ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231

    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:26 pm

    หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับสื่อมวลชน

    แนวคิด
    1.สื่อมวลชนได้แก่ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ภาพยนตร์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ อินเทอร์เนต เป็นช่องทางการนำสารสู่มวลชน ทั้งนี้สื่อมวลชนเป็นองค์ประกอบหนึ่งในกระบวนการสื่อสารมวลชน ซึ่งมีความสำคัญต่อสังคม โดยสามารถจำแนกประเภทของสื่อมวลชนได้หลายลักษณะได้แก่ การจำแนกตามลักษณะการรับรู้ของมนุษย์ ตามะรรมชาติของสื่อ ตามพัฒนาการของสื่อ และตามลักษณะการมีส่วนร่วมของผู้รับสาร
    2.สื่อมวลชนดั้งเดิมมีลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างกันไปในแต่ละประเภท โดยมีลักษณะร่วมกันคือ ผู้ส่งสารเป็นองค์กรที่เป็นทางการ ข่าวสารมีหลากหลายประเภทผ่านการกลั่นกรองหลายชั้นก่อนเผยแพร่สู่มวลชน ที่มีความแตกต่างกัน ไม่เป็นที่รู้จัก และส่วนใหญ่ผู้สงสารไม่ได้รับปฏิกิริยาตอบสนองจากผู้รับสารทันที
    3.สื่อมวลชนสมัยใหม่ ผู้รับสารหรือผู้ใช้สื่อมีลักษณะแยกย่อยมากขึ้น ผู้ใช้สื่อสามารถเป็นทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสารมวลชนได้ ผุ้ส่งสารจึงไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กร ดังนั้นข่าวสารที่เผยแพร่ผ่านสื่อสมัยใหม่อาจไม่ผ่านการกลั่นกรองหลายชั้นก่อนส่งไปสู่มวลชนเหมือนสื่อดั้งเดิม และเมื่อส่งสารไปแล้วสามารถรับทราบปฏิกิริยาตอบสนองได้ทันทีราวกับสื่อสารระหว่างบุคคล

    1.1ความหมาย ประเภท และความสำคัญของสื่อมวลชน
    - สื่อมวลชน หมายถึง สื่อหรือช่องทางในการนำสารไปสู่มวลชน สื่อมวลชนเป็นสื่อที่มีศักยภาพ ในการส่งสารไปสู่มวลชน เป็นผลผลิตทางเทคโนโลยีที่เกิดจากการค้นคว้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    - สื่อสารมวลชนหมายถึงกระบวนการสื่อสารประเภทหนึ่งประกอบด้วย ผู้ส่วสาร สาร สื่ และผู้รับสาร การสื่อสารมวลชนเป็นการส่งสารที่ผ่านการกลั่นกรองจากองค์กรผู้ส่งสาร มีทีมงานผลิตเพื่อเผยแพร่สู่ผู้รับสารจำนวนมาก ไม่เป็นที่รู้จัก และมีความแตกต่างกัน สารมีลักษณะเป็นสาธารณะ
    - การจำแนกประเภทสื่อมวลชนแบ่งได้หลายลักษณะ ขึ้นอยู่กับแนวคิดในการกำหนดหมวดหมู่ส่วนใหญ่มักแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ แบ่งตามลักษณะการรับรู้ของมนุษย์(สื่อเสียง สื่อภาพ ภาพ+เสียง) แบ่งตามธรรมชาติของสื่อ(สิ่งพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์)แบ่งตามพัฒนาการของสื่อ(ดั้งเดิม สมัยใหม่) และแบ่งตามลักษณะการมีส่วนร่วมของผู้รับสาร(ร้อน-ข้อมูลชัดเจนไม่ต้องแปล เช่นภาพถ่าย ภาพยนตร์ สื่อเย็น- ต้องจินตนาการ ข้อมูลไม่ชัดเจน เช่น การ์ตูนล้อเลียน)
    - สื่อมวลชนมีความสำคัญทั้งต่อสังคมและปัจเจกบุคคล โดยสื่อวลชนจะเป็นผู้ดุแล เชื่อมโยงสังคม อบรมบ่มเพาะทางสังคม เสริมสร้างสติปัญญา และให้ความบันเทิง ขณะเดียวกันก็ตอบสนองต่อความต้องการของแต่ละบุคคลให้สามารถใช้ประโยชน์สื่อมวลชนในการแสวงหาข้อมูลเพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อเข้าสังคมหรือหลีกหนีจากสังคม

    **ลักษณะของสื่อมวลชน เป็นผลผลิตจากการพัฒนาค้นคว้า ไม่หยุดนิ่ง มีศักยภาพ ถึงผีรับอย่างรวดเร็ว กว้างไกล พร้อมกันเป็นจำนวนมากๆ
    **ลักษณะของสื่อสารมวลชน
    -ผู้ส่งสาร เป็นองค์กรขนาดใหญ่ อาศัยเทคโนโลยีในการผลิต มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
    -สาร เป็นสาธารณะ ยากจะกำหนดให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของผู้รับสารทั้งหมด ผ่านการกลั่นกรองก่อนถึงผู้บริโภค
    -สื่อใช้สื่อในการนำสารไปสู่ผู้รับ
    ผู้รับสาร มีจำนวนมาก มีความแตกต่าง ไม่เป็นที่รู้จัก เปิดรับสารจากสื่อมวลชนได้
    -ปฏิกิริยาตอบสนอง delayed feedback ไม่ตอบสนองทันที ปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อสารก้าวหน้ามากปรับการสื่อสารให้เป็นการสื่อสาร 2 ทาง two-way communication และกระตุ้นให้ผู้รับสารมีส่วนร่วมในการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองทันทีมากขึ้น

    1.2 ลักษณะและคุณสมบัติของสื่อมวลชนดั้งเดิม
    - ลักษณะของหนังสื่อพิมพ์จะจัดพิมพ์โดยเครื่องจักร เผยแพร่สู่มวลชนสม่ำเสมอด้วยเนื้อหาหลากหลาย ดำเนินการต่อเนื่องโดยรูปแบบขององค์กร หนังสือพิมพ์มีคุณสมบัติในการแสดงภาพข่าวสารให้ผู้อ่านมองเห็น ขณะเดียวกันก็สามารถเจาะลึกประเด็นสำคัญ เป็นสื่อที่มีความน่าเชื่อถือสูง มีความคงทนต่อการถ่ายทอดสารและการเก็บรักษา พกพาสะดวก
    **ขนาดมาตรฐาน – บรอดชีท 14*23 นิ้ว ขนาดเล็ก – แทบลอยด์ 11.5*14.5 นิ้ว เนื้อหา เป็นข้อเท็จจริง เหตุการณ์ และความคิดเห็น แบ่งประเภทตามเนื้อหา เป็น ข่าวเบา ข่าวที่คนทั่วไปสนใจเช่นไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวหนัก พวกข่าวเศรษฐกิจ การเมือง
    ***ข้อจำกัดของหนังสือพิมพ์ ความเร็วในการส่งสาร การเข้าถึงผู้รับ อายุสั้น การเปิดรับสาร การมีส่วนร่วมของผู้รับสาร
    - นิตยสารมีลักษณะเป็นสิ่งตีพิมพ์หลากหลายขนาดและรูปทรง นำเสนอเนื้อหาหลายเรื่อง มีกลุ่มเป้าหมายกว้างขวาง สื่อสารด้วยตัวอักษรและภาพ มีความพิถีพิถันมากกว่าหนังสือพิมพ์ คุณสมบัติของนิตยสารคือ มีเนื้อหสเจาะลึกได้มากกว่าหนังสือพิมพ์ เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้เลือกอย่างกว้างขวาง สามารถออกแบบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มย่อยได้ดี รวมทั้งมีความคงทนมากกว่าหนังสือพิมพ์ ข้อจำกัดคือ โอกาสการเข้าถึงผู้รับสาร ราคาแพง การนำเสนอเนื้อหา
    - ภาพยนตร์เป็นสื่อที่ส่งสารผ่านภาพและเสียง ที่บันทึกภาพเคลื่อนไหวและเสียงลงบนแผ่นฟิล์ม นำเสนอเนื้อหาหลายประเภท มีกลุ่มเป้าหมายค่อนข้างเฉพาะ มีคุณสมบัติในการถ่ายทอดเหตุการณ์จริง สามารถใช้เทคนิคในการผลิตเพื่อให้ได้ภาพและเสียงตามต้องการ มีความคมชัดในการนำเสนอสูง และมีอิสระในการนำเสนอต่างจากสื่อโทรทัศน์ ข้อจำกัดคือ ไม่สามารถชมได้ทันที เสียค่าใช้จ่ายในการรับชม ขาดความเป็นอิสระในการชม
    - วิทยุกระจายเสียงนำเสนอสารผ่านคำพูด เสียงเพลง และเสียงประกอบ ด้วยเนื้อหาหลายประเภท มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ มีรูปแบบชัดเจน คุณสมบัติเด่นของสื่อวิทยุกระจายเสียงคือ ความฉับไว เป็นสื่อแห่งจินตนาการ สามารถเข้าถึงผู้ฟังได้ดี สะดวกในการพกพา ให้ความเป็นส่วนตัวและอำนาจในการเลือกฟัง มีลักษณะการฟังเป็นสื่อเสริมกิจกรรมอื่น ข้อจำกัด การรับรู้ของผู้ฟังอาจไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การสื่อสารผ่านไปแล้วไม่สามารถทบทวนหรือย้อนกลับได้
    - โทรทัศน์ อาศัยแสง สี มุมกล้อง ขนาดภาพ ถ่ายทอดเนื้อหา อารมณ์สู่ผู้ชม นำเสนอหลากหลายเนื้อหาและรูปแบบ มีคุณสมบัติให้ทั้งภาพและเสียง เป็นสื่อที่มีอิทธิพล เป็นสื่อที่มีความซับซ้อนในกระบวนการผลิต เป็นสื่อที่มีราคาแพงทั้งในการผลิตและการเผยแพร่ และเป็นสื่อที่มีการแข่งขันสูง

    1.3 ลักษณะและคุณสมบัติของสื่อมวลชนสมัยใหม่
    - พัฒนาการของเทคโนโลยีดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตส่งผลให้เกิดการโน้มน้าวเข้าหากันของสื่อ เกิดการเอื้อประโยชน์เข้าหากันของสื่อ เกิดการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างสื่อ และเกิดช่องทางการสื่อสารสู่มวลชนผ่านสื่อใหม่คือสื่ออินเทอร์เน็ต
    ** เทคโนโลยีดิจิทัลทำให้สามารถเข้ารหัส(encodes) ข่าวสาร ให้อยู่ในรูปรหัสตัวเลขฐาน2(binary code)
    - การสื่อสารสู่มวลชนผ่านสื่ออนเทอร์เน็ต มีความแตกต่างจากสื่อมวลชนดั้งเดิมในเชิงผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสารและการมีปฏิกิริยาตอบสนอง
    **ผลของการแลกเปลี่ยนข่าวสารด้วยอินเทอร์เน็ตและดิจิทัลคือ เกิดการโน้มเข้าหากันระหว่างสื่อทีเรียกว่า convergence
    เกิดการอยู่ร่วมกันเพื่อเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างสื่อที่เรียกว่า mass media symbiosis เกิดช่องทางการสื่อสารสู่มวลชน
    - สื่ออินเทอร์เน็ตมีลักษณะที่ต่างจากสื่อมวลชนดั้งเดิม และมีคุณสมบัติของสื่อในการให้ผู้ใช้สามารถเป็นผุ้รับและส่งสารได้ มีเสรีภาพในการแสดงออกสูง เป็นผู้เลือกเวลาและวิธีการในการมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ
    **ลักษณะของสื่ออิรเทอร์เน็ตเช่นหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ออนไลน์แมกกาซีนหรือเว็บซีน เว็บเรดิโ นิยมเรียกว่า bitcasters เว็บทีวี ข้อจำกัดของสื่ออินเทอร์เน็ต ฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา ความไม่คุ้นเคย การขาดโครงสร้างพื้นฐานรองรับระบบอินเทอร์เน็ต การเปิดเสรีทางข้อมูลอาจส่งผลเสียต่อผู้รับสาร


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Mar 18, 2010 11:59 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 2 ระบบสื่อมวลชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:27 pm

    แนวคิด
    1.แนวคิดการจัดแบ่งระบบสื่อมวลชนมาจากแนวคิดทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แนวคิดด้านการเมืองคือ ทฤษฎีสื่อสารมวลชนและทฤษฎีการมีส่วนร่วมของประชาชน แนวคิดด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อการแบ่งระบบสื่อมวลชนคือ ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ แบบสังคมนิยม แบบทุนนิยม และแบบผสม ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมก็มีผลต่อการจัดแบ่งระบบสื่อมวลชนเช่นเดียวกัน
    2.การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม มีผลต่อการกำหนดระบบสื่อมวลชนไทยทั้ง 4 รูปแบบคือระบบสื่อมวลชนที่รัฐเป็นเจ้าของ ระบบสื่อมวลชนที่เอกชนเป็นเจ้าของ ระบบสื่อมวลชนแบบผสมผสาน และระบบสื่อมวลชนที่ชุมชนเป็นเจ้าของ
    3.หน้าที่ของสื่อมวลชนแบ่งเป็นหน้าที่พื้นฐานและหน้าที่ตามบริบทของสังคม หน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนคือการให้ข่าวสาร การให้ความคิดเห็น การให้การศึกษาและการให้ความบันเทิง หน้าที่ของสื่อมวลชนตามบริบทของสังคมแบ่งเป้น 2 ระดับคือระดับสังคมและระดับบุคคล
    4.บทบาทของสื่อมวลชนที่สำคัญคือบทบาทในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเมืองเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเกษตร สาธารณสุข นอกจากนี้สื่อมวลชนยังมีบทบาทในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมด้วยการสร้างค่านิยม ทัศนคติ การกำหนดบรรทัดฐานของสังคมและการใช้ชีวิตของสมาชิกในสังคม บทบาทที่สำคัญของสื่อมวลชนอีกปะฃระการหนึ่งคือ การสร้างประชามติเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง หาแนวทางการแข้ไขปัญหาและลดความตึงเครียดของสังคมเพื่อความสงบสุขของสมาชิกในสังคม

    2.1 แนวคิดในการจัดแบ่งระบบสื่อมวลชน
    - การจัดแบ่งระบบสื่อมวลชนตามแนวคิดทางการเมืองได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฏีสื่อสารมวลชน 4 ทฤษฎีคือ เบ็ดเสร็จนิยม/โซเวียดรัสเซีย อำนาจนิยม อิสรภาพนิยม และความรับผิดชอบของสังคม และขณะนี้ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชนทีมีผลต่อการจัดระบบสื่อมวลชนอีกด้วย
    - การจัดแบ่งระบบสื่อมวลชนตามระบบเศรษฐกิจโลกมี 4 ระบบ คือ ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม และระบบเศรษฐกิจแบบผสม
    - การจัดแบ่งระบบสื่อมวลชนตามแนวคิดทางสังคมและวัฒนธรรม การรับเอาวัฒนธรรมใหม่ ทั้งนี้เกิดขึ้นได้ใยสังคมเสรีประชาธิปไตย

    2.2 ระบบสื่อมวลชนไทย
    - ปัจจัยพื้นฐานของระบบสื่อมวลชนไทยคือปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อันส่งผงต่อระบบสื่อมวลชนไทย
    - รูปแบบระบบสื่อมวลชนไทยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือรัฐเป็นเจ้าของ เอกชนเป็นเจ้าของ แบบผสม และชุมชนเป็นเจ้าของ
    **รัฐ เป็นเจ้าของ มีองค์กรของรัฐรองรับ บุคคลาการมคุณวุฒิเกี่ยวกับสายงาน มีนโยบาย วัตถุประสงค์และแผนงาน รวมทั้งแผนกลยุทธ์อย่างชัดเจน เนื้อหาสารได้รับการกลั่นกรองจนถึงขั้นตรวจสอบ ควบคุมหากเป็นไปเพื่อความมั่นคงของชาติ จำแนกกลุ่มเป้าหมายชัดเจน ให้ความสำคัญกับข่าวสาร การศึกษาวัฒนธรรม มากกว่าความบันเทิง เช่นช่อง11
    **เอกชนเป็นเจ้าของ ในรูปแบบบริษัทจำกัดมหาชน เกี่ยวข้องกับกลไกทางเศรษฐกิจมุ่งหวังกำไร ถูกกำหนดจากระบบตลาด กำหนดกลุ่มเป้าหมายชัดเจน มีสิทธิเสรีภาพในกรอบของจริยธรรม จรรยาบรรณ ระเบียบกฎหมาย เช่นบ.มติชนจำกัดมหาชน
    **ผสมผสาน มักเกิดในสื่อวิมยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รัฐเป็นเจ้าของสื่อ อำนาจบริหารอยู่ภายใต้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่รัฐ เอกชนรับสัมปทานดำเนินการบางช่วงเวลาหรือเต็มเวลาโดยระยะเวลาดำเนินการตามสัญญา หารายได้ด้วยการโฆษณา ขาย แจ้งความ ประกาศ มีการควบคุมจากรัฐ
    **ชุมชนเป็นเจ้าของ เป็นการรวมตัวกันของประชาชนในการใช้วิทยุกระจายเสียงและวิททยุโทรทัศน์เพื่อสนองความต้องการและปัญหาที่แท้จริงของประชาชน เพื่อบริการสาธารณะ ต้องได้รับการยอมรับของกลุ่มต่างๆ ต้องยึดถือแนวทางการเสนอรายการและข่าวสารของชุมชนเป็นหลัก เปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนช่วยคิด ครอบคลุมเฉพาะพื้นที่เท่านั้นมักมีกำลังส่งไม่เกิน 1 กิโลวัตต์ ตามแนวคิดประชาธิปไตย เพื่อประชาชน โดยประชาชน ของประชาชน

    2.3 หน้าที่ของสื่อมวลชน
    - หน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชนมี 4 ประการคือ ให้ข่าวสาร แสดงความคิดเห็น ให้การศึกษา และความบันเทิง
    - หน้าที่ของสื่อมวลชนตามบริบททางสังคมแบ่งเป็นระดับปัจเจกบุคลลและระดับสังคม ในระดับปัจเจกชน สื่อมวลมีหน้าที่ในการเป็นแหล่งสารสนเทศ หน้าที่ในการยกระดับความคาดหวังของสังคม หน้าที่ในการเสริมสร้างสถานภาพทางสังคม หน้าที่ในการสนองความต้องการทางด้านอารมณ์ และหน้าที่ในการโน้มน้าว และชักจูงใจ
    - หน้าที่ของสื่อมวลชนตามบริบทของสังคมในระดับสังคม คือหน้าที่ในการเสริมสร้างสังคม ระบบการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา ยกระดับวัฒนธรรมมวลชน และการให้บริการสาธารณะ
    **ฮาโรลด์ลาสเวลล์ บอกว่า หน้าที่ของสื่อคือ การสังเกตการณ์สภาพแวดล้อม การประสารสัมพันธ์ส่วนต่างๆของสังคม และถ่ายทอดมรดกทางสังคม

    2.4 บทบาทของสื่อมวลชน
    - สื่อมวลชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเกษตรและสาธารณสุข
    - การขัดเกลาทางสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัย เพื่อปลูกฝังความมุ่งหวังหรือช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อสอนให้สมาชิกของสังคมรู้จักบทบาทและทัศนคติที่เหมาะสม และเพื่อสอนให้สมาชิกมีทักษะและความชำนาญ สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่สำคัญในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมด้วยการสอนบทบาท การสร้างค่านิยมและทัศนคติ การกำหนดบรรทัดฐานของสังคมและการใช้ชีวิตให้กับสมาชิกของสังคม เพื่อให้สังคมมีคุณภาพต่อไป
    - สื่อมวลชนมีบทบาทในการสร้างประชามติด้วยการเผยแพร่ข่าวสารของรัฐบาล องค์การ สถาบัน ให้ประชาชนได้รับทราบด้วยการจัดเนื้อหาสาระที่เหมาะสม สื่อมวลชนจะเป็นผุ้เสนอประเด็นปัญหาต่อสังคม และเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มเสนอความคิดเห็นและนำสารนั้นกลับไปสู่รัฐบาล องค์การ สถาบัน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และช่วยกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ลดความตึงเครียดของสังคม อันจะส่งผลให้สมาชิกในสังคมสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุข


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Mar 19, 2010 1:03 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 3 ประวัติและพัฒนาการของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:28 pm

    หน่วยที่ 3 ประวัติและพัฒนาการของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
    แนวคิด
    1.ก่อนที่จะมีการพิมพ์เกิดขึ้นนั้น มนุษย์ได้มีการสื่อสารกันด้วยการพูด และจากการพูดมีการพัฒนามาเป็นการเขียนเพื่อบันทึกเรื่องราว ความคิด อารยธรรมของมนุษย์ มนุษย์เริ่มเขียนด้วยการวาดภาพตามผนังถ้ำ และพัฒนามาเป็นการเขียนอักษรภาพ การคิดค้นวัสดุรองเขียน การทำแม่พิมพ์ การผลิตกระดาษ จนมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โดยกูเต็นเบิร์ก ชาวเยอรมันนี และมีการปรับปรุงวัสดุการพิมพ์เพื่อความเหมาะสมและประหยัดในการพิมพ์ การพิมพ์จึงแพร่หลายไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้เริ่มมีการรพิมพ์อย่างจริงจังในสมัยตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ และได้แพร่หลายรวมทั้งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
    2.หนังสือพิมพ์จัดเป็นสื่อมวลชนประเภทแรกจากหลักฐานที่ปรากฏหนังสือพิมพ์มีกำเนิดในสมัยอาณาจักรโรมัน โดยมีลักษณะเป็นแผ่นประกาศข่าว และพัฒนาเป็นจดหมายข่าว และกลายเป็นหนังสือพิมพ์แพร่หลายจากยุโรปไปยังส่วนต่างๆของโลก
    3.ประเทศไทยมีการออกแบบหนังสือพิมพ์ฉบับแรกโดยมิชชันนารี สำหรับหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้จัดทำ หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยยุคแรกนั้นส่วนใหญ่ดำเนินการโดยเชื้อพระวงศ์และชาวต่างประเทศ ต่อมาได้แพร่หลายไปยังเอกชนและประชาชน หนังสือพิมพ์นับเป็นสื่อมวลชนที่ทรงอิทธิพลในด้านการเมืองการปกครองอย่างสูง จึงเป็นสื่อที่มีพลังอำนาจ ก่อให้เกิดประชามติขึ้นในสังคมเสรีประชาธิปไตยตลอดมา
    4.จุดกำเนิดนิตยสารของโลกเกิดที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส แต่ได้รับความนิยมแพร่หลายในการผลิตที่อังกฤษ โดยมีเนื้อหาสาระด้านการเมือง วิถีชีวิต วรรณกรรมและความบันเทิง ในยุคแรกนิตยสารจึงเป็นสื่อมวลชนสำหรับชนชั้นสูงที่มีการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจดี นิตยสารในประเทศอังกฤษจึงเป็นต้นแบบให้กับนิตยสารในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆทั่วโลก
    5.นิตยสารในประเทศไทยเริ่มจัดทำโดยชาวต่างประเทศและเผยแพร่ไปยังเชื้อพระวงศ์และบุคคลในระดับสูง ปัจจัยทางการเมือง การศึกษาส่งผลให้นิตยสารของไทยเติบโตโดยไม่หยุดยั้ง และมีการผลิตนิตยสารเฉพาะกลุ่มมากขึ้น ปัจจุบันอุตสาหกรรมนิตยสารทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทยนับวันจะเจริญเติบโตมากยิ่งขึ้น เนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการพิมพ์และความต้องการของผู้อ่าน

