ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


    กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด ครับ55555

    nustatalo254
    nustatalo254


    จำนวนข้อความ : 12
    Join date : 27/04/2010
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด   ครับ55555 Empty กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด ครับ55555

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo254 Tue Apr 27, 2010 12:49 pm

    อาญา 2
    ข้อสอบเก่า
    คำถาม
    ราเชนทร์รักใคร่ชอบพอกับรานี ในวันเกิดอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ของรานี รานีได้นัดให้ราเชนทร์มาพบที่สวนสาธารณะและกอดจูบกันฉันคนรัก บังเอิญวันนั้นบิดาของรานีได้มาวิ่งออกกำลังกายอยู่ในบริเวณดังกล่าว และได้เห็นการกระทำของบุคคลทั้งสอง จึงไปแจ้งความเพื่อดำเนินคดีแก่ราเชนทร์ในความผิดเกี่ยวกับเพศ แต่ราเชนทร์อ้างว่าตนไม่ได้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ แต่ได้ปฏิบัติต่อกันตามประสาคนรัก และรานีเองก็อายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว อีกทั้งเมื่อมาพบกันตนก็มิได้ข่มขืนหรือกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเรารานีแต่อย่างใด เพียงกอดจูบกันเท่านั้นและรานีเองก็สมัครใจ
    กรณีดังกล่าว ท่านเห็นว่าราเชนทร์ต้องรับผิดทางอาญาฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด
    แนวตอบ
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษ...”
    จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่รานีได้นัดให้ราเชนทร์มาพบที่สวนสาธารณะในวันเกิดอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ของตน แสดงให้เห็นว่าราเชนทร์มิได้มีการพรากเด็กหรือผู้เยาว์มาจากผู้ใด แต่เมื่อมาพบกันแล้ว ราเชนทร์ได้กอดจูบรานี การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการกระทำอนาจาร เพราะเป็นการกระทำแก่เนื้อตัวของบุคคลที่ไม่สมควรในทางเพศ และการกระทำอนาจารของราเชนทร์ก็เป็นการกระทำแก่รานีซึ่งมีอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ดังนั้น แม้รานีจะยินยอมให้กระทำ ก็ไม่ทำให้ราเชนทร์พ้นความผิดไปได้ และแม้ราเชนทร์จะอ้างว่าตนไม่ได้กระทำถึงขั้นข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราก็ตาม ราเชนทร์ก็ยังมีความผิดเกี่ยวกับเพศคือความผิดฐานกระทำอนาจาร
    ดังนั้น ราเชนทร์จึงต้องรับผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ตามหลักกฎหมายดังกล่าวมาข้างต้น
    วิเคราะห์
    ข้อสอบนี้เป็นข้อสอบข้อที่ 2 ซึ่งนักศึกษาตอบผิดกันมาก แม้ว่าจะไม่มากเท่ากับข้อที่ 3 ทั้งๆ ที่ข้อสอบนี้ไม่ยากเลย เพราะในข้อสอบบอกข้อเท็จจริงชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการอนาจารแน่นอน ดังนั้น นักศึกษาจะไม่มีทางหลงไปตอบความผิดอื่น แต่ข้อสำคัญนักศึกษาจะต้องวินิจฉัยให้ถูกต้องว่าเป็นความผิดเกี่ยวกับการกระทำอนาจารที่บัญญัติไว้ในมาตราใด เพราะความผิดที่เกี่ยวกับการกระทำอนาจารมีบัญญัติไว้หลายมาตรา ซึ่งนักศึกษาก็เดาตอบกันมาทุกมาตราที่เกี่ยวข้องโดยไม่อ่านข้อเท็จจริงในโจทย์ให้ชัดเจน คำตอบที่นักศึกษาตอบมาส่วนใหญ่ได้แก่
    1. พรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร
    2. กระทำอนาจารแก่เด็กอายุเกินกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี
    3. พาหญิงไปเพื่อการอนาจาร
    4. ไม่ผิดฐานใดเพราะหญิงสมัครใจ
    5. ไม่ผิดฐานใดเพราะเป็นเรื่องปกติในสังคมปัจจุบัน
    6. ไม่ผิดฐานใดเพราะเป็นคนรักแสดงความรักต่อกัน
    จากคำตอบดังกล่าวจะเห็นได้ว่าไม่มีคำตอบใดถูกต้องเลย เนื่องจาก
    1. นักศึกษาลองไปเปิดอ่านคำอธิบายคำว่า “พรากไปเสีย” ในเอกสารการสอนเล่ม 2 หน้า 117 จะพบว่า คำว่า พราก ต้องเป็นการเอาไปหรือแยกผู้เยาว์จากความชอบธรรมของผู้อื่นที่ปกครอง กรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าราเชนทร์ไม่ได้เป็นคนเอารานีไป หรือพารานีไป หรือแยกรานีจากความชอบธรรมของผู้ปกครองเลย แต่รานีต่างหากที่เป็นคนนัดให้ราเชนทร์ไปพบตนที่สวนสาธารณะ ดังนั้น เมื่อไม่มีการพราก ความผิดฐานพรากผู้เยาว์จึงไม่อาจนำมาพิจารณาได้
    2. นักศึกษาที่ตอบว่าผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กเกินกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีนั้นแสดงว่านักศึกษาอ่านข้อเท็จจริงไม่เข้าใจ และจำตัวบทไม่ได้แม่นยำ ในเรื่องข้อเท็จจริงที่โจทย์ให้ ได้บอกชัดเจนว่าในวันที่เกิดเหตุนั้นรานีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ จึงไม่ใช่กรณีที่กระทำอนาจารแก่เด็กอายุเกินกว่า 15 ปีแน่นอน และในเรื่องหลักกฎหมายนั้น จะมีความผิดต้องเป็นกรณีที่กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย ฯลฯ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ผู้ถูกกระทำต้องไม่ยินยอม ผู้กระทำจึงจะมีความผิด แต่กรณีนี้รานีเองก็ยินยอมและอายุก็ยังไม่เกิน 15 ปี จึงจะนำมาตรา 278 มาวินิจฉัยไม่ได้เช่นกัน
    3. นักศึกษาที่ตอบว่าพาหญิงไปเพื่อการอนาจารนี้ คงจะลืมอ่านข้อเท็จจริงให้ชัดเจนกว่า กรณีนี้ราเชนทร์ไม่ได้พารานีไปไหนเลย แต่รานีเป็นคนนัดราเชนทร์มาพบ จึงไม่อาจนำมาตรานี้มาวินิจฉัยได้อีก
    4. นักศึกษาที่ตอบว่า ไม่ผิดเพราะหญิงสมัครใจนั้น แสดงว่านักศึกษาจำตัวบทมาตรา 279 ไม่ได้ เพราะกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า การกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี แม้เด็กนั้นจะยินยอมก็มีความผิด และคำว่าเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีนี้ ย่อมหมายถึงเด็กอายุ 15 ปีบริบูรณ์ด้วย
    5. สำหรับนักศึกษาที่ตอบว่าไม่ผิดเพราะเป็นเรื่องปกติในสังคมหรือไม่ผิดเพราะเป็นคนรักแสดงความรักต่อกันนั้น ถือว่าเป็นการตอบโดยใช้สามัญสำนึกส่วนตัวที่คิดว่าควรจะเป็นโดยไม่ได้ตอบโดยใช้หลักกฎหมาย จึงต้องถือว่าตอบไม่ถูกต้อง
    ดังนั้น นักศึกษาที่ตอบข้อสอบนี้มาผิดไปจากที่เฉลย คงจะรู้ข้อบกพร่องและพยายามแก้ไขปรับปรุงต่อไป
    nustatalo254
    nustatalo254


