ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


    ลองเฉลย วิ 2 2/52

    avatar
    crylikebaby


    จำนวนข้อความ : 7
    Join date : 26/06/2010

    ลองเฉลย วิ 2 2/52 Empty ลองเฉลย วิ 2 2/52

    ตั้งหัวข้อ  crylikebaby Sun Nov 14, 2010 7:09 pm

    ข้อสอบยากใช้ได้ออกมาตราน้อยก็จริงแต่โหดเข้าขั้นเพราะไม่ออกในหนังสือไปออกในคำบรรยายเนติแทนใครอ่านในหนังสือตอบไม่ได้ชัวร์ผมเปิดดูแล้วมันไม่มีอะไรอธิบายไว้ออกแบบนี้คือเอาข้อสอบเนติเก่าๆมาออก Surprised

    ข้อ1 โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระเงินกู้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าไม่ได้กู้เงินโจทก์ตามฟ้องขอให้ยกฟ้องระหว่างพิจารณาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำหน่ายคดีจากสารบบความต่อมาอีก 5 วันโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลเดิมขอให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ฉบับเดียวกันนั้นต่อมาอีก 20 วันจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นอนุญาติให้โจทก์ถอนฟ้องและจำเลยได้ยื่นคำให้การต่อสู้ฟ้องโจทก์คดีหลังว่าเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรก

    ดังนี้ให้วินิจฉัยว่าข้อต่อสู้เรื่องฟ้องของจำเลยฟังขึ้นหรือไม่(20คะแนน)

    ปัญหาเกี่ยวกับการทิ้งฟ้องหรือถอนฟ้องตามมาตรา 176 ที่เกี่ยวพันกับฟ้องซ้อน

    เนื่องจากการถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้องที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนั้นทั้งหมดเกิดผลตามมาตรา 176 กล่าวคือลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และทำให้คู่ความนั้นกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งไม่ได้มีการยื่นฟ้องเลย และคำฟ้องที่ได้ทิ้งหรือถอนแล้วนั้นอาจยื่นใหม่ได้ภายใต้บทบังคับของกฎหมายว่าด้วยอายุความและที่จะเกิดผลเช่นว่านี้ คำสั่งศาลที่จำหน่ายคดีเพราะเหตุทิ้งฟ้องหรือถอนฟ้องต้องถึงที่สุดจบสิ้นไปแล้ว โดยไม่มีคดีนั้นค้างอยู่ในศาลใดศาลหนึ่งอีก กล่าวคือไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำสั่งศาลที่จำหน่ายคดี จึงจะถือว่าการทิ้งฟ้องหรือถอนฟ้องย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น และสามารถมาฟ้องได้

    ฎีกาที่ 1068/2517
    เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์เรียกค่าซื้อสิ่งของแล้วโจทก์ถอนฟ้องศาลจังหวัดกาฬสินธุ์อนุญาตแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดขอนแก่นเป็นคดีนี้ในมูลหนี้อันเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 โจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องจำเลยอีกมิได้ไม่ว่าจะฟ้องต่อศาลเดิมนั้นเองหรือศาลอื่น และคดีเดิมจะอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลเดียวกันหรือของศาลอื่นหรืออยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็ตาม แม้คดีเดิมนั้นโจทก์จะถอนฟ้องไปและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วแต่จำเลยยังอุทธรณ์ฎีกาต่อมา ซึ่งถ้าหากศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกากลับคำสั่งของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่ยอมให้ถอนฟ้อง โจทก์ก็ต้องดำเนินคดีเรื่องเดียวกันนั้นไปทั้งสองเรื่อง ซึ่งไม่ใช่ความประสงค์ของกฎหมาย บทบัญญัติมาตรา 176 ที่ว่าเมื่อถอนฟ้องแล้วย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยและอาจยื่นฟ้องใหม่ได้ภายใต้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความนั้น หมายความว่าการถอนฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดไปแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2503 และ 455/2511)

    ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ตามคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 5/2513 (คดีหมายเลขแดงที่ 11/2513) เรียกค่าซื้อสิ่งของในมูลหนี้อันเดียวกันนี้แล้วโจทก์ถอนฟ้องไป ศาลจังหวัดกาฬสินธุ์อนุญาตแล้ว จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คดีมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาเพียงว่า การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ ศาลฎีกาเห็นว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา และผลแห่งการนี้

    (1) ห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น........ฯลฯ"