    3.1 ประวัติและพัฒนาการของการพิมพ์
    - ภาษาเขียนของมนุษย์เริ่มมาจากภาพเขียนตามผนังถ้ำของคนโบราณ และมีการพัฒนาเป็นรูปรอยและภาพที่สามารถให้ความหมายได้โดยชาวอียิปต์ สุเมอเรียน ฟินิเชียน และจีน สำหรับภาษาไทยนั้นพ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงพัฒนาดัดแปลงมาจากภาษาของชนชาติอื่นๆหลายๆชาติคนไทยสมัยนั้นใช้ปะปนกันอยู่เพื่อให้เป็นภาษาของไทยโดยตรง
    - ชาวจีนเป็นผู้คิดค้นการแกะสลักตราบนหินและกระดูกสัตว์เพื่อใช้ประทับลงบนดินเหนียว นอกจากนั้สามารถผลิตกระดาษได้เป็นผลสำเร็จและแพร่หลายไปยังยุโรป ผู้คิดค้นวิธีการพิมพ์และสร้างแท่นพิมพ์ได้คือกูเต็นเบิร์ก ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานของระบบการพิมพ์ในปัจจุบัน
    - ชาวต่างประเทศเป็นผู้นำการพิมพ์มาใช้เป็นครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชกาลที่ 4 ขณะทรงผนวชทรงตั้งโรงพิมพ์ของคนไทยเป็นแห่งแรก จากนั้นมาชาวไทยจึงเริ่มมีบทบาทและมีการพัฒนาทางการพิมพ์ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
    **อักษรภาพยุคแรกเรียกว่า อักษรคูนิฟอร์ม หรืออักษรรูปลิ่ม ชาวสุเมเรียนพบใช้ไม้เขียนบนแผ่นดินเหนียว แล้วก็พัฒนามาเรื่อยๆการเขียนภาพแทนความคิดคือภาพวงกลม
    **พัฒนาการการเขียนของไทย มาจากพราหมณ์ของอินเดีย รากเหง้ามาจากตัวอักษรของชาวฟินิเชียมาค้าขายทางเรืออยู่บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จากหลักฐานชาวอินเดียเข้ามาตั้งภูมิลำเนาที่วุวรรณภูมิตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ก็นำภาษาอินเดียมาด้วย อักษรอินเดียมีเค้ามูลมาจากอักษรมอญ เขมร ต่อมาก็เปลี่ยนอักษรอินเดียเป็นอักษรขอม
    **พัฒนาการการเขียนภาษาไทยสมัยกรุงสุโขทัย – รัตนโกสินทร์ พ.ศ.1500 ขอมแผ่อำนาจมาที่ไทย ไทยจึงได้ศึกษาอักษรขอม พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงประกาศกรุงสุโขทัยเป็นอิสระ ปี พ.ศ.1800 อำนาจเมรเริ่มอ่อนลงพระองค์มีพระประสงค์ให้เลิกปฏิบัติตามธรรมเนียมเขมรและเลิกใช้ภาษาเมร ต่อมาสมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงดัดแปลลงอักษรขอมแล้วแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นและสำเร็จในปี พ.ศ.1826 หลังจากนั้นตัวอักษรลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงก็ได้มีการพัฒนารูปแบบตลอดมาเป็นยุคๆ พ.ศ.1900 สมันพญาลือไทย ลายสือไทยได้เปลี่ยนดัดแปลงเป็นครั้งแรก คือยกสระบางตัวไว้บนพยัญชนะ บางตัวไว้ใต้พยัญชนะ ปลายกรุงสุโขทัยและยุคกรุงศรีอยุธยา เมื่อคนไทยใช้ใบลานเพื่อจารึกตัวหนังสือลงไปหรือเขียนลงบนกระดาษคุณภาพเลวทีผลิตจากเปลือกข่อยเรียกกันว่าสมุดข่อย ตัวอักษารจึงมีความสวยงามกว่าเกิมที่สลักบนแท่นหินมาก
    มาถึงยุคต้นรัตนโกสินทร์-ปัจจุบันมีการพัฒนาทั้งรูปแบบและวิธีผลิตตัวอักษรให้สอดคล้องกับสังคมข่าวสาร
    **ประวัติและพัฒนาการทางการพิมพ์ในต่างประเทศ
    -วัสดุรองเขียน ชาวอิยิปต์ใช้ต้น ปาปิรัส ส่วนปากกาก็ทำมาจากต้นอ้อ น้ำหมึกทำมาจากกาวและเขม่าตะเกียงผสมน้ำ บัญชีรายชื่อผู้ตาย จัดเป็นหนังสือเล่มแรกของโลกที่ชาวอียิปต์เป็นผู้จัดทำ บัญชีรายชื่อผู้ตายบรรจุข้อความไว้ยาวมากและยังมีอายุยืนมาถึงปัจจุบัน ชาวกรีกก็ก้าวหน้าเช่นกัน ใช้หนังสัตว์เป็นวัสดุรองเขียน นอกจากนี้ชาวยุโรปที่อาศัยในแถบเอเชียไมเนอร์ได้ผลิตแผ่นหนังที่มีความคงทน ผิวหน้าเรียบนุ่มเขียนได้สองหน้าและสามารถคัดลอกประวัติศาสตร์กรีกจากต้นฉบับไว้เป็นจำนวนมากและเก็บไปว้ตามห้องสมุด ประมาณ 100 ปีก่อนคริสตศักราช ชาวโรมันได้มีการคัดลอกและขายต้นฉบับหนังสือ รวมทั้งพัฒนาระบบการพิมพ์และจัดจำหน่ายหนังสือและมีการจัดตั้งห้องสมุดสาธารณะในสมัยจูเลียส ซีซ่าร์
    - กำเนิดของการพิมพ์ คนแถบเอเชียและจีนรู้จักการแกะสลักตราบนหินและกระดูกสัตว์แล้วประทับลงบปี พ.ศ.338 หลังจากนั้น ประมาณ 300 ปี ไซหลุนคิดทำกระดาษได้สำเร็จ และแพร่หลายและพัฒนาเป็นแม่พิมพ์ด้วยไม้กลางพุทธศตวรรษที่16 เกาหลีคิดค้นตัวพิมพ์โลหะ กลางพุทธศตวรรตที่ 20 ปลายพุทธศตวรรตที่ 20 ชาวยุโรปเพิ่งเริ่มคิดวิธีการพิมพ์ได้ โดยการพิมพ์สมัยแรกๆมื 2แบบคือการพิมพ์หลังไพ่ด้วยบล็อกไม้แล้วระบายสี อีกแบบเป็นการพิมพ์เซาะร่องลึกในแม่พิมพ์ทองแดง
    - กำเนิดแท่นพิมพ์ ใน ค.ศ.1456 โยฮาน กูเต็นเบิร์ก สร้างการพิมพ์ที่สามารถถอดอักษรออกเป็นตัวๆ ทำให้มีการพิมพ์หนังสือออกมาได้คราวละมากๆ
    **ประวัติและพัฒนาการทางการพิมพ์ในประเทศไทย เริ่มเมื่อ พ.ศ.2205 สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บาทหลวงชาวฝรั่งเศสชื่อลาโน เดินทางมากับมิชชันนารีเพื่อเผยแพร่ศาสนา ได้แปล แต่ง และพิมพ์หนังสือคำสอนคริสต์ศาสนา 26 เล่ม ตัวพิมพ์โรมันออกเสียงไทย พ.ศ.2213 ลองกรัว ตั้งโรงพิมพ์หนังสือไทยเพราะกระดาษและค่าแรงในกรุงศรีอยุธยาราคาถูก การ์โนตั้งโรงพิมพ์และพิมพ์หนังสือในพ.ศ.2339ที่ธนบุรี พ.ศ.2380 หมอบรัดเลย์ ได้จัดตั้งโรงพิมพ์เลตเตอร์เพลสขึ้นที่ ธนบุรี และประดิษฐ์แบบตัวอักษรพิมพ์ภาษาไทยขึ้นใหม่สวยงามกว่าเดิม และได้มีการพัฒนาทางการพิมพ์ขึ้นมาในระยะต่อมาสำหรับสิ่งตีพิมพ์ที่หมอบรัดเลย์พิมพ์ขึ้นมา เริ่มตั้งแต่บัญญัติ 10 ประการ ประกาศห้ามสูบฝิ่น 9000 แผ่น ฯลฯ ต่อมามีการรับจ้างพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รัชกาลที่ 3 สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดสั่งโรงพิมพ์มาตั้งที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นโรงพิมพ์ไทยแห่งแรก ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ดำเนินกิจการโรงพิมพ์ ซึ่งงานพิมพ์ส่วนใหญ่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและทรงได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งการพิมพ์ไทย ทรงจัดให้หล่อตัวพิมพ์หินภาษาไทยจนสมบูรณืเป็นต้นแบบของตัวพิมพ์ที่ใช้พิมพ์หนังสือ ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่นำเอาการพิมพ์หินเข้ามาใช้งาน รัชกาลที่ 3 พ.ศ.2390 มีโรงพิมพ์ 4 โรง คือของหมอบลัดเล คณะสอนศาสนาโรมันคาทอลิก หมอศาสนาอเมริกัน โรงพิมพ์ของเจ้าฟ้าใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.4( พ.ศ.2394-2411 ) ได้ทรงจัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง (โรงอักษรพิมพการ) มีพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นภูบาลบริรักษ์และพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นภูบดีราชหฤทัยเป็นผู้อำนวยการ มีการพิมพ์หนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ขึ้นเป็นครั้งแรก ในรัชกาลที่ 5 (สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)กิจการพิมพ์ของไทยก้าวหน้าไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพือเผยแพร่ศาสนาเพียงอยางเดียว แต่เปลี่ยนมาให้คำปรึกษาและกลายเป็นธุรกิจการค้าด้วย
    พ.ศ.2413 แซมมวล สมิท ได้ตั้งโรงพิมเพื่อแข่งกับหมอบลัดเลย์ พิมพ์โครง กลอน สุภาษิตออกจำหน่ายและขายดี ทำให้หมอสมิทร่ำรวยจึงมีคนตั้งโรงพิมพ์มากมาย มีการปรับปรุงตัวพิมพ์ให้มีลักษณะสวยงาม ที่สำคัญคือหมอเอ็ดวิน ฮันเตอร์ ชาวอังกฤษได้คิดตัวอักษรไทยบรรจุลงในพิมพ์ดีดได้เป็นคนแรก ในพ.ศ.2434 โรงเรียนนายร้อยทหารบกได้เปิดสอนวิชาด้านการพิมพ์โดยร้อยตรีจำรัส เทพหัสดิน ณ อยุธยา(พลตรีพระยาอานุภาพไตรภพ) ได้ทุนเล่าเรียนหลวงที่เยอรมนีเป็นผุ้สอน รัชกาลที่ 7 เกิดสงครรามโลกครั้งที่ 2 กิจการซบเซา เมื่อสงครามยุติจึงมีการพิมพ์หนังสือเริ่มใหม่

    3.2 ประวัติและพัฒนาการของหนังสือพิมพ์
    - หนังสือพิมพ์เป็นสื่อมวลชนประเภทแรกของสังคมมนุษย์ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่อาณาจักรโรมันในรูปแบบแผ่นประกาศข่าว และมีการพัฒนามาเป็นจดหมายข่าวหรือคูแรนโต ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป มีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์โดยกูเต็นเบิร์ก ประกอบกับปัจจัยทางการเมืองและการค้า ทำให้หนังสือพิมพ์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านเนื้อหา รูปเล่ม สิทธิเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ รวมทั้งการแข่งขันเชิงธุรกิจด้วย
    - ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบลัดเลย์เป็นผู้ออกหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยฉบับแรกชื่อว่าบางกอกรีดเดอร์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริให้จัดทำหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยชื่อว่า ราชกิจจานุเบกษา หลังจากนั้นมาหนังสือพิมพ์มีการจัดทำโดยเชื้อพระวงศ์ ชาวต่างประเทศและเอกชน พัฒนาการของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองมาโดยตลอดอันส่งผลถึงสิทธิและเสรีภาพของหนังสือพิมพ์ และจัดเป็นสื่อมวลชนที่มีอิสระมากที่สุด
    **กำเนิดหนังสือพิมพ์ในยุโรป กำเนิดประมาณ 131 ปีก่อนคริสตศักราช สมัยอาณาจักรโรมัน มีการติดประกาสราชการที่เรียกว่า แอคตา ไดเออนา เป็นครั้งแรก
    **ในอมริกา หนังสือพิมพ์ฉบับแรกคือ พลับบลิค อ๊อคเคอร์แร๊นซ์ โดย เบนจามิน แฮริสผู้อพยพชาวอังกฤษ ออกฉบับเดียวก็ถูกระงับ ต่อมาก็อิสระยิ่งขึ้น มีการพัฒนาเพรื่องพิมพ์ระบบไอน้ำในปี ค.ศ.1814-1890 การผลิตกระดาษพิมพ์ข่าวจากเยื่อไม้ การหล่อตัวพิมพ์แบบต่างๆ การสร้างระบบโทรเลข การค้นพบวิธีการถ่ายภาพ และกระบวนการอัดภาพนิ่ง การคิดค้นวิธีการส่งภาพไปตามสายไฟฟ้าเป็นระยะทางไกลได้ถึง 600 ไมล์ ล้วนมีพัฒนาการจากฝรั่งเศส มีสำนักข่าววูลฟ์ ของเยอรมันนี สพนักข่างรอยเตอร์ของอังกฤษ สำนักข่าวเอพี ของอเมริกา
    **กำเนิดหนังสือพิมพ์ในไทย ผู้บุกเบิกคือบรดเลย์ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกคือ บางกอกรีคอร์ดเดอร์ เดิมมีการจดลงในใบลาน หรือสมุดข่อย คนไทยเรียกว่าจดหมายเหตุ คนไทยเรียกบางกอกรีคอดเดอร์ว่า จดหมายเหตุอย่างสั้น ซึ่งเป็นหนังสือข่าวฉบับแรกของไทยพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการเมือง

    3.3 ประวัติและพัฒนาการของนิตยสาร
    - นิตยสารมีจุดกำเนิดที่ประเทศฝรั่งเศสและมาได้รับความนิยมในประเทศอังกฤษ นิตยสารในยุคแรกของอังกฤษเกิดขึ้นมาด้วยเหตุผลทางการเมือง ต่อมามีพัฒนาการด้านเนื้อหา โดยผสมผสานระหว่างเรื่องราวต่างๆ ทั้งทางด้านการเมือง สังคม วรรณกรรมและความบันเทิง มีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายเฉาะ เมื่อการคมนาคม การศึกษาของประชาชน เทคโนโลยีการพิมพ์และการโฆษณาเจริญก้าวหน้าขึ้น จึงทำให้นิตยสารในประเทศอังกฤษได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
    - นิตยสารในประเทศสหรัฐอเมริการเริ่มผลิตขึ้นในศตวรรตที่ 18 แต่ไม่นิยมมากนัก เนื่องด้วยปัจจัย 4 ประการคือประชากรมีจำนวนน้อยอาศัยอยู่กระจัดกระจาย ผู้ผลิตไม่ได้รับผลกำไรจากการจัดทำ การคมนาคม การขนส่งและการไปรษณีย์ล้าหลัง รวมทั้งประชาชนมีการศึกษาน้อย ปลายศตวรรตที่ 18 เริ่มก้าวหน้าในทุกด้านจึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
    - นิตยสารในประเทศญี่ปุ่น เริ่มในศตวรรตที่ 17 โดดเด่นในยุคแรกๆเป็นนิตยสารเกี่ยวกับการเมืองและต่อมามีการลงทุนโดยเจ้าของหนังสือพิมพ์และสำนักพิมพ์ มีการผลิตนิตยสารของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะซึ่งนิตยสารในญี่ปุ่นมีทั้งระดับคุณภาพดีและคุณภาพต่ำ
    - นิตยสารในประเทศไทย จัดทำโดยชาวต่างชาติ ต่อมามีการจัดทำของไทยโดยเชื้อพระวงศ์และเมื่อกษัตริย์ทรงสนับสนุนการศึกษาและการประพันธ์ จึงทำให้นิตสารมีการผลิตแพร่หลายสำหรับบุคคลทั่วไปและพัฒนามาเป็นนิตยสารเฉพาะกลุ่ม รวมทั้งมีนิตยสารระดับนานาชาติด้วย
    **ฉบับแรกโดยคนไทย คือ ดรุโณวาท โดยพระองค์เจ้าเกษมสันต์โสภาค เป็นนิตยสารรายสัปดาห์ เกี่ยวกับข่าวและเรื่องราวทางราชการ สุภาษิต ฯลฯ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Mar 21, 2010 12:08 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 4 กระบวนการผลิตและเผยแพร่หนังสือพิมพ์และนิตยสาร

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:28 pm

    หน่วยที่ 4 กระบวนการผลิตและเผยแพร่หนังสือพิมพ์และนิตยสาร

    แนวคิด

    1.หนังสือพิมพ์และนิตยสารแบ่งออกเป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่จะแบ่งประเภทตามเนื้อหา เวลาจำหน่ายเผยแพร่ ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ ลักษณะรูปแบบ และหลักเกณฑ์อื่นๆ นิตยสารจะแบ่งโดยยึดเนื้อหาและความสนใจของผู้อ่านเป็นหลัก ส่วนนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กรหนังสือพิมพ์และนิตยสารจะมีลักษณะมุ่งแสวงหากำไรทางธุรกิจ และมุ่งส่งเสริมการขายและการประชาสัมพันธ์องค์การ
    2.กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์และนิตยสารประกอบด้วยแผนกข่าว แผนกบทความและสารคดี แผนกช่างภาพ และแผนกศิลป์ โดยการดำเนินงานจะมี 4 ขั้นตอน คือ กำหนดเนื้อหาและแนวคิดหลัก การมอบหมายงาน การแสวงหาข้อมูลและการเขียน การรวบรวมต้นฉบับและบรรณาธิการ
    3.กระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์และนิตยสารมี 3 ขั้นตอนคือ การเตรียมต้นฉบับ และการออกแบบการจัดหน้าซึ่งเป็นหน้าที่ของกองบรรณาธิการ และการจัดพิมพ์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกองการผลิต
    4.การจัดหารายได้ของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร จะได้มาจากการจัดจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์โดยตรง กับรายได้ที่มาจากการขายพื้นที่โฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ซึ่งรายได้ที่ได้จากโฆษณานับเป็นรายได้หลักขององค์การ

    4.1 ประเภท นโยบาย และวัตถุประสงค์ขององค์กร
    - การแบ่งประเภทของหนังสือพิมพ์จะแบ่งตามเนื้อหา เวลาจำหน่ายเผยแพร่ ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ ลักษณะรูปแบบ และหลักเกณฑ์อื่นๆ ส่วนนิตยสารจะแบ่งโดยยึดเนื้อหาและความสนใจของผู้อ่านเป็นหลัก
    - ประเภทของนิตยสารประกอบด้วย นิตยสารทั่วไปนิตยสารเฉพาะด้าน นิตยสารสมาคม นิตยสารวิชาชีพ และนิตยสารการประชาสัมพันธ์
    - นโยบายการผลิตหนังสือพิมพ์และนิตยสารคือ หลักการหรือแนวทางที่องค์กรหนังสือพิมพ์และนิตยสารกำหนดขึ้นเพื่อชี้นำการปฏิบัติหรือทิศทางและเป้าหมายในการผลิตสิ่งพิมพ์ของตน
    - ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายขององค์กรหนังสือพิมพ์และนิตยสารได้แก่ ผู้อ่าน โฆษณา การควบคุมของรัฐ เจ้าของหรือนายทุน มาตรฐานทางวิชาชีพ ค่านิยมทางสังคมและการแข่งขันของสื่อมวลชน
    - วัตถุประสงค์ขององค์กรในการผลิตหนังสือพิมพ์และนิตยสารได้แก่ การทำธุรกิจเพื่อผลกำไร การให้ความรู้และการศึกษา การส่งเสริมการขายและการประชาสัมพันธ์องค์กรและการแสดงบทบาทหน้าที่ในฐานะสื่อมวลชน
    ** หนังสือพิมพ์จำแนกตามลักษณะเนื้อหา – แนวประชานิยม/เชิงปริมาณ แนวคุณภาพ/เชิงคุณภาพ แนวทั่วไป แนวเฉพาะเรื่อง/เฉพาะกลุ่ม
    จำแนกตามระยอเวลาการจำหน่าย กรอบเช้า-กรอบบ่าย รายวัน ไม่ใช่รายวันเช่น ราย 2-3 วัน สัปดาห์ รายปักษ์ รายหวยออก รายสะดวก
    จำแนกตามขนาด แผ่นใหญ่- บรอดชีท แผ่นเล็ก-แทบลอยด์
    จำแนกตามวัตถุประสงค์ขององค์กร –สถานศึกษา แจก ฉบับแทรก กำแพง ใต้ดิน การเมือง
    **นิตยสารมีลักษณะเล่มขนาด8*11นิ้ว หรือ A4 เวลาจำหน่ายอาจเป็นรายปักษ์ รายเดือน ราย 2 เดือน 3เดือน แบ่งเป็น นิตยสารทั่วไป ปัจจุบันมีน้อยลงเพราะแข่งกับนิตยสารเฉพาะไม่ได้ นิตยสารเฉพาะเรื่อง/เฉพาะกลุ่ม เช่น นิตยสารข่าว ผู้หญิง ผู้ชาย ธุรกิจ อื่นๆ นิตยสารสมาคมโดยสถาบันต่างๆ นิตยสารวิชาชีพ นิตยสารการประชาสัมพันธ์ นิตยสารเฉพาะกิจ

    4.2 กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
    - กองบรรณาธิการเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญที่สุดในกระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์และนิตยสาร งานของกองบรรณาธิการจะแบ่งออกเป็นแผนกย่อยๆโดยคำนึงถึงเนื้อหาหนังสือพิมพ์นิตยสารต้องรับผิดชอบเป็นหลัก
    - กองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ดำเนินการในด้านกำหนดเนื้อหา แนวคิดหลักของฉบับ แสวงหาข้อมูลเรียบเรียงและเขียนเป็นต้นฉบับ รวมรวมต้นฉบับ ตรวจแก้ไขและบรรณาธิการ
    - ในกองบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร จะมีบุคลากรรับผิดชอบงานอยู่หลายฝ่ายโดยมีบรรณาธิการเป็นแกนหลัก รับผิดชอบการทำงานของกองบรรณาธิการทั้งหมด ส่วนจำนวนบุคลากรแต่ละแห่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณงานลักษณะเนื้อหาที่นำเสนอ ตลอดจนขนาดขององค์กรหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
    ** กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ – แผนกข่าว แผนกบทความ//สารคดี แผนกช่างภาพ แผนกศิลป์
    กองบรรณาธิการนิตยสาร – แผนกข่าว แผนกบทความ/สารคดี แผนกประสารงาน ช่างภาพ แผนกศิลป์
    บุคลกรในกองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์และนิตยสาร – บรรณาธิการ หัวหน้าข่าว ผู้เรียบเรียง ผู้สื่อข่าว ช่างภาพ ช่างศิลป์ เลขานุการกองบรรณาธิการ/เจ้าหน้าที่ประสานงาน ช่างเรียงพิมพ์ พนักงานพิสูจน์อักษร บรรณารักษ์ศูนย์ข้อมูล/ห้องสมุด

