ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232

    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:37 pm

    หน่วยที่ 1ความรุ้เบื้องต้นเกี่ยวกับการสื่อสารและพฤติกรรมการสื่อสาร

    แนวคิด
    1.การสื่อสาร เป็นกระบวนการติดต่อ แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดข่าวสารจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยใช้ระบบสัญลักษณ์ที่มีการรับรู้ความหมายร่วมกัน กระบวนการสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่มีที่สิ้นสุด และมีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์
    2.บทบาทหน้าที่ของการสื่อสาร จำแนกได้เป็นบทบาทหน้าที่ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ และบทบาทหน้าที่ที่ซึ่งถูกกำหนดโดยสังคม บทบาทหน้าที่การสื่อสารมีอิทธิพลต่อบุคคลทั้งในระดับปัจเจกและระดับสังคม
    3.วัตถุประสงค์ และประเภทของการสื่อสาร เป็นปัจจัยหลักที่ผู้สื่อสารต้องคำนึงถึงขณะทำการสื่อสารเพื่อให้การสื่อสารเป็นไปตามทิศทางที่ผู้สื่อสารต้องการและมีรุปแบบที่เหมาะสม
    4.พฤติกรรมการสื่อสาร เป็นกลไกหลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเกิดจากการเรียนรู้ โดยมีปัจจัยต่างๆทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกมาเป็นตัวกำหนด
    5.พฤติกรรมการสื่อสารเป็นกระบวนการที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการทางจิตวิทยา สังคม วัฒนธรรมและได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยี นับตั้งแต่ยุควัฒนธรรมการสื่อสารด้วยการพูดเป็นต้นมา

    1.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสาร
    - การสื่อสารมีความหมายที่หลากหลายและแตกต่างกันออกไปตามมุมมองของนักวิชาการแต่ละคนผู้ที่ศึกษาเรื่องของการสื่อสารควรเชื่อมโยงความหมายต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นภาพรวมที่แท้จริงของการสื่อสาร
    - การสื่อสารมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ใน 3 ลักษณะคือ เป็นบ่อเกิดของอารยธรรมมนุษย์ เป็นการเชื่อมโยงบุคคลและสังคม และเป็นเครื่องมือและกลไกในการดำเนินชีวิต
    - บทบาทหน้าที่พื้นฐานของการสื่อสาร ได้แก่ บทบาทหน้าที่ในดับปัจเจกบุคคลเนื่องจากเป็นบทบาทหน้าที่ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติมี 4 ด้านคือ การตอบสนองต่อความต้องการทางกายภาพ การตอบสนองต่อความต้องการด้านการสร้างอัตลักษณ์ให้แก่ตนเอง การตอบสนองด้านความต้องการของสังคมให้เป็นที่ยอมรับและมีส่วนร่วมในสังคม และการตอบสนองด้านอาชีพ ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน
    - วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร เป็นตัวกำหนดทิศทางของการสื่อสารว่าจะดำเนินไปในลักษณะใดแบ่งออกได้เป็น วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร และวัตถุประสงค์ของผู้รับสาร
    *วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร 1.เพื่อบอกกล่าว 2.เพื่อให้ความรู้ 3.เพื่อโน้มน้าวใจ 4.เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน
    *วัตถุประสงค์ของผู้รับสาร 1.เพื่อเข้าใจ 2.เพื่อเรียนรู้ 3.เพื่อตัดสินใจ 4.เพื่อแสวงหาความเพลิดเพลิน
    - ประเภทของการสื่อสารแบ่งตามจำนวนผู้กระทำการสื่อสาร ความเป็นไปได้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการป้อนกลับ และวัตถุประสงค์หลักของการสื่อสารมี 6 ประเภทคือ
    การสื่อสารภายในบุคคล - ไม่มีบุคคลเกี่ยวข้อง ไม่มีปฏิกิริยาตอบกลับ เพื่อคิดให้เหตุผล วิเคราะห์และแระเมินผล
    การสื่อสารระหว่างบุคคล - เป็นการสื่อสาร 2 บุคคล เป็นไปได้ที่จะมีปฏิริริยาตอบกลับมากที่สุด เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับผู้อื่น
    การสื่อสารกลุ่ม - เป็นการสื่อสาร 5-7 คน ปานกลาง - มาก(ตอบกลับ) เพื่อให้ / แลกเปลี่ยนข้อมูลกระตุ้นให้เกิดแนวคิดการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาในกลุ่ม
    การสื่อสารองค์การ - เป็นกลุ่มขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในองค์การ
    การสื่อสารสาธารณะ - เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลโน้มน้าวใจและให้ความบันเทิง
    การสื่อสารมวลชน - ใหญ่ กระจาย เพื่อบอกกล่าวให้ความรู้โน้มน้าวใจและให้ความบันเทิง

    1.2 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสาร
    - ความหมายของพฤติกรรมการสื่อสาร เป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดด้านการสื่อสาร และแนวคิดด้านพฤติกรรมศาสตร์ พฤติกรรมการสื่อสารมีความสำคัญและเป็นกลไกหลักในการดำเนินชีวิตของบุคคลที่มีความจำเป็น และจะขาดเสียมิได้
    **ทฤษฎีต่างๆที่เป็นรากฐานของการศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ได้แก่
    * ทฤษฎีพันธุศาสตร์ – มีมาแต่กำเนิด
    * ทฤษฎีการเรียนรู้ – สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดพฤติกรรม
    * ทฤษฎีความเข้าใจ – พฤติกรรมมนุษย์อธิบายได้ด้วยความรู้ความเข้าใจหรือเหตุผลของคนนั้นๆ
    * ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ – เกิดขึ้นจากผลสะท้อนมาจากประสบการณ์ในวัยเด็กของบุคคล
    * ทฤษฎีบทบาท – บทบาทและความคาดหวังของบุคคลมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์
    - พฤติกรรมการสื่อสารมีลักษณะเป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่ง มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ พฤติกรรมการสื่อสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และพฤติกรรมการสื่อสารที่เกิดจากการเรียนรู้
    - ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการสื่อสาร ประกอบด้วย ปัจจัยทางด้านสรีระ ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ปัจจัยทางด้านสังคม ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยทางด้านสถานการณ์ทางการสื่อสาร
    1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมมนุษย์กับการสื่อสาร
    - พฤติกรรมมนุษย์เชิงจิตวิทยาที่มีความสัมพันธ์กับการสื่อสาร สามารถอธิบายได้ด้วยแนวคิด 6 ประการคือ แนวคิดด้านโครงสร้างนิยม แนวคิดด้านหน้าที่นิยม แนวคิดกลุ่มจิตวิเคราะห์ แนวคิดเกี่ยวกับอารมณ์และแรงจูงใจ แนวคิดการรับรู้ และแนวคิดเรื่องการเรียนรู้
    - สังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ใน 2 ระดับคือ อิทธิพลในระดับปัจเจกบุคคล และอิทธิพลในระดับสังคม
    - ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร และวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก และสะท้อนออกมาให้เห็นจากวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในลักษณะต่างๆในชีวิตประจำวัน แม้แต่ในกิจกรรมที่เป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐาน เช่น การรับรู้ และการสร้างความสัมพันธ์
    - เทคโนโลยีการสื่อสารที่มีผลต่อพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ยุค ได้แก่ เทคโนโลยีการสื่อสารในยุควัฒนธรรมการสื่อสารแบบการพูด เทคโนโลยีการสื่อสารในยุควัฒนธรรมการสื่อสารแบบการเขียนเริ่มเมื่อมีการสร้างตัวอักษรในกรีก ก่อนปี ค.ศ.720 และเทคโนโลยีการสื่อสารในยุควัฒนธรรมอิเลคทรอนิคส์ การทำงานของตัวนำไฟฟ้า เริ่มจากโทรเลข ค.ศ. 1877 ฉายภาพยนตร์เรื่องแรก ค.ศ.1903 การสาธิตระบบวิทยุกระจายเสียงครั้งแรก ค.ศ.1906 การแพร่ภาพวิทยุโทรทัศน์ครั้งแรก 1939 และถือกำเนิดคอมพิวเตอร์ ค.ศ.1946


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sat Feb 13, 2010 11:52 am, ทั้งหมด 6 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 2 พฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:38 pm

    หน่วยที่ 2 พฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์
    แนวคิด
    1.พฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์เริ่มจากพัฒนาการด้านกายภาพ ได้แก่ มือและสมอง ซึ่งทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารซึ่งกันและกันได้ การสื่อสารเป็นเครื่องมือที่ประสานให้กิจกรรมของมนุษย์ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ทำให้มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคม และพัฒนาความสามารถในการใช้สัญญาณและสัญลักษณ์เพื่อการติดต่อสื่อสาร โดยภาษาถือว่าเป็นสัญลักษณ์ประการหนึ่ง
    2.ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ภาษาของมนุษย์เต็มไปด้วยความหมายและแบ่งย่อยออกเป็นหน่วยย่อยๆ ได้แก่ เสียง หน่วยคำ และคำ โดยมีกฎเกณฑ์กำหนดการใช้ภาษานั้นๆ ภาษาเพื่อการสื่อสารเป็นภาษาที่เกิดขึ้นด้วยเจตจำนงของผู้สื่อสาร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการโดยมีบทบาทและรูปแบบหลากหลาย
    3.ภาษาของมนุษย์มีทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยมนุษย์สามารถใช้ภาษาพูดเพื่อการสื่อสารโดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งด้านเวลาและสถานที่ เนื่องจากภาษาพูดมีลักษณะทวิลักษณ์ ความสมมติ ความไม่มีขีดจำกัด ความไม่จำกัดในเรื่องของผู้ส่งสาร เวลา และสถานที่ และยังเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรมและวิทยาการอีกด้วย อย่างไรก็ตาม มีภาษาพูดจำนวนมากได้สูญหายไปอันเนื่องมาจากการสูญสิ้นชาติพันธ์ของผู้ที่พูดภาษานั้นๆ การไม่มีระบบตัวเขียน และสงครามระหว่างชาติรัฐ
    4. มนุษย์พัฒนาภาษาเขียนเพื่อจดบันทึกข่าวสารต่างๆ โดยพัฒนารูปแบบจากภาพความคิด สัญลักษณ์รูปคล้าย จนเป็นระบบตัวอักษร การพัฒนาการเขียนทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาความคิดและการสื่อสารให้ก้าวหน้าขึ้น เทคโนโลยีการพิมพ์ทำให้การส่งข่าวสารเป็นไปอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น นอกจากนั้นพัฒนาการของสื่ออิเล็กทรอนิกส์อันประกอบไปด้วย วิทยุ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และอินเทอร์เนต มีส่วนทำให้การสื่อสารของมนุษย์ก้าวหน้าขึ้น
    5.ปัจจัยกำหนดพัฒนาการด้านการสื่อสารประกอบด้วย ปัจจัยด้านวัฒนธรรม สังคม การเมือง เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริมและสกัดกั้นดารพัฒนาการด้านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆกัน
    2.1 พัฒนาการด้านกายภาพของพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์
    - มนุษย์ได้พัฒนาร่างกายและอวัยวะที่ใช้ในการสื่อสารมาเป็นเวลานานแล้ว รวมถึงสามารถสร้างภาษาขึ้นมาได้ และยังสามารถสร้างและส่งผ่านวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นมานั้นไปยังคนรุ่นใหม่ได้ การสื่อสารเป็นวิถีทางในการประสานมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันเป็นสังคม และเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้เพื่อทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน
    - มนุษย์พัฒนา “สัญญาณ” เพื่อเป็นสื่อความหมายถึง สิ่งที่มองเห็นด้วยตาหรือได้ยินด้วยหู สัญญาณอาจมีลักษณะเฉพาะหรือเป็นสากล ส่วนสัญลักษณ์หมายถึงลักษณะรูปธรรมซึ่งมนุษย์สร้างขึ้นสำหรับใช้เป็นตัวแทนของลักษณะนามของสิ่งต่างๆ ภาษาถือว่าเป็นสัญลักษณ์ชนิดหนึ่ง
    - ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัณของมนุษย์ในการสะสมและถ่ายทอดความรู้และข้อมูลข่าวสารประกอบไปด้วยความหมายและแยกย่อยออกได้เป็นระดับคือเสียง หน่วยคำ และคำ นอกจากนั้น ภาษายังมีกฏเกณฑ์ที่เรียกว่าไวยากรณ์ ระบบความหมาย และวัจนปฏิบัติ
    - ภาษาเพื่อการสื่อสารแตกต่างจากภาษาทั่วไปเพราะเกิดขึ้นโดยมีการตระหนักรู้และเจตจำนง คือรู้ว่ากำลังสื่อสารอยู่กับใครและเพื่อวัตถุประสงค์ใด ภาษาเพื่อการสื่อสารมีบทบาทและรูปแบบหลายหลากแตกต่างกัน และยังรวมถึงการสื่อสารแบบอวัจนภาษาอีกด้วย
    2.2 รูปแบบของพฤติกรรมการสื่อสสารของมนุษย์
    - ภาษาพูดมีคุณสมบัติที่ช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่มีขีดจำกัดทั้งด้านเวลาและสถานที่ ภาษาพูดบางส่วนได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นภาษาเขียน แต่มีภาษาพูดจำนวนมากที่หายไป ภาษาพูดมีความสำคัญต่อมนุษย์ เพราะมีบทบาทเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ช่วยให้มนุษย์บอกเล่าเรื่องราวต่างๆให้ผู้อื่นได้รับทราบ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง
    - ภาษาเขียนพัฒนาขึ้นเพื่อจดบันทึกปริมาณผลผลิต ภาษีที่จัดเก็บ มีรูปแบบเป็นภาพความคิดสัญลักษณ์รูปคล้ายและระบบตัวอักษร ระบบตัวเขียนแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือระบบตัวอักษร และสัญลักษณ์แทนพยางค์ การพัฒนาภาษาเขียนทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาความคิด เผยแพร่ความคิดไปยังสมาชิกอื่นๆในสังคม ตลอดจนสามารถพัฒนาศักยภาพในการสื่อสารของตนให้ก้าวหน้ามากขึ้น
    - สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญประกอบด้วย วิทยุ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอิทธิพลอย่างสูงต่อการสื่อสารของมนุษย์ในปัจจุบัน การพัฒนาเทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสารช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในด้านโอกาสการใช้เทคโนโลยีเพื่อค้นหาความรู้หรือข้อมูลข่าวสาร
    **วิทยุ จากการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยแม็กซ์เวลและเฮิร์ท ในทศวรรษที่1860และ 1880 ต้นศต.ที่ 20มาร์โคนีเปลี่ยนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าให้กลายเป็นเครื่องส่งโทรเลขแบบไร้สายแล้วก็ได้พัฒนามาเป็นวิทยุกระจายเสียง
    **ภาพยนตร์ ที่เคลื่อนไหวได้ประดิษฐ์ขึ้นโดยพี่นอ้งตระกูลลูมิเยร์ ปารีส ฝรั่งเศสปี 1895 มีการจัดแสดงภาพยนตร์ภาพเคลื่อนไหวเป็นครั้งแรกแต่ไม่มีเสียง ปี 1930 มีทั้งภาพและเสียง มีค่าใช้จ่ายสูง ฮอลลีววู้ดเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลครอบงำอุตสาหกรรมภาพยนตร์นานาชาติ
    **โทรทัศน์ประดิษฐ์ปี 1920 แต่ในฐานะสื่อมวลชนได้เริ่มก่อนสงครามโลกครั้งที่2 ไม่นานในอเมริกาปี 1950 โทรทัศน์กลายเป็นนวัตกรรมที่แพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง รวดเร็ว
    **การผสมผสานกับสื่อสมัยใหม่ เมื่อมีการประดิษฐ์กล้องวีดีทัศน์และเครื่องเล่นวิดีทัศน์ขึ้นกลางทศวรรษ1970 วีดีทัศน์กลายเป็นสะพานเชื่อมระหว่างสื่อมวลชน
    **คอมพิวเตอร์ ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เก็บไว้ในเครือข่ายใยแมงมุม (www)
    2.3 ปัจจัยกำหนดพัฒนาการด้านการสื่อสาร
    - แต่ละสังคมจะมีลักษณะของวัฒนธรรมเฉพาะตัว ซึ่งจะกำหนดค่านิยมและนำไปสู่รูปแบบการสื่อสารของสมาชิกในสังคมนั้นๆ และมีอิทธิพลต่อทัศนคติและค่านิยมของสมาชิก ตลอดจนการใช้ภาษาและธรรมเนียมประเพณีที่สมาชิกในสังคมยอมรับและนำมาปฏิบัติ นอกจากนั้นยังมีการคิดค้นประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ที่ละเอียดอ่อนและซับซ้อนซึ่งสะท้อนให้เห็นระบบความเชื่อและค่านิยมดังกล่าว การสื่อสารในสังคมซึ่งมีวัฒนธรรมขั้นสูงจะพัฒนาได้รวดเร็วกว่าและในระดับที่สุงกว่าในสังคมที่ยังไม่สามารถสร้างสรรค์วัฒนธรรมขั้นสูงได้
    - โครงสร้างด้านการสื่อสาร หมายถึง ทรัพยากรด้านการสื่อสารภายในสังคมเป็นปัจจัยกำหนดการสื่อสารของมนุษย์ รูปแบบการสื่อสารของมนุษย์ในรูปแบบต่างๆจะมีลักษณะแตกต่างกัน
    - การสื่อสารจะพัฒนาขึ้นสอดคล้องกับการพัฒนาทางการเมือง ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความจำเป็นในการปกครองและความต้องการของผู้ปกครอง การพัฒนารูปแบบการปกครองของมนษย์จะดำเนินมาโดยลำดับพร้อมๆกับการพัฒนาด้านการสื่อสาร
    - ระบบเศรษฐกิจของสังคมมนุษย์มีวิวัฒนการพร้อมกับการสื่อสาร โดยรูปแบบการสื่อสารจะแตกต่างกันออกไปในระบบเศรษฐกิจแต่ละประเภท
    - ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดการพัฒนาด้านการสื่อสารเป็นลำดับขั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ที่ช่วยขยายศักยภาพการสื่อสารของมนุษย์ให้กว้างไกลมากขึ้น เทคโนโลยีการสื่อสารมีบทบาทในการพัฒนาการสื่อสารทั้งในแง่บวกและแง่ลบ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sat Feb 13, 2010 1:29 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 3 องค์ประกอบ กระบวนการ และแนวทางการศึกษาการสื่อสาร

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:39 pm

    หน่วยที่ 3 องค์ประกอบ กระบวนการและแนวทางการศึกษาการสื่อสาร

    แนวคิด

    1.องค์ประกอบทางการสื่อสารเป็นกลไกที่ทำให้กระบวนการสื่อสารดำเนินไปได้ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร องค์ประกอบหลักทางการสื่อสารมีความสัมพันธ์ และส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน นอกจากองค์ประกอบหลักแล้ว กระบวนการสื่อสารยังมีองค์ประกอบอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง ที่สำคัญ ได้แก่ ปฏิกิริยาป้อนกลับ และสภาพแวดล้อมทางการสื่อสาร
    2.กระบวนการสื่อสารจะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อองค์ประกอบทางการสื่อสารทั้งหมดทำงานได้อย่างสอดคล้อง และปราศจากอุปสรรคทางการสื่อสาร
    3.กระบวนการและแบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสาร แสดงให้เห็นการทำงานขององค์ประกอบต่างๆทางการสื่อสาร ประกอบด้วยแบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสารแบบเส้นตรงทางเดียว และแบบจำลองพื้นฐานการการสื่อสารแบบสองทาง
    4.แนวทางการสื่อสารมาสามารถทำได้ด้วยการสื่อตามองค์ประกอบการสื่อสาร และการศึกษาการสื่อสารตามบริบททางการสื่อสาร

    3.1 องค์ประกอบทางการสื่อสาร
    - องค์ประกอบหลักทางการสื่อสารเป็นกลไกหลักที่ทำให้กระบวนการสื่อสารดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในทางการสื่อสาร องค์ประกอบที่มีความจำเป็นและขาดเสียไม่ได้ ได้แก่ ผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร
    - นอกจากองค์ประกอบหลักทางการสื่อสารแล้ว ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลต่อการกระบวนการสื่อสาร ได้แก่ การป้อนกลับ และสภาพแวดล้อมทางการสื่อสาร
    - อุปสรรคทางการสื่อสาร หมายถึง ปัจจัยที่ทำให้กระบวนการสื่อสารติดขัดและไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร จำแนกได้เป็น อุปสรรคที่ผู้กระทำการสื่อสาร อุปสรรคที่สาร และอุปสรรคที่ช่องทางการสื่อสาร
    - การสื่อสาร จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อองค์ประกอบทุกองค์ประกอบทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ในทุกระดับ เนื่องจากต่างก็มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน

