ชมรม มสธ.ระยอง

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สังคมแห่งการแบ่งปันเพื่อชาว มสธ.ระยอง


5 posters

    กฎหมายอาญา1

    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา1 Empty กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Nov 26, 2009 9:14 am

    Shocked Sad Very Happy กฎหมายอาญา 1

    ข้อ 1
    นายสมิทคนอังกฤษเดินทางมากรุง เทพมหานครพักที่โรงแรมนายสุรพงษ์ เกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกับนายสุรพงษ์นายสมิทได้ทำร้ายนายสุรพงษ์ บาดเจ็บสาหัส แล้วหลบหนี้ไปประเทศญี่ปุ่นและถูกทางการญี่ปุ่นจับกุมตัวได้รัฐ บาลไทยขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินคดีกับนายสมิทฐานทำร้ายผู้อื่นบ าดเจ็บสาหัดศาลญี่ปุ่นพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องเพราะพยานหลักฐ านออ่นนายสมิทจึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครอีกและถูกตำรวฝจจับก ุมดำเนินคดีเรื่องที่เคยทำร้ายนายสุพงษ์ศาลไทยจะพิพากษาลงโทษนา ยสมิทได้หรือไม่

    เฉลย
    ตามประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 4 วรรคหนึ่ง) ผู้ที่กระทำผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมายการที่นายสมิทท ำร้ายนายสุรพงษ์บาดเจ็บสาหัสเหตุเกิดในประเทศไทยฉะนั้นนายสมิทจ ึงต้องรับโทษในประเทศไทยอย่างไรก็ตามหลังจากทำร้ายนายสุรพงษ์แล ้วนายสมิทหลบหนี้ไปประเทศญี่ปุ่นและถูกจับกุมที่นั้นรัฐบาลไทยไ ด้ขอร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินคดีกับนายสมิทฐานทำร้ายผู้อื่นบ าดเจ็บสาหัสแต่ศาลญี่ปุ่นพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องเพราะพยานหลักฐ านอ่อนกรณีจึงต้องประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 11 วรรคสอง) ที่ว่าในกรณีที่ผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักรได้ฟ้องต่อศาลต่าง ประเทศโดยรัฐบาลไทยร้องขอห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพ ราะการกระทำนั้นถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลต่างประเทศให้ ปล่อยตัวผู้นั้นดังนั้นเมื่อศาลญี่ปุ่นพิพาทกษาถึงที่สุดยกฟ้อง นายสมิทศาลไทยจะลงโทษนายสมิทในความผิดฐานทำร้ายร่างกายนายสุพงษ ์อีกไม่ได้
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Nov 26, 2009 9:15 am

    Mad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Nov 26, 2009 9:29 am

    กฎหมายอาญา 2 Very Happy

    ข้อ 3
    นายทำนองไปซื้อเสื้อ ผู้ขายนำเสื้อมาให้เลือกหลายตัว ราคาต่างๆกัน ขณะที่ผู้ขายเผลอ นายทำนองก็แกะป้ายราคาเสื้อตัวหนึ่งซึ่งมีราคา 200 บาทออกเสียแล้วเอาป้ายราคา 100 บาท มาจากเสื้อตัวอื่นมาปิดไว้แทน และ บอกผู้ขายขอซื้อเสื้อตัวนี้ ผู้ขายก็ขายให้นายทำนองในราคา 100 บาท นายทำนองมีความผิดฐานใดหรือไม่ เพราะเหตุใด Evil or Very Mad Evil or Very Mad Evil or Very Mad Embarassed Embarassed

    เฉลย
    ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา341 บัญญัติว่า ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ.และโดยการหลอกลวงด ังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม.. ..........ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ”
    จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายทำนองไปซื้อเสื้อ แล้วผู้ขายได้นำเสื้อมาให้เลือกหลายตัว ราคาต่างกัน ขณะที่ผู้ขายเผลอนายทำนองจึงแกะเอาป้ายราคาเสื้อซึ่งมีราคา 200 บาท ออกเสีย แล้วเอาป้ายราคา 100 บาทจากเสื้อตัวอื่นมาปิดไว้แทน การกระทำดังกล่าวเห็นว่าเป็นการกระทำที่นายทำนองได้หลอกลวงผู้ข ายเพื่อให้ผู้ขายขายผิดราคา เป็นการหลอกลวงผู้ขายโดยแสดงข้อ ความเป็นเท็จ และนายทำนองได้บอกผู้ขายซื้อเสื้อตัวนั้น เห็นได้ว่านายทำนองกระทำไปโดยมีเจตนาทุจริต เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผู้ขายได้ขายให้นายทำนองไปราคา 100 บาท แม้นายทำนองจะชำระราคาให้ ก็ชำระในราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงการหลอกลวงของนายทำนองดังกล ่าวนั้นทำให้นายทำนองได้ทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงคือ ผู้ขายนายทำนองจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามหลักกฎหมายที่กล่าวมาข้ างต้น Sad Sad Crying or Very sad Crying or Very sad
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Nov 26, 2009 9:31 am