    4.3 กระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
    - ต้นฉบับจะมี 2 ประเภทคือ ต้นฉบับข้อความและต้นฉบับภาพ โดยมีที่มาทั้งภายในและภายนอกกองบรรณาธิการ การเตรียมต้นฉบับแต่ละประเภทแตกต่างกันได้แก่ ข่าว บทบรรณาธิการ บทความ สารคดี คอลัมน์ประจำ ภาพถ่ายและภาพวาด
    - การออกแบบจัดหน้าเป็นการรวบรวมต้อนฉบับ ข้อความและภาพประกอบ และจัดวางในตำแหน่งต่างๆ บนหน้ากระดาษให้เหมาะสม และน่าสนใจโดยอาศัยหลักความสมดุล ความแตกต่าง ความมีสัดส่วน และความเป็นเอกภาพ
    - การจัดพิมพ์เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์และนิตยสารนิยมใช้การพิมพ์แบบเลตเตอร์เพรสและออฟเซทซึ่งอาร์ตเวิร์คที่ออกแบบไว้แล้วจะผ่านขั้นตอนการพิมพ์และขั้นตอนงานหลังพิมพ์จนเสร็จสมบูรณ์เป็นเล่มพร้อมวางจำหน่าย
    **ระบบการพิมพ์ แบบนูน เลตเตอร์เพรส – การพิมพ์เก่าแก่คล้ายตรายางมาประทับบนกระดาษ ต้นทุนต่ำ จำนวนจำหน่ายไม่มากพวกนิตยสารท้องถิ่น ส่วนเฟร็กโซกราฟฟี่เหมาะกับงานบรรจุภัณฑ์
    แบบพื้นที่ราบ ออฟเซท พัฒนามาจากแบบหินหรือการพิมพ์ลีโธกราฟ
    การพิมพ์พื้นลึก ภาพอยู่ต่ำ ทำให้หมึกติดอยู่ในแอ่ง – กราวัวร์ อืนทาโย
    การพิมพ์พื้นฉลุ เจาะภาพ/ลวดลาย แล้วระบายสีทับหรือพ่นปิดช่องที่ฉลุจะได้ลวดลายตามต้องการ
    ส่วนมากนิยมแบบออฟเซท ต้นทุนไม่สูง

    4.4 กระบวนการจัดหารายได้ของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
    - หนังสือพิมพ์และนิตยสารจะมีรายได้จาก 2 ส่วนคือการจัดจำหน่าย และการขายพื้นที่โฆษณา รายได้ส่วนใหญ่ขององค์กรมาจากการขายพื้นที่โฆษณามากกว่ายอดจำหน่าย การจัดจำหน่ายเป็นการกระจายหนังสือพิมพ์และนิตยสารให้ถึงมือผู้อ่านให้รวดเร็วและกว้างขวางมากที่สุด ซึ่งมีการจัดจำหน่ายหลายประเภท คือแบบให้เปล่า การควบคุม การบังคับ และแบบขาย
    - การโฆษณาเป็นเส้นเลือดสำคัญในการหล่อเลี้ยงธุรกิจหนังสือพิมพ์และนิตยสารเพราะรายได้กว่าครึ่งขององค์กรมาจากการขายพื้นที่โฆษณา ทั้งโฆษณารายย่อย ขนาดใหญ่ และฉบับพิเศษ ทั้งนี้มีหลักการขายโฆษณาคือการแสวงหากลุ่มเป้าหมาย การใช้ช่วงเวลาให้เกิดประโยชน์ การใช้นโยบายราคา และการเสนอบริการที่ดี ส่วนการส่งเสริมการขายสามารถดำเนินการได้กับผู้อ่านประจำ ผู้อ่านทั่วไปและกับตัวแทนจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีวิธีการส่งเสริมการขายด้วยการโฆษณาผ่านสื่ออื่นๆและการให้บริการชุมชน/สาธารณะ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Mar 24, 2010 5:26 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 5 ประวัติและพัฒนาการของภาพนิ่งและภาพยนต์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:29 pm

    หน่วยที่ 5 ประวัติและพัฒนาการของภาพนิ่งและภาพยนตร์
    แนวคิด
    1.กล้องถ่ายรูปกำเนิดจากกล้องออบสคูราขนาดใหญ่ ระยะแรกใช้สำหรับวาดภาพ ต่อมาพัฒนาเป็นกล้องขนาดเล็กถ่ายรูปได้ด้วยฟิล์ม และพัฒนาต่อเป็นกล้องดิจิทัลไม่ต้องใช้ฟิล์ม สำหรับประเทศไทยการถ่ายภาพเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพัฒนาไปตามเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น
    2.ภาพยนต์พัฒนามาจากภาพนิ่งหลายภาพมาต่อเรียงกันอย่างมีระบบ เมื่อนำมฉายดูแล้วจะเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว มีการพัฒนามาเป็นภาพยนตร์เงียบแลพภาพยนต์เสียงคามลำดับ
    3.ในทวีปเอเชีย ประเทศอินเดียสร้างภาพยนตร์มากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของประชาชน ประเทศญี่ปุ่นสร้างภาพยนตร์มากรองจากอินเดียส่วนใหญ่ใช้แนวหนังฮอลลีวูด สำหรับประเทศไทยสร้างภาพยนตร์ได้ในปี 2470 เป็นภาพยนตร์เงียบแล้วพัฒนามาเป็นภาพยนต์พากษ์และเป็นภาพยนต์เสียงตามลำดับ

    5.1 ประวัติและพัฒนาการของภาพนิ่ง
    - กล้องถ่ายภาพมีต้นกำเนิดมาจากกล้องออบสคูราขนาดใหญ่ ซึ่งใช้สำหรับลอกภาพหรือวาดภาพพัฒนาจนกลายเป็นกล้องขนาดเล็กถ่ายภาพได้
    - กล้องถ่ายภาพได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นกล้องถ่ายภาพโดยใช้ฟิล์มและไม่ใช้ฟิล์มเรียกว่ากล้องดิจิทัล
    - การถ่ายภาพในประเทศไทยเกิดขึ้นปลายรัชกาลที่ 3 โดยชาวต่างประเทศเป็นผู้ริเริ่มได้รับความสนใจจากกษัตริย์แทบทุกพระองค์ ได้รับการศึกษาถ่ายทอดไปยังบรมวงศ์ษานุวงศ์ ข้าราชการและประชาชนต่อมาจนถึงปัจจุบัน
    **ดาเนล บาบาโร ชาวเวนิสเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องออบสคูรา
    ภาพถ่ายภาพแรกของโลก ผู้บุกเบิกที่ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพด้วยแสงคนแรกคือ โจเซฟ เนียฟฟอร์เนียฟ ชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1827 เป็นภาพเมืองซงลอง จากหน้าต่างบ้านของเขา เป็นภาพแรกของโลก
    การถ่ายภาพแบบดาร์แก ลักษณะภาพเหมือนกระจกเงา ซ้ายขวาสลับกันกับของจริงรียกว่าภาพ เนกาทีฟ กระบวนการถ่ายภาพแบบดาแกร์โรไทป์จึงถือเป็นการถ่ายภาพแบบสมัยใหม่
    การถ่ายภาพด้วยฟิล์ม กล้องถ่ายภาพแบ่งตามระบบการควบคุมการธรรมงาน – กล้องธรรมดา กล้องอัตโนมัติ และกึ่งอัตโนมัติ
    แบ่งตามขนาด – กล้องขนาดเล็ก ขนาด 35มม. กล้องขาดกลาง กล้องขนาดใหญ่
    แบ่งโดยยึดลักษณะการมองภาพที่ถ่าย – ภาพโดยตรง ภาพสะท้อน
    การถ่ายภาพดิจิทัลมี 2 ประเภทคือ กล้องดิจิทัลแบบคอมแพค เบา กะทัดรัด พกง่าย ส่วนใหญ่เป็นแบบอัตโนมัติ ไม่แพง และแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยว ขนาดใหญ่ ภาพละเอียด ราคาแพง
    ** พัฒนาการของการถ่ายภาพในประเทศไทย เกิดขึ้นปลายรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.2383 ยีน แบบติสตา ปาเลอร์กัว เป็นผู้สั่งซื้อกล้องจากฝรั่งเศสคนแรก บาทหลวงปิแอร์ ลาริโนดีเป็นคนนำกล้องดังกล่าวมาในไทย ทั้งสองช่วยกันถ่ายภาพพระบรมศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ลาโนดีจึงเป็นคนแรกที่ถ่ายภาพในไทย
    พระหากษัตริย์องค์แรกที่ทรงฉายพระบรมรูป สมัยก่อนไม่นิยมถ่ายรูปเชื่อว่าจะอายุสั้น ทรงทำลายความเชื่อนั้น ทรงยอมฉายพระรูปเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนและทรงพระราชทานแก่ประมุขประเทศต่างๆเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี
    ช่างภาพคนแรกของไทนคือ นายโหมด พระวิสูตรโยธามาตย์ หรือพระยากระสาปนิกิจโกศล ซึ่งเป็นศิษย์ของปาเลอกัวร์
    สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยเกิดขึ้นปี 2502

    5.2 ประวัติและพัฒนาการของภาพยนตร์
    - ทฤษฎีภาพติดตาทำให้เกิดแนวคิดในการประดิษฐ์ของเล่นซึ่งเป็นชุดภาพนิ่งนำมาหมุนเล่นเป็นภาพเคลื่อนไหว พัฒนาเป็นเครื่องฉายและเป็นกล้องถ่ายภาพยนตร์ตามลำดับ
    - ภาพยนตร์ในยุคแรกเป็นภาพยนตร์เงียบทำด้วยฟิล์ม 35 มม. เวลาฉายใช้นตรีหรือเสียงจากแผ่นเสียงประกอบ พัฒนามาเป็นบันทึกเสียงลงแผ่นเสียงและบันทึกเสียงลงบนแผ่นฟิล์ม ผลิตด้วยฟิล์ม 16 มม. 8 มม. และ 70 มม. ตามลำดับ พัฒนาต่อไปถึงขั้นใช้เทคโนโลยีคอพิวเตอร์ช่วยในการผลิต
    **ภาพติดตาหรือการคงสภาพการมองเห็นวัตถุที่เคลื่อไหว คนพบโดยปีเตอร์ มาร์ค โรเก็ท
    โทมาทรอฟ – เป็นแผ่นกลมมีภาพอยู่ 2 ด้าน นิยมมากคือรูปนกอีกด้านเป็นกรงนก เมื่อหมุนด้วยความเร็วพอเหมาะจะเหมือนนกเข้าไปอยู่ในกรง
    ฟีนาคีโตสโคป เป็นภาพชุดที่มีอาการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องจนจบ
    มายบริด ผู้ถ่ายภาพม้าด้วยกล้อง 12 ตัวเพื่อพิสูจน์ว่ามีภาพม้าวิ่งโดยขาไม่ติดพื้นทั้ง 4 ขา
    เครื่องฉายภาพยนต้ครื่องแรกชื่อ คินีโตสโคป เอดิสัน ชาวอเมริกันเป็นผู้ประดิษฐ์
    การสร้างภาพยนตร์ในยุคแรก จอร์จแมริแอ สร้าง เรื่องที่สร้างชื่อ คือ ออฟ ทู บลู มิง เดล อาซิลัม
    เครื่องบันทึกเสียง มี 2 ระบบคือ ซิงเกิลซิสเตม – บันทึกเสียงลงบนฟิล์มขณะถ่ายทำมักใช้ในภาพยนตร์ข่าว หรือภาพยนต์ส่วนตัว ไม่นิยมในวงการบันเทิง
    ดับเบิ้ลซิสเตม บันทึกเสียงแยกกับกล้อง ที่นิยมใช้ในวงการคือ ยี่ห้อ Nagra

    5.3 ประวัติและพัฒนาการของภาพยนตร์ในเอเชียและประเทศไทย
    - อินเดีย สร้างภาพยนตร์ได้มากที่สุดในโลก ส่วยใหญ่ฉายในประเทศ เรื่องราวเน้นขนบธรรมเยมประเพณีและความเป็นอยู่ของประชาชน
    - ญี่ปุ่น นองจากอินเดีย สร้างตามแนวฮอลลีวูด
    - ประเทศไทยรู้จักภาพยนตร์เมื่อปี 2440 ภาพยนตร์เรื่องแนกคือ เรื่องโชค 2 ชั้น ระยะแรกเป็นภาพยนตร์เงียบ พัฒนาเป็นพากษ์และภาพยนตร์เสียงในฟิล์มตามลำดับ
    **อินเดีย เรื่องแรกที่ยิ่งใหญ คือ จันทร์เลขา หนังแขกเรียกว่า หนังบอลลีวูด
    **ญี่ปุ่น เรื่องแรกคือ โมมิจการิ หลังสงครมโลกครั้งที่2 ฟื้นตัวได้รวดเร็ว ผู้กับกับที่มีชื่อเสียงชั้นครู คือ อาคิระ คูโรซาว่า เรื่องที่สร้างชื่อคือ ราโชมอน
    **ไทย รู้จักปี 2440 มีการฉายครั้งแรกโดย เอส จี มาคอฟสกี ช่าวฝรั่งเศส ที่เรียกว่า ปาริเซียน ซีเนมาโตกราฟ
    ภาพยนตร์บันเทิงชุดแรกของไทย เรื่องนางสาวสุวรรณ นางเสงี่ยม นาวีเสถียรเป็นนางเอก ขุนรามภรตศาสตร์เป็นพระเอก เป็นเรื่องแรกของไทยสร้างโดยต่างชาติ เรื่องโชคสองชั้นเป็นภาพยนต์เรื่องแรกที่แสดงโดยคนไทยและสร้างโดยคนไทยทั้งหมดโดยตระกูลวสุวัต
    ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกของไทย ชื่อ หลงทาง นายสิน สีบุญเรืองหรือทิดเขียว เป็นคนพากษ์ผ่านไมค์โครโฟนคนแรกมีชื่อเสียงมาก


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Mar 24, 2010 8:01 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 6 กระบวนการผลิตและเผยแพร่ของภาพยนต์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:30 pm

    หน่วยที่ 6 กระบวนการผลิตภาพยนตร์และเผยแพร่ของภาพยนตร์

    แนวคิด
    1.กระบวนการผลิตภาพยนตร์แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนก่อนการผลิตหรือถ่ายทก ขั้นตอนระหว่างการผลิตหรือการถ่ายทำ และขั้นตอนหลังการผลิตหรือการถ่ายทำ ขั้นตอนก่อนการผลิตเป็นขั้นตอนการวางแผนการผลิตภาพยนต์ทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนถึงการจัดจำหน่ายหรือเผยแพร่
    2.ขั้นตอนระหว่างการผลิต เป็นขั้นตอนลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิต ได้แก่การยกกองไปถ่ายยังสถานที่ ถ่ายภาพ การกำกับการแสดง การบันทึกเสียงและงานที่เกี่ยวข้อง
    3.ขั้นตอนหลังการผลิต เป็นขั้นตอนของการล้างฟิล์มต้นฉบับ ทำเวิร์คปริ๊นส์ การตัดต่อภาพ ตัดต่อเสียง ประกอบดนตรี ทำไตเติ้ล ตัดต่อต้นฉบับ และพิมพ์ภาพและเสียงรวมกันเป็นภาพยนตร์สมบูรณ์
    4.กระบวนการเผยแพร่ภาพยนตร์ เป็นขั้นตอนการจัดจำหน่ายตามสานงานภาพยนตร์ จัดฉายตามโรงภาพยนตร์ที่จองล่วงหน้า และขายลิขสิทธิ์ให้โทรทัศน์และแปลงเป็นสื่ออื่นต่อไป

    6.1 ขั้นตอนก่อนการผลิตภาพยนตร์
    - การวางแผนการผลิตภาพยนตร์เป็นขั้นตอนการตัดสินใจนำเรื่องที่เลือกแล้วมาผลิต การกำหนดรูปแบบที่เรียกว่า ฟอร์มหนัง เลือกทีมงาน เลือกผู้กำกับ ผู้แสดง เลือกห้องแลบสำหรับล้างและพิมพ์ฟิล์ม ทำภาพผลพิเศษ ตลอดจนแผนการจัดจำหน่าย
    - องค์การหรือหน่วยผลิตภาพยนตร์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการผลิตภาพยนตร์ ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนจนถึงขั้นตอนการเผยแพร่และจัดจำหน่าย
    - บุคลากรและทรัพยากรในการผลิตภาพยนตร์ เป็นการจัดผู้ปฏิบัติงานผลิตภาพยนตร์ โดยการใช้อุปกรณ์และวัสดุภาพยนต์ที่จำเป็นให้ภาพยนต์มีคุณภาพและอยู่ในงบประมาณที่ฝ่ายวางแผนกำหนดไว้
    **การวางแผนการผลิตภาพยนตร์ หมายถึง การกำหนดทิศทาง การกำหนดแนวทางที่จะดำเนินการสร้างภาพยนตร์ให้สำเร็จตามแนวทางที่วางไว้ ประกอบด้วย การวางแผนด้านการเงิน ด้านการตลาด ด้านการถ่ายทำ
    องค์กรการผลิต ทฤษฏีที่เก่าแก่ของ ลูเธอร์ กูลิก และลินดอลล์ รู้จักในนาม POSDCORB
    P-PLANNING –วางแผน O-ORGANIZATION –การจัดรูปแบบองค์กร S-STAFFING –การจัดการบุคลากร
    D-DIRECTING – ฝ่ายอำนวยการ CO,COORDINATING – ประสานหน่วยต่างๆ R-REPORTING – ฝ่ายรายงาน
    B-BUDGETING –ฝ่ายงบประมาณ
    การจัดการบุคลากรและทรัพยากรในการผลิตภาพยนตร์
    ฝ่ายบริหาร – ผู้วางแผน เจ้าหน้าที่กฎหมาย ฝ่ายการเงิน การตลาด ฝ่ายบุคลากร
    ฝ่ายธุรการ
    ฝ่ายปฏิบัติการ – ผู้สร้าง ผู้กำกับ หัวหน้าช่างภาพ ผุ้กำกับเสียง ผู้บันทึกเสียง หัวหน้าฝ่ายสร้างและจัดฉากพร้อมทีมงาน หัวหน้าฝ่ายแสง หัวหน้าฝ่ายจัดหานักแสดง หัวหน้าฝ่ายเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย หัวหน้าฝ่ายตกแต่งผู้แสดง ผู้จัดการกองถ่าย หัวหน้าฝ่ายตัดต่อลำดับภาพ

    6.2 ขั้นตอนระหว่างการผลิตภาพยนตร์
    - การถ่ายภาพยนตร์ เป็นการนำบท นำช่างภาพ นำกล้องและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาลงมือปฏิบัติการตามหน้าที่และขั้นตอนของการสร้างภาพยนตร์
    - การกำกับภาพยนตร์ เป็นวิธีการที่ผุ้กำกับกำหนดให้ช่างกล้องตั้งกล้องตรงมุมที่กำหนด ชี้นำให้ผู้แสดงเข้าถึงบทและแสดงออกมาให้สมจริง
    - การแสดงในภาพยนตร์ เป็นวิธีการที่ผู้แสดงเข้าถึงบทแล้วแสดงออกมาให้สมจริงตามบทและให้เป็นไปตามที่ผู้กำกับภาพยนตร์กำหนด
    - การจัดการกองถ่ายภาพยนตร์ เป็นการจัดบุคคลเข้าทำงานถ่ายภาพยนตร์ ควบคุมการถ่ายสนับสนุนและแก้ปัญหาระหว่างการถ่ายทำ เพื่อให้งานสร้างภาพยนตร์สำเร็จตามแผนที่วางไว้และอยู่ในงบประมาณที่กำหนด
    **ภาษาภาพ ภาพถ่ายไกล – long shot ไกลมาก –extreme long shot ปานกลาง – medium –shot ภาพถ่ายใกล้ close up ใกล้ที่สุด –extreme close up
    **ภาษากล้อง การเคลื่อนที่ของกล้อง -camera movement กวาดกล้องในแนวราบ/แนวนอน จากซ้ายไปขวา – pan right หรือแพนขวา จากขวาไปซ้าย pan-left แพนซ้าย การเงยหรือก้มกล้องขึ้นหรือลงในแนวดิ่งเรียกว่า tilt เงยหรือแหงนกล้องจากระดับสายตาไปที่สูง – tilt up ถ้าก้มลงต่ำ- tilt down ถ้าวางขากล้องแล้ววางขาตั้งไว้บนลางแล้วเลื่อนกล้องไปตามราง – dolly ถ้าเลื่อนเข้าหาวัตถุ –dolly in เลื่อนออกห่างวัตถุ – dolly out ถ้าตั้งกล้องไว้ที่เดิมแล้วเปลี่ยนขนาดภาพ – zoom
    **มุมกล้อง ถ้าตั้งกล้องสูงกว่าวัตถุที่ถ่าย – high angle ตั้งกล้องไว้ในระดับสายตาของผู้แสดง – eye level ถ้าต่ำกว่าวัตถุที่ถ่าย –low angle
    **ภาษาผุ้กำกับ คำว่า เสียง –สั่งคนบันทึกเสียงให้เปิดเครื่อง สปีด – เป็นคำตอบรับช่างบันทึกเสียงเมื่อเครื่องบันทึกเสียงได้ความเร็วมาตรฐาน กล้อง – สั่งให้ช่างกล้องเดินกล้อง เมื่อได้ความเร็วที่ใช่ถ่ายแล้วจะตอบว่า สปีด สเลท สั่งให้คนตีกระดานสเลท คือคนที่ถือแผ่นไม้กระดานที่เขียนข้อความบอกรายละเอียดของฉากที่กำลังถ่าย แล้วขานเช่น ซีน1เทค1 แล้วตีไม้ที่อ้านั้นให้กระทบกับแผ่นกระดานสเลท แอคชั่น – ผู้กำกับสั่งให้ผู้แสดงแสดง คัท – สั่งผู้แสดง กล้อง เสียง หยุด
    การกำกับภาพยนตร์หมายถึง – การที่ผู้กำกับแปลและตีความบทภาพยนต์แล้วดำเนินการแปลงตัวอักษรให้เป็นภาพยนต์ที่โลดแล่นอยู่บนจอ เล่าเรื่องราวต่างๆตามแบบของผู้กำกับ
    การแสดงหลักๆมี 2 ประเภท คือ การแสดงบทบู๊ แอคชั่น และการแสดงดราม่า
    งานหลักของผู้จดการกองถ่ายคือต้องจัดทำตารางถ่ายทำที่สมบูรณ์แบบ
    การบริหารจัดการกองถ่าย มีฝ่ายต่างๆได้แก่ ฝ่ายจัดหา จัดซื้อ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายเสบียง ฝ่ายนัดหมาย ฝ่ายยานพาหนะ ฝ่ายโยธา ด้านพยาบาล ฝ่ายรักษาความปลอดภัย และด้านอื่นๆ เลิกถ่าย – แร๊พอับ (wrap-up)