    3.2 กระบวนการและแบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสาร
    - กระบวนการและแบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสารแบบเส้นตรงทางเดียวสะท้อนให้เห็นว่าการสื่อสารเป็นเส้นทางที่เกิดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร แบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสารแบบเส้นตรงทางเดียวที่เป็นแนวทางหลักในการศึกษาเรื่องการสื่อสาร ได้แก่ แบบจำลองทางการสื่อสารของอริสโตเติล แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของลาสเวลล์ แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของแชนนันท์และวีเวอร์ และแบบจำลองทางการสื่อสารตามแนวคิดของเบอร์โล
    **เเบอร์โลว์ แบบจำลอง S M C R
    S – ผู้ส่งสาร M – สาร C–ช่องทาง R – ผู้รับสาร
    - กระบวนการและแบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสารแบบสองทางสะท้อนให้เห็นว่าการสื่อสารเป็นกระบวนการที่มีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ทำหน้าที่ทั้งในการส่งและรับสาร และมีบทบาทที่เท่าเทียมกันในกระบวนการสื่อสาร แบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสารแบบสองทางที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในช่วงแรกของการศึกษาเรื่องการสื่อสารได้แก่ แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของเดอเฟลอร์ และแบบจำลองเชิงวงกลมของชแรมม์

    - การเปรียบเทียบแบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสารแบบเส้นตรงทางเดียว และแบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสารแบบ 2 ทางทำให้เห็นพัฒนาการในการศึกษาเรื่ององค์ประกอบทางการสื่อสาร เพื่อมุ่งหวังให้กระบวนการสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

    3.3 แนทางการศึกษาการสื่อสาร
    - การศึกษาการสื่อสารตามองค์ประกอบทางการสื่อสาร มีรากฐานมาจากแบบจำลองทางการสื่อสารของลาสเวลล์ ซึ่งประกอบไปด้วยการศึกษาเรื่อง กาวิจัยเพื่อควบคุมความหมายสารจากผู้ส่งสาร การวิเคราะห์สื่อ การวิเคราะห์ผู้รับสาร และการวิเคราะห์ผลของการสื่อสาร
    - การศึกษาการสื่อสารตามบริบทของกาสื่อสารเป็นกาศึกษาการสื่อสารในระดับต่างๆได้แก่การสื่อสารภายในบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารองค์การ การสื่อสารสาธารณะ และการสื่อสารมวลชน


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Mon Feb 15, 2010 1:15 pm, ทั้งหมด 6 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 4 ปัจจัยมนุษย์ในการสื่อสาร

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:40 pm

    หน่วยที่ 4 ปัจจัยมนุษย์ในการสื่อสาร

    แนวคิด

    1.ความสำคัญ บทบาทและอิทธิพลของผู้ส่งสารและผู้รับสารจะมีระดับมากหรือน้อย จะขึ้นอยุ่กับการให้คำนิยามว่า การสื่อสารคืออะไร ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องมาถึงการนิยามว่า ผู้ส่งและผู้รับสารคือใคร ในที่นี้มีตัวอย่างการนิยาม 3 แบบของการสื่อสารคือ การสื่อสารเป็นกระบวนการถ่ายทอดการสื่อสาร การสื่อสารเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และการสื่อสารเป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้อำนาจผ่านการส่งข่าวสาร
    2.ปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับผุ้ส่งสารและผู้รับสารมี 6 ประเภท ได้แก่ ความรู้และทักษะด้านการสื่อสาร ปัจจัยด้านจิตวิทยา ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองและองค์ประกอบของการสื่อสาร
    3.การศึกษาปัจจัยมนุษย์ ในการสื่อสารนั้นมักมีงานศึกษาผู้รับสารมากกว่าผู้ส่งสาร โดยการศึกษาผู้รับสารอาจจะแบ่งได้โดยใช้สำนักคิดหรือการใช้การศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการวิจัยมาเป็นเกณ์การแบ่ง

    4.1 ผู้ส่งสารในการสื่อสาร
    - ความสำคัญของผู้ส่งสารนั้นจะมีระดับมาก/น้อยขึ้นอยู่กับนิยามว่า การสื่อสารคืออะไรและผู้ส่งสารคือใคร ซึ่งสามารถระบุผู้ส่งสารได้ 2 แบบคือ ผู้ถ่ายทอดข่าวสาร สร้างความเข้าใจร่วมกันและถือผู้ใช้อำนาจผ่านการสื่อสาร
    - บริบทและอิทธิพลของผู้ส่งสารจะแปรเปลี่ยนไปตามคำนิยามทั้ง 3 แบบที่กล่าวมาคือมีบทบาทเป็นผู้ตัดสินใจเลือกสื่อและสารที่จะถ่ายทอด เป็นผู้ปรับเปลี่ยนการสื่อสารให้บรรลุ ความเข้าใจร่วมกันระหว่างคู่สื่อสาร และเป็นผู้ใช้อำนาจในการโน้มน้าวสร้างความเป็นจริงหรือสร้างภาพลักษณ์ให้เกิดขึ้นจากการสื่อสาร
    - ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้ส่งสารมี 6 ประการได้แก่ ความรู้และทักษะด้านการสื่อสาร ปัจจัยด้านจิตวิทยา ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง และปัจจัย้านองค์ประกอบของการสื่อสาร
    ** ขอบเขตเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่เกิดขึ้นแบ่งได้เป็น 3 แบบแผนคือ
    ความสัมพันธ์ในระหว่างกลุ่มผู้ส่งสารด้วยกัน(s-s) เจ้าหน้าที่ที่ทำงานร่วมกัน
    ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้รับสารด้วยกัน (R-R) เช่นครอบครัว
    ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้ส่ง ผู้รับสาร (S-R)
    ** สถานภาพแห่งการสื่อสาร
    การสื่อสารภายในตัวบุคคล มีการศึกษาน้อย
    การสื่อสารระหว่างบุคคล มีงานศึกษาผู้ส่ง ผู้รับสารค่อนข้างมาก
    การสื่อสารกลุ่ม ศึกษาวิจัยมนุษย์ พิจารณาคนในฐานะ/บริบทต่างๆ
    การสื่อสารสาธารณะ มักศึกษาผู้รับสารในแง่ลักษณะประชากร เพื่อใช้ยุทธศาสตร์การสื่อสารให้เหมาะสม
    การสื่อสารมวลชน มีตัวสื่อกลาง ศึกษาผู้รับสารและกลยุทธ์การสื่อสารแบบต่างๆ

    4.2 ผู้รับสารในการสื่อสาร
    - ความสำคัญของผู้รับสารจะมีระดับมาก/น้อย ขึ้นอยู่กับคำนิยามว่า การสื่อสารคืออะไร และผู้รับสารคือใคร ซึ่งสรุปได้ 4 แบบคือ ผู้รับสารคือผู้รองรับข่าวสาร คือผู้ตีความข่าวสารและถอดรหัสสาร คือผู้เลือกรับสื่อและสารและเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
    - การจัดประเภทของผู้รับสารแบ่งเป็น 5 แบบ คือ ผู้ดูผู้ชม กลุ่มสาธารธ มวลชน ผู้รับสารคือตลาด และผู้บริโภค
    - ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้รับสารมี 6ประการคือ ความรู้และทักษะด้านการสื่อสาร ปัจจัยด้านจิตวิทยา ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ปัจจัยด้านองค์ประกอบของการสื่อสาร
    - แนวทางการศึกษาผู้รับสารมี 2 แบบวิธีใหญ่ๆ คือ การใช้วิธีสำนักความคิดเป็นเกณฑ์ แบ่งเป็น 3 สำนักคือ การศึกษาแนวโครงสร้าง แนวพฤติกรรม แนวสังคมวัฒนธรรม และแบบวิธีใช้เกณฑ์เรื่องการนำไปใช้และความพึงพอใจ การแสวงหาข่าวสารและกรวิเคราะห์เชิงวัฒนธรรม


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Mon Feb 15, 2010 2:02 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 5 ปัจจัยสื่อในการสื่อสาร

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:40 pm

    หน่วยที่ 5 ปัจจัยสื่อในการสื่อสาร

    แนวคิด

    1.สื่อ เป็นปัจจัยสำคัญประเภทหนึ่งในกระบวนการสื่อสารของมนุษย์ เพราะสื่อทำหน้าที่เชื่อมร้อยผู้คนเข้าหากัน เป็นพาหะที่นำพาสารจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง และมีอิทธิพลในการเข้าไปกำหนดความหมายและประสบการณ์ของผู้รับสาร
    2.การจำแนกประเภทของสื่อแบ่งได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้จำแนก ซึ่งในทีนี้มีตัวอย่างเกณฑ์ในการจัดแบ่งประเภทของสื่อเป็น 4 ชนิดด้วยกันคือ เกณฑ์เรื่องผัสสะของมนุษย์ เกณฑ์เรื่องการมีส่วนร่วมของผู้รับสาร เกณฑ์เรื่องภาษา เกณฑ์เรื่องสถานการณ์ในการสื่อสาร
    3.สื่อมีบทบาทหน้าที่และอิทธิพลในการกำหนดความเปลี่ยนแปลงของปัจเจกบุคคลและสังคม แต่ในทางกลับกัน ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี ก็สามารมีอำนาจเข้ามากำหนกความเป็นไปของสื่อได้เช่นกัน
    4.โครงสร้างทางสังคมอันได้แก่ เศรษฐกิจ การเมือง สังคมวัฒนรรมและเทคโนโลยีต่างมีผลต่อการทำงานของสื่อประเภทต่างๆ


    5.1 ความหมายและความสำคัญและวัฒนธรรมของสื่อในการสื่อสาร
    - การนิยามความหมายของสื่อมีได้ 3 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ นิยามแบบดั้งเดิมที่เชื่อว่าสื่อเป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงบุคคลหนึ่งให้รุ้จักกับอีกบุคคลหนึ่ง นิยามตามแบบจำลองการถ่ายทอดข่าวสารที่ว่า สื่อเป็นพาหะที่ถ่ายทอดเนื้อหาของสารจากผุ้ส่งสารไปยังผู้รับสารและ นิยามแบบจำลองการสื่อสารเชิงพิธีกรรมว่า สื่อเป็นพื้นที่ที่สร้างความหมายร่วมกันระหว่างผู้เข้ารหัสกับผู้ถอดรหัส
    - สื่อมีความสำคัญต่อมนุษย์ เพราะสื่อสร้างสายใยแห่งการเชื่อมร้อยเข้าหากันระหว่างผู้คนสื่อเป็นพาหะนำพาสารจากผู้ส่งสารไปยังผุ้รับสาร และสื่อมีอำนาจกำหนดความหมายของสารและประสบการณ์ของผุ้รับสารได้
    - การศึกษาสื่อในการสื่อสาร ไม่สามารถศึกษาตัวสื่อได้ล้วนๆเพียงอย่างเดียว แต่ต้องวิเคราะห์ถึง กระบวนการของสื่อ ในบริบทการสื่อสารี่แตกต่างกัน

    5.2 การจัดประเภทของสื่อในการสื่อสาร
    - การจัดประเภทการจำแนกสื่อด้วยเกณฑ์เรื่องผัสสะ หรือเกณฑ์การรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของมนุษย์ สามารถแบ่งประเภทของสื่อในการสื่อสารได้ 5 ชนิดด้วยกันได้แก่ สัมผัสผ่านการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสจับต้อง
    - การจำแนกสื่อด้วยเกณฑ์เรื่องการมีส่วนร่วมของผุ้รับสารนั้น มาจากทัศนะของมาร์แชล แมคคลูฮัน ที่อธิบายว่า ประสบการณ์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมของผู้รับสาร ทำให้เราจำแนกสื่อได้เป็น 2 ประเภทคือสื่อร้อน กับสื่อเย็น
    - การจำแนกด้วยเกฯฑ์เรื่องภาษา สามารถแบ่งได้เป็น2 ประเภทคือสื่อวัจนะหรือสื่อผ่านภาษาพูดกับภาษาเขียน กับสื่ออวัจนะ หรือสื่อที่ไม่ใช่การพูดหรือการเขียน
    - การจำแนกสื่อด้วยเกณฑ์สถานการณ์การสื่อสาร อาศัยการพิจารณาถึงคุณสมบัติของสื่อที่แตกต่างกันในสถานการณ์ต่างๆซึ่งจัดแบ่งได้ 7 ประเภทด้วยกัน คือ สื่อบุคคล สื่อวัตถุ สื่อพื้นบ้าน สื่อเฉพาะกิจ สื่อเชิงวัฒนธรรม สื่อมวลชน และสื่อแบบใหม่

    5.3 บทบาทหน้าที่และอิทธิพลของสื่อในการสื่อสาร
    - บทบาทหน้าที่ในการสื่อสารมีอยู่ 2 ระดับคือ บทบาทหน้าที่ในระดับสังคมและปัจเจกบุคคล
    - อิทธิพลในการสื่อสารมี 2 ระดับคืออิทธิพลต่อปัจเจกบุคคลและสังคม

    5.4 ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของสื่อในการสื่อสาร
    - แนวคิดที่ใช้อธิบายเรื่องปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อการทำงานของสื่อ ได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่มนักวิชาการ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักวิชาการสำนักเศรษฐศาสตร์การเมืองแห่งสื่อ และนักทฤษฎีสำนักแฟรงค์เฟริต
    - แนวคิดที่ใช้อธิบายเรื่องปัจจัยด้านการเมืองที่มีผลต่อการทำงานของสื่อ ได้รับอิทธิพลมาจากนักวิชาการ 2 กลุ่มคือ กลุ่มสำนักทฤษฎีบรรทัดฐานของสื่อและนักวิชาการสำนักทฤษฎีการครองความเป็นเจ้าของสื่อ
    - แนวคิดที่ใช้อธิบายเรื่องปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการทำงานของสื่อ ได้รับอิทิพลมาจากนักวิชาการสายอุดมการณ์ ที่เชื่อว่า สื่อจะทำหน้าที่ผลิตซ้ำเพื่อสืบทอดอุดมการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
    - แนวคิดที่ใช้อธิบายเรื่องปัจจัยทางเทคโนโลยีที่มีผลต่อการทำงานของสื่อ ได้รับอิทิพลจากนักวิชาการแห่งสำนักโตรอนโต ที่อธิบายว่า การปฏิวัติเทคโนโลยีจะนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงของสื่อและการปฏิวัติในสังคมโดยรวม


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Mon Feb 15, 2010 3:03 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 6 ปัจจัยสารในการสื่อสาร

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:41 pm

    หน่วยที่ 6 ปัจจัยในการสื่อสาร
    แนวคิด
    1.ความหมาย ความสำคัญและวิธีการจัดประเภทของสารนั้นจะแปรเปลี่ยนไปตามสำนักคิดของนักคิดทฤษฎีต่างๆที่เข้ามาศึกษา ได้แก่ทฤษฎีสารสนเทศ สัญญะวิทยา วัฒนธรรมศึกษา สำนักทฤษฎีวิพากษ์ และกลุ่มปฏิบัติงานของสื่อ
    2.บทบาทหน้าที่ของสารจะถูกกำหนดอย่างแตกต่างกันตามทัศนะพื้นฐานของแต่
    ละสำนักคิดทฤษฎี
    3.ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสารในการสื่อสารมี 3 ระดับ คือ ปัจจัยระดับบุคคล ปัจจัยระดับกลุ่มและปัจจัยระดับสังคม
    6.1 ความหมาย ความสำคัญและประเภทของสาร
    - การให้นิยามและความหมายแก่สารนั้นมีความแตกต่างกันไปตามทัศนะของนักคิดทฤษฎีต่างๆกัน
    ** จากทัศนะของสำนักศาสตร์แห่งการสื่อสาร – เนื้อหาสารคือข่าวสารสารสนเทศ การสื่อสารเป็นการถ่ายทอดเผยแพร่ข่าวสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ใช้เกณฑ์จากประสิทธิภาพ(ปริมาณ+ค่าใช้จ่าย) และประสิทธิผลในการบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
    ** ทัศนะของสำนักสัญญะวิทยา – สารคือสิ่งที่บรรจุอยู่ในสัญญะ(sing) ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นภาษา อากัปกิริยา วัตถุ สิ่งของ สถานที่ มีความหมายแฝงอยู่ในเนื้อใน
    ** ทัศนะของสำนักวัฒนธรรมศึกษา – ผสมผสานศาสตร์ที่เคยมีมาก่อนหลายๆสาขาเข้าด้วยกัน
    ** ทัศนะสำนักทฤษฎีวิพากษ์ - ในแต่ละสังคมประกอบด้วยกลุ่มที่มีความขัดแย้งกันเป็นพื้นฐานจึงใช้การสื่อสารซึ่งเป็นกลไกทางสังคมเป็นเครื่องมือจัดการกับความขัดแย้ง โดยทั่วไปแล้วคนที่มีอำนาจกว่าย่อมจะมีโอกาสในการใช้การสื่อสารของสังคมได้มากกว่า
    ** กลุ่มปฏิบัติงานของสื่อ สารก็คือผลงาน/ผลผลิตที่เป็นรูปธรรมที่สุดที่เกิดจากกระบวนการทำงานของสื่อ สารจึงเป็นเกณฑ์ประเมินหลักการ เจตนา และกระบวนการทำงานของผู้ส่งสารในสื่อได้อย่างดีที่สุด
    - เนื้อหาสารมีความสำคัญในหลายแง่หลายมุม ได้แก่ เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นความตั้งใจและความสนใจของผู้ส่งสารและผู้รับสาร เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคม เป็นเครื่องแสดงผลกระทบต่อผู้รับและเป็นเครื่องมือถ่ายทอดอุดมการณ์
    - การแบ่งประเภทของสารสามารถกระทำได้จากหลายๆเกณฑ์ได้แก่ เกณฑ์หน้าที่ของการสื่อสาร เกณฑ์ของลักษณะทางวารสารศาสตร์และการให้ความบันเทิง เกณฑ์เรื่องลักษณะที่เป็นจริงและลักษณะเร้าอารมณ์
    ** เกณฑ์หน้าที่ การเฝ้าระวังสังคมและสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงผู้คนในสังคมให้เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่งผ่านวัฒนธรรมหรือการให้การศึกษาแก่สมาชิกใหม่ของสังคม ให้ความบันเทิง
    ** เกณฑ์ลักษณะเชิงวารสารศาสตร์และการให้ความบันเทิง
    ประเภทข่าว – ต้องเป็นเรื่องจริง มีพยานยืนยัน วิธีกรนำเสนอเป็นสารสนเทศมากกว่าเร้าอารมณ์ มีคุณสมบัติความเป็นข่าวเช่น สด แปลกใหม่ มีผลกระทบติ่คนส่วนใหญ่ และต้องมีการคัดเลือกข้อเท็จจริง จัดระเบียบ จัดลำดับชั้น เพื่อจะบรรจุเหตุการณ์ณืที่เกิดขึ้นเอาไว้ภายในกรอบอ้างอิงของข่าว
    ประเภทบันเทิง – ต้องมีดารา ต้องมีการกระทำ มีวิธีการเล่าเชิงนาฏกรรมคือมีเป้าหมายเร้าอารมณ์ มีเหตุการณ์สำคัญ มีเสน่ห์และแปลกใหม่ มีสุนทรียศาสตร์
    ** เกณฑ์ลักษณะที่เป็นเรื่องจริงและลักษณะมุ่งเร้าอารมณ์
    เบอร์เกอร์ บอกว่า เกณฑ์รายการโทรทัศฯมี 4 แบบคือ การแข่งขัน ละคร ข่าว และโน้มน้าวชักชวน
    6.2 บทบาทและหน้าที่ของสาร
    - บทบาทหน้าที่ของสารตามทฤษฎีสารสนเทศคือ สารมีหน้าที่ในการลดความไม่แน่นอนของสถานการณ์
    - บทบาทหน้าที่ของสารตามทฤษฎีหน้าที่นิยม คือสารจะต้องมีหน้าที่ให้ข่าวสาร ให้การศึกษาเชื่อมโยงและถ่ายทอดวัฒนธรรม
    - บทบาทหน้าที่ของสารตามทฤษฎีสัญญะวิทยาคือ สารจะทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้ส่งและผู้รับให้เกิดเข้าใจความหมายร่วมกัน หน้าที่สร้างความเป็นจริงและภาพพจน์
    6.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสารในการสื่อสาร
    - ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสารมี 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล ระดับกลุ่มและองค์กร และระดับสังคม
    - ปัจจัยระดับบุคคล ได้แก่ ภูมิหลังของผุ้ส่งสาร ทัศนคติและความเชื่อของผู้ส่งสาร การอบรมบ่มเพาะทางอาชีพ
    - ปัจจัยระดับกลุ่มและองค์กร ได้แก่ ประเภทของสื่อ ขนาดและขอบเขตการทำงานขององค์กร พันธกิจและเป้าหมายขององค์กร ลักษณะการเป็นเจ้าของ/การควบคุมและการบริหารจัดการองค์กร
    - ปัจจัยระดับสังคม ได้แก่ การควบคุมจากสถาบันสังคมต่างๆ แรงผลักดันทางเศรษฐกิจ ความสนใจและความต้องการของผู้รับสาร รวมทั้งเหตุการณ์และสารสนเทศที่เกิดขึ้นในสังคม