    จำนวนข้อความ : 12
    Join date : 27/04/2010
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด   ครับ55555 Empty Re: กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด ครับ55555

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo254 Tue Apr 27, 2010 12:51 pm

    คำถาม
    ปกรณ์ขอยืมแหวนของประกิตไปใส่ ต่อมาปกรณ์ได้มาบอกประกิตว่าชอบใจแหวนของประกิตและได้ขอซื้อแหวนนั้นจากประกิต ครั้งแรกประกิตไม่ยอมขาย แต่ปกรณ์ได้หลอกลวงประกิตว่าตนได้ไปพูดกับภรรยาของประกิตและได้จ่ายเงินค่าแหวนให้ภริยาของประกิตไปแล้ว ซึ่งความจริงปกรณ์ยังไม่เคยพูดหรือจ่ายเงินให้ภริยาของประกิตเลย ประกิตหลงเชื่อจึงตกลงขายแหวนนั้นให้ปกรณ์
    ดังนี้ ปกรณ์ต้องรับผิดทางอาญาฐานใดบ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด
    แนวตอบ
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 บัญญัติว่า “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่นหรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของคนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษ...
    จากข้อเท็จจริงตามปัญหาการที่ปกรณ์ขอยืมเหวนของประกิตไปใส่นั้น เห็นได้ว่าปกรณ์ได้ครอบครองแหวนซึ่งเป็นทรัพย์ของประกิตผู้อื่นแล้ว ต่อมาปกรณ์ได้มาบอกประกิตว่าชอบในแหวนของประกิตและจะขอซื้อแหวนวงนั้นจากประกิต แต่ประกิตไม่ยอมขาย ปกรณ์จึงได้หลอกลวงประกิตว่าได้ไปพูดกับภริยาของประกิตและได้จ่ายเงินค่าแหวนให้ภริยาของประกิตไปแล้ว ซึ่งความจริงปกรณ์ไม่เคยไปพูดหรือจ่ายเงินให้ภริยาของประกิตเลย การกระทำของปกรณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปกรณ์มีเจตนาที่จะเอาทรัพย์คือแหวนของประกิตที่ตนครอบครองอยู่เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยมิชอบ ซึ่งถือว่าเป็นการเบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนครอบครองเป็นของตนโดยทุจริต และประกิตก็หลงเชื่อจึงตกลงขายแหวนนั้นให้ปกรณ์
    ดังนี้ ปกรณ์จึงต้องรับผิดฐานยักยอก ตามหลักกฎหมายดังกล่าวมาข้างต้น
    วิเคราะห์
    ข้อสอบข้อนี้เป็นข้อที่นักศึกษาตอบผิดกันมากที่สุด เพราะนักศึกษาไปหลงในถ้อยคำที่เขียนว่า “หลอกลวง” โดยไม่ได้วินิจฉัยดูข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่าทรัพย์ที่ปกรณ์ได้ไปนั้นอยู่ในความครอบครองของใคร
    นักศึกษาหลายคนตอบว่า แหวนอยู่ในความครอบครองของประกิต เพราะปกรณ์เพียงแต่ขอยืมไปใส่ ประกิตไม่ได้มอบความครอบครองให้ปกรณ์แต่อย่างใด ปกรณ์เพียงแต่ยึดถือเท่านั้น แสดงว่านักศึกษายังไม่เข้าใจคำว่า “ครอบครอง” และ “ยึดถือ” คำว่าครอบครองนั้นคือการยึดถือแต่เป็นการยึดถือเพื่อตนหรือเพื่อประโยชน์ตน การที่ปกรณ์ยืมแหวนของประกิตไปใส่ก็ถือว่าปกรณ์ได้ยึดถือแหวนไว้เพื่อตนหรือเพื่อประโยชน์ของตนแล้ว กล่าวคือ ปกรณ์ได้ใส่แหวนวงนั้น จึงต้องถือว่าปกรณ์ได้ครอบครองแหวนของประกิตแล้ว แต่ถ้าข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปเป็นว่า ประกิตจะไปล้างมือจึงถอดแหวนฝากปกรณ์ถือไว้ชั่วคราวเพราะกลัวลื่นหลุด เมื่อล้างมือเสร็จก็มาเอาคืน ดังนี้จึงจะถือว่าประกิตไม่ได้มอบการครอบครองแหวนให้ปกรณ์ แต่ปกรณ์เพียงยึดถือแหวนไว้ชั่วคราวเท่านั้น
    เมื่อมีข้อเท็จจริงได้ความว่า ปกรณ์ได้ครอบครองแหวนของประกิต และปกรณ์อยากได้แหวนที่ตนครองครองอยู่นั้นเป็นของตน ปกรณ์จึงต้องใช้วิธีหลอกประกิตเพื่อเบียดบังเอาแหวนนั้นไปเป็นของตนเองโดยทุจริต การหลอกลวงนั้นเป็นเพียงวิธีการเบียดบังเพื่อให้ได้ทรัพย์ที่ตนครอบครองอยู่มาเป็นของตนเท่านั้น
    นักศึกษาส่วนใหญ่ตอบว่าปกรณ์ผิดฉ้อโกงซึ่งไม่ถูกต้อง ความผิดฐานฉ้อโกงจะต้องเป็นการหลอกลวงเพื่อให้ผู้ถูกหลอกลวงส่งมอบการครอบครองทรัพย์ให้ แต่กรณีนี้ผู้หลอกได้ครอบครองทรัพย์อยู่แล้ว จึงไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกง ข้อสอบข้อนี้มีตัวอย่างอยู่ในเอกสารการสอนเล่ม 2 หน้า 288 ซึ่งถ้านักศึกษาอ่านหนังสือมาอย่างดีก็จะทำข้อสอบข้อนี้ได้ไม่มีปัญหา
    nustatalo254
    nustatalo254