    6.3 ขั้นตอนหลังการผลิตภาพยนตร์
    - หน่วยงานที่รับผิดชอบในขั้นตอนหลังจากการถ่ายทำภาพยนตร์แล้วได้แก่ ห้องแลบภาพยนตร์ ห้องบันทึกเสียง บริษัทที่ทำภาพผลพิเศษ ทำไตเติล ทำภาพยนตร์ตัวอย่าง หน่วยงานเหล่านี้ผู้สร้างภาพยนตร์ต้องเลือกและประสานงานล่วงหน้าก่อนลงมือผลิตภาพยนต์
    - การตัดต่อภาพยนตร์ หมายถึง การนำฟิล์มที่ล้างเสร็จเรียบร้อยแล้วมาร้อยเรียงเข้ากับเสียงให้เป็นเรื่องตามบทภาพยนตร์ ซึ่งหลังจากถ่ายภาพยนตร์แล้ว ต้องนำฟิล์ม เส้นเสียง ส่งห้องแลบภาพยนตร์เพื่อล้างและพิมพ์ฟิล์ม สำหรับการตัดต่อ ผสมเสียง ทำกราฟฟิกและงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆอีกหลายขั้นตอน
    - การควบคุม หมายถึง การวางแผนกำหนดวิธีการ ที่จะทำให้งานผลิตภาพยนตร์ในขั้นตอนหลังถ่ายทำดำเนินไปตามแผนและเสร็จตามเวลาและอยู่ในงบประมาณที่กำหนด รวมถึงการเตรียมแผนทางเลือกไว้เมื่อมีปัญหาด้วย

    6.4 กระบวนการเผยแพร่และจำหน่ายภาพยนตร์
    - กิจกรรมทางการตลาดภาพยนตร์ เป็นการประกาศให้ผู้จัดจำหน่ายและประชาชนทั่วไปทราบถึงการผลิตภาพยนตร์ แนวเรื่องภาพยนตร์ กำหนดออกฉาย เป็นต้น ผ่านกิจกรรมเฉพาะกิจและสื่อมวลชน
    - การเผยแพร่และจำหน่ายภาพยนตร์เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนก่อนการผลิต ระหว่างการผลิต และหลังการผลิต ผู้ซื้อภาพยนตร์อาจตัดสินใจซื้อตั้งแต่ได้อ่านบทภาพยนตร์ ได้รู้ชื่อผู้กำกับ และผู้แสดงนำ จึงมีขั้นตอนการเผยแพร่ภาพยนตร์ในทุกขั้นตอนการผลิต และมีการจัดจำหน่ายหลายรูปแบบได้แก่ ผู้ผลิตภาพยนตร์จัดเผยแพร่เอง และเผยแพร่ผ่านบริษัทตัวแทนจำหน่าย


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Mar 25, 2010 4:29 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 7 ประวัติและพัฒนาการและระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:32 pm

    หน่วยที่ 7 ประวัติ พัฒนาการ และระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุกระจายเสียง

    แนวคิด
    1.วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นประดิษฐกรรมที่เกิดจากการค้นคว้าทดลอง ของนักวิทยาศาสตร์หลายคนตั้งแต่ยุคต้นศตวรรษที่ 20 และมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งพัฒนาการด้านเทคโนโลยี ด้านรายการ และด้านการดำเนินกิจการ
    2.ประเทศไทยมีสถานีวิททยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกฝน พ.ศ. 2473 ส่วนสถานีวิทยุโทรทัศน์เริ่มการแพร่ภาพตั้งแต่ปี 2498 กิจการวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงของประเทศไทยมีการพัฒนาการตามแนวคิดและเทคโนโลยีที่รับมาจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่
    3.การส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นการส่งสัญญาณเสียงไปกับคลื่นวิทยุ ส่วนการส่งวิทยุโทรทัศน์คือการส่งสัญญาณภาพและเสียงไปกับคลื่นวิทยุ ระบบวิทยุกระจายเสียงเป็นระบบพื้นฐาน คือระบบเอเอ็มและเอฟเอ็ม ส่วนโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือ เอ็นทีเอสซี ระบบพอล ระบบซีกัม ระบบเอชดีทีวี ในอนาคตระบบวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์จะพัฒนาจากระบบอนาลอกไปสู่ระบบดิจิทัลสมบูรณ์แบบ

    7.1 ประวัติและพัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
    - การประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียงมาจากแนวคิดในการส่งสารจากจุดจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยไม่ใช้สาย และสามารถส่งไปได้ไกล รวดเร็วปราศจากอุปสรรคกีดขวาง นักวิทยาศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญในการคิดค้นและพัฒนาวิทยุกระจายเสียงมีหลายคนและหลายเชื้อชาติ
    - กิจการวิทยุกระจายเสียงมีพัฒนาการมาเป็นลำดับนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา ประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียงคือสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ โดยสหรัฐอเมริกาเป็นต้นแบบของการดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการค้า และการกระจายเสียงระบบเครือข่าย ส่วนอังกฤษเป็นต้นแบบการดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงแบบไม่ใช่การค้าและด้านรูปแบบรายการที่เป็นมาตรฐานสำหรับประเทศต่างๆ
    - จุดกำเนิดของวิทยุโทรทัศน์มาจากแนวคิดพื้นฐาน 2 ประการคือ ต้องการเปลี่ยนภาพที่จะส่งเป็นพลังงานแสงไปผสมกับสัญญาณไฟฟ้าและทำให้ภาพที่ปรากฏในเครื่องรับมีความต่อเนื่องโดยไม่ต้องอาศัยกระบวนการทางเคมี
    - พัฒนาการของวิทยุโทรทัศน์เริ่มต้นจากการที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบการส่งวิทยุโทรทัศน์ในระบบขาวดำ และพัฒนามาเป็นระบบสี จนกระทั่งปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านวิทยุโทรทัศน์มีความเจริญก้าวหน้า ทำให้มีการส่งและรับวิทยุโทรทัศน์หลายระบบ
    **ปี 1871 ค้นพบทฤษฎีเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเจมส์ คลาก แม็กเวลล์
    1887 พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือคลื่นวิทยุสามารถเดินทางไปยังจุดจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งได้ โดย เฮนริช เฮิรตซ์
    1895 สร้างเครื่องมือส่งรหัสมอร์สไปกับคลื่นวิทยุเรียกว่าวิทยุโทรเลข โดยมาร์โคนี
    1901 มาร์โคนีสามารถส่งสัญญาณวิทยุข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้ เป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก
    1904 ประดิษฐ์อุปกรณ์แยกคลื่นเสียงออกจากคลื่นวิทยุ เรียกว่าเฟรมมิ่ง วาล์ว โดย จอห์น เอ เฟลมมิง
    1906 ประสบความสำเร็จในการทดลองส่งเสียงพูดไปกับคลื่นวิทยุ โดย เรจินัลด์ เอ เฟสเสนเดน
    1906 ประดิษฐ์หลอดสุญญากาศทำหน้าที่แยกคลื่นเสียงออกจากคลื่นวิทยุ โดย ดร.ลี เดอ ฟอเรสต์ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิทยุกระจายเสียง ปี 1908 เค้าได้ทดลองส่งกระจายเสียงจากหอไอเฟล และปี 1910 มีการถ่ายทอดสดอุปรากรจากโรงละครในนิวยอร์คการส่งกระจายเสียงในขณะนั้นเรียกว่าวิทยุโทรศัพท์
    พัฒนาการกิจการวิทยุกระจายเสียงในสหรัฐอเมริกา
    ระหว่าง ปี ค.ศ.1901-1920 มีการตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงยุคบุกเบิกได้แก่ สถานี KCBS ,WHA,WWJ,KDKA
    ค.ศ.1919 มีการตั้งบรรษัท RCA เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการสื่อสารเช่น วิทยุโทรเลข โทรศัพท์และวิทยุกระจายเสียง
    ค.ศ.1929 เริ่มดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงในระบบครือข่าย ที่สำคัญได้แก่ NBC,CBS,MBS,ABC
    ค.ศ.1934 มีการตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการสื่อสารของรัฐบาลกลาง (FCC) ทำหน้าที่ควบคุมกิจการสื่อสารทั้งหมด
    กิจการวิทยุกระจายเสียงของสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ดำเนินเพื่อการค้าและในลักษณะเครือข่าย บุคคลที่มีความสำคัญในการพัฒนาธุรกิจวิทยุกระจายเสียงของสหรัฐฯคือ เดวิด ซาร์นอฟ
    พัฒนาการกิจการวิทยุกระจายเสียงในอังกฤษ
    ค.ศ.1920 ทดลองส่งวิทยุกระจายเสียงโดยบริษัทมาร์โคนี
    ค.ศ.1922 ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงลอนดอนและมีสถานีวิทยุอีกหลายแห่ง เช่น 2WP,2ZY
    ค.ศ.1922 รัฐบาลอังกฤษตั้งบริษัทการกระจายเสียงแห่งอังกฤษเพื่อดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียง
    ค.ศ.1927 บริษัทการกระจายเสียงแห่งอังกฤษเปลี่ยนรูปเป็น บรรษัทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งอังกฤษหรือ BBC ปัจจุบัน BBC กระจายเสียงเป็น 2 ภาคคือ ภาคภายในประเทศและภาคบริการโลก นอกจาก BBCแล้ว ยังมีองค์กรที่ดำเนินกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์อีกแห่งหนึ่งคือ IBA ตั้งขึ้นเมื่อปี 1954
    **ประวัติวิทยุโทรทัศน์
    พอล นิพโกว ชาวเยอรมันค้นพบจานแสกนภาพ จอห์น ลอจี แบร์ด ชาวอังกฤษและชาร์ล ฟรานซิส เจนกินส์ ประสบความสำเร็จในการส่งโทรทัศน์ทางสาย วลาดิเมียร์ ชโวรีกิน ชาวรัสเซีย และฟิลโล ฟรานสเวิร์ธ ชาวอเมริกันประดิษฐ์กล้องถ่ายโทรทัศน์เป็นการพัฒนาการทดลองส่งวิทยุโทรทัศน์สู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์
    ผู้ค้นพบโทรทัศน์สี คือ จอห์น ลอจี แบร์ด ชาวอังกฤษ ส่วนในสหรัฐอเมริกาคือวิศวกรของบรรษํท RCA และ CBS ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้การพัฒนาวิทยุโทรทัศน์เกิดภาวะชะงักงัน ประกอบกับ FCCไม่อนุญาตให้ตั้งสถานีใหม่ ในขณะเดียวกันก็ยอมรับระบบการส่งและรับโทรทัศน์สีของ RCA เป็นระบบมาตรฐาน นอกจากนั้น FCC ยังได้จัดสรรความถี่ใหม่ โดยให้ย่านความถี่ VHF ออกอากาศได้ 12 ช่อง และย่านความถี่ UHF ออกอากาศได้ 70 ช่อง
    พัฒนาการของกิจการวิทยุโทรทัศน์
    สถานีเพื่อการค้า เช่น สหรัฐอเมริกา สถานีที่ไม่ใช่การค้า เช่นอังกฤษ สถานีเพื่อบริการสาธารณะ
    การดำเนินการเคเบิลทีวีแบ่งเป็น 4 แบบคือ แบบบริการพื้นฐาน บอกรับสมาชิก เลือกรับ และบริการพิเศษ
    ระบบการแพร่ภาพโทรทัศน์ระบบ MMDS แพร่ภาพหลายช่อง หลายจุด ใช้คลื่นไมโครเวฟ ความถี่สูงเป็นคลื่นพาห์
    ระบบ HFC ใช้เส้นใยแก้วนำแสงหรือสายโคแอกเซียล ส่งได้หลายรายการพร้อมๆกัน
    ระบบ DTH ผ่านดาวเทียมในย่าน KU-BAND 11-13 จิ๊กกะเฮิรตซ์ ยังมีระบบอินเทอร์เนตในการส่งสัญญาณ

    7.2 ประวัติและพัฒนาการของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ไทย
    - กิจการวิทยุกระจายเสียงของไทยเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยมีการตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกเมื่อ พ.ศ.2473 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษา การค้าขาย และการบันเทิง แก่พ่อค้าและประชาชน บุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการนำวิทยุกระจายเสียงเข้ามาทดลองในประเทศไทยจนได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิทยุกระจายเสียงไทยก็คือ สมเด็จกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
    - การพัฒนากิจการวิทยุกระจายเสียงของไทยทั้งด้านรายการและระบบการกระจายเสียงเป็นไปตามความเจริญทางเทคโนโลยีการสื่อสารของโลก สภาพการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ส่วนการดำเนินกิจการนั้น เดิมรัฐเป็นเจ้าของและควบคุมการดำเนินงาน ต่อมาเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2540 ได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกิจการวิทยุกระจายเสียงของไทยทุกด้าน
    - กิจการวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทยเริ่มดำเนินการในสมัย จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของไทยคือ สถานีวิทยุช่อง 4 ของบริษัทไทย โทรทัศน์จำกัด สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของไทยคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7
    - สถานีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทยมีการพัฒนาทั้งด้านระบบการส่งภาพ อุปกรณ์เครื่องส่ง อุปกรณ์การผลิตรายการ และเทคโนโลยีการถ่ายทอดสัญญาณทั้งระบบภาคพื้นดินและระบบดาวเทียม และนอกจากนี้ยังมีการขยายเครือข่ายสถานีคลอบคลุมทั่วประเทศ
    **พ.ศ.2418 เริ่มกิจการโทรเลข พ.ศ.2424 เริ่มกิจการโทรศัพท์ พ.ศ. 2447 เริ่มทดลองส่งวิทยุโทรเลข แต่ไม่สำเร็จ พ.ศ. 2450 ทางราชการทหารเรือได้นำเครื่องรับ ส่งวิทยุโทรเลขแบบมาร์โคนีมาใช้ สมัยนั้นเรียกวิทยุโทรเลขว่า ราดิโอโทรเลข ต่อมาสมเด็จหระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบัญญัติคำว่าวิทยุแทน radio
    พ.ศ.2471 พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธินพระบิดาแห่งวงการวิทยุกระจายเสียงไทยโปรดให้กรมไปรษณีย์โทรเลขตั้งสถานีวิทยุทดลองแห่งแรกชื่อ 4 พีเจ ต่อมาเปลี่ยนเป็น 2 พีเจ และ หนึ่ง หนึ่ง พีเจตามลำดับ
    พ.ศ.2473 ประเทศไทยมีสถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกคือสถานีวิทยุกรุงเทพที่พญาไทย
    พ.ศ.2479 สถานีวิทยุกรุงเทพที่พญาไทเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีวิทยุกรุงเทพที่ศาลาแดง
    พ.ศ.2482 โอนกิจการวิทยุกระจายเสียงจากกรมไปรษณีย์โทรเลขมาขึ้นกับสำนักงานโฆษณาการ
    พ.ศ.2483 สำนักงานโฆษณาการเปลี่ยนชื่อเป็นกรมโฆษณาการและเปลี่ยนชื่อสถานีวิทยุกรุงเทพเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
    พ.ศ.2498 ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ทำให้หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเป็นจำนวนมาก
    ประวัติวิทยุโทรทัศน์ไทย
    สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2498ต่อมา พ.ศ.2520 เปลี่ยนเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง9สังกัด อ.ส.ม.ท.
    สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งที่ 2 คือสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ตั้งในปี 2501 เดิมออกอากาศแบบชาวดำ ทางช่อง 7 ต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบสี ออกอากาศทางช่อง 5
    สถานีวิทยุโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ออกอากาศในปี 2510 ดำเนินการโดย บริษัทกรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุจำกัด
    สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ของ อ.ส.ม.ท. ดำเนินการโดยบริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ออกอากาศในปี 2513
    สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 ของกรมประชาสัมพันธ์ ออกอากาศในปี 2528
    สถานีวิทยุโทรทัศน์ไอทีวี ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้สัมปทานแก่บริษัทสยามอินโฟเทนเม้นจำกัด เป็นผู้ดำเนินงานเริ่มออกอากาศในปี 2539

    7.3 ระบบและหลักการส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
    - ในการส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์จะใช้คลื่นวิทยุเป็นคลื่นพาห์นำภาพและเสียงไปยังผู้รับสาร เพราะคลื่นวิทยุสามารถเดินทางด้วยความเร็วสูงและไปได้ไกล ส่วนการแบ่งแถบความถี่คลื่นนั้นเป็นข้อตกลงนานาชาติในการจัดสรรคลื่นความถี่ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติเพื่อใช้ในกิจการโทรคมนาคมและในการส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ร่วมกัน
    - ระบบวิทยุกระจายเสียงที่สถานีวิทยุกระจายเสียงต่างใช้ส่งกระจายเสียงแบ่งเป็น 2 ระบบคือ ระบบเอเอ็มและเอฟเอ็ม ทั้ง 2 ระบบมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ระบบเอเอ็มจะส่งกระจายเสียงได้ในระยะทางที่ไกลกว่า แต่คุณภาพเสียงไม่ชัดเจน ส่วนระบบเอฟเอ็มจะส่งกระจายเสียงระยะใกล้กว่า คุณภาพเสียงมีความชัดเจน แจ่มใสกว่าระบบเอเอ็ม
    - ระบบวิทยุโทรทัศน์แบ่งเป็น 4 ระบบ ตามจำนวนเส้นที่ทำให้เกิดภาพ ได้แก่ระบบเอ็นทีเอสซี(525เส้น) ใช้ในสหรัฐอเมริกา ระบบพอล(625เส้น)ใช้ในยุโรปและประเทศไทย ระบบเซกัม(819/625เส้น)ใช้ในฝรั่งเศส และในระบบเอชดีทีวี(1125-1250เส้น)ใช้ในประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง เช่นญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
    - การส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นการส่งสัญญาณเสียง ได้แก่เสียงพูด เสียงดนตรี และเสียงจากแหล่งอื่นๆ ฝากไปกับคลื่นวิทยุไปยังเครื่องรับ ส่วนการส่งวิทยุโทรทัศน์เป็นการส่งสัญญาณภาพและสัญญาณเสียงฝากไปกับคลื่นวิทยุไปยังเครื่องรับ โดยอาศัยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นเดียวกัน แต่การส่งวิทยุโทรทัศน์จะมีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่า


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Mar 25, 2010 7:53 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 8 การจัดและผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:32 pm

    หน่วยที่ 8 การจัดและการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง

    แนวคิด
    1.การจัดและผลิตรายการมีความสำคัญต่อสถานีวิทยุกระจายเสียง กระบวนการจัดรายการประกอบด้วย การประเมินสถานการณ์ วางแผนการจัดรายการและกำหนดผังรายการ ส่วนกระบวนการผลิตรายการเริ่มจากศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง วางแผนการผลิต เตรียมการก่อนการผลิต และผลิตรายการทั้งนี้ทุกสถานี จำเป็นต้องมีบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัด วางผัง กำหนดตารางการออกอากาศ รายการ และดำเนินการผลิตรายการเพื่อออกอากาศสู่ผู้ฟัง แต่การแบ่งงานภายในสถานี แต่ละแห่งอาจแตกต่างกันออกไป
    2.การจัดรายการอย่างมีประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงปัจจัยภายในสถานี ปัจจัยด้านผู้ฟัง และปัจจัยแวดล้อม ทั้งนี้หลักการจัดรายการวิทยุกระจายเสียง ผู้จัดต้องศึกษาวิธีการเลือกฟังรายการของผู้ฟังพิจารณา กำหนดยุทธศาสตร์ในการจัดรายการและกำหนดวิธีการในการเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่การจัดและบรรจุตารางการกระจายเสียง
    3.กระบวนการผลิตรายการนั้นเริ่มต้น้วย การวางแผนผลิตรายการ และมอบหมายงานให้ผู้เกี่ยวข้องไปดำเนินการเตรียมการในการผลิตรายการให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่ได้วางแผนไว้ จากนั้นจึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการบันทึกรายการ ประกอบด้วย การซักซ้อมและบันทึกรายการ หรือบางรายการอาจออกรายการสดไปสู่ผุ้ฟังทันที โดยมีผู้กำกับรายการเป็นผู้รับผิดชอบดูแลสั่งการให้เป็นไปตามบท

    8.1 แนวคิดการจัดและการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง
    - การจัดรายการ หมายถึง การวางแผน คัดสรร หรือกำหนดรูปแบบรายการเพื่อการออกอากาศในชาวงเวลาต่างๆ และการกำหนดเวลาออกอากาศรายการที่คัดสรรแล้วแจ้งไว้ในตารางกระจายเสียงของสถานี ส้วนการผลิตรายการ หมายถึง กระบวนการดำเนินการนำแผนการจัดรายการที่กำหนดไว้มาดำเนินการผลิต ให้ได้รายการเพื่อนำไปออกอากาศตามที่กำหนดไว้ในแผนผังหรือตารางออกอากาศ
    - การจัดรายการเป็นการนำนโยบาย เป้าหมายของสถานีไปสู่การปฏิบัติ สะท้อนให้เห็นภาพลักษณ์ที่ชัดเจนของสถานี การวางแผนอย่างมีระบบในการจัดรายการมีผลต่อความสำเร็จของสถานี และการปฏิบัติงานของผู้เกี่ยวข้อง ในการกระจายเสียง การผลิตรายการ ผู้ผลิตรายการจะนำแผนงาน แนวคิดจากการจัดรายการไปพัฒนาให้เกิดความเป็นรูปธรรมเป็นบทและนำไปสู่กระบวนการผลิตเป็นรายการ นำเสนอผู้ฟังต่อไปนั่นเอง
    - สถานีวิทยุกระจายเสียงทุกแห่งจำเป็นจ้องมีบุคลากรที่รับผิดชอบในการจัด วางผัง กำหนดตารางการออกอากาศรายการ และดำเนินการผลิตรายการออกอากาศสู่ผู้ฟัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานี ที่กำหนดไว้และตอบสนองต่อความสนใจของกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย แต่การแบ่งงานภายในสถานี แต่ละแห่งอาจแตกต่างกันไป
    - กระบวนการจัดรายการประกอบด้วย การประเมินสถานการณ์ การวางแผนการจัดการและกำหนดผังรายการ ส่วนกระบวนการผลิตรายการเริ่มต้นที่ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง วางแผนการผลิต ผลิตรายการและการประเมินรายการ

    8.2 การจัดรายการวิทยุกระจายเสียง
    - การจัดรายการอย่างมีประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้านที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัจจัยภายในสถานี ปัจจัยด้านผู้ฟัง และปัจจัยแวดล้อม ข้อมูลดังกล่าวต้องศึกษาและวิเคราะห์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือนำไปสู่การจัดรายการให้ตรงใจผู้ฟังและเป็นสถานีที่มีคุณค่าต่อสังคม
    - หลักการจัดรายการวิทยุกระจายเสียง ผู้จัดต้องคำนึงถึงวิธีการเลือกฟังรายการของผู้ฟัง นอกจากนี้จะต้องพิจารณากำหนดยุทธศาสตร์ในการจัดรายการและกำหนดวิธีการในการเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังเป้าหมาย เพื่อนำไปสู่การจัดและบรรจุตารางการกระจายเสียงต่อไป
    - การกำหนดตารางการกระจายเสียงเป็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปแบบในการจัดรายการ ซึ่งเกิดจากการพิจารณาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง กำหนดวิธีการเข้าถึงผู้ฟัง และยุทธศาสตร์ในการจัดรายการ ทั้งนี้ผู้จัดรายการต้องกำหนดตารางการกระจายเสียงที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของสถานี และมีความคงที่สม่ำเสมอในการบรรจุรายการลงในตาราง เพื่อให้ผู้ฟังติดตามสถานีต่อไป