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sat Feb 13, 2010 11:54 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 7 พฤติกรรมการสื่อสารภายในบุคคลและระหว่างบุคคล

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:42 pm

    หน่วยที่ 7 พฤติกรรมการสื่อสารภายในบุคคลและระหว่างบุคคล
    แนวคิด
    1.การสื่อสารภายในตัวบุคคลนับเป็นการสื่อสารระดับแรกผ่านกระบวนการรับรู้ที่เป็นส่วนก่อตัวทางความคิด สร้างความเป็นตังตนของคนแต่ละคนให้มีความแตกต่างกัน และมีอิทธิพลส่งผลให้การสื่อสารของบุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปตามปัจจัยสำคัญ 3 ประการ คือ ปัจจัยภายในส่วนบุคคล ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ และกลไกการป้องกันตนเองของบุคคลแต่ละคน
    2.การพัฒนาการสื่อสารในตนเองจะต้องเริ่มจากการมีแนวคิดเกี่ยวกับตนเองที่ชัดเจน และมีการค้นหาความเป็นตัวตนและความต้องการที่แท้จริงของตนเอง มีการพัฒนาให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเองในทางที่ถูกต้อง ขจัดความเชื่อความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ทำลายความรู้สึกตระหนักในคุณค่าของตัวเองออกไป และมีการเปิดเผยตนเองเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่นให้เกิดขึ้น
    3. การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นกระบวนการส่งผ่านสารในรูปของการใช้คำพูดหรือไม่ใช้คำพูดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผุ้รับสารกับผุ้ส่งสาร โดยทั้งสองฝ่ายสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบกลับต่อกันได้ทันทีระหว่างการสื่อสารเกิดขึ้น ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวสื่อสารระหว่างบุคคลที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ส่งสารและผู้รับสาร ปัจจัยเกี่ยวกับเนื้อหาสารและการนำเสนอสาร ปัจจัยเกี่ยวกับบริบทและภาพฝังใจ
    4. ทักษะที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารระหว่างบุคคลได้แก่ทักษะในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ทักษะในการเปิดเผนตนเองต่อคู่สื่อสาร ทักษะในด้านการเอาใจเขามาใส่ใจเรา และความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทักษะในการแสดงปฏิกิริยาป้อนกลับ และทักษะในการเปิดใจ
    5. มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เกิดขึ้นผ่านขั้นตอนต่างๆเพื่อตอบสนองความต้องการที่จะลดความเหงาของตนเอง เพื่อให้ได้รับการกระตุ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง และเพื่อลความวิตกกังวล สร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับตนเอง ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่สำคัญได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การสร้างความไว้วางใจ การแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ การแสดงออกที่เป็นอวัจนภาษาและปัจจัยดึงดูดในกันและกันของคู่สื่อสาร
    6.การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นระหว่างบุคคลเป็นกลไกสำคัญในการรักษาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนั้นให้ยืนยาว ขณะเดียวกันการสื่อสารยังเป็นตัวกำหนดและเป็นเครื่องชี้วัดความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์เชิงบวกหรือลบระหว่างกันของบุคคลด้วยเช่นกัน
    7.1 พฤติกรรมการสื่อสารภายในบุคคล
    - การสื่อสารภายในบุคคลนับเป็นการสื่อสารระดับแรกที่เป็นส่วนก่อตัวทางความคิดสร้างความเป็นตัวตนของคนแต่ละคนให้แตกต่างกันและมีอิทธิพลส่งผลให้การสื่อสารของบุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันไปตามแนวคิดเกี่ยวกับตนเองของแต่ละคนอีกด้วย
    - การศึกษาในเรื่องเกี่ยวกับปัจจัยภายในตนเองที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการสื่อสารค่อนข้างมีความแตกต่างกันไปตามแนวทางการศึกษาและมุมมองของนักทฤษฏีกลุ่มต่างๆปัจจัยสำคัญที่ได้มีการศึกษาว่ามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์ ได้แก ปัจจัยความเป็นตัวตนด้านกายภาพ ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล และกลไกการป้องกันตนเอง
    - การพัฒนาการสื่อสารภายในตนเองจะต้องเริ่มจากการมีแนวคิดเกี่ยวกับตนเองที่ชัดเจน มีการค้นหาความเป็นตัวตนและความต้องการที่แท้จริงของตนเอง นอกจากนั้นยังควรมีการพัฒนาให้ตระหนักในคุณค่าของตนเองในทางที่ถูกต้อง ขจัดความเชื่อความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ทำลายความรู้สึกตระหนักในคุณคาของตัวเองออกไป มีการเปิดเผยตนเองด้วยการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับตนเองให้ผุ้อื่นได้รู้จัก
    7.2 พฤติกรรมการสื่อสารระหว่างบุคคล
    - การสื่อสารระหว่างบุคคล โดยทั่วไปหมายถึงกระบวนการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยที่แต่ละคนจะทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารในขณะเดียวกัน เพื่อสื่อความหมายเกิดความเข้าใจร่วมกันในส่วนที่เป็นข้อมูล ส่วนที่เป็นความคิดเห็น ส่วนที่เป้นอารมณ์และความรู้สึกของคู่สื่อสาร
    - ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวกับคุณลักษณะผู้ส่งสารและผู้รับสาร ปัจจัยเกี่ยวกับเนื้อหาสารและการนำเสนอสาร ปัจจัยที่เกี่ยวกับช่องทางในการสื่อสารและปัจจัยที่เกี่ยวกับบริบทการสื่อสาร
    - ทักษะที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารระหว่างบุคคลได้แก่ ทักษะในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาสาร
    ทักษะในการเปิดเผยตนเองต่อคู่สื่อสาร ทักษะในด้านการเอาใจเขามาใส่ใจเราและความรุ้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทักษะในการแสดงปฎิกิริยาป้อนกลับ และทักษะการเปิดใจ การพัฒนาให้เกิดทักษะในการสื่อสารระหว่างบุคคลต้องกระทำอย่างต่อเนื่องในขั้นตอนสำคัญคือ การวิเคราะห์พฤติกรรมการสื่อสารของตนเอง วางแผนการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของตนเอง ดำเนินการตามแผนที่กำหนด ประเมินจากปฏิกิริยาป้อนกลับ และฝึกฝนเลือกปฏิบัติด้วยวิธีของตนเอง
    7.3 การสร้างความสัมพันธ์ในการสื่อสารระหว่างบุคคล
    - มนุษย์ใช้การสื่อสารระหว่างบุคคลในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่จะลดความเหงาของตน เพื่อให้ได้รับการกระตุ้นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง เพื่อการลดความวิตกกังวล สร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้นกับตนเอง
    - การสร้างความสัมพันธ์ผ่านการสื่อสารระหว่างบุคคลมีขั้นตอนการเกิดเป็น 5 ระยะคือขั้นเริ่มต้นความสัมพันธ์ ขั้นการทดลองเรียนรู้กันและกัน ขั้นการสร้างสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง ขั้นการบูรณาการณ์ความสัมพันธ์และขั้นการสร้างพันธนาการระหว่างกัน อย่างไรก็ตามสัมพันธ์นั้นอาจมีการเลิกร้างไปในขั้นตอนใดก็ได้
    - ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่สำคัญได้แก่ ความดึงดูดใจระหว่างบุคคล การเปิดเผยตนเอง ความไว้วางใจ และการแสดงปฏิกิริยาป้อนกลับไปมาระหว่างกัน ทั้งที่เป็นวัจนสารและพฤติกรรมการแสดงออกที่เป็นอวัจนสาร
    - การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างและฑำรงความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นระหว่างบุคคลแนวทางสำคัญในการใช้การสื่อสารเพื่อสร้างและรักษาความสัมพันธ์ได้แก่ การฝึกฝนการฟังแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา การฝึกการใช้บทสนทนาที่เหมาะสมในการพูดนอกจากนั้นยังต้องอาศัยการแสดงออกในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาที่ตรงไปตรงมาและชัดเจน ใช้หลัก ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sat Feb 13, 2010 11:54 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 8 พฤติกรรมการสื่อสารกลุ่มเล็ก

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:43 pm

    หน่วยที่ 8 พฤติกรรมการสื่อสารกลุ่ม

    แนวคิด
    1.การสื่อสารกลุ่มเป็นการสื่อสารของบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งสมาชิกหือกลุ่มคนเหล่านั้นมักมีความคล้ายคลึงกัน มีการพึ่งพาอาศัยกัน มีบรรทัดฐานร่วมกันและร่วมมือเพื่อวัตถุประสงค์เดียววกัน การสื่อสารกลุ่มจะต้องมีโครงสร้างและกระบวนการสื่อสาร รวมทั้งรูปแบบและวิธีการเพื่อให้สมาชิกได้แสดงบทบาท สถานภาพ อำนาจ ภาระหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมและการธำรงอยู่ของกลุ่ม
    2.ปัจจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสารกลุ่ม ประกอบด้วย เป้าหมาย และบทบาทของสมาชิกในการสื่อสารกลุ่ม ผลกระทบของวัฒนธรรมในการสื่อสารกลุ่ม การฟัง และปฏิกิริยาป้อนกลับ ในการสื่อสารกลุ่มเป้าหมายหรือจุดหมายมีทั้งที่เป็นส่วนที่เป็นของปัจเจกบุคคลและของกลุ่ม ส่วนบทบาทของสมาชิกมี 3 ลักษณะคือ บทบาทในการเป็นกลุ่มทำงาน บทบาทในการสร้างและธำรงรักษากลุ่ม และบทบาทที่เป็นปัจเจก ในด้านวัฒนธรรมกลุ่มซึ่งก็คือบรรทัดฐาน ค่านิยม รูปแบบและกระบวนการสื่อสารและทำงานในกลุ่ม เป็นสิ่งที่สมาชิกจำเป็นต้องเรียนรู้ สำหรับปัจจัยการฟังและปฏิกิริยาป้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ มีผลต่อคุณภาพของกระบวนการกลุ่มอย่างมาก
    3.ในการสื่อสารกลุ่มนั้นจะมีผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่ม ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ทำให้การสื่อสารในกลุ่มหรือกระบวนการทำงานของกลุ่มดำเนินไปด้วยดี โดยเฉพาะกรณีการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจกลุ่ม สำหรับในส่วนของสมาชิกนั้นย่อมมีความแตกต่างกัน อาทิ ความแตกต่างทางเพศ วัย การศึกษา วัย การศึกษา อาชีพ รายได้ วัฒนธรรมและเชื้อชาติ ดังนั้นสมาชิกจึงต้องคำนึงถึงและพยายามเข้าใจในความแตกต่าง เพื่อปรับตัวและทำให้ปัจเจกบุคคลมีความสุขในการอยู่ร่วมกันเป็นสมาชิก ซึ่งจะช่วยลดความขัดแย้งและส่งเสริมความผนึกแน่นของกลุ่ม
    4.การสื่อสารเพื่อบรรลุเป้าหมายกลุ่ม เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ เพื่อขจัดข้อขัดแย้ง โดยอาศัยการโต้แย้งแสดงเหตุผลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อการโน้มน้าวใจ และเพื่อแสดงถึงสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก ในการสื่อสารเพื่อบรรลุเป้าหมายกลุ่ม จะมีการกำหนดวาระและยัตติในการประชุมกลุ่ม รวมทั้งในกระบวนการสื่อสารแบบประชุมรัฐสภา ซึ่งเป็นแบบแผนที่ตอบสนองต่อสังคมประชาธิปไตย นอกจากนี้เพื่อวัดประสิทธิภาพของกระบวนการสื่อสารและผลของการสื่อสารกลุ่ม จะต้องมีการประเมินเพื่อพัฒนาการสื่อสารกลุ่มให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้นต่อไป

    8.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารกลุ่ม
    - กลุ่ม คือการรวมตัวของบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปมสื่อสารกัน โดยสมาชิกในกลุ่มมีการพึ่งพาอาศัยกัน มีการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กัน มีตฃความสนใจ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เดียวกันและมีบรรทัดฐานร่วมกัน ซึ่งการสื่อสารกลุ่มจะช่วยให้สมาชิกสามารถดำเนินกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้อย่างลุล่วง
    - โครงสร้างและกระบวนการสื่อสารกลุ่ม นับว่ามีความสัมพันธ์และส่งเสริมกัน โดยโครงสร้างของการสื่อสารกลุ่ม จะพิจารณาถึงความเป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกภายในกลุ่ม ส่วนกระบวนการกลุ่มก็คือการสื่อสารของสมาชิกเพื่อหาข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆทั้งขนาดระยะห่าง บทบาท สถานภาพ บรรทัดฐาน และความผนึกแน่นของกลุ่ม
    - หน้าที่และบทบาทของการสื่อสารกลุ่มโดยทั่วไปสามารถจำแนกได้ 4 ประเภท คือ เพื่อหาข้อเท็จจริง พื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและข้อคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหา และเพื่อตัดสินใจ
    - การสื่อสารกลุ่มนั้นมีวิธีการและรูปแบบแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และสาระนำเสนอสู่ผู้ฟังจำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ การอภิปรายกลุ่มในการสื่อสารสาธารณะเช่น การประชุมองค์ปาฐกหรือการประชุมเชิงวิชาการ การประชุมเชิงวิชาการคล้ายการบรรยาย (ลักษณะถาม - ตอบ) การอภิปรายเป็นคณะมีฝ่ายสนับสนุนฝค้าน การอภิปรายข้ามแดนวิทยากรไม่ได้เตรียมตัวลาวงหน้าและการอภิปรายกลุ่มเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆซึ่งแต่ละประเภทมีวิธีการและรูปแบบการจัดการที่แตกต่างกันออกไป เช่นการอภิปรายโต๊ะกลม การระดมสมอง การอภิปรายในนามกลุ่ม เทคนิคเดลฟาย

    8.2 ปัจจัยที่เกี่ยวกับการสื่อสารกลุ่ม
    - ในการสื่อสารกลุ่มนั้น สมาชิกจะมีเป้าหมายของปัจเจกบุคคล และเป้าหมายกลุ่ม สมาชิกจึงจำเป็นต้องคำนึงถึง นิสัย พฤติกรรม บทบาทหน้าที่ของแต่ละคน ซึ่งแตกต่างกันออกไป เพื่อสร้างความเข้าใจอันจะทำให้การสื่อสารกลุ่มมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายกลุ่ม
    - วัฒนธรรมกลุ่ม หมายถึง บรรทัดฐาน ค่านิยม รูปแบบของกระบวนการสื่อสารและการทำงานในกลุ่ม ซางสมาชิกจำเป็นต้องเรียนรู้ เพื่อปรับตัวและเข้าใจผู้อื่น อันจะช่วยลดช่องว่างและปัญหาในกระบวนการสื่อสารของกลุ่มโดยคำนึงถึงพฤติกรรมที่ต่างกัน ทั้งในส่วนของความเป็นปัจเจกบุคคลและความเป็นปึกแผ่น ความแข็งกร้าวและความนุ่มนวลในการสื่อสาร ระยะห่างของอำนาจในการสื่อสารและการหลีกเลี่ยงความคลุมเครือในการสื่อสาร
    - การฟังในการสื่อสารกลุ่มนั้นจะเป็นทั้งการฟังเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมการฟังแปบเป็นการเป็นงาน การฟังเพื่อการแยกแยะ ซึ่งการฟังแต่ละอย่างจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และวัตถุประสงค์ในการสื่อสารกลุ่มที่แตกต่างกันออกไป นอกเหนือจากการฟังที่มีประสิทธิภาพแล้วสมาชิกในกลุ่มควรต้องฝึกทักษะการสร้างปฏิกิริยาป้อนกลับที่เหมาะสมด้วย ทั้งปฏิกิริยาป้อนกลับต่อตนเอง และกลับไปยังผู้อื่น เพื่อการสื่อสารกลุ่มที่มีประสิทธิภาพต่อไป

    8.3 ภาวะผู้นำกับสมาชิกในการสื่อสารกลุ่ม
    - ผู้นำกลุ่มเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะ คือ จากกาแต่งตั้งและจากการเลือกตั้ง มีบทบาทหน้าที่ทำให้การสื่อสารภายในกลุ่มหรือกระบวนการทำงานกลุ่มดำเนินไปได้ด้วยดี ประเภทของผู้นำ แบ่งได้ 3 แบบคือ แบบอัตนิยม แบบประชาธิปไตยและแบบเสรีนิยม โดยผู้นำทั้ง 3 แบบ นี้มีพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับภาระงาน กระบวนการทำงาน และกระบวนการสร้างสัมพันธภาพภายในกลุ่ม
    - การมีส่วนร่วมหรือบทบาทของสมาชิกในกลุ่มขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของสมาชิก ในด้านเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ วัฒนธรรมและเชื้อชาติ ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมอันเนื่องมาจากความคิด ความรู้สึกของสมาชิกที่มีต่อตนเองและต่อสมาชิกคนอื่นๆในกลุ่ม
    - ความขัดแย้งในกลุ่มเกิดขึ้นเมื่อสมาชิกมีความคิด ความเชื่อ ทัศนคติต่างๆไม่ลงรอยกัน ซึ่งอาจแก้ไขได้โดย ผลักดัน ช่วยกันแก้ไข ประนีประนอม หลีกเลี่ยงหรือทำให้ราบรื่น สาวนความผนึกแน่นของกลุ่มหรือความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันซึ่งสร้างขึ้นจากบรรทัดฐานร่วมกัน ทั้งความขัดแย้งและความผนึกแน่นของกลุ่มมีผลทั้งด้านบวกและด้านลบ
    - ทักษะที่สำคัญในการสร้างเสริมพลังกลุ่ม คือทักษะการแสดงบทบาท และทักษะการสร้างความเชื่อใจกันภายในกลุ่ม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการแก้ไขปัญหาใดๆในกลุ่มไม่ว่าจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง การประเมินคุณค่า หรือนโยบาย โดยต้องมีขั้นตอนในการแก้ปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ ตระหนักถึงปัญหา การกาวิธีการแก้ปัญหาและเลือกวิธีที่ดีที่สุดและวางแผนปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลดี

    8.4 การสื่อสารเพื่อบรรลุเป้าหมายกลุ่ม
    - การตัดสินใจที่มีคุณภาพในการสื่อสารกลุ่มมีความสัมพันธ์กับการโต้แย้งแสดงเหตุผล ซึ่งสมาชิกจะแสดงทัศนะที่แตกต่างกันโดยใช้เหตุผล กฏเกณฑ์ หลักฐานต่างๆ มาสนับสนุนแนวความคิดของตนเพื่อให้สมาชิกใช้วิจารณญาณเลือกทางที่ดีที่สุด องค์ประกอบในการโต้แย้งแสดงเหตุผลประกอบด้วย หัวข้อ เป้าหมาย คู่โต้แย้ง การปฏิสัมพันธ์ สถานการณ์ และการจัดการอันจะนำไปสู่คุประโยชน์ของการโต้แย้ง
    - การประชุมประกอบด้วยเนื้อหาและกระบวนการ เนื้อหาคือญัติหรือหัวข้อเรื่องที่จะพูดในที่ประชุม ส่วนกระบวนการคือระเบียบวาระซึ่งมีประเด็นครบถ้วน และการจัดลำดับหัวข้อทั้งนี้ในการประชุมจะต้องประกอบด้วยสมาชิกกลุ่ม วัตถุประสงค์ หัวข้อ และระบบระเบียบในการประชุมโดยการกำหนดระเบียบวาระการประชุม
    - การประชุมแบบรัฐสภาเป็นรูปแบบของการประชุมที่มีแบบแผนชัดเจนในการให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมทั้งมีสิทธิออกเสียงเพื่อลงมติในข้อสรุปต่างๆเป็นการนำเอาวิธีการประชุมรัฐสภาในการปกครองแบบประชาธิปไตยมาใช้ในกระบวนการประชุมกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ
    - การประเมินผลการสื่อสารกลุ่มเป็นการตรวจสอบทุกขั้นตอนในกระบวนการสื่อสาร ตั้งแต่การตั้งวัตถุประสงค์ การวางแผน การสืบค้นข้อมูล การกำหนดวาระการประชุม วิธีการ รวมทั้งองค์ประกอบอื่นๆเพื่อจะได้ทราบถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานและความพึงพอใจของสมาชิกกลุ่ม โดยมีขั้นตอนในการประเมินผลและรูปแบบต่างๆที่จะนำมาใช้ในการประเมินผลมีประสิทธิภาพต่อการประชุมกลุ่มในสถานการณ์ต่างๆต่อไป


