ่านกันถึงไหนแล้วน๊าา สู้ๆนะคะ

    หน่วยที่ 3 อวัจนภาษา


    แนวคิด
    -อวัจนภาษาเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญในการแปลความหมายของมนุษย์ อวัจนภาษาปรากฏอยู่ตลอดเวลาในการสื่อสารของมนุษย์ การเข้าใจความหมาย ความสำคัญ และการศึกษาถึงลักษณะของอวัจนภาษา จะทำให้มนุษย์ สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    -อากัปกิริยาต่างๆของมนุษย์ สามารถสื่อความหมายได้ ดังนั้น การแสดงสีหน้าท่าทาง หรือการเคลื่อนไหว ร่างกายอย่างอื่นใดของมนุษย์ จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มีความหมายที่ก่อให้เกิดความเข้าใจในรูปแบบต่างๆได้ทั้งสิ้น
    -สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่สื่อความหมายได้ในตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการพุดหรือการกระทำ มนุษย์เกี่ยวข้องกับสภาวะแแวดล้อมและการใช้วัตุอื่นเป็นเครื่องสื่อความหมายในรูปแบบต่างๆอยู่ตลอดเวลา การศึกษาและทำความเข้าใจในสิ่งที่กล่าวแล้วจะเป็นประโยชน์ในการสื่อสารของมนุษย์
    -การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในสังคม มักจะมีสิ่งที่ใช้กำหนดความหมายร่วมกัน เช่นสัญญารหรือสัญลักษณ์ เพื่อให้ความเข้าใจของคนที่ร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเหมือนกัน และทำให้สามารถดำเนินกิจกาารต่างๆได้สำเร็จตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้

    3.1 ความหมายและความสำคัญของอวัจนภาษา

    - ขั้นตอนการเกดภาษาของมนุษย์เริ่มตั้แต่ภาษาท่าทาง ภาษาพูด จนถึงภาษาเขียน โดยที่ภาษาเขียนมีขั้นตอนจากภาษารุ)ภาพ ภาษาความคิดและภาษาศาสตร์
    - การสื่อสารด้วยอวัจนภาษามีขอบเขตของการศึกษากว้างขวางมาก เพราะสิ่งที่นอกเหนือจากวัจนภาษา(พูด+เขียน) ก็สามารถสื่อความหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องออกเสียง เช่น การใช้ภาพ ระยะทาง กลิ่น เวลา สี กริยาท่าทาง น้ำเสียง รวมตลอดจนถึงเสื้อผ้า เครื่องประดับ ล้วนแต่เป็นรูปแบบของการสื่อสารทางอวัจนภาษาที่สามารถแปลความหมายได้ทั้งสิ้น การให้ความหมายของอวัจนภาษาจึงเป้นวิธีการที่จะทำให้มนุษย์มีความเข้าใจถึงการสื่อสารของมนุษย์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาเสียงในการสื่อความหมาย แต่ก็สามารถทำให้เกิดความเข้าใจซึ้่งกันและกันได้ จึงเป็นเพียงแนวทางแก่การพิจารณาถึงลักษณะของสารอวัจนภาษาที่ปรากฏอยู่ในการสื่อสารของมนุษย์เท่านั้น
    - อวัจนภาษาเริ่มมีการใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว ในบางครั้ง การสื่อความหมายโดยอวัจนภาษาก็เกิดขึ้นโดยที่มนุษย์มีความตั้งใจหรื่ออาจจะเกิดโดยที่ไม่ได้ตั้งใจก็ได้ การขัดกันระหว่างภาษาอวัจนภาษาและวัจนภาษาหรือสภาพความไม่ชัดเจนของอวัจนภาษามีความสำคัญต่อการสื่อสารเป็นอย่างยิ่ง
    -การศึกษาเรื่องของอวัจนภาษาทำได้โดยสังเกตพฤติกรรมของสัตว์ที่ไม่สามารถพูดได้ แต่ก้สื่อความหมายได้ด้วยสิ่งที่เรียกว่าอวัจนภาษา หากมนุษย์มีความเข้าใจและฝึกทักษะการใช้อวัจนภาษา การสื่อสารระหว่างกันของมนุษย์ก็จะมีประสิทธิภาพขึ้นมาก

    3.2 ภาษาการกระทำ
    - ภาษาท่าทางเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่นเกิดขึ้นตามธรรมชาติ จากการเลียนแบบ จากการสั่งสอน หรือจากความเคยชิน เป็นลักษณะที่มนุษย์โต้ตอบกับสิ่งต่างๆรอบตัว
    - ในการพบปะขั้นเริ่มแรก คนเราจะมองหน้าและสบตากันก่อนสิ่งอื่น สีหน้าสามารถบอกความหมายได้หลายอย่าง แต่ก็เป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้
    - ท่าทางที่มนุษย์ใช้อยุ่สามารถแสดงออกแทนอารมณ์ และใช้ประกอบคำพูดให้มีความหมายชัดเจนมากขึ้น การสังเกตดูพฤติกรรมของมนุษย์โดยผ่านท่าทางจะสามารถเข้าใจความหมายได้
    - บุคลิกของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน เป็นลักษณะเฉพาะตัวของตน แต่ก็เป็นสิ่งที่สามารถฝึกหัดและพััฒนาได้
    - น้ำเสียงเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ในถ้อยคำที่พูดออกมา ความเชื่อถือของคนเราทักจะถูกกำหนดโดยการใช้น้ำเสียง
    - การสัมผัสสามารถสื่อสารแทนคำพูดและความรู้สึกได้ แต่จำเป็นต้องมีการเรียนรู้ และฝึกทักษะในการใช้เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง

    3.3 ภาษาวัตถุและสภาพแวดล้อม

    - การสื่อความหมายทางอวัจนภาษาด้วยภาษาวัตถุและสภาพแวดล้อม สามารถสื่อความหมายได้ในหลายรูปแบบ
    - เวลาสามารถสื่อความหมายและสร้างความเข้าใจคุณค่า บุคลิกลักษณะ และนิสัยของมนุษย์ได้
    - สีถูกเลือกตามอารมณ์และโอกาส เมื่อสื่อความหมายอาจจะเกิดโดยตั้งใจหรือไม่ก็ได้
    - การใช้ระยะห่างของมนุษย์และสภาพแวดล้อมอื่นๆ มาเป็นเครื่องกำหนดความหมาย มักขึ้นอยุ่กับวัฒนธรรมของสังคมแต่ละสังคม
    - การปรากฏกายของมนุษย์ในเสื้อผ้า ทรงผม เครื่องประดับ หรือการใช้สิ่งของต่างๆล้วนแต่สื่อความหมายทางด้านอวัจนภาษาทั้งสิ้น

    3.4 ภาษาสัญลักษณ์

    - สัญลักษณ์ เป็นสิ่งที่ใช้แสดงแทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายแน่นอนคงที่และสัญลักษณ์ที่เป็นลักษณะของนามธรรม
    - มนุษย์รุ้จักใช้สัญลักษณ์ต่างๆในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ สัญญาณไฟ และสัญญาณเสียงใช้ในที่การคมนาคมไม่สะดวกที่จะติดต่อสื่อสารถึงกันได้
    - การอยู่รวมกันในสังคมโดยสงบสุข ต้องอาศัยสัญญาณที่สามารถเข้าใจร่วมกันได้ ทั้งนี้ดดยการใช้สัญญาณที่เป็นสากล เช่น สัญญาณจราจร
    - การสื่อสารที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น การสื่อสารทางทะเล สามารถส่งสัญญาณให้เข้าใจระหว่างกันได้ด้วยสัญญาณธง
    - งานอาชีพบางอย่าง เช่น ทหาร ตำรวจ การใช้สัญญาณมือเปล่า สามารถสื่อให้เห็นถึงความเคารพและบอกถึงตำแหน่งหน้าที่
    - สัญญาณภาษาใบ้ เป็นภาษาที่ใช้สำหรับคนพิการหุหนวกแและเป็นใบ้ สามารถใช้แทนภาษาเสียงต่างๆได้เป็นอย่างดี
    - ในรุปแบบของภาษาเขียน เราสามารถเข้าใจความหมายของลักษณะ ลายมือหรือความเรียบร้อยในการเขียนตัวอักษร ซึ่งทำให้เข้าใจถึงบุคลากรลักษณะและความร้สึกของผุ้เขียนได้

    จบแล้ว ป่วยซะนานเลย ต้องเร่งวันนี้สู้ตายค่ะ
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 4 ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sat Sep 12, 2009 6:56 pm

    วู้วววว 4 แล้ว อีก 11 55555+

    หน่วยที่ 4 ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน


    แนวคิด
    1.การใช้ภาษาคือการสื่อความหมาย ภาษามีืทั้งการแปรและการเปลี่ยนแปลง การสื่อสารในชีวิตประจำวันจึงต้องใช้รุปแบบต่างๆให้เหมาะสมกับกาลเทศะ ความหมายของภาษามีหลายประเภท ทั้งความหมายแฝง อุปมา ความหมายที่่สัมพันธ์กับเสียง ความหมายโดยตรง และความหมายโดยนัย ภาษามีทั้งการแปรในช่วงเวลาเดียวกัน และการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาต่างกัน
    2.การใช้ภาษาเพื่อให้สื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นย่อมเกิดจากการใช้ภาษาให้ได้อย่างเหมาะสม เครื่องมือในภาษามีทั้งเรื่องเสียง คำ ประโยค จึงควรเรียนรู้ว่าเครื่องมือแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะนำมาใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ เปรียบเทียบกับเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งมีด ซ้อม ค้อน ซึ่งใช้ต่างกัน ถ้าใช้ปลายมีดแทนซ่อม และใช้สันมีดแทนฆ้อน ในที่สุดมนุษย์จะมีมีดที่ขาดประสิทธิภาพในการตัดการหั่น และทิ้งส้มอกับค้อนอันมีประโยชน์อย่างไร้ค่า
    3.ภาษาที่ต่างกันในสังคมเรียนกว่า วิธภาษา ความแตกต่างมีทั้งด้านสังคม สถาณการณ์ และหน้าที่ วิธภาษาประเภทหลังนี้เรียกว่าทำเนียบภาษา ซึ่งมีทั้งที่เกิดตามสถานการณ์ วัตถุประสงค์ และสื่อที่ต่างกัน นอกจากนี้ภาษายังมีความแตกต่างในด้านการเขียน อ่าน และการพูด
    4.ภาษาในสังคมไทยแบ่งย่อยตามเกณฑ์คุณสมบัติและหน้าที่ แต่ละภาษาย่อมมีการเปลี่ยนแปลงทั้งแบบลู่ออกและลู่เข้า ความเปลี่ยนแปลงของภาษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นปกติ

    4.1 ภาษากับการสื่อความหมาย
    -ความหมายแบ่งกว้างๆได้ 2 ประเภท ได้แก่ ความหมายโดยตรง และความหมายโดยนัย
    - การแปรของภาษามีทั้งเรื่องเสียง คำ และประโยค การเปลี่ยนแปลงของภาษา หมายถึง การแปรไปตามกาลเวลา มีทั้งด้านคำและประโยค
    การแปรของภาษา เสียง เช่น อย่างนี้ - ยังงี้ อย่างนั้น - ยังงั้น
    คำ เช่น คุณทองแดงคือสุนัขทรงเลี้ยง แต่ไอ้ด่างคือหมาข้างถนน
    ประโยค เช่น ตำรวจจับโจร - โจรถูกตำรวจจับ

    4.2 หลักการใช้ภาษาในการสื่อความหมาย

    - เสียงในภาษาไทยมีเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ แต่ละเสียงมีระบบซึ่งผู้ใช้ควรเรียนรู้เพื่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    - การแปรเสียงในคำมหลายแบบ คือ แบบกลมกลืนเสียง(สิบเอ็ด - สิบเบ็ด) แบบผลักเสียง(คำแหง - กำแหง) แบบลดหน่วยเสียง(ยายกับตา - ยายกะตา) แบบเพื่มหน่วยเสียง(สักนิด-สักกะนิด) แบบสับเสียง(ตะกร้อ-กระต้อ) แบบทำให้เสียงที่เพดานแข็ง(ทีเดียว -เทียว) แบบเปลี่ยนเสียงสระภายในคำ(เข้ามาเถิด - เข้ามาเหอะ) และแบบเสียงเลื่อนรวม(ดิฉัน-เดี๊ยน) ส่วนการเปลี่ยนแปลงคำมีการสร้างคำซ้อน การสร้างคำประสม การนำคำมาใช้ในความหมายอื่น การสร้างศัพท์ใหม่ และการบัญญัติศัพท์
    - ประโยคมีหลายประเภท ได้แก่ ประโยคคำสั่ง ประโยคขอร้องหรือชักชวน ประโยคคำถม ประโยคบอกเล่า ประโยคเริ่ม ประโยคไม่เริ่ม แต่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาก้คือการใช้ถ้อยคำสำนวนตามกาลเทศะและบุคคล

    4.3 ลักษณะการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน
    - ความหลากหลายในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารเกี่ยวข้องกับทำเนียภาษาหลายแบบคือ ทำเนียบภาษาที่เกิดจากการใช้ภาษาตามสถานการณ์ ที่เกิดจากวัตถุประสงค์ต่างกัน และที่เกิดจากการใช้สื่อต่างประเภทกัน
    - การสื่อสารแรกสุดของมนุษย์คือการพูด ต่อมาเมื่อมีการสื่อสาร ยามมิได้เห้นหน้ากันก็เริ่มใช้การเขียน และจากสัญลักษณ์ที่เขียนนั้น มนุษยืก็สามารถใช้การอ่านเพื่อสื่อสารต่อไปได้

    4.4 ภาษาในสังคมไทย
    - คุณสมบัติที่นักภาษาศาสตร์สังคมใช้เป้นเกณฑ์ในการจำแนกประเภทภาษาโดยทั่วไปมี 4 ประการคือ ความเป้นมาตรฐาน ความเป็นเอกเทศ(เป็นตัวของตัวเอง) ความมีประวัติอันยาวนาน และความมีชีวิต
    - การจำแนกภาษาตามหน้าที่ จำแนกได้เป็น ภาษาราชการ ภาษาเมืองหลวง ภาษาภูมิภาค ภาษานานาชาติ ภาษากลางในประเทศ ภาษาเฉพาะกลุ่ม ภาษาการศึกษา ภาษาสอนเป้นวิชา ภาษาศาสนา และภาษาวรรณกรรม
    - การเปลี่ยนแปลงของภาษาเกิดจากการลู่ออกของภาษา การลู่เข้าของภาษา การลู่เข้าหากันของภาษาในสังคมไทย และการเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยมาตรฐาน


    กรู้วววววววววววววววววววววววววววววววจบแล้ววววว หิวๆๆหาไรหม่ำๆๆดีกว่า
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 5 การฟังและการพูด

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sat Sep 12, 2009 7:00 pm

    อิอิ

    หน่วยที่ 5 การฟังและการพูด


    แนวคิด

    1.การฟังและการพุด มีความสำคัญในการสื่อสารของมนุษย์มาช้านาน มนุษย์ใช้รับส่งสารเพื่อติดต่ิิอซึ่งกันและกันในการดำเนินชีวิตอละการทำกิจกรรม จึงจำเป็นที่ผุ้ทำงานสื่อสารมวลชนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจและฝึกฝนการฟังและการพูด และสามารถนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2.ผุ้ทำงานในการสื่อสารทั่วไปและสื่อสารมวลชนใช้ภาษาในการฟังเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร นำมาใช้ปรับปรุงตนเอง และนำไปใช้ในวิชาชีพ ถ่ายทอดสารแก่ผุ้อื่น และช้กระบวนการฟังให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทในการสื่อสาร
    3.ผู้ทำงานในการสื่อสารทั่วไปและสื่อสารมวลชนใช้ทักษะการพูดเพื่อถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกเล่า โน้มน้าวใจ จรรโลงใจ และค้นหาคำตอบ รู้จักใช้ภาาาและกลวิธีการพูดที่เหมาะสมกับกาลเทศะ โอกาส บุคคล และเรื่องราวที่นำเสนอ