    8.3 การผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง
    - การวางแผนการผลิตรายการ เป็นขั้นตอนแรกที่ต้องดำเนินการเพื่อให้การผลิตรายการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและได้รายการที่มีประสิทธิภาพ โดยผู้ผลิตรายการจะต้องวางแผน 3 ด้าน ได้แก่ วางแผนรายการ วางแผนการปฎิบัติงาน และวางแผนบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน
    - ในกระบวนการผลิตรายการ เมื่อวางแผนการผลิตรายการและมอบหมายงานให้ผู้เกี่ยวข้องไปดำเนินการเตรียมการในการผลิตรายการ ขั้นตอนนี้จะเป็นการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ โดยผู้ที่ได้รับมอบหมายจะต้องดำเนินการให้เสร็จสินภายนเวลาที่ได้ร่วมกันวางแผนไว้ ทั้งนี้มีภารกิจที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ การเตรียมบทวิทยุกระจายเสียง การเตรียมเทปแทรก การเตรียมดนตรีในการผลิตรายการ การเตรียมเสียงประกอบ และการประสานงานการผลิตรายการ
    - การบันทึกรายการ ประกอบด้วยการซักซ้อมเพื่อคุณภาพของรายการและบันทึกรายการ หรือบางรายการอาจออกอากาศสดไปสู่ผู้ฟังทันที ทั้งนี้จะเลือกการซ้อมแห้งหรือการซ้อมกับไมค์โครโฟนนั้นขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของรายการที่ผลิต การบันทึกรายการหรือออกอากาศสดนั้นผู้กำกับจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลสั่งการ เมื่อผลิตรายการแล้วควรดำเนินการประเมินรายการและประเมินกระบวนการผลิตรายการ
    - ผู้ผลิตรายการจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับไมค์โครโฟน แผ่นซีดี เครื่องเล่นซีดี ตลอดจนเครื่องบันทึกเสียง เพราะวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นต่อการผลิตรายการ ในกระบวนการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง นอกจากวัสดุอุปกรณ์แล้ว ผู้ผลิตรายการต้องรู้จักห้องผลิตรายการ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆคือ ส่วนที่เป็นสตูดิโอและส่วนควบคุมเสียง ห้องผลิตรายการมีทั้งประเภทที่เป็นสตูดิโอซึ่งทำหน้าที่ผลิตและกระจายเสียงรายการ ที่เรียกว่า on-air studio และสตูดิโอเพื่อการผลิตรายการเท่านั้นเรียกว่า production studio


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Mar 25, 2010 9:32 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 9 การจัดและผลิตวิทยุโทรทัศน์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:33 pm

    หน่วยที่ 9 การจัดและการผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์

    แนวคิด
    1.รายการโทรทัศน์ที่ผู้ชมได้ชมผ่านทางเครื่องรับโทรทัศน์ คือผลงานของกระบวนการสร้างสรรค์การจัดการและการผลิตของงาน 2 ประเภทที่มาบรรจบกัน นั่นคือ งานการจัดรายการ และงานการผลิตรายการ
    2.การจัดรายการเปรียบเสมือนการวางยุทธศาสตร์ เพื่อการกำหนดทิศทางของการปฏิบัติงาน โดยนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาเป็นข้อกำหนดในการสร้างสรรค์ วางแผน ลำดับเวลาการออกอากาศรายการและกำหนดรูปแบบรายการ เพื่อนำไปสู่การจัดหารายการและการผลิตรายการ
    3.การผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์อาจเปรียบได้กับการผลิตสินค้าทั่วไป บางครั้งอาจมีขั้นตอนการผลิตที่เรียบง่ายใช้เวลาน้อย ใช้บุคลากรตามหน้าที่ปกติ แต่บางครั้งอาจมีขั้นตอนการผลิตที่ซับซ้อน ใช้ระยะเวลานาน ใช้บุคลากรมาก และต้องมีความชำนาญพิเศษ นอกเหนือจากบุคลากรฝ่ายผลิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์และมาตรฐานการผลิตที่ต้องการ
    4.รายการโทรทัศน์ทั่วไปอาจมีกระบวนการผลิตขั้นพื้นฐานที่เหมือนกัน แต่เมื่อแยกตามลักษณะของแต่ละประเภทรายการแล้ว รายการแต่ละประเภทจะให้ความสำคัญกับแต่ละขั้นตอนไม่เท่ากัน ผู้ผลิตจึงจำเป็นที่จะต้องรู้จัก เข้าใจบุคคลิกและธรรมชาติของแต่ละรายการ เพื่อการเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตรายการอย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ
    5.การวัดความสำเร็จของรายการ มาจากการประเมินผลรายการ จากผู้ชมรายการเป้าหมาย โดยปกติผู้จัดรายการจะใช้มาตรฐานการประเมินผลรายการ จากผู้ชมรายการเป้าหมาย โดยปกติผู้จัดรายการจะใช้มาตรฐานการประเมินผลรายการ โดยการใช้ผลการวิจัยอัตราของผู้ชมแต่ละกลุ่มในแต่ละช่วงเวลาจากบริษัทวิจัยที่เป็นกลาง มีมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับโดยบริษัทโฆษณา สถานีโทรทัศน์และผู้ผลิตรายการทั่วไป
    6.สิ่งสำคัญที่สุดของการทำงานผลิตรายการคือ ผู้ผลิตรายการมืออาชีพต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักหน้าที่ของแต่ละคนแต่ละตำแหน่งในทีมอย่างชัดเจน เข้าใจภาษาเดียวกันในการปฏิบัติงาน และรู้จักอุปกรณ์การผลิตในแต่ละประเภทที่ตนเองต้องเกี่ยวข้อง

    9.1 การจัดรายการโทรทัศน์
    - ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการจัดรายการโทรทัศน์มีหลายปัจจัย แต่ละปัจจัยมีที่มาต่างกัน และมีผลต่อการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การดำเนินการของสถานีวิทยุโทรทัศน์ ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องถึงการจัดรายการ ปัจจัยด้านการเมือง สังคม กฎหมาย กฎสัมปทานการเช่าคลื่นความถี่ ล้วนมีผลต่อการกำหนดนโยบายสถานี ในขณะที่ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านการตลาด ด้านงบประมาณ ด้านเทคโนโลยี และด้านบุคลากร มีส่วนในการกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินการ
    - ขั้นตอนการจัดรายการโทรทัศน์มี 8 ขั้นตอนได้แก่ กำหนดนโยบายสถานีโทรทัศน์ กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ดำเนินการวิจัยและพัฒนา กำหนดแนวทางกลยุทธ์ จัดผังรายการ ดำเนินการจัดหารายการ ดำเนินการวิจัยและพัฒนา กำหนดแนวทางกลยุทธ์ จัดผังรายการ ดำเนินการจัดหารายการ ดำเนินการทดสอบรายการ ออกอากาศรายการ
    - รายการโทรทัศน์มี 7 ประเภท ได้แก่ ประเภทรายการตามลักษณะการออกอากาศ(สด-อัดเทป) ตามลักษณะของงานประพันธ์(นวนิยาย-เรื่องจริง) ตามกลุ่มผู้ชม(เด็ก สตรี ฯลฯ) ตามกลุ่มลักษณะรายการ(ข่าว สาระ ฯลฯ) ตามวัตถุประสงค์ของรายการ ตามขอบเขตการรับชม และตามรูปแบบการนำเสนอ

    9.2 การผลิตรายการโทรทัศน์
    - บทบาทสำคัญของผู้อำนวยการผู้ผลิตรายการหรือโปรดิวซ์เซอร์ คือ บทบาทด้านการสร้างสรรค์ บทบาทด้านการจัดระบบงาน และบทบาทด้านธุรกิจ
    - การวางแผนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผนด้านการผลิตรายการ การวางแผนด้านบุคลากร การวางแผนด้านอุปกรณ์เทคนิค
    - ขั้นตอนการผลิตจะเริ่มจากขั้นตอนก่อนการผลิตซึ่งประกอบไปด้วยการวางแผนการทำบทโทรทัศน์ การหาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง การจัดตารางการผลิตทุกขั้นตอน การประชุมก่อนการผลิต และการซ้อม จากนั้นจึงเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตรายการ คือวันถ่ายทำ และขั้นตอนหลังการผลิต ซึ่งรวมถึงการตัดต่อ การโปรโมทและการประชาสัมพันธ์
    - การประเมินผลรายการโทรทัศน์ ถือเป็นการวิเคราะห์ขั้นสุดท้าย ผู้ชมคือผู้ตัดสินว่ารายการโทรทัศน์รายการนั้นสำเร็จหรือล้มเหลว วิธีการใช้ในการประเมินผลการตอบรับของผุ้ชมขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของรายการ ซึ่งตามปรกติรายการโทรทัศน์จะใช้การวัดผลจากบริษัทวิจัยที่เป็นกลาง โดยมีการวัดที่นิยมใช้กันคือ วัดอัตราผู้ชม วัดส่วนแบ่งผู้ชม และวัดการเข้าถึงผู้ชม

    9.3 เทคนิคและอุปรณ์ที่ใช้ในการผลิตรายการโทรทัศน์
    - ผู้ผลิตรายการจำเป็นจ้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอุปกรณ์การผลิต เข้าในวิธีการใช้งาน เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิตได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอน ทำให้ตัดสินใจได้ถูกต้องตั้งแต่เริ่มงานถ่ายทำ ตัดต่อ จนถึงบันทึกเสียง
    - อุปกรณ์ถ่ายทำที่ใช้สำหรับการทำงานแต่ละประเภทอาจแตกต่างกัน เช่น บางงานอาจต้องการเพียงกล้องเดียวในการถ่ายทำ บางงานต้องการมากกว่า 1 กล้อง ผู้ผลิตรายการต้องรู้จักเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะกับงาน รวมทั้งรู้ขีดความสามารถและข้อจำกัดของอุปกรณ์นั้นๆ
    - อุปกรณ์ตัดต่อภาพในปัจจุบัน มีทั้งระบบเทปและระบบดิจิทัล ผู้ผลิตรายการต้องรู้จักธรรมชาติของอุปกรณ์ตัดต่อแต่ละประเภท เพื่อเตรียมงานให้พร้อม และเลือกประเภทอุปกรณ์ตัดต่อให้เหมาะสมกับงาน
    - ผู้ผลิตรายการจำเป็นต้องรู้จักอุปกรณ์ในการบันทึกเสียง การผสมเสียงดนตรีและเสียงประกอบเข้ากับเสียงหลักที่ถ่ายทำมา และดำเนินการให้เป็นระบบเดียวกับสถานีที่ใช้ออกอากาศ เพื่อให้ผู้ชมได้ชมรายการที่สมบูรณ์แบบที่สุด
    **1.อุปกรณ์ภาพ กล้องโทรทัศน์ สารคดีมักใช้กล้อง 1 ตัว รายการบันเทิงเกมส์โชชว์มักใช้ 2 ตัว นอกจากนั้ยังมีขาตั้งกล้อง พีเดสทัลเป็นขาตั้งขนาใหญ่มีล้อเลื่อน และเครน
    การสั่งงานกล้อง pan-เคลื่อนกล้องในแนวตั้งจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง tilt – เคลื่อนกล้องในแนวตั้งจากล่างขึ้นบน
    Pedestal –เคลื่อนกล้องขึ้น ลงในลักษณะที่ศูนย์กลางของกล้องยังอยู่ในรดับตรง เคลื่อนที่หัวกล้อง dolly – เคลื่อนกล้องไปด้านหน้า/ถอยหลัง truck –เคลื่อนกล้องในลักษณะขนานกับสิ่งที่ถ่าย arc –การผสมกันระหว่างดอลลี่และทรัค ในลักษณะโค้ง crane – การเคลื่อนไหวกล้องผ่านฐานตัวกล้องที่มีก้านยาวออกไป
    2.อุปกรณ์เลลือกภาพ เมื่อใช้กล้อง 2 ตัวขึ้นไป 3.อุปกรณ์บันทึกภาพ 4.จอเช็คภาพ –มอนิเตอร์
    **อุปกรณ์สัยง ไมโครโฟน แบบใช้มือถือ/ใช้ขาตั้ง ไมค์บูม-ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลาและไม่ต้องการให้เห็นไมค์ ไมค์ไร้สาย shotgun เป็นไมค์ขนาดยาวจับเสียงเฉพาะจากจุดที่ไมค์ชี้ไปหาตัดเสียงรบกวนได้หมด
    อุปกรณ์ผสมเสียง
    **อุปกรณ์แสง หลอดไฟ ทังสเตนนิยมใช้ ให้แสงจ้า ทังสเตนฮาโลเจน ใช้ในสตูดิโอ หลอดไฟแบบใช้แก๊ส โคมไฟกะทัดรัด ประสิทธิภาพสูง ฟลูออเรสเซ้น โคมไฟ แบบที่ให้แสงตรงแสงนวล และอุปกรณ์ในการควบคุมแสง ทั้งที่ควบคุมทิศทางแสง สีของแสงและความเข้มแสง อุปกรณ์ยึดโคมไฟ
    **เทปบันทึกภาพ


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Mar 26, 2010 8:19 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 10 เทคโนโลยีสารสนเทศกับสื่อมวลชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:34 pm

    หน่วยที่ 10 เทคโนโลยีสารสนเทศกับสื่อมวลชน

    แนวคิด
    1.สำนักงานอัตโนมัติ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการบันทึกและแก้ไขข่าวสารด้วยรูปแบบดิจิทัล เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพ ความสะดวก รวดเร็ว และความปลอดภัยในการสื่อสารมวลชน
    2.เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยขยายความสามารถในการสืบค้นข้อมูล โดยการใช้เว็บไซต์สืบค้นข้อมูล กระดานข่าวห้องสนทนา และการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ
    3.เทคโนโลยีสารสนเทศชาวยให้การนำเสนอข่าวสารสู่ผู้รับสารมีช่องทางเพิ่มขึ้น จากที่เคยนำเสนอผ่านสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ โดยการจัดทำเว็บไซต์นำเสนอข่าวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต
    4.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำเสนอข่าวสารมีแนวโร้มจะใช้การสื่อสารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้นในอนาคต

    10.1 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพ
    - เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านความเร็ว ระยะเวลา และรูปแบบการทำงาน
    - การปฏิบัติการสื่อสารมวลชนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ด้วยระบบสำนักงานอัตโนมัติที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซอท์ฟแวร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นเครื่องมือ
    - ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้งานด้วยการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับอินเทอร์เน็ตที่มีซอฟแวร์ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ช่วยเพิ่มความเร็วและลดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสารได้เป็นประโยชน์สำหรับการทำงานสื่อสารมวลชน
    - การบันทึกและแก้ไขข่าวในรูปแบบดิจิทัล ให้ทั้งคุณภาพความสะดวก รวดเร็วและความประหยัดในการสื่อสารมวลชน

    10.2 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อขยายความสามารถในการสืบค้นข้อมูล
    - เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยมรการสืบค้นข้อมูลข่าวสาร โดยการสืบค้นจากเว็บไซต์ต่างๆทุกๆเว็บไซต์ จะมีโฮมเพจที่บ่งบอกประเภทของข้อมูลพร้อมช่องทางในการเลือกไปยังข้อมูลที่ต้องการ
    - เว็บไซต์สืบค้นข้อมูลเป็นกระดานข่าวและห้องสนทนา และการประชุมทางไกลผ่านจอภาพเป็นแนวทางที่นำมาใช้เพื่อขยายความสามารถในการสืบค้นข้อมูลข่าวสาร

    10.3 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มช่องทางการนำเสนอข่าวสาร
    - เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ข่าวสารมีช่องทางนำเสนอสู่ผู้รับเพิ่มขึ้น อีกทั้งทำให้คนทั่วไปสามารถเป็นเจ้าของช่องทางการนำเสนอข่าวสารได้ด้วยตนเอง ต่างจากสื่อมวลชนประเภทสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์
    - การจัดทำเว็บไซต์มีขั้นตอนได้แก่ การกำหนดคุณสมบัติที่พึงประสงค์ กำหนดโครงสร้างการนำเสนอสาร โครงสร้างเว็บไซต์และโฮมเพจ การสร้างและติตั้งเว็บไซต์

    10.4 อนาคตและบทสรุปการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอาชีพสื่อมวลชน
    - ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เอื้อต่อการนำเสนอข่าวสาร โดยอาจนำเสนอผ่านระบบต่างๆทั้งนี้ในอนาคตโทรศัพท์เคลื่อนที่มีแนวโน้มจะควบรวมหน้าที่ของคอมพิวเตอร์พกพา ซึ่งจะช่วยขยายขีดความสามารถในการนำเสนอข่าวสารมากยิ่งขึ้น
    - การนำเสนอข่าวสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายเป็นอีกวิธีที่สะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสื่อสารมวลชน เพราะเครือข่ายอินเทอร์เนตไร้สายสามารถให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั้งระดับเมืองและประเทศได้


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Mar 26, 2010 9:29 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 11 การใช้สื่อมวลชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:35 pm

    หน่วยที่ 11 การใช้สื่อมวลชน

    แนวคิด
    1.การใช้สื่อมวลขน เป็นการนำสื่อมวลชนมาเป็นเครื่องมือหรือเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสารในฐานะที่เป็นผู้ส่งสารและการหาข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนในฐานะเป็นผู้รับสาร
    2.องค์กรภาครัฐ ใช้สื่อมวลชนเป็นสื่อกลางในการให้ข้อมูลข่าวสาร แถลงนโยบาย ประกาศกฏระเบียบตลอดจนการเชิญชวนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สำคัญๆต่างๆของชาติ
    3.ภาคเอกชน ใช้สื่อมวลชนเป็นสื่อกลางขององค์กร นักวิชาชีพ และผู้บริโภคสื่อ โดยใช้สื่อมวลชนเป็นสื่อกลางในการให้ข้อมูลข่าวสารและความบันเทิงในรูปแบบให้เปล่า และบริการผ่านสื่อที่ตนเองเป็นเจ้าของ
    4.ภาคประชาชน ใช้สื่อมวลชนเพื่อบริการสาธารณะและการมีส่วนร่วมในการเข้าถึงและการใช้สื่อมวลชน สื่อมวลชนต้องมีอยู่เพื่อประโยชน์ของมวลสมาชิกในชุมชน ไม่ใช่เพื่อองค์กรสื่อและลูกค้าของสื่อ

    11.1 การใช้สื่อมวลชนของภาครัฐ
    - การใช้สื่อมวลชนเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร ได้แก่ การที่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆของรัฐแถลงข้อมูลและข่าวสารด้านเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา การสาธารณสุข เป็นต้น ให้ประชาชนทราบตามโอกาสที่สมควร
    - หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบด้านการศึกษาและพัฒนา จะใช้สื่อมวลชนทุกแขนงในการให้การศึกษาทั้งในและนอกระบบ รวมถึงให้การศึกษา ให้ความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
    - หน่วยงานที่ใช้สื่อมวลชนเพื่อบริการสาธารณะเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร การเตือนภัย รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การเลือกตั้ง การเสียภาษีอากร และการแสดงความสามัคคีในวาระอันควร

    11.2 การใช้สื่อมวลชนของภาคเอกชน
    - ภาคเอกชน หมายถึง องค์กรที่เป็นนิติบุคคล ได้แก่ บริษัท ห้างหุ้นส่วนที่ประกอบกิจการด้านสื่อมวลชน ใช้สื่อมวลชนเพื่อประโยชน์ขององค์กรและลูกค้าขององค์กรเป็นหลัก
    - การใช้สื่อมวลชนเพื่อความบันเทิง เป็นการนำบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนในด้านความบันเทิงมาใช้เพื่อความเพลิดเพลิน รื่นเริงบันเทิงใจของผู้รับสาร และเป็นสื่อสำหรับประชาสัมพันธ์และโฆษณาสินค้าและบริการลูกค้าของสื่อด้วย
    - องค์กรสื่อมวลชนสามารถเปิดประเด็นทางสังคม ด้านเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา วัฒนธรรม หรือประเด็นกำลังเป็นที่สนใจให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เป็นการสำรวจประชามติอีกทางหนึ่งด้วย

    11.3 การใช้สื่อมวลชนของภาคประชาชน
    - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตร 40 กำหนดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้สื่อมวลชนเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนในสัดส่วนที่คณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์กำหนด
    - การมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายถึง การที่ประชาชนได้รับการกระตุ้นจากสื่อมวลชนให้มีความปรารถนาที่จะปกครองตนเอง แล้วเริ่มสนใจการเมือง เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง
    - การใช้สื่อมวลชนเพื่อบริการสาธารณะ เป็นการเสนอข้อมูลข่าวสาร การศึกษา การพัฒนา ตลอดจนความบันเทิงในรูปแบบการให้เปล่า ไม่แสวงหากำไร แต่เน้นประโยชน์ของผู้รับสารเป็นที่ตั้ง
    - การใช้สื่อมวลชนเพื่อพัฒนาภูมิปัญญาไทย วัฒนธรรมพื้นบ้าน และความเข้มแข็งของชุมชน เป็นบทบาทหน้าที่ของชุมชนที่จะต้องช่วยกันกระทำให้เกิดขึ้น


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Mar 26, 2010 11:29 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 12 อิทธิพลและผลกระทบของสื่อมวลชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:35 pm

    หน่วยที่ 12 อิทธิพลและผลกระทบของสื่อมวลชน
    แนวคิด
    1.อิทธิพลและผลกระทบของสื่อมวลชนมีความหมายใกล้เคียงกันและมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ เมื่อสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อผู้รับสารก็ย่อมมีผลกระทบตามมาทั้งในระดับบุคคลและสังคม การศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลและผลกระทำของสื่อมวลชนมีมาเป็นเวลานานนับตั้งแต่มีสื่อมวลชนเกิดขึ้น โดยมีแนวคิดเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลและมีผลกระทบ ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีอิทธิพลของสื่อมวลชนได้แก่ คุณสมบัติของสื่อมวลชน คุณสมบัติของผู้ส่งสาร เนื้อหาของสาร และวิธีการนำเสนอ รวมทั้งตัวผู้รับสาร
    2.การศึกษาอิทธิพลของสื่อมวลชนต่อบุคคลเป็นการศึกษาเกี่ยวกับผลของสื่อมวลชนในการจูงใจบุคคลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม โดยมีข้อสันนิษฐานว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติตามมา และถ้าสามารถเปลี่ยนทัศนคติได้พฤติกรรมก็ย่อมเปลี่ยนตามไปด้วย
    3.การศึกษาผลกระทบของสื่อมวลชนจะเป็นการศึกษาถึงผลที่มีต่อสังคมส่วนรวมมากกว่าในระดับบุคคลซึ่งสื่อมวลชนจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรมทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ส่วนความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในยุคสังคมข่าวสารก็มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนในสังคมหลายด้านเช่นเดียวกัน

    12.1 แนวคิดเกี่ยวกับอิทธิพลและผลกระทบของสื่อมวลชน
    - อิทธิพลของสื่อมวลชน หมายถึง อำนาจจูงใจของสื่อมวลชนที่มาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้รับสาร อิทธิพลของสื่อมวลชนอาจเกิดขึ้นโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ได้ และอาจมีผลทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ส่วนผลกระทบ หมายถึง ผลอันเนื่องมาจากการมีอิทธิพลของสื่อมวลชนที่กระทบต่อโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม
    - การศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลและผลกระทบของสื่อมวลชนมีมาเป็นเวลานาน และมีการพัฒนาแนวคิดมาเป็นลำดับตามระยะเวลา สถานที่และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป นักวิชาการทุกยุคเชื่อว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลและผลกระทบต่อบุคคลและสังคม แต่จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆที่ต้องศึกษาร่วมกัน
    - ปัจจัยที่ส่งเสริมให้สื่อมวลชนมีอิทธิพลและผลกระทบต่อบุคคลและสังคมได้แก่ ปัจจัยด้านคุณสมบัติของสื่อมวลชน คุณสมบัติของผู้ส่งสาร เนื้อหาและเทคนิคการส่งสาร และคุณสมบัติของผู้รับสาร ปัจจัยที่มีความสำคัญและมีความละเอียดซับซ้อนมากคือปัจจัยเกี่ยวกับผู้รับสาร เพราะเป็นผู้ได้รับอิทธิพลโดยตรง จึงเป็นเรื่องที่นักวิชาการให้ความสนใจเป็นพิเศษ

