ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


    กฎหมายพาณิชณ์ 1

    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายพาณิชณ์ 1 Empty กฎหมายพาณิชณ์ 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Mon Mar 21, 2011 11:14 am

    41321
    กฎหมายพาณิชย์ 1

    ข้อ 1
    ก. รับซื้อรถยนต์นั่งจาก ข. โดยรู้ว่า ข. ลักมาจากบุคคลอื่น ต่อมาภายหลัง ค. เจ้าของรถเรียกร้องขอรถคืนจาก ก. ก. จึงเรียกร้องให้ ข.รับผิดเพราะการที่ ข. ลักมาจาก ค. นั้น เป็นความผิดทางอาญา ข. ผู้ขายโต้แย้งว่า ข. ไม่ต้องรับผิดเพราะ ก. รู้ดีว่า ข. ลักรถมาท่านเห็นด้วยกับ ข. หรือข้อโต้แย้งของ ข.



    เฉลย
    ตาม ปพพ. มาตรา 475 ถ้ามีบุคคลใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ซื้อในอันจะครองทรัพย์ สินโดยปกติสุข เพราะบุคคลผู้นั้นแม้สิทธิ์เหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้น อยู่ในเวลาขายพอดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ผู้ขายจะต้องรับผิดและตามมาตรา 476 ถ้าสิทธิ์ของผู้ก่อการรบกวนนั้นผู้ซื้อรู้อยู่แล้วในเวลาซื้อขา ยผู้ขายไม่ต้องรับผิดการที่ ค. เจ้าของรถมาเรียกรถคืนจาก ก. เป็นการก่อการรสบกวนขัดสิทธิของ ก. ผู้ซื้อในอันที่จะครองรถโดยปกติสุข เพราะ ค. มีสิทธิเหนือรถยนต์ที่ได้ซื้อขายกันอยู่นั้นเวลาซื้อขาย จึงเป็นการรอนสิทธิของ ก. ผู้ซื้อแต่ ก. ก็รู้ดีว่า ข. ลักรถนั้นมา จึงไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 476ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับ ก แต่เห็นด้วยกับข้อโต้แย้ง
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายพาณิชณ์ 1 Empty Re: กฎหมายพาณิชณ์ 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Mon Mar 21, 2011 11:16 am

    โจทก์
    1. นายแสงตกลงขายที่ดินโฉนดเลขที่ 384 ให้นายจันทร์ โดยตกลงด้วยปากเปล่ามาก่อนว่า นายแสงผู้ขายมีสิทธิไถ่คืนได้ภายในกำหนด 10 ปี ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนซื้อขายที่สำนักงานที่ดินแต่ข้อที ่ว่านายแสงผู้ขายเป็นผู้มีสิทธิไถ่คืนภายใน 10 ปีนี้ มิได้ทำเป็นหนังสือและจดลงไว้ในทะเบียนด้วย ต่อมาอีก 2 ปี นายจันทร์ผู้ซื้อได้ทำหนังสือลงลายมือชื่อนายจันทร์มอบให้นายแส งผู้ขายว่ายอมให้นายแสงซื้อคืนได้ภายใน 10ปี ตามราคาเดิม ดังนี้ท่านเห็นว่า
    1. นายแสงผู้ขายจะไถ่ที่ดินคืนจากนายจันทร์ผู้ซื้อได้หรือไม่
    2. เมื่อนายแสงผู้ขายบอกกล่าวแก่นายจันทร์ผู้ซื้อภายใน 10 ปีว่าตนตกลงซื้อคืน นายแสงบังคับให้นายจันทร์ขายที่ดินให้ตนได้หรือไม่

    เฉลย
    หลักกฎหมาย
    ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรกบัญญัติว่า การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนั กงานเจ้าหน้าที่ไซร้ท่านว่าเป็นโมฆะ...และ
    มาตรา 491 บัญญัติว่า อันว่าขายฝากนั้น คือสัญญาซื้อขายซึ่งในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยม ีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้
    มาตรา 454 วรรคแรก บัญญัติว่า การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งให้คำมั่นไว้ก่อนว่าจะซื้อหรือขาย นั้นจะมีผลเป็นการซื้อขายต่อเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งได้บอกกล่าวความแ ละคำบอกกล่าวเช่นนั้นได้ไปถึงบุคคลที่ให้คำมั่นแล้ว

