ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ

    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Sun Sep 13, 2009 1:05 pm

    หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน

    แนวคิด
    1.ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ นักการตลาดจะต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับส่วนผสม
    ทางการตลาด กล่าวคือนักการตลาดจะต้องมีการวางแผนและพัฒนาด้านกลยุทธ์ด้านสินค้า ราคา การจัดจำหน่ายและ
    การส่งเสริมการตลาด ตลอดจนประยุกต์เอาแนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานมาใช้
    2.การวางแผนการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานให้มีประสิทธิภาพนั้น นักการตลาดจะต้องเลือกใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การขายโดยพนักงานขาย การส่งเสริมการขาย การตลาดทางตรงหรือการตลาดเชิงกิจกรรมให้สื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน

    1.1 แนวคิดเกี่ยวกับส่วนผสมทางการตลาด
    - การตลาดเป็นกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ด้านคือด้านผลิตภัณฑ์ราคาการจัดจำหน่ายสินค้าและการส่งเสริมการตลาดซึ่ง
    รวมเรียกว่า ส่วนผสมทางการตลาด
    - แนวคิดการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานพัฒนาจากการผสมผสานเพียงแค่องค์ประกอบด้านการส่งเสริมการตลาดมาเป็น
    การผสมผสานในทุกๆส่วนผสมของการตลาดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานนั้น ต้องมอง
    เป็นภาพหนึ่งเดียวระหว่างการตลาด และการสื่อสารโดยองค์ประกอบทั้งสองนี้มึควรพิจารณาแยกออกจากกัน
    - ลักษณะสำคัญของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน คือเป็นการวางแผนจากภายนอกสู่ภายใน ใช้เครื่องมือการสื่อสาร
    หลากหลายชนิด เนื้อหาหรือสารของแต่ละเครื่องมือจะต้องมีความเป็นหนึ่งเดียวคือมุ่งสื่อไปในทิศทางเดียวกันและเลือก
    ใช้ช่องทางการสื่อสารที่กลุ่มเป้าหมายสามารถโต้ตอบกลับมายังองค์การได้อย่างสะดวก

    1.2 เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน
    - ในขณะที่การโฆษณาเป็นเครื่องมือในการสร้างการตระหนักรู้ การประชาสัมพันธ์จะเป็นเครื่องมือในการสร้างความน่าเชื่อถือ
    - การขายโดยพนักงานขายจัดเป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดแบบ 2 ทางและเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลซึ่งอาจเป็นการสื่อสาร
    แบบเผชิญหน้าหรือผ่านเครื่องมือการสื่อสารอื่น ส่วนการส่งเสริมการขายเป็นกิจกรรมทางการตลาดที่ใช้สิ่งจูงใจพิเศษเพื่อกระตุ้น
    ให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า ให้พนักงานขายพยายามขายสินค้าให้ได้มากขึ้นและกระตุ้นให้พ่อค้าคนกลางสั่งสินค้าไปขายเพิ่มขึ้น
    - การตลาดทางตรงเป็นเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดที่เจ้าของสินค้าทำการสื่อสารไปยังผู้บริโภคโดยตรงเพื่อขายสินค้าและ
    การบริการผ่านสื่อโฆษณาต่างๆส่วนการตลาดเชิงกิจกรรมใช้วิธีการจัดกิจกรรมหรือเหตุการณ์ต่างๆขึ้นเพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้เข้ามามีประสบการณ์ร่วมกัน การจัดกิจกรรมเหล่านี้เป็นเสมือนตัวเชื่อมระหว่างตราสินค้ากับผู้บริโภคเป้าหมายโดยตรง
    - เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแต่ละชนิดจะมีลักษณะและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันการเลือกใช้เครื่องมือที่หลากหลายประกอบกัน
    จะช่วยเสริมให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    - แผนการสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพจะต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับตราสินค้าผ่านเครื่องมือการสื่อสาร
    หลากหลายชนิดภายใต้แนวคิดเดียวกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
    การเปรียบเทียบเครื่องมือสื่อสารการตลาด
    *** การโฆษณา ลักษณะไม่มช่การสื่อสารระหว่างบุคคล ผ่านสื่อมวลชน มีค่าใช่จ่าย ระบุผู้อุปถัมป์ วัตถุประสงค์เพื่อเข้าถึงมวลชน
    สร้างการตระหนักรู้ ใช้กำหนดตำแหน่งตราสินค้า ใช้สร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า
    *** การประชาสัมพันธ์องค์การ เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับองค์กรในรูปแบบของการส่งข่าว ผ่านสื่อมวลชน ไม่มีค่าใช้จ่าย วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ที่เกี่ยวข้อง สร้างงภาพลักษณ์องค์ดาร สร้างความรู้สึกที่ดีต่อองค์การ
    *** การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด เผยแพร่สินค้าในรูปแบบการส่งข่าว ผ่านสื่อมวลชน ไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างภาพลักษณ์
    ตราสินค้า สร้างความน่าเชื่อถือตราสินค้า
    *** การขายโดยพนักงานขาย เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล สื่อสาร 2 ทาง มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภค
    ให้ข้อมูลตอบคำถามเกี่ยวกับสินค้า รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคและสินค้าไปยังบริษัท
    ***การส่งเสริมการขาย เป็นข้อเสนอพิเศษและจูงใจให้กับผู้บริโภค พนักงานขายและพ่อค้าคนกลาง เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภค
    ซื้อสินค้าง่ายและเร็วขึ้น เพื่อกระตุ้นให้พนักงานขายตั้งใจขายมากขึ้น กระตุ้นให้พ่อค้าคนกลางสั่งสินค้าเข้าร้านมากขึ้น
    ***การตลาดทางตรง การสื่อสารสองทาง ติดต่อแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ผู้ชื้อมีช่องทางติดต่อกับผู้ขายได้ เกิดได้ทุกที่ทุกเวลา วัดผลได้มีฐานข้อมูล เพื่อขายสินค้าโดยตรงให้ข้อมุลสินค้า สร้างการตอบกลับ
    ***การตลาดเชิงกิจกรรมสื่อ2ทางมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของตราสินค้ากับผู้บริโภคเป้าหมายมีกิจกรรมและเหตุการณ์
    ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับกีฬา ศิลปะและสิ่งบันเทิงอื่นๆ เพื่อสร้างการตระหนักรู้ในตราสินค้าผ่านกิจกรรม เพื่อสร้างประสบการณ์ระหว่างเจ้าของสินค้ากับผู้บริโภค สร้างตราสินค้าและภาพลักษณ์ตราสินค้า..


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Tue Oct 13, 2009 8:44 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 2 ประวัติและพัฒนาการของการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Fri Oct 02, 2009 1:25 pm

    หน่วยที่ 2 ประวัติและพัฒนาการของการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

    แนวคิด
    1.ประวัติและพัฒนาการของการโฆษณามีมายาวนานเริ่มตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักการค้าขายกันและเริ่มมีการผลิตสินค้าต่างๆเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนกันตามความต้องการ
    2.การศึกษาถึงประวัติและพัฒนาการของการโฆษณาย่อมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นถึงกำหนดของโฆษณาและบทบาทของโฆษณาที่เกิดขึ้นในยุคเริ่มแรกและสมัยต่อมา
    3.ประวัติและพัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ เริ่มตั้งแต่สมัยโบราณเช่นกัน เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม ผู้นำกลุ่มรู้จักใช้วิธี
    การประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆกับผู้อยู่ใต้การปกครองของตนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความกลมเกลียวสามัคคีในหมู่คณะ
    4.การศึกษาถึงประวัติและพัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ ย่อมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจเด่นชัดยิ่งขึ้นถึงกำเนิดของ
    การประชาสัมพันธ์และบทบาทของการประชาสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในยุคแรกและสมัยต่อมา

    2.1ประวัติและพัฒนาการของการโฆษณา
    - ประวัติและพัฒนาการของการโฆษณาในต่างประเทศมีมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยใช้การป่าวประกาศและการโฆษณา
    นอกสถานที่โดยมีรูปสัญลักษณ์ต่างๆและเริ่มมีการโฆษณาเผยแพร่อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นเมื่อมีการคิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบง่ายๆ
    ได้ เมื่อคริต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา
    - ประวัติและพัฒนาการของการโฆษณาในประเทศไทย เริ่มเจริญก้าวหน้าอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน นับตั้งแต่ได้ติดต่อกับ
    ต่างประเทศ มีการโฆษณาสินค้ามนหนังสือพิมพ์ บางกอกรีคอร์ดเดอร์เป็นครั้งแรก จนก่อกำเนิดพระบิดาแห่งประเทศไทยฝนเวลาต่อมา
    ** ดร.แดน บีช บรัดลีย์ (หมอบรัดเล่ย์) เป็นผู้ออกหนังสือพิมพ์ครั้งแรกใน ปท.ไทย ชื่อหนังสือจดหมายเหตุ ผู้โฆษณารายแรก คือ อู่บางกอกด๊อก อู่ซ่อมเรือที่ตั้งขึ้นใหม่
    *** บิดาแห่งการโฆษณาไทย ร.6 เป็นรากฐานของการพัฒนาด้านโฆษณา สมเด็จฯกรมพระกำแพงอัครโยธินทรงเป็นผู้บุกเบิก
    และนำเอากิจการโฆษณาแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในกิจการหลายแห่งและบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายเป็นอย่างดีจึงได้รับการ
    ยกย่องว่าทรงเป็น พระบิดาแห่งวงการโฆษณาไทย

    2.2 ประวิติและพัฒนาการของประชาสัมพันธ์
    - ประวัติและพฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศนั้นมีมาตั้งแต่ในยุคอารยธรรมเริ่มแรกโดยใช้วิธีการง่ายๆไม่ซับซ้อน
    จากนั้นก็เริ่มมีการใช้การสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้วยภาพเขียนและการเขียนบันทึก ตลอดจนการใช้บทกวีนิพนธ์ต่างๆ
    - การค้นพบวิธีการพิมพ์และเครื่องพิมฑ์ที่ทำให้การปนะชาสัมพันธ์ดูรุดหน้ายิ่งขึ้นเพราะสามารถตีพิมพ์ข่าวสารต่างๆ เผยแพร่
    สู่ประชาชนอย่างกว้างขวางในรูปของหนังสือพิมพ์ และสิ่งพิมพ์ต่างๆ
    - ประวัติลพัฒนาการของการประชาสัมพันธ์ในประเทศไทย เริ่มเจริญก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ได้ติดต่อกับประเทศทาง
    แถบตะวันตกและนำเอาเครื่องมือสื่อสารค่างๆที่ทันสมัยมาใช้โดยเริ่มมีการพิมพ์และผลิตหนังสือตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา
    -การประชาสัมพันธ์ได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆรับผิดชอบในการดำเนินงาน เช่น ภาครัฐบาล
    มีกรมประชาสัมพันธ์ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีทั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์และประชาสัมพันธ์จังหวัด ส่วนภาคเอกชนก็มีหนังสือพิมพ์และการดำเนินงานธุรกิจทางวิทยุโทรทัศน์ตามสาย เป็นต้น


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Oct 14, 2009 8:41 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 3

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Fri Oct 02, 2009 1:26 pm

    หน่วยที่ 3 บทบาท อิทธิพล และความรับผิดชอบของการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ต่อสังคม
    แนวคิด
    1.การโฆษณามีบทบาทที่หลากหลาย ได้แก่ การตลาด ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง ระบบสื่อสารมวลชน เทคโนโลยี และต่อสังคม ทั้งนี้เพราะธุรกิจการโฆษณามีความเกี่ยวข้องกับ๔รกิจประเภทต่างๆและได้รับการยอมรับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญของนักการตลาดในการชักจูงใจผู้บริโภค
    2.จากกบทบาทที่สำคัญและกว้างขวางของการโฆษณา การโฆษณาจึงมีอิทธิพลในระดับสูงได้แก่ อิทธิพลต่อบุคคล ต่อสินค้า/บริการ ต่อสังคม ต่อตลาด และต่อสื่อมวลชน ดังนั้นนักโฆษณาจึงต้องปฎิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งต่อวิชาชีพของตน ต่อผู้บริโภค และต่อสังคมโดยรวม
    3.การประชาสัมพันธ์มีบทบาทที่หลากหลายเช่นเดียวกันกับการโฆษณา ได้แก่ บทบาทต่อการตลาด ระบบเศรษฐกิจ ระบบการมือง ระบบสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีและต่อสังคม ทั้งนี้เพราะมีการนำการประชาสัมพันธ์มาใช้กันอย่างแพร่หลายในกระบวนการรณรงค์ต่างๆเพื่อหวังผลระยะยาว
    4.การประชาสัมพันธ์มีอิทธิพลต่อบุคคลและองค์การต่างๆในระดับสูงเช่นเดียวกับการโฆษณา รวมถึงอิทธิพลต่อสินค้าและบริการขององค์การนั้นๆด้วย ดังนั้นนักประชาสัมพันธ์จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ ต่อหน่วยงานของตนและต่อสังคมโดยรวม