    จำนวนข้อความ : 12
    Join date : 27/04/2010
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด   ครับ55555 Empty Re: กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด ครับ55555

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo254 Tue Apr 27, 2010 12:52 pm

    คำถาม
    ในวันวิสาขบูชา นายภมรได้ขับรถของตนพานางสาวสมรคนรักไปเวียนเทียน เมื่อไปถึงวัดขณะนั่งรออยู่ในรถ นายภมรได้จุดเทียนเพื่อเตรียมจะไปเวียนเทียน ปรากฏว่านายภมรได้หยอกล้อกับนางสาวสมรจึงทำเทียนหล่นลงที่พื้นรถ ไฟไหม้รถของนายภมรเสียหายทั้งคัน แต่นายภมรและนางสาวสมรกระโดดออกมาจากรถได้ทัน จึงไม่ได้รับอันตราย
    กรณีดังกล่าว นายภมรต้องรับผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดบ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด
    แนวตอบ
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 225 บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทและเป็นเหตุให้ทรัพย์ของผู้อื่นเสียหายหรือการกระทำโดยประมาทนั้นน่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของบุคคลอื่นต้องระวางโทษ...”
    จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายภมรได้นั่งอยู่ในรถและจุดเทียนในรถเพื่อจะนำไปเวียนเทียนหรือการที่นายภมรจุดเทียนแล้วได้หยอกล้อกับนางสาวสมรจนทำให้เทียนหล่นลงที่พื้นรถนั้น ถือว่านายภมรประมาททั้งสิ้น การที่เทียนหล่นลงที่พื้นรถและไฟไหม้รถของนายภมรเสียหายทั้งคันเกิดจากความประมาทของนายภมรที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ แม้ว่าทรัพย์ที่ไหม้คือรถจะเป็นของนายภมรเองก็ตาม แต่การกระทำโดยประมาทดังกล่าวนั้นน่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของนางสาวสมรซึ่งเป็นผู้อื่นแล้ว เพราะถ้านางสาวสมรกระโดดออกจากรำไม่ทันหรือไฟไหม้ที่ล็อกประตูรถจนเปิดไม่ได้ นางสาวสมรอาจถูกไหครอกตายอยู่ในรถได้
    ดังนั้น นายภมรจึงต้องรับผิดฐานกระทำให้เกิดเพลิงไหม้โดยประมาทจนน่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตของผู้อื้น ตามหลักกฎหมายดังกล่าวมาข้างต้น
    nustatalo254
    nustatalo254


    จำนวนข้อความ : 12
    Join date : 27/04/2010
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด   ครับ55555 Empty Re: กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด ครับ55555

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo254 Tue Apr 27, 2010 1:05 pm