    5.1 การฟังและการพุดในการสื่อสาร

    - การฟังและการพูดเป็นทักษะการรับและส่งสารที่มนนุษย์นำมาใช้สื่อสารตั้งแต่ติดต่ิสัมพันธ์กัน เป็นทักษะพื้นฐานที่มีบทบาทในชีวิตและการทำกิจกรรมต่างๆรวมทั้งมีส่วนสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน
    - ปัญหาและอุปสรรคของการฟังและการพุด มีสาเหตุมาจากผุ้ส่งและผู้รับสาร สาร สื่อ ภาษา และสภาพแวดล้อม ผุ้ทำงานด้านสื่อสารทั่วไปและสื่อสารมวลชนจำเป็นต้องสำรวจปํญหาและอุปสรรค และปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การสื่อสารพื้นฐานมีประสิทธิภาพสูงสุด

    5.2 ภาษากับการฟังในการสื่อสาร

    - ผู้ที่มีทักษะการฟังที่ดีจะมีบุคลิกที่เหมาะสม เข้าใจลักษณะพฤติกรรมการฟัง มีกระบวนการฟังที่ดี และฝึกฝนการฟังแบบต่างๆอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
    - กลวิธีการฟังที่ใช้ในการสื่อสารได้แก่ รู้จักฟังจับประเด็น เข้สใจความหมายและนัยของสารที่เป็นถ้อยคำภาษา หรือวัจนภาษาของผุ้ฑุด สังเกตการใช้น้ำเสียง ลีลา ท่วงทำนอง จังหวะของเสียง และการแสดงออกทางกิริยาท่าทางที่เป้นอวัจนภาษา
    - การฟังที่เป้นประโยชน์ต่อผู้ทำงานสื่อสาร คือ ฟังจับประเด็น และฟังอย่างมีวิจารณญาณ เป็นการฟังที่ทำให้คิดเป็น นำไปใช้สร้างสรรค์งานในวงวิชาการและวิชาชีพได้

    5.3 ภาษากับการพูดในการสื่อสาร

    - ผุ้ทำงานสื่อทั่วไปและสื่อสารมวลชนควรมีทักษะการพูด โดยฝึกฝนและพัฒนากระบวนการคิด วิธีการพุดแบบต่างๆ นำเสนอข้อมูลบางอย่างมีประสิทธิภาพและมีจรรยามานยาทในการพุดสอดคล้องกับจรรยาบรรณวิชาชีพ
    - การพัฒนาบุคลิกภาพและวิธีการพุดในการสื่อสาร ได้แก่ การเปล่งเสียงพูด การใช้ภาษา การแสดงอากัปกิริยาท่าทาง วิธีการนำเสนอ และการเตรียมตัวพูดแบบต่างๆ
    - การพูดรายงานเป็นการพูดบอกเล่าเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆซึ่งต้องมีกลวิะีการพูดที่เหมาะกับสาร ลักษณะการพุดมีชีวิตชีวา และชวนให้สนใจติดตามฟัง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 6 การอ่านและการเขียน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sat Sep 12, 2009 8:42 pm

    เหอๆๆๆ สู้ๆๆๆ อ่านให้หมดๆๆๆสาธุวันนี้หมดซักเล่ม รออีก 6 เล่ม 5555+

    หน่วยที่ 6 การอ่านและการเขียน

    แนวคิด
    1.การอ่านเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ ความเข้าใจที่สำคัญยิ่ง และเป็นรากฐานให้การเรียนรู้ต่างๆเป็นไปอย่างกว้างขวางและมั่นคง
    2.การเขียนเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกทัศนคติ และศิลปวิทยาการให้แก่ผุ้คนและสังคม ผุ้เขียนจำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจหลักการเขียนต่างๆเพื่อให้สามารถเขียนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและมีคุณค่า

    6.1 การอ่านเพื่อการสื่อสาร

    - การอ่านทั่วๆไปเป็นการอ่านตามตัวหนังสื่อหรือสื่อสัญลักษณ์ที่ขีดเขียนขึ้นไว้ ซึ่งดวงตาของเราสามารถมองเห็นได้ รับรู้ได้ ถือเป็นการอ่านโดยตรง
    - การอ่่านมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีลักษณะต่างกันตามข้อกำหนดหรือข้อบังคับ ได้แก่ การอ่านร้อยแก้ว การอ่านร้อยกรอง
    - การพัฒนาการอ่านเป็นสิ่งจำเป็นเพำื่อให้สามารถอ่านในสิ่งที่ยากๆยิ่งขึ้นได้ เป็นการเพิ่มศักยภาพการอ่านด้านต่างๆและการเข้าใจศัพท์เทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้อง
    (อ่านในใจ+อ่านออกเสียง อ่านเอาเรื่อง + อ่านเอารส)


    6.2 การเขียนเพื่อการสื่อสาร

    - การเขียนเป็นกระบวนการของการแสดงออกแห่งความคิด ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่างๆ ที่ผุ้เขียนอยากจะถ่ายทอด และกลั่นกรองวิชาความรู้ที่เก็บสะสมไว้เหล่านั้นออกมาให้เป้นตัวหนังสือ
    - การเขียนมักมีกลวิธีหลายอย่างที่น่าศึกษา กลวิธีการเขียนนวนิยายประกอบด้วย การเปิดเรื่อง การดำเนินเรื่อง การเล่าเรื่อง และการปิดเรื่อง
    - งานเขียนที่ดีจะต้องเป็นงานที่ให้คุณค่า และมีา่ระประโยขน์ต่อผู้อ่าน
    มีคุณภาพ คุณค่าและคุณธรรม
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 7 ภาษาสารคดีและภาษาบันเทิงคดี

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sat Sep 12, 2009 8:45 pm

    หน่วยสุดท้ายของเล่ม เย้ๆๆๆ


    หน่วยที่ 7 ภาษาสารคดีและภาษาบันเทิงคดี


    แนวคิด
    1.ภาษาสารคดีคือภาษาที่ใช้เสนอสาระความเป็นจริง ประกอบด้วยข้อมูล ความรู้ที่เชื่อถือได้สามารถนำไปใช้ประโยขน์ได้ ประเภทที่สำคัญของภาษาสารคดีมี 3 ประเภทได้แก่ สารคดีประเภทวิชาการ สารคดีเชิงข่าว และสารคดีเชิงวิจารณ์ จุดประสงค์ของการใช้ภาษาสารคดีคือการให้ความรู้ ข้อมูลความจริงปรากฎการณ์ เหตุการณ์ ความคิดเห็น วิจารณ์ แนวคิด แนวปฎิบัติ และสาระสำคัญอื่นๆ
    2.การใช้ภาษาสารคดีขึ้นอยุ่กับประเภทสารคดีขึ้นอยู่กับประเภทของสารคดีทั้ง 3 การเขียนและการพุดบรรยายด้วยภาษาสารคดีประกอบด้วยถ้อยคำภาษาที่ชัดเจน ระดับภาษา การนำเสนอเนื้อหาที่น่าเชื่อถือ การอ้างอิงแหล่งข้อมูลทั้งนี้จำต้องคำนึงถึงกลุ่มผุ้อ่านเป้าหมายด้วย การเขียนสารคดีแต่ละเรื่องมีขั้นตอนเริ่มจากบทนำ เนื้อเรื่อง และบทสรุป การเขียนจะมีการใช้ส่วนประกอบอ้างอิงหลายอย่างทั้งภาพ แผนภูมิ สถิติ ตัวเลขและอื่นๆ เพื่อความน่าเชื่อถือขององค์ความรุ้และสาระ
    3.ภาษาบันเทิงคดีคือ ภาษาที่ใช้เสนอความรู้สึกเป็นสุขรื่นรมย์ สะเทือนอารมย์ซึ่งจะเป็นการหัวเราะหรือร้องไห้ก็ได้ ประเภทที่สำคัญของภาษาบันเทิงคดีขึ้นอยู่กับประเภทของวรรณกรรมที่ใช้ภาษาบันเทิงคดี ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร เรื่องเล่า สาระบันเทิง ภาษาบันเทิงคดีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของวรรณกรรมบันเทิงคดี เนืื้อหาของบันเทิงคดีอาจได้จากเรื่องจริงหรือเรื่องสมมติ
    4.การใช้และการเขียนภาษาบันเทิงคดีขึ้นอยู่กับประเภทของวรรณกรรมที่มีลักษณะที่เหมือนกันและลักษณะที่แตกต่างกัน องค์ประกอบของบันเทิงคดีที่สำคัญได้แก่ เนื้อเรื่อง การลำดับเรื่องและเหตุการณ์ ฉากของเรื่อง ตัวละคร ความคิดปรัชญา คุณค่า ลีลา โวหารภาพพจน์ ความหมายและความไพเราะ
    5.ภาษาสารคดีมีทั้งส่วนที่เหมือนและแตกต่างกับภาษาบันเทิงคดี ส่วนที่เหมือนได้แก่การนำเสนอต่อสาธารณชน บ่อเกิดของเรื่องทีมาจากความจริง ส่วนลักษณะที่แตกต่างคือ การเสนอความจริงและการใช้สำนวนโวหารภาพพจน์

    7.1 ความหมาย ประเภท และจุดประสงค์ภาษาสารคดี

    - ภาษาสารคดี คือ ภาษาทีมีลักษณะชัดเจนไม่กำกวม กะทัดรัด ไม่ยาวไม่ซับซ้อน มี 3 ประเภท คือ ประเภทวิชาการ จ่าวสาร และการวิจารณ์
    - การใช้ภาษาสารคดีมีจุดประสงค์ตามประเภทของสารคดี คือเพื่อเสนอความรู้ ข้อมูล ข่าวสารความจริงและข้อคิดเห้น

    7.2 การใช้ภาษาสารคดีเพื่อการเขียนและการพุดบรรยาย

    - การใช้ภาษาสารคดีขึ้นอยุกับประเภท การเขียนสารคดีหรือบทความวิชาการมีลำดับการเขียนเริ่มด้วยคำนำ เนื้อเรื่องและสรุป มีการอ้างอิงแหล่งค้นคว้าและการสนับสนุนข้อมูล
    - การใช้ภาษาในการเขียนสารคดีหรือบทความเชิงข่าว มุ่งเน้นการเสนอข้อเท็จจริงที่มีรายละเอียดสีสันและภูมิหลังของข่าว
    - การใช้ภาษาในการเขียนสารคดีหรือบทความเชิงวิจารณ์ มุ่งเน้นความคิดเห็น เหตุผลจากการวิเคราะห์ที่คมคาย
    - การใช้ภาษาสารคดีเพื่อพูด หรือบรรยาย ต้องคำนึงถึงผุ้ฟังและกาลเทศะ มีการเตรียมข้อเขียนไว้ล่วงหน้า และใช้น้ำเสียงที่แจ่มใส ออกเสียงชัดเจน ถ้อยคำที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ

    7.3 ภาษาบันเทิงคดี

    - ภาษาบันเทิงคดี หมายถึง ภาษาที่ใช้เขียนในวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี ได้แก่ นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร นิทาน นิยาย ถ้าแบ่งประเภทของภาษาบันเทิงคดีตามจุดประสงค์ของการใช้จะมี 4 ประเภทคือ เสนอความรู้สึกที่เป็นสุขสนุกสนาน มุ่งเร้าอามรมณ์สะเทือนใจ มุ่งเร้าอารมณ์ขัน และมุ่งยั่วล้อ เสียดสี ภาษาบันเทิงคดีในปัจจุบัน ได้แด่ นวนิยาย สาระบันเทิง เรื่องสั้น บทละคร เรื่องเล่าื นิทาน นิยาย
    - จุดประสงคืของการใช้ภาษาบันเทิงคดี ได้แก่ มุ่งเสนอความรู้สึกเป็นสุข มุ่งเร้าอารมณ์สะเทือนใจ มุ่งเร้าอารมณ์ขัน และมุ่งยั่วล้อเสียดสี
    - การใช้และการเขียนภาษาบันเทิงคดีต้องคำนึงถึงองค์ประกอบของบันเทิงคดีได้แก่ เนื้อเรื่อง การลำดับเรื่องและเหตุการณ์ ฉากของเรื่องและเวลา ตัวละคร แก่นเรื่อง คุณค่า ภาษาและการตกแต่งภาษาให้ไพเราะด้วยโวหาร ภาพพจน์ รวมทั้งความหมายและความไพเราะของภาษา

    7.4 ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาสารคดีและภาษาบันเทิง

    - ลักษณะที่เหมือนกันของภาษาสารคดีและภาษาบันเทิงคดี คือการนำเสนอต่อสาธารณชนด้วยการเตรียมเขียนไว้ก่อน ส่วนเค้าเรื่องและบ่อเกิดของเนื้อเรื่องที่นำมาเขียนได้มาจากความจริง ข้อมูลข่าวสาร การค้นพบใหม่ และการดำเนินชีวิต
    - ลักษณะที่แตกต่างกันของภาษาสารคดีกับภาษาบันเทิงคดี คือวิธีการนำเสนอความจริงของภาษาสารคดีจะไม่มีการดัดแปลงแต่งเติม แต่ในภาษาบันเทิงคดีนั้นตรงกันข้าม ส่วนการใช้สำนวนโวหารนั้น การเขียนภาษาสารคดีมีข้อจำกัดเพื่อมิให้เกิดความเข้าใจผิด แต่ภาษาบันเทิงคดีมีอิสระมาก
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 8 ภาษาข่าว

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Sep 13, 2009 11:45 am

    หน่วยที่ 8 ภาษาข่าว

    แนวคิด

    1.โครงสร้างของข่าวหมายถึง การจัดลำดับข้อเท็จจริงในการนำเสนอ ข่าวหนังสือพิมพ์ ข่าววิทยุกระจายเสียง และข่าววิทยุโทรทัศน์ มีโครงสร้างพื้นฐานเดียวกัน คือโครงสร้างแบบพีระมิด และโครงสร้างแบบสมนัยผนวก
    2.กายภาพของข่าวหมายถึงส่วนต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นข่าว ได้แก่ พาดหัวข่าว ความนำ ส่วนเชื่อม และเนื้อเรื่อง
    3.ภาษาข่าวหนังสือพิมพ์เป็นภาษาที่ใช้สำหรับอ่าน อาศัยถ้อยคำเป็นหลัก พาดหัวข่าว ความนำ ส่วนเชื่อม และเนื้อข่าว ต่างก้ใช้ภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ
    4.ผู้ปฎิบัติงานตำแหน่งต่างๆในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับงานด้านข่าวจะต้องมีความเข้าใจในรูปแบบและลักษณะของภาษาข่าวเป็นอย่างดี จึงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนผู้บริโภคข่าวหรือผู้อ่านข่าว หากไม่เข้าใจภาษาข่าว ว่ามัส่วนผิดแผก
    ไปจากภาษาเขียนทั่วไป อาจทำให้สำคัญผิดในข้อเท็จจริงและน้ำหนักของข่าวที่นำเสนอก็ได้
    5.ภาษาข่าววิทยุกระจายเสียงเป็นภาษาสำหรับฟัง โดยอาศัยน้ำเสียงด้วย เพราะฉะนั้น ภาษาที่ใช้ต้องสั้น กระทัดรัด สามารถสื่อความหมายได้รวดเร็ว เพราะธรรมชาติของวิทยุกระจายเสียงมีข้อจำกัดเรื่องเวลา
    6.ภาษาข่าววิทยุโทรทัศน์เป็นภาษาสำหรับฟังและดู ทั้งลายเส้น ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ทำให้ภาษาพาดหัวข่าว ความนำ ส่วนเชื่อม และเนื้อข่าวมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผิดกับภาษาข่าวหนังสือพิมพ์และภาษาข่าววิทยุกระจายเสียง