    3.1 บทบาทของการโฆษณา
    - โฆษณาช่วยเผยแพร่คุณสมบัติของสินค้าและบริโภคทราบผ่านสื่อต่างๆย้ำเตือนให้ผู้บริโภคจดจำสินค้า/บริการ เผยแพร่ข้อมูลสินค้าในรูปแบบที่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของสินค้านั้นๆชักจูงใจผู้บริโภคให้แสวงหาสินค้า/บริการเพื่อทดลองใช้ ณ ทำเลที่ตั้งหรือร้านค้าที่วางจำหน่ายสินค้า สนับสนุนแผนการส่งเสริมการตลาดสินค้า/บริการ นอกจากนั้น โฆษณายังมีบทบาทต่อการตลาดสำหรับสินค้าที่อยู่ในวงจรชีวิตที่ต่างกันด้วย
    - การโฆษณามีบทบาทในการสร้างคุณค่าของสินค้า บทบาทต่อราคาสินค้า บทบาทต่อการแข่งขัน บทบาทต่อความต้องการและการเลือกของบริโภค และบทบาทต่อวงจรชีวิตธุรกิจ
    - การโฆษณามีบทบาทต่อการเมือง 3 ช่วงคือ 1.ช่วงก่อนการเลือกตั้ง 2.ช่วงการเลือกตั้ง 3.ช่วงปลอดการเลือกตั้งโดยโฆษณาทางการเมือช่วยให้การข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองแก่ประชาชน สร้างเงื่อนไขทางบวกต่อการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการสื่อสารทางการเมืองมากขึ้น กระตุ้นให้ประชาชนมีการแสวงหาข่าวสารจากสื่อต่างๆเพิ่มเติม สร้างความผูกพันกับนักการเมืองและนักการเมืองของพรรคนั้นๆมากขึ้น ชักจูงใจประชาชนสร้างเครือข่ายทางสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการการสื่อสารทางการเมือง และกระตุ้นให้เกิดความทรงจำเกี่ยวกับพรรค/นักการเมือง
    - การโฆษณา มีบทบาทในการสร้างระบบสื่อสารมวลชนเพื่อการค้าเน้นเจาะกลุ่มผู้บริโภค เน้นความบันเทิงมากกว่าสาระ กระตุ้นให้เกิดการแทรกแซงระบบสื่อสารมวลชนจากองค์การต่างๆอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ และยังกระตุ้นให้เกิดการวิจัยอย่างเป็นระบบและถูกต้องตามระเบียบวิธีเพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อสารมวลชน
    - บทบาทของการโฆษณาต่อเทคโนโลยีมี 3 ประการคือ 1.บทบาทต่อการใช้เทคโนโลยีในการวิจัยโฆษณาในการนำเสนองานโฆษณาในการสร้างสรรค์งานโฆษณาและการผลิตงานโฆษณา และในการเป็นสื่อโฆษณา 2.บทบาทต่อการยอมรับเทคโนโลยีว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการโฆษณา เป็นสิ่งจำเป็นในกระบวนการโฆษณาและเทคโนโลยีที่เห็นในงานโฆษณาเป็นสิ่งจำเป็นในวิถีชีวิต 3.บทบาทต่อการพัฒนาเทคโนโลยีในการวิจัยโฆษณา ในการผลิตงานโฆษณา ตลอดจนในการเผยแพร่และรับสารโฆษณา
    - บทบาทโฆษณาต่อสังคมมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ บทบาทเชิงบวกได้แก่ 1. เชิญชวนให้ประชาชนลองใช้สินค้า/บริการต่งๆที่นำเสนอผ่านการโฆษณา 2. สร้างและ/หรือปรับเปลี่ยนค่านิยมทางสังคมเชิงบวกให้กับผู้บริโภค 3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ซึ่งให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภค 4. สะท้อนให้เห็นเสถียรภาพและความก้าวหน้าของสังคม 5.สะท้อนถึงความคิดที่เปิดกว้างของสังคม 6.สะท้อนวัฒนธรรมและระเบียบประเพณีที่สังคมยอมรับ 7.สะท้อยรสนิยมและรูปแบบการใช้ชีวิตทางสังคมทางบวก และ 8. สร้างต้นแบบเชิงบวกให้กับสังคม
    - บทบาททางโฆษณาต่อสังคมเชิงลบได้แก่ 1.ล่อลวงประชาชนโดยข้อมูลที่เป็นเท็จหรือกระบวนการทางจิตวิทยา 2.สร้างและ/หรือปรับเปลี่ยนค่านิยมทางสังคมเชิงลบให้กับผู้บริโภค 3. นำเสนอเฉพาะกลุ่มที่มีความสำคัญต่อสังคม โดยละเลยกลุ่มที่มีความสำคัญน้อยหรือมีอำนาจซื้อสินค้าต่ำ 4.ให้ข้อมูลข่าวสารเชิงลบแก่ผู้บริโภค 5. สะท้อนรสนิยมและรูปแบบการใช้ชีวิตทางสังคมทางลบ และ 6 สร้างต้นแบบเชิงลบให้กับสังคม

    3.2 อิทธิพลของการโฆษณา
    - การโฆษณามีอิทธิพลทางบวกต่อบุคคลโดยการสร้างการตระหนักรู้ในตัวสินค้า/บริการสร้างมุมมองที่มีต่อสินค้า/บริการ สร้างการรียนรู้ สร้างทัศนคติและความสนใจ สร้างการทดลองใช้สินค้า สร้างพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นนิสัยและความภักดีในตราสินค้า
    - การโฆษณามีอิทธิพลทางลบต่อผู้บริโภคโดยทำให้ผู้บริโภคสูญเสียความป็นส่วนตัวเผชิญกับปรากฏการณ์ข้อมูลล้น สูญเสียแนวคิดและความมั่นใจที่มีต่อตนเองและสร้างการบริโภคเกิน
    - การโฆษณามีอิทธิพลทางบวกต่อสินค้า/บริการ โดยการสร้างภพลักษณ์ที่พึงประสงค์ให้แก่สินค้า/บริการ ทำให้เกิดการผลิตจำนวนมาก ก่อให้เกิดการแข่งขันกันเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ สร้างการตระหนักให้รู้สินค้า/บริการที่เน้นการขายโดยพนักงานขาย
    - การโฆษณามีอิทธิพลทางลบต่อสินค้า/บริการโดยก่อให้เกิดการระแวง และต่อต้าน สินค้าที่โฆษณา รวมองค์การผู้เป็นเจ้าของสินค้า/บริการ นั้นๆ ก่อให้เกิดภาพลักษณ์เชิงลบแก่สินค้า/บริการและ/หรือองค์การเจ้าของสินค้า/บริการ ก่อให้เกิดความรำคาญสินค้า/บริการที่โฆษณา และสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ให้กับสินค้า/บริการโดยไม่ตั้งใจ
    - การโฆษณามีอิทธิพลต่อสังคมโดยการสร้างสรรค์สังคมที่ให้ความสำคัญกับความสำบูรณ์พร้อม กระตุ้นให้สังคมกลายเป็นสังคมวัตถุนิยม สร้างรสนิยมให้กับสังคมที่สอดคล้องกับเนื้อหาโฆษณา ทำให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมถูกเอาเปรียบ สร้างความต้องการปลอม และโฆษณาชวนเชื่อให้บริโภคสินค้า
    - การโฆษณามีอิทธิพลต่อตลาดโดยทำให้ผุ้ผลิตสินค้า ผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีกติดต่อกับผู้ซื้อหรือผุ้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างตราสินค้า/บริการใหม่ๆขึ้นในตลาดส่งเสริมการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตสินค้า/บริการ และกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้า/บริการอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามงบประมาณมหาศาลของการโฆษณาทำให้ผู้ผลิตใหม่เข้าสุ่ตลาดได้ยาก
    - การโฆษณามีอิทธิพลต่อสื่อสารมวลชนโดยทำให้ราคาการผลิตต่อหน่วยของสื่อสิ่งพิมพ์ลดลง จึงทำให้สื่อสิ่งพิมพ์สามารถจำหน่ายได้ในราคาถูก นอกจากนั้นการโฆษณายังทำให้โทรทัศน์/วิทยุมีงบประมาณเพียงพอในการผลิตรายการหลากหลายที่มีคุณภาพ เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องกับสื่อสารมวลชน และความต้องการบุคคลากรมีฝีมือของอุตสาหกรรมสื่อสารมวลชนทำให้มีการเปิดหลักสูตรการศึกษาด้านสื่อสารมวลชนในสถาบันการศึกษาต่างๆ
    - การโฆษณาทำให้สื่อมวลชนเน้นผู้บริโภคเฉพาะมากขึ้น เกิดนวัตกรรมการออกแบบสื่อ ให้ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค เกิดนวัตกรรมด้านรูปแบบการโฆษณาในสื่อสารมวลชน เกิดการแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่ออย่างเข้มข้นและกว้างขวางทั้งในระหว่างสื่อประเภทเดียวกันเองหรือระหว่างสื่อต่างประเภท นอกจากนั้น สื่อมวลชนลดความสำคัญลงในฐานะสื่อโฆษณาเพราะมีสื่อทางเลือกเกิดขึ้น ทั้งนี้ การแทรกแซงรูปแบบต่างๆจากองค์กรผู้บริโภคเมื่อพบเห็นการเผยแพร่ชิ้นงานโฆษณาที่ไม่เหมาะสม ทำให้สื่อมวลชนต้องตื่นตัวและเปิดรับข้อมูลต่างๆจากสังคม

    3.3 ความรับผิดชอบของการโฆษณาต่อสังคม
    - ผู้โฆษณษาต้องมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพดังต่อไปนี้ 1 .ติดตามกฎระเบียบการโฆษณาที่กำหนดโดยหน่วยงานของรัฐอย่างสม่ำเสมอ 2. ไม่สร้างสรรค์งานที่ทำลายขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของสังคมไทย 3.ตระหนักถึงความอ่อนไหวด้านวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ 4.ไม่ลอกเลียนงานโฆษณาของผู้อื่น 5.ควบคุมการทำงานของนักวิชาชีพโฆษณาด้วยกัน 6.แสวงหาความรู้และข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อการปฏิบัติวิชาชีพเกี่ยวกับองค์การที่เป็นลูกค้า เกี่ยวกับสถานการณ์แวดล้อมของธุรกิจการโฆษณาและสภถานการณ์การตลาดที่เกี่ยวข้องด้านวิชาชีพการโฆษณาและสาขาที่เกี่ยวข้อง และทัศนคติและการมีส่วนร่วมของสังคม 7.สร้างความเชื่อถือของสังคมต่อวิชาชีพโฆษณา 8.พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ 9.สร้างจิตสำนึกของผู้ประกอบวิชาชีพโฆษณาที่มีต่อสังคม
    - ผู้โฆษณาต้องมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโคโดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ 1.การนำเสนอข้อมูลที่ผิดพลาด การละเลยข้อมูล หรือการให้ข้อมูลที่ชี้นำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด 2.การนำเสนอข้อมูลเกินจริง 3.การนำเสนอสารโฆษณาที่ขัดแย้งกับระเบียบประเพณีและศีลธรรมอันดีของประชาชน 4.การนำเสนอเนื้อหารุนแรงทุกประเภท 5.การนำเสนอเนื้อหาที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน 6.การนำเสนอเนื้อหาที่ไร้รสนิยมในรูปแบบต่างๆ
    - ผู้โฆษณาต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมดังนี้ 1.ช่วยรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมไว้ 2.สร้างบูรณาการในทุกภาคส่วนของสังคมผ่านจริยธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพการโฆษณา 3.ส่งเสริมการศึกษาโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างนักวิชาชีพและนักการศึกษา 4.ริเริ่มงานสร้างสรรค์ที่เป้นประโยชน์ต่อสังคม 5.ควบคุมดูแลการทำงานของนักวิชาชีพโฆษณาด้วยกันเอง ทั้งนี้ ผู้โฆษณาควนยึดหลักจรรยาบรรณการโฆษณาอย่างเคร่งครัด

    3.4 บทบาทของการประชาสัมพันธ์
    - การประชาสัมพันธ์มีบทบาทต่อการตลาด โดยการส่งเสริมกิจกรรมการจลาดให้ขยายตัวมากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ นำเสนอแนวทางการตลาดที่ผสมผสานกับการประชาสัมพันธ์ที่เรียกว่า การประชาสัมพันธ์เพื่อการตลาด สร้างนวัตกรรมของการตลาดรูปแบบต่างๆละมีบทบาททางอ้อมต่อการตลาด โดยการปูพื้นค่านิยมและทัศนคติที่ดีให้เกิดกับองค์การผู้ผลิตสินค้า ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดความต้องการและตัดสินใจซื้อในที่สุด
    - การประชาสัมพันธ์มีบทบาทต่อผู้บริโภค ผู้จัดจำหน่าย และผู้ผลิตสินค้า/บริการ เพราะทัศนคติที่ดีต่อองค์การตลอดจนสินค้า/บริการขององค์การก่อให้เกิดการแสวงหาสินค้า/บริการต่างๆเพื่อการบริโภค มีผลทำให้ธุรกิจรุ่งเรืองเหลือซบเซาได้ และผุ้จัดจำหน่ายต้องปรับเปลี่ยนบทบาทขงตนเอง เพื่อที่จะสามารถนำเอาสินค้า/บริการเหล่านั้นไปให้ถึงผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น การประชาสัมพันธ์ยังเป้นธุรกิจประเภทหนึ่งที่มีการจ้างงานจำนวนมาก ก่อให้เกิดปริมาณหมุนเวียนเงินตราในระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาลซึ่งทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตและยังก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆจำนวนมาก เช่น ธุรกิจการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ธุรกิจตัวแทน นายแบบ/นางแบบ/นักแสดง ธุรกิจการวิจัย ฯลฯ ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม
    - บทบาทของการประชาสัมพันธ์ต่อการเมืองแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ 1.บทบาทของการประชาสัมพันธ์ต่อระบบการเมือง 2. บทบาทการประชาสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานของพรรค/นักการเมือง
    - การประชาสัมพันธ์มีบทบาทต่อระบบการเมืองดังต่อไปนี้ 1.บทบาทต่องานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน 2.บทบาทต่อการบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหารประเทศ 3.บทบาทต่อกิจการอำนวย หรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน
    - การประชาสัมพันธ์มีบทบาทต่อการดำเนินงานของพรรค/นักการเมืองโดย 1.เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหา โดยการสำรวจทัศนคติของประชาชนและองค์การต่างๆที่มีต่อพรรคการเมืองและ/หรือนักการเมืองและ 2.เป็นที่ปรึกษาด้านการสื่อสารโดยการตรวจสอบการสื่อสารของพรรคการเมือง/นักการเมืองอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
    - การประชาสัมพันธ์มีบทบาทต่อระบบสื่อสารมวลชนดังนี้คือ 1.เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของสื่อสารมวลชน 2.ทำให้ระบบสื่อสารมวลชนเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่สำคัญของสาธารณชน
    - การประชาสัมพันธ์มีบทบาทต่อเทคโนโลยี 2 ประการคือ1.บทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยี ได้แก่ การสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆหรือปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อมวลชนเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีทั้งภาพ เสียง ตัวอักษรและ ลูกเล่น มากมายเพื่อดึงดุดความสนใจของสาธารณชน และการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นสื่อเฉพาะบุคคลมากขึ้น 2.บทบาทต่อผู้ใช้เทคโนโลยี โดยทำให้นักประชาสัมพันธ์ตื่นตัวและเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อประสิทธิผลที่คาดหวังในงานประชาสัมพันธ์และนักประชาสัมพันธ์ยังยอมรับว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งจำเป็นในงานประชาสัมพันธ์
    - การประชาสัมพันธ์มีบทบาทต่อสังคมต่อไปนี้ 1.ควบคุมสังคม 2.ตอบสนองต่อสังคม 3.สร้างความสมานฉันท์ในสังคม 4.เป็นตัวกลางระหว่างสาธารณชนและองค์การ 5.สร้างความสัมพันธ์ที่ราบรื่นระหว่างสถาบันต่างๆ และสังคม 6.เป็นเครื่องมือที่สำคัญของสถาบันต่างๆในการร่วมกันแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้ง 7.ให้ข้อมูลข่าวสารแก่สังคมอย่างสม่ำเสมอโดยผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ 8.กระตุ้นให้องค์การต่างๆพัฒนาความเอาใจใส่และความรับผิดชอบต่อสังคม 9.มีบทบาทต่อทุกช่วงชีวิตของบุคคลในสังคม