    วินิจฉัย
    กรณีตามวินิจฉัยได้ดังนี้ เนื่องจากสัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขายชนิดหนึ่ง ดังนั้นสัญญาขายฝากที่ดินจึงต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพ นักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนข้อตกลงด้วยปากเปล่าที่ว่านายแสงผู้ขายมีสิทธิไถ่คืนได้ภาย ใน 10 ปีซึ่งมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนไว้ด้วย ข้อตกลงนี้ย่อมตกเป็นโมฆะเสียเปล่า (ฎีกาที่ 170/2497) ดังนั้นนายแสงผู้ขายจึงไม่มีสิทธิไถ่ที่ดินคืนจากนายจันทร์ผู้ซ ื้อแต่อย่างใด
    สำหรับนายจันทร์ผู้ซื้อทำหนังสือลงลายมือชื่อมอบให้นายแสงผู้ขา ยว่ายอมให้นายแสงซื้อที่ดินคืนภายใน 10 ปีตามราคาเดิม ดังนี้เป็นคำมั่นว่าจะขายของนายจันทร์ เมื่อนายแสงบอกแก่นายจันทร์ว่าตนตกลงซื้อคืนจึงเกิดเป็นสัญญาซื ้อขายระหว่างนายแสงกับนายจันทร์คือสัญญาขึ้นใหม่อีกสัญญาหนึ่งจ ึงบังคับให้นายจันทร์ขายที่ดินให้ตนได้

    สรุป
    1. นายแสงผู้ขายจึงใช้สิทธิไถ่คืนจากนายจันทร์ไม่ได้
    2. นายแสงจึงบังคับให้นายจันทร์ขายที่ดินให้ตนได้
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายพาณิชณ์ 1 Empty Re: กฎหมายพาณิชณ์ 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Mon Mar 21, 2011 11:18 am

    โจทก์
    นายเสาร์เอารถยนต์ของนายอาทิตย์มาให้นายจันทร์เช่าโดยที่นายอาท ิตย์มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย ต่อมานายอาทิตย์มาเรียกร้องให้นายจันทร์ผู้เช่าซึ่งครอบครอง รถอยู่ในขณะนั้นส่งรถคืนให้ตน ดังนี้ นายเสาร์จะต้องรับผิดต่อนายจันทร์ผู้เช่าหรือไม่

    เฉลย
    ตาม ปพพ. มาตรา 549 ความรับผิดของผู้ให้เช่ารถในกรณีรอนสิทธิ์ ให้บังคับด้วยบทบัญญัติว่าด้วยการซื้อขายอนุโลมตามสมควร
    ส่วนตามมาตรา 475 ถ้าหากมีผู้ใดมาก่อการรบกวนขัดสิทธิของผู้ใช้ในอันที่ขณะครองทร ัพย์สินโดยปกติสุข เพราะบุคลนั้นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ได้ซื้อขายกันนั้นอยู่ใน เวลาซื้อขายก็ดี เพราะความผิดของผู้ขายก็ดี ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบ
    โดยอนุโลมลักษณะสัญญาซื้อขายรถที่นายอาทิตย์เจ้าของมาเรียกร้อง รถที่เช่าคืนจากนายจันทร์นั้น เป็นการก่อการก่อกวนขัดสิทธิของนายจันทร์ผู้เช่าในอันขณะครอบคร องรถที่เช่าโดยปกติสุข นายอาทิตย์มีสิทธิเหนือรถ เพราะเป็นเจ้าของ จึงเป็นการรอนสิทธิของนายจันทร์ผู้เช่า นายเสาร์ผู้ให้เช่าจึงต้องรับผิดชอบต่อนายจันทร์ผู้เช่า มาตรา 549 , 475