    41231
    กฎหมายอาญา 1

    โจทก์
    ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองนายดำได้ไปที่บ้านของนางสาวแดงคู่รักแล ะร่วมกันจุเทียนในกระทงเพื่อนำไปปล่อย ปรากฏว่า ด้วยความประมาทนายดำและนางสาวแดงทำเทียนหล่นลงพื้น เกิดไฟไหม้บ้านของนางสาวแดง เนื่องจากบ้านของนางสาวแดงเป็นตึกแถวอยู่ติดกับบ้านของนายดำขณะ ที่ไฟลามเกือบถึงบ้านนายดำ ดำเกรงว่าไฟจะไหม้บ้านตน นายดำจึงพังบ้านของนายฟ้า แล้วเอาเครื่องมือดับเพลิงมาดับไฟที่บ้านของนางสาว<st1:PersonName ProductID="แดง กรณีดังกล่าว">แดง กรณีดังกล่าว</st1:PersonName> นายดำต้องรับโทษทางอาญาในการพังบ้านของนายฟ้าหรือไม่ เพราะเหตุใด Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Rolling Eyes Wink Wink

    เฉลย
    ตามประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 67) ผู้ที่กระทำความผิดด้วยความจำเป็นเพราะอยู่ในที่บังคับหรือภายใ ต้อำนาจซึ่งไม่สามารถหลีกเหลี่ยงหรือขัดขืนได้เพราะให้ตนเองหรื อผู้อื่นพ้นจากอันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเลียงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้ เมื่อภยันอันตรายนั้นตนมิได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นการเกินสมควรแก่เหตุแล้ว ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ จากข้อเท็จจริงตามปัญหา การที่นายดำได้ไปที่บ้านนางสาวแดงและร่วมกันจุดเทียนด้วยความปร ะมาททำให้เกิดเพลิงไหม้ของนางสาวแดง นายดำเกรงว่าไฟจะลามไปไหม้บ้านของตนเองเพราะบ้านของนางสาวแดงเป ็นตึกแถวอยู่ติดกับบ้านนายดำ และไฟก็กำลังจะลามไปถึงบ้านของนายดำจึงตัดสินใจพังบ้านของนายฟ้ า และนำเครื่องมือดับเพลิงมาดับไฟที่บ้านของนางสาวแดง การกระทำของนายดำดังกล่าวถือว่า นายดำกระทำเพื่อให้ตนพ้นจากภยันตรายที่ใกล้จะถึง และไม่สามารถหลีกเหลียงให้พ้นโดยวิธีอื่นใดได้แต่เนื่องจากภยัน ตรายที่ว่านั้นคือภยันตรายซึ่งเกิดจากไฟไหม้เป็นภยันตรายที่นาย ดำเป็นผู้มีส่วนก่อให้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน นายดำจึงไม่สามารถอ้างว่าการพังบ้านของนายฟ้านั้นเป็นการกระทำค วามผิดด้วยความจำเป็นอันจะทำให้ตนไม่ต้องรับโทษได้ ดังนั้นนายดำจึงต้องรับโทษทางอาญาในทางพังบ้านของนายฟ้า ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้ว Crying or Very sad Crying or Very sad Crying or Very sad Razz Razz
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Nov 26, 2009 9:33 am