    3.5 อิทธิพลของการประชาสัมพันธ์
    - อิทธิพลของการประชาสัมพันธ์ต่อบุคคลขึ้นอยู่กับ 1.ลักษณะส่วนบุคคลได้แก่ ลักษณะทางประชากร (เพศ อายุ การศึกษา ฯลฯ) บุคลิกภาพ สภาพทางจิตวิทยา แบบแผนการดำเนินชีวิต 2.สภาพแวดล้อมของบุคคล หมายถึง สถานภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมตลอดจนเทคโนโลยี ทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาค 3.พฤติกรรมการรับสื่อ
    - อิทธิพลของการประชาสัมพันธ์ต่อบุคคลมีดังต่อไปนี้ 1.ทำให้บุคคลได้รับรู้ความเคลื่อนไหวของสังคมผ่านข่าวสารประชาสัมพันธ์ต่างๆ 2.ทำให้บุคคลได้รับรู้ประเด็นปัญหาที่สำคัญในสังคม 3.ทำให้บุคคลสร้างทัศนคติทางบวกแก่สินค้า/บริการ องค์การ บุคคล และประเด็นปัญหาของสังคม 4.ทำให้บุคคลมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ หรือให้ความร่วมมือกับกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ที่จัดขึ้น 5.ทำให้บุคคลปรับเปลี่ยนความเชื่อ ค่านิยมและวิถีชีวิตอย่างถาวร
    - นักประชาสัมพันธ์มีหน้าที่ร่วมสร้างวัฒนธรรมองค์การโดยพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารวางแผนและการจัดการกระบวนการการปฎิบัติงานในองค์การ มีส่วนร่วมในการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการให้คำแนะนำ/ความเห้นแก่ผุ้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดค่านิยมขององค์การ จึงมีอิทธิพลต่อองค์การดังนี้1. สร้างชื่อเสียงขององค์การทางบวก สร้างภาพลักษณ์ทางบวกขององค์การ และคงรักษาไว้ซึ่งเสียรภาพระยะยาวขององค์การและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสังคม 2.กำหนดค่านิยมขององค์การ 3.ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างค่านิยมของหน่วยงานได้ดีขึ้น 4.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์การและกลุ่มผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์การ 5.ช่วยป้องกันรักษาชื่อเสียงของหน่วยงาน 6.ช่วยสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
    - อิทธิพลของการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อสินค้า/บริการมีดังต่อไปนี้ 1.ทำให้สินค้า/บริการเป้นที่รู้จักแพร่หลายทั้งทางบวกและทางลบ 2.ทำให้ชื่อของสินค้า/บริการ รวมถึงตราสัญลักษณ์และสโลแกนเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของผุ้บริโภค 3.ทำให้สินค้า/บริการมีภาพลักษณ์เชิงบวก 4.ช่วยสร้างทัศนคติเชิงบวกและลดทัศนคติลบต่อสินค้า/บริการ 5.ทำให้สินค้า/บริการมีคุณภาพดีขึ้น 6. ทำให้สินค้า/บริการได้รับการยอมรับ

    3.6 ความรับผดชอบของการประชาสัมพันธ์ต่อสังคม
    - นักประชาสัมพันธืต้องมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพดังนี้ 1.ต้องมีความน่าเชื่อถือซึ่งเกดจากความรู้ความชำนาญในการทำงานอย่างมืออาชีพ ความรอบรู้ในหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์และขอบข่ายของวิชาชีพ และมีทักษะที่จำเป็นในการทำงาน 2.การตรวจสอบได้ หมายถึงการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ต้องสามารถวัดประสิทธิผลได้อย่างเป้นรูปธรรมและเชิงประจักษ์ 3.ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ คือการแสดงให้เห้นถึงความเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ การปฎิบัติงานที่รับผิดชอบอย่างลึกซึ้ง และความสามารถในการบริหารจัดการ
    - นักประชาสัมพันธ์มีความรับผิดชอบต่อหน่วยงานดังต่อไปนี้ 1. สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่องค์การ 2.สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์การ 3.สร้างความสมานฉันท์และความเป้นอันหนึ่งอันเดียวกันในองค์การผ่านการประชาสัมพันธ์ภายในที่มีประสิทธิภาพ 4.มีความรู้ความชำนาญในการบริหารประเด็นและต้องบริหารจัดการมิให้ขยายตัวกลายเป็นวิกฤต 5.สร้างความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างองค์การกับสังคม 6.มีแผนการประสัมพันธ์และแนวการดำเนินโปรแกรมการประชาสัมพันธ์ที่เป็นรูปธรรม 7.มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำงานประชาสัมพันธ์
    - นักประชาสัมพันธ์ต้องมีความเป้นมืออาชีพและความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อรับผิดชอบต่อสังคมดังต่อไปนี้ 1.ส่งเสริมให้องค์การทำธุรกิจที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส และตรงไปตรงมา 2.ความมีคุณธรรมในการดำเนินงาน 3.ต้องไม่ช่วยปกปิดการทุจริตขององค์การ 4.ต้องนำเสนอประเด็นต่างๆต่อสังคมในหลายแง่มุม 5.ต้องไม่รับผิดชอบต่อองค์การมากจนละเลยด้านคุณธรรม


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Oct 16, 2009 6:20 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 5 องค์ประกอบของการโฆษณา

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:44 am

    หน่วยที่ 5 องค์ประกอบของการโฆษณา
    แนวคิด
    1.ผู้โฆษณา คือผุ้ตัดสินใจกำหนดแนวทางการโฆษณาที่สามารถสนับสนุนการตลาด สินค้า/บริการของตน ผู้โฆษณามีหลายลักษณะ และจะทำการโฆษณาแบบต่างๆขึ้นอยู่กับยโยบาย วัตถุประสงค์ทางการตลาดและการเผยแพร่ข่าวสารขององค์การ
    2.ชิ้นงานโฆษณา คืองานโฆษณาที่ปรากฏในสื่อต่างๆที่บรรจุเนื้อหาสาระเกี่ยวกับสินค้าหรือแนวคิดต่างๆของโฆษณาส่งไปยังกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ชิ้นงานโฆษณาแต่ละประเภทจะต้องได้รับการออกแบบสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม เพื่อตอบสนองการตลาดของสินค้า สามารถสร้างความประทับใจและจูงใจผุ้บริโภคได้
    3.สื่อโฆษณา คือพาหนะในการนำสารโฆษณาไปยังกลุ่มผู้บริโภค มีหลายประเภทและได้รับการพัฒนาแตกแขนงออกไปมากมาย สื่อโฆษณาแต่ละสื่อจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแตกต่างกัน การรู้จักวางแผนและเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสมจึงทำให้สารโฆษณาไปถึงผู้บริโภคที่เป็นเป้าหมายที่กำหนดไว้
    4.กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย คือผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้า/บริการ เป็นองค์ประกอบของการโฆษณาที่มีความสำคัญมาก เพราะเป้าหมายของการโฆษณา คือ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายให้มาซื้อหรือใช้สินค้า/บริการ ทางด้านการโฆษณาจึงต้องมีการศึกษา จัดกลุ่ม การวิจัยเกี่ยวกับผุ้บริโภคของสินค้า/บริการในด้านต่างๆเพื่อที่จะหาวิธีชนะใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้

    5.1 ผู้โฆษณา- ผู้โฆษณา สามารถอธิบายได้สองด้านคือ ด้านการตลาด และด้านการสื่อสาร ผู้โฆษณามีความสำคัญในฐานะเป็นผู้ตัดสินใจกำหนดแนวทางโฆษณาที่เหมาะสมกับสินค้า บริการ
    - ประเภทของธุรกิจผุ้โฆษณา แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ภาคธุรกิจเอกชน ภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ และภาคองค์การอิสระ-ประชาสังคม
    - วัตถุประสงค์การโฆษณา แบ่งเป็น 5 วัตถุประสงค์ คือ เพื่อแจ้งข่าวสารเพื่อการจูงใจ เพื่อการเตือนความจำ เพื่อการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ และเพื่อสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้า
    - บริบทสังคม คือสภาพแวดล้อมโดยรวมทางสังคม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ที่มีส่วนเกี่ยวพันต่อธุรกิจ ได้แก่ ด้านลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ การเมืองและกฎหมาย สังคมและวัฒนธรรมเทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เป็นต้น
    - บริษัทตัวแทนโฆษณา มีบทบาทสำคัญต่อบริษัทผู้โฆษณา ในการเป็นผู้นำเสนอทางเลือก และให้คำปรึกษาด้านการโฆษณาแก่บริษัทผู้โฆษณา โดยใช้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพด้านการโฆษณาเป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์และดำเนินงานด้านโฆษณา
    5.2 ชิ้นงานโฆษณา
    - ชิ้นงานโฆษณา คือ แบบโฆษณาที่สำเร็จรูปแล้ว ซึ่งจะปรากฏในสื่อต่างๆที่จะนำเสนอเนื้อหาสาระจากผู้โฆษณาเกี่ยวกับตัวสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมาย
    - ประเภทของชิ้นงานโฆษณา แบ่งอกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ โฆษณาแบบคลอบคลุมพื้นที่ การโฆษณาแบบค้าปลีก และการโฆษณาแนวคิด
    - องค์ประกอบของชิ้นงานโฆษณาประเถทสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ พาดหัว/หัวเรื่อง ภาพประกอบ ข้อความ โฆษณา ชื่อเครื่องหมาย และโลโก้ของผู้โฆษณา
    - องค์ประกอบของชิ้นงานโฆษณาประเภทสื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพ ได้แก่ ส่วนนำ คำพูด เพลง เสียงประกอบ คำขวัญ สำหรับชิ้นงานโฆษณาประเภทวิทยุโทรทัศน์ และอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งอีกสิ่งหนึ่งคือภาพ

    5.3 สื่อโฆษณา
    - สื่อโฆษณา คือ พาหนะในการนำเสนอโฆษณาไปยังกลุ่มผุ้บริโภคเป้าหมาย ความสำคัญของสื่อโฆษณาคือ เป็นตัวกลางนำเสนอไปยังผู้บริโภคเป้าหมายทำให้เกิดการรับรู้ ช่วยในการย้ำสารและเตือนความจำในเรื่องของผลิตภัณฑ์ เป็นองค์ประกอบที่มีบทบาททางด้านการตลาดในการเร่งเร้าสินค้า และดึงดูดความสนใจกลุ่มผุ้บริโภคเป้าหมาย ณ จุดขาย และมีความสำคัญในการกำหนดประสิทธิภาพของการโฆษณาว่าสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายประเภทใด ในปริมาณเท่าใด
    - ประเภทสื่อโฆษณา แบ่งได้กว้างๆเป็น 5 ประเภท คือ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพสื่อใหม่ สื่อโฆษณานอกสถานที่ และสื่อประเภทอื่นๆ

    5.4 กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย

    - กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย คือผู้ซื้อสินค้าเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง และในราคาหนึ่งผู้ซื้ออาจไม่ใช่สินค้านั้นๆเสมอไป กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายจึงหมายรวมถึงผู้ใช้สินค้าด้วย เพราะเป็นผู้มีอิทธิพลที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อ ผู้บริโภคเป้าหมายมีความสำคัญมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพราะจะเป็นแหล่งระบายสินค้าที่ระบบเศราฐกิจอุตสาหกรรมผลิตออกมา ถ้าผู้บริโภคไม่พอใจในสินค้า และไม่ซื้อสินค้าใช้ ระบบเศรษฐกิจย่อมหยุดชะงัก ในการผลิตสินค้าจึงต้องดูความต้องการ และความพอใจของผู้บริโภคเป็นหลัก จนมีคำกล่าวว่า ผู้บริโภคนั้นเองที่เป็นผู้กำหนดลักษณะของสินค้า หรือบริการที่เขาต้องการ
    - การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย ทำให้นักการตลาด และผู้โฆษณามองเห็นกลุ่มลูกค้าของตนได้ชัดเจนขึ้นว่า กลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใดมีความต้องการหรือความพึงพอใจสินค้าลักษณะใด โดยทั่วไปจะแบ่งกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายเป็น 5 ลักษณะคือ การแบ่งกลุ่มผุ้บริโภคเป้าหมายตามลักษณะทางทะเบียนภูมิหลัง สภาพทางภูมิศาสตร์ กลุ่มในสังคม จิตวิทยา และลักษณะการใช้สินค้าของผู้บริโภค
    - กระบวนการที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคมี 5 ขั้นตอน คือตระหนักถึงปัญหา การแสวงหาข้อมูล การประเมินทางเลือก การตัดสินใจซื้อ และการประเมินผลหลังการซื้อ
    - การวิจัย กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย เป็นการวิจัยเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคในตลาดหนึ่งๆของผลิตภัณฑ์นั้นๆโดยจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ วิจัยก่อนการวางแผนโฆษณา วิจัยในขั้นตอนระหว่างการดำเนินงานโฆษณาและวิจัยในขั้นตอนหลังจากการเผยแพร่ชิ้นงานโฆษณา โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยในแต่ละขั้นตอนที่แตกต่าง


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Fri Oct 16, 2009 6:22 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 4 อุตสาหกรรมการโฆษณา

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:45 am

    หน่วยที่ 4 อุตสาหกรรมการโฆษณา

    แนวคิด
    1.หน่วยงานโฆษณาภายในองค์การมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญคือ การวางแผนรณรงค์ทางการโฆษณา งานด้านสร้างสรรค์ งานสื่อสาร งานด้านผลิตชิ้นงานโฆษณา งานด้านวิจัยและการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ
    2.บริษัทตัวแทนโฆษณาเป็นหน่วยงานธุรกิจที่ให้บริการด้านการโฆษณาแก่เจ้าของสินค้าและบริการแบ่งออกเป็นบริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศ บริษัทตัวแทนโฆษณาจากต่างประเทศและบริษัทตัวแทนโฆษณาร่วมทุนการค้า
    3.หน่วยงานสนับสนุนงานโฆษณาเป็นหน่วยงานธุรกิจที่มีคความสำคัญและมีความสามารถเฉพาะด้าน ในการสนับสนุนการสร้างสรรค์และผลิตชิ้นงานโฆษณา การวิจัยและบริการอื่นให้แก่บริษัทตัวแทนโฆษณา หน่วยงานโฆษณาในองค์การและองค์การสื่อโฆษณา
    4.องค์การสื่อโฆษณา เป็นหน่วยงานที่เป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการที่มีหน้าที่เป็นพาหะนำพาสารการโฆษณาไปยังผู้บริโภค แบ่งออกเป็นองค์การสื่อโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อโฆษณานอกสถานที่และสื่อโฆษณาประเภทอื่นๆ
    5.หน่วยงานธุรกิจในงานอุตสาหกรรมการโฆษณาจะสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิดตั้งแต่การเริ่มต้นโฆษณาจนกระทั่งเผยแพร่ชิ้นงานโฆษณาสู่ผู้บริโภคเป้าหมาย