    โจทก์
    ก ประกาศขายรถยนต์ของตนทางหนังสือพิมพ์ ปรากฏว่า นาย ข และ ค ได้สนใจมาดูรถ ค ได้วางเงินไว้ 5,000 บาท โดยยังไม่ได้ทำสัญญากันเป็นลายลักษณ์อักษร วันรุ่งขึ้น ข ได้มาหา ก และขอซื้อรถคันดังกล่าวในราคาที่แพงกว่า ก ได้ประกาศขายไว้ ก ก็ตกลงจะขายให้ ข โดยให้ ข มาทำสัญญาและโอนทางทะเบียนกันในอีก 1 อาทิตย์ข้างหน้า โดยที่ ก คิดว่าจะตกลงกับ ค อีกครั้ง อีก 3 วันต่อมา ค มาพบ ก เพื่อขอเงินที่วางไว้คืนเพราะตนตัดสินใจซื้อรถของ จ ไปแล้ว และ ค ก็ทราบว่า ข ได้ตกลงจะซื้อรถยนต์จาก ก แล้ว แต่ ก ปฏิเสธที่จะคืนเงินจำนวนดังกล่าว ค จะมีสิทธิเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนได้อย่างไร หรือไม่ เพราะเหตุใด

    เฉลย
    ประเด็นเป็นเรื่องสัญญาและมัดจำ
    หลักกฎหมาย
    มาตรา 377 บัญญัติว่า เมื่อนำเข้าทำสัญญา ถ้าได้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ท่านให้ถือว่าการที่ให้มัดจำนั้นย่อมเป็นพยานหลักฐานว่า สัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้วอนึ่ง มัดจำนี้ย่อมเป็นหลักประกันการที่จะปฏิบัติตามสัญญานั้นด้วย มาตรา 378 บัญญัติว่า มัดจำนั้นถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้เป็นไปดังกล่าวต่อไปนี้
    (1)...................................
    (2) ให้รับถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้หรือกราชำระหนี้ตกเป็ นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอ บ หรือถ้ามีการบอกเลิกสัญญาเพราะความผิดฝ่ายนั้น
    มัดจำนั้นเป็นสิ่งของที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมอบให้แก่คู่สัญญาอีก ฝ่ายหนึ่งในขณะทำสัญญา ซึ่งการวางมัดจำนี้ก็เท่ากับว่าเป็นพยานหลักฐานว่าได้เกิดมีสัญ ญาขึ้นในระหว่างคู่กรณีแล้วและมัดจำนี้ย่อมเป็นหลักประกันด้วยว ่าจะต้องปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงกันไว้นั้น (ม. 377)
    ตามข้อเท็จจริงการที่ ก ประกาศ ขายรถยนต์และ ค ได้มาสนใจดูรถและได้วางเงินไว้ให้ ก.5,000 บาท ก็แสดงว่า ก และ ค ได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายรถยนต์แล้วแม้ว่าจะมิได้ทำสัญญากันเป็นลา ยลักษณ์อักษรก็ตาม เพราะเงิน 5,000 บาท นี้ถือว่าเป็นเงินมัดจำซึ่งเป็นหลักฐานว่าทั้ง 2 จะได้ปฏิบัติก็ตามสัญญาซื้อขายคือฝ่าย ก จะเป็นฝ่ายส่งมอบรถ และ ค ต้องชำระราคาให้ครบถ้วน
    การที่ ค มาพบ ก โดยขอเงินมัดจำคืน โดยอ้างว่าการได้ซื้อรถยนต์ของ จ ไปแล้วนั้น แสดงว่า ค นั้นเป็นผู้ผิดสัญญาเพราะมิได้ชำระราคาตามสัญญาซื้อขายซึ่ง ก เองซึ่งเป็นฝ่ายผู้รับมอบมัดจำนั้นมิได้ผิดสัญญา ดังนี้ ก จึงมีสิทธิที่จะรับมัดจำนั้นเสียได้เพราะ ค ละเลยไม่ชำระหนี้ของตน ( ม.378) แม้ ค จะทราบว่า ข ได้มาตกลงจะซื้อรถยนต์จาก ก แล้วก็ตามดังนั้น ค จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินมัดจำคืน ก สามารถรับมัดจำนั้นเสียได้เพราะ ค ฝ่ายผู้ว่างมัดจำเป็นผู้วางมัดจำผู้ผิดสัญญาเสียเอง


    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายพาณิชณ์ 1 Empty Re: กฎหมายพาณิชณ์ 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Mon Mar 21, 2011 11:19 am