    8.1 โครงสร้างข่าว

    - โครงสร้างของข่าวแบบพีระมิดเรียกตามชื่อที่ใช้รูปพีระมิดเป็นสัญลักษณ์มี 3 ประเภท คือ พีระมิดหัวกลับ พีระมิดหัวตั้ง และพีระมิดผสม
    - โครงสร้างของข่าวแบบพีระมิดหัวกลับ เป็นโครงสร้างที่จัดระเบียบในการเขียนข่าวดดยเริ่มต้นด้วยข้อเท็จจริงหรือประเด็นที่มีความสำคัญมากไปหาน้อยจนจบประเด็น หากเป็นรูปพีระมิดหัวกลับด้วยเส้นขนานกับฐานพีระมิด โดยให้เส้นที่แบ่งแต่ละเส้นอยู่ห่างกันเท่ากันทุกเส้น จะทำให้ได้รูปเหลี่ยมหลายรูป รูปบนสุดจะมีพื้นที่มากที่สุด และรูปล่างสุดจะมีพื้นที่น้อยสุด พื้นที่เปรียบเสมือนความสำคัญของข้อเท็จจริง การนำเสนอข้อเท็จจริงจะถือเกณฑ์นี้ คือจากข้อเท็จจริงสำคัญมากไปหาน้อย
    - โครงสร้างข่าวแบบพีระมิดหัวตั้ง เป็นโครงสร้างของข่าวที่มีลักษณะตรงข้ามกันกับพีระมิดหัวกลับ คือนำเสนอข้อเท็จจริงที่สำคัญน้อยที่สุดก่อน ข้อเท็จจริงจะสำคัญขึ้นเรื่อยๆ ตามรูปของพีระมิด ข้อเท็จจริงสำคัญที่สุดจะอยู่ตอนท้ายข่าวหรือฐานพีระมิด
    -โครงสร้างข่าวแบบพีระมิดผสม เป็นโครงสร้างของข่าวแบบที่สอง ผสมกับแบบที่สาม กล่าวคือ เริ่มต้นข่าวตามแบบที่สอง จบลงตามแบบที่สาม
    -โครงสร้างข่าวแบบสมนัยผนวก ใช้ในกรณีที่ข้อเท็จจริงต่างๆในข่าวเดียวกันที่เสนอมีความสำคัญก้ำกึ่งกัน

    8.2 กายภาพของข่าว

    - พาดหัวข่าวเป็นส่วนแรกและส่วนสำคัญของข่าว ทำหน้าที่ดึงดูดความสนใจของผุ้อ่าน ผู้ฟัง ผู้ชม ขณะเดียวกันก็บอกความสำคัญ น้ำหนักของข่าวด้วยข้อความสั้นๆ พาดหัวข่าวเป็นชื่อเรียกสำหรับหนังสือพิมพ์ ส่วนวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์นิยมเรียนกว่าหัวข้อข่าว
    - ความนำข่าวเป็นเรื่องเดียวกันกับพาดหัวข่าว แต่ทำหน้าที่ขยายความพาดหัวข่าวให้ชัดเจนขึ้น ให้รายละเอียดเกี่ยวกับข่าวมากขึ้น ทำให้ประเด็นที่พาดหัวชัดเจนขึ้น
    - ส่วนเชื่อมข่าวคือข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนประกอบของความนำ แต่ไม่สามารถบรรจุไว้ในความนำเพราะจะทำให้ความนำยาวเกินไป ส่วนเชื่อมจะทำหน้าที่เพิ่มเติมประเด็นในความนำ และเชื่อมต่อความนำให้กลมกลืนกับเนื้อข่าว
    - เนื้อข่าวคือรายละเอียดของข่าวทั้งหมดที่จะลำดับความสำคัญไว้ให้สอดคล้องกับโครงสร้างของข่าว ทั้งนี้ นอกเหนือจากรายละเอียดที่ได้นำเสนอไว้แล้วในความนำและส่วนเชื่อม

    8.3 ภาษสข่าวหนังสือพิมพ์

    - พาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ ต้องใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ เพื่อดึงดูดความสนใจผู้อ่าน และบอกความสำคัญของข่าวในแต่ละรอบของการนำเสนอในเนื้อที่จำกัด การเขียนพาดหัวข่าวต้องใช้คำกริยาให้เกิดความรู้สึกว่าเหตุการณ์มีลีลาเคลื่อนไหว และต้องเป็นปัจจุบันกาลเพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกว่าข่าวนั้นสดใหม่ เพิ่งจะเกิดขึ้น
    - ความนำของข่าวเป็นส่วนขยยของประเด็นที่ใช้พาดหัวข่าว ด้วยการนำเสนอรายละเอียดของข่าวมากขึ้น และถ้าไม่สามารถทำให้จบความได้ในความนำ จำเป็นต้องเสนอเพิ่มเติมในส่วนเชื่อม ภาษาที่ใช้ก็ต้องเป็นภาษาเขียนถูกหลักไวยากาณ์
    - การเขียนเนื้อข่าวหนังสือพิมเป็นไปในลักษณะการบรรยาย ถ้อยคำสำนวนอิงภาษาพูด ประโยคและย่อหน้าที่ใช้ในเนื้อข่าวจะสั้น โดยใช้ย่อหน้าแบ่งประเด็นข่าวให้สื่อสารง่ายขึ้น ถือหลักว่า หนึ่งย่อหน้าสำหรับหนึ่งหน่วยความคิด

    8.4 ภาษาข่าววิทยุกระจายเสียง

    - หัวข้อข่าววิทยุกระจายเสียงทำหน้าที่คล้ายพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ การใช้ภาษาเขียนหัวข้อข่าววิทยุกระจายเสียง แม้จะยึดหลักในการสรรหาคำที่สั้นกระทัดรัด มีลีลาเคลื่อนไหว ให้ความสำคัญหนักเบาของข่าวตรงตามที่เป็นจริง แต่ก็มีความยืดหยุ่นในเรื่องความยาว หรือจำนวนคำมากกว่าพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ เพราะผุ้อ่านข่าวสามารถปรับระดับความเร็วของการอ่านให้เหมาะสมกับเวลาออกอากาศได้ จึงไม่เคร่งครัดในเรื่องความยาวมากนัก
    - ภาษาวิทยุกระจายเสียงเป็นภาษาเพื่อการฟัง การนำเสนอจึงไม่มีความจำเป็นต้องแยกความชัดเจนระหว่างความนำและเนื้อข่าว การพิจารณารูปลักษณ์ของภาษาวิทยุกระจายเสียงในส่วนนี้จึงสามารถพิจารณาควบกันไปได้ อย่างไรก็ตาม มีข้อจำกัดบางประการอันสืบจากธรรมชาติของมื่อประเภทนี้ ทำให้ภาษาข่าววิทยุกระจายเสียงต้องการคำที่เข้าใจง่าย เลี้ยงการใช้ศัพท์วิชาการ คำที่ออกเสียงยาก หรือออกเสียงเหมือนกันแต่ความหมายต่างกัน ประโยคซ้อน หรือประโยคเดี่ยว ยากแก่การฟัง นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของผุ้รับฟังด้วย ซึ่งแต่ละคลื่นส่งกระจายเสียง และแต่ละสถานีมีผุ้รับฟังไม่เหมือนกัน

    8.5 ภาษาข่าววิทยุโทรทัศน์

    - หัวข้อข่าววิทยุโทรทัศน์ ทำหน้าที่คล้ายพาดหัวข่าวหนังสือพิมพืและหัวข้อข่าววิทยุกระจายเสียง คือ บอกประเด็นสำคัญที่สุดของข่าวโดยย่อ แต่เป้นการนำเสนอโดยการอ่าน เช่นเดียวกับหัวข้อข่าววิทยุกระจายเสียง ผิดกันตรงที่ข่าววิทยุโทรทัศน์มีภาพประกอบด้วย จึงไม่เคร่งครัดในเรื่องความยาว เหมือนพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ อย่างไรก็ตาม คงยึดหลักการใช้คำที่ตรงกับภาพข่าว ความสำคัญ ความตื่นเต้น และน้ำหนักของข่าว
    - การเสนอความนำและเนื้อข่าววิทยุโทรทัศน์ เป็นการเสนอเพื่อการฟังและการดุ หรือเสนอเสียงควบคู่ไปกับภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพลายเส้น ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหว ในแง่รูปแบบของการนำเสนอ ไม่ต้องแบ่งเป็นหลายย่อหน้าเหมือนข่าวหนังสือพิมพื ดังนั้น การพิจารณาลักษณะพิเศษของภาษาข่าววิทยุโทรทัศน์ ในส่วนที่เป้นคำนำและเนื้อข่าวจึงสามารถพิจารณาความคู่กันไปได้ ภาษาที่ใช้ นอกจากจะคำนึงถึงการฟังเข้าใจง่าย หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ทางวิชาการมากเกินไป คำอ่านออกเสียงยาก คำอ่านออกเสียงเหมือนกันต่างความหมาย ตลอดจนประโยคซ้อนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความยาวที่สัมพันธ์กับภาพ และต้องคำนึงถึงประเภทของข่าว และความต่างของผู้รับชมด้วย


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Sep 15, 2009 10:55 am, ทั้งหมด 7 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 9 การเขียนข่าวภาษาอังกฤษ

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Sep 13, 2009 11:46 am

    หน่วยที่ 9 การเขียนข่าวภาษาอังฤษ

    แนวคิด
    1.การเขียนข่าวภาษาอังกฤษ เป็นการใช้ภาษาอังกฤษในการเสนอข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริงต่างๆตามลำดับความสำคัญจากมาไปหาน้อย และจากเนื้อเรื่องเตรียมไว้ดีแล้ว
    2. การเขียนข่าวภาษาอังกฤษ ดำเนินตามหลักการ 5 W'sและ 1H ได้แก่ who what where when why และ how
    3.ภาษาอังกฤษที่ใช้ในการเขียนข่าวมีภาษาเฉพาะวิชาที่นิยมใช้ในแต่ละวงการและสถาับัน

    9.1 การเตรียมข้อมูลเพื่อการเขียนข่าวภาษาอังกฤษ
    - การเตรียมข้อมูลจากสำนักข่าวเป็นการบอกรับข่าวสารจากสำนักข่าวใดสำนักข่าวหนึ่งในเชิงพาณิชย์ เป็นการได้ข่าวระดับอาชีพที่เชื่อถือได้และประหยัด
    - การสัมภาษณ์ เป็นการเตรียใข้อมูลในระดับแรกที่เรียกว่าปฐมภูมิ มีความน่าเชื่อถือมาก เหมาะกับการนำมาเป็นข่าวผู้สัมภาษณ์ต้องเตรียมข้อมูลและตั้งคำถามให้ตรงประเด้น
    - การใช้ข้อมูลจากแหล่งข่าวอื่น เช่น เหตุการณ์จริง จากคำบอกเล่า ผุ้เขียนต้องตรวจสอบกลั้นกรองข่าวเพื่อความถูกต้อง เที่ยงตรง ก่อนนำเสนอเป้นข่าว

    9.2 หลักการเขียนข่าวภาษาอังกฤษ
    - การเขียนข่าวทุกประเภทมีรูปแบบเฉพาะ การเขียนข่าวภาษาอังกฤษนิยมใช้หลักการเขียนแบบพีระมิดหัวกลับ
    - โครงสร้างของข่าวภาษาอังกฤษคือส่วนต่างๆของข่าวทั้งพาดหัวข่าว ความนำ เนื้อเรื่อง ประกอบกันเป้นข่าวโดยสมบุรณ์
    - การเขียนข่าวภาษาอังกฤษตามโครงสร้างมีรูปแบบการเขียนที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเองโดยเฉพาะ

    9.3 ภาษาเฉพาะสำหรับข่าวภาษาอังกฤษ- ข่าวในพระราชสำนัก เป็นข่าวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ภาษาและสำนวนที่ใช้ในการเขียนข่าวภาษาอังกฤษจึงมีภาษาเฉพาะวิชา
    - ข่าวการเมือง เป็นข่าวเกี่ยวกับเหตุบ้านการเมือง พรรคการเมือง ความเคลื่อนไหวทางเศรฐกิจ และสังคมทั่วไป แต่ละเหตุการณ์มีภาษาเฉพาะในการเขียนข่าวภาษาอังกฤษ
    - ข่าวการเมืองต่างประเทศ เป็นข่าวเกี่ยวกับการเมืองที่เกิดขึ้นในต่างประเทศที่ผู้เขียนข่าวภาษาอังกฤษต้องนำเสนอด้วยภาษาเฉพาะวิชา
    - บทบรรณาธิการภาษาอังกฤษ เป็นการเขียนของบรรณาธิการหนังสือพิมพ์หรือสื่อประเภทอื่นแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ตามความคิดเห็นและเหตุผลของกองบรรณาธิการด้วยภาษาเฉพาะวิชา


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Sep 18, 2009 8:11 am, ทั้งหมด 4 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 10 ภาษาหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Sep 13, 2009 11:47 am

    หน่วยที่ 10 ภาษาหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

    แนวคิด

    1.หนังสือพิมพ์และนิตยสารมีความแตกต่างทั้งความหมาย วัตุประสงค์การนำเสนอ เนื้อหา รูปแบบและขนาด ระยะเวลาเผยแพร่และจำหน่าย วัสดุที่ใช้ในการผลิด และผุ้อ่าน การใช้ภาษาก็ต่างกันตามลักษณะเนื้อหา ทั้งข่าว บทความ คอลัมน์ และข้อเขียนอื่น เนื่องจากข้อเขียนแต่ละประเภทมีวัตุประสงค์ในการสื่อสารต่างกัน
    2.ภาษาที่ใช้ในหนังสือพิมพ์แตกต่างตามเนื้อหาที่นำเสนอ ภาษาข่าวหนังสือพิมพ์ไม่เคร่งครัดหลักไวยาการณื ใช้ประโยคสั้น กระชับ และมีสีสัน เพื่อดึงดูดความสนใจผุ้อ่าน ภาษาบทบรรณาธิการหนังสือพิมพืเป็นแบบแผนและมีความขึงขัง จิงจังมากกว่าภาษาในบทวิเคราะห์และบทวิจารณ์ และสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวและนโยบายของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ในขณะที่ภาษาสารคดีแตกต่างตามประเภทของสารคดี
    3.ภาษาที่ใช้ในนิตรสารแตกต่างตามเนื้อหาที่นำเสนอ ภาษาข่าวในนิตยสารคล้ายหนังสือพิมพ์ แต่เป็นข่าวสั้น บทบรรณาธิการเป็นแบบแผนน้อยกว่า บรรณาธิการเป็นผุ้เขียนโดยลงชื่อตอนท้าย ส่วนภาษาสารคดีในนิตยสารมีทั้งเชิงบรรยายและเชิงพรรณนา ขึ้นกับประเภทของสารคดีและจุดประสงค์ของผุ้เขียน
    4.ภาพที่ใช้ในหนังสือพิมพ์และนิตสารมีภาษาในตัวเอง สามารถสื่อสารความหมายได้ทั้งด้านข่าวและเนื้อหาอื่น ภาพช่วยเพิ่มสาระ ความกระจ่างชัด ความน่าสนใจ ความสวยงาม การออกแบบและจัดหน้า และความทรงจำให้ผู้อ่าน ภาพที่ใช้ควรมีคุณค่าของเนื้อหา ส่วนประกอบ ความสมดุล น้ำหนักสี อารมณ์ การจัดส่วน และขนาดที่เหมาะสม รวมทั้งคำบรรยายภาพ