    41231
    กฎหมายอาญา 1

    โจทย์
    ดิโก้ต้องการจะฆ่าบราวน์ โค้ชผู้ฝึกสอนชาวเยอรมัน จึงจ้างโรเจอร์นักแม่นปืนจากแคมารูน ให้มาเก็บบราวน์ แล้วมอบปืนพร้อมกระสุน และดิโก้บอกแก่โรเจอร์ให้ทราบถึงประสิทธิภาพของปืนกระบอกดังกล่ าวว่า ปืนกระบอกนี้ยิงไกลสุด 50 เมตร ยิงหวังผล 20 เมตร ขณะที่กุลลิทขี่ม้าฝึกซ้อมออกกำลังกายตอนเช้ามืด ในระยะ <st1:metricconverter ProductID="80 เมตร">80 เมตร</st1:metricconverter> โรเจอร์คิดว่าเป็นบราวน์จึงยิงไปปรากฏว่ากระสุนปืนไม่ถูกกุลลิท เลยกรณีหนึ่ง
    อีกกรณีหนึ่ง ขณะที่บราวน์ขี่ม้าฝึกซ้อมออกกำลังกายตอนเช้ามืดอยู่เช่นกันในร ะยะ 20 เมตร โรเจอร์รีบร้อนยิงไปถูกม้าถึงแก่ความตาย ส่วนบราวน์ตกม้าบาดเจ็บสาหัส
    ทั้งสองกรณี ขอให้ท่านวินิจฉัยความรับผิดชอบดิโก้และโรเจอร์ตั้งแต่ต้นปี 2532 และต่อมาก็ได้ร่วมประเวณีกันอีกประมาณ 10 ครั้ง จนนางสมหญิงตั้งครรภ์และคลอดบุตร คือ ด.ช. สมชาติออกมาโดยมิได้มีชายอื่นมายุ่งเกี่ยวด้วยเลยเช่นนี้ เป็นการที่บุคคลทั้งสองได้ร่วมประเวณีกันในระยะเวลา 180 วันถึง 310 วัน ก่อนเด็กเกิด อันเป็นระยะเวลาที่นางสมหญิงอาจจะตั้งครรภ์ได้ และไม่มีเหตุผลอันควรเชื่อว่า ด.ช. สมชาติเป็นบุตรของชายอื่นจึงเป็นเหตุให้นางสมหญิงฟ้องบังคับให้ นายสมชายรับ ด.ช. สมชาติ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ตามมาตรา 1555 (6)

    เฉลย
    หลักกฎหมาย
    มาตรา 84 “ ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้บังคับขู่เข็ญจ ้างวานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด”
    มาตรา 80 “ ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอดหรือกระทำไปตลอดแล้วแต่ การกระทำไม่บรรลุผล ผู้นั้นพยายามกระทำความผิด”
    มาตรา 81 “ ผู้ใดกระทำการโดยมุ่งต่อผลซึ่งกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดแต่การก ระทำนั้นไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เพราะเหตุปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำหรือเหตุแห่งวัตถุที่มุ่งหมาย กระทำต่อ ให้ถือว่าผู้นั้นพยายามกระทำความผิด”
    มาตรา 61 “ ผู้ใดเจตนากระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด ผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนา หาได้ไม่”
    ตามปัญหาดิโก้มีเจตนาจะฆ่าบราวน์โค้ชชาวเยอรมัน จึงจ้างโรเจอร์ให้เก็บบราวน์การกระทำของดิโก้เป็นการก่อให้ผู้อ ื่นกระทำความผิดโดยการจ้าง ดิโก้จึงกระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ (มาตรา 84) ในขณะที่กุลลิทขี่ม้าออกกำลังกายโรเจอร์เห็นกุลลิทคิดว่าเป็นบร าวน์ จึงยิงไปด้วยความสำคัญผิดโรเจอร์จจึงแก้ตัวไม่ได้ว่ามิได้เจตนา ที่จะฆ่ากุลลิท แต่เนื่องจากปืนที่นายโรเจอร์ใช้ยิงนายกุลลิทนี้มีประสิทธิภาพย ิงไกลเพียง 50 เมตรเท่านั้น นายโรเจอร์ได้ยิงนายกุลกทในระยะห่างถึง 80 เมตร จึงไม่สามารถทำอันตรายแก่นายกุลิทได้ ตามปัญหาจึงเป็นการกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้เพรา ะปัจจัยซ่งใช้ในการกระทำความผิด กรณีนี้กฎหมายบัญญัติให้ผู้กระทำต้องรับผิดฐานพยายามกระทำผิดดั งนั้น นายโรเจอร์จึงต้องรับโทษฐานพยายามกระทำความผิด ส่วนนายดิโก้กระทำความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้โรเจอร์กระทำความผิด
    กรณี ขณะที่บราวน์ขี่ม้าออกกำลังกายเช้ามืดเช่นกัน ในระยะ 20 เมตร โรเจอร์รีบร้อนยิงปืนไปไม่ถูกบราวน์แต่ถูกม้านตาย บราวน์ได้รับบาดเจ็บสาหัส การกระทำของโรเจอร์เจตนากระทำต่อบราวน์แล้วพราดไปถูกม้าตายจึงไ ม่เป็นการกระทำโดยพลาดเพราะเจตนากระทำต่อคนแต่ไม่ถูกทรัพย์ไม่ถ ือว่าเป็นกระทำโดยพลาด แต่เป็นการลงมือกระทำความผิดต่อบราวน์ตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุ โรเจอร์จึงมีความผิดฐานพยายามฆ่าบรวาน์ ส่วนดิโก้มีความผิดฐานใช้ให้โรเจอร์กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าบร าวน์ (มาตรา 80)
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Nov 26, 2009 9:35 am