    คำถาม
    นายเขียว นายขาว กับพวกอีก 4 คน ได้สมคบกันจะไปเผาโรงเรียนแห่งหนึ่ง โดยนายเขียวให้นายขาวกับพวกอีก 4 คน ขับรถนำหน้าไปก่อน ส่วนนายเขียวได้ขับรถอีกคันหนึ่งตามหลังรถของนายขาวกับพวกไป ระหว่างทางนายเขียวได้แวะที่สถานีบริการน้ำมัน และซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงเบ็นซินใส่ถังไป 5 ลิตร เพื่อเอาไปเผาโรงเรียน แต่เมื่อนายเขียวไปถึงโรงเรียน ขณะกำลังจะยกถังน้ำมันลงจากรถ เห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจกระจายกำลังอยู่รอบโรงเรียน ส่วนนายขาวกับพวกซึ่งไปถึงก่อนได้หลบหนีไปหมดแล้ว นายเขียวจึงกลับใจ แล้วขับรถหลบหนีไป ดังนี้ นายเขียว นายขาว และพวกอีก 4 คน จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดบ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด
    แนวตอบ
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 210 บัญญัติว่า “ผู้ใดสมคบกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่บัญญัติไว้ในภาค 2 นี้ และความผิดนั้นมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นซ่องโจร ต้องระวางโทษ...”
    จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายเขียว นายขาว กับพวกอีก 4 คน ได้สมคบกันจะไปเผาโรงเรียนแห่งหนึ่ง ต้องถือว่าบุคคลทั้ง 6 คนได้สมคบกันเพื่อกระทำความผิดแล้ว และความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ก็เป็นความผิดที่บัญญัติไว้ในภาค 2 ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกอย่างสูงเกินกว่าหนึ่งปี ดังนั้น นายเขียว นายขาว และพวกอีก 4 คน จึงมีความผิดฐานเป็นซ่องโจร
    สำหรับนายเขียวนอกจากผิดฐานซ่องโจรแล้ว การที่นายเขียวได้ขับรถตามหลังรถของนายขาวกับพวกอีก 4 คน และระหว่างทางได้แวะสถานีบริการน้ำมัน ซื้อน้ำมันเบ็นซินใส่ถังไป 5 ลิตร เพื่อเอาไปเผาโรงเรียนนั้น
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 217 บัญญัติว่า “ผู้ใดวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษ...”และ
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 219 บัญญัติว่า “ผู้ใดตระเตรียมเพื่อกระทำความผิดดังกล่าวในมาตรา 217 หรือมาตรา 218 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับพยายามกระทำความผิดนั้นๆ “
    กรณีดังกล่าวจึงเห็นได้ว่า การที่นายเขียวได้ซื้อน้ำมันเบ็นซินเพื่อจะนำไปเผาโรงเรียนนั้นถือได้ว่านายเขียวได้ตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์แล้ว แม้ต่อมาเมื่อนายเขียวไปถึงโรงเรียนเห็นตำรวจกระจายกำลังอยู่รอบโรงเรียน จึงกลับใจไม่เผาและขับรถหนีไปมิได้ลงมือเผาโรงเรียนก็ตาม ก็ถือว่าเป็นความผิดฐานตระเตรียมวางเพลิงเผาทรัพย์ ซึ่งต้องระวางโทษเช่นเดียวกับพยายามกระทำความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวมาข้างต้น
    สำหรับนายขาวกับพวกอีก 4 คน ไม่ปรากฏว่ารู้เห็นการที่นายเขียวเตรียมน้ำมันเบ็นซินจะไปเผาโรงเรียน นายขาวกับพวกจึงไม่มีความผิดฐานนี้ด้วย
    nustatalo254
    nustatalo254


    จำนวนข้อความ : 12
    Join date : 27/04/2010
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด   ครับ55555 Empty Re: กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด ครับ55555

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo254 Tue Apr 27, 2010 1:06 pm