    10.1 ลักษณะของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

    - หนังสือพิมพ์เน้นเนื้อหาข่าวเหตุการณ์ปัจจุบัน มีลักษณะเฉพาะในฐานะสื่อมวลชนซึ่งทำหน้าที่หลักในการให้ข่าวสารและความคิดเห็น มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ประกอบด้วยแผ่นกระดาษที่ซ้อนและพับ ส่วนใหญ่เผยแพร่และจำหน่ายเป็นรายวัน ผุ้อ่านหนังสือพิมพืมีลักษณะกระจายทางประชากรศาสตร์
    - นิตยสารมีลักษณะเฉพาะในฐานะสื่อสารมวลชนซึ่งทำหน้าที่หลักในการให้ความรู้และความบันเทิงเนื้อหลากหลาย
    ภาพประกอบสีสันสวยงาม มีการทำเล่มหรือเย็บเล่มเข้าปก มีหลายขนาด ส่วนใหญ่เผยแพร่และจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ หรือรายเดือน มีทั้งผุ้อ่านทั่วไปและผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม
    - หนังสือพิมพ์และนิตยสารมีความแตกต่างในด้านวัตถุประสงค์การนำเสนอ เนื้อหา รูปแบบและขนาด ระยะเวลาเผยแพร่และจำหน่าย วัสดุที่ใช้ในการผลิต และผู้อ่าน

    10.2 ภาษาที่ใช้ในหนังสือพิมพ์

    - ภาษาข่าวหนังสือพิมพ์เป็นภาษากึ่งทางการ มุ่งสื่อสารกับผู้อ่านหลากหลายระดับเป็นสำคัญจึงไม่เคร่งครัดด้านไวยากรณ์ อาจมีรูปประโยคที่ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในพาดหัวข่าว และไม่ใช้ภาษาเชิงวิพากวิจารณ์
    - การใช้ภาษาบทความในหนังสือพิมพ์จะแตกต่างกันตามลักษณะและวัตถุประสงค์ บทบรรณาธิการสะท้อนความคิดเห็นและนโยบายของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ จึงใช้ภาษาที่เป็นทางการและมีแบบแผนมากกว่าบทวิเคราะห์หรือบทวิจารณ์ที่ผุ้เขียนมีอิสระในการเสนอความคิดเห็นได้หลากหลายรูปแบบและลีลา โดยไม่ต้องสอดคล้องกับนโยบายหรือความคิดเห็นของกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ก็ได้
    - สารคดีเป็นงานเขียนที่ประกอบด้วยความรุ้เป็นหลักและความคิดเห็นเป็นส่วนประกอบ การใช้สำนวนโวหารมีทั้งการอธิบาย บรรยาย และพรรณนา ระดับการใช้ภาษาเป็นแบบกึ่งทางการไปจนถึงภาษาสนทนา แต่ไม่ใช้คำสแลง ภาษาหวือหวา วิเคราะห์ วิจารณ์เชิงตำหนิอย่างรุนแรง หรือสำนวนภาษาแบบเสียดสีประชดประชัน

    10.3 ภาษานิตยสาร

    - ข่าวในนิตยสารเป็นข่าวสั้นหรือข่าวย่อย ทำให้โครงสร้างข่าวในนิตยสารมีเพียงพาดหัวข่าวและเนื้อข่าว ภาษาที่ใข้เป็นรูปประโยคสมบูรณ์ โดยเป็นประโยคสั้น กระชับ ชัดเจน ใช้ภาษากึ่งแบบแผน แต่ไม่ใช่ภาษาสนทนาหรือคำสแลง
    - ภาษาในบทบรรณาธิการนิตยสารมีความขึงขัง จริงจังน้อยกว่าในบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ผู้เขียนมีอิสระในการใช้ภาษามาก สามารถใช้ภาษาสนทนากับผู้อ่านโดยตรง คล้ายการใช้ภาษาในบทวิเคราะห์และบทวิจารย์ แต่ต้องมีเนื้อหาที่สะท้อนจุดยืนและสอดคล้องกับนโยบายของนิตยสารเป็นสำคัญ
    - สารคดีในนิตยสารมีความหลากหลายมากกว่าสารคดีในหนังสือพิมพ์ การใช้ภาษาจึงมีรูปแบบและลีลาที่หลากหลายและมีสีสันแตกต่างกันไปตามเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ โดยใช้ภาษาในระดับกึ่งทางการและภาษาสนทนา และมีสำนวนโวหารทั้งบรรยาย อธิบายและพรรณนาความให้เห็นภาพพจน์

    10.4 ภาษาภาพในหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

    - ภาพในหนังสือพิมพ์และนิตยสารประกอบด้วยภาพข่าวและภาพประกอบดนื้อหา ภาพข่าวใช้รายงานข่าว ส่วนภาพประกอบเนื้อหามีหลายประเภท ภาพช่วยเพิ่มสาระให้เนื้อหา เพิ่มความกระจ่างชัดเจน ความน่าสนใจ ความสวยงาม ช่วยออกแบบและจัดหน้า และช่วยเพิ่มความทรงจำให้ผู้อ่าน
    - การใช้ภาพในหนังสือพิมพ์ และนิตยสารจะก่อให้เกิดประโยชน์และบรรลุวัตถุประสงค์การใช้ได้นั้น ต้องใช้ภาพที่มีคุณค่าทางเนื้อหา ส่วนประกอบ ความสมดุล น้ำหนักสีของภาพ การจัดส่วนภาพ ขนาดและตำแหน่งของภาพ และคำบรรยายภาพ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Sep 15, 2009 3:39 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 11 ภาษาวิทยุกระจายเสียง

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Sep 13, 2009 11:48 am

    หน่วยที่ 11 ภาษาวิทยุกระจายเสียง

    แนวคิด
    1.บทวิยุกระจายเสียงเปรียบเสมือนเข็มทิศ เพื่อชี้ทางให้ผู้ร่วมงานการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียงรู้ว่าจะเดินไปทิศทางใด เดินอย่างไร ในลักษณะใด เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางเดียวกันอย่างมัระบบ ไม่หลงทาง ความสำคัญของการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงอยู่ที่การใช้ภาษาที่สื่อความหมายได้อย่างถูกต้องชัดเจน เหมาะสมกับรูปแบบของรายการ และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด นอกจากนั้นภาษาที่ใช้ในบทวิทยุกระจายเสียงที่ดี ควรเป็นภาษาที่ทำให้ผุ้ฟังฟังแล้วเกิดภาพตามไปเหมือนเห็นได้ด้วยตาตนเอง
    2.วิทยุกระจายเสียงเป็นสื่อมวลชนที่ใช้เสียงในการสื่อความหมาย การอ่านบทวิทยุกระจายเสียงจะต้องคำนึงถึงหลักการอ่านพื้นฐานที่ถูกต้องตามอักขรวิธี จังหวะ วรรคตอน อ่านได้ใจความ เข้าใจง่าย ใช้น้ำเสียงและลีลาการอ่านเหมาะสมกับรูปแบบของรายการ เป็นธรรมชาติมากที่สุด ผุ้ที่ทำหน้าที่อ่านทางวิทยุกระจายเสียง ได้แก่ ผุ้ประกาศ ผู้อ่านข่าว ผุ้อ่านบทความและสารคดี
    3.รายการวิทยุกระจายเสียงเป็นรายการที่ใช้เสียงพูดเป็นส่วนใหญ่ การพูดมีทั้งพูดตามบทที่ผู้อื่นเขียนบทให้และการพูดตามแนวคิดของตนเอง ไม่ว่าจะพูดในลักษณะใด ผู้พูดทางวิทยุกระจายเสียงที่ดีจะต้องพูดให้เป็นธรรมชาติ ชัดถ้อยชัดคำ สร้างอารมณ์ความรู้สึกให้แก่ผุ้ฟังได้สอดคล้อง เหมาะสมกับรูปแบบและประเภทของรายการ ผู้ที่ทำหน้าที่พูดทางวิทยุกระจายเสียงได้แก่ ผู้ดำเนินรายการ พิธีกี ผู้อภิปราย ผู้สัมภาษณ์ และผู้แสดง

    11.1 การเขียนบทวิยุกระจายเสียง
    - รายการวิทยุกระจายเสียงแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆตามหน้าที่ของสื่อมวลชนได้ 3 ประเภท คือ รายการประเภทข่าวสาร ความรู้และบันเทิง ส่วนรูปแบบของรายการวิทยุกระจายเสียงสามารถจำแนกเป็นรูปแบบต่างๆตามความนิยมได้ 13 รูปแบบคือ รายการพูดคุยกับผุ้ฟังโดยตรง สนทนา อภิปราย สัมภาษณ์ สารคดี นิตยสาร ข่าว บรรยายถ่ายทอดเหตุการณื ถามปัญหา ละครวิทยุ สาระละครและปกิญกะ
    - รายการประเภทข่าวสารสามารถนำเสนอได้ทั้งรูปแบบการอ่านข่าว และการรายงานข่าว การวิเคราะห์และวิจารณ์ข่าว การเขียนข่าวทางวิทยุกระจายเสียงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ฟังรู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม และอย่างไร ภาษาที่ใช้ในการเขียนบทรายการประเภทข่าวสารจึงต้องมีความถูกต้อง ชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย เหมาะแก่การรับฟังมากที่สุด
    - การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความรู้ได้นั้น ผู้เขียนบทต้องรู้จักใช้ภาษาที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับเนื้อหาของรายการ โดยต้องคำนึงว่าผู้ฟังมีหลายระดับ หลายประเภท มีภูมิหลัง และความสนใจแตกต่างกัน
    - รายการประเภทบันเทิงเป้นรายการที่มุ่งให้ผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลินชวนติดตาม การใช้ภาษาในรายการบันเทิงจึงต้องพิจารณาถ้อยคำให้สอดคล้องกับรุปแบบ เนื้อหา และกรอบแห่งประสบการณ์ของผู้ฟังให้เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามและเพลิดเพลินไปด้วย

    11.2 การอ่านทางวิทยุกระจายเสียง

    - ผู้ที่อ่านออกเสียงทางวิทยุกระจายเสียง จะต้องเข้าใจหลักการอ่านภาษาไทยเป็นอย่างดีและอ่านได้ถูกต้องตามอักขรวิธี
    - ทุกคำที่เปล่งเสียงจะต้องถูกต้องตามหลักการอ่าน การอ่านควรมีลีลาที่น่าฟังใช้ระดับเสียงที่พอเหมาะ เว้นวรรคตอนได้ถูกต้อง รวมทั้งคำนึงถึงอัตาเร็วในการอ่านให้เหมาะสมด้วย
    - ผู้ประกาศทางวิทยุกระจายเสียงเปรียบได้กับ ครูภาษา ของผู้ฟัง เพราะฉะนั้นต้องอ่านออกเสียงทุกคำอย่างถูกต้องตามหลักการออกเสียง
    - การอ่านข่าว บทความ และสารคดีทางวิยุกระจายเสียง มีจุดประสงค์เพื่อให้สาระและความรู้ที่เป้นประโยชน์ต่อผู้ฟังเป็นสำคัญ ดังนั้น การอ่านจึงต้องมีความชัดเจน ถูกต้อง เร้าความสนใจและชวนให้ติดตามตลอดเวลา

    11.3 การพูดทางวิทยุกระจายเสียง
    - วิทยุกระจายเสียงเป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้พูดทางวิทยุกระจายเสียงเป็นฝ่ายส่งสารโดยมองไม่เห็นหน้าผู้รับ ดังนั้นการพูดทางวิทยุกระจายเสียงจึงต้องพูดให้เป้นธรรมชาติ เหมือนกับพูดอยู่ต่อหน้าผู้รับ และสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง เพื่อผู้ฟังจะได้สนใจ มีความรู้สึเป็นกันเอง
    - ผู้ดำเนินรายการและพิธีกรมีหน้าที่คล้ายคลึงกันคือลำดับรายการให้เป็นไปตามแผนที่วางล่วงหน้าโดยพูดแนะนำผู้ร่วมรายการ รวมทั้งดำเนินรายการให้น่าสนใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ การดำเนินรายการส่วนมากเป็นการพูดโดยไม่มีบท หรือพูดตามบทที่เป็นโครงร่างของรายการเท่านั้น
    - การสนทนาทางวิทยุกระจายเสียง หมายรวมไปถึงการพูดคุยในรูปแบบการสัมภาษณ์และการอภิปรายด้วย เป็นการใช้ศิลปการพูดทางวิทยุกระจายเสียงในหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่อง เพื่อให้ผู้รับฟังได้ทั้งความรู้และความสนุกบันเทิงใจด้วย
    - การแสดงทางวิทยุกระจายเสียง เป็นรูปแบบการให้ความบันเทิงที่มีจุดประสงค์ เพื่อให้ผู้รับฟังได้รับความเพลิดเพลินเป้นสำคัญ ดังนั้น ภาษาที่ใช้สำหรับการแสดงทางวิมฃทยุกระจายเสียง จึงต้องมุ่งเสนอให้สอดคล้องกับอารมณ์ของเรื่องที่แสดงให้มากที่สุด


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Sep 15, 2009 8:06 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 12 ภาษาภาพยนต์และโทรทัศน์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Sep 13, 2009 11:48 am

    หน่วยที่ 12 ภาษาภาพยนต์และโทรทัศน์

    แนวคิด

    1.วิชาภาพยนต์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่รวมเอาศิลปะด้านต่างๆคือทัศนศิลป์ นาฏศิลป์ สถาปัตยศิลป์ วรรณศิลป์ และคีตศิลป์ สานทอเข้าด้วยกันให้เป็นสื่อแห่งศิลปะภาพเคลื่อนไหว เพื่อสื่อความด้วยภาพ แสง สี และเสียง
    2.วิชาโทรทัศน์เป็นศาสตร์แห่งศิลป์แขนงใหม่ที่แตกกิ่งไปจากศาสตร์และศิลป์ภาพยนตื
    3.วิชาภาพยนต์และโทรทัศน์เป็นทัศนศิลป์ที่สื่อความด้วยภาพ แสง สี เสียง มุมกล้อง และการเคลื่อนไหว

    12.1 ธรรมชาติของภาพยนต์ และโทรทัศน์

    - ภาพยนต์เป็นทัศนศิลป์ที่รวมศิลปะทุกแขนงต่างๆเข้าไว้ด้วยกันในรูปแบบของภาพเคลื่อนไหว
    - ภาพยนต์มีหลายประเภทตามรูปแบบที่นำเสนอ ตั้งแต่ประเภท ประวัติศาสตร์ จนถึงภาพยนต์แนวจินตนาการวิทยาศาสตร์
    - รายการโทรทัศน์มีหลายประเภทตามแนวภาพยนต์ และพัฒนาเพิ่มเติมจากภาพยนต์อีกอย่างไม่มีข้อจำกัด

    12.2 ภาษาภาพในภาพยนต์และโทรทัศน์

    - ผู้ดูภาพยนต์และโทรทัศน์มองเห็นภาพที่แสดงเรื่องราวต่างๆได้จากการกำหนดมุมกล้องของผุ้กำกับและผุ้ถ่ายภาพยนต์และโทรทัศน์คล้ายๆกับใช้กล้องพาผู้ดูไปดูภาพเหตุการณ์ในมุมและในจุดที่เหมาะสม
    - -ขนาดต่างๆของภาพในภาพยนต์และโทรทัศน์สื่อความหมายและให้ความรู้รู้ต่อเหตุการณ์ที่ปรากฏในภาพยนต์และโทรทัศน์ต่างกัน
    มุมกล้องมี 3 มุม มุมกล้องออบเจกทิฟ เห็นภาพโดยตรงผ่านเลนส์กล้อง มุมซับเจกทีฟ ถ่ายจากตำแหน่งผู้แสดง มุมพ้อยต์ออฟวิว ให้ผู้ดูเห็นภาพจากสายตาของผู้แสดงอีกที เปิดภาพด้วยผู้แดสงจากนั้นผู้แสดงมองออกนอกจอที่เรียกว่ามองโอเอส แล้วตัดไปยังภาพที่ผู้แสดงมองเห็น
    ขนาดภาพ หมายถึงบริเวณของภาพที่ถ่าย ขนาดภาพเรียกว่าชอต ภาพที่ถ่ายไกลมากเรียกว่า เอกซทรีม ลอง ชอต สถานที่ที่เรื่องราวนั้นๆเกิดขึ้นเรียกว่าโลเคชั่น หรือเซตติ้ง
    ภาพถ่ายไกล –ลองชอต ภาพถ่ายปานกลาง เรียกว่ามีเดียชอต ภาพใกล้ เรียกว่า โคลสอัพ ภาพใกล้มากเรียกว่า เอกซ์ทรีม โคลสอัพ