    12.2 อิทธิพลของสื่อมวลชนต่อบุคคล
    - สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้รับสารในระดับสูง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคือเนื้อหาของสื่อมวลชนประเภทต่างๆ ได้แก่ เนื้อหาประเภทข้อเท็จจริง ประเภทความรู้และข้อคิดเห็น และประเภทให้การศึกษา เนื้อหาแต่ละประเภทมีอิทธิพลต่อผู้รับสารทั้งทางบวกและทางลบ
    - สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของบุคคลทั้งทางบวกและทางลบ ในระดับแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะผู้รับสาร ลักษณะทางจิตวิทยา สภาพแวดล้อม ลักษณะของปัญหาที่เกี่ยวข้อง สภาพการใช้สื่อ ตลอดจนเทคนิคที่สื่อมวลชนใช้ในการจูงใจผู้รับสาร
    - สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลทั้งทางบวกและทางลบ อิทธิพลในทางบวกคือ ทำให้พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน พฤติกรรมทางสังคม และพฤติกรรมทางการเมืองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ส่วนพฤติกรรมในทางลบที่สำคัญได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของเด็กและเยาวชน ที่เป็นผลมาจากการเปิดรับสื่อมวลชน

    12.3 ผลกระทบของสื่อมวลชนและเทคโนโลยีการสื่อสารต่อสังคมและวัฒนธรรม
    - ผลกระทบของสื่อมวลชนต่อสังคมที่สำคัญ คือผลกระทบต่อกระบวนการหล่อหลอมทางสังคม ซึ่งนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเพราะสถาบันครอบครัวที่ทำหน้าที่หลักในการสั่งสอนอบรมสมาชิกในครอบครัวปล่อยให้สื่อมวลชนทำหน้าที่แทน
    - ผลกระทบของสื่อมวลชนต่อวัฒนธรรม เป็นผลกระทบต่อแผนการดำเนินชีวิตของคนในสังคมได้แก่ วิถีชีวิต จารีตประเพณี ค่านิยม รวมถึงปทัสถานทางสังคม ผลกระทบที่สำคัญคือการถูกครอบงำจากวัฒนธรรมต่างชาติที่สื่อมวลชนเป็นผู้นำมาเผยแพร่
    - เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างมาก ทำให้ใช้ชีวิตสะดวกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดผลในทางลบ คือทำให้ความเป็นส่วนตัวถูกรบกวน เกิดความโดดเดี่ยวและการแบ่งแยกทางสังคม เกิดการท่วมท้นทางข่าวสาร และอยากหลบหนีจากโลกแห่งความเป็นจริงไปสู่โลกที่สื่อมวลชนสร้างขึ้น


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sat Mar 27, 2010 12:11 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 13 จริยธรรมและกฏหมายสื่อสารมวลชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:36 pm

    หน่วยที่ 13 จริยธรรมและกฎหมายสื่อสารมวลชน

    แนวคิด
    1.เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง สื่อมวลชนจึงมีอิทธิพลต่อการรับรู้ ความรู้ ความคิด และทัศนคติของผู้รับสาร เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนไม่ก่อผลเสียหายต่อบุคคลและสังคมส่วนรวม จึงต้องมีจริยธรรมเป็นเครื่องมือในการกำกับการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบ
    2.เครื่องมือกำกับการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนให้มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม มีความสัมพันธ์และเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม แยกได้เป็นความควบคุมโดยจริยธรรม การควบคุมโดยสังคม และการควบคุมโดยกฎหมาย
    3.การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ ขึ้นกับสภาพทางกายภาพและโครงสร้างที่แตกต่างกัน จึงแยกได้เป็นกฎหมายตามลักษณะความผิด อันได้แก่ ความผิดอันเนื่องมาจากการนำเสนอเนื้อหากฏหมายแยกตามประเภทของสื่ออันได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ อินเทอร์เนต และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่เน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนและเสรีภาพของสื่อมวลชน

    13.1 จริยธรรมและความรับผิดชอบของสื่อมวลชน
    - จริยธรรม คือ ปรัชญาหรือระบบความคิดที่เกี่ยวกับศีลธรรม ความดีงามของคนทั้งสังคม เป็นข้อกำหนดที่ควรยึดถือปฏิบัติ ขณะที่จรรยาบรรณ คือหลักจริยธรรมที่ได้ตราไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้คนในสายวิชาชีพได้ยึดถือเป็นหลักการและใช้เป็นกรอบแห่งความประพฤติ ปฏิบัติทั้งจริยธรรมและจรรยาบรรณเป็นเรื่องของความประพฤติส่วนบุคคล ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย แต่มีความสำคัญต่อวิชาชีพในฐานะเป็นเครื่องมือกำกับให้บุคคลในวิชาชีพปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ และมีความสำคัญต่อสังคมในฐานะเป็นหลักแห่งความดีงามที่ช่วยจรรโลงให้สังคมเกิดสันติสุข
    - สื่อมวลชนมีหน้าที่เสนข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็น และความบันเทิงสู่ผู้รับสาร การเสนอเนื้อหาต้องคำนึงถึงความถูกต้อง ครบถ้วน ปราศจากอคติ ดังนั้นสื่อมวลชนต้องมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ เนื่องจากการเสนอเนื้อหาใดๆอาจส่งผลกระทบต่อบุคคลและสังคมได้ ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนประกอบด้วย ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ต่อการเสนอเนื้อหา และต่อบุคคลและสังคม

    13.2 แนวความคิดและพัฒนาการในการควบคุมสื่อมวลชน
    - การควบคุมโดยจริยธรรม คือการควบคุมของกลุ่มผู้ปฏิบัติวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นการควบคุมโดยมีจรรยาบรรณเป็นเครื่องมือในการกำกับสื่อมวลชนแต่ละประเภท มีการควบคุมในระดับความเคร่งครัดที่ต่างกัน
    - การควบคุมโดยสังคม คือการควบคุมโดยประชาชน และสถาบัน องค์กรทางสังคมต่างๆทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของสื่อมวลชน โดยหากสื่อมวลชนเสนอเนื้อหาไม่ถูกต้องหรือสร้างความเสียหายใดๆสาธารณะชนสามารถควบคุมสื่อมวลชนได้หลายวิธี เช่น การเขียนจดหมาย การโทรศัพท์แสดงความคิดเห็นไปยังสื่อมวลชนนั้น การสนับสนุน หรืองดซื้อ ไม่ชมรายการ การแจ้งเรื่องร้องทุกข์ไปยังองค์กรวิชาชีพ หรือการฟ้องร้องไปยังศาลยุติธรรม
    - การควบคุมโดยกฎหมาย การควบคุมสื่อมวลชนโดยใช้มาตรการทางกฎหมายและการกำกับของหน่วยงานรัฐ ทำหน้าที่ออกกฏระเบียบเพื่อบังคับให้สื่อมวลชนต้องปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติ
    **จริยธรรมสมาคมนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย – มีความรับผิดชอบ มีเสรีภาพ ความเป็นไท จริงใจ เที่ยงธรรม มีใจเป็นนักกีฬา มีมรรยาท กรรมการสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติมีได้ทั้งหมด 21 คน ซึ่งสามารถใช้อำนาจดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ แจ้งเป็นหนังสือให้หนังสือพิมพ์ฉบับที่ถูกร้องเรียน ลงตีพิมพ์คำวินิจฉัยอันเป็นที่สิ้นสุดของคณะกรรมการในตำแหน่งและขนาดตัวอักษรที่เห็นได้ชัดเจนภายใน 7 วัน ในกรณีที่เห็นว่าละเมิดถึงขั้นร้ายแรงสามารถแจ้งเป็นหนังสือให้หนังสือพิมพ์ดังกล่าวบรรเทาความเสียหายด้วยการตีพิมพ์ข้อความคำขอโทษต่อผู้เสียหาย
    **สื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
    หมวดทั่วไป เป็นการให้ความหมายของคำต่างๆ
    หมวดจรรยาบรรณในการเสนอข่าว ไม่เสนอข่าวที่รู้แก่ใจว่าเป็นเท็จ ไม่เสนอข่าวและภาพซึ่งทำให้ประชาชนเสียขวัญ ไม่เสนอข่าว ภาพลามกอนาจาร ไม่เสนอข่าวลือและภาพไร้สาระชวนให้หลงเชื่องมงาย ไม่เสนอข่าวลือและภาพไร้สาระ ไม่สอดแทรกความคิดเห็นใดๆของตนเองลงไปในข่าว ในกรณีคัดลอกข้อความจากหนังสือพิมพ์หรือหนังสืออื่นต้องแจ้งให้ทราบแหล่งที่มาของข้อความนั้นๆ ภาษาที่ใช้และการบรรยายภาพต้องสุภาพ ไม่กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี ไม่เสนอข่าวและภาพในการโฆษณาตนเอง ไม่เสนอภาพ ข่าวที่ขัดกับสาธารณะประโยชน์ของประชาชนและสังคมในประเทศชาติ ไม่เสนอข่าว ภาพ ซ้ำเติม ระบายสี ใส่ไข่บุคคลองค์กร สถาบันที่ตกเป็นข่าว ไม่เสนอข่าวดูหมิ่นเหยียดหยามลัทธิศาสนาความเชื่อใดๆ พึงให้ความเคารพต่อสิทธิของบุคคล องค์กรและสถาบันอื่น พึงรับผิดและแก้ไขโดยเปิดเผยในการเสนอข่าวผิดพลาด พึงละเว้นการรับอามิส สินจ้างใดๆ
    หมวดการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ พึงแสดงความคิดเห็นด้วยความสำนึก รับผิดชอบต่อชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ อยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย งดแสดงความคิดเห็นอันเป็นการส่อไปในทางมีอคติในทางใดทางหนึ่ง เค้ารพความคิดเห็นผู้อื่น แสดงความเห็นด้วยความสุภาพ ฯลฯ
    หมวดในการประกาศโฆษณา และหมวดความประพฤติ
    **การควบคุมโดยประชาชน – การแสดงความคิดเห็นไปยังสื่อมวลชน ให้หรืองดการสนับสนุน การร้องเรียนเพื่อความธรรม การฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม
    **การจัดประเภทภาพยนตร์ของอังกฤษ โดยคณะกรรมการตรวจสอบภาพยนตร์แห่งอังกฤษ (BBFC)
    Uc –สำหรับประชาชนทั่วไปและเหมาะสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
    U- สำหรับประชาชนทั่วไป
    PG- เหมาะสำหรับผู้ชมทุกวัย แต่อาจมีบางฉากไม่เหมาะสำหรับเด็กผู้ปกครองควรแนะนำขณะดูด้วย
    12A- เหมาะสำหรับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ส่วนเด็กต่ำกว่า12 ต้องมีผู้ใหญ่ดูด้วย
    12- สำหรับเด็กอายุ12ขึ้นไป
    15-สำหรับเด็กอายุ15ขึ้นไป
    18-สำหรับเด็กอายุ18ขึ้นไป
    R18- สำหรับเด็กอายุ18ขึ้นไป และจำกัดการฉายเฉพาะโรงที่ได้รับอนุญาต
    **การจัดประเภทภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกา โดย สมาคมภาพยนตร์แห่งอเมริกา MPAA
    G- เหมาะสำหรับประชาชนทั่วไป ดูได้ทุกวัย
    PG- เหมาะสำหรับประชาชนทั่วไป ดูได้ทุกวัย แต่มีเนื้อหาบางส่วนไม่เหมาะกับเด็กเล็ก ควรที่ผู้ปกครองจะให้คำแนะนำขณะดูด้วย
    PG-13- เนื้อหาไม่เหมาะ กับ เด็กอายุต่ำกว่า 13 ผู้ปกครองควรระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยให้คำชี้แนะก่อนอนุญาตให้เด็กดู
    R- ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า17ดู ยกเว้นมีผู้ปกครองดูด้วย
    NC-17 –ห้ามเด็กต่ำกว่า 17 ดูเด็ดขาด

    13.3 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชน
    - การเสนอเนื้อหาของสื่อมวลชนต้องระมัดระวังมิให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งอาจ ทำให้ถูกฟ้องร้องตามประมวลกฏหมายอาญาและกฎหมายอื่นๆที่ว่าด้วยลักษณะความผิดได้ เช่น ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความผิดเกี่ยวกับศาสนา ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดฐานดูหมิ่น ความผิดฐานละเมิด และความผิดฐานกฎหมายอื่นๆ
    - กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนแบ่งได้ตามประเภทของสื่อมวลชนที่สำคัญคือ พระราชบัญญํติการพิมพ์ พ.ศ.2484 พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2498 พระราชบัญญัติภาพยนตร์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2479 รวมถึงระเบียบปฏิบัติต่างๆที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการควบคุมดูแลและตรวจสอบการเสนอเนื้อหาของสื่อมวลชนแต่ละประเภท
    - กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ได้แก่ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544
    **ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ต้องระวางจำคุกไม่เกิน 7 ปี (มาตรา 116) กระทำเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฏหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน
    **ความผิดเกี่ยวกับศาสนา ต้องระวางจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 7 ปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึง 14,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 206)
    **ความผิดฐานหมิ่นประมาท
    -ฐานหมิ่นประมาทหรือแสงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์ พระมหากษํตริย์ ราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หากมีการล่วงละเมิดจะต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง5ปี (มาตรา112)
    -ฐานหมิ่นประมาทหรือแสงความอาฆาตมาดร้ายต่อราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางจำคุก1-7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2000 – 14000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(มาตรา133)
    -ฐานหมิ่นประมาทหรือแสงความอาฆาตมาดร้ายต่อผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้มาสู่ราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน – 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 2000 – 14000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(มาตรา134)
    -ฐานหมิ่นประมาทหรือแสงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระสังฆราช ตาม พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(มาตรา44ทวิ)
    -ฐานหมิ่นประมาทผู้อื่น - บุคคลที่3 ต้องระวางจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ(มาตรา326) กระทำโดยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2ปี และปรับไม่เกิน 2แสนบาท (มาตรา328)
    หากผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทสามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษแต่จะห้ามพิสูจน์ ถ้าข้อหานั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์นั้นไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน (มาตรา330)
    ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดที่ยอมความกันได้ ถ้าตกลงกันได้ จะถอนฟ้องหรือยอมความกันในเวลาก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ อายุความ หากผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันรู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้วถือเป็นอันขาดอายุความ(มาตรา96)
    **ความผิดฐานดูหมิ่น ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ(มาตรา136) ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา จำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี ปรับตั้งแต่ 2พัน – 14000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา198)
    **ความผิดฐานละเมิด ผู้ใดละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียง ผู้นั้นต้องจ่ายสินไหมทดแทนความเสียหายอันเกิดแต่การนั้น(มาตรา423) สื่อมวลชนหรือบุคคลใดละเมิดสิทธิ์ผู้อื่นผู้กระทำความผิดมีหน้าที่ต้องชำระ โดยคำสั่งศาลตามสมควร(มาตรา447)
    ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล สื่อมวลชนต้องศึกษาประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้แก่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 32 ดังนี้ หากสื่อมวลชนเผยแพร่ข้อความหรือความเห็นอันเป็นการเปิดเผยข้อเท็จจริงหรือพฤติกรรมอื่นๆแห่งคดี หากศาลได้มีคำสั่งห้ามออกโฆษณาโดยชัดแจ้ง ถือว่าได้กระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล หากสื่อมวลชนได้เผยแพร่ข้อความหรือความเห็นในระหว่างการพิจารณาคดีไปจนมีคำพิพากษาเป็นที่สุด ซึ่งพอเห็นได้ว่าจะทำให้การพิจารณาคดีเสียความยุติธรรมไปถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Mar 30, 2010 10:11 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 14 การวิจัยเชิงสำรวจและการประเมินผลสื่อมวลชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:37 pm

    หน่วยที่ 14 การวิจัยเชิงสำรวจและการประเมินผลสื่อมวลชน

    แนวคิด
    1.การวิจัยเป็นวิธีการที่มนุษย์ใช้เพื่อแสวงหาความรู้ต่างๆไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาใดๆเพื่อแสวงหาคำตอบ ที่จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่ต้องการจะศึกษาอย่างถูกต้องปราศจากอคติ การวิจัยต้องดำเนินไปด้วยวิธีการที่เป็นระบบ สามารถตรวจสอบความจริงได้ เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ และนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
    2.ในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสาร มักศึกษาตามองค์ประกอบหลักของการสื่อสาร 4 องค์ประกอบใหญ่ๆด้วยกันได้แก่ การศึกษาแหล่งสารหรือผู้ส่งสาร การวิเคราะห์เนื้อหาของสาร การวิเคราะห์ช่องทางของสารหรือสื่อ และการวิเคราะห์ผู้รับสาร
    3.การประเมินผล คือการวิจัยทางสังคมศาสตร์แบบหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อตัดสินคุณค่าของแผนปฏิบัติงานด้านสังคม ผู้ประเมินจะใช้วิธีการวิจัยเพื่อพิจารณาดูคุณค่าและมองหาทางปรับปรุงวิธีการกำหนดนโยบายและวิธีการปฏิบัติงานตั้งแต่เริ่มต้นคิด ออกแบบแผนงาน ไปจนถึงการพัฒนาความคิดและลงมือปฏิบัติงาน
    4.การประเมินผลอาจทำโดยใช้แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ และแหล่งข้อมูลตติยภูมิ

    14.1 แนวคิดเกี่ยวกับการวิจัย
    - การวิจัยเป็นวิธีการที่มนุษย์ใช้แสวงหาคำตอบที่จะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่ต้องการจะศึกษาอย่างถูกต้อง ปราศจากอคติโดยมีวิธีการอย่างมีระบบสามารถตรวจสอบความจริงได้ การวิจัยที่ดีต้องดำเนินไปอย่างมีขั้นตอน แต่ละขั้นตอนจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันเป็นระบบขั้นตอนดังกล่าว ได้แก่ ขั้นตอนการแสวงหาแนวคิด ขั้นตอนการแสวงหาทางปฏิบัติ และขั้นตอนการแสวงหาแนวทางเป็นสากล
    - การสุ่มตัวอย่างเป็นวิธีการเก็บข้อมูลจากบางหน่วยของกลุ่มที่ต้องการศึกษามาวิเคราะห์ เมื่อประชากรที่ต้องการศึกษาอาจมีจำนวนมาก ด้วยวิธีการที่มีความเหมาะสม ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างสามารถนำมาใช้ประมาณค่าทางสถิติของกลุ่มประชากรได้ เพื่อประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณในการทำวิจัย วิธีการในการสุ่มตัวอย่างขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล การสุ่มตัวอย่างที่ไม่อาศัยความน่าจะเป็นเป็นการสุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยไม่ทราบโอกาสที่แต่ละหน่วยจะถูกเลือกขึ้นมาเป็นตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างที่อาศัยความน่าจะเป็น ใช้ในกรณีที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประชากรว่ามีจำนวนเท่าใดและเป็นใครบ้าง และโอกาสของการถูกเลือกมาเป็นตัวอย่างของแต่ละหน่วยจะเป็นเท่าใด
    - เครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้การวัดมีความแน่นอน สามารถเก็บข้อมูลที่ต้องการจริงและคำตอบที่ได้รับจากทุกหน่วยที่ศึกษาเป็นเรื่องเดียวกันเรียกว่ามีความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด
    - ข้อมูลที่ใช้ในการทำวิจัยเก็บรวบรวมมาได้จากหลายแหล่งที่นิยมมากที่สุดคือ การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและการเก็บข้องมูลจากแหล่งทุติยภูมิ
    - การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็นการประมวลผลข้อมูลเชิงคุณภาพและการประมวลผลข้อมูลเชิงปริมาณ
    **แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ – สัมพาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่มย่อย การสำรวจ การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงทดลอง
    แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ - การวิจัยเอกสาร ใช้ข้อมูลจากหน่วยงานภายนอก
    แหล่งข้อมูลตติยภูมิ – ได้มาจากความเห็นของบุคคลที่ 3 ที่มีประสบการณ์ในเรื่องต่างๆ

    14.2 การวิจัยสื่อสารมวลชน
    - การศึกษาเกี่ยวกับผู้สื่อสารมักครอบคลุมถึงประเด็นอิทธิพลของตัวบุคคลที่ผู้สื่อสารใช้เป็นผู้รับรองความถูกต้องของสารตามทฤฎีความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว หรือในการใช้เป็นกลยุทธ์ในการโฆษณาสินค้า คือการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงเป็นผู้รับรองคุณภาพสินค้า การศึกษาวิจัยมักจะพยายามตอบคำถามว่าองค์กรที่ทำหน้าที่สื่อสารทำงานอะไรบ้าง และมีประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลอย่างไร
    - การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นการศึกษาเพื่อที่จะชี้ได้ว่าผู้สื่อสารมีความตั้งใจนำเสนอเนื้อหาที่เน้นหนักไปในเรื่องใดบ้าง
    - สื่อมีบทบาทสำคัญและมีอิทธิพลช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิผลได้ดีขึ้น หรือเป็นอุปสรรคที่ทำให้การสื่อความหมายด้อยประสิทธิภาพ ช่องทางการสื่อสารปัจจุบันมีลักษณะหลากหลาย เมื่อได้นำมาใช้ในการส่งข้อมูลข่าวสารออกไปก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่ามีผลช่วยให้การสื่อความหมายด้านเนื้อหาและอารมณ์ดีขึ้นอย่างไร
    - ผู้รับสาร เป็นองค์ประกอบของกระบวนการสื่อสารที่สำคัญเป็นอย่างมาก ผู้รับสารคือเป้าหมายของการสื่อสารการวัดผลสัมฤทธิ์ของการสื่อสารแต่ละครั้งนั้นต้องวัดจากผู้รับสารเท่านั้น กาวิจัยเกี่ยวกับผู้รับสารนอกจากจะได้มีการศึกษาเพื่อนำผลที่ได้มาพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารแล้ว การวิจัยผู้รับสารยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการตลาดได้มากมาย การวิเคราะห์ผู้รับสารนิยมทำตามกรอบทฤษฎีประชากรและการวิเคราะห์โดยใช้กรอบทฤษฎีอื่นๆเช่น ทฤษฎีทางสังคม วัฒนธรรม และจิตวิทยา

    4.3 การประเมินผลสื่อมวลชน
    - การประเมินผล คือการวิจัยทางสังคมศาสตร์แบบหนึ่งที่จัดทำขึ้นเพื่อตัดสินคุณค่าของแผนปฏิบัติงานด้านสังคม ผู้ประเมินจะใช้วิธีการวิจัยเพื่อพิจารณาดูคุณค่าและมองหาทางปรับปรุงวิธีการกำหนดนโยบายและวิธีการปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นคิด ออกแบบแผนงาน ไปจนถึงพัฒนาความคิดและลงมือปฏิบัติงาน ลักษณะของการวิจัยเพื่อประเมินผลแบ่งออกเป็น 3แบบด้วยกันคือ กาวิเคราะห์นโยบายและการวางแผน การติดตามผลการปฏิบัติงานตามแผน และการประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตามแผน
    - การประเมินผลประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้คือการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของแผนงาน การกำหนดขอบเขตและเป้าหมายของการประเมิน การสร้างตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผล และกำหนดวิธีการประเมินผล
    - วิธีการประเมินผลสื่อมวลชนแบ่งออกเป็นการประเมินโดยใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยใช้แหล่งข้อมูลปฐมภูมิที่มีความน่าเชื่อถือได้สูง แหล่งข้อมูลทุติยภูมิหรือแหล่งข้อมูลตติยภูมิ และอาจเป็นการประเมินโดยผู้ปฏิบัติงานเอง การประเมินโดยหน่วยงานภายในที่ทำหน้าที่ด้านการประเมินผล หรือการประเมินผลภายนอกหน่วยงาน