    กฎหมายอาญา 1 Surprised Surprised

    โจทย์
    นายซิมต้องการฆ่านายแก้ว จึงไปแอบซุ่มข้างทางในเวลากลางคืน นายซิมเห็นนายก้อนเดินมาเป็นเงาตะคุ่ม ๆ ในความมืด นายซิมเข้าใจผิดว่านายก้อนเป็นนายแก้วจึงใช้ปืนยิง 1 นัด ถูกนายก้อนตาย กระสุนปืนทะลุนายก้อนไปถูกนายช้อนบิดาของนายซิมถึงความตายด้วยเ ช่นนี้ให้วินิจฉัยความรับผิดของนายซิมตามประมวลกฎหมายอาญา
    Mad Mad
    เฉลย
    ตามประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 6) ในกรณีผู้กระทำเจตนากระทำต่อคนหนึ่งแต่ได้กระทำต่ออีกคนหนึ่งโด ยสำคัญผิด กฎหมายถือว่าผู้กระทำได้กระทำโดยเจตนาแก่ผู้กระทำนั้น
    จากข้อเท็จจริงในปัญหา การที่นายซิมต้องการฆ่านายแก้วจึงไปแอบซุมข้างทางในเวลากลางคืน พอนายก้อนเดินมาเป็นเงาตะคุม ๆ ในความมืด นายซิมเข้าใจผิดว่านายก้อนเป็นนายแก้ว จึงใช้ปืนยิง 1 นัด ถูกนายก้อนตายถือว่านายซิมเจตนากระทำต่อนายก้อน ตามหลักกฎหมายข้างต้น นายซิมจึงมีความผิดฐานฆ่านายก้อนโดยเจตนา
    ส่วนการที่กระสุนปืนทะลุนายก้อนไปถูกนายซ้อนบิดาของนายซิมถึงแก ่ความตายด้วยนั้นกรณีนี้เป็นเรื่องของการกระทำโดยพลาด ซึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 60 ) ในกรณีผู้กระทำได้กระทำโดยเจตนาต่อคนหนึ่งแต่ผลของการกระทำเกิด แก่อีกคนหนึ่งโดยพลาดไปกฎหมายถือว่าผู้กระทำได้กระทำโดยเจตนาแก ่ผู้ได้รับผลร้าย เมื่อนายซิมเจตนายิงนายก้อนแต่กระสุนปืนไปถูกนายซ้อน นายซ้วนก็เป็นผู้ได้รับผลร้ายจากการกระทำของนายซิม ดังนั้น โดยกฎหมายต้องถือว่านายซิมได้กระทำโดยเจตนาต่อนายซ้วนด้วย สำหรับการที่นายซ้วนเป็นบิดาของนายซิมนั้น ประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 60 ตอนท้าย) ได้บัญญัติว่า กรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ลงโทษหนักขึ้นเพราะฐานะของบุคคลหรือเพร าะความสัมพันธ์ระหว่างผู้กระทำกับบุคคลที่ได้รับผลร้าย มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับเพื่อลงโทษผู้กระทำให้หนักขึ้น กรณีนี้นายซิมจึงผิดเพียงฆ่านายซ้วนเสมือนเป็นบุคคลธรรมดาโดยเจ ตนาไม่ใช่ผิดฐานบุพการีตามมาตรา 289 (1ป Razz Razz
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Nov 26, 2009 9:40 am

    กฎหมายอาญา 1

    โจทก์
    ก ทำงานกลางคืน วันหนึ่งขณะเลิกงานซึ่งเป็นเวลาดึกมาก ก เดินกลับบ้านมาคนเดียวระหว่างทางขณะที่เดินเข้าซอย มีวัยรุ่น 2 คน ซึ่งเป็นอัธพาลอยู่แถวนั้นได้ตรงเข้าล้อม ก และชกต่อยทำร้าย ก จึงวิ่งหนี้ พร้อมกันนั้นเหล่าวัยรุ่นก็วิ่งไล่ตาม พอดีสวนทางกับยามของหมู่บ้านแถวนั้น ก จึงผลักยามล้มลงพร้อมกับแย่งปืนของยามเพื่อเอามาขู่วัยรุ่น แต่วัยรุ่นพวกนั้นก็ยังตรงเข้ามาทำร้าย ก อีก จึงยิงปืนไปหนึ่งนัด ถูกวัยรุ่นคนหนึ่งถึงแก่ความตาย ทั้ง ก มีความผิดที่กระทำต่อวัยรุ่นผู้ตายหรือไม่และจะต้องรับโทษเพียง ใดหรือไม่