    12.3 ภาษาเสียงในภาพยนต์และโทรทัศน์
    - เสียงในภาพยนต์และโทรทัศน์แบ่งเป็นเสียงพูด เสียงบรรยาย เสียงพิเศษ เสียงดนตรี และเสียงเงียบ
    - เสียงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่ง ถ้าใช้เหมาะสมและถูกต้องจะทำให้ภาพยนต์และโทรทัศน์มีความสมจริง
    - การใช้เสียงประกอบในภาพยนต์และโทรทัศน์ มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันตามลักษณะของเนื้อเรื่องและศิลปะของแต่ละสื่อ

    12.4 ภาษาแสงและสีในภาพยนต์และโทรทัศน์

    - แสงมีแหล่งกำเนิดจากธรรมชาติและแสงประดิษฐ์ ลักษณะธรรมชาติของแสงเดินเป็นเส้นตรง มีความเข้มที่จุดกำเนิดแสง และเป็นศูนย์รวมของสี ได้แก่ โทนสี ค่าของสี สีสัน เฉดสี พื้นผิด และวรรณะสี
    - แสงสำคัญต่อการถ่ายภาพยนต์และโทรทัศน์ เพราะช่วยให้ถ่ายภาพได้ รวมทั้งช่วยสร้างอารมณ์ความรู้สึก และความต่อเนื่องในภาพยนต์และโทรทัศน์ การให้แสงในการถ่ายภาพยนต์และโทรทัศน์ต้องคำนึงถึงความเข้มของแสง ทิศทางของแสงและการกระจายของแสง
    - การใช้สีในภาพยนต์และโทรทัศน์เกี่ยวกับการใช้แสงอย่างมาก เพราะการที่เราเห็นสีได้นั้นต้องให้แสงสว่างพอควร การใช้สีภาพยนต์และโทรทัศน์มีสองลักษณะ คือการให้สีฉาก และการใช้สีเครื่องแต่งกายของผุ้แสดง
    ความเข้มของแสงมี2 คำคือ ไฮคีย์ หมายถึง การให้แสงที่ให้ความสว่างเท่าๆกันทั่วบริเวณฉาก ไม่ให้มีเงา สดชื่น สดใส
    โลว์คีย์ หมายถึง การให้แสงน้อย ให้เงามาก รู้สึกเศร้า อ้างว้าง เหงา
    ภาษการให้แสงโทรทัศน์มี 2 คำเช่นกัน ฮาร์ดไลท์ หมายถึงแสงส่องสว่างจ้าที่ส่องตรงไปยังบุคคลหรือสิ่งของที่ถูกถ่าย มุ่งให้เห็นความละเอียด ความหยาบ
    ซอฟต์ไลท์ หมายถึง การให้แสงที่นุ่มนวล แสงกระจายทั่วฉากเท่าๆกัน
    ความหมายของสี
    สีขาว บริสุทธิ์ สะอาด ความดี ยุติธรรม
    สีดำ ชั่วร้าย เงียบเหงา เจ้าเล่
    สีแดง โลหิตและชีวิต ความรัก ตื่นเต้น เร่าร้อน อันตราย
    สีเหลือง แห่งอำนาจ ฉลาด ร่าเริง อบอุ่น บางครั้งหมายถึงหวาดกลัว
    สีเขียว มีชีวิต ชีวา ความหวัง
    สีน้ำเงิน ความสุข ความหวัง ความจริง เกียติยศ ความสงบ บางรั้งหมายถึงเศร้า ห่างเหิน



    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Sep 17, 2009 1:09 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 13 ภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Sep 13, 2009 11:49 am

    หน่วยที่ 13 ภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
    แนวคิด
    1.ภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม จึงมีเป้าหมายที่คำนึงถึงกระบวนการรับรู้รับสารเป้าหมาย และการสร้างประสิทธิผลให้แก่ภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
    2.การใช้ภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์จะบรรลุเป้าหมายได้นั้นต้องมีการสร้างความหมายจากวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร วิธีการสร้างความหมายด้วยการเลือกใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาให้กับองค์ประกอบหลัก ได้แก่ พาดหัว ข้อความอธิบาย ข้อความสนับสนุนตอนท้าย และคำขวัญ

    13.1 ความหมายและเป้าหมายของการใช้ภาษโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

    - การโฆษณาและการประชาสัมพันธ์มีความหมายเหมือนกันในเชิงการสื่อสาร เพื่อทำหน้าที่เร้าให้กลุ่มผู้รับเป้าหมายเกิดการกำหนดรู้ความหมายร่วมกัน และเปลี่ยนทัศนคติสู่การยอมรับและกระทำตามได้เป็นสำคัญ
    - เป้าหมายของการใช้ภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เกิดจากกระบวนการรับรู้สารของกลุ่มผู้รับสาร
    เป้าหมาย และการสร้างประสิทธิผลให้แก่ภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
    การโฆษณา หมายถึง ระบบหรือวิธีการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจและให้ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า บริการและความคิดโดยระบุชื่อสินค้าและบรการผ่านสื่อมวลชนประเภทต่างๆซึ่งผู้โฆษณาจะต้องจ่ายค่าโฆษณานั้นๆ
    การประชาสัมพันธ์ หมายถึง กิจกรรมที่ปฎิบัติอย่างต่อเนื่องตามแผนที่ได้วางไว้เพื่อเสริมสร้างความเชื่อถือศรัทธาในบุคคลและสถาบัน การประชาสัมพันธ์อาจแบ่งเป็นหลายประเภทเช่น การประชาสัมพันธ์โรงเรียน การประชาสัมพันธ์สำหรับโรงพยาบาล ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ประการคือ การค้นคว้าข้อมูล การวางแผน การสื่อสาร การติดตามประเมินผล

    13.2 การใช้ภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

    - การสร้างความหมายต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ของการสื่อสารว่าต้องการสื่อสารด้วยสาระ และเลือกใช้วิธีการสื่อสารโดยการกำหนดลีลา อารมณ์ และจุดเว้าวอนให้กลุ่มผู้รับสารเป้าหมายสามารถเชื่อต่อโยงความรู้สึกนึกคิดและการกระทำไปยังตราสินค้าและองค์การได้
    - วิธีการสร้างความหมายในภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ได้ใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษามา
    ช่วยเสริมสนับสนุนกันและกัน เพื่อช่วยให้กลุ่มผู้รับสารเป้าหมายเกิดการจดจำได้ ผ่านองค์ประกอบหลักได้แก่ พาดหัว ข้อความอธิบาย ข้อความสนับสุนนตอนท้าย และคำขวัญ
    - พาดหัวในภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์มีหน้าที่หลักเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค สร้างความสนใจในจุดขาย ดึงดูดให้ติดตาม สรุปสาระสำคัญของการขาย ระบุว่าเป็นสินค้าหรือบริการ เสนอผลประโยชน์ และจัดแบ่งกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ซึ่งมีวิธีการใช้ภาษาในพาดหัวหลากหลายตามประเภทของพาดหัว
    - ข้อความอธิบายมีหน้าที่เชื่อมต่อสนับสนุนพาดหัว ระบุและให้รายละเอียด มุ่งตอบสนองจุดขายและประเด็นหลัก และเข้าถึงจิตใจกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ส่วนข้อความสนับสนุนตอนท้ายมีหน้าที่สรุปให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายจดจำผลประโยขน์ของสินค้าและการประชาสัมพันธ์ก่อนจบการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ ภาษาที่ใช้จึงแตกต่างกันตามหน้าที่ข้างต้น
    - คำขวัญมีหน้าที่สร้างการจดจำ ย้ำเตือน และสะดุดตาสะดุดใจ มีหลักการสำคัญการใช้ภาษาของคำขวัญ คือ ต้องสั้น กระชับ กะทัดรัดชัดเจน ได้ใจความ ง่ายต่อการเข้าใจและจดจำ มีใจความหลักเพียงประเด็นเดียว และมีชื่อตราสินค้าอยู่คู่คำขวัญ
    การใช้ภาษาในการพาดหัวโฆษณา
    1.พาดหัวแบบเน้นประโยชน์
    2.พาดหัวแบบใช้พยานบุคคล พวกดารามีชื่อ
    3.พาดหัวแบบข่าว
    4.พาดหัวแบบเจาะกลุ่มผุ้บริโภคเป้าหมาย – พลาดไม่ได้ สำหรับผุ้นำทางความคิด
    5.พาดหัวแบบคำสั่ง – อย่าพลาด อย่าลืม
    6.พาดหัวแบบคำถาม – รู้ไหม ? ความชุ่มชื้นจำเป็นต่อเส้นผม
    7.พาดหัวแบบแสดงความคิดที่แปลกใหม่ – ที่ฮิตาชิ …เราผลิตตู้เย็นจากฟัน
    8.พาดหัวแบบกระตุ้นความอยากรู้อยากเห้น – ถ้าคุณต้องลำบากขนาดนี้
    9.พาดหัวแบบเน้นอารมณ์ – เสียงอะไรน่ะ
    10.พาดหัวแบบใช้ถ้อยคำ – เลือกได้เหมาะ ก็ได้เปรียบ เรื่องความสวย
    11.พาดหัวแบบใช้ภาพ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Sep 17, 2009 1:37 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 14 ภาษาในคอมพิวเตอร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Sep 13, 2009 11:50 am

    หน่วยที่ 14 ภาษาในคอมพิวเตอร์

    แนวคิด

    1.คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งของมนุษยืในปัจจุบัน ช่วยให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากขึ้น หน่วยงานจึงต้องสนใจประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เป้นประโยชน์มากที่สุด
    2.โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสื่อสารประกอบด้วยโปรแกรมบันทึกข่าวสารลงบนสื่อบันทึกเพื่อส่งไปให้ผู้รับ โปรแกรมอีเมล์ โปรแกรมนำเสนอ โปรแกรมโต้ตอบผ่านระบบคุยสด และโปรแกรมสำหรับพูดโต้ตอบผ่านระบบอินเตอร์เนต
    3.ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารงานคอมพิวเตอร์ใช้ในงานประมวลผลและงานระบบสารสนเทศน์ การเรียนการสอน งานประชาสัมพันธ์และโฆษณา และงานอื่นๆมีลักษณะจำกัดไม่ยืดหยุ่น ใช้ภาษาโต้ตอบแบบง่ายๆ
    มี 3 รูปแบบคือ การอธิบายทางเดียว การโต้ตอบ และการออกคำสั่งแก่คอมพิวเตอร์
    4.การประยุกต์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบอินเทอร์เนต คือ เวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งเป็นเครือข่ายสำหรับให้ข่าวสารแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง การประยุกต์ระบบเวิลด์ไวด์เวปเพื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงาน โดยปกติทำได้โดยสร้างเว็ปไซต์ ซึ่งเป็นที่รวมของเว็บเพจและโฮมเพจ เว็บเพจเป็นเอกสารหลายมิติที่มีจุดเชื่อมโยงไปยังมิติอื่นในเว็บไซต์เดียวกันหรือต่างเว็บไซต์ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาพิเศษ เรียกว่า ภาษากำกับข้อความหลายมิติหือภาษา HTML
    5.สังคมอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ ได้แก่ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำหรับการพาณิชย์ ส่วนการใช้อินเทอร์เนตเป็นเครื่องมือให้บรการประชาชน จะเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

    14.1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์

    - ระบบคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบหลัก 6 อย่างคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร ระเบียบและคู่มือ และระบบสื่อสารโทรคมนาคม
    - การประยุกต์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญได้แก่ การประยุกต์ในด้านการคำนวณ การปฎิบัติการหลักของหน่วยงาน การบริหารจัดการ งานสำนักงาน ระบบอินเทอร์เนต การศึกษา และงานภาพกราฟฟิกและการประมวลภาพลักษณ์

    14.2 โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์

    - การใช้โปรแกรมสพฃำเร็จรูปในการสื่อสารมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น โปรแกรมเหล่านี้ประกอบด้วยโปรแกรมบันทึกข่าวสารลงบนสื่อบันทึกเพื่อส่งไปให้ผุ้รับ โปรแกรมอีเมล์ โปรแกรมนำเสนอเรื่องหรือคำบรรยาย โปรแกรมโต้ตอบผ่านระบบคุยสดและโปรแกรมสำหรับพูดโต้ตอบผ่านระบบอินเทอร์เนต
    - ระบบอินเทอร์เนต เป็นระบบที่ได้รับความสนใจจากคนทั่งโลกอย่างกว้างขวาง การประยุกต์ระบบอินเทอร์เนตส่วนมากคือการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ รองลงมาก็คือการประชาสัมพันธ์ผ่านระบบเวิลด์ไวด์เวบ การค้นหาข้อมูลข่าวสาร การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทางไกล

    14.3 ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารงานคอมพิวเตอร์

    - การใช้ภาษาในงานคอมพิวเตอร์ พบในงานประมวลผลและงานระบบสารสนเทศ การเรียนการสอน งานประชาสัมพันธ์และโฆษณาและงานอื่นๆ
    - การสื่อความในงานคอมพิวเตอร์มีลักษณะจำกัดและไม่ยืดหยุ่น ใช้ภาษาโต้ตอบแบบง่ายๆและใช้รูปแบบการสื่อความ 3 รูปแบบคือ การอธิบายทางเดียว การโต้ตอบ และการออกคำสั่งแก่คอมพิวเตอร์

    14.4 การสร้างสารในเวิลด์ไวด์เว็บ

    - การจัดทำเอกสารหลายมิตินั้นจำเป็นจะต้องใช้ภาษาพิเศษคือ ภาษากำกับข้อความหลายมิติ หรือภาษา HTML ภาษานี้ใช้ตัวกำกับข้อความและอักษรสำหรับกำหนดให้โปรแกรมเบราเซอร์แสดงข้อความในรูปแบบที่ต้องการได้
    - การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับการนำเสนอข้อมูลข่าวสารนั้น ประกอบไปด้วยการกหนดตัวบุคลากรให้ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลเว็บ กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดทำเว็บไซต์ และกลุ่มเป้าหมายที่จะจัดทำเว็บไซด์เพื่อให้มาเข้าชมเว็บ จัดเตรียมข้อมูลข่าวสารรุปแบบต่างๆที่ต้องการนำออกประชาสัมพันธ์เผยแพร่ ออกแบบเว็บเพจและโฮมเพจให้มีระบบเชื่อมโยงกันได้โดยตลอด จัดทำเว็บเพจแล้วนำบรรจุลงในเว็บไซต์ จดชื่อโดเมนสำหรับใช้เป็นชื่อเว็ปไซต์ ทดสอบเว็บไซต์ ปรับปรุงข้อมูลข่าวสารในเว็บไซต์ และประเมินเว็บไซต์ที่จัดทำขึ้นว่าใช้ได้ดีมีประสิทธิผลหรือไม่

    14.5 สังคมอิเล็กทรอนิกส์

    - การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือการใช้อินเทอร์เนตเป็นเครื่องมือสำหรับการพาณิชย์ ทั้งด้านโฆษณา ประชาสัมพันธ์ จำหน่ายสินค้า บริการ และติดต่อสื่อสารลูกค้า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีข้อดีหลายประการคือสามารถขายสินค้าและบริการทั่วโลก และสามารถขายและให้บริการได้ตลอดเวลาโดยไม่มีวันหยุด
    2.ปัจจุบันหน่วยงานและบริษัทของไทยมีความสนใจพัฒนาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการแก่ลูกค้ามากขึ้น แต่ยังมีปัญหาอยู่หลายประการ นั่นคือ ปัญหาเรื่องหารประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้ารู้จักเว็บไซต์ของผู้ขาย วัฒนธรรมการซื้อสินค้าของคนไทย ความเชื่อถือไว้วางใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
    3.รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์คือการใช้อินเทอร์เนตเป็นเครื่องมือให้บริการแก่ประชาชน ได้แก่ การจักบริการแบบเบ็ดเสร็จ การให้ข้อมูลข่าวสารสำคัญแก่ประชาชน การจัดทำช่องทางให้ประชาชนสอบถามรายละเอียดจากผู้บริหารภาครัฐ การแสดงความคิดเห็นและความต้องการ และการส่งเสริมให้เกิดสังคมความรู้
    - การดำเนินการด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการพัฒนา 4 ระดับด้วยกัน คือ การให้สารสนเทศ การมีปฏิสัมพันธ์ การให้บริการธุรกรรม และการเชื่อมโยงเครือข่าย