    ตามบทบัญญัติมาตรานี้จะเห็นได้ว่า ถ้าคดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลแล้ว โจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องจำเลยอีกไม่ได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะฟ้องต่อศาลเดิมนั้นเองหรือศาลอื่นก็ตาม เพราะจะเป็นการฟ้องคดีซ้อนกันคำว่า "คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา" นั้น เห็นว่า จะอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลเดียวกันหรือของศาลอื่นก็ตาม หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ตามย่อมฟ้องใหม่ไม่ได้ ตามนัยฎีกาที่ ๔๖๖/๒๕๐๓และ ๔๕๕/๒๕๑๑ คดีเดิมนั้นแม้โจทก์จะถอนฟ้องไป และศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม แต่จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา ซึ่งหากศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกากลับคำสั่งของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่ยอมให้ถอนฟ้อง โจทก์ก็ต้องดำเนินคดีเรื่องเดียวกันนั้นไปทั้งสองเรื่อง ซึ่งไม่ใช่ความประสงค์ของกฎหมาย ตามมาตรา ๑๗๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ว่า เมื่อถอนฟ้องแล้วย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้อง และทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย และอาจยื่นฟ้องใหม่ได้ภายใต้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความนั้น หมายความว่าการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดไปแล้วไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลในศาลหนึ่ง ดังนั้น ศาลฎีกาจึงเห็นว่า โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้

    ฎีกาที่ 2555/2538
    โจทก์เคยฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้มาแล้ว โดยในคดีก่อนศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัด หลังจากนั้นโจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลในคดีก่อน และต่อมาก็ได้ยื่นคำให้การแก้ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ ดังนี้ แม้คดีที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นศาลอุทธรณ์จะได้พิพากษา และคดีถึงที่สุดไปแล้ว แต่เมื่อขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้คดีก่อนยังอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นได้ และจำเลยก็ได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด กรณีจึงต้องถือว่าขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่นั้นคดีก่อนของโจทก์ยังอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1)

    สรุปคือถ้ามีคำสั่งจำหน่ายคดีจากกรณีที่โจทก์ทิ้งฟ้องหรือถอนฟ้องแล้วโจทก์มาฟ้องในระยะเวลาที่จำเลยอาจอุทธรณ์ฎีกา คำสั่งได้ หากจำเลยอุทธรณ์ฎีกา คำสั่งดังกล่าวทันภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ฟ้องโจทก์ที่มาฟ้องในภายหลังย่อมเป็นฟ้องซ้อนไม่ว่าจำเลยจะอุทธรณ์ ฎีกา หลังที่โจทก์ฟ้องใหม่ก็ตาม ในทางตรงกันข้ามหากจำเลยไม่อุทธรณ์ฎีกาในคดีเดิมภายในกำหนดเวลาเลยหรือมาอุทธรณ์ฎีกาภายหลังครบกำหนดเวลาตามกฎหมาย ฟ้องในคดีหลังของโจทก์ย่อมไม่เป็นฟ้องซ้อนเพราะไม่มีคดีเดิมที่จะอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา

    ข้อ2 กับ ข้อ3 ไม่ยากออกตรงๆ

    ข้อ2 ศาลแพ่งพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 500,000 บาทโดยได้อ่านคำพิพากษาให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 10มิ.ย2553 แต่จำเลยมิได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อมาวันที่ 2มิ.ย2553 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งออกหมายบังคับคดีโดยขอให้พนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ 123 และระบุตำแหน่งที่ดินชัดเจนแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดที่ดินดังกล่าวของจำเลยเมื่อวันที่ 25มิ.ย2553

    ดังนี้การยึดที่ดินของเจ้าพนักงานบังคับคดีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เพราะเหตุใด

    หลักกฎหมายที่ใช้ ป.วิ.พ. มาตรา 271 โดยทั่วไปแล้วเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปี หมายถึง ยื่นให้ศาลออกหมายบังคับคดี ภายในสิบปีส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีจะบังคับคดีได้เสร็จหลังจากสิบปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นก็ถือว่าชอบด้วยกฎหมายแล้ว

    ข้อ3 คดีล้มละลายเรื่องหนึงศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักทรัพย์ของนายแสงเด็ดขาดนายแสงได้ขอประนอมหนี้แก่เจ้าหนี้ร้อยละ 40 ของเจ้าหนี้แต่ละรายที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ตกลงผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือนรวม 12 งวดนายแสงผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเพียง 6 งวดและผิดนัดชำระหนี้นายสีซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายหนึ่งในคดีล้มละลายที่เห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ดังกล่าวได้ยื่นคำขอโดยเป็นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้นายแสงลูกหนี้ ศาลล้มละลายกลางสั่งยกเลิกการประนอมหนี้แล้วนายแสงยื่นคำคัดค้านคำร้องดังกล่าวว่านายแสงจึงมีหนทางที่จะชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้จึงมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้นายแสงล้มละลาย

    (*ดังนี้ข้ออ้างของนายแสงฟังขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใด*)20คะแนน

      เวลาขณะนี้ Fri Mar 29, 2024 6:09 am