    คำถาม
    นายเกย์แอบเห็นนายเบิ้มร่วมประเวณีกับนางฝนภรรยาของผู้จัดการบริษัทที่นายเกย์ และนายเบิ้มทำงานอยู่ นายเกย์จึงไปบอกนายเบิ้มว่า ถ้ายนายเบิ้มไม่ยอมอยู่เวรแทนตนในช่วงวันหยุดชดเชยปีใหม่ นายเกย์จะไปบอกผู้จัดการและคนอื่นๆ ในบริษัทให้รู้ แต่นายเบิ้มไม่กลัวเพราะคิดว่าตนเองกำลังจะลาออกจากบริษัทอยู่แล้ว จึงไม่ยอมอยู่เวรแทนนายเกย์ในวันหยุดชดเชยปีใหม่
    ดังนี้ ใครต้องรับผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดบ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด
    แนวตอบ
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 บัญญัติว่า “ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนในนั้นเองหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใน ต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้น หรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษ...”
    จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายเกย์แอบเห็นนายเบิ้มร่วมประเวณีกับนางฝนภรรยาของผู้จัดการ บริษัทที่นายเกย์และนายเบิ้มทำงานอยู่ นายเกย์จึงไปบอกนายเบิ้มว่า ถ้านายเบิ้มไม่ยอมอยู่เวรแทนในช่วงวันหยุดชดเชยปีใหม่ นายเกย์จะไปบอกผู้จัดการและคนอื่นๆ ในบริษัทให้รู้ การกระทำของนายเกย์เช่นนี้ถือว่านายเกย์ได้ข่มขืนใจผู้อื่นคือนายเบิ้มให้กระทำการอยู่เวรแทนตน และการกระทำของนายเกย์เช่นนี้เป็นการกระทำโดยทำให้นายเบิ้มกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชื่อเสียง เพราะถ้าผู้จัดการและบุคคลอื่นๆ ในบริษัทรู้เรื่องดังกล่าวก็จะทำให้นายเบิ้มอับอายขายหน้าและคุณค่าทางสังคมของนายเบิ้มก็จะลดลง แต่การข่มขืนใจของนายเกย์ไม่ทำให้นายเบิ้มกลัวและยอมกระทำการอยู่เวรแทนนายเกย์ในช่วงวันหยุดชดเชยปีใหม่ เพราะนายเบิ้มกำลังจะลาออกจากบริษัทอยู่แล้ว การข่มขืนใจของนายเกย์จึงไม่บรรลุผล
    ดังนั้น นายเกย์ต้องรับผิดทางอาญาฐานพยายามข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการ ตามหลักกฎหมายดังกล่าวมาข้างต้น
    วิเคราะห์
    ข้อสอบข้อนี้ต้องการให้นักศึกษานึกถึงความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพในมาตรา 309 บ้าง เพราะเท่าที่ผ่านมาถ้าออกข้อสอบมาตรานี้ นักศึกษาจะไม่นึกถึงมาตรานี้ แต่จะไปนึกถึงมาตราอื่นๆ เช่น รีดเอาทรัพย์บ้างกรรโชกบ้าง หน่วงเหนี่ยวกักขังบ้าง หรือบางคนก็เห็นว่าไม่น่าจะมีความผิด ซึ่งนักศึกษานึกถึงความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพมาตรานี้ได้ นักศึกษาก็จะตอบข้อสอบข้อนี้ถูกแน่นอน เพราะข้อสอบออกตรงตัวบท
    อีกประเด็นหนึ่งที่จะเน้นให้นักศึกษา คือ ความผิดที่ได้กระทำแต่ไม่บรรลุผล ซึ่งจะต้องพิจารณาเรื่องการพยายามกระทำความผิด นักศึกษาส่วนใหญ่ตอบว่ากรณีดังกล่าวผู้กระทำไม่ต้องรับผิด เพราะผู้ถูกกระทำไม่กลัวและไม่ยอมปฏิบัติตาม แสดงว่านักศึกษาไม่เข้าใจเรื่องการพยายามกระทำความผิด ถึงแม้เรื่องการพยายามกระทำความผิดจะเป็นเรื่องที่อยู่ในกฎหมายอาญา 1 แต่การศึกษากฎหมายอาญา 2 นั้น จะทิ้งบางเรื่องในกฎหมายอาญา 1 ไม่ได้ และเรื่องการกระทำที่ไม่สำเร็จหรือไม่บรรลุผลนี้ก็มีเขียนไว้ในกฎหมายอาญา 2 อยู่ในหลายมาตรา ทั้งในตัวอย่างอุทาหรณ์และในคำพิพากษาศาลฎีกาบางกรณี ดังนั้น แม้นักศึกษาที่ยังไม่ได้ลงทะเบียนเรียนชุดวิชากฎหมายอาญา 1 ก็น่าจะทำข้อสอบข้อนี้ได้ด้วยหากนักศึกษาได้อ่านหนังสือมาอย่างดีและอ่านอย่างละเอียด
    ปัญหาที่พบในการสอบครั้งนี้แยกพิจารณาได้ดังนี้
    1. นักศึกษาไปตอบความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ เพราะเห็นว่ามีการเปิดเผยความลับ ซึ่งความผิดฐานรีดเอาทรัพย์ต้องเป็นเรื่องที่ขู่จะเปิดเผยความลับเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงในข้อสอบเป็นเรื่องขู่เพื่อให้นายเบิ้มกระทำการอยู่เวรแทน ไม่ได้เกี่ยวกับทรัพย์แต่อย่างใด
    2. นักศึกษาไปตอบความผิดฐานกรรโชก เพราะเห็นว่าเป็นการข่มขืนใจ เนื่องจากตัวบทในมาตรา 309 มีข้อความคล้ายกับเรื่องกรรโชกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ซึ่งถ้านักศึกษาดูให้ดีจะเห็นได้ว่าไม่มีเรื่องของการได้ทรัพย์หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์แต่อย่างใด
    3. นักศึกษาตอบว่าเป็นความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 309 แต่ตอบว่านายเกย์ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 309 เพราะนายเบิ้มไม่กลัวและไม่ยอมปฏิบัติตามที่นายเกย์ต้องการ โดยนักศึกษาลืมคิดถึงความผิดฐานพยายามตามมาตรา 80 จึงทำให้นักศึกษาเสียคะแนนไปอย่างน่าเสียดาย
    ดังนี้ ในการสอบครั้งต่อไป นักศึกษาควรจะต้องอ่านหนังสือให้มากขึ้น จำตัวบทให้ได้ และพยายามอ่านตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาให้มาก เพราะบางครั้งข้อสอบที่อาจารย์ออกที่นำมาจากคำพิพากษาศาลฎีกาในเอกสารสอนนั้นเอง
    nustatalo254
    nustatalo254


    จำนวนข้อความ : 12
    Join date : 27/04/2010
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด   ครับ55555 Empty Re: กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด ครับ55555

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo254 Tue Apr 27, 2010 1:08 pm