    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Sep 17, 2009 1:39 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty หน่วยที่ 15 หลักการแปล

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Sep 13, 2009 11:51 am

    หน่วยที่ 15 หลักการแปล
    แนวคิด
    1.การแปล คือ การถ่ายทอดข้อความจากภาษาหนึ่งโดยรักษารูปแบบ ความหมาย เนื้อหา สาระ และคุณค่าต่างๆไว้อย่างครบถ้วน เพื่อถ่ายทอดความรู้วิทยาการ ข่าวสาร วัฒนธรรม และพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งด้านสติปัญญาและอาชีพ
    2.หลักทั่วไปในการแปลควรดำเนินการตามขั้นตอน การใช้ภาษาที่สื่อความหมายกับผู้อ่าน โดยมีการตรวจสอบคุณภาพงานแปลให้ถูกต้อง และมีจรรยาบรรที่ซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อต้นฉบับ และเคารพสิทธิทางปัญญาของเจ้าของต้นฉบับ
    3.การแปลเนื้อหาเฉพาะด้านสื่อมวลชนแตกต่างกันตามประเภทของเนื้อหา การแปลข่าวต้องรวดเร็วถูกต้อง เชื่อถือได้ การแปลสารคดีต้องวิเคราะห์ประเภทของสารคดี ผู้อ่านและการใช้ภาษา การแปลบทความเบ็ตเตล็ดต้องมีความรู้ด้านศัพท์ในเนื้อหานั้นๆส่วนการแปลโฆษณาต้องใช้ภาษาเฉพาะ ทำให้การแปลมีข้อจำกัด
    4.การแปลบันเทิงคดีมีทั้งนวนิยายและเรื่องสั้น นิยาย นิทาน เรื่องเล่า และการ์ตูน รวมทั้งการแปลบทละครและบทภาพยนต์ การแปลนวนิยายและเรื่องสั้นนั้นต้องใช้ศิลปะการใช้ภาษาที่ไพเราะ สละสลวย การแปลนิทาน นิยาย ใช้ภาษาแตกต่างจากภาษาในปัจจุบัน เพราะเป็นเรื่องที่เล่ามาแต่โบราณ ส่วนการแปลบทละครและบทภาพยนต์ประกอบด้วยบทสนทนาเป็นส่วนใหญ่ และถูกจำกัดด้วยท่าทางและการใช้คำพูดของผู้แสดง
    5.การแปลล่ามมี 3 ประเภท ล่ามต่อเนื่อง ล่ามฉับพลัน และล่ามกระซิบ ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คือฝึกทักษะการใช้ภาษา แล้วฝึกการแปลถ่ายทอดทันควันจากการอ่านและการฟัง ผู้เป็นล่ามต้องฟังเข้าใจ จำได้ และพูดออกมาได้ มีจรรยาบรรที่เคารพต้นฉบับและให้เกียรติเจ้าของต้นฉบับ

    15.1 ความหมาย ประวัติ และวัตถุประสงค์ของการแปล
    - การแปล คือ การถ่ายทอดข้อความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งโดยรักษาความหมาย เนื้อหาสาระและคุณค่าต่างๆไว้อย่างครบถ้วน การแปลมีขอบเขตครอบคลุมทุกวงการ ทั้งวงการอักษรศาสตร์ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ
    - จุดเริ่มต้นของการแปลอยู่ที่มนุษย์ต่างภาษาต้องการติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจกัน ทำสัญญาค้าขาย และเชชื่อมสัมพันธไมตรีกัน และต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมและศาสนา งานแปลมีพัฒนาการต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน
    ชาวยุโรปคนแรกๆเชื่อว่าเป็นชาวกรีก แปล มหากาพย์โอดิสวี ของโฮมเมอร์ เป็นภาษาละติน นักพูดชื่อซิเซโร ถือเป็นนักแปลรุ่นแรกๆ

    15.2 หลักทั่วไปในการแปล
    - การแปลควรดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ เริ่มด้วยการอ่านซ้ำๆ เพื่อวิเคราะห์ต้นฉบับด้านเนื้อหาสาระของเรื่อง จุดประสงค์ของการเขียน ภาษาที่ใช้ในต้นฉบับ วิเคราะห์ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ขั้นสุดท้ายคือกรเขียนบทแปลด้วยภาษาแปลที่เป้นธรรมชาติ
    - การใช้ภาษาในการแปลมีประเด็นที่สำคัญคือต้องสื่อความหมายได้ดีกับผู้อ่านบทแปล ดังนั้นภาษาที่ใช้เขียนบทแปลจึงต้องชัดเจน เหมาะสม สมเหตุสมผล และเป็นธรรมชาติ
    - การตรวจสอบคุณภาพของงานแปล ก่อนอื่นคือความถูกต้องเชื่อถือได้ครบถ้วน และไม่ขาดความสำคัญ ไม่ดัดแปลงบิดเบือน ต่อเติมหรือตัดทอน ต่อจากนั้นจะดูที่การใช้ภาษาแปลที่สละสลวย
    -นักแปลที่ดีจะมีการพัฒนาทางด้านการใช้ภาษาอย่างต่อเนื่อง และมีความรุ้รอบตัว ทันเหตุการณ์ ทันความเปลี่ยนแปลง จรรยาบรรณที่สำคัญของนักแปลคือความซื่อสัตย์ ซื่อตรงต่อต้นฉบับ และเคารพสิทธิทางปัญญาของเจ้าของต้นฉบับ

    15.3 การแปลเฉาพะด้านใรสื่อมวลชน
    - การแปลข่าวเป้นสิ่งจำเป็นในการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลที่ได้รับจากต่างประเทศ เป็นงานหลักของสื่อมวลชนทุกประเภท ข่าวมีจำนวนมากและหลากหลาย ดัวนั้นการทำงานแปลต้องอาศัยความรวดเร็ว ถูกต้อง เชื่อถือได้ ผุ้แปลต้องได้รับการฝึกฝนการแปลส่วนต่างๆของข่าว สามารถแปลข่าวประเภทต่างๆด้วยภาเฉพาะแบบของหนังสือพิมพืและสื่ออื่นๆที่เผยแพร่ข่าว
    - สารคดีในสื่อสารมวลชนมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีวิธีการเขียนและการใช้ภาษาแตกต่างกัน ประกอบด้วย ชื่อเฉพาะ
    ศัพท์ใหม่ สำนวนใหม่ ศัพท์เฉพาะวิชา และข้อคิดเห็นเชิงวิจารณ์ การแปลสารคดีจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ประเภทของสารคดี ผุ้อ่าน และการใช้ภาษษ
    - การแปลบทความเบ็ตเล็ดมีหลักการเช่นเดียวกันกับการแปลสารคดี สิ่งสำคัญในการแปลคือความรู้ด้านศัพท์ในเนื้อหาของบทความที่มีหลากหลายทั้งด้านสุขภาพ กีฬา อาหาร การท่องเที่ยว และคำแนะนำต่างๆ
    - โฆษณาสินค้าหรือกิจการในหน้าหหนังืสือพิมพ์มีหลากหลายรูปแบบและหลากหลายวัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ต้องการแนะนำและโน้มน้าวจิตใจลูกค้า ดังนั้นจึงมีการใช้ภาษาเฉพาะพิเศษซึ่งทำให้การแปลมีข้อจำกัด

    15.4 การแปลบังเทิงคดี
    - การแปลนวนิยายและเรื่องสั้นมีจุดมุ่งมุนเพื่อรักษารสบันเทิงและความหมายของต้นฉบับ ดังนั้นจึงต้องใช้ศิลปะของการใช้ภาษาแปลให้มีความไพเราะ สละสลวย นับตั้งแต่ชื่อเรื่อง บทสนธนา และบทบรรยาย
    -นิทาน นิยาย นิยายเป็นเรื่องเล่าที่มีมาแต่โบราณ ดังนั้นลักษณะภาษาจึงแปลกแตกต่างจากภาษาที่ใช้กันในปัจจุบัน ตัวละคนในนิทาน นิยายเป็นเทพเจ้า เทวดา สัตว์และอื่นๆที่มีพฤติกรรมคล้ายมนุษย์ การแปลบทสนทนาในนิทาน นิยาย จึงใช้หลักการเหมือนบทสนทนาในเรื่องสั้นหรือนวนิยาย การแปลการ์ตูนคำพูดต้องสั้น จำกัดอยู่ในกรอบคำพูด
    - การแปลบทละครและบทภาพยนตืประกอบด้วยบทสนทนาเป็นส่วนใหญ่ บทสนทนาของตัวละครจะยืดยาวกว่าในการ์ตูนและมีความเหมือนจริงมาก การแปลบทภาพยนต์ถูกทำกัดด้วยท่าทางของผู้แสดงและการใช้คำพูดของตัวละคร


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Oct 16, 2009 9:33 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Sep 13, 2009 1:01 pm