    14.4 เทคนิคการเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินผลสื่อมวลชน
    - การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิสามารถทำได้โดย การสังเกต การสัมพาษณ์เจาะลึก การประชุมกลุ่มย่อย และการสำรวจ
    - การเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิประกอบด้วย การเก็บข้อมูลเอกสารภายในที่มีอยู่แล้วหรือการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลภายนอก ผู้ประเมินสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แม้จะไม่ใช่คำจอบโดยตรงสำหรับการประเมินผล แต่ข้อมูลบางเรื่องสามารถนำมาใช้ประกอบการประเมินผลได้
    - แหล่งข้อมูลตติบภูมิเป็นแหล่งข้อมูลที่ได้จากการให้ความเห็นของบุคคลที่สาม เป็นการแสดงความคิดเห็นตามประสบการณ์ ความรู้ที่มีอยู่หรือจากที่ได้รับทราบมา การใช้ข้อมูลในระดับนี้แม้ความน่าเชื่อถือจะน้อยกว่าแหล่งข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ แต่ก็เป็นวิธีการที่มีผู้นิยมใช้ในกรณีที่แหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิไม่สามารถให้ได้


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Mar 26, 2010 8:57 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty หน่วยที่ 15 การรู้เท่าทันสื่อมวลชน

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:38 pm

    หน่วยที่ 15 การรู้เท่าทันสื่อ
    แนวคิด
    1.การรู้เท่าทันสื่อมวลชน เป็นองค์ความรู้ที่เกิขึ้นในสังคมตะวันตก โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอีกหลายประเทศในทวีปยุโรป ตั้งแต่ ค.ศ.1970 เป็นต้นมา โดยเป็นองค์ความรู้ที่มีการศึกษาทั้งในฐานะที่เป็นเรื่องทางวิชาการ และเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยทั่วไป
    2.ภาวะการรู้เท่าทันสื่อมวลชนในบุคคลเกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ และการพัฒนาของบุคคลในระดับต่างๆได้แก่ระดับความรู้ ความเข้าใจ ระดับอารมณ์ ระดับจริยธรรม และระดับสุนทรียศาสตร์
    3.ทักษะการรู้เท่าทันในบุคคลมีการพัฒนาไปตามชาวงวัย และสามารถได้รับการฝึกฝนให้เป็นไปตามทิศทางที่เหมาะสมได้
    4.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรู่เท่าทันสื่อมวลชนที่ผู้บริโภคสื่อควรตระหนักรู้ ได้แก่ โครงสร้างและระบบองค์กรสื่อมวลชน การสร้างความหมายและการนำเสนอของสื่อมวลชน การรับรู้และกาตีความหมายสารของสื่อมวลชน และผลของสื่อมวลชนในลักษณะต่างๆ
    5.แนวทางการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อมวลชน นอกจากจะทำได้ด้วยการพัฒนาตนเองอย่างเป็นขั้นตอนและยังสามารถทำได้ด้วยการสอดแทรกองค์ความรู้ด้านการรู้เท่าทันสื่อมวลชนไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับต่างๆ และส่งเสริมให้องค์กรทางสังคมที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีบทบาทในการตรวจสอบการทำงานของสื่อมวลชน เพื่อความเป็นธรรมของบริโภคอย่างต่อเนื่อง

    15.1แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อมวลชน
    - การรู้เท่าทันสื่อมวลชนมีความหมายแตกต่างกันไปตามมุมมองของแต่ละคน โดยสามารถจำแนกออกได้เป็น ความหมายในเชิงวิชาการและความหมายในเชิงผู้บริโภค ทั้งนี้เนื่องจากการรู้เท่าทันสื่อมวลชนเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประชาชนทั่วไปในฐานะที่เป็นผู้บริโภคสื่อ อีกทั้งยังเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่นักวิชาการด้านการศึกษาและการสื่อสารมวลชนได้ให้ความสำคัญเป็นอันมาก
    - การรู้เท่าทันสื่อมวลชนมี 4 ระดับ ได้แก่ ระดับความรู้ ความเข้าใจ ระดับอารมณ์ ระดับจริยธรรม และระดับสุนทรียศาสตร์
    - ทักษาะการรู้เท่าทันสื่อมวลชน หมายถึง ความสามารถในการทำความเข้าใจกับสิ่งที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชนในลักษณะต่างๆประกอบด้วย ทักษะการรู้เท่าทันสื่อมวลชนขั้นพื้นฐาน และทักษะการรู้เท่าทันสื่อมวลชนขั้นสูง
    **ทักษะการรู้เท่าทันสื่อขั้นพื้นฐาน – การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน การเล่าเรื่อง การตั้งคำถาม
    **ทักษะการรู้เท่าทันสื่อขั้นสูง – แสวงหาข้อมูลจากสื่อหลากหลาย ตระหนักในคุณค่าของการวิพากษ์วิจารณ์ รับผิดชอบทางสังคม

    15.2 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรู้เท่าทันสิ่อมวลชน
    - การเข้าใจโครงสร้างและระบบองค์กรสื่อสารมวลชน เป็นความเข้าใจพื้นฐานอันจะนำไปสู่ภาวการณ์รู้เท่าทันสื่อมวลชนของผู้บริโภคสื่อ ความเข้าใจพื้นฐานดังกล่าวประกอบด้วย ความเข้าใจใน 3 ประเด็นหลักคือ การเป็นเจ้าของและการควบคุม แหล่งงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของสื่อ และการผูกขาดการเป็นเจ้าของ
    - ผู้บริโภคสื่อจำเป็นต้องตระหนักว่าสิ่งที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชนเป็นการสร้าง และนำเสนอ ที่ผ่านกระบวนการกำหนดและคัดกรองมาแล้วเป็นอย่างดี เพื่อให้สิ่งที่นำเสนอนั้นเป็นไปตามวัตถุปรสงค์ที่ผู้ผลิตได้กำหนดเอาไว้
    - การตระหนักรู้ในผลของสื่อมวลชนในลักษณะต่างๆจะทำให้ผู้บริโภคสื่อสามารถเปิดรับสื่อได้ด้วยความระมัดระวัง ผลที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองทั้งทางอารมณ์ ทางกายภาพ ทางความรู้ ความเข้าใจ ทางทัศนคติ และทางพฤติกรรม

    15.3แนวทางการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อมวลชน
    - การรู้เท่าทันสื่อมวลชน เป็นทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ ซึ่งสามารถพัฒนาได้ตามช่วงวัย และการฝึกฝนของบุคคล
    - สถาบันการศึกษาและองค์กรทางสังคม เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการเสริมสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อมวลชนให้เกิดแก่เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป ด้วยการสอดแทรกหลักสูตรด้านสื่อมวลชนศึกษาเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอนระดับต่างๆและเป็นตัวแทนตรวจสอบการทำงานของสื่อมวลชนว่าเป็นไปด้วยความชอบธรรมต่อผุ้บริโภคหรือไม่ อย่างไร


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Mon Mar 22, 2010 5:21 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน หน่วยที่ 1-8

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:39 pm

    1.สื่อมวลชนหมายถึง สื่อที่ใช่ส่งสาร
    2.ประเภทของสื่อแบ่งตามลักษณะการรับรู้ของมนุษย์ได้เป็น 2 ประเภท คือ สื่อเสียงและสื่อภาพ
    3.ลักษณะสำคัญของหนังสือพิมพ์ คือ ใช้เครื่องจักรกลในการผลิต เข้าถึงผู้คน มิได้จัดทำขึ้นเพื่อคนสองสามคน มีเนื้อหาหลากหลาย ตอบสนองต่อความสนใจของสาธารณชน มีการพิมพ์เป็นประจำ สม่ำเสมอ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในลักษณะเป็นองค์กร
    4.เมื่อเปรียบเทียบกับวิทยุความสามารถในการทบทวนคือจุดเด่นของหนังสือพิมพ์
    5.นิตยสาร ผู้บริโภคสามารถเลือกได้ มีความยืดหยุ่นสูง สามารถผลิตได้อย่างเข้มข้น ออกแบบเพื่อตอบสนองลูกค้าได้ คงทนกว่าหนังสือพิมพ์
    6.ความบันเทิงเป็นเนื้อหาหลักในการนำเสนอผ่านสื่อภาพยนตร์
    7.วิทยุกระจายเสียงมีวิธีการสื่อสารสู่ผู้ฟังด้วยเสียงพูด คนตรี เสียงประกอบ
    8.โทรทัศน์มีจุดด้อยคือไม่สะดวกในการพกพา
    9.ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลคือ เข้ารหัสสารในรูปรหัสตัวเลขฐานสอง
    10.ลักษณะผู้ส่งสารสู่มวลชนผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตแตกต่างจากผู้ส่งสารสู่มวลชนผ่านสื่อดั้งเดิมคือเป็นการขยายศักยภาพของคนคนเดียวให้กลายเป็นผู้ส่งสารสู่มวลชนได้
    11.การแบ่งประเภทสื่อตามลักษณะการรับรู้ของมนุษย์คือสื่อเสียงและสื่อภาพ
    12.สื่อโทรทัศน์เด่นในเรื่องความสามารถในการโน้มน้าวใจ
    หน่วยที่ 2
    1.ทฤษฎีสื่อมวลชนของประชาชน - ระบบสื่อมวลชนที่เน้นสื่อมวลชนตอบสนองความต้องการของประชาชน ชุมชน รวมทั้งคนกลุ่มน้อยในด้านการรับรู้ และสิทธิการสื่อสาร
    2.ระบบสื่อสารมวลชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจผสม มีลักษณะ การดำเนินการโดยรัฐและเอกชน มีการโฆษณาประชาสัมำพันธ์
    3.การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอันส่งผลต่อระบบสื่อมวลชนเกือบทุกประเทศ เช่น สเปน ญี่ปุ่น ไนจีเรีย อินโดนีเซีย ยกเว้น รัสเซีย
    4.แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม การเมืองระบบประชาธิปไตย ระบบเศรษฐกิจนิยมล้วนเป็นแนวคิดของระบบสื่อสารมวลชนไทย
    5.สื่อมวลชนที่ชุมชนเป็นเจ้าของ – สื่อมวลชนตามแนวคิดประชาธิปไตย เพื่อประชาชน โดยประชาชน ของประชาชน
    6.หน้าที่พื้นฐานของสื่อมวลชน คือการให้ข่าว การให้ความคิดเห็น การให้การศึกษา และการให้ความบันเทิง
    7.หน้าที่ของสื่อมวลชนตามบริบทของสังคมในระดับสังคมคือการบริการสาธารณะ
    8.สื่อมวลชนช่วยสร้างความใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลกับประชาชนคือบทบาทการำพัฒนาประเทศด้านการเมือง
    9.บทบาทของสื่อมวลชนในการขัดเกลาทางสังคม ได้แก่ สร้างค่านิยมและทัศนคติให้กับสมาชิกในสังคม สอนวิธีการใช้ชีวิตให้กับสมาชิกในสังคม กำหนดบรรทัดฐานของสมาชิกในสังคม สอนบทบาทให้กับสมาชิกในสังคม
    10.บทบาทของสื่อมวลชนในการสร้างประชามติ คือการนำเสนอเรื่องราวข่าวสารจากรัฐไปสู่ประชาชน การจัดเนื้อหาสาระ เป็นเวทีกลางในการแสดงความคิดเห็น นำความคิดเห็นของประชาชนมาสู่รัฐบาล สถาบัน องค์กรและสังคม
    11.สื่อมวลชนตามแนวคิดเศรษฐกิจสังคมนิยม มีลักษณะรัฐเป็นเจ้าของไม่มีการแข่งขัน แบบคอมมิวนิสต์ ไม่มีการแข่งขัน พรรคคอมมิวนิสต์เป็นผู้นำกลไกการทำงาน และดำเนินการ ทุนนิยม เอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ ใช้กลไกราคาและระบบตลาด เอกชนดำเนินการ แข่งขันเสรีมีโฆษณา แบบผสม ดำเนินการโดยรัฐและเอกชน ใช้กลไกราคาและระบบการตลาด แข่งขันเสรีมีโฆษณา
    12.การเปลี่ยนแปลงทางสังคม อันส่งผลต่อระบบสื่อมวลชนเกิดจากปัจจัยทางชีววิทยา วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และเทคโนโลยี
    13.สถานีวิทยุกองทัพบกช่อง 5 เป็นระบบสื่อมวลชนแบบผสมผสาน (อนุสาร อ.ส.ท. นสพ.มติชน บ.ไฟว์สตาร์ฯ ช่อง 11 ไม่ใช่)
    14.หน้าที่ของสื่อมวลชนตามบริบททางสังคมในระดับปัจเจกบุคคล คือ การโน้มน้าวจูงใจ
    15.สื่อมวลชนมีบทบาทในการพัฒนาประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ เป็นผู้เชื่อมโยงองค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับประชาชนทั่วไป สร้างและหล่อหลอมทัศนคติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปลูกฝังความสนใจ และ กระตุ้นเร้าความสนใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    หน่วยที่ 3
    1.ขอบข่ายของการศึกษาสังคมวิทยา – การนำเสนอประเด็นต่อสาธารณะ
    2.การศึกษาสังคมศาสตร์ครอบคลุมศาสตร์หลายด้าน เช่น สังคมวิทยา รัฐศาสตร์ นิเทศศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ยกเว้นเศรษฐศาสตร์
    3.การครอบงำทางวัฒนธรรมบ่งบอกความสัมพันธ์ เชิงอำนาจในการสื่อสารในลักษณะที่ประเทศเล็กมองโลก รับรู้เรื่องราวและตีความหมายวัฒนธรรมตะวันตกที่เป็นกระแสหลัก
    4.การทำงานของนักนิเทศศาสตร์คล้ายนักวิจัยตรงที่ใช้การสังเคราะห์ทฤษฎีการสื่อสาร
    5.กรอบแนวคิดตามองค์ความรู้ในเชิงสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา องค์กรภาคการตลาดมีจุดแข็งที่เน้นการกระจายอำนาจ
    6.การเข้าใจสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามีความสำคัญในการเพิ่มทักษะในการค้นคว้าข้อมูลของนักนิเทศศาสตร์
    7.การศึกษาโครงสร้างระบบการสื่อสารในสังคมแนวสังคมศาสตร์กล่าวว่า สื่อมวลชนเป็นผู้ประสานในส่วนต่างๆให้สังคมช่วยกันแก้ปัญหา
    8.การตั้งปัญหาเพื่อการสืบค้นเริ่มต้นจากความสงสัย
    9.อุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง การปกป้องทางวัฒนธรรมแบบแสดงปฏิกิริยา
    10.การสื่อสารด้วยคติความเชื่อทางวัฒนธรรมให้รับรู้เสมือนว่าเป็นธรรมชาติ คือ มายาคติ
    11.ตระกูลภาษาที่ใช้กันมากทางเอเชียตอนใต้คือ ซิโน-ธิเบตาน
    12.รูปแบบการเขียนในยุคแรกก่อนมนุษย์จะมีภาษาเขียนคืออักษรภาพ/อักษรรูปลิ่ม
    13.หนังสือบัญชีรายชื่อผู้ตายเป็นหนังสือเล่มแรกของโลกเป็นของชนชาติอียิปต์
    14.รัชกาลที่ 4 ทรงจัดตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังชื่อว่าโรงอักษรพิมพการ
    15.หนังสือขนาดเล็กที่เขียนด้วยลายมือจัดทำโดยบริษัทเอกชนเพื่อแจกจ่ายให้แก่ลูกจ้างและลูกค้ารายสำคัญๆเป็นครั้งคราวในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เรียกว่าคูแรนโต
    16.ผุ้จัดทำหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของไทยคือหมอบรัดเลย์
    17.Publick Occurrences เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสหรัฐอเมริกา
    18.หนังสือที่ได้รับการยอมรับว่าพิมพ์ลายอักษรไทยเล่มแรก คือ ตำราไวยากรณ์ ไทยของร้อยเอกเจมส์ โลว์
    19.พระบิดาแห่งการพิมพ์ไทยคือรัชกาลที่ 4 พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    20.the review เป็นนิตยสารเล่มแรกของอังกฤษ
    หน่วยที่ 4
    1.ประเภทของหนังสือพิมพ์ที่จำแนกตามระยะเวลาการจำหน่ายคือ หนังสือพิมพ์กรอบเช้า กรอบบ่าย รายวัน และไม่ใช่รายวัน
    2.ลักษณะเด่นของนิตยสารที่แตกต่างจากหนังสือพิมพ์คือมีปกหนากว่าหน้าใน
    3.ปัจจัยที่ควรคำนึงในการกำหนดนโยบายองค์กรหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ได้แก่ ผู้อ่าน โฆษณา กฎหมาย เจ้าของ/นายทุน
    4.ศูนย์ข้อมูล มีหน้าที่หลักคือ สนับสนุนข้อมูลให้บรรณาธิการและผู้สื่อข่าว
    5.บทบาทของฐานันดรที่ 4 หรือการทำหน้าที่สุนัขเฝ้าบ้าน จัดเป็นเป้าหมายขององค์กรหนังสือพิมพ์และนิตยสารในด้านการแสดงบทบาทในฐานะสื่อมวลชน
    6.บรรณาธิการต่างจากบทความคือ เป็นการแสดงจุดยืนของกองบรรณาธิการผ่านข้อเขียน
    7.จุดประสงค์ของการออกแบบจัดหน้าหนังสือพิมพ์และนิตยสารคือ เพื่อความสวยงาม สบายตา อ่านง่าย ลำดับความสำคัญของเรื่อง และเพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้หนังสือพิมพ์และนิตยสาร
    8.รีไรท์เตอร์ – ทำหน้าที่เรียนเรียงข่าวให้เป็นรูปแบบที่สอดคล้องกับบุคลิกลักษณะของหนังสือพิมพ์และนิตยสาร
    9.หนังสือพิมพ์และนิตยสารปัจจุบันนิยมใช้ระบบการพิมพ์พื้นราบมากที่สุด
    10.ช่องทางการขายของหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่องค์กรจะทราบจำนวนผู้อ่านที่เป็นลูกค้าแน่นอนคือระบบสมาชิก
    11.ประเภทของหนังสือพิมพ์จำแนกตามขนาดแบ่งเป็นแบบแผ่นใหญ่(บรอทชีท) แผ่นเล็ก แทบลอยด์
    12.ลักษณะเด่นของหนังสือพิมพ์และนิตยสารคำนึงถึงความสนใจของผู้อ่าน
    13.ศูนย์ข้อมูล – การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบเพื่อนำมาใช้งาน
    14.บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ต่างจากบรรณาธิการนิตยสารคือเน้นเนื้อหาข่าวสารสถานการณ์ปัจจุบันมากกว่า
    15.หัวหน้าข่าว – ทำหน้าที่มอบหมายและติดตามงานข่าวและรายงานพิเศษต่างๆจากผู้สื่อข่าวที่แบ่งตามแผนกต่างๆ
    หน่วยที่ 5
    1.นักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ค้นพบหลักการของกล้องออบสคูรา คือ อริสโตเติ้ล
    2.บุคคลแรกที่ถ่ายภาพได้สำเร็จคือโจเซฟ นียฟฟอร์เนียฟ ชาวฝรั่งเศส
    3.กษัตริย์ที่ทรงฉายพระรูปและส่งพระบรมฉายาลักษณ์ไปยังผู้นำในต่างประเทศเพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีคือรัชกาลที่ 4 (สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
    4.การประกวดภาพถ่ายภาพครั้งแรกเกิดขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 5 พ.ศ.2448
    5.คิโนโตสโคป คือกล้องและเครื่องฉายภาพยนตร์เครื่องแรกของโลกประดิษฐ์โดยเอดิสันและดิกสัน
    6.ภาพยนตร์ในยุคแรกของเอดิสันและลูมิแอร์ผลิตด้วยฟิล์มขนาด 35 มม.
    7.ภาพยนตร์ที่ถือว่าเป็นมาตรฐานในวงการศึกษา คือ 16 ม.ม.(แก้ปัญหาอุตสาหกรรมภาพยนตร์)
    8.ประเทศอินเดียผลิตภาพยนตร์ได้มากที่สุดในโลก
    9.คุโรซาว่า ชาวญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงด้านการกำกับภาพยนตร์และการตัดต่อมากที่สุด
    10.ภาพยนตร์ไทยที่สร้างโดยคนไทยเรื่องแรกคือโชคสองชั้น และเรื่องแรกโดยชาวต่างชาติคือนางสาวสุวรรณ
    หน่วยที่ 6
    1.การวางแผนเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการเตรียมการสร้างภาพยนตร์เพราะเป็นการกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการสร้างภาพยนตร์
    2.แผนหลักๆในการสร้างภาพยนตร์มี 3 แผน คือ แผนการเงิน การตลาด และการสร้าง
    3.องค์กรหรือบริษัทสร้างภาพยนตร์บันเทิงโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายธุรการ และฝ่ายปฏิบัติการ
    **ฝ่ายบริหาร – แผนกหาเรื่องมาสร้าง กฎหมาย จัดหาดารา/ผู้แสดง การตลาด ฝ่ายบุคคล