    4.1 หน่วยงานโฆษณาภายในองค์การ
    - หน่วยงานโฆษณาภายในองค์การแบ่งออกเป็นหน่วยงานโฆษณาเล็ก หน่วยงานที่ทำงานเฉพาะด้าน หน่วยงานโฆษณาที่เสมือนตัวแทนโฆษณา และหน่วยงานโฆษณาที่ให้บริการครบวงจร
    - โครงสร้างของหน่วยงานโฆษณาภายในองค์การแบ่งตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญคือ งานด้านการสร้างสรรค์ งานด้านสื่อ งานด้านการผลิตชิ้นงานโฆษณา และงานด้านการวิจัย
    - หน่วยงานโฆษณาภายในองค์การมีบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบคือ การวางแผนรณรงค์การโฆษณา ติดต่อและประสานงานกับบริษัทตัวแทนโฆษณา ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของหน่วยงานโฆษณา

    4.2 บริษัทตัวแทนโฆษณา
    - บริษัทตัวแทนโฆษณาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ บริษัทตัวแทนโฆษณาภายในประเทศ ระหว่างเป็นเทศ และตัวแทนประเภทร่วมทุน
    - โครงสร้างของบริษัทตัวแทนโฆษณาในปัจจุบันมีการแบ่งโครงสร้างการบริหรและโครงสร้างการทำงานไม่เหมือนกัน
    - บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของบริษัทตัวแทนโฆษณา คือการวางแผนรณรงค์ทางการโฆษณาและดำเนินงานตามแผนโฆษณา

    4.3 หน่วยงานสนับสนุนงานโฆษณา
    - หน่วยงานสนับสนุนงานโฆษณาเป็นหน่วยธุรกิจที่มีความสามารถและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนงานโฆษณา
    - หน่วยงานสนับสนุนงานโฆษณามีความสำคัญต่อธุรกิจงานโฆษณา เศรษฐกิจ สังคม
    - หน่วยงานสนับสนุนโฆษณามี 4 ประเภท ได้แก่ บริษัทบริการด้านสื่อโฆษณา บริษัทบริการผลิตสื่อโฆษณา บริษัทบริการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา และบริษัทที่ให้บริการอื่นๆด้านการโฆษณา

    4.4 องค์การสื่อโฆษณา
    - สื่อโฆษณาเป็นพาหะที่นำพาข้อความโฆษณาไปสู่ผู้บริโภคเป้าหมาย
    - สื่อโฆษณามีหลายประเภทสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ คือสื่อโฆษณาประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณาประเภทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ สื่อโฆษณาประเภทสื่ออื่นๆ สื่อโฆษณานอกสถานที่
    - องค์การสื่อโฆษณา คือ หน่วยงานที่เป็นเจ้าของหรือผู้ดำเนินกิจการที่มีหน้าที่เป็นพาหะนำพาสารการโฆษราไปยังผุ้บริโภค ซึ่งมีความสำคัญต่อธุรกิจโฆษณา ผู้บริโภค การปกครอง การเมือง ด้านความมั่นคงของประเทศ ระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งองค์การสื่อมวลชน
    - องค์การสื่อโฆษณามีหลายประเภทแบ่งตามประเภทสื่อโฆษราคือ องค์การสื่อโฆษณาทางสื่อสิงพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ สื่อโฆษณาภายนอกสถานที่ และสื่ออื่นๆ

    4.5 ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของอุตสาหกรรมการโฆษณา
    - ผู้โฆษณามีความสัมพันธ์กับบริษัทตัวแทนโฆษณาในฐานะที่เป็นผู้ตัดสินใจเลือกบริษัทตัวแทนโฆษณาเพื่อวางแผนและสร้างสรรค์งานโฆษณาตามวัตถุประสงค์ของผู้โฆษณาซึ่งการทำงานจะต้องมีการประสานงานกัน
    - บริษัทตัวแทนโฆษณามีความสัมพันธ์กับหน่วยงานสนับสนุนการโฆษณาซึ่งในเรื่องของการผลิตชิ้นงานโฆษณาตั้งแต่การเตรียมการผลิตจนกระทั่งเสร็จเป็นชิ้นงานโฆษณาพร้อมที่จะเผยแพร่ทางสื่อมวลชนต่างๆ
    - บริษัทตัวแทนโฆษณามีความสัมพันธ์กับองค์การสื่อโฆษณาในเรื่องการเผยแพร่ชิ้นงานโฆษณาที่เสร็จเรียบร้อยแล้วสู่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Oct 18, 2009 12:44 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 7 กระบวนการโฆษณา

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:45 am

    หน่วยที่ 7 กระบวนการโฆษณา

    แนวคิด
    1.การรวบรวมข้อมูลเพื่อการโฆษณาเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ กลุ่มเป้าหมายจทางการตลาด นโยบายและกลยุทธ์การตลาดของสินค้าหรือบริการที่จะทำโฆษณา เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและตัดสินใจโฆษณา
    2.การวางแผนงานโฆษณา เป็นการกำหนดแนวทางและวิธีการปฎิบัติต่างๆเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายของการโฆษรา องค์ประกอบที่สำคัญของแผนงานโฆษณา ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย กลยุทธ์การโฆษณา องค์ประกอบที่สำคัญของแผนงานโฆษณา กลยุทธ์การเลือกสื่อโฆษณาและการซื้อสื่อโฆษณา และการกำหนดวิธีการประเมินผลการโฆษณา
    3.การดำเนินงานตามแผนโฆษณา เป็นการนำแนวทางและวิธีการปฏิบัติตามแผนโฆษณามาลงมือปฏิบัติให้บังเกิดผลซึ่งมีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างสรรค์ชิ้นงานโฆษณา การผลิตชิ้นงานโฆษณา การซื้อสื่อและการประเมินผลการโฆษณา
    4.การประเมินผลการโฆษณา เป็นการตรวจสอบและตัดสินว่าการโฆษณาที่ดำเนินการไปแล้ว บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการโฆษณา หรือไม่เพียงใด การประเมินผลการโฆษณา ทำได้ใน 3 ขั้นตอนคือ การประเมินผลก่อนการโฆษณา การประเมินผลระหว่างการโฆษณา และการประเมินผลหลังการโฆษณา

    7.1 การรวบรวมข้อมูลเพื่อการโฆษณา
    - ข้อมูลเพื่อการโฆษณา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคเป้าหมายของการโฆษณา และข้อมูลเกี่ยวกับการตลาด
    - แหล่งข้อมูลเพื่อการโฆษณา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ข้อมูลปฐมภูมิ และแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ
    - วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการโฆษณา เป็นการเสาะแสวงหา ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ วิจัยข้อมูลต่างๆเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานโฆษณา วิธีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ วิธีการรวบรวมข้อมูลแบบไม่เป็นทางการ และวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบเป็นทางการ วิธีการรวบรวมข้อมูลแบบไม่เป็นทางการที่นิยมให้กันแบ่งออกเป็น 4 วิธีคือ การสังเกต การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ การสืบค้นจากสื่อบันทึกละสื่อออนไลน์ และการอ่านและวิเคราะห์เอกสาร ส่วนวิธีการรวบรวมข้อมูลแบบเป็นทางการนิยมใช้กันแบ่งออกเป็น 3 วิธีคือการสัมภาษณ์กลุ่ม วิธีการสังเกตพฤติกรรมและวิธีการวิจัย

    7.2 การวางแผนงานโฆษณา
    - วัตถุประสงค์ของการโฆษณาแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ วัตถุประสงค์เพื่อมุ่งผลการขายสินค้าวัตถุประสงค์เพื่อผลทางพฤติกรรม และวัตถุประสงค์พื่อแสดงผลของการสื่อสาร การกำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณาอาจใช้แบบจำลอง AIDA Model เป็นแนวทาง ประกอบด้วย การดึงดูดความสนใจ การสร้างความสนใจ การสร้างความต้องการ และการกระตุ้นให้เกิดการกระทำนอกจากนี้เราอาจใช้แบบจำลอง DAGMAR Model เป็นแนวทางการกำหนดวัตถุประสงค์ของการโฆษณา ซึ่งแบบจำลองนี้แบ่งการกำหนดวัตถุประสงค์ตามผลของการสื่อสารออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ การตระหนักรู้ การเกิดความเข้าใจ การเกิดความเชื่อ และการกระทำ
    - การกำหนดกลยุทธ์ในการโฆษณา กลยุทธ์ในการโฆษณาคือ การกำหนดทางเลือกในกรปฏิบัติที่ดีที่สุดและมีความเหมาะสมที่สุด ซึ่งวิธีปฏิบัติที่เลือกใช้นั้นเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการโฆษณา การกำหนดกลยุทธ์ในการโฆษณามีแนวคิดสำคัญ 3 ส่วนคือ การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม โดยใช้สารโฆษณาที่เหมาะสม และผ่านทางสื่อที่เหมาะสม การกำหนดกลยุทธ์ในการโฆษณาทำได้โดยการวิเคราะห์ครีเอทีฟมิกซ์ หรือข้อมูลส่วนผสมของการสร้างสรรค์ 4 ด้าน ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับสินค้า ผู้รับสารเป้าหมาย สื่อที่ใช้ในการสื่อสาร และสารโฆษณา แล้วจึงสังเคราะห์ออกมาเป็นกลยุทธ์การโฆษณา
    - การกำหนดสื่อและกิจกรรมในการโฆษณา เป็นการกำหนดกิจกรรมต่างๆที่จะนำมาใช้ในการดำเนินงานโฆษณาเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการโฆษณา รวมทั้งการวางแผนเลือกใช้สื่อโฆษณาที่จะใช้สื่อสารความคิดนั้น ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

    7.3 การดำเนินตามแผนโฆษณา
    - การกำหนดความคิดสร้างสรรค์ของชิ้นงานโฆษณา เป็นการออกแบบวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาของสารโฆษณา ให้มีลักษณะเป็นการนำเสนอด้วยภาพ เสียง อักษร และเรืองราว ที่มีพลังในการถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึก อารมณ์ มีพลังในการโน้มน้าวใจ เพื่อทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อและนำไปสู่การกระทำ
    - การผลิตชิ้นงานโฆษณา เป็นการนำความคิดสร้างสรรค์และกิจกรรมการโฆษณาที่ได้ออกแบบไว้ไปดำเนินการผลิตให้เกิดเป็นสารโฆษณาที่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการสื่อความหมายกับผุ้บริโภคที่เป็นสารเป้าหมายได้
    - การซื้อสื่อโฆษณา เป็นการวางแผนตัดสินใจในการเลือกใช้สื่อโฆษณาที่สามารถเข้าถึงผุ้รับสารเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ซึ่งต้องคำนึงถึงการเข้าถึง ความถี่ ความต่อเนื่อง ความแรง และความคุ้มค่าในการใช้เงินโฆษณา
    - การประเมินผลชิ้นงานโฆษณา เป็นการตัดสินว่าชิ้นงานโฆษณาที่ได้ผลิตขึ้นมานั้น มีคุณสมบัติมีขีดความสามารถ มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดสารโฆษณาที่ต้องการสื่อไปยังผู้รับสารเป้าหมายได้ดีเพียงใด การประเมินผลชิ้นงานโฆษณาทำได้หลายวิธีการทั้งการทดสอบแนวคิด ทดสอบวิธีการนำเสนอ ทดสอบความจำ
    - การนำเสนอแผนงานโฆษณาอย่างมีประสิทธิภาพมีหลักที่พึงปฏิบัติ 5 ประการคือ มีความคมชัดในกลยุทธ์ มีจิตวิทยาดี การนำเสนอที่ดุไหลลื่น การโน้มน้าวใจอย่างมีโครงสร้างที่ดี และแก้ปัญหาของลูกค้าได้

    7.4 การประเมินผลการโฆษณา
    - วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการโฆษณาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลของการโฆษณา และการประเมินประสิทธิผลของการโฆษณา
    - วิธีการประเมินผลการโฆษณาแบ่งตามขั้นตอนการดำเนินงานออกเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ การประเมินผลก่อนดำเนินงานโฆษณา การประเมินผลระหว่างดำเนินงานโฆษณา และการประเมินผลหลังดำเนินงานโฆษณา


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Oct 18, 2009 3:55 am, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 9 อุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:46 am

    หน่วยที่ 9 อุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์

    แนวคิด
    1.หน่วยงานประชาสัมพันธ์ขององค์การ สามารถพิจารณาได้เป็นหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐ หน่วยงานประชาสัมพันธ์ของธุรกิจเอกชน และหน่วยงานประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและเอกชนที่ไม่แสวงกำไร
    2.บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ เป็นองค์การภาคเอกชนที่รับจ้างดำเนินการด้านการประชาสัมพันธ์ให้กับองค์การต่างๆอย่างมืออาชีพเนื่องจากประกอบด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านการประชาสัมพันธ์
    3.หน่วยงานสนับสนุนงานประชาสัมพันธ์ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ในการให้การสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ขององค์การบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่องค์การกำหนดไว้

    9.1 หน่วยงานประชาสัมพันธ์ขององค์การ
    - หน่วยงานประชาสัมพันธ์ของรัฐ เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าทีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ให้กับองค์การภาครัฐ โดยมีภารกิจหลักคือการให้ข้อมูลข่าวสาร การเผยแพร่ชี้แจงเกี่ยวกับบโยบายของรัฐ ผลการดำเนินงานต่างๆเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐและประชาชนโดยมุ่งหวังที่จะได้รับความร่วมมือจากประชาชนกลุ่มต่างๆในอันที่จะหวังผลสำเร็จของหน่วยงานราชการนั้นๆ
    - หน่วยงานประชาสัมพันธ์ของธุรกิจเอกชน เป็นหน่วยงานที่องค์การจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานประชาสัมพันธ์ขององค์การธุรกิจเอกชน มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความสัมพันธือันดีและความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างองค์การกับประชาชน โดยการเผยแพร่และชี้แจงเกี่ยวกับนโยบาย การดำเนินงานเพื่อที่จะสร้างความเข้าใจอันดีตลอดจนชื่อเสียงขององค์การไปสู่กลุ่มประชาชนเพื่อให้ได้รับความนิยมและความร่วมมือจากกลุ่มประชาชนต่างๆเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งองค์การ
    - หน่วยงานประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและเอกชนที่แสวงหากำไร เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นกับประชาชน เพื่อให้ประชาชนเข้าใจถึงนโยบายและวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานขององค์การ ตลอดจนกิจกรรมที่เป็นผลงานต่างๆเพื่อเชิญชวนให้ประชาชนที่มีความสามารถที่มีความสนใจและต้องการมีส่วนร่วมให้การสนับสนุนกิจกรรมองค์การโดยทางตรงและทางอ้อม