    1.การที่คนเราใช้ความคิดเพื่อสื่อสารกับตนเองและผู้อื่นไม่ว่าระดับตัวต่อตัว ระดับกลุ่ม ระดับสาธารณะสะท้อนหน้าที่การพาสารของภาษา
    2.ภาษาช่วยให้ผู้อ่านเรียนรู้ประสบการณ์และรับรู้จินตนาการของผู้เขียน ทำให้การเรียนรู้รวดเร็ว และหลากหลายสะท้อนหน้าที่ภาษารวบกาลเวลา
    3.การเรียนรู้ภาษาช่วยลดช่องว่างความแตกต่างทางวัฒนธรรม สะท้อนหน้าที่พาให้สมานฉันท์
    4.สื่อธรรมชาติ คลื่นแสงและคลื่นเสียง เช่น มนุษย์พูดจากัน ตบมือเรียกกัน กระแอมกระไอใส่กัน จ้องหน้ากัน
    5.ข้อเท็จริง ทรรศนะ หรือความรู้สึกเป็นองค์ประกอบของสารในกระบวนการสื่อสาร
    6.สิ่งที่อยู่แวดล้อมหรือกำกับอยู่โดยรอบกระบวนการสื่อสารและเป็นเครื่องช่วยกำหนดรุ้ความหมายหรือเกิดความเข้าใจที่ถูกแวดล้อมอยู่นั้นเรียกว่าบริบท
    7.ผู้รับสารที่ดีควรมีความไหวรู้สึก
    8.เพื่อนยาก ความกตัญญู สัตว์ 4 เท้า มนุษย์เลี้ยงไว้เฝ้าบ้าน สัตว์ขนปุยน่ารัก ความกตัญญูเป็นนามธรรมมากกว่าข้ออื่น
    9.การใช้ภาษา ลีลาสูงส่ง ตามแนวคิดของซิเซโรตรงกับลีลาภาษาลีลาเชิงวรรณศิลป์ร้อยกรองของแมรี่
    10.การคำนึงถึงระดับความยากง่ายของภาษาช่วยขจัดอุปสรรคการสื่อสาร
    11.ภาพยนต์ ถือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    12.ผู้ส่งสารที่ดีควรมีเจตนาแน่ชัดให้ผู้อื่นรับรู้ความประสงค์ตน
    13.สัตว์ 4 เท้า สัตว์ขนปุยน่ารัก สัตว์เลี้ยง สตว์ที่ใกล้ชิดมนุษย์ เพื่อนยาก สัตว์ขนปุยน่ารักเป็นรูปธรรมมากกว่าข้ออื่น
    14.ภาษาลีลาเชิงวรรณศิลป์ร้อยกรอง ตามแนวคิดของแมรี เป ตรงกับลีลาเย็นเยือกของมาร์ติน จูส
    1.สิ่งเร้ามีผลต่อการรับรู้ของบุคคล ความรู้สึกสัมผัสและอวัยวะสัมผัส การตีความและการรับรู้ของบุคคล กระบวนการทางจิตวิทยาในการเลือกรับข้อมูลข่าวสารคือองค์ประกอบของการรับรู้ของบุคคลไม่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ
    2.คุณลุงข้างบ้านอ่านหนังสือพิมพ์ติดตามข่าวการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จัดเป็นสิ่งเร้าภายใน
    3.ภาษาเพื่อการสื่อสารแบ่งออกเป็นวัจนภาษาและอวัจนภาษา
    การสัมผัสจัดเป็นภาษารูปแบบหนึ่ง
    ทุกสถานการณ์ในชีวิตปะจำวันล้วนเป็นภาษาที่สามารถสื่อความหมายได้ทั้งสิ้น
    เสียงโห่ร้องของพนักงานที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้างถือเป็นอวัจนภาษา
    ทุกข้อล้วนเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาษา
    4.นายสมพิศได้รับมอบหมายให้ทำรายงนเสนอต่อผู้บังคับบัญชาถึงปัญหาในท้องถิ่น และความต้องการของประชาชนนายสมพิศควรหลีกเลี่ยงการใช้คำในลักษณะใช้คำเชื่อมอย่างสละสลวยเพื่อให้ผู้อ่านตีความได้หลายแง่มุม
    5.ภาษานับเป็นสื่อกลางที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับมนุษในการสื่อสาร
    กระบวนการสร้างมโนมติ เกิดขึ้นจากขั้นตอนสำคัญคือ การจัดระเบียบข้อมูลจากประสาทสัมผัสทั้ง5 และเกิดกระบวนการแยกแยะและจัดประเภทข้อมูลข่าวสาร
    การมีความรู้ในภาษา นำไปสู่ความเข้าใจในความหมายของมโนมติที่ตรงกันระหว่างคู่สื่อสาร
    มโนมติเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดลักษณะนิสัยทางการสื่อสารในแต่ละบุคคล
    ทุกข้อล้วนสอดคล้องกับแนวคิดมโนมติ
    6.รายการการ์ตูนมีลักษณะเป็นรูปธรรมที่มีรายละเอียดไม่มาก เด็กพัฒนามโนมติได้ง่ายจึงมีผลกับการรับรู้ของเด็กๆอย่างมาก
    7.ผู้ใหญ่มีสภาพกรรับรู้ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและมโนมติที่กว้างขวางจึงมีความสามรถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารมากกว่าในวัยเด็กและวัยรุ่น
    8.ลักษะความแตกต่างของภาษาเพื่อการสื่อสารซึ่งมีผลจากปัจจัยด้านเพศ ได้แก่คำลงท้ายของประโยคที่พูด รูปแบบและองค์ประกอบของประโยค ระดับเสียง สรรพนามแทนระดับความมีอาวุโสของคู่สื่อสาร
    9.เทคนิคองค์ประกอบ 7 ประการของการสื่อสารที่สมฤทธิผลประกอบด้วย ความสมบูรณ์ครบถ้วน ความชัดเจน ความเป็นรูปธรรม ความถูกต้อง ความกะทัดรัด การพิจารณาไตร่ตรอง ความสุภาพ
    10.สิ่งเร้าที่มีผลต่อการรับรู้ของบุคคล ได้แก่ ความแปลกใหม่ สี ความเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลง ลักษณะทางสังคม
    11.ครูประจำชั้นมาถึงโรงเรียนเร็วกว่าปกติเพราะเป็นวันแรกของการเปิดเรียนถือเป็นสิ่งเร้าภายใน
    12.การเลือกเปิดรับข่าวสาร การเลือกสนใจข่าวสาร การเลือกรับรู้และเลือกตีความข่าวสาร การเลือกจดจำข่าวสารเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางจิตในการเลือกรับข้อมูลข่าวสาร
    13.สิ่งเร้าจากภาพยนต์ ได้แก่ การนำเสนอสารคดีเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนต์ บทภาพยนต์ ประวัติดารา กิจกรรมส่งเสริมการขายและโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
    14.ลักษณะเชิงรูปธรรมของภาษาเขียนที่ดีควรมีลักษณะเลือกใช้คำที่สั้นกระชับ ได้ใจความ ถาษาไม่ต้องเยิ่นเย้อ
    15.เด็กๆจะมีมโนมติที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม พัฒนาการทางภาษาของเด็กมักจะเกิดจากการรับรู้ที่ไม่สลับซับซ้อน การอบรมเลี้ยงดูมีผลต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิและอยู่ในครรภ์มารดา
    16.การอบรมเลี้ยงดูที่ถูกต้องในครอบครัวที่อบอุ่นย่อมส่งผลดีต่อพัฒนาการทางภาษา
    17.ลักษณะของการใช้ภาษาเพ่อให้ข่าวสารที่ดีควรมีความถูกต้อง เหมาะสมกับสถานการณ์ ใช้คำที่สร้างความประทับใจเลี่ยงการใช้คำแปลก
    1.อวัจนภาษา คือภาษาท่าทาง
    2.อวัจนภาษาฝึกฝนทักษะได้
    3.เสียงโทรศัพท์ในเวลากลางคืนตอนดึกเป็นภาษากาลเทศะ
    4.สัญลักษณ์ เป็นสิ่งแทนความหมายของอีกสิ่งหนึ่ง
    5.อวัจนภาษาเป็นสิ่งช่วยขยายความหมายของวัจนภาษา
    6.คำว่า รู้จักกาลเทศะ หมายถึงการใช้อวัจนภาษาตามสภาพการสื่อสารที่ถูกต้อง
    7.การใช้อวัจนภาษาอย่างมีประสิทธิภาพควรเรียนรู้และฝึกฝนอย่างจริงจัง
    8.การสั่นหน้าของชาวอินเดีย หมายถึงการตอบรับ
    9.สีที่ช่วยควบคุมความรู้สึกของผู้อื่นได้เป็นอย่างดีคือสีเหลือง
    10.ประโยชน์จากการศึกษาเรื่องอวัจนภาษาเป็นผู้ใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    11.น้ำเสียงมีความเกี่ยวข้องกับคำพูดในลักษณะเป็นสิ่งช่วยขยายความหมายของวัจนภาษา
    12.คำว่า พูดมีหางเสียง หมายความถึงการพูดด้วยเสียงสุภาพ
    13.การแลบลิ้นของชนเผ่าเมารีในออสเตรเลียหมายถึงต้อนรับ
    14.สีที่ช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์มากที่สุดคือสีแดง
    15.บุคคลิกภาพของคนเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคน
    16.วัจนภาษา หมายถึงภาษาพูดและภาษาเขียน
    17.การที่คนในแต่ละชาติมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่แตกต่างกันเป็นสาเหตุมากจากภูมิประเทศและดินฟ้าอากาศ
    18.อวัจนภาษาควบคุมได้
    19.symbol เป็นสัญลักษณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เป็นนามธรรมขึ้นอยู่กับประสบการณ์
    20.ถ้าไม่สามารถเข้าใจการสื่อสารแบบอวัจนภาษาจะทำให้ไม่สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    1.เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมแล้วเขาอยากไปอยู่ในรั้วสีชมพู เป็นประโยคที่มีความหมายโดยนัย
    2.พูดยังงี้ได้ยังไง เป็นการแปรคำ
    3.ท่าน (ทั่น) ออกเสียงไม่ตรงกับตัวเขียน
    4.จน จ +โ-ะ น มีสละลดรูป
    5.เห็น ห +เอะ+ น สระเปลี่ยนรูป
    6.ชอบม๊ากมาก ใช้รูปวรรณยุกต์ผิด
    7.มหาวิทยาลัย = มะ-หา-วิด-ทะ-ยา-ลัย เพราะเป็นภาษาที่ใช้ในพิธี
    8.ภาษาไทยมาตรฐานมีหน้าที่ เป็นภาษาราชการ ภาษาการศึกษา ภาษาวรรณกรรม ภาษาศาสนา ในสังคม
    9.การที่ผู้พูดภาษาถิ่นใช้คำภาษาไทยมาตรฐานแตออกเสียงวรรณยุกต์แบบภาษาถิ่นถือเป็นลักษณะของการลู่เข้าหากันของภาษา
    10.เขาเป็นพ่อค้าขายหมู ร้านค้าขายสุกรชำแหละ เป็นการแปรคำ
    11.น้ำ น้าม ออกเสียงไม่ตรงตามตัวเขียน
    12.คน ค+โ-ะ+น เป็นสระลดรูป
    13.เป็น ป+เอะ+น สระเปลี่ยนรูป
    14.ฉันชอบซีฟู๊ด ใช้รูปวรรณยุกต์ผิด
    15.พิจารณา = พิด-จา-ระ-นา เพราะเป็นภาษาที่ใช้ในพิธี
    16.ภาษากลาง คือ ภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาถิ่นอีสาน ภาษาลาว ภาษาอังกฤษ
    17.ในบรรดาภาษาต่างๆในประเทศไทยภาษาไทยมาตรฐานทำหน้าที่มากที่สุด
    1.การมีทัศนคติทีดี เปิดเผยและใจกว้างแสดงให้เห็นว่าเป็นพฤติกรรมการฟังด้วยการสะสมความรู้และประสบการณ์
    2.การจับประเด็นสารได้ตามลำดับ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องก่อนฟัง การฟังเข้าใจและใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ การใช้ความคิดพิจารณาสารในแง่มุมต่างๆถือเป้นทักษะการฟังที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ทำงานด้านสื่อสารมวลชน
    3.ผู้ประกาศข่าวรายงานข่าวที่เกิดขึ้นในขณะนั้นโดยแจ้งว่าเป็นรายงานจากผู้สื่อข่าวและรายงานจากสถานที่ใดแสดงว่ามีจริยธรรมในการพูดและการฟัง
    4.การรายงานปัญหาชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนแสดงให้เห็นบทบาทของการรับสารด้วยการฟังและการพูด
    มากที่สุด
    5.สำนวน บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น นำมาใช้เป็นข้อสรุปเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพด้านการควบคุมอารมณ์ความรู้สึก
    และการแสดงออก
    6.วิธีการสังเกตเป็นวิธีการที่นำมาใช้ได้สะดวก รวดเร็วเพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการ รับ – ส่ง สารด้วยการ
    พูด-การฟัง
    7.ผู้ที่ทำงานด้สนสื่อสารมวลชนต้องรายงานข่าวสารด้วยการพูดกับผู้รับสารที่มีประสบการณ์ ความรู้แตกต่างกัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการสื่อสารจะต้องระมัดระวังด้านการใช้ภาษา
    8.การคิดเป็นปัจจัยที่ทำให้การพูดแบบกะทันหันประสบความสำเร็จ
    9.กระบวนการพูดควรนำเสนอตามลำดับคือ การนำเสนอตัวเอง การนำเสนอเรื่องราว การนำเสนอสื่อ และการนำเสนอภาษา
    10.กลวิธีการฟังที่ดีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ทำงานด้านสื่อสารมวลชน คือ การจับประเด็นสารได้ตามลำดับ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องก่อนฟัง การฟังเข้าใจและใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์
    1.องค์ประกอบของการเรียนรู้ที่สำคัญประกอบด้วย การฟัง การอ่าน การคิด การถาม และการเขียน
    2.แนวคิดเรื่องการอ่าน – การอ่านเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ความเข้าใจที่สำคัญยิ่ง และเป็นรากฐานของการเรียนรู้
    3.การอ่านสิ่งที่เห็น คือ การอ่านในสิ่งที่ผู้ต้องการบอกเล่าบันทึกไว้
    4.การเรียนหนังสื่อไทยสมัยโบราณต้องเรียน นะโม ก่อนเพื่อสวัสดิมงคลแก่ผู้เรียน
    5.เอช กราโบ คาร์ล ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับเรื่องสั้นว่า จะต้องมีโครงเรื่องง่ายๆไม่สลับซับซ้อน มุ่งที่เวลาและสถานที่แห่งการกระทำของตัวละคร พยายามเสนอสิ่งเหล่านี้ออกมาในรูปของวิกฤตการณ์
    เดียวของตัวละครเหล่านั้น
    6.นิยายเรื่อง ลูกอีสาน ของคำพูน บุญทวี จัดเป็นนวนิยายสีสันท้องถิ่น
    7.การเล่าเรื่องตามกลวิธีนำเสนอนวนิยายมี 5 ประเภท ได้แก่ ผู้เล่าเรื่อง บุคคลอื่น ผู้ประพันธ์ เสมือนมีตัวตน และผู้เล่าเรื่องแบบไม่แสดงทัศนะของตน
    8.การอาบน้ำในอวกาศ ถ้าอาบในลักษณะเดียวกับบนโลกมีผลให้จมน้ำตาย
    9.กุหลาบ สายประดิษฐ์ กล่าวว่า นักประพันธ์ มีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นพิเศษกว่าผู้ผลิตอื่นๆ
    ในขณะที่เก้าอี้และเสื้อไม่ทำให้ผู้ใช้กลายเป้นคนดีหรือคนชั่วไปได้แต่หนังสื่ออาจจะทำได้ข้อนี้แหละทำให้
    นักประพันธ์ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นพิเศษ
    10.การเขียนบทละครโทรทัศน์จากเรื่องสั้นหรือนวนิยายผู้เขียนจำเป็นต้องยึดถือเค้าโครงเรื่อง ลักษณะตัวละคร เหตุการณ์ และการดำเนินเรื่องตามที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้ เพราะเป็นการแสดงความเคารพต่อต้นฉบับที่นำมา
    1.ประเภทของภาษาสารคดี ได้แก่ วิชาการ ข่าวสาร การวิจารณ์ วิเคราะห์ข่าวต่างแดน
    2.*อย่าประมาท* มีลักษณะเป็นภาษาสารคดี
    3.สุนทรพจน์ของข้าพเจ้าจบลงเพียงนี้ เป็นประโยคภาษาสารคดีที่เป้นทางการ
    4.ภาษาบทบรรณาธิการหนังสื่อพิมพ์มักเป็นทางการและกึ่งทางการ
    5.การพูดบรรยายทางสื่อต้องใช้ภาษากึ่งสามัญ กึ่งทางการ เพราะผู้ฟังเป็นประชาชนทั่วไป
    6.ดูเธอสูงวัยขึ้น ผมแซมขาวประปราย เป็นข้อความที่แต่งให้ไพเราะเพื่อเป็นภาษาบันเทิงคดี
    7.เรื่องเศร้าเป็นความบันเทิงเพราะผ่อนคลายอารมณ์ได้ดี
    8.อากาศที่โน่นกำลังเย็นจัด อากาศเย็นลบ 5 องศา ความเย็นลดลงเหลือลบ 5 องศา อากาศที่โน่นติดลบถึง 5 องศาเลยทีเดียว ทั้งหมดนี้เป็นภาษาบันเทิงคดี
    9.ศักดิ์ศรีน่ะมักจะอยูกับคนหนุ่มอย่างคุณเท่านั้น นี่คือภาษาประชดประชัน
    10.ไหนคุณบอกว่าคุณรู้จักผู้อำนวยการไง ผมถามท่านแล้วท่านบอกว่าไม่รู้จักคุณเลย
    ก็ใช่น่ะซี ผมบอกว่าผมรู้จักท่านผู้อำนวยการ แต่ไม่ได้บอกว่าผู้อำนวยการรู้จักผมสักหน่อย
    เป็นประโยคสื่ออารมณ์ขันประเภทสร้างปมฉงนฉงาย
    1.ข้อเขียนประเภท ข่าว จัดอยู่ในงานเขียนประเภทรายงานข้อเท็จจริง
    2.เมื่ออ่านข่าวเราต้องทราบเรื่องตามลำดับความสำคัญ
    3.กายภาพของข่าวแบ่งเป็น 4 ส่วนค่ะ หัวข่าวเริ่มเรื่อง พาดหัวข่าวหลัก หัวข่าวรอง หละหัวข่าวต่อ
    4.ข่าวควรจะบอกว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไม อย่างไร
    5.หนังสือพิมพ์เป็นภาษาเขียนสไตล์ภาษาพูด
    6.ภาษาวิทยุกระจายเสียงเป็นภาษาพูดสไตล์ภาษาเขียน
    7.ภาษาวิทยุโทรทัศน์เป็นภาษาผูกทับระหว่างภาพกับเสียง
    8.เอกลักษณ์โดดเด่นของภาษาหนังสื่อพิมพ์ซึ่งเป็นประเภทสิ่งพิมพ์คือเน้นเรื่องการสื่อความหมายทาง
    จักษุประสาท
    9.เอกลักษณ์โดดเด่นของภาษาวิทยุกระจายเสียงซึ่งเป็นมวลชนประเภทอิเล็กทรอนิกส์คือเน้นเรื่องการสื่อ
    ความหมายทางโสตประสาทเป็นหลัก
    10.เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาษาวิทยุโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์คือเน้นการสื่อสารด้วยภาพประกอบเสียงเป็นหลัก
    11.ตามหลักสากลนิยมควรรายงานข่าวบอกเรื่องตามลำดับความสำคัญ
    12.ส่วนประกอบทางกายภาพของหนังสื่อพิมพ์ คือ พาดหัวข่าว ความนำ ส่วนเชื่อม และเนื้อเรื่อง
    13.ภาษาที่สอดสัมพันธ์กับกราฟิกเป็นภาษาข้อเขียนประเภทภาษาข่าววิทยุโทรทัศน์
    14.ข่าวที่เพิ่งจะเกิดขึ้นและได้รับรายงานครั้งแรกควรจะขึ้นต้นด้วยเกิดอะไร ที่ไหน เมื่อใด
    1.การเตรียมข้อมูลในการเขียนข่าวภาษาอังกฤษมีหลักคือเตรียมจากแหล่งข่าว
    2.หลักการเตรียมคำถามให้ตรงประเด็นในการสัมภาษณ์ควรยึดหลัก 5ดับบลิว 1 เอช
    3.คำว่า ทำการบ้าน ในงานสัมภาษณ์เพื่อหาข้อมูลเขียนข่าวคือการศึกษาภูมิหลังและข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับบุคคลและ
    เรื่องที่สัมภาษณ์
    4.คุณสมบัติข้อหนึ่งของนักนิเทศน์ศาสตร์คือ มีหูผี จมูกมด คือความอยากรู้อยากเห็น
    5.ถ้าจะทำข่าวการเมืองเกี่ยวกับการบรหารประเทศแหล่งข่าวสำคัญที่สุดคือทำเนียบรัฐบาล
    6.พีระมิดเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเขียนข่าวคือ นิยมใช้พีระมิดหัวกลับเอาฐานขึ้นเป็นกรอบในการเขียนข่าว
    7.โครงสร้างของข่าวภาษาอังกฤษคือ พาดหัวข่าว ความนำ เนื้อเรื่อง
    8.การใช้ประโยคพาดหัวข่าวภาษาอังกฤษที่ถูกต้องจะต้องลดกริยา เวิบ ทู บี หรือกริยาที่ไม่จำเป็น
    9.บทบรรณาธิการในการเขียนข่าวภาษาอังกฤษหมายถึง บทความที่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์หรือสื่ออื่นเขียนขึ้น
    แสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ในนามกองบรรณาธิการ
    1.ลักษณะเฉพาะของหนังสือพิมพ์คือเสนอรายงานเหตุการณ์ปัจจุบัน
    2.ลักษณะเฉพาะของนิตยสารคือเสนอเนื้อหาหลากหลายโดยออกเป็นวาระ
    3.การใช้ภาษาข่าวหนังสือพิมพ์ควรหลีกเลี่ยงภาษาเชิงวิจารณ์
    4.การใช้สรรพนามแทนตัวผู้เขียนว่า เรา เป้นการใช้ภาษาในงานเขียนบทยรรณาธิการหรังสือพิมพ์
    5.ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ภาษาพาดหัวข่าวคือ กฏหมาย พื้นที่ เวลา สำนวนโวหาร
    6.การเขียนวิจารณ์เชิงแดกดันเพื่อแสดงความหมายนัยประหวัดมากกว่านัยตรงเป็นการใช้ภาษแบบประชดประชันเสียดสี
    7.นิยมบรรยายสรุปประเด็นสำคัญของเรื่องเปิดเรื่องสารคดีเชิงข่าว
    8.ภาพข่าวเป็นการสื่อสารด้วยภาพ
    9.ภาพที่ใช้เป็นภาพประกอบได้คือ ภาพถ่าย ภาพวาด ลายเส้น ภาพเขียน
    10.ถ้าต้องการตัดรายละเอียดรอบองค์ประกอบหลักในภาพควรใช้วิธีจัดส่วนภาพ
    11.หนังสือพิมพ์มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากสื่ออื่นคือเป็นกระดาษซ้อนกันหลายแผ่นโดยไม่เย็บเล่ม
    12.นิตยสารมีลักษณะทางกายภาพคือราคาแพง รูปเล่มสวยงาม ใช้กระดาษเนื้อดี
    13.ส่วนประกอบโครงสร้างข่าว คือ พาดหัวข่าว ความนำ เนื้อเรื่อง
    14.บทบรรณาธิการนิตยสารใช้ภาษาในลักษณะแสดงความคิดเห็นอย่างมีพลัง ขึงขัง ชัดเจนและเป็นกลาง
    15.ภาษาแสดงภาพพจน์นิยมใช้ในสารคดีท่องเที่ยวและสารคดีประวัติศาสตร์
    16.ภาพข่าวบอกเรื่องราวในภาพได้
    17.การพยากรณ์อากาศในทางอุตุนิยมวิทยาใช้ภาพถ่ายกราฟิก
    18.การใช้คำบรรยายภาพช่วยให้การสื่อสารภาพสมบูรณ์ขึ้น
    1.ลักษณะเฉพาะของสื่อประเภทวิทยุกระจายเสียง คือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์สื่อสารถึงผู้รับแต่ละคนได้ไม่มี
    ขอบเขตจำกัด อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอากาศเป็นพาหะ และเป็นการสื่อสารทางเดียว
    2.รูปแบบรายการวิทยุกระจายเสียงที่เรียกว่า คอมเม้นทารี่ ออน เดอะ สปอต หมายถึงรายงานเหตุการณ์ ณ จุดเกิดเกตุ
    3.การเขียนข่าวทางวิทยุกระจายเสียงมีหลักการเขียนเพื่อฟังมากกว่าเขียนเพื่ออ่าน
    4.การเขียนบทวิทยุกระจายเสียงต้องเขียนให้ได้ใจความที่ชัดเจนที่สุดเพราะผู้ฟังไม่มีโอกาสย้อนกลับมาฟังได้อีก
    5.การเขียนบทวิยุกระจายเสียงเพื่อความบันเทิงมีจุดประสงค์สำคัญคือเพื่อพูดตามบทที่กำนดไว้อย่างเหมาะสม ดึงดูดใจผู้ฟังได้อย่างดี
    6. 21.15 อ่านว่า ยี่สิบเอ็ดจุดหนึ่งห้า
    7.13.00-16.30 น.อ่านว่า สิบสามนาฬิกาถึงสิบหกนาฬิกาสามสิบนาที
    8.ลีลาการอ่านข่าวที่ถูกต้องคืออ่านด้วยน้ำเสียงมั่นคง แสดงความเป็นกลางอย่างสม่ำเสมอ
    9.การพูดโดยไม่มีบทและไม่ได้ซักซ้อมมาก่อน เรียกว่า ad-lib
    10.การอ่านบทความทางวิทยุกระจายเสียงควรอ่านแบบเล่าเรื่องหรือเล่าเหตุการณ์เป็นภาษาพูด
    11.การสอบถามความคิดเห็นบุคคลทั่วไปโดยมิได้เตรียมมาก่อนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยใช้คำถามเดียวกันเรียกว่า
    VOX-POP
    12.101 อ่านว่าหนึ่งศูนย์หนึ่ง
    13.0.20 น. อ่านว่า อีก 40 นาทีจะหนึ่งนาฬิกา
    14.คุณสมบัติของผู้อ่านข่าววิทยุกระจายเสียง คือ อ่านช้า ชัดเจน เสียงดังฟังชัดอย่างสม่ำเสมอ
    1.ภาพยนต์เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ หมายความถึง ภาพยนต์เป็นศาสตร์ที่รวมศิลปะแขนงต่างๆ เช่นทัศนศิลป์ นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ เป็นต้น
    2.ที่กล่าวว่าภาพยนต์มีลักษณะเหมื่อนวนิยายเพราะภาพยนต์สามารถย่ยหรือขยายเวลา สถานที่ได้อย่างไม่จำกัด
    เช่นเดียวกับนวนิยาย
    3.การเสนอเนื้อหาในภาพยนต์ต่างจากการเสนอเนื้อหาในนวนิยายคือภาพยนต์สื่อสารโดยตรงกับผู้ชม ส่วนนวนิยายผู้อ่านต้องใช้จินตนาการ
    4.โทรทัศน์ต่างจากภาพยนต์ในด้านการนำเสนอเรื่องราว
    5.ภาพยนต์สืบสวนสอบสวบ อาชยากรรมลึกลับ จัดเป็นภาพยนต์บันเทิง
    6.มุมกล้องในภาพยนต์และดทรทัศน์ที่เรียกว่า มุมสูง หมายถึงผู้แสดงยืนอยู่ตำกว่าที่ตั้งกล้องถ่ายภาพยนต์และ
    โทรทัศน์
    7.ผลทางจิตวิทยาที่ได้จากภาพมุมสูงคือภาพที่มองเห็นนั้นมีความรู้สึกว่าสำคัญเป็นภาพที่พิเศษกว่าภาพอื่นๆ
    8.การเสนอเรื่องราวในภาพยนต์และโทรทัศน์นิยมเปิดภาพแรกด้วยภาพที่อยู่ไกลๆเพราะเป้นการแนะนำสถานที่
    เกิดเหตุและแนะนำสถานที่ใหม่เพื่อให้คนดูคุ้นเคย
    9.วรรณะของสีที่ใช้ในภาพยนต์และโทรทัศน์มี 2 วรรณะคือวรรณะร้อนและวรรณะเย็น สีใดดูแล้วให้ความ
    รู้สึกร้อนสีนั้นจัดอยู่ในวรรณะร้อน
    10.สีพื้นฐานเพื่อสื่อความหมายในภาพยนต์และโทรทัศน์คือสีขาวกับสีดำ
    11.สีขาวกับสีดำใช้ในภาพยนต์และโทรทัศน์เพื่อสื่อว่าสีดำเป็นฝ่ายอธรรมสีขาวเป็นฝ่ายธรรมะ
    1.แกนร่วมระหว่างการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์คือการสื่อสาร
    2.ผู้รับสารเกิดความเชื่อในสารโฆษณาถือเป็นการบรรลุการรับรู้ภาษาในประเด้นความรู้
    3.ประสิทธิผลของการใช้ภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์คือการจดจำ
    4.วิธีการสื่อสาร คือการกำหนดลีลา อารมณ์ และจุดเว้าวอนเพื่อสร้างความหมายในภาษาโฆษณาและ
    การประชาสัมพันธ์
    5.AIDA เป็นกรอบความคิดที่นิยมนำมาช่วยอธิบายองค์ประกอบหลักเพื่อสร้างความหมายในภาษาโฆษณาและ
    การประชาสัมพันธ์
    6.อีกระดับ…..สำหรับคนคอกาแฟ จัดเป็นพาดหัวในภาษาโฆษณาประเภทเจาะกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย
    7.แนวโน้มการใช้ภาษาในการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ในนิตยสารคือใช้ภาพเป็นหลัก ทำหน้าที่เป็น
    ทั้งพาดหัว ข้อความอธิบาย และข้อความสนับสนุนไปพร้อมๆกัน
    8.ข้อความสั้นๆที่ระบุถึงตำแหน่งครองใจในภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์เรียกว่าคำขวัญ
    10.คนรุ่นใหม่ ห่างไกลยาเสพติด เป็นการสร้างความหมายในภาษาการประชาสัมพันธ์โดยวิธีวัจนภาษา
    11.รูปทรงกรวยแห่งกระบวนการรับรู้ภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์อธิบายถึง เพื่อความชอบ ความพึงพอใจ ความจงรักภักดี
    12.เมื่อผู้รับสารสามารถอธิบายความคิด และระบุประเด็นสำคัญได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการโฆษณาและ
    การประชาสัมพันธ์ได้ดีถือว่าภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์มีประสิทธิผลด้านผลทางการสื่อสาร
    13.USP เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์การสร้างความหมายในภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์คือวิธีการสื่อสาร
    14.ใหม่..จากคาลพิโก้ ดื่มอร่อยได้โชค เป็นการใช้ภาษาโฆษณาแบบข่าว
    15.เพื่อให้เกิดพลังในการสร้างสรรค์ความหมายมักใช้บทกวี ภาษาต่างประเทศ ปรัชญา อารมณ์ขัน และประสบการณ์ชีวิตใช้ในการอธิบายประเภทเน้นความแปลกใหม่
    16.วิธีการสร้างความหมายในภาษาโฆษณาและการประชาสัมพันธ์คือการวิเคราะห์วัจนภาษาและอวัจนภาษา
    1.เพราะความสามารถบันทึกและประมวลผลข้อมูลทำให้คอมพิวเตอร์เป้นเครื่องมื่อสำหรับการบริหารใน
    ยุคปัจจุบัน
    2.ส่วนประกอบที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถคำนวนได้เร็วคือหน่วยประมวลผลกลาง
    3.ระบบอินเทอร์เนตมีประโยชน์ต่องานนิเทศน์ศาสตร์คือช่วยประชาสัมพันธ์องค์กร
    4.แฟ้มคือสื่อกลางสำหรับบันทึกงานในคอมพิวเตอร์
    5.การจัการแฟ้มเอกสารสัมพันธ์กับการสร้างแฟ้มภาพกราฟ
    6.ภาษาเดียวที่คอมพิวเตอร์รู้จักคือภาษาซี
    7.การใช้โปรแกรมเพื่อนำเสนอมีความสามารถในการสร้างแฟ้มเอกสาร
    8.โปรแกรมบทเรียนในปัจจุบันนิยมใช้สื่อประสม
    9.ภาษา Markup Language คือภาษาสำหรับสร้างเอกสารหลายมิติ
    10.เบราเซอร์คือโปรแกรมสำหรับค้นหาและแสดงเอกสารหลายมิติ
    11.องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ หน่วยประมวลผล รอม ข้อมูล ระบบปฏิบัติการ
    12.คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงกว่าเครื่องอื่นคือมีความเร็วในการทำงานมากกว่า
    13.แฟ้มเป็นตัวกลางสำหรับบันทึกงานต่างๆ
    14.โฮมเพจ หมายถึง ภาพและข้อความหน้าแรกที่ปรากฏเมื่อเปิดอ่านเอกสารหลายมิติทางเวิลด์ไวด์เวบ
    15.ภาษาแอสแซมบลีเป็นภาษาระดับสูง
    16.การกำหนดความต้องการของผู้ใช้เป็นขั้นตอนสำคญในการจัดทำงานประยุกต์คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับ
    การสื่อสาร
    17.ข้อแตกต่างระหว่างเอกสารหลายมิติกับเอกสารธรรมดาคือเอกสารหลายมิติเอื้ออำนวยให้ผุ้อ่านอ่านข้ามไป
    อ่านตอนอื่นๆได้โดยง่าย เอกสารธรรมดาทำไม่ได้
    1.การแปลคือการถ่ายทอดภาษา เนื้อหา และสาระ
    2.หลักทั่วไปในการแปลควนดำเนินตามขั้นตอนการแปล
    3.การอ่านต้นฉบับที่จะแปลหลายๆครั้งเพื่อวิเคราะห์ประเภทเนื้อหาและการใช้ภาษาของต้นฉบับ
    4.การเก้บใจความสำคัญของต้นฉบับก่อนลงมือแปลเพื่อทำให้การแปลถูกต้องและครบถ้วน
    5.เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิดการแปลสารคดีจึงไม่ใช้ถ้อยคำกำกวม
    6.การแปลโฆษณาในสื่อต้องรักษารูปแบบความหมายและเหมายของโฆษณาไว้
    7.We move the world - เราขนส่งตรงทุกที่ทั่วโลก
    8.คุณสมบัติของผู้สมัครงานที่ว่า Willigness to work on overseas assigments คือยินดีปฏิบัติหน้าที่ ณ ต่างประเทศ
    9.ข้อดีของการใช้ล่าวต่อเนื่องคือให้โอกาสผู้พูดใช้ความคิดไตร่ตรองขณะล่ามแปล
    10.การแปลแบบล่ามฉับพลันเหมาะกับการประชุมระดับนานาชาติ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Oct 22, 2009 3:04 am, ทั้งหมด 5 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty 0.0