    คำถาม
    นายสรยุทธพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหน้าที่คอยปิดกั้นถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟเมื่อรถไฟจะแล่นผ่านเพื่อมิให้รถไฟชนกับรถยนต์ ในคืนวันเกิดเหตุ ขณะที่นายสรยุทธกำลังเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่ นายสรยุทธเผลอนอนหลับไม่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นเหตุให้รถไฟชนกับรถยนต์ ผู้โดยสารรถไฟและรถยนต์ถึงแก่ความตาย
    ดังนั้น ใครต้องรับผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดบ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด
    แนวตอบ
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษ...”
    จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายสรยุทธพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหน้าที่คอยปิดกั้นถนนที่ตัดผ่านทางรถไฟเมื่อรถไฟจะแล่นผ่าน เพื่อมิให้รถไฟชนกับรถยนต์ ในคืนวันเกิดเหตุขณะที่นายสรยุทธกำลังเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่ นายสรยุทธเผลอนอนหลับไม่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นเหตุให้รถไฟชนกับรถยนต์ การเผลอนอนหลับของนายสรยุทธเช่นนี้ ถือว่านายสรยุทธมีหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดแล้วงดเว้นไม่กระทำตามหน้าที่อันทำให้เกิดผล นายสรยุทธจึงมีการกระทำทางอาญาถือเป็นการกระทำโดยงดเว้น แม้การกระทำเช่นนี้นายสรยุทธได้กระทำโดยขาดเจตนา แต่เป็นการกระทำโดยประมาท เพราะเมื่อนายสรยุทธเข้าเวรเพื่อปฏิบัติหน้าที่เช่นนั้น นายสรยุทธต้องระมัดระวังมิให้ตนเองเผลอหลับ การกระทำของนายสรยุทธถือว่านายสรยุทธขาดความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะพึงมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และเมื่อการกระทำโดยประมาทของนายสรยุทธเป็นเหตุให้เกิดผลคือความตายของผู้โดยสารรถไฟและรถยนต์
    ดังนี้ นายสรยุทธจึงต้องรับผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามหลักกฎหมายดังกล่าวมาข้างต้น
    วิเคราะห์
    ข้อสอบข้อนี้ต้องการชี้ให้นักศึกษาเห็นว่า การกระทำที่จะเป็นความผิดทางอาญานั้นอาจเป็นการกระทำโดยงดเว้นก็ได้ ถ้าการงดเว้นไม่กระทำตามหน้าที่นั้นทำให้เกิดผลอย่างหนึ่งอย่างใด และการงดเว้นนี้ไม่ว่าจะเป็นการงดเว้นโดยเจตนาหรือประมาทก็ต้องรับผิดทางอาญาทั้งสิ้น แต่นักศึกษาไม่ได้พิจารณาเรื่องนี้ แต่กลับไปตอบว่าเป็นความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งไม่ถูกต้อง
    เมื่อนักศึกษาอ่านตัวบทกฎหมายอาญา นักศึกษาจะต้องจำทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายในของความผิด จึงจะสามารถวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้ ในความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบนั้น องค์ประกอบภายในของความผิดฐานนี้คือ เจตนา กล่าวคือ ผู้กระทำต้องมีเจตนาจึงจะถือว่าเป็นความผิดฐานนี้ แต่ตามข้อเท็จจริงในโจทย์ จะเห็นได้ว่านายสรยุทธเผลอนอนหลับ ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่เห็นได้ว่ามิได้มีเจตนากระทำ แต่เป็นการกระทำโดยประมาท ขาดความระมัดระวัง ซึ่งในบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะพึงมีคามวิสัยและพฤติการณ์ ดังนั้นจึงจะถือว่านายสรยุทธมีความผิดฐานเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ได้ และเมื่อการประมาทของนายสรยุทธก่อให้เกิดผลคือความตายของผู้โดยสารรถไฟและรถยนต์ นายสรยุทธจึงต้องรับผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามปอ. มาตรา 291
    ข้อสอบนี้เป็นข้อที่นักศึกษาตอบผิดมากที่สุด ดังนั้นในการสอบสอบครั้งต่อไป นักศึกษาควรจะอ่านกฎหมายให้และเอียดรอบคอบ โดยดูทั้งองค์ประกอบภายนอกและองค์ประกอบภายใน ก็จะไม่ทำให้นักศึกษาวินิจฉัยผิดพลาดอีก
    nustatalo254
    nustatalo254


    จำนวนข้อความ : 12
    Join date : 27/04/2010
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด   ครับ55555 Empty Re: กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด ครับ55555

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo254 Tue Apr 27, 2010 1:09 pm