    โจทย์
    นายดินตกลงเช่ากระบือซึ่งเป็นจ๋าจ๊ะพาหนะจากนายฟ้ามาใช้ไถนามีกำ หนดเวลา 6 เดือนตกลงค่าเช่ากันเดือนละ 200 บาท นายดินไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนด อ้างว่าสัญญาเช่าเป็นโมฆะ เพราะมิได้ทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตนไม่ต้องชำระค่าเช่า นายฟ้าจึงนำเรื่องมาปรึกษาท่าน ท่านจะให้คำปรึกษาแก่นายฟ้าประการใดบ้าง

    เฉลย
    ตาม ปพพ. มาตรา 538 การเช่าอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่า ยที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเขามีกำหนดว่าสามปีขึ้นไป หรือกำหนดตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า หากมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การเช่านั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แต่เพียงสามปี
    ตามปัญหา กระบือเป็นสังหาริมทรัพย์มิให้อสังหาริมทรัพย์ แม้จะเป็นจ๋าจ๊ะพาหนะก็ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 538 ที่การเช่าจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ฯลฯ หรือต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ฉะนั้นการเช่ากระบือระหว่างนายดินนายฟ้าจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสื อและจดทะเบียน และไม่เป็นโมฆะนายดินจะต้องชำระค่ากระบือแก่นายฟ้าข้าพเจ้าจะให ้คำปรึกษาแก่นายฟ้าโดยนัยดังกล่าว

    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายพาณิชณ์ 1 Empty Re: กฎหมายพาณิชณ์ 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Mon Mar 21, 2011 11:20 am

    3. บริษัทช้างสารจำกัดได้ทำสัญญาจ้างบริษัทงูเห่าจำกัดก่อสร้างอาค ารและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวางท่อน้ำประปาของอาคารเมื่อวันที่18 เมษายน2527บริษัทช้างสารจำกัดได้ตรวจรับงานเมื่อวันที่11มีนาคม 2529ต่อมาเมื่อวันที่10กันยายน2529ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่บริษัท งูเห่าจำกัดต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องบริษัทช้างส ารจำกัดได้ตรวจสอบว่าอาคารและสิ่งปลูกสร้างชำรุดเสียหายใช้งานไ ม่ได้ตามปกติท่อน้ำประปารั่วและซึมเป็นระยะๆและต้องเสียค่าซ่อม แซมถึง1ล้านบาทเศษรวมทั้งค่าน้ำประปาสูงเกินจริงตั้งแต่เดือนกร กฎาคม2529ถึงกุภาพันธ์2531รวม20เดือนรวมเป็นเงิน2.5ล้านบาทจึงฟ ้องคดีนี้เมื่อวันที่1มีนาคม2531ให้บริษัทงูเห่าจำกัดชดใช้ค่าเ สียหายบริษัทงูเห่าจำกัดต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความแล้วดังนี้ถาท่ านเป็นศาลจะตัดสินอย่างไร(ฎีกาที่4742/22537)

    แนวตอบ
    ป.พ.พ.มาตรา601บัญญัติว่าท่านห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นป ีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น
    กรณีตามปัญหา เป็นสัญญาจ้างทำของระหว่างบริษัทช้างสารจำกัดโจทก์ในฐานะผู้ว่า จ้างกับบริษัทงูเห่าจำกัดจำเลยในฐานะผู้รับจ้างข้อต่อสู้ของจำเ ลยที่ว่าคดีโจทก์ฟ้องนี้ขาดอายุความแล้วฟังขึ้นเพราะความขำรุดบ กพร่องได้ปรากฏขึ้นหลังส่งมอบงานแล้วประมาณ6เดือนอายุความก็เริ ่มนับตั้งแต่ความชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้นเมื่อวันที่10กันยายน252 9แล้วโจทก์จึงฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดอายุความ1ปีคือต้องฟ้องก่อน1 0กันยายน2530เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่1มีนาคม2531จึงถือว่า ขาดอายุความและไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นค่าเสียหายแต่อย่างใด

    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายพาณิชณ์ 1 Empty Re: กฎหมายพาณิชณ์ 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Mon Mar 21, 2011 11:21 am