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Fri Sep 18, 2009 11:37 pm

    ขี้เกียจแล้ววววววววววววววววววววววววว หน่วยที่15ไม่อ่านละ 0.0 เอาความขยันของชั้นคืนมา 0.0.0.0.


    โอ้ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยมัยเยอะอย่างงี้้ ขอบ่นคนเดียว ชาวนิเทศน์ไปไหนหมดนี่ 0.0 ขอกำลังใจหน่อยยยยยยย วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ 208455
    tweety
    tweety
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 969
    Join date : 19/08/2009
    : 53
    ที่อยู่ : 218/27 ม.5 ถ.สุขุมวิท ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง 21150

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty Re: วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ

    ตั้งหัวข้อ  tweety Sun Oct 25, 2009 9:24 pm

    dj.soda พิมพ์ว่า:ขี้เกียจแล้ววววววววววววววววววววววววว หน่วยที่15ไม่อ่านละ 0.0 เอาความขยันของชั้นคืนมา 0.0.0.0.


    โอ้ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยมัยเยอะอย่างงี้้ ขอบ่นคนเดียว ชาวนิเทศน์ไปไหนหมดนี่ 0.0 ขอกำลังใจหน่อยยยยยยย วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ 208455
    อิอิ เหนื่อยแทน เฮ้อ วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ 870922
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty Re: วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Oct 25, 2009 9:26 pm

    tweety พิมพ์ว่า:
    dj.soda พิมพ์ว่า:ขี้เกียจแล้ววววววววววววววววววววววววว หน่วยที่15ไม่อ่านละ 0.0 เอาความขยันของชั้นคืนมา 0.0.0.0.


    โอ้ยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยยมัยเยอะอย่างงี้้ ขอบ่นคนเดียว ชาวนิเทศน์ไปไหนหมดนี่ 0.0 ขอกำลังใจหน่อยยยยยยย วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ 208455
    อิอิ เหนื่อยแทน เฮ้อ วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ 870922

    เหนื่อยก็คุ้มนะพี่วิช อิอิ
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ Empty Re: วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Dec 03, 2009 4:07 pm

    ผ่านแล้ววิชานี้ ขอบอกว่าที่อ่านมาถ้าจำได้ข้อสอบล้วนๆเลย ใครที่กำลังจะลงวิชานี้ ลองอ่านดูนะคะ พอดีจำไม่ค่อยได้ เลยมั่วเยอะไปหน่อย วิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร 15206 ค่ะ 780169

      เวลาขณะนี้ Fri Mar 29, 2024 4:51 am