ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


2 posters

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307

    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:20 pm

    มาช้าหน่อยค่ะเทอมนี้งานเยอะไม่มีเวลาอ่านเลย ว่าจะไม่เอามาโพสเมลล์ถามกันเยอะเลยจะพยายามนะคะ ขอบคุณด้วยสำหรับทุกคนที่ให้กำลังใจและติดตามผลงานค่ะ เป็นกำลังใจให้สำหรับทุกคนด้วยและต้องขออภัยสำหรับหลายๆวิชาที่หาให้ไม่ได้และโพสให้ไม่ทันบางวิชาผ่านแบบฟลุคๆไม่ได้อ่านไม่ได้จดเลยไม่มีมาให้อ่านนะคะ

    เริ่มกันเลยดีกว่า

    หน่วยที่ 1 สื่อมวลชนกับสังคม
    แนวคิด
    1.การพัฒนาสังคม หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่าหรือดีขึ้น (change for better)ซึ่งคำว่าดีขึ้นหรือดีกว่านั้นอาจมีความหมายในแง่มุมที่ต่างกันไป สื่อเข้าไปมีบทบาทต่อคนในสังคมเป็นอย่างมาก นักวิชาการ นักการศึกษา จากศาสตร์หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข หรือระบบสังคม และวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆในสังคม ได้สรุปว่าการสื่อสารเป็นตัวแปรหรือปัจจัยที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
    2.สถาบันสื่อสารมวลชน เป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับส่วนต่างๆมากมายนับตั้งแต่ปัจเจกบุคคลผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชน อาทิ ผู้สื่อข่าวหรือบุคคลผู้รับสารไปจนถึงหน่วยงานองค์กรและสถาบันอื่นๆ อาทิ สถาบันที่สำคัญแห่งหนึ่งในสังคม สื่อมวลชนก็จะถูกกำหนดบทบาทและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อสังคมในเรื่องหรือในด้านต่างๆ
    1.1แนวคิดเกี่ยวกับสื่อมวลชนกับการพัฒนาสังคม
    -สังคมพัฒนาไปในทิศทางใดนั้น แนวคิดสุดท้ายที่หลายสังคมมักถือเป็นคำตอบที่ดีที่สุดก็คือการผสมผสานกันระหว่างกาารพัฒนาสังคมด้านวัตถุและจิตใจไปพร้อมๆกัน
    -สื่อมวลชน ถือได้ว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งนี้ เนื่องจากคุณลักษณะและธรรมชาติของสื่อมวลชนที่สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากในเวลาเดียวกันหรือในเวลาใกล้เคียงกัน ความน่าสนใจ ความกว้างขวาง และความครอบคลุมของสื่อมวลชนจึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทั้งในระดับเล็ก คือระดับปัจเจกบุคคล และรัดับใหญ่ สื่อเป็นสถาบันหนึ่งที่มีความสำคัญในสังคม และมีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสถาบันอื่นๆอันได้แก่ สถาบันทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
    -สื่อเป็นสถาบันที่มีความสำตัญในสังคม และมีส่วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสถบันอื่นๆอันได้แก่ สถาบันทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจะพบได้ว่าสถาบันเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีบทบาทในการควบคุม การดำเนินงานของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมสื่อทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมในเรื่องของบุคลากรที่มีอาชีพทางการสื่อสาร ที่จะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามกฏหมาย กฏระเบียบ จริยธรรม จรรยาบรรณทางสังคม หรือมีส่วนในการกำหนดบทบาทหน้าที่ของประชาชนในสังคมจากการสื่อสารที่เข้าถึงประชาชนได้อย่างง่ายและรวดเร็ว
    ***ยุคเกษตรกรรม สถาบันสวนไร่นามีอาชีพเกษตรกรรม สื่อสารด้วยปาก ระบบสังคมวัฒนธรรมเป็นแบบปิด เทคโนโลยีต่ำ อำนาจอยู่ที่กำลัง