    เฉลย
    มาตรา 68(บ่อ) บัญญัติว่า “ผู้ใดจำได้ต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเ ป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ถ้าได้กระทำโดยสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่มีความผิด”
    ตามมาตรา 604 ถ้าผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ และการที่นั้นพังทลายหรือบุบสลายลงก่อนได้ส่งมอบกันถูกต้อง ความวินาศนั้นตกเป็นพับแก่ผู้ว่าจ้าง หากความวินาศนั้นมิได้
    ในกรณีเช่นว่านี้ สินจ้างก็เป็นอันไม่ต้องใช้ เว้นแต่ความวินาศนั้นเป็นเพราะการกระทำของผู้วาจ้าง
    ตามปัญหา การที่ ก. ตกลงจ้าง ข. จัดสร้างโรงรถเป็นสัญญาจ้างทำของตามมาตรา 587 เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำและ ก. ผู้ว่าจ้างเป็นผู้จัดหาสัมภาระ การที่โรงรถที่สร้างเสร็จถูกพายุพัดแรงผิดปติจนพังทลายลงก่อนที ่ส่งมอบโรงรถนั้น มิใช่เป็นเพราะการกระทำของ ข. ผู้รับจ้าง ความวินาศจึงตกเป็นพับแก่ ก. ผู้ว่าจ้างตามมาตรา 604 วรรคแรกดังนั้น ก. จะเรียกให้ ข. จัดการทำให้ใหม่หาได้ไม่
    กรณีดังกล่าวที่โรงรถพังทลายลงมิใช่เป็นเพราะการกระของ ก.ผู้ว่าจ้าง ข. จะเรียกร้องให้ ก. ผู้ว่าจ้างจ่ายสินจ้างให้ตนหาได้ไม่กรณีต้องด้วยมาตรา 604 วรรค 2 ตอนแรก
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Nov 26, 2009 9:55 am

    41231 กฎหมายอาญา 1

    โจทก์
    น้อยหน่าเป็นนักเรียนหัดขับรถยนต์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ น้อยหนาจึงไปสมัครเรียนกับโรงเรียนสอนขับรถยนต์ มังคุดได้รับใบอนุญาตขับขี่แต่ยังไมได้รับอนุญาตเป็นครูฝึกสอนข ับรถยนต์ ขณะเกิดเหตุถนนตอนนั้นเป็นคนพลุกพล่าน ฝนตก ถนนลื่น น้อยหน่ากำลังหัดขับ หักหลบรถสามล้อเครื่องไม่ทัน มังคุดต้องเข้าช่วยถือพวงมาลัยและให้น้อยหน่าปล่อยมือ แต่เท้าของน้อยหน่ายังเหยียบคันเร่งน้ำมันอยู่ มังคุดหักพวงมาลัยเบนขวาเพื่อให้พ้นสามล้อเครื่อง เป็นเหตุให้รถพุ่งข้ามถนนชนคนบาดเจ็บและตาย กรณีหนึ่ง
    อีกกรณีหนึ่ง น้อยหน่าหัดขับรถเล่นมาตามถนนด้วยความเร็วสูง ทำท่าจะชนลองกอง แต่น้อยหน่าเบรคทัน รถไม่ชนลองกอง ทำให้ลองกองตกใจจนแทบสิ้นสติ
    ดังนี้ ทั้ง 2 กรณี น้อยหน่าและมังคุดจะต้องรับผิดชอบในการกระทำโดยประมาทอย่างไรหร ือไม่ Evil or Very Mad Evil or Very Mad Evil or Very Mad

    เฉลย
    หลักกฎหมาย
    มาตรา 59 วรรคสี่ บัญญัติว่า “กระทำโดยประมาท ได้แก่การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจั กต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
    มาตรา 80 บัญญัติว่า “ ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม ่บรรลุผลผู้นั้นพยายามกระทำความผิด ”
    การที่น้อยหน่าขับรถไปตามถนนโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ยังไมพอที่จะถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาท แต่การที่น้อยหน่าและมังคุดขับรถชนคนบาดเจ็บและตาย เป็นการกระทำผิดโดยไม่เจตนาและพฤติการณ์ที่คนพลุกพล่าน ฝนตก ถนนลื่น ทำให้น้อยหน่าและมังคุดไม่อาจใช้ความระมัดระวังได้ เนื่องจากน้อยหน่าขับรถไม่เป็น กำลังหัดขับ น้อยหน่าจึงกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้คนบาดเจ็บและตาย ขณะเดียวการกระทำของมังคุดที่เข้าช่วยถือพวงมาลัย ในพฤติการณ์เช่นนั้นมังคุดย่อมกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้มีคนตา ยและบาดเจ็บด้วย ซึ่งเป็นกรณีกระทำโดยประมาทหลายคน มังคุดและน้อยหน่าจึงต่างคนต่างรับผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้คนตา ยและบาดเจ็บ (มาตรา 59 วรรคสี่)
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Thu Nov 26, 2009 9:57 am