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Feb 16, 2010 6:03 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 9 พฤติกรรมการสื่อสารองค์การ

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:44 pm

    หน่วยที่ 9 พฤติกรรมการสื่อสารขององค์การ
    แนวคิด
    1.การสื่อสารในองค์การมีบทบาทในการเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆในองค์การเข้าด้วยกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่องค์การตั้งไว้ เป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในองค์การ และทำให้สมาชิกตระหนักถึงบทบาทของตนและสามารถร่วมมือกันในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
    2.ลำดับขั้นของการสื่อสารในองค์การเกิดได้หลายระดับ กล่าวคือ การสื่อสารภายในบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารกลุ่มย่อยและการสื่อสารหลายกลุ่ม และยังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ และแบบการสื่อสารบุคคล นอกจากนั้น การสื่อสารในองค์การอาจมีรูปแบบการสื่อสารจากบนลงล่าง จากล่างขึ้นบน ในระนาบเดียวกัน แบบเถาองุ่น และแบบเครือข่าย
    3.รูปบแบบและประสิทธิผลของการสื่อสารในองค์การขึ้นอยู่กับปัจจัย 7 ประการ ได้แก่ พฤติกรรมกลุ่มในองค์การ ความเป็นผู้นำและการบริหารงาน กระบวนการแก้ไขปัญหาและการตัดสินใจ แรงจูงในในองค์การ นวัตกรรมในองค์การ และเทคโนโลยีสื่อสารในองค์การ
    4.การสื่อสารในองค์การมีบทบาทในการสร้างเสริมประสิทธิผลขององค์การในด้านต่างๆดังต่อไปนี้คือ ความร่วมมือภายในและภายนอกองค์การ การปรับตัวเข้ากับองค์การ เสถียรภาพขององค์การ การบริหารความขัดแย้งในองค์การ ตลอดจนภาพลักษณ์และเอกลักษณ์ขององค์การ

    9.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารในองค์การ
    - การสื่อสารในองค์การเกี่ยวข้องกับแนวคิด 2 ประการคือ องค์การ และการสื่อสาร และหมายถึงความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทขององค์การที่มีผลต่อกระบวนการการสื่อสาร รูปแบบของการสื่อสารในองค์การ และบทบาทของข่าวสารที่มีต่อกิจกรรมของสมาชิกในองค์การ
    - การสื่อสารในองค์การมีบทบาทต่อสมาชิกในการปรับตัวและบทบาทในการร่วมมือ ช่วยให้สมาชิกสามารถรวบรวมข้อมูลทีเกี่ยวกับองค์การและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์การ ส่งเสริมให้สมาชิกสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาข่าวสารเพื่อช่วยให้เข้าใจกิจกรรมที่ซับซ้อนขององค์การและการเปลี่ยนแปลงในองค์การได้ ทำให้สมาชิกเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และช่วยในการกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงในองค์การ
    - กระบวนการการสื่อสารในองค์การประกอบด้วยผู้ส่งสาร สาร ช่องทาง และผู้รับสาร โดยสมาชิกในองค์การสามารถเป็นทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารได้พร้อมกัน การสื่อสารในองค์การเกิดขึ้นได้ทุกรูปแบบทั้งจากล่างสู่บน จากบนลงล่าง และในแนวระนาบ ผู้สื่อสารมีกรอบแห่งการอ้างอิงของตนเอง มีการป้อนกลับ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งในรูปแบบวัจนะและอวัจนะภาษา และมีสิ่งรบกวนทางการสื่อสารเกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการสื่อสารลดลง

    9.2 โครงสร้างและรูปแบบของการสื่อสารในองค์การ
    - การสื่อสารในองค์การรวมเอาการสื่อสารภายในบุคคล การสื่อสารระหว่างบุคคล การสื่อสารกลุ่มย่อย และการสื่อสารหลายกลุ่มไว้ด้วยกัน โครงสร้างการสื่อสารในองค์การอาจเป็นการสื่อสารแบบเป็นทางการ แบบไม่เป็นทางการ และ/หรือการสื่อสารบุคคล
    - การสื่อสารในองค์การมีรูปแบบดังนี้คือ การสื่อสารจากบนลงล่าง (จากผู้บังคับบัญชาลงมายังผุ้ใต้บังคับบัญชา) จากล่างขึ้นบน (จากผู้ใต้บังคับบัญชาไปยังผู้บังคับบัญชา) ในระนาบเดียวกัน (ระหว่างพนักงานในระดับเดียวกัน) แบบเถาองุ่น (แบบไม่เป็นทางการทุกทิศทุกทาง) และแบบเครือข่าย (ระบบของเส้นทางการสื่อสาร)

    9.3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในองค์การ
    - ภายในองค์การประกอบด้วยสมาชิกซึ่งรวมตัวกันเป็นกลุ่มๆซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันและส่งผลกระทบต่อองค์การ กลุ่มเหล่านี้มีพัฒนาการ กิจกรรมและหน้าที่ต่างๆทั้งเชิงบวกและเชิงลบ มีการประชุมกลุ่มเพื่อให้ภาระหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติได้สำเร็จลุล่วงตามที่ตั้งเป้าประสงค์ไว้
    - ผู้นำองค์การทำหน้าที่ดูแลการบริหารงานในองค์การ โดยอาจเป็นผู้นำที่มีอำนาจเต็มและเป็นผู้ตัดสินใจและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือเป็นผู้แจ้งเป้าประสงค์ขององค์การให้พนักงานทราบและให้พนักงานกำหนดแนวทางการทำงานของตนเอง หรือเป็นแนวทางสายกลาง การเป็นผู้นำต้องมีพฤติกรรมที่ได้รับการยอมรับจากสมาชิกในกลุ่มและเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสื่อสาร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับมิติ 2 ประการคือ มิติด้านการทำงาน และมิติด้านการสร้างความสัมพันธ์
    - กระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจในองค์การมีหลายรูปแบบและเกิดเป็นหลายขั้นตอน ได้แก่ การหาโอกาสใหม่ๆในการตัดสินใจ ค้นหาแนวทางปฏิบัติหลายรูปแบบ เลือกแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด สื่อสารการตัดสินใจนั้นๆให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ นำการตัดสินใจนั้นไปปฏิบัติและประเมินผลการตัดสินใจ
    - แรงจูงใจในองค์การของบุคคลเกิดจากทัศนคติและค่านิยม แรงขับและความต้องการ และอิทธิพลของสภาวะแวดล้อม แรงจูงใจมีความสัมพันธ์กับผลการทำงานและความพึงพอใจในงานกระบวนการสร้างแรงจูงใจประกอบด้วยการสร้างเงื่อนไขภายในและภายนอก
    - นวัตกรรมในองค์การเป็นรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงในองค์การที่มีการวางแผนล่วงหน้าอย่างเป็นขั้นตอน โดยมีกระบวนการ 2 ขั้นตอนคือ ขั้นเริ่มต้นและขั้นการนำมาใช้ ปัจจัยที่มีผลต่อนวัตกรรมในองค์การได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรม การเปิดให้กลุ่มต่างๆภายนอกองค์การตรวจสอบได้ ทรัพยากรสำรอง และโครงสร้างขององค์การ
    - วัฒนธรรมองค์การพัฒนามาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในองค์การ โดยมีบทบาทในการกำหนดรูปแบบการสื่อสารของพนักงาน กำหนดการแปลความหมายกิจกรรมต่างๆเป็นกรอบโครงเพื่อทำความเข้าใจกับองค์การ และสร้างแนวคิดร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวขององค์การ วัฒนธรรมองค์การประกอบด้วยค่านิยม วีรบุรุษ ธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ และเครือข่ายการสื่อสารทางวัฒนธรรม
    - เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมี 3 ประเภทคือ ระบบข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการประชุมทางไกล และระบบสำนักงานที่เชื่อมกัน มีคุณสมบัติต่างจากสื่อธรรมดา และส่งผลกระทบต่อการสื่อสารในองค์การทั้งในแง่บวกและแง่ลบ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Feb 17, 2010 3:09 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 10 พฤติกรรมการสื่อสารสาธารณะ

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:44 pm

    หน่วยที่ 10 พฤติกรรมการสื่อสารสาธารณะ

    แนวคิด
    1.การสื่อสารสาธารณะ เป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มักใช้การพูด โดยผู้พูดหรือผู้ส่งสารพูดต่อหน้าผู้ฟังและผู้รับสารจำนวนมากอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ผู้พูดมักมีการวางแผนการพูด ใช้ความคิดและเตรียมเนื้อหาที่พูดมาก่อน
    2.การสื่อสารสาธารณะชวยให้การสื่อสารบรรลุผลตามเจตนารมณ์ของการสื่อสาร ได้แก่ การให้ข่าวสารความรู้ การสั่งสอน อบรม โน้มน้าว ชี้แนะ การปราศรัยและอื่นๆ ผู้ส่งสารหรือผู้พูดที่รู้จักและเข้าใจปัจจัยและวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารสาธารณะจะช่วยให้การสื่อสารบรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    3. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารสาธารณะได้แก่ ผู้พูด ผู้ฟัง วัตถุประสงค์การพูด บริบทในการพูด เนื้อหาและช่องทาง ภาษาและลีลา สิ่งรบกวน บุคลิกภาพในการนำเสนอ และจริยธรรม
    4.การสื่อสารสาธารณะมีวัตถุประสงค์หลายประการ คือ การให้ข้อมูล การโน้มน้าว การพูดในโอกาสพิเศษ และการพูดอเนกประสงค์ แต่ส่วนใหญ่ที่พบในชีวิตประจำวันเป็นวัตถุประสงค์ ให้ข้อมูลและโน้มน้าว
    5.องค์ประกอบสำคัญของการสื่อสารสาธารณะ ได้แก่ ผู้พูด เนื้อหาที่พูด และผุ้ฟังตามลำดับ
    6.ผู้ส่งสารในการสื่อสารสาธารณะหรือผู้พูดต้องมีคุณลักษณะ 3 ประการคือ ความน่าเชื่อถือ การเข้าถึงเหตุผล และการเข้าถึงอารมณ์ สารในการสื่อสารสาธารณะหรือเนื้อหาที่พูด ประกอบด้วย คำนำ เนื้อหา และสรุป ผู้รับสารในการสื่อสารสาธารณะ หรือผู้ฟังมีหลายประเภท และมีทั้งปัจจัยทางจิตวิทยาและปัจจัยทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการฟัง
    7.ประสิทธิผลในการสื่อสารสาธารณะประเมินจากการบรรลุวัตถุประสงค์ในการพูด ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของผุ้พูด โดยผู้ฟังจะประเมินความน่าเชื่อถือของผู้พูดตั้งแต่ก่อนพูด ขณะพูดและเมื่อการพูดสิ้นสุด
    8. การสร้างประสิทธิผลในการสื่อสารสาธารณะต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการพูด ตั้งแต่ตัวผู้พูด ผู้ฟัง วัตถุประสงค์ของการพูด บริบทในการพูด เนื้อหาที่พูด ช่องทางที่ใช้ในการพูด ภาษาและลีลา สิ่งรบกวน บุคลิกภาพในการนำเสนอ และจริยธรรม
    9.อุปสรรคในการสื่อสารสาธารณะประเมินจากการบรรลุวัตถุประสงค์ในการพูด และอุปสรรคสำคัญมักอยู่ที่ความกลัวของผู้พูด ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกและท่าทางของผู้พูด ความกลัวในการพูดมี 2 ลักษณะได้แก่ ความกลัวโดยนิสัยและความกลัวเฉพาะสถานการณ์

    10.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารสาธารณะ
    - การสื่อสารสาธารณะเป็นกระบวนการร่วมรับรู้ข้อมูล ความหมาย และความรู้สึกของบุคคลด้วยการแลกเปลี่ยนเนื้อหาด้านวัจนะและอวัจนะ การสื่อสารสาธารณะเป็นการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่มักใช้การพูด โดยผู้พูดพูดต่อหน้าผุ้ฟังจำนวนมากอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ผุ้พูดมักมีการวางแผนการพูด ใช้ความคิดและเตรียมเนื้อหาที่พูดมาก่อน
    - การสื่อสารสาธารณะช่วยให้การสื่อสารบรรลุผลตามเจตนารมณ์ของการสื่อสารได้ ทั้งการให้ข่าวสาร ความรู้ การสั่งสอน อบรม โน้มน้าว ชี้แนะ การปราศรัย หรืออื่นๆผุ้ส่งสารหรือผุ้พูดที่รู้จักและเข้าใจปัจจัยและวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารสาธารณะจะช่วยให้การสื่อสารบรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดจำนวนทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้เพื่อช่วยให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย
    - การสื่อสารสาธารณะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ได้แก่ ผู้พูด ผุ้ฟัง วัตถุประสงค์ของการพูด บริบทในการพูด เนื้อหาและช่องทาง ภาษาและลีลา สิ่งรบกวน บุคลิกภาพในการนำเสนอ และจริยธรรม
    - แบบจำลองการสื่อสารสาธารณะประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญคือ กระบวนการสื่อสารสาธารณะ สิ่งรบกวน และปฏิกิริยาป้อนกลับในการสื่อสารสาธารณะ
    - คุณลักษณะสำคัญของการสื่อสารสาธารณะคือการสื่อสารแบบจงใจ เน้นที่ผู้รับสารให้เป็นศูนย์กลางในการสื่อสาร และมีกระบวนการสร้างข้องเท็จจริงหรือความจริงขึ้นใหม่ที่เหมาะกับผู้รับสาร เพื่อให้การสื่อสารบรรลุประสิทธิผล ทั้งนี้กระบวนการดังกล่าวไม่ใช่การสืบค้น
    - การสื่อสารสาธารณะโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและการโน้มน้าว นอกจากนี้ยังมีการพูดในโอกาสพิเศษ และการพูดอเนกประสงค์ วัตถุประสงค์ในการสื่อสารสาธารณะแต่ละประเภทมีแนวทางการพุดที่แตกต่างกัน

    10.2 องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารสาธารณะ
    - ผู้ส่งสารหรือผู้พูดในการสื่อสารสาธารณะมีคุณลักษณะ 3 ประการคือ ความน่าเชื่อถือ เข้าถึงเหตุผล และเข้าถึงอารมณ์
    - ความน่าเชื่อถือ เป็นความประทับใจของผุ้ฟังในตัวผุ้พูด การเข้าถึงเหตุผล เป็นข้อโต้แย้งที่อยู่ในเนื้อหาที่พูด และการเข้าถึงอารมณ์ เป็นอารมณ์ความรุ้สึกที่ถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นในตัวผู้ฟัง
    - สารในการสื่อสารสาธารณะหมายถึง คำพูดหรือเนื้อหาหรือข้อเสนอของผู้พูด สารแบ่งได้เป็นส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ คำนำ เนื้อหาหลักและสรุป
    - ผู้รับสารหรือผุ้ฟังแบ่งเป็น 5ประเภทคือ ผู้ฟังแบบไม่ได้ตั้งใจ ผู้ฟังแบบเฉื่อยชา ผู้ฟังที่ถูกคัดเลือก ผู้ฟังที่กระตือรือร้น และผู้ฟังในความควบคุม
    - ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผุ้รับสารหรือผู้ฟังมีทั้งปัจจัยทางจิตวิทยาและปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางจิตวิทยาประกอบด้วย ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม ความเต็มใจเข้ารับฟัง ความชื่นชอบของผู้ฟัง ความรู้ และความคล้ายคลึงกันของผู้ฟัง ปัจจัยทางสังคมของผู้รับสารได้แก่ อายุ เพศ การศึกษา อาชีพ รายได้ สถานะ ศาสนา วัฒนธรรม บริบท และปัจจัยอื่นๆ
    - การสร้างประสิทธิผลในการสื่อสารสาธารณะทำได้โดยเลือกหัวข้อและวัตถุประสงค์ในการพูด วิเคราะห์ผู้ฟัง หาข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาที่พูด กำหนดเนื้อหาหลัก หาข้อมูลสนับสนุนเนื้อหาหลัก จัดระบบเนื้อหา ใช้ภาษาที่เหมาะสม กำหนดคำนำ และสรุป เตรียมคำตอบสำหรับคำถามจากผุ้ฟัง และประเมินปฏิกิริยาป้อนกลับ
    - อุปสรรคสำคัญในการสื่อสารสาธารณะเกี่ยวข้องกับปัจจัยทั้งหมดในการสื่อสาร กรณีของผู้พูดที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องที่พูดและเตรียมการพูดมาอย่างดี อุปสรรคมักอยุ่ที่ความกลัวของผู้พูด ความกลัวในการพูดมี 2 ลักษณะคือความกลัวโดยนิสัยเป็นการกลัวการสื่อสารทั่วไปและความกลัวเฉพาะสถานการณ์ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ
    - ปัจจัยที่มีผลต่อความกลัวในการสื่อสารสาธารณะ ได้แก่ การเผชิญสิ่งใหม่ ความรู้สึกด้อย การเป็นเป้าสายตา การที่ผู้พูดรู้สึกว่าตนแตกต่างจากผู้ฟัง และภูมิหลังของผู้พูด


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Feb 17, 2010 4:24 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 11 พฤติกรรมการสื่อสารมวลชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:45 pm

    หน่วยที่ 11 พฤติกรรมการสื่อสารมวลชน

    แนวคิด
    1.การสื่อสารมวลชนเป็นกลไกหนึ่งซึ่งมีความสำคัญในระบบสังคมมนุษย์ ทำหน้าที่สื่อสารข่าวสาร ความคิด วัฒนธรรมและความบันเทิงให้แก่สมาชิกในสังคมเพื่อเชื่อมโยงความสมานฉันท์ โดยระบบสื่อมวลชนในแต่ละสังคมนั้นมักแตกต่างกันไปตามบรรทัดฐานทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของประเทศนั้นๆ
    2.สื่อมวลชนเปรียบเสมือนผุ้รักษาประตูข่าวสาร มีกระบวนการรวบรวม เลือกสรร กลั่นกรอง และปรุงแต่งข่าวสารก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังผุ้รับสารทั่วไป การไหลหรือการแพร่กระจายของข่าวสารจากสื่อมวลชนอาจไปถึงผุ้รับสารโดยตรงทอดเดียวหรือไหลผ่านบุคคลที่เรียกว่าผุ้นำความคิดเห็นในลักษณะ 2 ทอด หรือหลายทอด นวัตกรรมหรือข่าวสถานการณ์สำคัญต่างๆมักแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว กว้างขวางด้วยช่องทางสื่อมวลชน แต่จะมีผลในการโน้มน้าวใจได้ดีด้วยการสนับสนุนของสื่อบุคคล
    3.พฤติกรรมการรับสารของผุ้รับสารนั้น แต่เดิมเชื่อว่ามีลักษณะเป็นผู้ถูกป้อน ถูกกระทำจากสื่อมวลชน ต่อมาพบว่ามีลักษณะเป็นผุ้กระทำการเลือกสรร แสวงหาและยังตีความข่าวสารไปตามทัศนคติ ความเชื่อและความต้องการของผู้รับสารแต่ละคนที่มักไม่เหมือนกัน อันเนื่องมาจากปัจจัยทางจิตวิทยาของปัจเจกบุคคลหรือปัจจัยทางสังคมวิทยาของการกระบวนการกลุ่ม รวมทั้งเกิดจากการตอบสนองจิตใต้สำนึกด้านการแสวงหาความบันเทิงเพลิดเพลินสนุกสนานของปุถุชนทั่วไป
    4.การสื่อสารมวลชนซึ่งเป็นพฤติกรรมประจำวันของมนุษย์ในสังคมยุคใหม่ อาจก่อให้เกิดผลได้ทั้งในทางบวกและทางลบ ผลต่อปัจเจกบุคคลหรือต่อสังคมวัฒนธรรม ผลในระยะสั้นทันทีหรือผลในลักษณะสั่งสมระยะยาว และผลในด้านความรู้ ความคิด ด้านทัศนคติหรือด้านพฤติกรรมการกระทำซึ่งมีทฤฎีที่อธิบายอย่างกว้างขวางและหลากหลายกระบวนทัศน์