    3. บริษัทช้างสารจำกัดได้ทำสัญญาจ้างบริษัทงูเห่าจำกัดก่อสร้างอาค ารและสิ่งปลูกสร้างรวมทั้งวางท่อน้ำประปาของอาคารเมื่อวันที่18 เมษายน2527บริษัทช้างสารจำกัดได้ตรวจรับงานเมื่อวันที่11มีนาคม 2529ต่อมาเมื่อวันที่10กันยายน2529ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่บริษัท งูเห่าจำกัดต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องบริษัทช้างส ารจำกัดได้ตรวจสอบว่าอาคารและสิ่งปลูกสร้างชำรุดเสียหายใช้งานไ ม่ได้ตามปกติท่อน้ำประปารั่วและซึมเป็นระยะๆและต้องเสียค่าซ่อม แซมถึง1ล้านบาทเศษรวมทั้งค่าน้ำประปาสูงเกินจริงตั้งแต่เดือนกร กฎาคม2529ถึงกุภาพันธ์2531รวม20เดือนรวมเป็นเงิน2.5ล้านบาทจึงฟ ้องคดีนี้เมื่อวันที่1มีนาคม2531ให้บริษัทงูเห่าจำกัดชดใช้ค่าเ สียหายบริษัทงูเห่าจำกัดต่อสู้ว่าคดีขาดอายุความแล้วดังนี้ถาท่ านเป็นศาลจะตัดสินอย่างไร(ฎีกาที่4742/22537)

    แนวตอบ
    ป.พ.พ.มาตรา601บัญญัติว่าท่านห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นป ีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น
    กรณีตามปัญหา เป็นสัญญาจ้างทำของระหว่างบริษัทช้างสารจำกัดโจทก์ในฐานะผู้ว่า จ้างกับบริษัทงูเห่าจำกัดจำเลยในฐานะผู้รับจ้างข้อต่อสู้ของจำเ ลยที่ว่าคดีโจทก์ฟ้องนี้ขาดอายุความแล้วฟังขึ้นเพราะความขำรุดบ กพร่องได้ปรากฏขึ้นหลังส่งมอบงานแล้วประมาณ6เดือนอายุความก็เริ ่มนับตั้งแต่ความชำรุดบกพร่องปรากฏขึ้นเมื่อวันที่10กันยายน252 9แล้วโจทก์จึงฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดอายุความ1ปีคือต้องฟ้องก่อน1 0กันยายน2530เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่1มีนาคม2531จึงถือว่า ขาดอายุความและไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นค่าเสียหายแต่อย่างใด

    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายพาณิชณ์ 1 Empty Re: กฎหมายพาณิชณ์ 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Mon Mar 21, 2011 11:22 am

    ข้อ 3
    นายสุดตกลงจ้างนายเอกถมดินที่ดินของนายสุดแปลงหนึ่งเนื้อที่ 100 ตารางวา คิดเป็นเงินค่าจ้าง 100,000 บาท นายเอกไม่มีรถขนดินพอเพียง เพราะรับถมดินไว้หลายแห่ง นายเอกจึงเอางานที่รับจ้างนายสุดไปจ้างให้นายโทจัดทำแทน คิดเป็นเงินค่าจ้าง 80,000 บาท นายสุดรู้เข้า จึงต่อว่านายเอก โดยอ้างว่านายเอกผิดสัญญา เพราะนายสุดไม่ได้จ้างนายโท นายเอกโต้แย้งว่านายสุดไม่มีสิทธิมาอ้างว่านายเอกผิดสัญญา เพราะสัญญาจ้างถมดินไม่ได้ทำเป็นหนังสือ จึงใช้บังคับกันไม่ได้ ท่านเห็นด้วยกับข้ออ้างและข้อแย้งระหว่างบุคคลทั้งสองหรือไม่