    คำถาม
    เสี่ยโต้งซื้อรถยนต์มือสองให้ต้อยนักร้องคาเฟ่ที่ตนติดพันอยู่ และได้เช่าบ้านให้ต้อยอยู่ด้วย วันหนึ่งขณะที่ต้องกำลังเช็ดรถซึ่งจอดอยู่นอกรั้วบ้าน เพื่อนของต้อยโทรศัพท์มาบอกว่าเสี่ยโต้งไปติดพันนักร้องคนใหม่ ต้อยโกรธมากจึงเอาน้ำมันราดที่รถยนต์และจุดไฟเผารถยนต์คันดังกล่าวเพื่อประชดเสี่ยโต้ง บังเอิญขณะนั้นมีลมพัดแรงและเปลวไฟกำลังลุกลามใกล้จะถึงตัวบ้าน แต่ฝนได้ตกลงเสียก่อนทำให้ไฟดับก่อนที่จะถึงตัวบ้านดังนี้ ต้อยต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดบ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด
    แนวตอบ
    ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 220 บัญญัติว่า ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเองจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษ...
    จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่เสี่ยโต้องซื้อรถยนต์ให้ต้อยและเช่าบ้านให้ต้อยอยู่ด้วยนั้น เฉพาะรถยนต์เท่านั้นที่เป็นของต้อย ส่วนบ้านเป็นของผู้อื่น การที่ต้อยได้เอาน้ำมันราดที่รถยนต์และจุดไฟเผารถยนต์ซึ่งเสี่ยโต้งซื้อให้นั้น ถือว่าต้อยได้ทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของตนเองโดยมิได้มีเจตนาที่จะให้เกิดเพลิงไหม้แก่บ้านซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้อื่นด้วย เพราะรถยนต์จอดอยู่นอกรั้วบ้าน ห่างจากตัวบ้าน แต่บังเอิญขณะนั้นมีลมพัดแรงและเปลวไฟได้ลุกลามไปจนใกล้ถึงตัวบ้าน กรณีนี้เห็นได้ว่าการทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่รถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์ของตนเองนั้นน่าจะเป็นอันตรายแก่ตัวบ้าน ซึ่งเป็นทรัพย์ของผู้อื่นแล้ว แม้ว่าฝนได้ตกลงมาเสียก่อนทำให้ไฟดับก่อนที่จะจึงตัวบ้านก็ตาม
    ดังนั้น ต้อยจึงมีความผิดฐานทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ของตนเองจนน่าจะเป็นอันตรายแก่ทรัพย์ของผู้อื่น ตามหลักกฎหมายดังกล่าวมาข้างต้น
    วิเคราะห์
    ข้อสอบข้อนี้ความจริงไม่ยาก เพราะมีประเด็นเดียวให้วินิจฉัยแต่นักศึกษาไปหลงประเด็น ทำให้ตอบผิดกันมากมาย โดยไปตอบว่า รถยนต์ที่เสียโต้งซื้อให้เป็นของต้อยเอง การเผาทรัพย์ของตนเองก็ไม่มีความผิด เพราะนักศึกษาไปมองแต่มาตรา 217 แต่ไม่ได้พิจารณาตามมาตรา 220 ซึ่งกฎหมายบัญญัติว่าการทำให้เกิดเพลิงไหม้แม้เป็นของคนเองแต่ถ้าน่าจะเป็นอันตรายแก่ทรัพย์ผู้อื่นก็มีความผิด ซึ่งบ้านที่เสี่ยโต้งให้ต้อยเช่าอยู่ก็เป็นบ้านของผู้อื่นและใกล้จะเป็นอันตราย
    บางคนตอบว่าผิดฐานประมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ ซึ่งกรณีนี้เห็นได้ชัดว่าต้อยมีเจตนาเผารถยนต์ที่เสี่ยโต้งซื้อให้ ไม่ได้ขาดความระมัดระวังอะไร อันจะทำให้พิจารณาได้ว่าเป็นการประมาทเลย ดังนั้นจึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 225
    นอกจากนี้บางคนยังคิดไปมากกว่าที่โจทย์ให้มาอีก โดยตอบว่ากรณีนี้ต้องดูอีกว่ารถยนต์ที่เสี่ยโต้งซื้อให้ต้อยนั้นซื้อให้เป็นของต้อยหรือซื้อให้ใช้แต่ไม่ได้ยกให้ต้อยจริงๆ ทั้งที่โจทย์ไม่ได้พูดถึงเลยว่าเสี่ยโต้องได้ซื้อรถยนต์ให้ต้อยใช้โดยไม่ประสงค์จะยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ต้อย แต่โจทย์บอกชัดเจนว่าเสี่ยโต้งซื้อรถยนต์มือสองให้ต้อย ดังนั้น นักศึกษาจะไปตีความโจทย์กว้างไปกว่าที่โจทย์บอกไม่ได้ ซึ่งถ้าข้อสอบประสงค์จะให้นักศึกษาเข้าใจว่าซื้อให้ใช้โดยไม่ประสงค์จะให้เป็นกรรมสิทธิ์ ข้อสอบต้องบอกไว้ให้ชัดเจนเพื่อมิให้นักศึกษาเข้าใจเป็นอย่างอื่นได้ และเมื่อนักศึกษาไปตีความเช่นนั้นก็เลยตอบว่าอาจผิดหรือไม่ผิดก็ได้ ซึ่งกรณีนี้ต้องถือว่านักศึกษาเข้าใจผิดตั้งแต่โจทย์แล้ว จึงทำให้ตอบไม่ถูกต้อง
    บางคนจำตัวบทมาตรา 220 ไม่ได้ เอาไปปะปนกับมาตรา 225 จึงไปจำว่าการเผาทรัพย์ของตนเองที่เป็นเป็นความผิดตามมาตรา 220 ต้องเป็นการทำให้น่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตหรืออันตรายแก่ทรัพย์ของผู้อื่น จึงตอบว่ากรณีนี้ยังไม่เป็นอันตรายแก่ทรัพย์ของผู้อื่นจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 220 แต่อย่างใด

    คำถาม
    nustatalo254
    nustatalo254


    จำนวนข้อความ : 12
    Join date : 27/04/2010
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด   ครับ55555 Empty Re: กฎหมายอาญา 2 :ภาคความผิด ครับ55555

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo254 Tue Apr 27, 2010 1:10 pm