    11.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน
    - การสื่อสารมวลชนเป็นการสื่อสารไปยังผู้รับสารกลุ่มใหญ่ที่อยู่กระจัดกระจายทั่วไปในสังคมผ่านช่องทางที่เป็นสื่อสิ่งพิทพ์ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุโทรทัศน์และภาพยนต์ รวมทั้งสื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่นคอมพิวเตอร์หรือระบบอินเทอร์เนต การสื่อสารมวลชนมีความสำคัญในการสื่อข่าวสารและประสานสังคมให้ดำรงคงอยู่และสืบทอดตลอดไป
    - สื่อมวลชนมีหน้าที่ต่อสังคมด้านการแจ้งภัยบอกข่าวสาร การสร้างความเข้าใจร่วมกัน สร้างการสืบทอดทางวัฒนธรรม ให้ความบันเทิง และรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนา โดยพันธกิจหน้าที่เหล่านี้อาจเป็นไปทางพึงประสงค์และไม่พึงประสงค์
    - ระบบและโครงสร้างของสื่อสารมวลชนในประเทศต่างๆสอดคล้องกับบรรทัดฐานทางสังคมและปรัชญาทางการเมืองของประเทศนั้นๆ แบ่งได้เป็น ทฤษฎีสื่อมวลชนแบบอำนาจนิยม เสรีนิยม ความรับผิดชอบทางสังคม สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ สื่อมวลชนเพื่อการพัฒนา และสื่อมวลชนประชาธิปไตยแบบประชาชนมีส่วนร่วม
    - องค์กรสื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่ 2 ด้าน ทั้งหน้าที่ทางสังคมและธุรกิจ มีกระบวนการปฏิบัติตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากแหล่งต่างๆ เลือกสรร กลั่นกรอง และปรุงแต่งข่าวสาร ผลิต และเผยแพร่จำหน่ายไปยังผู้รับสารในกลุ่มต่างๆของสังคม

    11.2 พฤติกรรมการคัดเลือกและแพร่กระจายข่าวสารสื่อมวลชน
    - ข่าวสาวต่างๆจากสื่อมวลชนจะผ่านกระบวนการเลือกสรร กลั่นกรองและปรุงแต่งจากผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชนเรียกว่าผู้รักษาประตูข่าวสาร ซึ่งทำงานภายใต้กฏเกณฑ์และเงื่อนไขต่างๆ เช่น คุณค่าความเป็นข่าว นโยบายองค์กร ความต้องการผู้รับสารและหลักมาตรฐานวิชาชีพ เป็นต้น
    - การเข้ารหัสข่าวสารสื่อมวลชนมีข้อขำกัดเรื่องภาษาที่ใช้ ทำให้สะท้อนความจริงที่เบี่ยงเบนหรือไม่ชัดเจน ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เช่น การใช้ภาษาที่มีลักษณะเป็นนามธรรมมากเกินไป การใช้ภาษาแบบเหมารวมไม่แยกแยะ การใช้ภาษาแบบประเมินสุดขั้วไปในทางบวกหรือลบ และการใช้ภาษาที่คลุมเครือระหว่างความเห็นส่วนตัวกับความเป็นจริงที่แท้จริง
    - ข่าวสารจากสื่อมวลชนไม่ได้แพร่กระจายจากสื่อถึงผู้รับสารโดยตรงเสมอไปอาจผ่านบุคคลตัวกลางที่เรียกว่าผู้นำความคิดเห็นต่อไปยังบุคคลอื่นๆที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ในลักษณะการสื่อสาร 2 ทอดดังนั้นผลของการสื่อสารมวลชนอาจเกิดจากอิทธิพลของบุคคลที่เรียกว่าผู้นำความคิดเห็นมากกว่าเกิดจากอิทธิพลของสื่อมวลชนโดยตรง
    - นวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่และแนวคิดแนวปฏิบัติใหม่มักแพร่กระจายสู่สังคมผ่านสื่อสารมวลชนและการสื่อสารระหว่างบุคคลโดยมีขั้นตอนตั้งแต่การรับรู้ การให้ความสนใจแสวงหาความรู้ การยอมรับ การประเมินผลได้ผลเสีย การทดลองใช้และการรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
    - ข่าวสารเหตุการณ์สำคัญที่มีผลกระทบต่อคนจำนวนมากหรือเป็นเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด มักเผยแพร่สู่สังคมผ่านสื่อมวลชนและกระจายต่อไปผ่านการสื่อสารระหว่างบุคคลแบบปากต่อปากโดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการแพร่กระจายต่อไปผ่านการสื่อสารระหว่างบุคคลแบบปากต่อปากโดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการแพร่กระจายผ่านผู้นำความคิดเห็น

    11.3 พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารสื่อมวลชนและการใช้ประโยชน์สนองความพึงพอใจ
    - ผู้รับสารสื่อมวลชนอาจพิจารณาได้ในฐานะเป็นผู้ติดตามเปิดรับสื่อต่างๆ เป็นมวลชนขนาดใหญ่ กลุ่มสาธารณะ กลุ่มสังคมหรือเป็นตลาดผู้บริโภคสื่อและข่าวสารต่างๆ ซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นทั้งผู้คอยรับข่าวสารหรือผู้ถูกกระทำจากสื่อมวลชน และผู้แสวงหาเลือกสรรหรือผู้กระทำ
    - ผู้รับสารสื่อมวลชนมีกระบวนการเลือกสรรทั้งการเลือกเปิดรับ เลือกตีความและเลือกจดจำข่าวสารที่รับรู้จากสื่อมวลชน
    - ผู้รับสารสื่อมวลชนเลือกใช้หรือเปิดรับสื่อและข่าวสารตามความต้องการใช้ประโยชน์เพื่อตอบสนองความต้องการจำเป็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
    - พฤติกรรมการใช้สื่อมวลชนของผู้รับสารนอกจากเพื่อตอบสนองความต้องการจำเป็นที่แตกต่างกันแล้ว ยังเกิดจากอุปนิสัยความเคยชิน เพื่อตอบสนองความเพลิดเพลินบันเทิงใจซึ่งอธิบายได้ด้วยทฤษฎีการเล่นและแสวงหาความบันเทิง ในการเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นสาระความรู้ ถ้าจะให้เข้าถึงผู้รับสารอย่างได้ผลควรใช้การบันเทิงสอดแทรกไปด้วยกัน
    - การแพร่กระจายข่าวสารสื่อมวลชนเข้าสู่สังคมให้มีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายควรต้องคำนึงถึงอิทธิพลของกระบวนการและพลวัตกลุ่มในสังคมด้วย

    11.4 ผลจากพฤติกรรมการสื่อสารมวลชน
    - ในการศึกษายุคแรกๆเชื่อกันว่าการเปิดรับข่าวสารสื่อมวลชนก่อให้เกิดผลโดยตรงทันที


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Feb 18, 2010 6:22 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 12 พฤติกรรมการสื่อสารต่างวัฒนธรรม

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:46 pm

    แนวคิด
    1.การสื่อสารต่างวัฒนธรรม หมายถึง การสื่อสารระหว่างบุคคลที่มาจากต่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยเน้นการสื่อสารแบบเห็นหน้า และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันของคู่สื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและยอมรับสังคมแตกต่างไปจากตน
    2.โอกาสของการสื่อสารต่างวัฒนธรรมมีให้พบเสมอในชีวิตประจำวัน เมื่อบุคคลออกจากวัฒนธรรมเดิมของตนเข้าสู่วัฒนธรรมใหม่ อาจเกิดปัญหาความตระหนกทางวัฒนธรรม
    3.บุคคลจะเกิดความตระหนกทางวัฒนธรรม และสามารถปรับตัวได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยุ่กับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และปัจจัยด้านสถาบันทางสังคม
    4.การจะเข้าใจความหมายร่วมกันระหว่างคู่สื่อสารที่มาจากต่างวัฒนธรรมกัน จำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างของการใช้ภาษาทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา
    5.ประสิทธิภาพของการสื่อสารต่างวัฒนธรรมต้องอาศัยองค์ประกอบ 3 ด้านคือ ความรู้และความคิด ด้านทัศนคติและความรู้สึก และด้านพฤติกรรม

    12.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารต่างวัฒนธรรม
    - การสื่อสารต่างวัฒนธรรมมีบทบาทอย่างมาในยุคโลกาภิวัตน์และการสื่อสารแบบไร้พรหมแดน ในการสร้างความเข้าใจร่วมกันและยอมรับสังคมที่ต่างไปจากตน ทำให้เข้าใจตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้วัฒนธรรมอื่นๆช่วยลดความตระหนกทางวัฒนธรรม และปัญหาการสื่อสารกับบุคคลที่มาจากต่างวัฒนธรรม
    - การสื่อสารต่างวัฒนธรรม หมายถึง การสื่อสารระหว่างบุคคลที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันโดยเน้นการสื่อสารแบบเห็นหน้าและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันของคู่สื่อสาร ทั้งนี้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของคู่สื่อสารจะต้องมี มาก และ เด่นชัด พอ
    **ลักษณะมากพอหรือเด่นชัดพอ คือ วัฒนธรรมของแต่ละฝ่ายต้องเป็นวัฒนธรรมที่ยึดถือโดยกลุ่มคน ไม่ใช่ปัจเจกบุคคล ต้องผ่านการรับรู้ร่วมกันจนเป็นแบบแผนของกลุ่ม คนภายนอกสามารถสังเกตและศึกษาได้ ความแตกต่างของวัฒนธรรมของทั้งสองฝ่ายอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดและตีความต่างกันและอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดละปัญหาการสื่อสารอันเนื่องมาจากการมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน
    - โดยทั่วไปเกฯฑ์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทและระดับของวัฒนธรรม ได้แก่ การเป็นวัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมย่อย(หลัก-ซีกโลกตะวันตก/ออก ย่อย ทวีปต่างๆ หลัก-ประเทศ ย่อย-รัฐ/ภาค) การแบ่งเป็นกลุ่มเชื้อชาติ(กลุ่มนีกรอยด์-คนผิวดำในอเมริกา อัฟริกา กลุ่มมองโกลอยด์-คนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกไกล กลุ่มคอเคซอยด์-คนยุโรป ตะวันตกอื่นๆ เชื้อชาติคือความคล้ายคลึงกันทางยีนส์) การแบ่งเป็นกลุ่มชาติพันธ์ ,มีบรรพบุรุษกลุ่มเดียวกัน ใช้ภาษาพูดเดียวกัน
    - กระบวนการสื่อสารต่างวัฒนธรรมมัลักษณะเป็นพลวัต การจะเข้าใจถึงความคิดและพฤติกรรมของคนในวัฒนธรรมหนึ่งๆได้ ต้องเข้าใจอิทธิพลและองค์ประกอบอย่างน้อย 4 อย่างคือ อิทธิพลหรือองค์ประกอบทางวัฒนธรรม(โลกทัศน์ ค่านิยม) ทางสังคมวัฒนธรรม ทางจิตวิทยาสังคม(กระบวนการรับรู้ รูปแบบความคิด ทัศนคติประเภทต่างๆความไม่แน่ใจ) และทางสภาพแวดล้อม(กายภาพ จิตวิทยา)

    12.2 บริบทการสื่อสารต่างวัฒนธรรม
    - โอกาสหรือบริบทในของการสื่อสารต่างวัฒนธรรม มีให้พบเสมอไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกับคนต่างชาติหรือต่างกลุ่มสังคม ซึ่งนักวิชาการมีการเสนอสถานการณ์และบริบทของการสื่อสารต่างวัฒนธรรมและการปรับตัวต่างๆกัน
    - เมื่อบุคคลออกจากวัฒนธรรมเดิมๆของตนก้าวสาวัฒนธรรมใหม่ อาจเกิดปัญหาความตระหนกทางวัฒนธรรมและผ่านขั้นตอนต่างๆของการปรับตัวมากน้อยต่างกัน
    Enculturation – การซึมซับ เรียนรู้วัฒนธรรมตนเอง
    Deculturation – การละทิ้งสิ่งที่เคยเรียนรู้มาจากวัฒนธรรมเก่าของตน
    Acculturation – การเรียนรู้การปรับตัวเพื่อเข้าสู่วัฒนธรรมใหม่
    ขั้นตอนการปรับตัวทางวัฒนธรรม ขั้นตื่นตาตื่นใจ ขั้นเทียบเคียง ขั้นการมีส่วนร่วมกับวัฒนธรรมใหม่ การปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใหม่
    12.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารต่างวัฒนธรรมและการปรับตัว
    - บุคคลจะเกิดความตระหนกทางวัฒนธรรมและสามารถปรับตัวได้ขึ้นกับปัจจัยหลายด้าน ทั้งปัจจัยด้านพื้นฐานส่วนบุคคลเช่น บุคลิกนิสัย ทัศนคติ การเตรียมตัว ฯลฯ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางสังคมและประเทศเจ้าบ้าน ความช่วยเหลือและสนับสนุนจากบุคคลนกลุ่มสังคม ฯลฯ และปัจจัยด้านสถาบันต่างๆทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของสื่อมวลชน กฎหมาย ศาสนาเป็นต้น

    12.4 บทบาทหน้าที่และความแตกต่างของวัจนภาษาและอวัจนภาษาในการสื่อสารต่างวัฒนธรรม
    - การจะสามารถสร้างและเข้าใจความหมายร่วมกันระหว่างคู่สื่อสารที่มาจากต่างวัฒนธรรมกันจำเป็นต้องเข้าใจความแตกต่างของการใช้ภาษาทั้งวัจนภาและอวัจนภาษาของแต่ละวัฒนธรรม
    - แต่ละวัฒนธรรมมีการใช้วัจนภาต่างกันทั้งในด้านคำศัพท์ คำเรียกชื่อและการใช้สรรพนาม การเรียงคำและประโยครูปแบบการใช้ภาษา รวมถึงบทบาทและข้อห้ามต่างๆ
    - แม้ว่าอวัจนภาษาอาจมีลักษณะเป็นสากล แต่ส่วนใหญ่มักแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม โดยอาจใช้รหัสและสัญลักษณ์เหมือนกัน แต่ตีความหมายต่างกัน หรืออาจใช้รหัสและสัญลักษณ์ไม่เหมือนกัน รวมถึงมีการรับรู้และคาดหวังต่อการใช้อวัจนภาษาในโอกาสและบริบทต่างๆแตกต่างกันไป

    12.5 ผลลัพธ์ของการสื่อสารต่างวัฒนธรรม
    - ปัญหาการสื่อสารต่างวัฒนธรรมอาจเกิดจากอุปสรรคด้านต่างๆ ได้แก่ อุปสรรคด้านความรู้และความคิด ด้านทัศนคติและความรู้สึก และด้านพฤติกรรม
    - แต่ละวัฒนธรรมมีการนิยามคำว่า ประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล ของการสื่อสารต่างวัฒนธรรม โดยเน้นความหมายในมิติและเกณฑ์ต่างกัน แต่โดยรวมเชื่อว่าประสิทธิภาพของการสื่อสารต่างวัฒนธรรม ต้องอาศัยองค์ประกอบทั้ง 3 ด้านคือ ด้านความรู้ความคิด ด้านทัศนคติและความรู้สีก และด้านพฤติกรรม
    - แนวทางการพัฒนาความสามารถของการสื่อสารต่างวัฒนธรรมมีมากมาย ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนทัศนคติ การวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ของกระบวนการสื่อสารที่มีผลต่อการสื่อสารต่างวัฒนธรรม การพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร ทั้งด้านความรู้ความคิด ทัศนคติความรู้สึกและพฤติกรรม และการหาวิธีในการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนและพัฒนาประสิทธิภาพดารสื่อสารต่างวัฒนธรรม


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Mar 11, 2010 10:25 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 13 พฤติกรรมการสื่อสารโลกาภิวัฒน์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:46 pm

    หน่วยที่ 13 พฤติกรรมการสื่อสารโลกาภิวัฒน์
    แนวคิด
    1.ขณะที่โลกเริ่มหดตัวและเป็นหนึ่งเดียวกันตามกรอบแนวคิดเรื่อง โลกาภิวัฒน์ มิติด้าน การสื่อสาร จึงถูกหยิบยกขึ้นมาในฐานะส่วนหนึ่งของการช่วยกระตุ้นให้โลกมีความเป็นหนึ่งเดียว ทั้งด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
    2.สังคมโลกในยุคปัจจุบันเริ่มแปรเปลี่ยนจากคลื่นลูกแรกยุคสังคมที่ใช้แรงงานแบบเกษตรกรรม สู่คลื่นที่สอง สังคมอุตสาหกรรม และคลื่นลูกที่3 สังคมข่าวสาร ซึ่งอาศัย ข่าวสาร และการสื่อสาร เข้ามามีความสำคัญในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทั้งนี้ การสื่อสารในยุคดังกล่าวมีลักษณะโลกาภิวัฒน์ กล่าวคือ นอกจากเป็นการมองการสื่อสารในมิติของระบบโลกประดุจดัง หมู่บ้านโลก แล้วยังเป็นการสื่อสารที่แหล่งข่าวสารอาจไหลเวียนทางเดียวจากโลกที่หนึ่งสู่โลกที่สาม ส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามเรื่องการจัดระเบียบข่าวสารของโลกและสิทธิของการสื่อสารของโลกที่สาม
    3.การสื่อสารโลกาภิวัฒน์วางอยู่บนกรอบแนวคิดเรื่อง การสื่อสาร กับ โลก โดยอาจสามารถอธิบายได้ตามทฤษฎี 4 ทฤษฎี ทั้งในมิติการสื่อสารโลกาภิวัฒน์เชิงภูมิศาสตร์ การสื่อสารกับกระบวนการสร้างความทันสมัย จักรวรรดินิยมสื่อและวัฒนธรรม และการสื่อสารโลกาภิวัฒน์ทางวัฒนธรรม อย่างไรก็ตาม จุดต่างของทฤษฎีทั้ง 4 คือ ทฤษฎีการสื่อสารโลกาภิวัฒน์เชิงภูมิศาสตร์ จะมุ่งเน้นมิติทางการเมืองของแต่ละประเทศจะเป็นผู้กำหนดให้ระบบการสื่อสารโดยเฉพาะการสื่อสารมวลชนมีลักษณะสอดคล้องกัน ในส่วนของทฤษฎีการสื่อสารกับกระบวนการสร้างความทันสมัย จะมองผ่านจุดยืนของทฤษฎีหน้าที่นิยมที่มองการสื่อสารทำหน้าที่พัฒนาประเทศ (ด้อยพัฒนาหรือโลกที่สาม) ให้พัฒนาเทียบเท่าประเทศอื่น ส่วนทฤษฎีเรื่องจักรวรรษนิยมสื่อและวัฒนธรรม กลับมองบทบาทหน้าที่สื่อในแง่ลบ โดยเชื่อมโยงกับระบบทุนนิยมของผู้ครอบครองสื่อโลกที่มาจากโลกที่1 จึงทำให้เนื้อหาต่างๆในสื่อกลับทำหน้าที่ครอบงำอุดมการณ์จากโลกที่หนึ่งสู่โลกที่สาม ในด้านกลับกันทฟษฎีการสื่อสารโลกาภิวัฒน์ทางวัฒนธรรม กลับแสดงให้เห็นว่า มิได้มีการครอบงำไปเสียทั้งหมดแต่อาจมีการปรับและผสมผสานวัฒนธรรมโลกกับท้องถิ่นเข้าด้วยกัน

    13.1 ความหมายและความสำคัญของการสื่อสารโลกาภิวัฒน์
    - โลกาภิวัตน์มีความหมายที่หลากหลาย แต่มีลักษณะร่วมกันค่ะ กระบวนการเชื่อมร้อยระหว่างกันของประเทศต่างๆในโลก การที่ทุกชาติมีสายสัมพันธ์ในลักษณะข้ามพรหมแดนมิใช่แต่เฉพาะด้านกายภาพแต่หมายรวมถึงสังคมและวัฒนธรรม การเสพวัฒนธรรมร่วมกันทั่วโลก แม้คนจะมีความแตกต่างกันแต่กลับมีจุดร่วมในการเสพวัฒนธรรมเดียวกัน การบีบอัดของเวลาและพื้นที่ การสื่อสารของมนุษย์จะเข้าไปมีความสัมพันธ์กับการบีบอัดของเวลาและพื้นที่
    - การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารโลกาภิวัตน์มีความสำคัญดังนี้ คือ การคมนาคมขนส่งและการสื่อสารสมัยใหม่ลดอุปสรรคการข้ามพรมแดน การขยายประสบการณ์ผ่านสื่อกว้างไกลจากเดิม การพัฒนาของสื่อสารมวลชนส่งเสริมให้ประเทศพัฒนาขึ้น กับอีกด้านหนึ่ง ที่อาจถูกครอบงำจากกลุ่มประเทศโลกที่หนึ่งได้การสื่อสารภายในสังคมไทยก็ได้รับเงื่อนไขจากระบบโลกเช่นกัน