    9.2 บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
    - บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์แบ่งได้เป็น 5 ประเภทคือ ที่ปรึกษาอิสระ หน่วยงานประชาสัมพันธ์ของบริษัทตัวแทนโฆษณา หน่วยงานประชาสัมพันธ์ในเครือของบริษัทตัวแทนโฆษณา บริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์อิสระ และที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์
    - โครงสร้างของบริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ เป็นการจัดองค์การของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการประชาสัมพันธ์ โดยพิจารณาจากลุ่มกิจกรรมที่จะตอบสนององค์การทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

    9.3 หน่วยงานสนับสนุนงานประชาสัมพันธ์

    - หน่วยงานสนับสนุนมีความสำคัญต่อหน่วยงานประชาสัมพันธ์ภายในองค์การและต่อบริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่จะช่วยทั้งในแง่การบริหารจัดการและผลิตงานด้านการประชาสัมพันธ์ให้ประชาสัมพันธ์ให้ประสบความสำเร็จตามแผนการประชาสัมพันธ์ที่องค์การได้กำหนดไว้
    - ความสัมพันธ์ของหน่วยงานสนับสนุนกับหน่วยงานประชาสัมพันธ์ภายในองค์การและบริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์เป็นไปใน 2 ลักษณะคือ ความสัมพันธ์ในลักษณะการพึ่งพากัน และความสัมพันธืในลักษณะการว่าจ้าง


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Sun Oct 18, 2009 4:40 am, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 10 องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:47 am

    หน่วยที่ 10 องค์ประกอบของการประชาสัมพันธ์

    แนวคิด

    1.องค์การและสถาบันเป็นองค์ประกอบสำคัญของการประชาสัมพันธ์ ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะการดำเนินได้ 3 ประเภทคือ องค์การและสถาบันภาครัฐ องค์การและสถาบันธุรกิจเอกชน และองค์การไม่แสวงกำไร
    2.สารเพื่อการประชาสัมพันธ์ หมายถึงตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่ถูกนำมาเข้ารหัส เพื่อสื่อความหมายโดยมีเกณฑ์ในการจำแนกประเภทสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ ได้แก่ การพิจารณาตามลักษณะสาร ความหมายสาร สัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร และวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
    3.เพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นเครื่องมือที่จะนำพาสารเพื่อการประชาสัมพันธ์จาองค์การและสถาบันไปยังผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยในการนำสื่อนั้นๆมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการพิจารณาเลือกใช้อย่างเหมาะสม
    4.กลุ่มผุ้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป้นกลุ่มที่องคการและสถาบันมุ่งหมายที่จะส่งสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ไปถึงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้น ในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ที่ต้องให้ความสำคัญในการวิเคราะห์กลุ่มผุ้มีส่วนได้ส่วนเสีย

    10.1 องค์การและสถาบัน

    - องค์การและสถาบันนับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการประชาสัมพันธ์โดยเป็นฝ่ายเริ่มต้นการประชาสัมพันธ์ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถแบ่งออกตามลักษณะการดำเนินงานได้ 3 ประเภทได้แก่ องคืการและสถบันภาครัฐ องค์การและสถาบันธุรกิจเอกชน และองค์การไม่แสวงกำไร
    - องค์การและสถาบันโดยทั่วไปแล้วต่างนำการประชาสัมพันธ์มาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่คล้ายกัน 3 ประการคือ การประชาสัมพันธ์เพื่อการป้องกัน เพื่อการสร้างภาพลักษณ์ และเพื่อการแก้ไข แต่จากการองค์การและสถาบันแต่ละแห่งมีเป้าหมายการจัดตั้งที่มีลักษณะเฉพาะ ดังนั้นวัตถุประสงค์การประชาสัมพันธ์จึงมีความแตกต่างกันออกไปบ้างตามลักษณะขององค์การและสถาบันโดยจะต้องตอบสนองสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การและสถาบันนั้นๆ
    - การประชาสัมพันธ์ในมิติของระบบเปิดเป็นการสนใจตัวองค์การประชาสัมพันธ์ในฐานะส่วนหนึ่งของระบบขององค์การ โดยจะทำหน้าที่ตอบสนองกับภารกิจหรือหน้าที่ที่องค์การวางไว้ ทั้งนี้บริบทหรือสภาพแวดล้อมจะส่งผลกระทบต่อนโยบายการประชาสัมพันธ์ด้วย บริบทที่ส่งผลกระทบต่อองค์การประชาสัมพันธ์สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทคือ บริบทภายในและบริบทภายนอกองค์การ
    - บทบาทงานประชาสัมพันธ์ในยุคปัจจุบันมีลักษณะที่สัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงอย่างสูงของสังคม บทบาทงานประชาสัมพันธ์มีการขยายบทบาทกว้างขึ้นโดยมีบทบาทด้านการบริหารนโยบายองค์การและสถบัน บทบาทด้านการสร้างภาพลักษณ์องค์การ บทบาทด้านการสนันฃบสนุนตลาดและบทบาทด้านการสนับสนุนตลาดและบทบาทด้านการประเมินผล

    10.2 สารเพื่อการประชาสัมพันธ์

    - สารเพื่อการประชาสัมพันธ์หมายความถึงตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์นำมาเข้ารหัส เพื่อสื่อความหมายก่อให้เกิดความเข้าใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามความมุ่งหมายในการประชาสัมพันธ์ การจำแนกประเภทสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ สามารถใช้เกณฑ์การพิจารณา 5 ประการคือ การพิจารณาตามลักษณะสาร การพิจารณาตามความหมายสาร การพิจารณาตามลักษณะที่ใช้ในการสื่อสาร การพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร และพิจารณาตามการนำเสนอผ่านการสื่อสารประเภทต่างๆ
    - การออกแบบสารเป็นกระบวนการจัดการเกี่ยวกับแนวคิดการประชาสัมพันธ์โดยการเข้ารหัสหรือสัญลักษณ์สารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้สารประชาสัมพันธ์นั้นสามรถสร้างความเข้าใจและมีลักษณะที่น่าสนใจ อาจอยู่ในรูปวัจนภาษาหรืออวัจนภาษา การออกแบบสารนับเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินการประชาสัมพันธ์
    - การสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ควรคำนึงถึงหลักการของการสื่อสาร เช่น ความน่าเชื่อถือ บริบทในการสื่อสาร ฯลฯ และนำหลักการมาปรับใช้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์ ตลอดจนพยายามขจัดปัญหาอุปสรรคการสื่อสารต่างๆที่จะเกิดขึ้น

    10.3 สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์

    - สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องมือหรือพาหนะ เป็นตัวกลางที่จะนำพาสารเพื่อการประชาสัมพันธ์จากองค์การและสถาบัน ไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจะนำสื่อนั้นๆมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพย่อมขึ้นกับการพิจารณาเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม โดยการคำนึงถึงองค์ประกอบ 4 อย่างคือ วัตถุประสงค์ของการประประชาสัมพันธ์ เป้าหมาย สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมและศักยภาพในการดำเนินการประชาสัมพันธ์
    - สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์มีหลายประเภทและมีการพัฒนาอยู่เสมอ การจะนำสื่อนั้นๆมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ย่อมขึ้นกับการพิจารณาเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม โดยการคำนึงถึงองค์ประกอบ 4 อย่างคือ วัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม และศักยภาพในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์
    - การประเมินผลการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นการตัดสินคุณค่าของการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ว่าบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร สามารถดำเนินการประเมินได้ใน 2 ลักษณะคือการประเมินผลที่มุ่งศึกษาเฉพาะองค์ประกอบของช่องสารหรือสื่อ การประเมินผลที่มุ่งตรวจสอบการสื่อสารหรือที่เรียกว่า การตรวจสอบการประชาสัมพันธ์ เป็นการวิเคราะห์ทั้งกระบวนการสื่อสาร ว่ามีอุปสรรคอย่างไร สำหรับช่วงเวลาของการประเมินการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์สามารถทำได้ 3 ช่วงเวลาคือ การประเมินก่อน ระหว่าง และภายหลังการสื่อสารตามโครงการประชาสัมพันธ์

    10.4 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    - กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นกลุ่มที่องค์กรและสถาบันมุ่งหมายจะส่งสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ไปถึงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ปกติคำว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นคำที่ใช้ในด้านธุรกิจ หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับองค์การ ซึ่งจากการมองถึงความสัมพันธ์และคุณค่าของกลุ่มบุคคลที่มีต่อการดำเนินงานองค์การ ทำให้วงการประชาสัมพันธ์ให้ความสนใจและนำคำนี้มาใช้ การจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถใช้หลักเกณฑ์ 4 ประการคือ การจำแนกตามคุณลักษณะประชากร การจำแนกตามความสัมพันธ์กับองค์การ การจำแนกตามสภาพภูมิศาสตร์และการจำแนกตามความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
    - การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ต้องให้ความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ควรตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ตระหนักถึงความแตกต่างของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมี 4 ขั้นตอน คือ การระบุบุคคล กลุ่มบุคคลหรือองค์การและสถาบันที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม การอธิบายความสำคัญหรืออิทธิพลของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งด้านบวกและด้านลบ การจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยการสร้างกรอบพิจารณา การพิสูจน์กลยุทธ์ การดำเนินงานสร้างความสัมพันธ์


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Mon Oct 19, 2009 12:55 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 13 สื่อประชาสัมพันธ์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:50 am

    หน่วยที่ 13 สื่อประชาสัมพันธ์

    แนวคิด
    1.สื่อประชาสัมพันธ์คือตัวกลางหรือพาหนะที่นำข่าวสารประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานไปสู่ประชาชนโดยมีความสำคัญในการรำข่าวสารไปแจ้งให้ประชาชนได้รับทราบ ทำให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดความนิยมชมชอบและเกิดความบันเทิง
    2.สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์มีอยู่มากมายหลายประเภท ซึ่งสามารถจำแนกเป็นประเภทได้คือ สื่อบุคคล สื่อมวลชย กิจกรรม
    สื่อโสตทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเฉพาะกิจและสื่อยุคใหม่
    3.การพิจารณาเลือกสื่อในการประชาสัมพันธ์นั้น นักประชาสัมพันธ์ไม่เพียงแต่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเภทและ
    คุณสมบัติต่างๆ ของสื่อเท่านั้น ต่จะต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม และศักยภาพในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์มาประกอบด้วย

    13.1 ความหมายและความสำคัญของสื่อประชาสัมพันธ์
    - สื่อประชาสัมพันธ์ หมายถึง สิ่งที่นักประชาสัมพันธ์เลือกมาใช้ในการนำข่าวสารประชาสัมพันธ์ของหน่วยงาน
    - การประชาสัมพันธ์จะดำเนินไปได้โดยอาศัยสื่อประชาสัมพันธ์ หากขาดสื่อแล้ว จะไม่สามารถดำเนินงานประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถดำเนินงานได้เลย ทั้งนี้เพราะสื่อประชาสัมพันธ์สามารถนำข่าวสารประชาสัมพันธ์ไปให้ประชาชนทราบ เกิดความรู้ความเข้าใจเกิดความนิยม และมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อหน่วยงานและให้ความบันเทิงแก่ประชาชน

    13.2 ประเภทและคุณสมบัติของสื่อประชาสัมพันธ์
    - สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อบุคคลจำแนกได้เป็น 6 ประเภทคือ การสนทนา การอภิปราย การบรรยาย การประชุม การสัมมนา
    และการพูดในที่ประชุม สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อบุคคลนี้เป็นการติดต่อสื่อสารที่นับได้ว่ามีประสิทธิภาพและประหยัดที่สุด
    - สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อมวลชนสามารถจำแนกได้ 5 ประเภทคือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
    และภาพยนต์ สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อมวลชนนี้มีคุณสมบัติและข้อเด่น ข้อจำกัดที่แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภท
    - สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทกิจกรรมสามารถจำแนกได้หลายประเภทด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้กันละมีประสิทธิภาพคือ การจัดวันหรือ
    สัปดาห์พิเศษ การให้ความอุปถัมป์หรือช่วยเหลือสนับสนุน การจัดการประกวด การให้รางวัลพิเศษ การจัดประชุมหรือสัมมนา
    การเปิดให้เยี่ยมหน่วยงาน และการจัดงานฉลอง
    - สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทเอกสารและสื่อเฉพาะกิจสามารถจำแนกได้เป็น 6 ประเภท คือ หนังสือพิมพ์ หนังสือ วารสาร จดหมาย แผ่นพับ และเอกสารเย็บเล่มหรือจุลสาร และแผ่นประกาศหรือโปสเตอร์
    - สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อโสตทัศน์ จำแนกได้ 3 ประเภท คือ วัสดุ อุปกรณ์+เครื่องมือ และวิธีการ
    - สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทสื่อยุคใหม่ หมายถึงสื่อระบบดิจิทัล ไร้สายหรือการใช้สื่อสร้างสรรค์แนวใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี
    อย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดระบบการสะท้อนกลับเพื่อเพิ่มความสนใจในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

    13.3 การพิจารณาเลือกใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์
    - วัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์ โดยทั่วไปอาจเป็นวัตถุประสงค์ที่กว้าง ไม่สามารถจะเห็นความสัมพันธ์กับการใช้สื่อได้
    ฉะนั้นหากวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจนจึงต้องจำแนกแยกให้เป็นวัตถุประสงค์ย่อยที่เป็นรูปธรรมมากขึ้นก่อน แล้วจึงพิจารณาว่า
    สื่อใดเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ใด
    - การมีความรู้เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายในการประชาสัมพันธ์ให้มากที่สุดจะช่วยให้การพิจารณาเลือกใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์
    ของสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในปัจจุบัน
    -การพิจารณาเลือกใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์ ไม่ควรที่จะละเลยในการตรวจสอบความสัมพันธ์ของสื่อกับสภาพของสังคม
    เศรษฐกิจ และการเมืองในปัจจุบัน
    - การพิจารณาถึงบุคคลากรงบประมาณวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือและการจัดการเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีการพิจารณาประกอบ
    ในการเลือกใช้สื่อในการประชาสัมพันธ์


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Oct 21, 2009 4:16 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 15 จริยธรรมวิชาชีพและกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:51 am

    หน่วยที่ 15 จริยธรรมวิชาชีพและกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

    แนวคิด
    1.แนวคิดจริยธรรมทางธุรกิจและการบริหารงานประกอบด้วย แนวคิดจริยธรรมในระดับสากล แนวคิดจริยธรรมทางธุรกิจ และการบริหารองค์การตามหลักธรรมาภิบาล
    2.แนวคิดเรื่องจริยธรรมการใช้สื่อแบ่งเป็น แนวคิดหลักประโยชน์สุขนิยม แนวคิดจริยธรรมเชิงหน้าที่ และแนวคิดหลักจริยธรรมสายกลาง
    3.การใช้แนวคิดจริยธรรมที่ใช้ในงานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์ ต้องคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นตามแนวทางของแต่ละแนวคิดเชิงจริยธรรมที่ใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์
    4.กฏหมายมีความสำคัญต่องานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์ทั้งในด้านการคุ้มครอง และควบคุมสื่อในการเผยแพร่ต่อสาธารณะ การศึกษาหลักกฏหมายที่เกี่ยวข้องนอกจากต้องระมัดระวังในเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อองค์การและบุคคลากรในองค์การแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสิทธิและการคุ้มครองของผู้บริโภคด้วย