    คำถาม
    นายทองขาวเสียการพนันฟุตบอลแก่นายทองดำเจ้ามือรับแทง 800,000 บาท แต่ไม่มีเงินชำระ นายทองดำจึงโทรศัพท์ถึงนายทองแดงบิดาของนายทองขาว ซึ่งเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอยู่ต่างจังหวัด ขู่นายทองแดงให้สร้างบ้านแก่นายทองดำจนแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน โดยไม่คิดค่าจ้าง มิฉะนั้นจะฆ่านายทองขาว นายทองแดงกลัวนายทองขาวถึงแก่ความตาย จึงยอมตกลงรับจะสร้างบ้านให้ ต่อมาอีก 7 วัน นายทองดำถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับในข้อหาเป็นเจ้ามือรับแทงการพนันฟุตบอล นายทองแดงจึงไม่ยอมสร้างบ้านให้แก่นายทองดำตามข้อตกลง
    ให้วินิจฉัยว่า นายทองดำมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาฐานใดบ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด (ไม่ต้องตอบความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 309)
    แนวตอบ
    ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 337) บัญญัติว่า ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้...ยอมจะให้ ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน...โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต...ของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือของบุคคลที่สามจนผู้ถูกข่มขืนในยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานกรรโชก คำว่า ข่มขืนใจผู้อื่นให้ ยอมจะให้ หมายถึง บังคับจิตใจผู้อื่นให้จำต้องยอมจะให้ แต่ยังไม่ต้องให้ทันที เพียงแต่สัญญาว่าจะให้ในภายหลัง โดยผู้อื่นนั้นไม่สมัครใจ ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน หมายถึง ตัวทรัพย์สิน และรวมไปถึงแรงงานหรือบริการที่ทำให้เกิดประโยชน์เป็นทรัพย์สินขึ้นด้วย ส่วนคำว่า ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน ตนหมายถึง ตัวผู้กระทำความผิดเอง ผู้อื่น หมายถึง บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ตัวผู้กระทำความผิดและผู้ถูกข่มขู่
    จากข้อเท็จจริงได้ความว่านายทองคำขู่เข็ญนายทองแดงให้สร้างบ้านให้แก่นายทองดำ ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน โดยไม่คิดค่าจ้าง เนื่องจากนายทองขาวบุตรของนายทองแดงเสียการพนันฟุตบอลแก่นายทองดำแล้วไม่ยอมชำระเงิน มิฉะนั้นจะฆ่านายทองขาว นายทองแดงกลัวนายทองขาวถูกฆ่าจึงยอมตกลง แสดงว่านายทองดำได้ข่มขืนใจนายทองแดงให้ยอมจะให้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินแก่นายทองดำ โดยขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตนายทองขาว และนายทองแดงก็ได้ตกลงยอมจะให้คือการสร้างบ้านให้โดยไม่คิดค่าจ้างเพราะความกลัวที่ถูกขู่เข็ญนั้น ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชก นายทองดำจึงมีความผิดฐานกรรโชกอันเป็นบทเฉพาะแล้ว ไม่ต้องปรับบทความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 309 อีก แม้ต่อมาเมื่อนายทองดำถูกจับนายทองแดงจึงไม่ยอมสร้างบ้านให้นายทองดำแล้วก็ตาม ก็ถือว่าความผิดได้สำเร็จไปแล้วตั้งแต่ยอมจะให้
    วิเคราะห์
    ข้อสอบข้อนี้นักศึกษาหลายคนตอบถูกว่าเป็นความผิดฐานกรรโชก แต่สอบไม่ผ่านเพราะมีแต่ธงคำตอบไม่มีหลักกฎหมาย ไม่มีวินิจฉัย หรือเอาหลักกฎหมายมาตรา 309 ซึ่งเป็นความผิดต่อเสรีภาพมาอ้างแล้วมาสรุปตอนท้ายว่าเป็นความผิดฐานกรรโชก จึงได้คะแนนแต่ธงคำตอบเท่านั้น เนื่องจากความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 309 มีข้อความคล้ายกับความผิดฐานกรรโชก แต่ก็มีข้อที่แตกต่างกันหลายประการ ถ้านักศึกษาไม่สับสนก็จะตอบได้ถูกต้อง เห็นได้จากมีนักศึกษาหลายคนตอบได้คะแนนเต็มในข้อนี้ สำหรับนักศึกษาที่ตอบว่าข้อนี้ผิดตามมาตรา 309 ซึ่งเป็นความผิดต่อเสรีภาพ ซึ่งก็มีส่วนถูกแต่ไม่ได้คะแนนเพราะในข้อสอบข้อนี้ตอนท้ายได้เขียนห้ามไว้ แต่ก็ยังมีนักศึกษาตอบมาตรา 309 มาอีก ซึ่งทำให้เห็นว่านักศึกษาไม่มีความรอบคอบสมกับจะเป็นนักกฎหมายจึงไม่ได้คะแนน
    ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นกลุ่มที่มากพอสมควร ตอบว่า เป็นความผิดฐาน พยายามกรรโชก เพราะข้อเท็จจริงในโจทย์ตอนท้ายบอกว่า นายทองดำถูกเจ้าพนักงานจับในข้อหาเป็นเจ้ามือรับแทงการพนันฟุตบอล นายทองแดงจึงไม่ยอมสร้างบ้านให้แก่นายทองดำตามข้อตกลง การที่นักศึกษาตอบว่าเป็นความผิดฐานพยายามกรรโชกเช่นนี้แสดงว่านักศึกษาไม่เข้าใจและจำตัวบทกฎหมายไม่ได้ดีพอ จะเห็นได้ว่าความผิดฐานกรรโชกนี้เพียงผู้ที่ถูกข่มขืนใจ ยอมจะให้ ก็ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แม้ภายหลังจะไม่ยอมสร้างบ้านให้ก็ไม่ทำให้ความผิดที่สำเร็จแล้วกลับกลายเป็นไม่สำเร็จหรือเป็นพยายามไปได้
    นอกจากนี้ก็ยังมีนักศึกษาตอบอีกว่าไม่ผิดฐานกรรโชก เพราะการสร้างบ้านให้ไม่ใช่ทรัพย์สินเหมือนกัน แสดงว่านักศึกษาอ่านหนังสือน้อยไปจึงไม่เข้าใจเรื่องดังกล่าว ซึ่งมีคำอธิบายในเอกสารการสอนแล้ว
    ข้อสอบข้อนี้จริงๆ แล้วไม่ยาก ออกตรงตัวบท แต่เนื่องจากนักศึกษาอ่านหนังสือน้อยไปจึงทำให้ทำข้อสอบไม่ได้ ดังนั้น ในการสอบครั้งต่อไปขอให้นักศึกษาอ่านหนังสือให้มากขึ้น พยายามท่องจำตัวบทให้ได้มากที่สุด แม้จะจำไม่ได้หมดทุกตัวก็ไม่เป็นไร ขอให้จำองค์ประกอบให้ครบ อีกอันหนึ่งที่อยากจะบอกก็คือในการตอบข้อสอบชุดกฎหมายอาญา 2 นักศึกษาไม่ต้องยกหลักกฎหมายอาญา 1 มาตอบ เช่น มาตรา 59 เรื่องเจตนา ประมาท เพราะจะไม่มีคะแนนในส่วนนี้ จะทำให้นักศึกษาเสียเวลาในการเขียน ขอให้นักศึกษาตอบแต่หลักกฎหมายที่อยู่ในกฎหมายอาญา 2 ก็พอ

      เวลาขณะนี้ Fri Apr 26, 2024 7:53 pm