    กฎหมายอาญา 1

    คำถาม
    เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2529 เพ็ชรหลอกขายวิทยุเครื่องหนึ่งแก่นิล การกระทำของเพ็ชรเป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมา ยอาญา มาตรา 271 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ต่อมาวันที่ 25 มีนาคม 2529 รัฐบาลได้ประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎห มายอาญา โดยแก้ไขความผิดตามมาตรา 271 ให้เป็นความผิดต่อแผ่นดิน วันที่ 20 พฤษภาคม 2529 นิลร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีต่อเพ็ชรฐานขายของโดย หลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 เพ็ชรอ้างว่า คดีขาดอายุความแล้ว ข้ออ้างของเพ็ชรฟังขึ้นหรือไม่

    เฉลย
    ตามประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 3 )ถ้ากฎหมายที่ใช้ในภาวะกระทำผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังก ารกระทำผิด ให้ใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดไม่วาในทางใด บทบัญญัตินี้เป็นการบัญญัติให้กฎหมายอาญามีผลย้อนหลังได้ หากว่ากฎหมายที่ออกภายหลังนั้นเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด จากข้อเท็จจริงในปัญหาขณะเพ็ชรกระทำผิด กฎหมายอาญาบัญญัติให้ความผิดตามมาตรา 271 เป็นความผิดอันยอมความได้ ความผิดประเภทนี้เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิด เพราะมีเงื่อนไขในการฟ้อง คือผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผูกระทำผิด มิฉะนั้นคดีขาดอายุความการที่รัฐบาลออกกฎหมายใหม่แก้ไขความผิดต ามมาตรา 271 ให้เป็นความผิดต่อแผ่นดิน ทำให้เงื่อนไขอายุความร้องทุกข์ 3 เดือนหมดไปผู้กระทำผิดไม่ได้รับประโยชน์จากเงื่อนไขนี้ กฎหมายจึงไม่เป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดจึงไม่มีผลย้อนหลัง ต้องถือว่า ความผิดตามมาตรา 271 ที่เพ็ชรได้กระทำนั้น เป็นความผิดอันยอมความได้อยู่ ซึ่งมีอายุความร้องทุกข์ 3 เดือน ปรากฏว่านิลร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เมื่อวันที่ 20พฤษภาคม 2529 เกินกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่นิลรู้เรื่องความผิด และรู้ตัวผู้กระทำผิด คือ วันที่ 7 มกราคม 2529 คดีย่อมขาดอายุความข้ออ้างของเพ็ชรจึงอ้างขึ้น
    iam_inlove
    iam_inlove
    ปอตรีปี 3
    ปอตรีปี 3


    จำนวนข้อความ : 386
    Join date : 10/09/2009
    : 41

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  iam_inlove Thu Nov 26, 2009 11:23 am

    มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ...

    ขอบคุณพี่ยิ่งค่ะ..

    กฎหมายอาญา1 Star3 กฎหมายอาญา1 Star3 กฎหมายอาญา1 Star3 กฎหมายอาญา1 Star3 กฎหมายอาญา1 Star3
    avatar
    jokerzero


    จำนวนข้อความ : 1
    Join date : 01/07/2010

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  jokerzero Thu Jul 01, 2010 3:29 pm

    ขอบคุนจร้าๆๆๆๆๆๆๆๆ

    แหล่งรวมหางานธนาคาร งานธนาคาร สมัครงานธนาคาร
    avatar
    noo_noo


    จำนวนข้อความ : 2
    Join date : 27/11/2010

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  noo_noo Sat Nov 27, 2010 3:10 pm

    ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ
    avatar
    crylikebaby


    จำนวนข้อความ : 7
    Join date : 26/06/2010

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  crylikebaby Sat Nov 27, 2010 10:57 pm