    เฉลย
    ตาม ปพพ. มาตรา 587 จ้างทำของคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ ง เรียกว่าผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จ แห่งการที่ทำ
    และตามมาตรา 607 ผู้รับจ้างจะเอาการที่รับจ้างทั้งหมดหรือแบ่งการแต่บางส่วนไปให ้ผู้รับจ้างช่วยทำอีกทอดหนึ่งก็ได้ ฯลฯ
    การจ้างถมดินเป็นสัญญาจ้างทำของ เพราะมุ่งถึงผลสำเร็จของการงานที่ทำ และไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
    ตามปัญหาแยกพิจารณาได้ดังนี้
    (ก) ที่ทนายเอกโต้แย้งว่า สัญญาจ้างถมดินไม่ได้ทำเป็นหนังสือจึงใช้บังคับกันไม่ได้นั้นไม ่ถูกต้อง ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย
    (ข) การที่ทนายเอกเอางานไปให้นายโทจัดทำแทนย่อมทำได้ตามมาตรา 607 ไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
    ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับข้ออ้างข้อโต้แย้งระหว่างบุคคลทั้งสอง
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายพาณิชณ์ 1 Empty Re: กฎหมายพาณิชณ์ 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Mon Mar 21, 2011 11:23 am

    โจทก์
    นายแสงตกลงขายที่ดินโฉนดเลขที่ 384 ให้นายเสาร์ราคา 2,000,000 บาท โดยมีข้อสัญญาว่านายเสาร์ยอมให้นายแสงเรียกร้องเอาราคาเมื่อใดก ็ได้ ตกลงจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หลังจากช ำระราคากันแล้วหนึ่งเดือน และตกลงกันด้วยว่าระหว่างที่ยังไม่ชำระราคาที่ดิน นายเสาร์ต้องเสียค่าเช่าให้นานแสงเดือนละ 10,000 บาท นายแสงได้มอบที่ดินให้นายเสาร์ครอบครองแล้ว ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างนายแสงนายเสาร์เป็นสัญญาซ ื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือ สัญญาเช่าซื้อ เพราะเหตุใด

    เฉลย
    ตามปัญหาคู่สัญญาตกลงจะเป็นหนังสือและจดทะเบียนสัญญาซื้อขายต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่หลังจากชำระราคาแล้วหนึ่งเดือน จึงเป็นกรณีที่คู่กรณีมีเจตนาจะทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาระหว่างนายแสงกับนายเสาร์ จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
    ตาม ปพพ. มาตรา 572 เช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว ่าจะ ขายทรัพย์สินนั้น ฯลฯ
    ตามมาตรา 572 สัญญาเช่าซื้อจะต้องเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินออกให้เช่าและให ้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น
    แต่ตามปัญหาเป็นกรณีที่คู่สัญญาทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน ระหว่างที่นายเสาร์ยังไม่ชำระเงินราคาที่ดิน นายเสาร์ตกลงเสียค่าเช่าแก่นายแสง จึงเป็นกรณีที่นายเสาร์เช่าที่ดินที่ทำสัญญาจะซื้อขายกับนายแสง ไม่ใช่เรื่องนายแสงเอาที่ดินออกให้นายเสาร์เช่าแล้วให้คำมั่นว่ าจะขายที่ดินแก่นายแสง จึงไม่เป็นสัญญาเช่าซื้อ
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายพาณิชณ์ 1 Empty Re: กฎหมายพาณิชณ์ 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Mon Mar 21, 2011 11:25 am

    โจทก์
    นายแสงตกลงขายที่ดินโฉนดเลขที่ 384 ให้นายเสาร์ราคา 2,000,000 บาท โดยมีข้อสัญญาว่านายเสาร์ยอมให้นายแสงเรียกร้องเอาราคาเมื่อใดก ็ได้ ตกลงจะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หลังจากช ำระราคากันแล้วหนึ่งเดือน และตกลงกันด้วยว่าระหว่างที่ยังไม่ชำระราคาที่ดิน นายเสาร์ต้องเสียค่าเช่าให้นานแสงเดือนละ 10,000 บาท นายแสงได้มอบที่ดินให้นายเสาร์ครอบครองแล้ว ดังนี้ให้ท่านวินิจฉัยว่าสัญญาระหว่างนายแสงนายเสาร์เป็นสัญญาซ ื้อขายเสร็จเด็ดขาดหรือ สัญญาเช่าซื้อ เพราะเหตุใด