    15.1 แนวคิดจริยธรรมกับธุรกิจและการบริหารงาน
    - แนวคิดระดับสากลเป็นการมองภาพกว้างด้วยการพิจารณาตามหลักที่มาของกฏหมายสากล 3 ข้อประกอบด้วย การกระทำที่เป็น
    ความดีเมื่อเกิดประโยชน์ที่พึงปรารถนา การกระทำที่เป็นความเลวหากเป้นการทำร้ายผู้อื่นโดยบีบบังคับและการกระทำที่เป็นกลาง
    - แนวคิดจริยธรรมทางธุรกิจระดับองค์การประกอบด้วย เรื่องขอบเขตความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ และเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ ส่วนแรกเรื่องขอบเขต ประกอบด้วยขอบเขตความรับผิดชอบต่อผุ้บริโภค ต่อสังคมโลกและสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 2 เรื่องหน้าที่ของภาคธุรกิจที่ต้องรับผิดชอบประกอบด้วยหน้าที่ทางด้านเศรษฐกิจ จริยธรรม กฏหมาย และสังคม
    - แนวคิดการบริหารองค์การตามหลักธรรมาภิบาล หมายถึง แนวทางในการจัดระเบียบเพื่อให้สังคมของประเทศทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชนและภาคประชาชน สามารถอยู่ร่วกันได้อย่างสงบสุข และตั่งอยู่ในความถูกต้องเป็นธรรม ตามหลักพื้นฐานการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการคือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า หลักดังกล่าวสามารถนำมาใช้ได้ทุกๆภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาชน

    15.2 แนวคิดจริยธรรมการใช้สื่อในงานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์
    - แนวคิดจริยธรรมการใช้สื่อ แบ่งเป็น 3 แนวคิด ได้แก่ แนวคิดหลักจริยธรรมประโยชน์สุขนิยมที่มุ่งประโยชน์ของคนส่วนใหญ่
    แนวคิดหลักจริยธรรมเชิงหน้าที่มุ่งปกป้องรักษาสิทธิ์ความเป้นมนุษย์ และแนวคิดหลักจริยธรรมสายกลางที่พิจารณาความเหมาะสม
    ในการนำเสนอสื่อตามดาลเทศะและบุคคล
    - การใช้แนวคิดจริยธรรมในงานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์ ใช้การวิเคราะห์เหตุการณ์ด้วยการตั้งสมมติฐานและเปรียบเทียบ
    ถึงผลที่จะตามมาและการคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับตามแนวทางของแต่ละแนวคิดเชิงจริยธรรมที่ใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์
    โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคและประชาชนเป็นสำคัญ

    15.3 กฏหมายในงานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์

    - กฏหมายมความสำคัญในงานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์ ในเรื่องการควบคุมการใช้สื่อเพื่อไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคล
    เนื่องจากการควบคุมด้วยกฏหมายจัดเป็นกลไกที่ใช้ควบคุมสื่อและสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด เพราะกฏหมายมีการบัญญัติบทลงโทษที่แน่นอนและชัดเจน
    - กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิต่างๆในงานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์ แบ่งได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆได้แก่ กฏหมายคุ้มครองสิทธิ
    ในงานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์ และกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคจากงานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์
    กฏหมายคุ้มครองสิทธิได้แก่กฏหมายลิขสิทธิให้ความคุ้มครองงานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆนักโฆษณาและนักประชาสัมพันธ์
    ควรศึกษาในเรื่องเงื่อนไขและประเด็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อปกป้องสิทธิให้กับงานขององค์การและบุคคลากรในองค์การ รวมทั้งระมัดระวังไม่ไปละเมิดสิทธ์ของผู้อื่นหรือองค์การอื่น
    กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคได้แก่พระราชบัญญิติคุ้มครองผู้บริโภคมีประเด็นสำคัญในเรื่องสิทธิและการคุ้มครองสิทธิในด้านต่างๆ
    สิทธิของผู้บริโภคประกอบด้วย สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหา สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย
    จากการใช้สินค้าหรือบริการ สิทธิที่จะได้รับความเป้นธรรมในการทำสัญญา และสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
    การคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในงานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์ทำให้ผู้บริโภคมีช่องทางในการเรียกร้องสิทธิตาม
    กฏหมายได้ ทั้งนี้ผู้ที่ทำงานในด้านนี้ควรตระหนักถึงสิทธิดังกล่าวที่จะไม่ไปก้าวล่วง


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Oct 21, 2009 4:15 pm, ทั้งหมด 3 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 6 กลุ่มเป้าหมายของการโฆษณา

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:53 am

    หน่วยที่ 6 กลุ่มเป้าหมายของการโฆษณา

    แนวคิด
    1. การแบ่งส่วนตลาด หมายถึง กระบวนการแบ่งผู้บริโภคออกเป็นกลุ่มๆโดยแต่ละกลุ่มประกอบด้วยกลุ่มผู้บริโภคที่มีลักษณะเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดและการโฆษณาที่เหมาะสม วิธีการแบ่งส่วนตลาดมีการใช้ตัวแปรในด้านต่างๆมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาด ได้แก่ ตัวแปรตามสภาพภูมิศาสตร์ ตัวแปรตามลักษณะทางประชากร ตัวแปรตามลักษณะทางจิตวิทยา
    2.การเลือกกลุ่มเป้าหมายในการโฆษณาถือเป็นด่านแรกของการวางแผนโฆษณา เมื่อนักการตลาดและนักโฆษณาได้ศึกษาวิเคราะห์ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าที่ตนเองบริหารอย่างถี่ถ้วนแล้วจากนั้นจะต้องตัดสินใจเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ตนเองสามารถบริหารกลยุทธ์ทางการตลาดและการโฆษณาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานโฆษณาต้องเริ่มต้นจากการเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับตราสินค้าที่เรียกว่า Creative Brief
    3.ตำแหน่งตราสินค้า คือ จุดเด่นจุดขาย หรือจุดสร้างความแตกต่างของตราสินค้า ที่ถูกกำหนดโดยนักการตลาดและนักโฆษณาให้ใช้เป็นตำแหน่งของตราสินค้า ตำแหน่งตราสินค้ามีส่วนทำให้ตราสินค้ามีความชัดเจนและทำให้ผู้บริโภคเป้าหมายสามารถนำมาพิจารณาในขั้นต้นได้ว่า สินค้านั้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้หรือไม่ องค์ประกอบที่ควรนำมาพิจารณาเป็นแนวทางในการกำหนดตำแหน่งตราสินค้าได้แก่ ตลาดกลุ่มเป้าหมาย คู่แข่งขันในตลาด ความเหมือนและความแตกต่างของตราสินค้าของเราเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง

    6.1 กลุ่มเป้าหมายกับกรแบ่งส่วนตลาด

    - การแบ่งส่วนตลาด หมายถึง กระบวนการแบ่งผู้บริโภคออกเป็นกลุ่มๆ โดยในแต่ละกลุ่มย่อยจะมีลักษรธเฉพาะตัว ผู้บริโภคแต่ละกลุ่มประกอบด้วยผู้บริโภคที่มีลักษณะเดียวกัน มีความต้องการและพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน การแบ่งส่วนตลาดมีประโยชน์ในการวิเคราะห์และวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดและการโฆษณาที่เหมาะสม ทำให้สามารถเข้าใจภาพรวมของสินค้านั้นๆได้ชัดเจน เห็นความแตกต่างของกลุ่มผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม และสามารถเลือกใช้สื่อที่เข้าถึงตลาดกลุ่มเป้าหมายได้มากที่สุด
    - วิธีการแบ่งส่วนตลาดเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายมีการใช้ตัวแปรในด้านต่างๆมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาด ตัวแปรที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันได้แก่ ตัวแปรสภาพทางภูมิศาสตร์ ตัวแปรตามลักษณะทางประชากร ตัวแปรตามลักษณะทางจิตวิทยา และตัวแปรตามลักษณะทางพฤติกรรม
    - หลักในการพิจารณาการแบ่งส่วนตลาดเพื่อเลือกตลาดกลุ่มเป้าหมาย ควรคำนึงถึงขนาดของตลาด กลุ่มเป้าหมาย การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในตลาดนั้นๆ ความสามารถในการสร้างความแตกต่างด้านการรับรู้ตราสินค้า วงจรชีวิตของตลาดกลุ่มเป้าหมายและคู่แข่งขันที่อยู่ในตลาด
    กลุ่มเป้าหมายแบ่งเป็นรุ่น Generation X – 2508-2524 คนง่ายๆไม่ทางการให้ความสำคัญกับสมดุลของงานและครอบครัว Y – 2525-2537 มีความเป็นตัวของตัวเอง Z – 2538-2552 ทำงานหนักแต่งงานช้า

    6.2 กลุ่มเป้าหมายกับการโฆษณา
    - การพัฒนากลยุทธ์การโฆษณาสำหรับกลุ่มเป้าหมายนั้น ต้องเริ่มต้นจากการที่นักการตลาดให้รายละเอียดเกี่ยวกับตราสินค้าของตน เมื่อนักโฆษณาได้รับรายละเอียดเกี่ยวกับตราสินค้าแล้วก่อนที่นักโฆษณาจะคิดสร้างสรรค์งานโฆษณาเพื่อสื่อสารถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย นักโฆษณาจะต้องทำครีเอทีปบรีฟ ซึ่งเป็นเอกสารแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตราสินค้าในทุกๆด้าน ที่ช่วยทำให้นักสร้างสรรค์งานโฆษณานำไปใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์งานโฆษณาได้
    - กลุ่มเป้าหมายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ ครีเอทีฟบรีฟ ที่มีผลต่อการสร้างสรรค์กลยุทธ์การโฆษณาที่เหมาะสม งานโฆษณาที่ประสบความสำเร็จสามารถจูงใจให้กลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายรู้จัก ชื่นชอบตราสินค้าแลหันมาซื้อหรือใช้บริการ ดังนั้น การมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคให้มากที่สุดจะทำให้สามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภคได้

    6.3 กลุ่มเป้าหมายกับการกำหนดตำแหน่งสินค้า
    - ตำแหน่งตราสินค้า คือการออกแบบจุดขายและภาพลักษณ์ที่มีคุณค่าและมีความแตกต่างเพื่อให้เข้าไปอยู่ในใจกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย การกำหนดตำแหน่งตราสินค้าจึงเป็นการหาพื้นที่จุดยืนที่เหมาะสมในใจของผู้บริโภคเป้หมาย หรือตลาดกลุ่มเป้าหมาย และทำให้ผู้บริโภคคิดถึงตราสินค้าหรือบริการได้อย่างถูกต้องตามที่ตั้งใจไว้ การมีตำแหน่งตราสินค้าที่ดีมีส่วนช่วยในการวางกลยุทธ์ทางการตลาดทำให้เกิดการชัดเจนในสายตาของผู้บริโภคว่าสินค้านั้นๆมีจุดเด่นหรือมีความโดดเด่น และมีสิ่งใดที่แตกต่างหรือเหมือนกับคู่แข่งอย่างไร
    - องค์ประกอบที่ควรนำมาพิจารณาเป็นแนวทางในการกำหนดตำแหน่งตราสินค้า ได้แก่ ตลาดกลุ่มเป้าหมาย คู่แข่งขันในตลาด ความเหมือนของตราสินค้าของเราเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง และความแตกต่างของตราสินค้าของเราเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง
    - เกณฑ์ในการพิจารณาและประเมินตำแหน่งตราสินค้าที่เหมาะสมได้แก่ 1.การพิจารณาเลือกกรอบของคู่แข่งขัน 2.การเลือกจุดเหมื่อนและจุดแตกต่างมีความสำคัญต่อการวางตำแหน่งตราสินค้า 3.การประเมินตำแหน่งตราสินค้าเป็นระยะๆและการพิจารณาสร้างสรรค์ตำแหน่งตราสินค้าจากคุณลักษณะของ
    สินค้า คุณประโยชน์จากสินค้า ผลประโยชน์ทางอารมณ์ คุณค่าและประสบการณ์


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Oct 21, 2009 10:24 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 8 สื่อโฆษณา

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:54 am

    หน่วยที่ 8 สื่อโฆษณา

    แนวคิด

    1.สื่อโฆษณามีหลายประเภท โดยในยุคปัจจุบันนี้ สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ สื่อแบบดั้งเดิมคือสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง และสื่อวิทยุโทรทัศน์และสื่อนอกสถานที่และสื่อใหม่ คือ สื่ออินเทอร์เนตและสื่อทางเลือก ซึ่งสื่อแต่ละประเภทมีคุณสมบัติ ข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป ซึ่งผู้วางแผนสื่อจะต้องเข้าใจถึงความแตกต่างเพื่อนำไปวางแผนเลือกใช้สัดส่วนของสื่อได้อย่างเหมาะสม
    2.การวางแผนสื่อโฆษณา เป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนผู้วางแผนสื่อนอกจากจะต้องเข้าใจลักษณะของสื่อแต่ละประเภทแล้ว ยังต้องเข้าใจปัจจัยทางการโฆษณาและการตลาดอื่นๆ เช่น ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายแผนงานสร้างสรรค์ จากนั้นจึงต้องมีการวางแผนที่เป็นขั้นตอน เช่น การกำหนดวัตถุประสงค์ การวางกำหนดการของการใช้สื่อ รวมทั้งรูปแบบของพื้นที่สื่อแต่ละประเภท เป็นต้น
    3.การประเมินผลการใช้สื่อโฆษณา เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ เพราะเป็นขั้นตอนที่ทำให้ทราบว่าการลงทุนในสื่อโฆษณาน้นมีประสิทธิภาพและคุ้มค่าเพียงใด เพื่อที่จะได้ประเมินผลและปรับเปลี่ยนแผนการซื้อสื่อให้เหมาะสมในครั้งต่อไป