    ยุคอุตสาหกรรม สถาบันโรงงาน อาชีพพนักงานโรงงาน ข่าวสาร ติดต่อโดยสื่อสารมวลชน ใช้เทคโนโลยีระดับสูง อำนาจอยู่ที่เงิน
    ยุคข้อมูลข่าวสาร สถาบันการศึกษา วิจัยและพัฒนา อาชีพเจ้าหน้าที่ด้านข้อมูล สังคมแบบเปิด เทคโนโลยีระดับกลาง อำนาจอยู่ที่ข้อมูลข่าวสาร
    ***ยุคสังคมสื่อสาร เทคโนโลยีไมโครอีเล็กทรอนิกส์ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าสื่อใหม่ มีคุณสมบัติคือ
    - เป็นสื่อที่มีลักษณะตอบโต้ได้ (interactive media) เกิดการสื่อสาร 2 ทาง
    - เป็นสื่อที่ทำให้ผู้ส่งสารและผู้รับสาารพบกันง่ายขึ้น (asynchronous) โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่
    - เป็นสื่อที่ลดความเป็นมวลชนลง (dsmassifile) และเพิ่มโอกาสของการส่งข้อมูลข่าวสารในลักษณะที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะให้กับปัจเจกบุคคลมากขึ้น
    1.2แนวคิดเกี่ยวกับสื่อมวลชน
    สื่อมวลชนมีลักษณะพิเศษ คือ ผลิตโดยองค์กรหรือสถาบันทางสื่ิอสารมวลชนที่เป็นที่ยอมรับมีความน่าเชื่อถือสูง อาศัยความเป็นมืออาชีพ ช่องทางบรรจุข้อมูลหลากหลาย ตอบสนองสังคมได้หลากหลาย ส่วนใหญ่ใช้ความพิถีพิถันในการผลิต มีผลกระทบต่อปัจเจกบุคคลและัสังคม ถ่ายทอดอย่างเปิดเผยและเป็นสาธารณะ
    สื่อมวลชนมี 2 ประเภทใหญ่ๆคือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
    วิวัฒนาการของสื่อมวลชน
    -สื่อสิ่งพิมพ์ถือกำเนิดใน คริตศตวรรษที่ 17 ในยุโรป และเิกิดขึ้นในคริตศตวรรษที่ 18
    เทคโนโลยีการพิมเริ่มขึ้นเมื่อ คศ.15ชาวเกากลีสร้างแท่นพิมพ์แบบ metal และปี 1450 โจฮานกูเต็นเบิก ได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์แบบเคลื่อนที่
    -สื่อบันทึกเสียงและสื่อภาพยนตร์ โทมัส เอดิสัน ได้พัฒนาเครื่องบันทึกภาพ ปี 1887 การบันทึกภาพเกิดขึ้น และถูกพัฒนาเป็นการบันทึกเสียง เทปแม่เหล็กเกิดขึ้นปี 1920 ถูกใช้ในรูปแบบเทปคาสเส็ทในปี1960 ปี 1948 เครื่องเล่นเทปถูกผลิตขึ้นโดย บ.โคลัมเบียร์ รีคอร์ด ปี 1980 มีการประดิษฐ์คอมแพ็คดิส (cd) หลุยส์เซียน่า ประดิษฐ์เครื่องบันทึกภาพยนตร์ และพัฒนาเป็นภาพเคลื่อนไหว
    -สื่อกระจายเสียง วิทยุเป็นสื่อกระจายเสียงสื่อแรก และพัฒนาเป็นสื่อโทรทัศน์ บ.ไพโอเนียเป็นผู้บุกเบิกสื่อโทรทัน์ในอเมริกา 1940 ภายใต้โฆษณาว่า เรากำลังนำปฏิบัติการใหม่สู่บ้านคุณ
    -สื่อใหม่ เช่น เคเบิลทีวี ดาวเทียม เทคโนโลยีไฟเบอร์ออฟติค และคอมพิวเตอร์
    1.2บทบาทของสื่อมวลชน
    -นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนหลายท่านที่ได้ระบุบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนไว้หลายแง่มุม ซึ่งจะได้เรียบเรียงแนวคิดนับตั้งแต่ปรัชญาของบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน ไปจนถึงแนววคิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในมิติต่างๆ เช่น ทฤษฎีบรรทัดฐานของสื่อมวลชน เป็นทฤษฎีที่อธิบายบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในฐานะที่เป็นสถาบันทางสังคม ที่มองว่าสื่อมวลชนกับสังคมมีสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด โดยสื่อมวลชนจะมีบทบาทในสังคมหลายด้าน เช่น เป็นผลผลิตของสังคม สะท้อนของสังคม ผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ของชาติ เป็นต้น
    -บทบาทวิชาชีพของสื่อมวลชนแขนงต่างๆได้ถูกกำหนดโดยการนำเสนอเนื้อหานั้นๆเช่น หนังสือพิมพ์มีเกณฑ์ด้านคุณสมบัติการเสนอข่าวดังนี้ ความเป็นกลาง ยุติธรรม สมดุล ถูกต้อง กระชับและชัดเจน