    nustatalo พิมพ์ว่า:41231 กฎหมายอาญา 1

    โจทก์
    น้อยหน่าเป็นนักเรียนหัดขับรถยนต์ยังไม่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ น้อยหนาจึงไปสมัครเรียนกับโรงเรียนสอนขับรถยนต์ มังคุดได้รับใบอนุญาตขับขี่แต่ยังไมได้รับอนุญาตเป็นครูฝึกสอนข ับรถยนต์ ขณะเกิดเหตุถนนตอนนั้นเป็นคนพลุกพล่าน ฝนตก ถนนลื่น น้อยหน่ากำลังหัดขับ หักหลบรถสามล้อเครื่องไม่ทัน มังคุดต้องเข้าช่วยถือพวงมาลัยและให้น้อยหน่าปล่อยมือ แต่เท้าของน้อยหน่ายังเหยียบคันเร่งน้ำมันอยู่ มังคุดหักพวงมาลัยเบนขวาเพื่อให้พ้นสามล้อเครื่อง เป็นเหตุให้รถพุ่งข้ามถนนชนคนบาดเจ็บและตาย กรณีหนึ่ง
    อีกกรณีหนึ่ง น้อยหน่าหัดขับรถเล่นมาตามถนนด้วยความเร็วสูง ทำท่าจะชนลองกอง แต่น้อยหน่าเบรคทัน รถไม่ชนลองกอง ทำให้ลองกองตกใจจนแทบสิ้นสติ
    ดังนี้ ทั้ง 2 กรณี น้อยหน่าและมังคุดจะต้องรับผิดชอบในการกระทำโดยประมาทอย่างไรหร ือไม่ Evil or Very Mad Evil or Very Mad Evil or Very Mad

    เฉลย
    หลักกฎหมาย
    มาตรา 59 วรรคสี่ บัญญัติว่า “กระทำโดยประมาท ได้แก่การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจั กต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่”
    มาตรา 80 บัญญัติว่า “ ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่กระทำไปไม่ตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม ่บรรลุผลผู้นั้นพยายามกระทำความผิด ”
    การที่น้อยหน่าขับรถไปตามถนนโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ยังไมพอที่จะถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาท แต่การที่น้อยหน่าและมังคุดขับรถชนคนบาดเจ็บและตาย เป็นการกระทำผิดโดยไม่เจตนาและพฤติการณ์ที่คนพลุกพล่าน ฝนตก ถนนลื่น ทำให้น้อยหน่าและมังคุดไม่อาจใช้ความระมัดระวังได้ เนื่องจากน้อยหน่าขับรถไม่เป็น กำลังหัดขับ น้อยหน่าจึงกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้คนบาดเจ็บและตาย ขณะเดียวการกระทำของมังคุดที่เข้าช่วยถือพวงมาลัย ในพฤติการณ์เช่นนั้นมังคุดย่อมกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้มีคนตา ยและบาดเจ็บด้วย ซึ่งเป็นกรณีกระทำโดยประมาทหลายคน มังคุดและน้อยหน่าจึงต่างคนต่างรับผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้คนตา ยและบาดเจ็บ (มาตรา 59 วรรคสี่)
    ตรงนี้เห็นต่างนะครับ ผมมองว่าโจทย์ถามมาตรา 59 วรรคหนึ่งตรงๆเลย ตามโจทย์นั้นเป็นการกระทำโดยประมาทอยู่แล้วเพราะการหัดขับรถผู้ฝึกสอนจำต้องทราบดีและหาสถานที่ๆคนไม่พลุกพล่านเพื่อฝึกขับรถได้อยู่แล้ว การที่ไปหัดขับรถบนถนนใหญ่ จึงถือได้ว่าผู้ฝึกสอนนั้นกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ คือประมาทตามมาตรา 59 วรรค 4

    แต่การกระทำโดยประมาทนั้นหากจะต้องรับผิดทางอาญาจะต้องเป็นความผิดที่กฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจน ว่าต้องรับผิดแม้ว่ากระทำโดยประมาท (59 วรรค 1) ซึ่งความผิดฐานกระทำโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย กฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นความผิดจึงต้องรับผิด ทั้ง น้อยหน่าและมังคุด เพราะความผิดฐานดังกล่าวดูถึงผลของการกระทำเป็นสำคัญ

    ส่วนกรณีน้อยหน่า หัดขับรถเล่นมาตามถนนด้วยความเร็วสูง ทำท่าจะชนลองกอง แล้วเบรคทันนั้น การกระทำดังกล่าวกฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ให้เป็นความผิด (ไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทแล้วทำให้ผู้อื่นตกใจ เพราะจะต้องมีผลคือการบาดเจ็บสาหัสของผู้เสียหายก่อนตามมาตรา 300) กรณีนี้ถือว่าการกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ตกใจเป็นลมนั้นไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นความผิด จึงไม่ต้องรับผิดทางอาญา นอกจากนี้ยังไม่เกี่ยวกับเรื่องการพยายามกระทำ เพราะในเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติความผิดไว้ จึงไม่สามารถมีการพยายามกระทำผิดได้ เนื่องจากไม่มีความผิดอยู่แต่แรก

    ส่วนกรณีความผิดฐานขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตนั้นถือว่าความผิดสำเร็จมาตั้งแต่ต้น ความผิดเหล่านี้ไม่ได้ดูที่เจตนาเพียงครบองค์ประกอบแค่ขับขี่โดยไม่มีใบอนุญาตก็ถือว่าความผิดสำเร็จแล้ว
    เพราะเป็นกฎหมายที่บัญญัติเอาไว้โดยเฉพาะ เหมือนกับความผิดลหุโทษ ที่ไม่สนใจเจตนาว่าจะมีเจตนากระทำผิดหรือไม่ก็ตาม เช่นลืมบัตรไว้ที่บ้านไม่ได้ตั้งใจไม่พกใบอนุญาตก็อ้างไม่ได้

    การจะต้องรับผิดทางอาญาจะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 โครงสร้าง (ใช้ได้ทั้งอาญา 1 และ 2)
    1. การกระทำครบองค์ประกอบของความผิด (หากไม่ครบองค์ประกอบของความผิดก็ไม่ต้องรับผิด)
    2. การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
    3. การกระทำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ

    หากผ่านทั้ง3ข้อจะต้องรับผิดทางอาญา
    ส่วนเรื่องพยายามกระทำผิดนั้นความผิดจะต้องสำเร็จมาแต่แรกคือมีการลงมือกระทำผิดเสียก่อน

    แนะนำว่าให้ลองค้นคว้าดู ป.อ. มาตรา 291 และ 300 ซึ่งเป็นความผิดต่อร่างกายซึ่งเกิดจากการกระทำโดยประมาท เพื่อดูองค์ประกอบของความผิด
    nustatalo
    nustatalo
    อนุบาล3
    อนุบาล3


    จำนวนข้อความ : 84
    Join date : 19/11/2009
    : 44
    ที่อยู่ : นิคมพัฒนา

    กฎหมายอาญา1 Empty Re: กฎหมายอาญา1

    ตั้งหัวข้อ  nustatalo Wed Aug 31, 2011 10:52 am

    หลักๆ ดูความรับผิดทางอาญา
    เน้นมาตรา 59 มี 3 กรณีคือ
    กรณี1.มีการกระทำโดยเจตนา
    1.1โดยมีเจตนาตามความจริง ดูวรรคสอง
    1.2 เจตนาโดยผลของกฎหมาย (กระทำโดยพลาด หรือเจนาโดยพลาด) มาตรา 60
    1.3 เจตนาโดยสำคัญผิดในตัวบุคคล มาตรา 61
    กรณี 2.เจตนาโดยประมาท มาตรา 59 วรรค
    กรณี 3 คือ ไม่เจตนา และก็ไม่ประมาท ( เช่นความผิดลหุโทษ หรือกรณีอื่นที่กฎหมายกำหนด อาทิ พรบ.ต่าง ๆ)
    จากนั้นดูว่ากฎหมายบัญญัติว่าการกระทำมีความผิดและกำหนดโทษโทษ ไว้หรือไม่ มาตรา 2เมื่อเข้ามาตรา 2 ก็ต้องรับผิดทางอาญา


    ส่วนอีกเรื่องเป็นขั้นตอนในการกระทำความผิดนะ
    ดูมาตรา 2 ต่อจากเมื่อกี้นะ.
    ก็แบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ขั้นใหญ่
    คือ 1.ขั้นตระเตรียมการ ถ้ามีกฎหมายบัญญัติว่าการตระเตรียมการเป็นความผิด ก็ต้องรับโทษ ถ้าไม่บัญญัติก็ไม่ต้องรับโทษนะ.
    2.ขั้นลงมือกระทำการ จะเป...็นได้ สองกรณีคือบรรลุผล กับไม่บรรลุผล (พยายามกระทำความผิด ) ดูมาตรา 80 ต้องมีเจตนาประกอบด้วยซึ่งขั้นพยายามกระทำความผิดนี้ แยกออกเป็น 3 กรณี
    คือ2.1 กระทำไม่ตลอดหรือกระทำไม่บรรลุผล มาตรา80
    2.2 การกระทำที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ มาตรา 81
    2.3 ยับยั้ง หรือกลับใจแก้ไขเสียเอง มาตรา 823.ถ้ากระทำบรรลุผล ก็ถือว่าความผิดสำเร๊จ...

    และจากนั้นก็ดูว่ามีเหตุยกเว้นโทษหรือไม่ เช่น จำเป็น มาตรา 67
    และจากนั้นก็ดูว่ามีเหตุลดโทษหรือไม่ เช่น มาตรา 62 และมาตรา 72 นะ.....
    นี้คืออีกหนึ่งข้อนะ.
    จากนั้นก็ดูเรื่อง ความผิดในราชอาณาจักรดูผู้ร่วมกระทำความผิดนะ.

      เวลาขณะนี้ Mon May 20, 2024 11:01 am