    8.1 ประเภทและคุณสมบัติของสื่อโฆษณา
    - สื่อแบบดั้งเดิม คือ สื่อมวลชนที่เกิดขึ้นมาก่อนสื่อที่เรียกว่าสื่อใหม่ ซึ่งเป็นสื่อที่ผู้บริโภคส่วนมากคุ้นเคยและใช้กันมากที่สุด ดังนั้นก็จะมีโอกาสเห็นโฆษณามากที่สุดด้วย ซึ่งก็คือหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์และสื่อนอกสถานที่
    - สื่อใหม่ เกิดขึ้นมาพร้อมกับการขยายตัวของสื่อในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งก็คือสื่ออินเทอร์เนต ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 โดยดั้งเดิแล้ว คำว่า สื่อใหม่ นั้นจำกัดเฉพาะสื่ออินเทอร์เนตเท่านั้น แต่ในระยะหลัง วงการโฆษณามีการใช้สื่อรูปแบบแปลกใหม่ จึงเป็นที่มาของคำว่าสื่อทางเลือก(สื่อแฝงสภาพแวดล้อม สื่อแฝงในสถานที่ วีดีโอเกมส์ การสื่อสารไร้สาย การตลาดแบบกองโจรคือปากต่อปาก)ดังนั้นทั้งสองรูปแบบจึงเรียกรวมกันได้ว่าเป็น สื่อใหม่ หรือสื่อที่ไม่ตามแบบแผน ซึ่งตรงข้ามกับสื่อแบบดั้งเดิม ซึ่งมีรูปแบบค่อนข้างจะเป็นแบบแผนแน่นอน

    8.2 การวางแผนและการซื้อสื่อโฆษณา
    - ในการวางแผนสื่อ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการตลาดรวมของผลิตภัณฑ์ มีขั้นตอนต่างๆที่ต้องพิจารณา 5 ขั้นตอนคือ การวิเคราะห์สภาพตลาด การกำหนดวัตถุประสงค์ในการใช้สื่อ การกำหนดยุทธวิธีในการซื้อสื่อการซื้อสื่อ และการติดตามและประเมินผลสื่อ
    - การซื้อสื่อเป็นหน้าที่ของผู้ซื้อสื่อ ซึ่งรายละเอียดและขั้นตอนในการซื้อสื่อแต่ละประเภทจะแตกต่างกันออกไปผู้ซื้อจะต้องเข้าใจลักษณะพื้นที่โฆษณาของสื่อแต่ละประเภทด้วย

    8.3 การประเมินผลการใช้สื่อโฆษณา
    - การเข้าถึง คือจำนวนผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ที่ได้เปิดรับสื่อหนึ่งๆรายการหนึ่งๆอย่างน้อยหนึ่งครั้งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยมักจะแสดงในรูปแบบร้อยละ โดยตัวเลขที่แสดงนี้ป้นจำนวนผู้ชมที่ไม่นับซ้ำส่วนความถี่ คือความถี่เฉลี่ยของจำนวนการรับชมสื่อหนึ่งหรือรายการหนึ่งๆ ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายคนหนึ่ง หรือครัวเรือนหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
    - สิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในการวางแผนสื่อก็คือความคุ้มค่ากับค่าใช้จ่าย โดยมีวิธีที่ได้รับความนิยมในการพิจารณาความคุ้มค่าของสื่ออยู่ 2 วิธีคือ CPM (cost per thousand) สูตรการคำนวณค่าใช้จ่ายต่อพันคน CPM = ค่าโฆษณา*1000 หาร ยอดพิมพ์หรือจำนวนผู้ชม และ CPRP สูตรของการคำนวนค่าใช้จ่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย1% CPRP = ค่าโฆษณาของสื่อหนึ่งหาร rating ของสื่อนั้น


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Oct 21, 2009 10:25 pm, ทั้งหมด 4 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 11 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:56 am

    หน่วยที่ 11 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

    แนวคิด
    1.กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึงบุคคล กลุ่มบุคคลซึ่งมีผลกระทบหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินการขององค์การ การบริหารเชิงกลยุทธ์ จึงต้องมีการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้เพราะกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความสัมพันธ์กับกระบวนการทำงานประชาสัมพัน์ในทุกขั้นตอน
    2.การจำแนกกลุ่มผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อวัตถุประสงค์หลัก คือทำให้ผู้วางแผนประชาสัมพันธ์สามารถแยกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มใหญ่ ซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อจะได้ทำความเข้สใจกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มได้ง่ายขึ้นโดยมีแนวทางการจำแนกได้หลายแนวทาง ได้แก่ การจำแนกตามลักษณะทางประชากร ตามความสัมพันธ์กับองค์การ ตามสภาพภูมิศาสตร์ และตามความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
    3.กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์การ เป็นกลุ่มคนซึ่งมีความร่วมกันด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจและผลประโยชน์ร่วมขององค์การประกอบด้วยกลุ่มสำคัญสองกลุ่มคือ กลุ่มผู้บริหารและกลุ่มพนักงาน
    4.กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์การ เป็นกลุ่มคนซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับองค์การในหลากหลายลักษณะ ทุกกลุ่มล้วนมีความสำคัญกับการดำเนินพันธกิจขององค์การทั้งสิ้น ประกอบด้วยกลุ่มสำคัญได้แก่ กลุ่มลูกค้าผู้ใช้บริการ กลุ่มผู้ถือหุ้น กลุ่มราชการ กลุ่มสสื่อมวลชน กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆและกลุ่มชุมชน

    11.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับกลุ่มผุ้มีส่วนได้ส่วนเสีย

    - กลุ่มผุ้มีส่วนได้ส่วนเสีย หมายถึง กลุ่มบุคคล ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่มีผลกระทบหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินการขององค์การ การรู้จักและสามารถสื่อสารสร้างความเข้าใจกับกลุ่มผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มจึงมีความสำคัญต่อความก้าวหน้าหรือความอยู่รอดขององค์การ
    - การวิเคราะห์กลุ่มผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียควรดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1.การระบุกลุ่มหรือบุคคลทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง 2.อธิบายความสัมพันธ์และอิทธิพลที่แต่ละกลุ่มมีต่อองค์การ 3.จัดลำดับความสัมพันธ์และความสำคัญด้วยการสร้างกรอบการพิจารณาที่ชัดเจน 4.การพิจารณากลยุทธ์การดำเนินงานที่จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น
    - กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความสัมพันธ์กับกระบวนการทำงานประชาสัมพันธ์ทั้ง 4 ขั้นตอย คือ ขั้นการรวบรวมข้อมูล ขั้นวางแผนงาน การดำเนินการตามแผนและขั้นการประเมินผลการทำงานประชาสัมพันธ์

    11.2 การจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
    - วัตถุประสงค์ของการจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อทำให้ผุ้วางแผนงานประชาสัมพันธ์สามารถแยกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มใหญ่ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากออกเป็นกลุ่มย่อยๆที่มีคุณลักษณะร่วมกันอยู่บ้างโดยมีหลักการสำคัญคือเมื่อจำแนกแล้วจะต้อง 1.มีความเหมือนกันภายในกลุ่มมากที่สุดแต่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มมากที่สุด 2. ควรระบุได้ชัดเจนและมีจำนวนที่สามารถวัดจำนวนนับได้ 3.กลุ่มมีความถาวรคือมีความเป็นกลุ่มก้อนรวมตัวกันชัดเจนได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 4.สามารถดำเนินกิจกรรมหรือเข้าถึงกลุ่มดังกล่าวด้วยสื่อและกิจกรรมประเภทต่างๆได้
    - แนวทางในการจำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถทำได้หลายแนวทางได้แก่ จำแนกตามคุณลักษณะทางประชากร จำแนกตามความสัมพันธ์กับองค์การ จำแนกตามสภาพภูมิศาสตร์ จำแนกตามความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโดยงของปัญหาหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

    11.3 กลุ่มผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์การ
    - กลุ่มผู้บริหาร จัดเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในองค์การที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง เป้าหมายการทำงานขององค์การตลอดจนการควบคุมการดำเนินการต่างๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์การ ผู้บริหารจึงใช้บทบาทการประชาสัมพันธ์ในการสร้างความสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจในการดำเนินการขององค์การให้เกิดขึ้น กับทั้งกลุ่มภายในองค์การและภายนอกองค์การ
    - กลุ่มพนักงาน มีความสำคัญต่อการปฏิบัติภารกิจตามพันธกิจขององค์การให้บรรลุตามเป้าหมายงานประชาสัมพันธ์เข้าไปเกี่ยวข้องและมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเป็นสะพานเชื่อมโยงการสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ และความรู้สึกร่วมกันในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์การและสร้างค่านิยมร่วมเพื่อเป้าหมายความสำเร็จขององค์การร่วมกัน

    11.4 กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์การ
    - กลุ่มลูกค้าผู้ใช้บริการ หมายถึงกลุ่มผู้ซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการอาจแบ่งได้เป็นกลุ่มลูกค้าโดยตรงหรือผู้ซื้อสินค้าไปจำหน่ายอีกทอดหนึ่งเรียกว่ากลุ่มผู้แทนจำหน่าย แนวทางการทำงานประชาสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้าคือการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า จัดสื่อกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์และสร้างช่องทางให้ลูกค้าติดต่อกับองค์การได้อย่างเหมาะสม สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดขึ้นต่อสินค้าและองค์การตลอดจนสร้างความเข้าใจกับบุคคลากรทุกฝ่ายให้สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ถูกต้องกับกลุ่มลูกค้า
    - กลุ่มผู้ถือหุ้น หมายถึงกลุ่มซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของกิจการหรือธุรกิจต่างๆด้วยการร่วมลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทหรือกองทุนรวมต่างๆแนวทางการประชาสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ถือหุ้นคือการตนวจสอบความคิดเห็นและความพึงพอใจที่กลุ่มผู้ถือหุ้นมีต่อการดำเนินกิจการขององค์การและต้องสร้างความมั่นใจในด้านความมั่นคงของการลงทุนด้วยการรายงานสถานการณ์ความก้าวหน้าขององค์การให้กลุ่มผู้ถือหุ้นรับทราบข้อเท็จจริงอยู่เสมอ
    - กลุ่มราชการ หมายถึงกลุ่มผู้ทำงานในหน่วยงานราชการทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมทั้งที่อยู่ในต่างประเทศแนวทางการประชาสัมพันธ์คือการติดตามความเคลื่อนไหวการทำงานของกรรมาธิการและหน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานขององค์การพยายามให้ข้อมูลสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับองค์การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและให้ความร่วมมือกับหน่วยราชการต่างๆที่ขอความร่วมมือมายังองค์การ
    -กลุ่มสื่อมวลชนจัดเป็นกลุ่มซึ่งมีความสำคัญเป็นสื่อกลางช่วยนำข่าวสารข้อมูลขององค์การนำเสนอสู่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆแนวทางการประชาสัมพันธ์กับกลุ่มสื่อมวลชนคือการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับสื่อมวลชนให้ทันสมัยและให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารขององค์การแก่กลุ่มสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
    - กลุ่มผลประโยชน์หมายถึงกลุ่มหรือองค์การที่แสวงหาอิทธิพลเหนือนโยบายสาธารณะแนวทางการประชาสัมพันธ์กับกลุ่มดังกล่าวคือการสำรวจและประมวลความคิดเห็นของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆด้วยการพบปะแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็นตลอดจนหาโอกาสชี้แจงแสดงข้อมูลเกี่ยวกับองค์การเพื่อขอให้กลุ่มผลประโยชน์เกิดความเข้าใจและมีส่วนนำข้อมูลเผยแพร่ไปยังสมาชิกกลุ่มผลประโยชน์
    -กลุ่มชุมชน หมายถึงกลุ่มคนซึ่งมีถิ่นฐานอาศัยอยู่รวมกัน มีการทำกิจกรรมเรียนรู้ติดต่อสื่อสารร่วมมือและพึ่งพาอาศัยกัน
    มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นมีความผูกพันกับพื้นที่แห่งนั้นร่วมกันแนวทางการประชาสัมพันธ์กับกลุ่มชุมชนคือการให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดขึ้นสร้างความคุ้นเคยเป็นกันเองและสร้างการยอมรับว่าองค์การเป็นเสมือนส่วนหนึ่งของชุมชนนั้นให้เกิดขึ้น


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Oct 21, 2009 10:39 pm, ทั้งหมด 5 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 12 กระบวนการประชาสัมพันธ์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:57 am

    หน่วยที่ 12 กระบวนการประชาสัมพันธ์

    แนวคิด
    1.การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการประชาสัมพันธ์สามารถกระทำได้ 2 วิธีคือ การสำรวจข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลจากเอกสารและบุคคลที่อยู่ในดุลพินิจของผู้ทำการสำรวจเป็นสำคัญและการสำรวจข้อมูลอย่างเป็นทางการซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลอย่างมีการวางแผนและเป็นระบบโดยปราศจากความลำเอียง มีการควบคุมและมีหลักฐานในกรอบของวิธีทางวิทยาศาสตร์
    2.การวางแผนการประชาสัมพันธ์เป็นการกำหนดวิธีการปฏิบัติเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์เพื่อจะช่วนให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลซึ่งการวางแผนนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท และมีขั้นตอนในการวางแผนอย่างชัดเจน
    3.การปฏิบัติตามแผนประชาสัมพันธ์ เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ได้วางไว้ นักประชาสัมพันธ์จะทำงานในขั้นตอนของการสื่อสาร ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับองค์ประกอบที่สำคัญคือ เหตุการณ์ ผู้ส่งสาร สื่อ และประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยต้องมีความรู้ในเรื่ององค์ประกอบเหล่านี้เพื่อให้เกิดพัฒนาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้มีคุณภาพ
    4.การประเมินผลงานประชาสัมพันธ์เป็นการตัดสินคุณค่าของงานประชาสัมพันธ์ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว โดยสามารถจำแนกได้เป็นหลายประเภทตามกำหนดเวลาประเมินและวิธีการประเมิน ซึ่งการประเมินผลงานประชาสัมพันธ์ ยังมีลักษณะเฉพาะของตัวเองที่เหมาะสมกับลักษณะงานด้านนี้ด้วย

    12.1 การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อการประชาสัมพันธ์
    - การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินงานประชาสัมพันธ์เพื่อทำให้หน่วยงานประชาสัมพันธ์
    มีเอกสารที่ดี เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการในทุกสถานการณ์ ข้อมูลดังกล่าวสามารถจำแนกเป็น 3 ลักษณะคือ ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยงาน และข้อมูลเฉพาะเรื่อง
    - การสำรวจข้องมูลอย่างไม่เป็นทางการสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ การสำรวจข้อมูลจากเอกสารของสถาบัน
    จากเอกสารภายนอก จากการติชมจากสื่อมวลชน โดยการแต่งตั้งที่ปรึกษาโดยการสนทนาทั่วไป โดยการศึกษาทดลอง และโดยการสัมภาษณ์กลุ่ม
    - การสำรวจข้อมูลอย่างเป็นทางการสำรวจโดยอาศัยวิธีทางวิทยาศาสตร์หรือการวิจัยมาประยุกต์ใช้ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนชัดเจน และสามารถดำเนินการได้หลายประเภท