    -สื่อมวลชนเป็นสถาบันหนึ่งในสังคมและมีผลต่อสถาบันอื่นๆ ได้แก่ สถาบันทางการเมือง เศษรฐกิจ สังคม
    -ระบบสื่อมวลชนก่อให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ และการใช้อำนาจของสื่ออย่างไร้ขอบเขต จนทำให้เกิดกระแสการเรียกร้องให้สื่อมวลชนมีความรับผิดชอบต่อสังคม และมีการระบุถึงสิ่งที่สื่อมวลชนพึงกระทำ โดยการควบคุมจากภาครัฐ ประชาชน และองค์กรของสื่อด้วยกันเอง
    **ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีอำนาจนิยม ต้องไม่บ่อนทำลายรัฐบาลและองค์กรภาครัฐ ต้องอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ ไม่ทำลายค่านิยมทางศีลธรรมและการเมืองของคนส่วนใหญ่
    **ระบบสื่อตามทฤษฎีอิสรภาพนิยม เป็นเครื่องมือแสดงความคิดเห็นของบุคคล แสดงสัจจะหรือแสวงหาข้อเท็จจริงของสังคม ตรวจสอบรัฐ เจ้าหน้าที่ พรรคการเมือง โดยการสอดส่อง วิพากษ์วิจารย์ แจ้งข่าวสารบันเทิงและการค้า
    **ระบบสื่อมวลชนตามทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม ให้บริการแก่ระบบการเมือง ให้ข่าวสารโต้เถียงในเรื่องส่วนรวมหรือสาธารณะ ส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตย พิทักษ์รักษาสิทธฺ์ของบุคลล เฝ้าดูรัฐบาล ให้บริการแก่ระบบเศรษฐกิจ เน้นประโยชน์ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่เสนอเรื่องราวที่นำไปสู่อาชญากรรมหรือความรุนแรง สะท้อนความคิดเห็นของสังคม
    บมบาททางวิชาชีพของสื่่่่อหนังสือพิมพ์
    -เป็นสุนัขเฝ้าบ้าน ระแวดระวังภัยให้สังคม เป็นนายประตูข่าว คัดสรรข่าวเพื่อเสนอให้ประชาชนรับทราบ เป็นผู้กำหนดวาระข่าวสาร จัดประเด็นเรื่องเพื่อให้สังคมสนใจ เป็นกระจก สะท้อนความจริงต่างๆ
    บทบาทหน้าทีี่ของสื่อวิทยุโทรทัศน์ ค้นหาและนำเสนอความจริง สนองงานด้านศิลปะ วัฒนธรรมและความบันเทิงเพื่อเสนอความงาม กระจายอำนาจเสริมสร้างสิทธิเสียงและอำนาจต่อรองของกลุ่มที่ถูกเอารักเอาเปรียบ ถ่ายทอดเนื้อหาด้านข่าวสารบ้านเมืองและความบันเทิงรูปแบบต่างๆ
    บทบาทหน้าที่เทคโนโลยีสมัยใหม่ ชยายผัสสะของปัจเจกบุคคลให้กว้างไกล เพื่อมช่องทางพิเศษในการสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายระหว่างคนในสังคม ทำหน้าที่แทนมนุษย์เพื่อให้เกิดสังคมเสมือน เป็นเครื่องมือในการสร้างกระบวนการทางการผลิต เป็นตุลาการตัดสินความถูกต้อง สร้างมาตรฐานให้สังคม แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่ม
    ***บทบาทของสื่อมวลชนกับสถาบันต่างๆในสังคม
    -ทางการเมือง ช่วยในกระบวนการเปลี่ยนแปลงอำนาจจากกรรมพันธ์หรือสายเลือดมาเป็นความสัมฤทธิผลในสังคมที่กำลังพัฒนา กระตุ้นผู้นำตามแบบประเพณีโบราณให้รักษาอำนาจของตน กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วใทางการเมือง ช่วยรัฐบาลเรียนรู้ความต้องการของประชาชน ทราบแผนการดำเนินงานต่างๆของรัฐ สร้างเอกภาพให้แก่ชาติก่อให้เกิดความเสมอภาคและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
    -ทางเศรษฐกิจ หาทางเลือกในการประกอบอาชีพ ลดความกดดันในที่ดินทำกิน ช่วยยกสถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัว ก่อให้เกิดความต้องการสินค้า กระตุ้นการริเริ่มในท้องถิ่น ขยายฐานของการค้าให้กว้างขึ้น
    -ทางสังคม เปลี่ยนแปลงสถานถาพ กระตุ้นให้คนอ่านออกเขียนไำด้ ลดความสำคัญของอายุและสถานภาพทางประเพณี ต่อสู้แข่งขันเพื่อรักษาสถานภาพของตนไว้ ชักจูงให้ส่งบุตรหลานเข้าเรียน ค้นพบบรรทัดฐานใหม่ เกิดความเสมอภาค