    เฉลย
    ตามปัญหาคู่สัญญาตกลงจะเป็นหนังสือและจดทะเบียนสัญญาซื้อขายต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่หลังจากชำระราคาแล้วหนึ่งเดือน จึงเป็นกรณีที่คู่กรณีมีเจตนาจะทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาระหว่างนายแสงกับนายเสาร์ จึงเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
    ตาม ปพพ. มาตรา 572 เช่าซื้อ คือ สัญญาซึ่งเจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว ่าจะ ขายทรัพย์สินนั้น ฯลฯ
    ตามมาตรา 572 สัญญาเช่าซื้อจะต้องเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินออกให้เช่าและให ้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น
    แต่ตามปัญหาเป็นกรณีที่คู่สัญญาทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน ระหว่างที่นายเสาร์ยังไม่ชำระเงินราคาที่ดิน นายเสาร์ตกลงเสียค่าเช่าแก่นายแสง จึงเป็นกรณีที่นายเสาร์เช่าที่ดินที่ทำสัญญาจะซื้อขายกับนายแสง ไม่ใช่เรื่องนายแสงเอาที่ดินออกให้นายเสาร์เช่าแล้วให้คำมั่นว่ าจะขายที่ดินแก่นายแสง จึงไม่เป็นสัญญาเช่าซื้อ
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายพาณิชณ์ 1 Empty Re: กฎหมายพาณิชณ์ 1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Mon Mar 21, 2011 11:26 am

    คำถาม
    นายรัตน์เช่ารถยนต์นั่งจากนายทรง ระหว่างอายุสัญญาเช่านายสิทธิมาอ้างต่อนายรัตน์ว่า รถคันที่นายรัตน์เช่ามาจากนายทรงนั้นเป็นของนายสิทธิ นายทรงเช่าซื้อมาจากนายสิทธิ นายทรงผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ โดยบอกเลิกสัญญาแล้ว ขอให้นายรัตน์ส่งรถคืน นอกจากนี้นายนิดหลานของนายรัตน์ซึ่งอยู่กับนายรัตน์ได้เอารถไปใ ช้ และขับรถชนต้นไม้ข้างทางโดยประมาทเลินเล่อ รถเสียหาย ดังนี้การที่นายสิทธิกล่าวอ้างดังกล่าวต่อนายรัตน์ นายรัตน์มีหน้าที่และความรับผิดอย่างไรต่อนายทรงบ้าง และนายรัตน์ต้องรับผิดในกรณีที่นายนิดเอารถไปใช้ขับชนต้นไม้และ รถเสียหายหรือไม่

    เฉลย
    ปพพ.มาตรา 577 บัญญัติว่า “... (3) ถ้าบุคคลภายนอก...เรียกอ้าสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเสียสิทธิ (ที่เช่า) ให้ผู้เช่าแจ้งเหตุแก่ผู้ให้เช่าโดยพลัน เว้นแต่ให้ผู้เช่าจะได้ทราบเหตุนั้นอยู่ก่อนแล้ว ถ้าผู้เช่าละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัตินี้ไซร้ ผู้เช่าต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าในเมื่อผู้ให้เช่าต้องเสียหายอย ่างใดๆ เพราะละเลยชักช้าของผู้เช่านั้น”
    มาตรา 622 วรรคแรกบัญญัติว่า “ผู้เช่าจะต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินที่เช่า เพราะความผิดของผู้เช่าเอง หรือช่องบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่าหรือของผู้เช่าช่วง
    การที่นายสิทธิอ้างต่อนายรัตน์ว่ารถเป็นของนายสิทธิ ฯลฯ นายรัตน์ผู้เช่ามีหน้าที่ต้องแจ้งต่อนายทรงผู้ให้เช่าโดยพลัน ถ้านายรัตน์ไม่แจ้ง นายรัตน์จะต้องรับผิดต่อนายทรงในเมื่อนายทรงต้องเสียหายอย่างใด ๆ เพราะความละเลยชักช้าของนายรัตน์ตามมาตรา 557 ดังกล่าว
    ส่วนการที่นายนิดเอารถไปชนต้นไม้โดยประมาทเลินเล่อ รถเสียหายนั้นนายนิดเป็นผู้อยู่กับนายรัตน์ผู้เช่ารถ นายรัตน์ก็ต้องรับผิดต่อนายทรงผู้ให้เช่าตามมาตรา 562 ดังกล่าว

      เวลาขณะนี้ Fri Mar 29, 2024 2:55 pm