    13.2 สังคมข่าวสารและกระบวนการสื่อสารโลกาภิวัตน์
    - หมู่บ้านโลก คือการพิจารณาปรากฏการณ์ของทุกชาติในโลกจะมีลักษณะร่วมกัน โดยสื่อมวลชนจะเป็นผู้ถักร้อยพลเมืองและวัฒนธรรมเข้าด้วยกันเป็นหมู่บ้านเดียวกัน ในทิศทางเดียวกัน พร้อมเพรียง และรวดเร็วทันใจ
    - คลื่นลูกที่สามคือการพิจารณาการปรับเปลี่ยนของยุคอารยธรรมโลกในยุคที่สามจากผลพวงของสังคมข่าวสาร สืบต่อจากยุคคลื่นลูกที่หนึ่งคือสังคมเกษตรกรรม และยุคคลื่นลูกที่สองคือสังคมอุตสาหกรรม
    - ในยุคคลื่นลูกที่สาม นอกจากการที่สังคมก้าวสู่การให้ความสำคัญต่อ ข่าวสาร แล้วยังคำนึงถึงการวิเคราะห์และประเมินข่าวสารของโลกอีกด้วย ในยุคแรกยังเป็นเพียงการวิเคราะห์ว่า ข่าวสารของโลกจะไหลเวียนอย่างเสรีหรือไม่ ต่อจากนั้น ก็ถูกตั้งคำถามว่า ข่าวสารที่ไหลเวียนอาจไม่สมดุล กล่าวคือมาจากโลกที่หนึ่งสู่โลกที่สาม จึงทำให้เกิดแนวคิดการจัดระเบียบข่าวสาร และพัฒนาสู่การเน้นให้ประเทศมีสิทธิ์ที่จะสื่อสารได้

    13.3 ทฤษฎีและแนวทางการศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารโลกาภิวัตน์
    - ทฤษฎีการสื่อสารโลกาภิวัตน์เชิงภูมิศาสตร์ถือกำเนิดจากแนวคิดทางภูมิศาสตร์การเมือง โดยจำแนกระบบการสื่อสารตามตรรกะทางปรัชญาและการเมือง 4 กลุ่ม คือ อำนาจนิยม อิสรภาพนิยม ความรับผิดชอบต่อสังคม และสังคมนิยมแบบโซเวียต
    - ทฤษฎีการสื่อสารกับกระบวนการสร้างความทันสมัย มุ่งเน้นการวิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของการสื่อสารที่ช่วยพัฒนาให้ปัจเจกบุคคล สังคม และประเทศ(โดยเฉพาะประเทศโลกที่สาม) ให้มีความทันสมัยและพัฒนาขึ้นทัดเทียมกลุ่มประเทศโลกที่หนึ่ง
    - ทฤษฎีจักรวรรดินิยมสื่อและวัฒนธรรมมองแนวทางการไหลเวียนของสื่อและวัฒนธรรมโลกเป็นผลพวงจากระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้สื่อกลายเป็นเครื่องมือการตอกย้ำลัทธิการพึ่งพาประเทศโลกที่หนึ่ง และลัทธิทุนนิยมโลก ทั้งด้านการเป็นเจ้าของสื่อ ผลผลิตของการสื่อสาร บรรทัดฐานทางวิชาชีพ และอุดมการณ์สื่อ
    - ทฤษฎีการสื่อสารโลกาภิวัตน์ทางวัฒนธรรมมองการสื่อสารว่า มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโลกและวัฒนธรรมท้องถิ่น กล่าวคือ มีการปรับตัวและผสมผสานกันอยู่ตลอดเวลา วัฒนธรรมที่มีอยู่จึงเป็นวัฒนธรรมลูกผสม(hybrid) เช่น กรณีการนำรายการโทรทัศน์จากต่างประเทศเข้ามาปรับเป็นรายการตอบปัญหาแบบไทย เป็นต้น


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Feb 17, 2010 11:00 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 14 การประยุกต์ใช้การสื่อสารในเชิงสาธารณะประโยชน์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:48 pm

    หน่วยที่ 14 การประยุกต์ใช้การสื่อสารในเชิงสาธารณประโยชน์
    แนวคิด
    1.การสื่อสารเป็นเครื่องมือสำคัญในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการกระทำทางสังคมในเชิงการพัฒนาและเอื้อประโยชน์ต่อสาธารณชนส่วนใหญ่ การประยุกต์ใช้การสื่อสารในเชิงสาธารณประโยชน์กระทำได้หลายมิติหลายมุมมอง
    2.การประยุกต์ใช้การสื่อสารในเชิงสาธารณประโยชน์อธิบายได้จากแบบจำลองของระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่ประกอบด้วยระบบย่อย 3 ระบบหรือมิติ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยแปรสภาพ และปัจจัยส่งออก
    3.การใช้การสื่อสารเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสาธารณประโยชน์ เป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งในการกระทำทางสังคมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีแผน และเกิดผลตามแผนที่องค์การหรือหน่วยที่นำการเปลี่ยนแปลงวางไว้
    4.การกระทำทางสังคมประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ประการได้แก่ สาเหตุหรือวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง องค์การหรือหน่วยที่นำการเปลี่ยนแปลง กลุ่มเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง ช่องทาง และกลยุทธ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลง แก่นความคิดขององค์ประกอบทั้ง 5 สามารถอธิบายปราฏการณ์ของการกระทำทางสังคมในระดับกว้าง
    5.กลยุทธ์เพื่อใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผู้รับสารเป้าหมาย ได้แก่ การใช้อำนาจ การโน้มน้าว และการให้การศึกษาใหม่ กลยุทธ์ทั้งสามเกี่ยวข้องกับตัวแปรการเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน 3 ตัวแปรได้แก่ โครงสร้างอิทธิพล ค่าใช้จ่าย และช่องทาง

    14.1 การใช้การสื่อสารในการจัดการเปลี่ยนแปลงเชิงสาธารณประโยชน์
    - การประยุกต์ใช้การสื่อสารในเชิงสาธารณประโยชน์อธิบายได้จากระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงซึ่งประกอบด้วยระบบย่อย 3 ระบบหรือมิติ คือ ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วยมิติด้านองค์การผู้ส่งสารที่นำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยแปรสภาพ ประกอบด้วยมิติการสื่อสาร ซึ่งองค์การใช้เพื่อให้เกิดผลเชิงสาธารณประโยชน์ และปัจจัยส่งออก ประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงที่องค์การผู้ส่งสารต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    - มิติด้านองค์การที่นำการเปลี่ยนแปลง เป็นปัจจัยป้อนเข้าหลักของระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลง ทำหน้าที่เป็นระบบย่อยหรือมิติที่ทำให้เกิดโครงสร้างที่วิเคราะห์ วางแผน และบริหารแผนการเปลี่ยนแปลง และทำให้ประเด็นที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคงอยู่ โดยมีสภาพแวดล้อมทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี เป็นปัจจัยภายนอกนำเข้าภายนอก
    - มิติด้านการสื่อสาร เป็นระบบย่อยหรือมิติด้านที่สองของระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลง ทำหน้าที่เป็นขอบเขตระหว่างองค์การที่นำการเปลี่ยนแปลง กับกลุ่มเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง ระบบย่อยหรือมิติด้านการสื่อสารทำหน้าที่ทั้งเข้ารหัสและนำสารขององค์การและสารจากสภาพแวดล้อมไปยังกลุ่มเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง ระบบย่อยหรือมิติด้านการสื่อสารประกอบด้วยปัจจัยนำเข้า ปัจจัยแปรสภาพ และปัจจัยนำออก คล้ายระบบการจัดการทั่วไป
    - มิติด้านกลุ่มเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง เป็นระบบย่อยหรือมิติสุดท้ายของระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลง กลุ่มเป้าหมายรับสิ่งกระตุ้นจากระบบย่อยหรือมิติด้านการสื่อสาร ประเมิน และตอบสนองสิ่งกระตุ้นนั้น โดยมีปฏิกิริยาป้อนกลับไปยังองค์การที่เป็นปัจจัยนำเข้า ทำให้องค์การสามารถวัดความสำเร็จของความพยายาม และพัฒนากลยุทธ์ที่ไม่มีประสิทธิผล หรือขัดเกลากลยุทธ์ที่มีประสิทธิผลอยู่แล้ว

    14.2 กลยุทธ์การสื่อสารเชิงสาธารณประโยชน์และกรณีศึกษา
    - การกระทำทางสังคมในการสื่อสารเชิงสาธารณประโยชน์ประกอบด้วยองค์ประกอบห้าประการ แก่นความคิดขององค์ประกอบทั้งห้าช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์ของการกระทำทางสังคมในระดับกว้าง องค์ประกอบทั้งห้าได้แก่ สาเกตุหรือวัตถุประสงค์ของการเปลี่ยนแปลง องค์การที่นำการเปลี่ยนแปลง กลุ่มเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลง ช่องทาง และกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง
    - ตัวแปรการเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน ประกอบด้วย โครงสร้างอิทธิพล ค่าใช้จ่าย และช่องทางโครงสร้างอิทธิพลสะท้อนวิธีการที่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงถูกนำเสนอ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับค่าคาดหวังของการยอมรับสิ่งตัดสินใจ ตัวแปรสุดท้ายคือช่องทาง ประกอบด้วยช่องทางออกของสื่อ และช่องทางออกเพื่อกระจายหรือเผยแพร่สิ่งตัดสินใจ
    - กลยุทธ์การใช้อำนาจในการสื่อสารเชิงสาธารณะประโยชน์ เป็นกลยุทธ์ที่พยายามทำให้เกิดพฤติกรรมคล้อยตามผ่านการลงโทษของผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้วยการใช้อำนาจหน้าที่บังคับ หรือปรับกลยุทธ์นี้คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากกว่าความเชื่อหรือค่านิยมของกลุ่มเป้าหมาย
    - กลยุทธ์การโน้มน้าวในการสื่อสารเชิงสาธารณประโยชน์ เป็นกลยุทธ์ที่พยายามทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงปรารถนาในกลุ่มเป้าหมายโดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อหรือค่านิยม ผู้นำการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ใช้มาตรการลงโทษภายนอก แต่พยายามหาข้อโต้แย้งที่แสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมที่พึงปรารถนาเป็นความสนใจที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย
    - กลยุทธ์การให้การศึกษาใหม่ในการสื่อสารเชิงสาธารณประโยชน์ เป็นกลยุทธ์ที่พยายามทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงปรารถนาในกลุ่มเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงผ่านการหล่อหลอมความเชื่อ หรือค่านิยมใหม่ กลยุทธ์นี้ใช้เพื่อพยายามค้นหาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ลึกและคงอยู่ของกลุ่มเป้าหมายถ้าเทคนิคการใช้อำนาจหรือการโน้มน้าวไม่ได้ผล ประเด็นหลักคือการพยายามเปลี่ยนความเชื่อและค่านิยม


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Feb 17, 2010 11:02 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty หน่วยที่ 15 การประยุกต์ใช้การสื่อสารในเชิงพาณิชย์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:49 pm

    หน่วยที่ 15 การประยุกต์ใช้การสื่อสารเชิงพาณิชย์

    แนวคิด
    1.การสื่อสารเชิงพาณิชย์เป็นกระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นเมื่อกิจการมีเป้าหมายมุ่งที่จะสร้างพฤติกรรมของผู้รับสารกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
    2.การวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดประกอบด้วยการวางแผนกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด
    3.รูปแบบการสื่อสารและเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเชิงพาณิชย์ โดยทั่วไปนิยมใช้การสื่อสารผ่านสื่อบุคคลและกิจกรรม การสื่อสารผ่านสื่อมวลชนโดยใช้การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารโดยการขายตรง

    15.1 แนวคิดทั่วไปของการสื่อสารเชิงพาณิชย์
    - การสื่อสารเชิงพาณิชย์เป็นกระบวนการสื่อสารที่เกิดขึ้นเมื่อกิจการหรือธุรกิจมีเป้าหมายมุ่งที่จะสร้างพฤติกรรมของผู้รับสารให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด การสื่อสารเชิงพาณิชย์มีความสำคัญต่อผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งนับได้ว่าเป็นเครื่องมือโยงใยเพื่อให้เกิดพฤติกรรมตอบสนอง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเชิงพาณิชย์จะแตกต่างกันออกไปตามความต้องการของผู้ส่งสาร
    - กระบวนการสื่อสารเชิงพาณิชย์ เป็นกระบวนการนำเสนอสารจากผู้ส่งสารในรูปแบบของการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ กระตุ้นเร่งเร้าไปยังผู้รับสาร โดยมุ่งหวังให้เกิดปฏิกิริยาป้อนกลับในลักษณะที่คาดหมายหรือกำหนดไว้ล่วงหน้าให้มีผลตามความต้องการของผู้ส่งสาร กระบวนการสื่อสารเชิงพาณิชย์ประกอบด้วยผู้ส่งสาร สาร ช่องทางสาร ผู้รับสาร และปฏิกิริยาป้อนกลับ
    - การวิเคราะห์ผู้รับสารในการสื่อสารเชิงพาณิชย์ นักการสื่อสารจะต้องมีความเข้าใจประเภทของกลุ่มผู้รับสารตามลักษณะทางประชากรศาสตร์และลักษณะทางจิตวิทยาตลอดจนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อทั้งอิทธิพลภายในและอิทธิพลภายนอก

    15.2 การสื่อสารเชิงพาณิชย์กับการวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาด
    - การวางแผนกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ในการสื่อสารเชิงพาณิชย์ผู้ส่งสารจำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจผลิตภัณฑ์ในทุกๆด้าน เริ่มตั้งแต่สายการผลิต ส่วนผสมผลิตภัณฑ์ วัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการวางแผนกลยุทธ์
    - การวางแผนกลยุทธ์ด้านราคา นักการสื่อสารเชิงพาณิชย์ต้องมีความเข้าใจในกลไกของการตั้งราคา เนื่องจากการสื่อสารด้วยราคามีบทบาทสูงต่อภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการกำหนดราคาในการสื่อสารเชิงพาณิชย์โดยทั่วไปจึงนิยมใช้การตั้งราคาเพื่อส่งเสริมการขาย และการตั้งราคาเชิงจิตวิทยา
    - การวางแผนกลยุทธ์ด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในการสื่อสารเชิงพาณิชย์ นักการสื่อสารต้องทำความเข้าใจว่าช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นทางผ่านของผลิตภัณฑ์จากแหล่งผลิตไปยังผู้รับปลายทาง
    - การสื่อสารเชิงพาณิชย์กับการวางแผนกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาด เป็นกิจกรรมที่นักการสื่อสารใช้ติดต่อสื่อสารกับผู้รับสารทีคาดหวังเพื่อแจ้งข่าวสาร เพื่อจูงใจให้เกิดความต้องการ ตลอดจนสร้างทัศนคติและภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดกับธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของผู้ส่งสาร

    15.3 รูปแบบการสื่อสารและเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเชิงพาณิชย์
    - การสื่อสารผ่านสื่อบุคคลและกิจกรรมเป็นการสื่อสารโดยการใช้พนักงานขายและกิจกรรมมาเป็นเครื่องมือ กิจกรรมที่ใช้ประกอบด้วย การขายโดยพนักงาน การสาธิตผลิตภัณฑ์ การให้บริการ การสัมมนา การจัดฝึกอบรม การจัดกิจกรรมพิเศษ การจัดนิทรรศการหรือการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ การจัดแสดงโดยใช้เสียง ณ ชั้นวางผลิตภัณฑ์ โชว์รูม การบรรจุภัณฑ์ การใช้ผลิตภัณฑ์เป็นสื่อ คู่มือผลิตภัณฑ์ สื่อเคลื่อนที่ สื่อใหม่
    - การสื่อสารผ่านสื่อมวลชน หรือเรียกว่าการสื่อสารมวลชน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
    - การสื่อสารโดยการตลาดทางตรง เป็นสื่อสารที่มีปฏิกิริยาตอบโต้ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร หรือเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (two - way communication) รูปแบบการสื่อสารสามารถเลือกใช้สื่อได้หลายสื่อ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Feb 17, 2010 6:31 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน หน่วยที่ 1-7