    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Oct 19, 2010 11:56 pm, ทั้งหมด 6 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 2 รัฐ สื่อมวลชน และประชาชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:30 pm

    แนวคิด
    1.เมื่อบุคคลในรัฐมีสิทธิ เสรีภาพอย่างหนึ่งอย่างใดโดยมีบทกฏหมายรับรองและคุ้มครองให้แล้ว รัฐย่อมต้องมีหน้าที่เอื้ออำนวยให้บุคคลในรัฐได้รับประโยชน์สมดังสิทธินั้น หน้าที่ของรัฐดังกล่าวอาจแยกได้เป็น 2 ทางคือ หน้าที่กระทำการ และหน้าที่งดเว้นกระทำการ แม้สิทธิ เสรีภาพของสื่อมวลชนจะมีความสำคัญยิ่งยวดต่อการสนองสิทธิของประชาชนในการรับรู้ข่่าวสาร แต่สิทธิเหล่านั้นก็หาใช่สิทธิโดยเด็ดขาดและปราศจากข้อจำกัดแต่อย่างใดไม่ ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ตลอดจนประโยชน์เชิงความมั่นคงของประเทศโดยส่วนรวม ยังคงเป็นข้อยกเว้นสิทธิ์และเสรีภาะซึ่งรัฐอาจนำมากล่่าวอ้างได้ เพื่อมิให้มีการเสนอข่าวหรือเผยแพร่ข่าวสารได้
    2.การควบคุมและกำกับดูแลสื่อสารมวลชนโดยรัฐ ทำได้โดยการใช้อำนาจตามบทพระราชบัญญัติของกฏหมายที่มีอยู่แล้วมาใช้บังคับควมคุมและกำกับดูแลสื่อสารมวลชน และการใช้อำนาจตามกฏหมายที่ได้ตราขึ้นเพื่อการควบคุมและกำกับดูแลสื่ิอสารมวลชนโดยตรง ตลอดจนการใช้นโยบายของรัฐในการควบคุมและกำกับดูแลสื่อสารมวลชน
    2.1 บทบาทของรัฐกับสื่อมวลชน
    -เมื่อบุคคลในรัฐมีสิทธิเสรีภาพอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีบทกฏหมายรับรองและคุ้มครองให้แล้วรัฐย่อมต้องมีหน้าที่เอื้ออำนวยให้บุคคลในรัฐได้รับประโยชน์สมดังสิทธิ์นั้น หน้าที่ของรัฐดังกล่าวอาจแยกได้เป็น 2 ทาง คือหน้าที่กระทำการ และหน้าที่งดเว้นกระทำการ
    -แม้สิทธิ เสรีภาพของสื่อมวลชนจะมีความสำคัญยิ่งยวดต่อการสนองสิทธิของประชาชนในการรับรู้ข่าวสาร แต่สิทธิเหล่านั้นก็หาใช่สิทธิโดยเด็ดขาดและปราศจากข้อจำกัดแต่อย่างใดไม่ ความโดยส่วนรวม ยังคงเป็นข้อยกเว้นสิทธิและเสรีภาพซึ่งรัฐอาจนำมากล่าวอ้างได้ เพื่อห้ามมิให้มีการเสนอข่าวหรือเผยแพร่ข่าวสารได้ ในกรณีที่มีการชั่งน้ำหนักระหว่างสิทธิประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน กับสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชนในการเสนอข่าวคดีอาญานั้นมีน้ำหนักมากกว่า
    **สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ที่กฏหมายรองรับและคุ้มครองได้ ในที่นี้หมายถึงรัฐธรรมนูญ
    **เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระที่จะกระทำหรืองดเว้นการกระทำ
    หน้าที่ของรัฐมี 2 ทางคือ หน้าที่กระทำการ หน้าที่งดเว้นกระทำการ
    ***การจำกัดสิทธิและเสรีภาพ สิทธิและเสรีภาพที่เป็นสิทธิบริบูรณ์คือสิทธิเด็ดขาดไม่อาจจำกัดได้ เช่นสิทธิในการนับถือศาสนา สิทธิและเสรีภาพที่เป็นสิทธิจำกัดซึ่งอาจทำโดยกฏหมาย สิทธิและเสรีภาพที่เป็นสิทธิสัมพันธ์หรือสิทธิที่มีเงื่อนไข หมายความว่ามิใช่สิทธิเด็ดขาด แต่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดหรือเงื่อนไขบางประการที่กำหนดเป็นกรอบไว้