    **ฝ่ายปฏิบัติการ – ขั้นตอนการถ่ายทำ ผู้สร้างเป็นหัวหน้า ผู้กำกับ ผู้ออกแบบ ขั้นตอนระหว่างถ่ายทำ และหลังถ่ายทำ
    **ฝ่ายธุรการ – รับผิดชอบงานธุรการทั้งหมด
    4.ห้องแลปฟิล์มภาพยนตร์บันเทิงทำหน้าที่ การพิมพ์ภาพและเสียงรวมกันเพื่อออกฉายในโรงภาพยนตร์เป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุด
    5.ห้องแลปในฟิล์มภาพยนตร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานสร้างภาพยนตร์คือเกี่ยวข้องกับงานสร้างภาพยนตร์ในขั้นตอนของการผลิตทุกอย่าง
    6.บุคลากรที่สำคัญที่สุดในฝ่ายปฏิบัติการคือ ผู้อำนวยการสร้าง
    7.บุคคลที่มีอำนาจสูงที่สุดในขณะถ่ายทำภาพยนตร์ คือ ผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์
    8.บทบาทของผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ คือ การแปลความหมายบทภาพยนตร์ออกมาให้เป็นเรื่องเป็นราวสมจริง
    9.การตัดต่อภาพยนตร์ หมายถึง การนำฟิล์มที่ล้างแล้วมาเรียงร้อยเข้ากับเสียงให้เป็นเรื่องราวสมจริง
    **ผู้เรียงคัท – ทำหน้าที่นำเวิร์คปลิ๊นและเส้นเสียงมาเรียงต่อกันตามลำดับโดยไม่ตัดส่วนใดทิ้ง
    10.การที่องค์กรภาพยนตร์จัดประกวดภาพยนตร์จัดประกวดภาพยนตร์ทุกปี เช่นรางวัลออสก้าร์ เป็นกิจกรรมการตลาด
    หน่วยที่ 7
    1.การส่งโทรเลขเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์ทั้งหมด
    2.เฮิร์ตซ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นแบบอย่างให้มาร์โคนี่คิดประดิษฐ์เครื่องส่งและเครื่องรับวิทยุโทรเลข
    3.บิดาแห่งวิทยุกระจายเสียงคือ สี เดอร์ ฟอเรสต์
    4.สิ่งที่ พอล นิฟโกว นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันค้นพบ คือ จานสแกนภาพ
    5.สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกของโลกตั้งขึ้นที่ประเทศอังกฤษ
    6.สัญญาณภาพโทรทัศน์ระบบ HDTV มีความคมชัดสูงสุด
    7.สถานีวิทยุกระจายเสียงถาวรแห่งแรกของประเทศไทย คือ สถานีวิทยุกรุงเทพที่พญาไทย
    8.สถานีวิทยุโทรทัศน์ ITV แพร่ภาพในแถบความถี่สูงยิ่ง (UHF) เป็นแห่งแรกของไทย
    9.คุณสมบัติของวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็มคือ แพร่คลื่นพื้นดินทำให้ครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล
    10.วิทยุโทรทัศน์ NTSC เป็นระบบของสหรัฐอเมริกา
    11.การส่งวิทยุโทรทัศน์เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์อื่น
    12.เครื่องมือสื่อสารแบบไร้สายที่มาร์โคนี่ ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกเรียกว่า วิทยุโทรเลข
    13.จอห์น ลอจี แบร์ด เป็นผู้ค้นพบระบบโทรทัศน์สี
    14.เรจินัล เอ เฟสเสนเดน ผู้ประสบความสำเร็จในการทดลองส่งเสียงพูดไปกับคลื่นวิทยุเป็นคนแรก
    15.BBc สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่แพร่ภาพเป็นครั้งแรกของโลก (อังกฤษ โดย จอห์น ลอจี แบร์ด)
    16.เคเบิ้ลทีวีระบบเสาอากาศชุมชน มีชื่อย่อว่า CATV
    17.สมเด็จกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน คือบุคคลแรกที่นำวิทยุกระจายเสียงเข้ามาทดลองในประเทศไทย
    18.สถานีวิทยุโทรทัศน์สีแห่งแรกของประเทศไทยคือ ช่อง 7
    19.คุณสมบัติของวิทยุกระจายเสียงระบบเอเอ็ม คือแพร่คลื่นแบบคลื่นตรงมักมีอุปสรรค กีดขวาง
    20.กล้องโทรทัศน์สีมีหลอดภาพ 3 ชุด คือ แดง เขียว และน้ำเงิน
    หน่วยที่ 8
    1.การจัดรายการวิทยุกระจายเสียง คือการวางแผนกำหนดรูปแบบรายการ เพื่อออกอากาศในช่วงเวลาต่างๆ
    2.ความสำคัญของการจัดรายการต่อสถานีวิทยุกระจายเสียง คือ – เป็นการนำนโยบายและเป้าหมายของสถานีไม่สู่การปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม เป็นการสื่อสารความโดดเด่นและรายละเอียดของสถานีสู่ผู้ฟังได้ชัดเจน สะท้อนภาพลักษณ์ของสถานี ส่งผลต่อความสำเร็จของสถานี
    3.ขั้นตอนการผลิตรายการ – การศึกษาข้อมูล เตรียมการ ผลิต และประเมินกระบวนการผลิต
    4.ปัจจัยภายในที่ต้องคำนึงถึงในการจัดรายการ – นโยบายและเป้าหมายของสถานี ภาพลักษณ์ของสถานี ระบบและเทคโนโลยี งบประมาณ บุคลากร
    ปัจจัยด้านผู้ฟัง ปัจจัยแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง
    5.ยุทธศาสตร์ในการจัดและบรรจุตารางการกระจายเสียง
    Compatibility – ความสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
    Habit formation – สร้างความเคยชิน
    Control of audience flow – การควบคุมปริมาณผู้ฟังที่หมุนเวียนเข้า – ออก
    Conservation of program resources – ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
    6.หลักการกำหนดตารางการกระจายเสียง ต้องพิจารณาถึง ความสม่ำเสมอของตาราง วันที่จะออกอากาศกำหนดเวลา และภาพลักษณ์สถานี
    7.การผลิตรายการต้องวางแผนรายการ แผนปฏิบัติงาน และแผนบุคลากร
    8.การเตรียมการในการผลิตรายการ (pre-production) ภารกิจที่ต้องดำเนินการคือ เตรียมบท เตรียมเทปแทรก ดนตรีในการผลิต เสียงประกอบ ประสารงานการผลิตรายการ
    9.รายการบรรยายควรใช้การซักซ้อมแบบเสียงแห้ง
    10.การเลือกใช้ไมโครโฟน – ความไวในการรับคลื่นเสียง ความสามารถในการตอบสนองต่อความถี่ในระดับต่างๆ ทิศทางการรับเสียง
    11.การซักซ้อมที่ซับซ้อน เช่นละคร ควรซ้อมกับไมโครโฟน


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Apr 23, 2010 8:20 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อมวลชน 15231 Empty แบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน หน่วยที่ 9-15

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Thu Feb 18, 2010 6:40 pm

    หน่วยที่ 9
    1.ปัจจัยภายในที่ต้องคำนึงถึงในการจัดรายการโทรทัศน์ – ปัจจัย นโยบายสถานี ปรัชญาการดำเนินธุรกิจ การกำหนดเงื่อนไขในสัญญาสัมปทาน งบประมาณ บุคลากร ระบบเทคโนโลยี พื้นที่ครอบคลุมสัญญาณ
    ปัจจัยภายนอก – การตลาด เทคโนโลยี ปัจจัยแวดล้อม
    2.ขั้นตอนของการจัดรายการ – 1.กำหนดนโยบายสถานี กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ดำเนินการวิจัยและพัฒนา กำหนดแนวทางกลยุทธ์ จัดผังรายการ ดำเนินการจัดหารายการ การทดสอบรายการและการออกอากาศรายการ
    3.บทบาทของโปรดิวเซอร์ในการผลิตรายการ ด้านการสร้างสรรค์ (รู้จักงานที่ทำ เรื่องที่ทำ ผู้ชมรายการ)ด้านการจัดระบบงาน รวมถึงการวางแผนการผลิต ด้านธุรกิจ (ประมาณงบประมาณ ความสามารถในการนำเสนองาน เข้าใจลิขสิทธิ์และพันธะข้อตกลง)
    4.รายการที่มีการแบ่งประเภทตามขอบเขตการรับชม คือ รายการท้องถิ่น รายการเครือข่าย รายการซินดิเกต
    5.การกำหนดวัตถุประสงค์รายการเกิดขึ้นในขั้นตอนการวางแผน
    6.ขั้นตอนหลังการผลิต – ตัดต่อรายการ การผสมเสียงประกอบรายการ
    7.การสำรวจความนิยมในการดูรายการโทรทัศน์ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2523
    8.การจัดแสงแบบ back light – ช่วยให้เกิดความลึกของภาพทำให้บุคคลหรือวัตถุที่ถ่ายไม่กลืนไปกับฉากหลัง
    Key light – เป็นการจัดแสงหลักให้ความสว่างที่สดไปยังบุคคลหรือวัตถุที่ถ่ายทำ มักเกิดเงา
    Fill light – เป็นแสง ที่อ่อนนวลลง ลดเงา
    Set light – ช่วยให้ความสว่างกับฉากหลัง
    9.การตัดต่อด้วยระบบลีเนียร์คือ การตัดต่อแบบใช้เทป นอนลีเนียร์ คือ ใช้ดิสก์ในการบันทึกภาพ
    10.อุปกรณ์ที่อยู่ในห้องพากษ์เสียง – ไมโครโฟน หูฟัง มอนิเตอร์
    หน่วยที่ 10
    1.เทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานที่มีลักษณะสำคัญคือ ความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน
    2.องค์ประกอบของซอฟท์แวร์ เพื่อเพิ่มผลผลิต ได้แก่ ส่วนช่วยจัดพิมพ์เอกสาร(word) จัดทำตารางการคำนวณ ส่วนแสดงข้อมูลข่าวสารที่มีทั้งข้อความบรรยายและภาพประกอบ และส่วนจัดเก็บ
    3.ข่าวสารที่สามารถส่งทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้คือ ตัวอักษร ภาพและเสียง
    4.จุดเด่นของการบันทึกสารในรูปแบบดิจิทัล คือ คุณภาพดี ทำสำเนาได้เหมือนต้นฉบับ สะดวกรวดเร็ว ประหยัด
    5.home page คือส่วนเว็บเพจหน้าแรกสุดที่อยู่ในเว็บไซต์
    6.ข้อความระวังในการใช้ข้อมูลจากกระดานข่าวคือ ความถูกต้องเพราะไม่จำเป็นต้อเปิดเผยตนเองในการสื่อสาร
    7.เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยขจัดอุปสรรคในด้านระยะทาง ค่าใช้จ่าย ข้อจำกัดเรื่องเวลา จำนวนช่องทางนำเสนอสาร
    8.wap ไม่เป็นที่นิยมเพราะใช้งานยาก ทำงานช้า ค่าใช้จ่ายสูง
    9.ลักษณะโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นที่ 1 ที่มีผลต่อการสื่อสารข้อมูล คือการทำงานในระบบอนาลอก
    10.ช่องทางการนำเสนอสารในอนาคตมีแนวโน้ม การนำเสนอผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย
    11.เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการปฏิบัติงานที่มีลักษณะสำคัญคือความรวดเร็ว ขจัดอุปสรรคเรื่องระยะทาง วิธีปฏิสัมพันธ์เปลี่ยนแปลง รูปแบบการให้บริการ
    หน่วยที่ 11
    1.องค์กรภาครัฐ หมายถึง ราชการและรัฐวิสาหกิจ
    2.ข้อมูลข่าวสารทางราชการหมายถึง ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครองของราชการ
    3.สื่อมวลชนในการทำหน้าที่ในการให้การศึกษา เช่น สื่อมวลชนทุกประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เสนอบทเรียนหรือความรู้ผ่านสื่อ เช่น รายการของ มสธ.
    4.องค์กรภาครัฐใช้สื่อมวลชนในการพัฒนาสังคม โดยใช้สื่อมวลชนกระตุ้นความรู้สึกที่ดีและอยากเข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลงที่ดี
    5.ข้อที่องค์กรภาครัฐควรระวังในการสื่อสารเพื่อการพัฒนาคือ ประเพณี วัฒนธรรม และศาสนาของประชาชน
    6.องค์กรภาคเอกชน คือ องค์กรที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด
    7.การโฆษณา ตามความหมายของนักวิชาชีพหมายถึง เครื่องมือการขายสินค้าและบริการ
    8.การประชาสัมพันธ์ ตามพจนานุกรมหมายถึง การติดต่อสื่อสาร เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้องต่อกัน
    9.ภาคประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหมายถึงสมาคม/มูลนิธิ
    10.ในระยะเริ่มแรกที่ภาคประชาชนเป็นเจ้าของสื่อมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ถ้ายังขาดความพร้อมสามารถขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุแห่งชาติ(กกช.)
    หน่วยที่ 12
    1.รายการข่าวผู้ส่งสารมีเจตนาจะมีอิทธิพลในการจูงใจผู้รับสาร
    2.ทฤษฎีดาบสองคมเชื่อว่าสื่อสารมวลชนในยุคแรกมีอิทธิพลสูงมาก
    ทฤษฏีกระสุนปืน/แบบจำลองเข็มฉีดยา เชื่อว่าสื่อมวลชนมีผลกระทบต่อบุคคลและสังคมสูงมาก สื่อมวลชนสามารถชี้นำความคิดและพฤติกรรมของคนได้
    ทฤษฎีสื่อสารสองทอดและ/หรือ แบบจำลองอิทธิพลอันจำกัดของสื่อมวลชนเชื่อว่าสื่อมวลชนมิได้มีอิทธิพลต่อทุกคนหรือทุกกลุ่มเท่ากันมีปัจจัยอื่นที่ทำให้อิทธิพลของสื่อสารมวลชนลดลงเช่น ประเภทและเนื้อหาของสื่อ
    3.คุณสมบัติของผู้ส่งสารที่สำคัญคือความน่าเชื่อถือ เช่น เป็นองค์กรเก่าแก่ เป็นกลาง เปิดกว้าง ช่วยเหลือสังคม
    4.สื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคลในด้านทัศนคติมากที่สุด
    5.เทคนิคจูงใจที่สื่อมวลชนนิยมใช้ในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ได้แก่ การใช้อารมณ์ขัน ใช้เพศจูงใจ เสนอซ้ำบ่อย และใช้ความกลัว
    6.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคมของบุคคลซึ่งเป็นผลมาจากการได้รับอิทธิพลมาจากสื่อมวลชนเช่นการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
    7.สถาบันสื่อมวลชนมีบทบาทในกระบวนการหล่อหลอมทางสังคมเพิ่มมากขึ้น
    8.ฮาร์โรลด์ดี ลาสเวล กล่าวว่าการสื่อสารมีหน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางสังคมและวัฒนธรรมไปยังอนุชนรุ่นต่อไป
    9.ผลกระทบของเทคโนโลยีการสื่อสารต่อสังคมไทย เช่น ทำให้ต้องการหลบหนีจากโลกแห่งความเป็นจริง เกิดการแบ่งแยกทางสังคม ความเป็นส่วนตัวลดลง เกิดความโดเดี่ยว
    10.การรับรู้ข่าวสารของมนุษย์ – ผู้ชมรายการโทรทัศน์เข้าใจเนื้อหาสารจากรายการนั้น
    11.ตัวอย่างพฤติกรรมของการจำที่ระลึกได้เองของมนุษย์ – ไม่จำเป็นต้องเห็นหรือพบก็จำได้อย่างแม่นยำ
    12.การจินตนาการอย่างเสรีไร้ขีดจำกัดเป็นสาระเกี่ยวกับการคิดของมนุษย์
    13.คำอธิบายที่ว่าผลรวมของรูปร่างลักษณะท่าทางกาย พฤติกรรมที่แสดงออก แนวโน้มในการกระทำ เป็นการอธิบายเกี่ยวกับจิตวิทยาบุคลิกภาพมนุษย์
    14.การรับสัมผัสและสิ่งเร้าทำให้เกิดความรู้สึกเปลี่ยนแปลงทางสรีระของอินทรีย์ หมายถึงการมีประสบการณ์ด้านอารมณ์ของมนุษย์
    15.สีหน้าแดงก่ำในขณะที่โกรธ เป็นพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงทางสรีระเมื่อเกิดอารมณ์โกรธของมนุษย์
    16.กลุ่มชาวนาเรียกร้องรัฐบาลให้ประกันราคาข้าวในอัตราขั้นต่ำ 3000 บาท ตรงกับความหมายของคำว่าประชามติมากที่สุด
    17.ขั้นตอนการก่อตัวของประชามติมี 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 มีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ระยะที่ 2 หาแนวทางแก้ไขปัญหา และระยะที่3 แสดงผลการแก้ปัญหา
    18.พลังประชามติจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยการสื่อสารมวลชน
    19.การวัดประชามติที่ไม่เป็นทางการมีหลายวิธี เช่น การออกรับฟังความคิดเห็น เข้าถึงประตูบ้าน วิเคราะห์หรือสังเกตุพฤติกรรมฝูงชน
    หน่วยที่ 13
    1.ความสำคัญของจริยธรรมต่อวิชาชีพมวลชน เป็นหลักแห่งการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามหลักการของวิชาชีพ เป็นหลักในการสะท้อนสภาพความเป็นจริงของสังคม เป็นหลักในการสร้างสำนึกสาธารณะ เป็นหลักในการจรรโลงเสรีภาพความเป็นจริงของสื่อมวลชน
    2.ความรับผิดชอบของสื่อมวลชน ประกอบด้วย ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ อิสระไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล นายทุน องค์กรธุรกิจ ผู้โฆษณา หรือผู้ให้สินจ้างรางวัลใดๆ ความรับผิดชอบต่อการเสนอเนื้อหาต้องถูกต้อง ตรงไปตรงมา เสมอภาค ความรับผิดชอบต่อสังคมและบุคคล รักษาแหล่งข่าว ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล รักษาความลับของทางราชการมุ่งเสนอเนื้อหาที่หลากหลาย
    3.การควบคุมสื่อมวลชนโดยสังคม การแสดงความคิดเห็นไปยังสื่อมวลชน การให้หรือการสนับสนุน การร้องรียนเพื่อความถูกต้องเป็นธรรม การฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม
    4.องค์กรที่ใช้จริยธรรมเป็นเครื่องมือควบคุมสื่อมวลชนได้แก่ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
    5.การจัดแบ่งประเภทภาพยนตร์ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือของสหรัฐอเมริกา
    6.ภาพยนตร์ที่เหมาะกับเยาวชนแต่ต้องมีผู้ปกครองไปดูด้วยคือ GP
    7.หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ควบคุมสื่อมวลชน เช่น กระทรวงมหาดไทย สนง.ตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ คณะกรรมการบริหารกิจการวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติ
    8.หนังสือพิมพ์เสนอภาพและข่าวการแสดงความรักอย่างเปิดเผยของบุคคลชั้นสูงในสังคมการกระทำนี้มีความผิดฐานละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
    9.นาย ก. เป็นนักเขียนชื่อดังเสียชีวิตเมื่อปี 2540 ผลงานของยาน ก. จะยังคงลิขสิทธิ์ถึงปี 2590
    10.หน้าที่ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ คือ พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ พิจารณาอนุญาตและกำกับดูแลการประกอบกิจการ กำกับมาตรการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้กับบุคลากรในกิจการ จัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์แห่งชาติ
    11.การแบ่งประเภทภาพยนตร์เป็นการควบคุมสื่อมวลชนโดยจริยธรรม
    12.สภาการหนังสือพิมพ์ที่เป็นที่ยอมรับและเป็นแม่แบบของการจัดตั้งคือสภาการของอังกฤษ
    13.ภาพยนตร์ที่เหมาะกับบุคคลทั่วไปดูได้ทุกวัย คือ G
    14.การควบคุมสื่อมวลชนของหน่วยงานของรัฐ การถอนใบอนุญาต ออกหนังสือตักเตือน ตรวจเนื้อหาก่อนเผยแพร่ สั่งระงับการเสนอรายการ
    15.หนังสือพิมพ์เสนอข่าวดาราผู้หนึ่งโดยระบุชื่อและตัวสกุลย่อ ทำให้รู้ทั่วไปว่าหมายถึงใครการกระทำนี้มีความผิดฐานละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
    16.ตาม พรบ.องค์การจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ.2543 สมาคมและมูลนิธิ สามารถขออนุญาตประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงประเภทการให้บริการชุมชนได้
    หน่วยที่ 14
    1.การวิจัยคือ วิธีการที่ใช้เพื่อแสวงหาความรู้ที่น่าเชื่อถือได้
    2.การประเมินผล คือ การวิจัยเพื่อตัดสินคุณค่าและมองหาทางปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน
    3.การสำรวจ คือ วิธีการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจำนวนมากพอที่จะเป็นตัวแทนที่ดีของกลุ่มประชากร
    4.แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ได้จากที่เกิดของสิ่งที่ต้องการศึกษา
    5.การสุ่มตัวอย่างมีความน่าเชื่อถือเพราะนักสถิติยืนยันได้ว่า ค่าทางสถิติของกลุ่มตัวอย่างจะใกล้เคียงกับค่าทางสถิติของกลุ่มประชากรหากขนาดของกลุ่มใหญ่เพียงพอ
    6.เครื่องมือสำหรับการวิจัยเชิงสำรวจ คือ สิ่งที่นักวิจัยสร้างขึ้นเพื่อกำหนดความหมายและค่าเพื่อให้เกิดความแน่นอนในการเก็บข้อมูล
    7.ตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผล คือ สิ่งที่ผู้ถูกประเมินและผู้ประเมินตกลงกันว่าต้องการให้เกิดหลังจากปฏิบัติงานไปแล้ว
    8.ผลผลิตของการปฏิบัติงานคือผลงานที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต
    9.ผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน คือ ประสิทธิผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน
    10.การวิเคราะห์เนื้อหาของสื่อมวลชน คือการรวบรวมข้อมูลในสื่อว่ามีการนำเสนอสารในลักษณะใดบ้าง
    หน่วยที่ 15
    1.ความหมายในเชิงวิชาการของการรู้เท่าทันสื่อ คือความสามารถในการประเมินสาร การวิเคราะห์สาร การเข้าถึงสาร การสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ
    2.การรู้เท่าทันสื่อมวลชนในระดับความรู้ความเข้าใจมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางสถิติปัญญาของบุคคล
    3.การรับรู้ประเด็นทางจริยธรรมได้ด้วยการประเมินที่อิงกับความเชื่อ ค่านิยมและทัศนคติของตนเองแสดงถึงการรับรู้เท่าทันสื่อมวลชนในระดับจริยธรรมขั้นกลาง
    4.การวิพากษ์วิจารณ์เป็นทักษะการรู้เท่าทันสื่อมวลชนชั้นสูง
    5.ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและระบบองค์กรสื่อมวลชน การเป็นเจ้าของและการควบคุมแหล่งงบประมาณสนับสนุน การผูกขาดการเป็นเจ้าของ
    6.การตีความหมายสารที่นำเสนอในสื่อมวลชน ผู้บริโภคควรคำนึงถึง เนื้อหามากกว่าองค์ประกอบ สารที่มีคุณค่าไม่จำเป็นต้องเป็นสารที่ง่ายและสอดคล้องกับกรอบในการตีความของผู้บริโภคสื่อเสมอไป กรอบที่ผู้บริโภคสื่อกำหนดไว้ เพื่อตีความสารของตนบางครั้งก็กลายเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการตีความสารเสียเอง
    7.ผลทางอารมณ์ที่เกิดจากสื่อแบบทันทีทัน ใดอาจจะส่งผลต่อผู้บริโภคในช่วงระยะเวลาสั้นๆหรือระยะยาวก็ได้ หรือการตอบสนองแบบชั่วคราว ผลที่เกิดขึ้นในระยะยาว เป็นผลที่ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใด แต่เกิดขึ้นเมื่อได้รับหรือบริโภคสื่อในลักษณะเดียวกันเวลานานๆจนเกิดเป็นการสะสม
    8.การเลียนแบบเป็นผลที่เกิดจากสื่อมวลชนในทางกายภาพ
    9.การพัฒนาตนเองเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ ควรเริ่มที่การพัฒนาการตระหนักรู้ในการเปิดรับสื่อ รู้จักแสวงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์เปิดรับสื่อโดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน รู้จักแยกแยะระหว่างความเป็นจริงและเรื่องที่สร้างขึ้น รู้จักเปรียบเทียบข้อมูลจากสื่อหลายๆประเภท บริโภคสื่อด้วยความตั้งใจ เป็นผู้บริโภคที่มีความกระตุ้นรือล้น เรียกร้องความเป็นธรรมในฐานะที่เป็นผู้บริโภค
    10.สื่อมวลชนศึกษาประกอบด้วยองค์ความรู้หลัก 2 ส่วนคือ องค์ความรู้ด้านสื่อมวลชน และองค์ความรู้ด้านศึกษาศาสตร์
    11.ผลทางอารมณ์ที่เกิดจากสื่อมวลชนในระยะทางคือ การไม่มีความรู้สึกสนองตอบ
    12.การเปลี่ยนแปลงนิสัยเป็นผลต่อพฤติกรรมที่เกิดจากสื่อมวลชน
    ..............................................................................................................
    เย้้...................จบอีก 1 เหลืออีก 1 สู้ตายยยย Sad

      เวลาขณะนี้ Tue May 07, 2024 1:13 am