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Mon Feb 01, 2010 12:49 pm

    หน่วยที่ 1
    1.วัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร เพื่อบอกกล่าว เพื่อให้ความรู้ เพื่อโน้มน้าวใจ เพื่อสร้างความเพลิดเพลินใจ
    2.การสื่อสารภายในบุคคลมีจำนวนบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการสื่อสารน้อยที่สุด
    3.ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เชื่อว่ามนุษย์ที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ในวัยเด็กของบุคคลนั้นๆ
    4.พฤติกรรมการสื่อสารแบบเส้นตรงทางเดียวเป็นการสื่อสารลักษณะไม่เอื้อต่อระบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
    5.การเลียนแบบเป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่เกิดจากการเรียนรู้
    6.ปัจจัยด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และทักษะการสื่อสาร
    7.ความต้องการพักผ่อนเป็นตัวอย่างแรงจูงใจทางกายภาพที่มีผลต่อฟฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์
    8.โรงเรียนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสื่อสารในระดับสังคม
    9.การพูดเป็นการสื่อสารขั้นพื้นฐานที่เป็นการสื่อความหมาย และแสดงออกถึงวัฒนธรรมของแต่ละชนชาติได้ดีที่สุด
    10.การสื่อสารในยุควัฒนธรรมการสื่อสารแบบการพูดเอื้อต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารมากที่สุด
    11.วัตถุประสงค์ของผู้รับสาร เพื่อเข้าใจ เพื่อเรียนรู้ เพื่อตัดสินใจ และแสวงหาความเพลิดเพลิน
    12.การสื่อสารสาธารณะมีปฏิกิริยาป้อนกลับน้อยที่สุด
    13.ทฤษฎีพันธุศาสตร์อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสันชาตญาณและพฤติกรรมการสื่อสารของมนุษย์
    14.การหัวเราะเป็นพฤติกรรมการสื่อสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
    15.ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมการสื่อสารเช่น สถานที่ เวลา กาลเทศะ
    16.แรงจูงใจทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมการสื่อสารได้แก่ บุคลิกลักษณะ ความรู้สึกนิกคิดและการแสดงออกเช่น ความก้าวร้าว ความอยากรู้อยากเห็น ความต้องการอิสระ
    17.สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการสื่อสารในระดับสังคม
    ................................................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 2
    1.ประโยชน์ของการสื่อสาร ช่วยให้มนุษย์ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ช่วยให้มนุษย์รวมตัวกันเป็นกลุ่ม ช่วยให้มนุษย์พัฒนาสัญญาณและสัญลักษณ์ และติดต่อค้าขายกัน
    2.ตัวอย่างของสัญญาณ เช่น ป้ายห้องน้ำหญิง
    3.ข้อแตกต่างในการใช้รหัสภาษาของมนุษย์และสัตว์คือภาษาของสัตว์สื่อความหมายได้เพียงเล็กน้อยในขณะที่ภาษาของมนุษย์สื่อความหมายได้อย่างกว้างขวาง
    4.ลักษณะของภาษาเพื่อการสื่อสาร คือ มีเจตจำนง ประกอบด้วยวัจนะและอวัจนภาษา มีรูปแบบและบทบาทหลากหลาย
    5.พัฒนาการของภาษาเขียนเกิดขึ้นจากการติดต่อค้าขาย
    6.ผลของการพัฒนาภาษาเขียน ได้แก่ การติดต่อสื่อสารกว้างขวางขึ้น การถ่ายทอดความคิดมีประสิทธิภาพ การพัฒนาของความคิด การเผยแพร่ความรู้ทำได้กว้างขวาง
    7.บทบาทของวัฒนธรรมไทยต่อรูปแบบการสื่อสาร คือ กำหนดการสื่อสารจากบนลงล่างมากกว่าล่างขึ้นบน นิยมการสร้างเครือข่ายการสื่อสาร ในสังคมที่มีวัฒนธรรมขั้นสูง การสื่อสารจะพัฒนาได้รวดเร็วกว่า
    8.เทคโนโลยีการสื่อสารเกิดในสังคมเมือง
    9.ข่าวสารกลายเป็นเศรษฐกิจสมัยใหม่
    10.ประโยชน์ของการสื่อสารต่อเนื้อหาข่าวสารคือ มีหลากหลายประเภทมากขึ้น ข่าวสารเจาะลึกมากขึ้น เนื้อหาข่าวสารน่าสนใจมากขึ้น และส่งถึงผู้บริโภคได้กว้างไกลมากขึ้น
    11.ความแตกต่างของสัญญาณกับสัญลักษณ์ คือ สัญญาณหมายถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม ในขณะที่สัญลักษณ์หมายถึงสิ่งที่เป็นทั้งรูปธรรมและนามธรรม
    12.ลักษณะของการสร้างรหัสและภาษาของมนุษย์ คือ ใช้การเรียนรู้และสัญชาตญาณ สร้างรหัสและภาษาขั้นสูงได้ สื่อความหมายได้อย่างกว้างขวาง มีลักษณะเป็นระบบเป็นแบบแผนที่สังเกตได้
    13.บทบาทของวัฒนธรรมไทยต่อรูปแบบการสื่อสาร ได้แก่ กำหนดการสื่อสารจากบนลงล่างมากกว่าล่างขึ้นบน นิยมการสร้างเครือข่ายการสื่อสาร รูปแบบและเนื้อหาของภาษาสะท้อนให้เห็นถึงระบบการสื่อสาร สังคมที่มีระบบวัฒนธรรมขั้นสูงการสื่อสารจะพัฒนาได้รวดเร็วกว่า
    14.ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผู้ปกครองและชนชั้นสูงเท่านั้นที่มีอภิสิทธิ์ในภาษาเขียน
    15.ประโยชน์ของเทคโนโลยีการสื่อสารต่อการมีส่วนร่วมในการสื่อสารคือ สร้างเครือข่ายได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
    ................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 3
    1.ขั้นตอนการเข้ารหัสสารเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
    2.สื่อเฉพาะกิจเป็นสื่อที่แบ่งตามการใช้งานเป็นเกณฑ์
    3.ปฏิกิริยาป้อนกลับแบบคลุมเครือแบ่งตามเกณฑ์ให้ความหมาย
    4.เสียงรบกวนไม่สามารถเกิดขึ้นกับองค์ปรกอบสถานการณ์ทางการสื่อสาร
    5.หลักสำคัญตามแนวคิด 7c’s of Communication ที่ก่อให้เกอดประสิทธิผลทางการสื่อสารคือความต่อเนื่องและสม่ำเสมอในการส่งสาร
    6.ฮาร์โรลด์ ดี ลาสเวลล์ เป็นผู้ริเริ่มอธิบายกระบวนการสื่อสารอย่างเป็นระบบ โดยจำลองพื้นฐานแบบเส้นตรงทางเดียว
    7.ในแบบจำลอง s m c r ตัว c คือ ช่องทางในการสื่อสาร
    8.เดอ เฟลอร์ ได้เพิ่มองค์ประกอบ ปฏิกิริยาป้อนกลับเข้าไปในแบบจำลองทางการสื่อสาร
    9.การวิเคราะห์เชิงวาทศิลป์ เป็นการสื่อสารตามองค์ประกอบทางการสื่อสารด้านสาร
    10.ในยุคเริ่มแรกของการศึกษาด้านการสื่อสารการศึกษาด้านสื่อมุ่งเน้นไปที่สื่อมวลชน
    11.ขั้นตอนการถอดรหัสสารเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการสื่อสารระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
    12.สื่อมวลชนเป็นสื่อที่แบ่งตามจำนวนผู้รับสารเป็นเกณฑ์
    13.ปฏิกิริยาป้อนกลับแบบอนุมานเป็นปฎิกิริยาป้อนกลับแบ่งตามเกณฑ์ด้านเวลา
    14.อุปสรรคทางการสื่อสารสามารถเกิดขึ้นได้ที่องค์ประกอบ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร สาร สื่อ
    15.หลักสำคัญทางการสื่อสาร 7 ประการ (7c’s of communication) ได้แก่ ความน่าเชื่อถือ บริบททางการสื่อสาร เนื้อหาสาระ ความชัดเจน ความสามารถในการสื่อสารช่องทางการสื่อสาร และความต่อเนื่องและสม่ำเสมอของสาร
    16.องค์ประกอบตัว R - reciver เครื่องรับ คือ ผู้รับสาร S - source แหล่งสาร M – message สาร
    C - channe ช่องทางการสื่อสาร
    17.การวิเคราะห์วาทกรรม เป็นตัวอย่างการสื่อสารตามองค์ประกอบสาร
    ................................................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 4
    1.ความสำคัญในกระบวนการสื่อสาร คือ เป็นผู้ที่ควบคุมช่องทางการสื่อสาร เป็นผู้สร้างและเลือกเนื้อหาสาร เป็นผู้เริ่มต้นหรือก่อให้เกิดการสื่อสาร เป็นผู้ที่หยุดหรือยกเลิกการสื่อสาร
    2.การสื่อสารมวลชน เป็นการสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะมีลักษณะซับซ้อนมากที่สุด
    3.ในทัศนะของนักรณรงค์ ผู้รับสารคือ กลุ่มคนที่เปิดรับสารอย่างสมัครใจ
    4.ในการไปดูการแสดงคอนเสิร์ตของธงไชย แมคอินไตย กลุ่มผู้รับสารจะหมายถึงกลุ่มผู้ชมผู้ดู
    5.คุณสมศรีตั้งใจเปิดวิทยุ จส.100 เพื่อฟังข่าวรายงานสภาพการจราจรก่อนออกเดินทางบ้าน เป็นแบบแผนการเปิดรับสื่อแบบพฤติกรรมเปิดรับสื่อเชิงเครื่องมือ
    6.อำนาจของผู้ส่งสารจะมีน้อยมี่สุดคือทัศนะที่ถือว่าการสื่อสารคือการสร้างความเข้าใจร่วมกัน
    7.ลักษณะพิเศษของผุ้สงสารในการสื่อสารมวลชน คือ ต้นข่าวสารกับผู้เข้ารหัสสารมักแยกจากกัน ต้องทำงานเป็นกลุ่ม มีสภาพเหมือนสถาบันหนึ่งในสังคม
    8.ทัศนะ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจเป็นทัศนะที่ผู้รับสารจะมีความสำคัญมากที่สุด
    9.สมาชิกชมรมผู้ฟัง จส.100 ถือเป็นผู้รับสารแบบกลุ่มตลาด
    10.การศึกษาว่า หลังจากที่ผู้ชมดูรายการสารคดี คนค้นคน แล้ว จะเกิดจิตสาธารณะมากขึ้นหรือไม่เป็นการศึกษาแนวพฤติกรรม
    11.การพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์เป็นตัวอย่างของหน้าที่การให้ข่าวสารข้อมูลของผุ้ส่งสาร
    12.ทัศนะที่ถือว่าการสื่อสารคือกระบวนการถ่ายทอดข่าวผู้รับสารจะมีความสำคัญน้อยที่สุด
    13.การไปดูการแสดงลิเกของไชยา มิตรชัย กลุ่มผุ้รับสารจะหมายถึง กลุ่มผุ้ดูผู้ชม
    14.การสำรวจปริมาณผุ้ชมรายการเกมส์ทศกัณฑ์ ว่ามีปริมาณเท่าใด เป็นคนกลุ่มไหน เป็นการศึกษาแนวโครงสร้าง
    15.ผุ้รับสารมีความสำคัญในกระบวนการสื่อสารเพราะ หากสารส่งไปไม่ถึงผู้รับก็ถือว่ากระบวนการสื่อสารนั้นยังไม่สมบูรณ์ ผู้รับสารเป็นตัวประเมินความสำเร็จ/ล้มเหลวของการสื่อสาร ผุ้รับสารสามารถผลักดันให้ผู้ส่งปรับเปลี่ยนกระบวนการสื่อสาร
    16.การสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นการสื่อสารที่มนุษย์เราใช้มากที่สุด
    17.ลักษณะผู้รับสารที่เป็นมวลชน คือ มีขนาดใหญ่ อยู่กระจัดกระจาย มีลักษณะหลากหลาย ไม่มีความสัมพันธ์ต่อกัน
    18.ตัวเลขของผู้อ่านนิตยสาร มติชนสุดสัปดาห์ กลุ่มผุ้รับสารกลุ่มนี้จะหมายถึง กลุ่มตลาด
    19.คุณสมชายต้องการหาหมายเลขโทรศัพท์ของเพื่อนจึงเปิดหาจากสมุดหน้าเหลือง เป็นแบบแผนการเปิดรับสื่อเชิงเครื่องมือ
    ................................................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 5
    1.คุณสมบัติของสื่อในการสื่อสาร ได้แก่ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้ในกระบวนการสื่อสาร ทำหน้าที่สร้างความหมายร่วมกันระหว่างคน 2 คนขึ้นไป เป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
    2.มาร์แชล แมคลูฮัน กล่าวไว้ว่า เพียงแค่เปลี่ยนตัวสื่อก็เปลี่ยนสารได้แล้ว
    3.ประโยคที่สะท้อนให้เห็นการใช้ผัสสะระยะไกลของมนุษย์ คือ มองซิมองทะเล เห็นลมคลื่นเห่จูบหิน บางครั้งยังบ้าบิ่น กระแทกหินดังครืนๆ เพียงคำเดียวที่ปรารถนา อยากฟังให้ชื่นอุราใจพะว้าภวังค์
    4.รูปแบบการสื่อสารภายในบุคคล เช่นการเขียนไดอารี่ส่วนตัว
    5.การสื่อสารด้วยการพิมพ์เป็นการสื่อสารที่สร้างระบบมาตรฐานเดียวกันของเนื้อหาสาร
    6.การรำมโนราห์ การรำฟ้อนเล็บ จัดเป็นสื่อพื้นบ้านที่เป็นอวัจนภาษา
    7.สื่อแบบใหม่ เป็นการผสมผสานระหว่างระบบโทรคมนาคมกับหมู่บ้านโลก
    8.การนำเสนอข่าวสารเป็นบทบาทหน้าที่ของสื่อในการระแวดระวัง สอดส่องดูแล
    9.โลกทางสังคมที่สื่อผลิตขึ้นมา หมายถึงความเป็นจริงทางสังคม
    10.ยุควัฒนธรรมอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นเมื่อเกิดสื่อโทรเลข
    11.ระบบสารสนเทศเมื่อผสมผสานกับระบบโทรคมนาคมแล้วก่อให้เกิดสื่อสมัยใหม่
    ................................................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 6
    1.สำนักทฤษฎีวิพากษ์ ให้คำนิยาม สารว่า เป็นความต้องการและอุดมการณ์ของกลุ่มคนที่มีอำนาจที่ต้องการการสร้างความชอบธรรมให้แก่ตนเอง
    2.เมื่อเกิดเหตุการณ์ระเบิดตึกเวิลด์เทรด กรุงนิวยอร์ค คุณจักรภพ เพ็ญแขได้จัดรายการวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของเหตุการณ์นี้ จัดว่าเป็นการทำหน้าที่เชื่อมโยงความเข้าใจของผู้คนในสังคมให้เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    3.ตามแบบจำลองของการสื่อสารของทฤษฎีสารสนเทศกล่าวว่า วิธีการแก้ noise ที่เกิดขึ้นคือการส่งสารซ้ำ ข่าวสารสามารถควบคุม entropy(โอกาสที่จะเกิดความไม่แน่นอนนั้นอย่างไม่สามารถจะคาดเดาหรือสุ่มได้) สารสาสนเทศเป็นปริมาณสัญญาณที่เกี่ยวข้องกับ entropy
    4.ตัวอย่างสัญญะ เช่น ธงชาติ แหวนแต่งงาน หมุดที่ตอกอยู่หน้าพระบรมรูปทรงม้า ประตูพระราชวังเคลชิงตันประเทศอังกฤษ
    5.ประวัติศาสตร์ที่มาของสื่อแต่ละประเภทจะสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ของสื่อแต่ละประเภท
    6.เนื้อหาสาร แสดงให้เห็นความชื่นชอบของผู้รับสาร สะท้อนให้เห็นเจตนาของผู้ส่งสาร สะท้อนห้เห็นภาพความจริงในสังคม
    7.เนื้อหารายการกระจกหกด้าน เป็นเนื้อหาที่ทำหน้าทื่ ส่งผ่านวัฒนธรรมไปยังสมาชิกในสังคม
    8.ธรรมชาติเนื้อหาของสารเป็นสิ่งที่บิดเบี้ยวได้เมื่อถูกถ่ายทอด ได้รับอิทธิพลจากสถาบันและกลุ่มต่างๆในสังคม สามารถแสดงอิทธิพลต่อผู้รับสารได้
    9.ตัวอย่างความหมายโดยนัย – อนิจจานารีนี่แสนแปลก อาจจำแนกเป็นอะไรได้หลายอย่าง รักคือความห่วงใย รักคือความผุกพัน แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง
    10 รายการ รัฐบาลหุ่น ก่อนบ่ายคลายเครียด สะเก็ดข่าว เป็นรายการประเภทต้องอาศัยปัจจัยเหตุการณ์สารสนเทศที่เกิดขึ้นในสังคมมากที่สุด
    11.สำนักเศรษฐศาสตร์การเมืองเห็นว่า สารมีความสำคัญเพราะเป็นกลไกทางอุดมการณ์ของผู้มีอำนาจ
    12.เนื้อหารายการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์การแข่งขันเทนนิสเมื่อคุณภราดรลงแข่งขันเป็นเนื้อหาสารที่ทำหน้าที่ให้ความบันเทิง
    13.การสื่อสารมีหน้าที่แสดงออกซึ่งตัวตนของกลุ่มและสังคม เพื่อธำรงรักษาและขับเคลื่อนสังคม สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางกาลเวลา และเชื่อมโยงบุคคลให้เกิดความรู้สึกเป็นกลุ่ม เป็นหน้าที่สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางสถานที่/พื้นที่
    14.พจนานุกรมระบุว่าผู้หญิงคือคนที่ออกลูกได้ เป็นความหมายดดยอรรถ
    ทัศนะของกลุ่มปฎิบัติงานของสื่อให้นิยามเนื้อหารสารว่า เป็นผลงานหรือผลผลิตที่เป็นรูปธรรมที่สุดที่เกิดจากกระบวนการทำงานของสื่อ
    15.รายการทำอาหารจัดเป็นรายการที่ทำหน้าที่ให้ความรู้ความเข้าใจ
    16.ตัวอย่างสัญญะ – ต้มยำกุ้ง พระบรมมหาราชวัง แหวน เรือสุพรรณหงส์
    17.วัฒนธรรมในการทำงานขององค์กรที่มีวัฒนธรรมที่เน้นด้านเศรษฐกิจ คือเน้นความถูกต้อง ความเป็นปัจจุบัน และต้องใช้บุคคลากรเฉพาะด้าน
    ................................................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 7
    1.แหล่งที่มาของแนวคิดเกี่ยวกับตนเอง ได้แก่ ผู้อื่นสะท้อนด้วยการบอกให้รู้ เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นในสังคม คิดได้ด้วยตนเอง การถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
    2.ลักษณะของการสื่อสารภายในบุคคล เช่น การรับรู้อุณหภูมิห้องด้วยความรู้สึกของตัวเอง
    3.กิจกรรมการเปิดเผยตนเองต่อคู่สื่อสารเป็นกิจกรรมที่มีบทบาทส่งเสริมและเอื้อให้การสื่อสารระหว่างบุคคลของคู่สื่อสารสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    4.การพยักหน้ารับฟังอย่างสนใจ สายตามองไปที่ผู้พูดประกอบกับมีการตอบคำถามเป็นระยะเมื่ออีกฝ่ายถามจัดเป็นการให้แรงเสริมแก่คู่สื่อสาร
    5.บริบทของการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สำคัญคือคู่สื่อสารมักทำการสื่อสารภายใต้บริบททางการสื่อสารเดียวกันในมิติด้านกายภาพหรือเวลาขณะที่สื่อสาร
    6.ลักษณะสำคัญของการสื่อสารระหว่างบุคคล ได้แก่ มีบุคคลร่วมในการสื่อสารอย่างน้อย 2 คน คู่สื่อสารสามารถแสดงปฏิกิริยาป้อนกลับได้ทันที มักมีความรู้จักมีความเข้าใจเกี่ยวกับคู่สื่อสารของตนกล่าวคือมีประสบการณร่วมกันระหว่างคู่สื่อสาร
    7.ขั้นการสร้างพันธนาการระหว่างกันถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
    8.แนวทางสำคัญในการสื่อสารเพื่อสร้างและรักษาความสัมพันธ์ คือ การฝึกฝนการฟังแบบเอาใจเขาใส่ใจเรา การใช้บทสนทนาที่เหมาะสมในการพูดหรือการแสดงความคิดเห็น การแสดงออกในการสื่อสารทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาที่ตรงไปตรงมาและชัดเจน ใช้การสื่อสารเป็นทางออกในการลดความขัดแย้ง
    9.หลักธรรมของศาสนาพุทธสังคหวัตถุหมายถึงการเป็นผุ้สม่ำเสมอ มีความเสมอต้นเสมอปลาย มีจิตใจหนักแน่น สามารถใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผุ้อื่นเป็นการผูกไมตรีแสดงความเอื้อเฟื้อ เกื้อกูลกันและกันและสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม
    10.กระบวนการรับรู้ คือการที่สมองเลือกรับข้อมูล มีการเรียบเรียงจัดกระทำข้อมูลด้วยหลักการต่างๆเพื่อนำไปสู่กระบวนการตีความหรือแปลผลข้อมูลได้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า
    11.กิจกรรมเปิดเผยตนเองหมายถึง การเปิดเผยความเป็นตัวตนของตนเองให้คู่สื่อสารได้รับรู้มากขึ้น
    12.การเอาใจเขามาใส่ใจเรา คือ การที่คู่สื่อสารรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของคู่สื่อสารได้ราวกับเป็นคนคนนั้น
    13.ขั้นเฉยชา เป็นขั้นตอนของการเลิกร้างความสัมพันธ์ที่คู่สื่อสารจะสื่อสารกันด้วยภาวะจำยอม หรือจำเป็นเท่านั้น
    ................................................................................................................................................................................


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Mar 16, 2010 12:35 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน หน่วยที่ 8-15