    หลักการจำกัดเสรีภาพรัฐธรรมนูญแห่งาชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตร39 วรรค 2 บัญญัติหลักการจำกัดเสรีภาพไว้ว่า การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่ โดยอาศัยตามบทบัญญัติแห่งกฏหมายเฉพาะ เพื่อรักษาความมั่นคงแห่งรัฐหรือเพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิในครอบครัว หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกัน หรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน จำแนกวัตถุประสงค์สำหรับข้อยกเว้นมี 3 ประการคือ 1.หลักความมั่นคงของชาติ ข้อมูลข่าวสารบางประการต้องถูกปกปิดเป็นความลับเพื่อความมั่นคงของชาติ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับคำสั่งและกฏระเบียบภายในของเจ้าหน้าที่ที่มีความสำคัญต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของส่วนราชการ ข่าวสารเกี่ยวกับบันทึกและรายงานเตรียมการตัดสินใจของการปฏิบัติงานส่วนราชการ ***การตัดสินใจใดๆหรือเรื่องใดๆจะเกี่ยวข้องหรือไม่จึงเป็นดุลพินิจของผู้มีอำนาจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะพิจารณาและชั่งน้ำหนักของความขัดแย้งตามความเหมาะสมแห่งพฤติการณ์เป็นรายกรณีไป
    2.หลักความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ความสงบเรียบร้อยหมายถึงผลประโยชน์โดยทั่วไปของประเทศชาติและสังคม ศีลธรรมอันดี หมายถึง ทัศนะทั่วไปทางจริยธรรมของสังคม เพื่อประโยชน์แห่งความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน การที่จะกำจัดสิทธิ เสรีภาพของสื่อมวลชนและสิทธิของสาธารณชนในการเสนอและรับรู้ข่าวสารลงบ้าง จึงเป็นสิ่งที่กระทำได้เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ส่วนรวมที่เหนือกว่า 3.หลักสิทธิของบุคคลอื่น
    2.2 การควบคุมและกำกับดูแลสื่อสารมวลชนโดยรัฐ
    -ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น รัฐอาศัยกฏหมายเป็นเครื่องมือและกลไกในการบริหารงานรวมทั้งการควบคุมและกำกับดูแลสื่อสารมวลชน แต่ในบางกรณี รัฐอาจใช้นโยบายของรัฐในการควบคุมดูแลและกำกับดูแลสื่อมวลชนได้
    -โดยที่สื่อสารมวลชนคือประชาชนคือประชาชนที่อยู่ภายใต้กฏหมายเช่นประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้น การกระทำใดๆจึงต้องอยู่ภายใต้กฏหมายทั่วไปที่บัญญัติไว้แล้วมาใช้ในการควบคุมและกำกับดูแลสื่อมวลชนได้ อาทิ กฏหมายอาญาเกี่ยวกับความผิดฐานหมื่นประมาท กฏหมายเกี่ยวกับสื่อที่ไม่เหมาะสม สื่อลามก กฏหมายในความผิดฐานบุกรุก เป็นต้น
    -การดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย หรือการคุ้มครองสิทธิของประชาชนในส่วนที่สื่ออาจมีผลกระทบ หรือมีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของประชาชน การประกอบกิจการของสื่อนั้นๆ จึงต้องคำนึงถึงกฏหมายเฉพาะเรื่องที่รัฐบัญญัติขึ้นมาเพื่อคุ้มครองสิทธิของประชาชนด้วย เช่น ผู้ประกอบการโฆษณา ผู้ผลิต ผู้เผยแพร่ รัฐจึงบัญญัติกฏหมายใช้บังคับเฉพาะเรื่องกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น อาทิ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พรบ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2535
    -ในส่วนของการประกอบกิจการสื่อสารมวลชนนั้น รัฐได้ตรากฏหมายขึ้นมาเพื่อใช้ในการควบคุมและกำกับดูแลสื่อสารมวลชนโดยตรง อาิทิ พรบ.ภาพยนตร์ พ.ศ.2473 พรบ.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498
    **นโยบายเกี่ยวกับการโฆษณาสุราและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอลล์ กฏหมายเดิมโฆษณาได้ช่วง 4ทุ่ม-ตี5 ห้ามโฆษณาตี5ถึง4ทุ่ม ต่อมาจึงออกนโยบายห้ามโฆษณาเบียร์ช่วงตี5-4ทุ่ม ต่อมาถึงแม้จะอนุญาติให้โฆษณารัฐเห็นว่าโฆษณาแอลกอฮอลมีอิทธิพลต่อวัยรุ่นและผู้ใช้แรงงานมากโดยเฉพาะการใช้พรีเซนเตอร์ที่เป็นขวัญใจวัยรุุ่น จึงออกนโยบายให้โฆษณาในลักษณะการเสนอภาพลักษณ์ของบริษัทหรือกิจการ เท่านั้น
    **นโยบายเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มกาเฟอีน ห้ามโฆษณาในลักษณะเชิญชวนบริโภคหรืออวดอ้างสรรพคุณเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน


    กฏหมายมาตราต่างๆ อ่านได้จากหน้า2-19ถึง2-28 นะคะ พิมพ์ย่อให้แล้วระบบรวนหายหมดขอข้ามละกันน๊า ง่วงมาก ต่อหน่วยที่3 ละกันโน๊ะ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Oct 21, 2010 1:45 am, ทั้งหมด 9 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 3 สิทธิ เสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารและการแสดงความคิดเห็น

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:36 pm

    แนวคิด
    1.แนวคิดเรื่องสิทธิและเสรีภาพของซีกโลกตะวันตกพัฒนามาจากสิทธิตามธรรมชาติ กฏหมาย


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Oct 21, 2010 9:16 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 4 แนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรมของสื่อมวลชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:42 pm

    Very Happy
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 5 จริยธรรมสื่อสารมวลชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:43 pm

    Very Happy
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 6 บทบาทของประชาสังคมต่อการส่งเสริมจริยธรรมของสื่อสารมวลชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:47 pm

    Very Happy
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 7 สิทธิ์ได้รู้ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:51 pm

    แนวคิด
    1.


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Oct 21, 2010 9:17 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 8 แนวคิดเกี่ยวกับกฏหมาย

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:52 pm

    Very Happy
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 9 กฏหมายหนังสือพิมพืและสิ่งพิมพ์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:53 pm

    Very Happy
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 10 กฏหมายวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:55 pm

    Very Happy
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 11 กฏหมายภาพยนตร์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:56 pm

    Very Happy
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 12 กฏหมายโฆษณา

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:57 pm

    Sad
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 13 กฏหมายลิขสิทธิ์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 9:58 pm

    Shocked
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 14 สื่อมวลชนกับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและการละเมิดอำนาจศาล

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 10:00 pm

    Very Happy
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty หน่วยที่ 15 กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 19, 2010 10:01 pm

    Shocked
    avatar
    chaiwad


    จำนวนข้อความ : 8
    Join date : 04/02/2010

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty ขอสรุป บทที่3 - 15 ด้วยครับ

    ตั้งหัวข้อ  chaiwad Thu Dec 02, 2010 3:15 pm

    รบกวน พี่โซดา ส่งสรุปต่อมา บทที่ 3 - 15 จบ ด้วยครับ
    avatar
    chaiwad


    จำนวนข้อความ : 8
    Join date : 04/02/2010

    วิชากฏหมายและจริยธรรมด้านนิเทศศาสตร์ 15307 Empty มีกิจกรรมด้วย ครับ

    ตั้งหัวข้อ  chaiwad Thu Dec 02, 2010 3:16 pm

    รบกวนอีกครั้ง มีกิจกรรมวิชา กฎหมาย ฯ ผมขอด้วยครับ

      เวลาขณะนี้ Fri Apr 19, 2024 10:27 am