    12.2 การวางแผนการประชาสัมพันธ์
    - การวางแผนการประชาสัมพันธ์เป้นการกำหนดวิธีการปฏิบัติเพื่อเป้นแนวทางในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์โดยมีการระบุกิจกรรมพร้อมกับกำหนดเวลาและรายละเอียดอื่นเพื่อให้กิจกรรมทั้งหลายมีความสอดคล้องต่อเนื่อง เพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้การวางแผนที่ดีนั้นควรมีความยืดหยุ่น สามารถปฏิบัติได้จริง เหมาะสมกับกาลเวลา มีกิจกรรมที่ไม่ซ้ำซ้อนและสามารถประเมินได้
    - การวางแผนการประชาสัมพันธ์มีอยู่หลายประเภทด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกได้ตามวัตถุประสงค์ของการประชาสัมพันธ์ ตามลักษณะของงานด้านประชาสัมพันธ์และตามลักษณะของแผนนั้นๆ
    - การวางแผนการประชาสัมพันธ์มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้คือ กำหนดจุดมุ่งหมายของแผนการประชาสัมพันธ์ กำหนดกลุ่มเป้าหมาย กำหนดหัวข้อการประชาสัมพันธ์ กำหนดสื่อและเทคนิคที่จะใช้กำหนดงบประมาณและกำลังคน เริ่มการกระทำและกิจกรรมตามกำหนดเวลา ทดลองนำแผนไปใช้และตรวจแผนและจัดทำแผนจริง

    12.3 การปฏิบัติตามแผนประชาสัมพันธ์
    - การนำแผนประชาสัมพันธ์ไปปฏิบัติ จะต้องพิจารณาในประเด็นต่างๆ คือการแปลงแผนแม่บทเป็นแผนปฏิบัติการ การค้นคว้าหากลยุทธ์ในการสื่อสารและการศึกษาหาข้อมูลความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ให้ได้ผลตามเป้าหมาย
    - การสื่อสารประชาสัมพันธ์มีองค์ประกอบสำคัญคือ เหตุการณื ผู้ส่งสาร สื่อ และประชาชนกลุ่มเป้าหมายอันเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดการสื่อสารประชาสัมพันธ์ขึ้น
    - การพัฒนาการสื่อสารให้มีคุณภาพและประสิทธภาพ จะต้องมีความรู้ในเรื่องของสารและสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยจะต้องมีการพิจารณาและปฏิบัติงานตามขั้นตอนการเลือกสารและสื่อ
    ****หลักการสื่อสารยึดหลัก 5 ประการคือ ข้อเทจจริงที่ถูกต้อง ใช้ถ้อยคำสั้นและกระชับ สื่อความหมายได้อย่างแจ่มแจ้ง ได้ใจความสำคัญ และได้เนื่อหาสาระตรงประเด็น

    12.4 การประเมินผลงานประชาสัมพันธ์
    - การประเมินผลงานประชาสัมพันธ์เป้นการตัดสินคุณค่าของงานประชาสัมพันธ์หลังจากที่มีการเก็บข้อมูลรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนแปลผลข้อมูลแล้ว การประเมินผลนี้สามารถทำให้นักประชาสัมพันธ์ทราบถึงประสิทธิภาพของการทำงานในอดีต สภาพปัจจุบันที่กำลังเผชิญอยู่และคาดการณ์ในอนาคตได้
    - การประเมินผลงานประชาสัมพันธ์สามารถจัดจำแนกได้เป็นหลายประเภทตามกำหนดเวลาของการประเมิน ประเมินก่อน ระหว่าง เมื่อสิ้นสุด การดำเนินการประชาสัมพันธ์และประเมินประจำทุกปี
    - การประเมินผลงานประชาสัมพันธ์นั้นมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากการประเมินทั่วไปโดยเป็นการประเมินที่มุ่งเฉพาะองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งของการสื่อสาร และอาจเป็นการประเมินทั้งกระบวนการสื่อสารด้วย



    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Thu Oct 22, 2009 12:01 am, ทั้งหมด 2 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty หน่วยที่ 14 ความสำคัญของการวิจัยต่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 9:58 am

    หน่วยที่ 14 ความสำคัญของการการวิจัยต่อการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์

    แนวคิด
    1.การวิจัยโฆษณา เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อการพัฒนากลยุทธ์การโฆษณาทีมีประสิทธิผล รวมถึงนำมาใช้เป็นฐานขอมูลเพื่อการประเมินผลสัมฤทธ์ของงานโฆษณาที่เผยแพร่สู่กลุ่มเป้าหมาย
    2.การวิจัยโฆษณา แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ การวิจัยก่อนการโฆษณาซึ่งหมายถึงการวิจัยก่อนการผลิตชิ้นงานโฆษณา และการวิจัยหลังการโฆษณาซึ่งหมายถึงการวิจัยประสิทธิผลของชิ้นงานโฆษณาภายหลังการเผยแพร่
    3.การวิจัยเป็นขั้นตอนแรกก่อนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์และการประเมินผลก็เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการประชาสัมพันธ์เมื่อการดำเนินงานประชาสัมพันธ์เสร็จสิ้น การสิจัยเพื่อการประชาสัมพันธ์ประกอบไปด้วย 1.การวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อม 2.การวิเคราะห์องค์การ 3.การวิเคราะห์กระบวนการ 4.การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนการประเมินผลการประชาสัมพันธ์ประกอบไปด้วย 1.การวิเคราะห์/ติดตามการปฏิบัติงาน และ2.การประเมินผล

    14.1ความสำคัญของการวิจัยต่อการโฆษณา
    - การวิเคราะห์สถานการณ์การตลาดช่วยให้นักโฆษณาทราบข้อมูลที่สำคัญของสินค้า การแพร่กระจายของสินค้า กลยุทธ์การตลาด สถานการณ์ด้านการเงินของบริษัท สภาพการเมือง/กฏหมาย และภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนความเชื่อและรูปแบบทางวัฒนธรรม เพื่อที่นักโฆษณาสามารถกำหนดกลยุทธ์การโฆษณาให้สอดคล้องและมีประสิทธิภาพ
    - การวิเคราะห์สถานการณ์การตลาดประกอบด้วยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก โดยการวิเคราะห์สถาพแวดล้อมภายในหมายถึง การวิเคราะห์ส่วนผสมทางการตลาด และผลประกอบการของบริษัท(กำไร/ขาดทุน) ส่วนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก หมายถึงการวิเคราะห์ระดับมหภาค(การเมืองและกฏหมาย เศรษฐกิจ สีงคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยี สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และการแข่งขัน)และระดับจุลภาค (ผู้ขายปัจจัยการผลิต คนกลางทางการผลิต และลูกค้าหรือตลาด)
    - การวิเคราะหืคู่แข่งขันทำให้นักโฆษณาทราบถึงเป้าหมายทางธุรกิจของคู่แข่ง กลยุทธ์ของคู่แข่งทั้งในปัจจุบันและอนาคต รวมถึงสมรรถนะของกลยุทธ์ของคู่แข่ง เพื่อสามารถวางนโยบาย กลยุทธ์และแผนการโฆษณาเพื่อเอาชนะคู่แข่งขันได้ โดยมุงไปยังจุดแข็งของตนเองเพื่อเอาชนะจุดอ่อนของคู่แข่งขัน
    - การวิเคราะห์ตราสินค้าทำให้นักโฆษณามองเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง และภาพของสินค้าของตนเองอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน และยังเป็นสิ่งที่สามารถนำไปใช้พัฒนาจุดแข็ง ปรับปรุงจุดอ่อนของตราสินค้า และกำหนดสถานะของตราสินค้า ณ ปัจจุบันได้อีกด้วย
    - การวิเคราะห์ผู้บริโภคโดยใช้บรรทัดฐานต่างๆ ทำให้นักโฆษณาทำความเข้าใจกับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายในประเด็นต่างๆได้แก่ ความต้องการ ลักษณะที่อยู่อาศัย วิถีชีวิต ฯลฯ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้บริโภคเป็นประโยชน์แก่นักโฆษณาในการวางแผนกลยุทธ์การโฆษณาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
    - การวิเคราะห์แนวคิดโฆณาเป็นการวิเคราะห์ว่าการโฆษณาควรเน้นถึงคุณลักษณะใดของสินค้าตลอดจนแนวคิดโฆษณาสำหรับสินค้าแต่ละตราซึ่งจะสะท้อนให้เห้นในความคิดสร้างสรรค์และบทโฆษณา เป็นการวิเคราะห์ความคิดสร้างสรรค์และบทโฆษณาว่ามีประสิทธิภาพในการชักจูงใจกลุ่มเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
    - การวิเคราะห์ประสิทธิผลของการโฆษณามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ว่างานโฆษณาที่รณรงค์ผ่านสื่อที่กำหนดไว้ได้รับผลตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้หรือไม่ บันทึกผลของการโฆษณาที่เกิดขึ้นกับตราสินค้าตลอดระยะเวลาการรณรงค์ ติดตามประสิทธิผลของการโฆษณาภายใต้เงื่อนไขทางการตลาดที่เปลี่ยนแปลง ประเมินอาการล้าของชิ้นงานโฆษณาของแผนการรณรงค์โฆษณา ประเมินประสิทธิผลขององค์ประกอบของสารโฆษณา กำหนดว่าแผนการรณรงค์โฆษณาบรรลุวัตุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ และช่วยให้นักโฆษณาได้ข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งขัน

    14.2 ความสำคัญของการวิจัยต่อการประชาสัมพันธ์
    - การวิเคราะห์สถานการณ์ช่วยนักประชาสัมพันธ์ดังนี้คือ 1.สร้างความคุ้นเคยกับองค์การ กลุ่มสาธาณชน สถานการณ์แวดล้อม และประเด็นปัญหา 2.ตระหนักถึงความพร้อมของข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาเป็นแผนการประชาสัมพันธ์ และแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม 3.คาดการณ์เกี่ยวกับสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาได้อย่างชัดแจ้ง 4.พัฒนาแผนการสื่อสารและโปรแกรมการประชาสัมพันธ์ได้ตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพ และ5.กำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และโอกาสทางการประชาสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์แวดล้อม
    - แนวทางการวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อมประกอบด้วย 1.การประเมินสถานการณ์และสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (PEST หรือ STEP Analisis) และ 2.การประเมินสถานการณ์และสภาพแวดล้อมภายในองค์การ(SWOT Analysis)
    - องค์การจัดว่าเป็นระบบที่มีโครงสร้างและวัฒนธรรมของตนเอง ดังนั้น นักประชาสัมพันธ์ต้องวิเคราะห์องค์การในฐานะเป็นระบบหนึ่งที่ประกอบด้วยระบบย่อยจำนวนมากซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันเพื่อความอยู่รอด
    - การวิเคราะห์ระบบขององค์การมีประโยชน์ต่อการประชาสัมพันธ์ กล่าวคือ การประชาสัมพันธ์ในระบบปิด และการประชาสัมพันธ์ในระบบเปิดใช้การสื่อสาร 2 ทาง นอกจากนี้ การวิเคราะห์โครงสร้างและวัฒนธรรมขององค์การทำให้นักประชาสัมพันธ์วางแผนกลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพไปยังกลุ่มต่างๆในองค์การโดยต้องสอดคล้องกับรูปแบบความคิดเห็น ค่านิยม ทัศนคติ และพฤติกรรมของสมาชิกอันเป็นผลมาจากวัฒนธรรมขององค์การ
    - กระบวนการประชาสัมพันธ์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ 1.การสำรวจและกำหนดปัญหา 2.การวางแผนและกำหนดแผนและกำหนดแผนการปฏิบัติ 3.การปฏิบัติการและการสื่อสาร 4.การประเมินผลการปฏิบัติงาน
    - การวิเคราะห์กระบวนการประชาสัมพันธ์ ทำให้นักประชาสัมพันธ์พบว่าการสื่อสารแบบสองทางเป็นรูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างสูงในการสำรวจความรู้ ความคิดเห็น และทัศนคติ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อองค์การเพื่อสำรวจและกำหนดปัญหาที่เกิดขึ้น
    - กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์การสามารถจำแนกได้เป็น 4 แนวทางดังนี้คือ 1.จำแนกตามความเชื่อมโยงกับองค์การ 2.จำแนกตามคุณลักษณะ 3.จำแนกตามความสัมพันธ์กับสถานการณ์ และ 4.จำแนกตามกลยุทธ์การสื่อสาร
    - การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้นักประชาสัมพันธ์ทราบถึงความสำคัญและอิทธิพลของผุ้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มที่มีต่อองค์การ และสามารถกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เพื่อตอบสนองความต้องการหรือความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญที่สุดก่อนได้
    - การติดตามการปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจดังต่อไปนี้ 1.การดำเนินตามโครงการ/กิจกรรมการประชาสัมพันธ์เป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ 2.ปัญหา/อุปสรรคใดๆที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน 3.ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหา/อุปสรรคที่เกิดขึ้น
    - การวิเคราะห์หรือการติดตามการปฏิบัติงานการประชาสัมพันธ์มีหลายรูปแบบคือ 1.การสำรวจภาคสนาม 2.ศึกษาจากรายงานความคืบหน้า 3.จัดประชุมกลุ่มย่อยระหว่างคณะทำงาน 4.ใช้แบบฟอร์มประเมินการติดตาม
    - การประเมินผลเป็นการประเมินว่าโครงการประชาสัมพันธ์ที่จัดขึ้นได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งขึ้นไว้หรือไม่ อย่างไร ให้คำตอบว่าโครงการประชาสัมพันธ์ที่จัดตั้งขึ้นได้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการหรือไม่ อย่างไร เป็นหลักฐานการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบว่าได้มีการปฏิบัติงานตามที่วางแผนไว้และได้ผลตามที่กำหนดไว้ในระดับใด และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนและบริหารจัดการโครงการประชาสัมพันธ์ต่อไปในอนาคต
    - การประเมินผลการประชาสัมพันธ์สามารถดำเนินการได้ 3 ช่วงคือ 1.การประเมินผลระหว่างการวางแผนและการสำรวจความเป็นไปได้ของโครงการประชาสัมพันธ์ 2.การประเมินผลระหว่างที่โครงการประชาสัมพันธ์กำลังดำเนินการอยู่ 3.การประเมินผลเมื่อเสร็จสิ้นโครงการประชาสัมพันธ์แล้ว


    แก้ไขล่าสุดโดย dj.soda เมื่อ Wed Oct 21, 2009 7:35 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
    dj.soda
    dj.soda
    ปอตรีปี 4
    ปอตรีปี 4


    จำนวนข้อความ : 732
    Join date : 12/08/2009
    : 40
    ที่อยู่ : 88.50 ซิกม่า FM.

    วิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ 15205 ค่ะ Empty ขอบ่นปิดท้าย

    ตั้งหัวข้อ  dj.soda Tue Oct 13, 2009 10:00 am

    ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่เรียงหน่วยง่ะ เรียงเนื้อหา รึยังไงนิคะนี่ งงงงงงง งองู2ตัวมากๆ คริๆๆ จอ่านทันมั้ยนิ Shocked

      เวลาขณะนี้ Wed May 08, 2024 9:43 am