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:24 pm

    หน่วยที่ 8
    1.กลุ่ม หมายถึง การรวมตัวหรือชุมนุมของบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป มาสื่อสารกัน
    2.คุณสมบัติของการสื่อสารกลุ่มคือ สมาชิกมีการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
    3.การประชุมปาฐกถาหรือการประชุมเชิงวิชาการ คือรูปแบบการสื่อสารกลุ่มที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอความรู้หรือความคิดเห็นที่แตกต่างกันในหัวข้อหรือประเด็นใหญ่ประเด็นเดียว ซึ่งแต่ละคนจะมีแง่มุมที่หลากหลาย โดยจะพูดเรื่องราวที่ตนเองได้เตรียมมาแล้ว มีผู้ดำเนินรายการเพื่อควบคุมการพูดหรืออภิปรายแต่ละคนให้เท่ากัน
    4.พฤติกรรมที่ช่วยให้การสื่อสารกลุ่มมีประสิทธิภาพได้แก่ มีความเคารพในตนเองและผู้อื่น เปิดเผยตนเองและมีความจริงใจกับผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
    5.คุณสมบัติของวัฒนธรรมการสื่อสารที่เน้นความนุ่มนวลในการสื่อสาร ได้แก่ ไม่พยายามมีอำนาจเหนือผู้อื่น
    6.ข้อดีของการฟังที่มีประสิทธิภาพ สามารถจับประเด็นได้อย่างถูกต้อง รับทราบข้อมูลได้อย่างครบถ้วน ประเมินและเข้าใจสาระของสิ่งที่ฟังได้ นำความรู้ส่วนตัวมาประเมินสิ่งที่รับฟัง
    7.ลักษณะผู้นำที่ดีคือ เปิดเผย จริงใจ มีความเชื่อมั่นใจตนเอง
    8.ความแตกต่างของปัจเจกในกลุ่ม ที่สมาชิกควรคำนึงถึงในการอยู่ร่วมเป็นสมาชิกภาพของกลุ่ม ได้แก่ เพศ วัย เชื่อชาติ การศึกษา
    9.การนิยามปัญหาเป็นขั้นตอนแรกในการแก้ปัญหากลุ่มที่มีประสิทธิภาพ
    10.การโต้แย้งแสดงเหตุผล มีความสำคัญช่วยในการตัดสินใจสำหรับการสื่อสารกลุ่ม
    11.การระดมสมอง คือการสื่อสารกลุ่มที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สมาชิกทุกคนช่วยกันแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อันเป็นการสนับสนุนให้เกิดความคิดและมุมมองอันหลากหลาย และรวบรวมมาสกัดและวิเคราะห์หาสิ่งที่ดีที่สุด
    12.ผู้วางแผนคือลักษณะของสมาชิกในบทบาทกลุ่มทำงาน
    13.การวางแผนปฏิบัติเป็นลำดับขั้นตอนสุดท้ายในการแก้ไขปัญหากลุ่มที่มีประสิทธิภาพ
    ................................................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 9
    1.ประโยชน์ของการสื่อสารในองค์การต่อสมาชิกในองค์การ คือ ช่วยลดความไม่แน่ใจของสมาชิก ช่วยให้สมาชิกทราบถึงแนวทางการปฎิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในองค์การ ทำให้หน่วยงานปฎิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    2.วัตถุประสงค์ของการสื่อสารในองค์การ ได้แก่ เพื่อให้พนักงานได้รับทราบข้อมูลต่างๆ เพื่อให้พนักงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อกำหนดกิจกรรมที่พนักงานต้องกระทำร่วมกัน ช่วยรวบรวมข่าวสารที่เกี่ยวข้องให้กับสมาชิก
    3.ลักษณะของกระบวนการสื่อสารในองค์การ คือ พนักงานสามารถเป็นได้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารได้พร้อมกัน มีสิ่งรบกวนทางการสื่อสารเกิดขึ้น ผู้สื่อสารมีกรอบแห่งการอ้างอิงของตนเอง มีการป้อนกลับ
    4.การสื่อสารภายในองค์การเกิดขึ้นหลายระดับ ได้แก่ ภายในบุคคล ระหว่างบุคคล กลุ่มย่อยและหลายกลุ่ม เราอาจศึกษาโคงสร้างทางการสื่อสารแบบเป็นทางการขององค์การหนึ่งๆได้จากแผนภูมิโครงสร้างองค์การ การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการช่วยให้การส่งผ่านข่าวสารได้รวดเร็วขึ้น การสื่อสารอย่างเป็นทางการกำหนดโดยฝ่ายบริหาร
    5.รูปแบบการสื่อสารในระนาบเดียวกันทำให้องค์การสามารถประหยัดเวลา ทรัพยากรและพลังงาน
    6.การสื่อสารแบบเครือข่ายมีหลายประเภท ประกอบด้วยการสื่อสารแบบทางเดียวและ/หรือสองทาง มีการกำหนดบทบาทในการสื่อสาร มีหลายรูปแบบ
    7.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในองค์การ ได้แก่ พฤติกรรมของกลุ่มย่อยต่างๆในองค์การ เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การ นวัตกรรมในองค์การ ความเป็นผู้นำและการบริหารงาน
    8.การสื่อสารในองค์การเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมคือ ช่วยให้พนักงานปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์การ ช่วยให้พนักงานตระหนักถึงอัตลักษณ์ขององค์การ ช่วยส่งข่าวให้พนักงานทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรมขององค์การ ช่วยให้พนักงานสร้างกรอบในการแปลความหมายและสร้างความเข้าใจ
    9.การสื่อสารมีบทบาทต่อประสิทธิภาพขององค์การ คือ ส่งเสริมความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์การ ช่วยให้องค์การมีเสถียรภาพ สร้างภาพลักษณ์เชิงบวกให้กับองค์การ ช่วยให้พนักงานปรับตัวให้เข้ากับองค์การ
    10.กลยุทธ์การรับมือกับความขัดแย้งในองค์การ เช่น การสานประโยชน์ การแข่งขัน การยินยอม การหลีกเลี่ยง
    ................................................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 10
    1.กลุ่มในการสื่อสารสาธารณะ หมายถึง กลุ่มคนขนาดค่อนข้างใหญ่ กระจายในวงกว้าง มักรวมตัวเพื่อประเด็นสำคัญ
    2.ผู้ส่งสารในการสื่อสารสาธารณะ จะมีการวางแผนการพูดใช้ความคิดและเตรียมเนื้อหาล่วงหน้า
    3.การสร้างสารอยู่ในกระบวนการเข้ารหัสสารในแบบจำลองการสื่อสารสาธารณะ
    4.ลักษณะสำคัญของการสื่อสารสาธารณะ คือ การสื่อสารแบบจงใจ
    5.การที่ผู้พูดสามารถทำให้ผู้ฟังเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้นและคุ้ยเคยกับเนื้อหาคือการอธิบาย
    6.ความน่าเชื่อถือเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของผู้ส่งสารในการสื่อสสารสาธารณะ
    7.คำนำของสารในการสื่อสารสาธารณะทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้พูด ผู้ฟังและหัวข้อที่พูด +ดึงดูดความสนใจ
    8.ผู้ฟังแบบเฉื่อยชาคือผู้ที่ถูกเกณฑ์ให้เข้าฟัง
    9.ประสิทธิผลของการสื่อสารสาธารณะดูได้จากการบรรลุวัตถุประสงค์ในการพูด
    10.ผู้พูดที่ต้องการประสิทธิผลในการสื่อสารสาธารณะควรคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้พูด ผู้ฟังและสถานการณ์
    11.ผู้รับสารสาธารณะมีลักษณะเป็นผู้ฟังที่เป็นปัจเจก มีเอกลักษณ์เฉพาะตน แม้อยู่ร่วมกัน
    12.การเห็นอยู่ในกระบวนการถอดรหัสสารในแบบจำลองการสื่อสารสาธารณะ
    13.การสื่อสารสาธารณะเน้นผุ้รับสารเป็นศุนย์กลาง
    14.การสื่อสารสาธารณะแบบให้ข้อมูลโดยสอนวิธีทำแก่ผุ้รับสาร เรียกว่าการสาธิต

    15.ผู้ฟังที่กระตือรือร้นในการสื่อสารสาธารณะคือผู้เข้ารับการฝึกอบรม
    16.ผุ้พูดเพื่อโน้มน้าวในการสื่อสารสาธารณะที่มีประโยชน์ควรกำหนดเนื้อหาให้สามารถให้ผุ้ฟังยอมรับ เชื่อ และทำตาม
    ................................................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 11
    1.การนำเสนอวัฒนธรรมหลัก และให้การยอมรับต่อวัฒนธรรมย่อยต่างๆจัดว่าเป็นหน้าที่ด้านการสร้างความเคลื่อนไหว
    2.ปฏิกิริยาป้อนกลับแบบอนุมาน เป็นลักษณะปฏิกิริยาป้อนกลับของสื่อมวลชน
    3.คุณค่าของข่าวเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดการทำหน้าที่ของผุ้รักษาประตูหรือบรรณาธิกรข่าว
    4.ทฤษฎีเข็มฉีดยาเป็นทฤษฎีที่สะท้อนให้เห็นแบบจำลองการสื่อสารลักษณะแบบจำลองการไหลทอดเดียวโดยตรง
    5.ขั้นรับรู้เป็นขั้นตอนแรกของการแพร่กระจายนวัตกรรม
    6.หากเปรียบเทียบกระบวนการเลือกสรรสารของผุ้รับสารเสมือนเครื่องกรองน้ำ กระบวนการเลือกจดจำสารถือเป็นเหมือนเครื่องกรองชั้นสุดท้าย
    7.ทฤษฏีเล่นและทฤษฎีบันเทิง มีเนื้อหาคล้ายคลึงกับทฤษฎีการใช้ประโยชน์และการตอบสนองความพึงพอใจจากสื่อมวลชน
    8.ทฤษฎีการขัดเกลาทางสังคมมุ่งเน้นการเรียนรู้ในการใช้ชีวิตในสังคมของเด็กๆที่ได้รับอิทธิพลจากการรับชมโทรทัศน์
    9.แนวคิดเรื่องสิ่งเร้า และการตอบสนองมีความสัมพันธ์กับทฤษฎีการกระตุ้นมากที่สุด
    10.Digitital divide คือ ช่องว่างทางข่าวสารในยุคดิจิทัล
    11.การดำรงรักษาวัฒนธรรมแสดงถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนในการสร้างความสืบสานต่อเนื่อง
    12.ปฏิกิริยาป้อนกลับแบบอนุมานคือปฏิกิริยาป้อนกลับแบบไม่ได้มุ่งหมาย
    13.ในการเลือกสรรข่าวบรรณาธิกรข่าวต้องคำนึงถึงคุณค่าของข่าวที่จะนำเสนอเป็นปัจจัยสำคัญ
    14.ทฤษฎีกระสุนปืน สะท้อนให้เห็นแบบจำลองการสื่อสารแบบไหลทอดเดียวโดยตรง
    15.ขั้นยอมรับใช้เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ่นลำดับสุดท้ายในการแพร่กระจายนวัตกรรม
    16.ทฤษฎีการขัดเกลาทางสังคมมีเนื้อหาที่มุ่งเน้นไปในด้านการเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคม
    ................................................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 12
    1.สส.กรุงเทพ ออกพูดคุยกับประชาชนในเขตภาคใต้ในขณะหาเสียง แสดงถึงความหมายการสื่อสารต่างวัฒนธรรม
    2.วัฒนธรรมยุโรป-หลัก วัฒนธรรมเยอรมัน – ย่อย
    3.การเข้าใจถึงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความคาดหวังต่อความสัมพันธ์ของบุคคลในกลุ่มเป็นการเข้าใจองค์ประกอบทางสังคมวัฒนธรรมในการสื่อสารต่างวัฒนธรรม
    4.หลังผ่านขั้นตื่นตาตื่นใจแล้ว เป็นขั้นการเทียบเคียงโดยบุคคลจะเริ่มสนใจกับความแตกต่างและสิ่งต่างๆที่ไม่คุ้นเคย ซึ่งความตระหนกทางวัฒนธรรมอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงนี้ บุคลิกที่ต่างกันมีผลทำให้บุคคลเกิดความตระหนกทางวัฒนธรรมต่างกัน ผลการวิจัยพบว่าในขั้นตื่นตาตื่นใจบุคคลมักจะตื่นเต้นเมื่อพบกับวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกับของเขามากกว่าจะตื่นเต้นในความแตกต่างระหว่างกัน ความตระหนกทางวัฒนธรรมมีผลมาจากการสูญเสียสัญลักษณ์บางอย่างที่คุ้นเคยในการติดต่อหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
    5.บุคคลจะเกิดความตระหนกทางวัฒนธรรมและสามารถปรับตัวได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ปัจจัยด้านลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมของสังคมและประเทศเจ้าบ้าน และปัจจัยด้านสถาบันทางสังคม
    6.สังคมหรือวัฒนธรรมที่เน้นการใช้ภาษาแตกต่างกันไปตามชั้น วรรณะ อายุ เพศ ฯลฯ เป็นสังคมที่มักเน้นรูปแบบภาษาแบบอ้อมค้อม
    7.การแลบลิ้นเมื่อเขินอายของคนในวัฒนธรรม ก. กับการแลบลิ้นเพื่อทักทายของคนวัฒนธรรม ข. จัดเป็นการใช้อวัจนภาษาที่แตกต่างกันคือ เพื่อแสดงอารมณืความรู้สึกในวัฒนธรรม ก. และใช้แทนวัจนภาษาในวัฒนธรรม ข.
    8.การเอาชาติพันธ์ ของตนเองเป็นศูนย์กลางในการประเมินสิ่งต่างๆถือเป็นอุปสรรคทางด้านทัศนตคิและความรู้สึกในการสื่อสารต่างวัฒนธรรม
    9.พฤติกรรมเชิงสนับสนุนกันซึ่งนำไปสู่ประสิทธิภาพของการสื่อสารกับบุคคลต่างวัฒนธรรม ได้แก่ การไม่ยึดติดกับกรอบมากเกินไป การบรรยายแทนการประเมินค่า การแสดงความเท่าเทียมกัน รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
    10.แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการสื่อสารต่างวัฒนธรรมคือ การใช้มุมมองจากวัฒนธรรมที่สามเพื่อหลีกเลี่ยงเสียงอคติหรือความโน้มเอียง การผ่อนผันที่จะมองสิ่งต่างๆอย่างกว้างๆไม่มองแคบ การเข้าสังคมกับผู้อื่นได้บนพื้นฐานของความหลากหลาย และการไม่ยึดเอาวัฒนธรรมของตนเป็นเกณฑ์ในการประเมินผู้อื่น
    ................................................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 13
    1.องค์ประกอบขอลโลกาภิวัตน์ ได้แก่ มีการเชื่อมร้อยระหว่างกัน มีการเสพวัฒนธรรมร่วมกันทั่วโลก เกิดการบีบตัวของเวลาและพื้นที่ เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของมนุษย์
    2.กรอบอ้างอิง (frame of reference) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ชมหรือผู้รับสารในแต่ละชาติตีความหมายและความเข้าใจในภาพยนต์อเมริกันเรื่อง Titanic หรือเรื่องอื่นๆแตกต่างกัน
    3.ตามทัศนะของมาแชร์ แมคลูสัน กระดาษ ล้อรถ ถนน การจัดระบบเวลามาตรฐานเดียวกันทั่วโลกส่งผลให้เกอดการเปลี่ยนแปลงในการสื่อสารและแบบแผนการใช้ชีวิตและวัฒนธรรมข้ามพรหมแดน ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 19
    4.คุณลักษณะของข่าวสารในหมู่บ้านโลกตามทัศนะของแมคลูฮัน คือ ความรวดเร็ว ความพร้อมเพรียงกัน ความเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน และการปฏิวัติในประสบการณ์ของมนุษย์
    5.การปฏิวัติเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของอารยธรรมคลื่นลูกที่สามตามทัศนะของอัลวิน ทอฟเลอร์ ซึ่งเป็นการสร้างลักษณะความจริงเทียม
    6.องค์ประกอบการข้ามพรมแดนทางวัฒนธรรมของโลกตามแนวคิดของ อัปปาดูไร ได้แก่ องค์ประกอบด้านคน เงิน สื่อ และข่าวสาร
    7.รายงานของแมคไบรด์ เป็นเอกสารสำคัญที่ยูเนสโก้ผลิตขึ้นในปี 1980 เพื่อตั้งคำถามต่อแนวคิดเรื่องการไหลอย่างเสรีของข้อมูล
    8.กลุ่มทฤษฎีการสื่อสารโลกาภิวัตน์ที่จำแนกโดยใช้จุดยืนด้านภูมิศาสตร์การเมืองได้แก่ ทฤษฎีอิสรภาพนิยม อำนาจนิยม สังคมนิยมแบบโซเวียต และทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม
    9.ผลพวงของการสร้างระบบอุตสาหกรรมตามจุดยืนของทฤษฎีการสื่อสารกับกระบวนการสร้างความทันสมัยได้แก่ การสร้างความเป็นปัจเจกบุคคลมากขึ้น การสร้างลักษณะมาตรฐานสากลเดียวกัน การสร้างลักษณะที่เป็นทางโลกมากขึ้น การสร้างวัฒนธรรมความมีเหตุมีผลมากขึ้น
    10.จุดยืนของทฤษฎีจักรวรรดินิยมสื่อและวัฒนธรรมคือ การสื่อสารมีเป้าหมายเพื่อกดขี่ครอบงำทางวัฒนธรรม มีการก่อกำเนิดของบรรษัทข้ามชาติด้านสื่อ ยิ่งใช้การสื่อสารมากเท่าใด วัฒนธรรมท้องถิ่นจะค่อยๆเสื่อมสลายไป การสื่อสารนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมมาตรฐานเดียวกัน
    …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
    หน่วยที่ 14
    1.องค์การเป็นระบบย่อยที่อยู่ในระบบการเปลี่ยนแปลงเชิงสาธารณะประโยชน์
    2.เครื่องมือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้การสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเชิงสาธารณะประโยชน์
    3.การกระทำทางสังคมประกอบด้วย สาเหตุ องค์การ กลุ่มเป้าหมาย ช่องทาง กลยุทธ์
    4.กลุ่มเป้าหมายเป็นระบบย่อยที่เป็นปัจจัยส่งออกของระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงเชิงสาธารณะประโยชน์
    5.ค่าใช้จ่ายเป็นตัวแปรการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน
    6.สังคมและเทคโนโลยีเป็นปัจจัยนำเข้าภายนอกของมิติด้านองค์การท่นำการเปลี่ยนแปลงถ้าพิจารณาจากแบบจำลองระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลง
    7.การสื่อสาร เป็นระบบย่อยของระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่ทำหน้าที่เข้ารหัสและนำสารขององค์การและสารจากสภาพแวดล้อมไปยังกลุ่มเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง
    8.กลุ่มเป้าหมายเป็นระบบย่อยสุดท้ายของระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงเชิงสาธารณะประโยชน์
    9.ค่าคาดหวังของการรับสิ่งตัดสินใจเกี่ยวข้องกับตัวแปรการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานค่าใช้จ่าย
    10.การให้การศึกษาใหม่เป็นกลยุทธ์เพื่อพยายามค้นหาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ลึกและคงอยู่ของกลุ่มเป้าหมาย ถ้าเทคนิคการใช้อำนาจหรือการโน้มน้าวไม่ได้ผล
    11.ระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงในเชิงสาธารณะประโยชน์ประกอบด้วยระบบย่อยคือ องค์การ การสื่อสาร กลุ่มเป้าหมายการเปลี่ยนแปลง
    12.การใช้การสื่อสารเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเชิงสาธารณะประโยชน์ต่างจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติในด้านการมีแผนหรือโปรแกรมการเปลี่ยนแปลง
    13.กลยุทธ์จัดอยู่ในองค์ประกอบของการกระทำทางสังคม
    14.โครงสร้างอิทธิพลเป็นตัวแปรการเปลี่ยนแปลงพื้นฐาน
    15.แบบจำลองระบบการจัดการการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ เป็นปัจจัยนำเข้าภายนอกของมิติด้านองค์การที่นำการเปลี่ยนแปลง
    16.เมื่อกลุ่มเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงประเมินสิ่งกระตุ้นแล้วจะแสดงปฎิกิริยาตอบสนองไปยังองค์การที่นำการเปลี่ยนแปลง
    17.การกระจายหรือเผยแพร่สิงตัดสินใจต้องผ่านตัวแปรการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานด้านช่องทาง
    18.การใช้อำนาจเป็นกลยุทธ์ที่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากกว่าความเชื่อหรือค่านิยมของกลุ่มเป้าหมาย
    ................................................................................................................................................................................
    หน่วยที่ 15
    1.ผู้นำเสนอสาร ในความหมายของการสื่อสารเชิงพาณิชย์คือแหล่งสาร
    2.การตระหนักเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการเลือกสรรข่าวสารก่อนซื้อ
    3.ในการสื่อสารเชิงพาณิชย์กับกลุ่มชนชั้นสูง นักการสื่อสารใช้ทฤษฎีสัญญวิทยาทำหน้าที่ในการสื่อสารมากที่สุด
    4.นักการสื่อสารเชิงพาณิชย์ใช้ทฤษฎีสัญชาตญาณกระตุ้นให้ผู้รับสารเกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์
    5.ความเชื่อว่าโลกกลมถือเป็นความเชื่อหลัก
    6.การแบ่งประเภทของผู้รับสารในการสื่อสารเชิงพาณิชย์แบ่งตาม เพศ อายุ การศึกษา ลักษณะทางประชากรศาสตร์
    7.กลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วย เสื้อสตรี กระเป๋าถือสตรี รองเท้าสตรี เป็นสายของผลิตภัณฑ์
    8.การตั้งราคาล่อใจเป้นกลยุทธ์การตั้งราคาเชิงจิตวิทยา
    9.วัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์มุงขายสินค้าให้ได้มากทีสุดด้วยการประชาสัมพันธ์
    10.การสื่อสารทางตรงเป็นการสื่อสารสองทาง
    11.ผู้บริโภคในความหมายของการสื่อสารเชิงพาณิชย์ได้แก่ผู้รับสาร
    12.ความเชื่อมั่นเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการตัดสินใจในกระบวนการเลือกข่าวสารก่อนซื้อ
    13.ในการสื่อสารเชิงพาณิชย์กับกลุ่ม D นักการสื่อสารใช้ทฤษฎีหน้าที่นิยมในการสื่อสารมากที่สุด
    14.นักการสื่อสารเชิงพาณิชย์ใช้ทฤษฎี cognitive theory แสดงให้ผุ้รับสารเกิดความคิดอันเป็นเหตุเป็นผล
    15.ความเชื่อที่ว่า ผู้ผลิตที่ดีไม่ควรขายผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นความเชื่อแบบมุ่งกฏเกณฑ์
    16.การแบ่งประเภทของผุ้รับสารในการสื่อสารเชิงพาณิชย์แบ่งตามปัจจัย ด้านทัศนคติ ความเชื่อ รูปแบบการดำเนินชีวิต ลักษณะทางประชากรศาสตร์
    17.กลยุทธ์การตั้งราคาเพื่อส่งเสริมการขายได้แก่ การตั้งราคาล่อใจ ตั้งราคาตามเทศกาล กลยุทธ์การคืนเงิน การรับประกันการคืนเงิน
    18.การสื่อสารทางตรงใช้ได้ผลดีเมื่อใช้คู่กับการส่งเสริมการขาย
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232 Empty Re: วิชาทฤษฏีและพฤติกรรมการสื่อสาร 15232

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Mar 16, 2010 7:25 pm

    จ๊ากกกกกกกกกกกกกกกจบแล้ว 1 วิชา เหอะๆๆ อีก 2 วิชากับเวลาไม่ถึง 2 เดือน สู้ว๊อยยยย Crying or Very sad

      เวลาขณะนี้ Thu May 02, 2024 12:39 pm